Skip to content
Home » [Update] Grammar: หลักการใช้ Prefer, Would prefer, Would rather เมื่อชอบมากกว่า | การใช้ used to would – NATAVIGUIDES

[Update] Grammar: หลักการใช้ Prefer, Would prefer, Would rather เมื่อชอบมากกว่า | การใช้ used to would – NATAVIGUIDES

การใช้ used to would: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

ปกติเราใช้ like เพื่อบอกว่าชอบใคร, อะไร หรือชอบทำอะไร แต่เมื่อมีการเปรียบเทียบว่า “ชอบมากกว่า” ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของ prefer, would prefer, would rather ซึ่งมีหลักการใช้แตกต่างกัน มาดูกันเลย

Prefer, Would prefer, Would rather หมายถึง “ชอบ….มากกว่า….” หรือ “อยาก….มากกว่า….” แต่ละคำมีหลักการใช้ที่แตกต่างกันดังนี้

prefer

– prefer + something + to + something else. เป็นการบอกว่า ชอบบางสิ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้ to เป็นตัวเชื่อม ในโครงสร้าง S + prefer(s) + Noun1 + to + Noun2 เช่น

     I prefer tea to coffee. (ฉันชอบชามากกว่ากาแฟ)
     Noun 1 = tea / Noun 2 = coffee

     She prefers a fountain pen to a ball-point pen. (เธอชอบปากกาหมึกซึมมากกว่าปากกาลูกลื่น)
     Noun 1 = a fountain pen / Noun 2 = a ball-point pen

– prefer + doing something to doing something else. เป็นการบอกว่า ชอบการทำอะไรมากกว่าการทำอะไรอีกอย่างหนึ่ง โดยใช้ to เป็นตัวเชื่อม ในโครงสร้าง S + prefer(s) + Gerund1 (v.ing) + to Gerund2 (v.ing) เช่น

     I prefer walking to cycling. (ฉันชอบการเดินมากกว่าการขี่จักรยาน)
     Athiwara prefers running to swimming. (อาทิวราห์ชอบการวิ่งมากกว่าการว่ายน้ำ)

ข้อควรจำ

1. ทั้งสองโครงสร้างนี้เป็นการใช้ prefer กับคำนาม 
2. โครงสร้างที่สอง V.ing คือ Gerund (กริยาเติม ing ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม) 
3. เชื่อมด้วย to ซึ่งหน้า to และ หลัง to จะต้องเป็นคำประเภทเดียวกัน คือ ถ้าเป็นคำนามก็ต้องเป็นคำนามทั้งสองคำ เช่น I prefer tea to coffee. หรือถ้าเป็น Gerund ก็ต้องเป็น Gerund ทั้งสองคำ เช่น I prefer walking to cycling.
4. ห้ามใช้ prefer กับ than 

– prefer + to do something rather than (do) something else. เป็นการบอกว่า ชอบทำบางสิ่งมากกว่าทำอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้ rather than เป็นคำเชื่อม ในโครงสร้าง S + prefer + to V.1 + rather than + to V.1/noun เช่น

     Nida prefers to stay here rather than to go there. (นิดาชอบอยู่ที่นี่มากกว่าไปที่นั่น) 
     I prefer to drive rather than travel by train. (ฉันชอบขับรถมากกว่าเดินทางโดยรถไฟ) 
     Children prefer to watch television rather than reading. (เด็ก ๆ ชอบดูทีวีมากกว่าการอ่านหนังสือ)

ข้อสังเกต : คำที่อยู่หน้าและหลัง rather than เป็นคำคนละประเภทกันก็ได้ เช่น Children prefer to watch television rather than reading

would prefer

would prefer แปลว่า อยากมากกว่า ใช้ในสถานการณ์เฉพาะเจาะจงมากกว่า prefer โดย would prefer จะตามด้วย to + infinitive หรือ คำนาม ดังนี้
– would prefer ตามด้วย to infinitive (V.1) โครงสร้าง คือ S + would prefer + to infinitive (V.1) รูปย่อคือ ’d prefer + to V.1 เช่น

     I would prefer to speak to you in private. (ฉันอยากพูดกับคุณเป็นการส่วนตัวมากกว่า) 
     I’d prefer to sit in the garden rather than watch TV. (ฉันอยากนั่งในสวนมากกว่าดูทีวี) 

หรือถ้าเป็นสถานการณ์ที่เรารู้อยู่แล้ว เช่น น้องสาวชวนดูทีวี แต่เราอยากนั่งในสวนมากกว่า ก็บอกแค่ว่า I’d prefer to sit in the garden. ได้เช่นกัน

– would prefer ตามด้วยคำนาม โครงสร้างคือ S + would prefer + noun เช่น

     I’d prefer fruit juice to water. (ฉันอยากน้ำผลไม้มากกว่าน้ำเปล่า) 
     I’d prefer playing outdoors to watching television. (ฉันอยากเล่นข้างนอกมากกว่าการดูทีวี)

     Q: Would you prefer tea or coffee? (คุณต้องการชาหรือกาแฟ)
     A: Coffee, please. (กาแฟค่ะ) 

ข้อสังเกต : การใช้ตัวเชื่อม to หรือ rather than ใช้หลักเดียวกับ prefer

would rather 

would rather (do) = would prefer (to do) หมายถึง อยากมากกว่า แต่ would rather จะตามด้วยคำกริยาช่อง 1 โดยไม่ต้องมี to (infinitive without to) โครงสร้าง คือ S + would rather + V.1 หรือใช้ than เป็นตัวเชื่อมได้ ในโครงสร้าง S + would rather + V.1 + than + V.1 เช่น

     His wife would rather rent a house. (ภรรยาของเขาอยากเช่าบ้านมากกว่า) 
     I’d rather go by car. (ฉันอยากไปด้วยรถยนต์มากกว่า) 
     I’d rather use a keyboard than write with a pen. (ฉันอยากใช้คีย์บอร์ดมากกว่าเขียนด้วยปากกา)
     I’d rather walk than cycle. (ฉันอยากเดินมากกว่าขี่จักรยาน) 

การทำเป็นรูปปฏิเสธ

การทำเป็นรูปปฏิเสธเพียงแค่ใส่ not หลัง prefer / would prefer / would rather ซึ่งจะให้ความหมายว่า ไม่อยากทำ… เช่น

     I prefer not to talk about it now. (ฉันไม่อยากพูดถึงมันตอนนี้) 
     I would prefer not to become a teacher. (ฉันไม่อยากกลายเป็นครู = ฉันไม่อยากเป็นครู)
     I would rather not rent a house in the Outback. (ฉันไม่อยากเช่าบ้านในชนบทห่างไกล) 

 

[Update] Question Tag ใช้ยังไงให้ถูกต้อง? | การใช้ used to would – NATAVIGUIDES

คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่น้อยนะครับ หากเมื่อเราจะถามอะไรก็ต้องมานั่งเปลี่ยนจากประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถามทุกครั้ง แต่จะง่ายกว่าไหมครับหากว่าเราพูดประโยคบอกเล่าออกไปแล้วตบด้วยสองสามคำสั้นๆ ประโยคนั้นก็กลายเป็นประโยคคำถามขึ้นมา การทำแบบนั้นเราเรียกว่า Question tag

Question tag คือ รูปประโยคคำถามย่อๆที่ถูกนำมาต่อท้ายประโยคบอกเล่า เพื่อให้ประโยคนั้นกลายเป็นประโยคคำถาม หรือเพื่อให้ผู้ฟังได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่ง Question tag นี้จะใช้ในภาษาพูดเท่านั้นนะครับ

*** ถ้าประโยคหลักเป็นประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence) ส่วนของ Tag จะต้องเป็นประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence)

*** ถ้าประโยคหลักเป็นประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) ส่วนของ Tag จะต้องเป็นประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence)

question-tag

หลักการสร้าง Question tag มีดังต่อไปนี้

1. ประโยคบอกเล่าที่มีกริยาช่วย ( to be, V. to have, V. to do, will, would, shall, should, may, might, can, could) ให้ใช้กริยาช่วยเหล่านั้นมาทำเป็น Question tag ได้เลย เช่น

  • Jack is from Spain, isn’t he?
  • Mary can speak English, can’t she?
  • He shouldn’t say things like that, should he?
  • They aren’t funny, are they?

2. ถ้าประโยคหลักอยู่ในรูปของ present simple (รูปประโยค ประธาน + กริยาช่อง 1)ให้ใช้ do, does เข้ามาช่วยในการสร้างส่วนของ Tag เช่น

  • She loves shopping, doesn’t she?
  • They have a lot of friends, don’t they? (have ในประโยคไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยแต่ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้ แปลว่า มี)

3. ถ้าประโยคหลักอยู่ในรูปของ past simple (รูปประโยค ประธาน + กริยาช่อง 2) ให้ใช้ did เข้ามาช่วยในการสร้างส่วนของ Tag เช่น

  • You killed her, didn’t you?
  • He ate the banana, didn’t he?

4. ถ้าประโยคหลักใช้ I’m ส่วนของ Tag ต้องใช้ aren’t I? แต่ถ้าประโยคหลักใช้ I’m not ส่วนของ Tag ต้องใช้ am I? เช่น

  • I am attractive, aren’t I?
  • I am not the last one, am I?

5. ถ้าประโยคที่มี This is, That is อยู่ในประโยคหลัก ส่วนของ Tag จะต้องใช้เป็น Isn’t it? หรือ Is it? (ขึ้นอยู่ว่าประโยคหลักอยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธ) เช่น

  • This is my friend, isn’t it?
  • That is a book, isn’t it?

6. ถ้าประโยคที่มี These are, Those  are อยู่ในประโยคหลัก ส่วนของ Tag จะต้องใช้เป็น aren’t  they? หรือ are they? (ขึ้นอยู่ว่าประโยคหลักอยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธ) เช่น

  • These are pens, aren’t they?
  • Those are not your shoes, are they?

7. ถ้าประโยคหลักเป็นประโยคคำสั่ง(แต่ไม่ใช่ในเชิงปฏิเสธหรือประโยคคำสั่งที่ไม่มี not) ส่วนของ Tag จะเป็น will you? หรือ won’t you? ก็ได้ เช่น

  • Stop daydreaming, will / won’t you?
  • Be quiet, will / won’t you?

8. ถ้าประโยคหลักเป็นประโยคคำสั่ง(ในเชิงปฏิเสธหรือประโยคคำสั่งที่มี not) ส่วนของ Tag จะเป็นต้องเป็น will you? เช่น

  • Don’t stop running, will you?

*** อาจจำไปเลยก็ได้ครับว่าถ้าประโยคหลักเป็นประโยคคำสั่ง ส่วนของ Tag จะเป็น will you?

9. ถ้าประโยคหลักมี Let’s (Let us) ส่วนของ Tag จะต้องเป็น shall we? แต่ถ้าประโยคหลักมี Let+Objective+V.1 ส่วนของ Tag จะต้องเป็น will you?เช่น

  • Let’s go, shall we?
  • Let it go, will you?

การตอบคำถามประโยค Question tag

การตอบคำถามของประโยค Question tag นั้นเราจะใช้ Yes และ No เข้ามาช่วยในการตอบคำถาม

  • ถ้าประโยคหลักเป็นประโยคบอกเล่า
  • จะตอบ Yes เมื่อเราเห็นด้วยกับประโยคหลัก
  • จะตอบ No เมื่อเราไม่เห็นด้วยกับประโยคหลัก

เช่น He can speak Thai, can’t he? (เขาพูดภาษาไทยได้,ใช่ไหม)
Yes, he can. (ใช่ เขาพูดภาษาไทยได้)
No, he can’t. (ไม่ เขาพูดภาษาไทยไม่ได้)

  • ถ้าประโยคหลักเป็นประโยคปฏิเสธ
  • จะตอบ No เมื่อเราเห็นด้วยกับประโยคหลัก
  • จะตอบ Yes เมื่อเราไม่เห็นด้วยกับประโยคหลัก

เช่น You don’t like dog, do you? (คุณไม่ชอบสุนัข,ใช่ไหม)
No, I don’t. (ใช่ ฉันไม่ชอบสุนัข)
Yes, I do. (ไม่นะ ฉันชอบสุนัข)

ไม่ยากเลยใช่ไหมครับสำหรับเรื่องของ Question tag ถึงแม้เรื่องนี้จะไม่พบในภาษาเขียนหรือภาษาที่เป็นทางการ แต่สำหรับภาษาพูดเรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียวครับ ดังนั้นลองศึกษาและหัดเอาไปใช้บ่อยๆนะครับ

 


used to, use to, be used to, get used to เหมือนกันไปหมดใช้ยังไงนะ


การใช้ used to, use to, be used to, get used to เป็นอะไรที่น่าปวดหัวสำหรับคนเรียนภาษาอังกฤษอย่างมาก เพราะความหมายเหมือนกันไปหมด วีดีโอนี้ครูนิดจะมาอธิบายวิธีการใช้อย่างละเอียดค่า

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

used to, use to, be used to, get used to เหมือนกันไปหมดใช้ยังไงนะ

20. used to, would, be used to สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 ของวันที่ 6 สิงหาคม


ให้นักเรียนจดเนื้อหาตามในคลิป และฝึกทำแบบฝึกหัดตาม ในหน้าที่ 25 ข้อ 7 ใหญ่ (ไม่มีการบ้าน)

20. used to, would, be used to สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 ของวันที่ 6 สิงหาคม

การใช้ used to


เรียนคอร์สออนไลน์: http://www.learningtreeuk.com
ติดตามทางเฟสบุ๊ค: http://www.facebook.com/learninguk
ติดต่อสอบถาม: https://line.me/R/ti/p/%40ttw7272u
และไลน์ของครูพิม pimolwan1984

การใช้ used to

What Have You Been Doing? – Present Perfect Continuous


Learn how to use Present Perfect Continuous through this story. There are many examples in the video that can help you understand this tense easily and use it correctly.

What Have You Been Doing? - Present Perfect Continuous

15. Cách dùng của USED TO và WOULD


15. Cách dùng của USED TO và WOULD

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การใช้ used to would

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *