Skip to content
Home » [Update] George Green กับฟิสิกส์ (1) | ห้องสมุด สสวท – NATAVIGUIDES

[Update] George Green กับฟิสิกส์ (1) | ห้องสมุด สสวท – NATAVIGUIDES

ห้องสมุด สสวท: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Nottingham เป็นชื่อของเมืองๆ หนึ่งในอังกฤษตอนกลางที่หลายคนรู้ว่า Robin Hood เคยอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ แต่เมื่อถึงวันนี้ โลกวิชาการรู้จัก Nottingham ว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของ George Green ผู้มีผลงานคณิตศาสตร์ที่สำคัญให้นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ใช้ในการศึกษาจนทุกวันนี้

บิดาของ George Green มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายขนมปังในเมือง Nottingham ถึงแม้ไม่มีใครรู้วันเกิดที่แน่ชัดของเขา แต่บันทึกของโบสถ์ประจำเมือง แสดงให้เห็นว่า George Green เข้าพิธีเจิมน้ำมนตร์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 (รัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) และเมื่อมีอายุได้ 8 ขวบ Green ได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Robert Goodacre แต่เรียนได้นานเพียง 18 เดือน ก็ต้องลาออกไปช่วยบิดาขายขนมปัง และนั่นก็คือเวลาทั้งหมดที่ Green ได้เรียนหนังสือ ก่อนที่จะได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย

หลังจากที่ทำงานในร้านได้นาน 5 ปี Green ก็ถูกบิดาส่งตัวไปทำงานเป็นพนักงานโรงสีที่หมู่บ้าน Sneiton ซึ่งอยู่ห่างจาก Nottingham 2 กิโลเมตร Green ทำงานที่นั่น จนกระทั่งอายุ 31 ปี ภรรยา Jane Smith ก็ให้กำเนิดบุตรสาวเป็นทายาทคนแรกของครอบครัว และถึงแม้ Green กับภรรยาจะมีลูกทั้งหมด 7 คน แต่คนทั้งสองก็ไม่ได้สมรสกันอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เพราะบิดาของ Green ไม่ชอบ Jane ในประเด็นว่า มีฐานะต่ำต้อยไม่คู่ควรกับบุตรชายของตนเลย ดังนั้น บิดาจึงขู่ว่า ถ้า Green สมรสกับ Jane เขาก็จะถูกตัดออกจากกองมรดก

โลกไม่มีประวัติที่ละเอียดของ Green ในวัย 9-30 ปี ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่า การที่ Green เก่งคณิตศาสตร์ในเวลาต่อมา เพราะเขาได้ใครสอนหรือเขาเก่ง โดยเรียนด้วยตนเอง การสืบเสาะประวัติของนักคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในสมัย Green และที่อาศัยอยู่ในเมือง Nottingham ทำให้หลายคนคิดว่า John Toplis คงได้ช่วยเหลือ Green เพราะ Toplis คือผู้แปลหนังสือชื่อ Mechanique Celeste ของ Pierre Simon Laplace ที่ว่าด้วยดาราศาสตร์และเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ก็เป็นสิ่งที่ Green ใช้ในการสร้างทฤษฎีสนามศักย์ของเขาในเวลาต่อมา

เมื่อ Green อายุได้ 31 ปี เขาได้สมัครเป็นสมาชิกของห้องสมุดประจำเมือง Nottingham ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรมวิชาการในเมืองในสมัยนั้น การเป็นสมาชิกห้องสมุดทำให้ Green มีโอกาสอ่านวารสารวิชาการต่างๆ และเมื่อได้อ่านบทความแล้ว เขาก็มักเขียนจดหมายถึงนักวิจัยที่มีบทความปรากฏในวารสาร เพื่อขอให้นักวิจัยเหล่านั้นส่งผลงานที่ Green สนใจมาให้อ่าน

เมื่ออายุ 35 ปี Green ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องแรกในชีวิตชื่อ An Essay on the Application of Mathematical Analysis to the Theories of Electricity and Magnetism ซึ่งว่าด้วยการใช้เทคนิคคณิตศาสตร์แก้โจทย์แม่เหล็กไฟฟ้า ในผลงานที่ยาว 70 หน้านี้ Green ได้แสดงให้เห็นที่มาของทฤษฎี Green และการใช้ฟังก์ชัน Green ในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายรูปแบบ เพราะในสมัยนั้นเวลานักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ต้องการเผยแพร่ผลงาน เขามักส่งงานวิจัยไปลงพิมพ์ในวารสารของสมาคม Royal Society หรือ Cambridge Philosophical Society แต่ Green เป็นคนที่ไม่มีปริญญาประดับกายเลย และไม่มีคนในวงการคณิตศาสตร์คนใดรู้จัก ปมด้อย นี้ได้ทำให้ Green รู้สึกว่า ตนไม่สมควรส่งงานวิจัยไปรับการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงทั้งสองฉบับ ดังนั้น เขาจึงใช้เงินส่วนตัวจ่ายเป็นค่าพิมพ์บทความ ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 7.5 ชิลลิง/เล่ม เงินจำนวนนี้มากพอๆ กับค่าจ้างกรรมการ/สัปดาห์ การลงทุนเช่นนี้ ทำให้บรรดาสมาชิกคนอื่นๆ ของห้องสมุดพากันช่วยซื้อหนังสือที่ Green พิมพ์ ทั้งๆ ที่หลายคนอ่านหนังสือนั้นไม่รู้เรื่อง แต่ทุกคนก็ซื้อเพื่อช่วยเพื่อนสมาชิกของสมาคม

สำหรับเหตุผลหลักของการที่ Green ลงทุนพิมพ์ผลงานของตนนั้นก็เพื่อให้นักคณิตศาสตร์คนอื่นๆ ได้ มีโอกาสรู้จักตน แต่ผลก็ปรากฏว่า ไม่มีใครสนใจติดตามอ่านหนังสือที่ Green เขียนเลย นอกจาก Edward Bromhead ซึ่งได้อาสาจะจัดพิมพ์ผลงานในอนาคตของ Green ให้โดย Bromhead ได้กล่าวแนะนำตนเอง ในจดหมายที่เขียนถึง Green ว่า ตนมีฐานะค่อนข้างดี และมีงานทำในเมือง Lincoln ที่อยู่ห่างจาก Nottingham ที่ Green อาศัยอยู่ประมาณ 55 กิโลเมตร การเป็นคนที่รักวิชาคณิตศาสตร์มาก จึงทำให้ Bromhead ได้รู้จักนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคน เข่น Charles Babbage กับ John Herschel เป็นต้น

เมื่อได้อ่านหนังสือของ Green Bromhead ก็รู้ว่า Green รักคณิตศาสตร์ด้วย ดังนั้น เขาจึงบอกว่า ถ้า Green ต้องการพิมพ์ผลงานชิ้นต่อไปในอนาคต ก็ขอให้ติดต่อไป เพื่อ Bromhead จะได้จัดการให้ Green มิได้ตอบรับข้อเสนอของ Bromhead อย่างทันทีทันใด จนกระทั่งอีก 20 เดือนต่อมา ในจดหมายตอบ Green ได้กล่าวตอบขอบคุณจดหมายของ Bromhead และกล่าวขอโทษที่ตอบจดหมายช้า ทั้งนี้เพราะ Green เชื่อเพื่อนที่บอกว่า Bromhead สัญญาจะช่วยอย่างไม่จริงใจ และนอกจากเหตุผลนี้แล้ว สถานะทางสังคมของ Bromhead กับ Green ก็แตกต่างกันมาก จน Green รู้สึกไม่สมควรที่ตนจะเขียนจดหมายถึงผู้มีศักดิ์สูงกว่า แต่เมื่อถึงวันนี้ Green ก็รู้สึกว่า ตนคิดผิดถนัด ทันทีที่ Bromhead ได้จดหมายของ Green เขาตอบกลับอย่างฉับพลัน การโต้ตอบจดหมายในเวลาต่อมาทำให้ Green และ Bromhead สนิทสนมกันมากขึ้นๆ และ Bromhead ก็ได้เชิญให้ Green ไปเยี่ยมบ้านของตนที่เมือง Lincoln จะอย่างไรก็ตาม สัมพันธภาพกับ Bromhead ได้ทำให้ผลงานของ Green ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอีก 8 เรื่อง ในช่วงปี พ.ศ. 2378-2382 และในการเขียนจดหมายถึงกันนั้น Green ได้บอก Bromhead ว่าตนใฝ่ฝันจะได้เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัย Cambridge แต่ตนมีข้อบกพร่องหลายเรื่อง เช่น ไม่รู้ภาษาละตินแม้แต่น้อย และถ้าจะกล่าวถึงภาษากรีกด้วย ตนก็ยิ่งไม่ประสีประสาอะไร นอกจากนี้ตนก็มีปัญหาเรื่องอายุ (เกือบ 40 ปี) อีกทั้งมีลูก 4 คน (กฎมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น บังคับให้นิสิตต้องรักษาพรหมจรรย์ และถ้ารักษาไม่ได้ ก็ต้องไม่แต่งงาน) ข้อบกพร่องเหล่านี้จึงไม่น่าทำให้ Green สามารถเข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัย Cambridge ได้

แต่ Bromhead เป็นคนมีอิทธิพล ดังนั้น โดยอาศัยคำรับรองของ Bromhead ในที่สุด Green ชายวัย 40 ปี ก็ได้เข้าเรียนคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัย Gonville and Caius แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ Bromhead ได้เคยเรียนมาก่อน Green ใช้เวลา 4 ปีก็เรียนสำเร็จ และอีก 2 ปี ต่อมาเมื่อเขาผลิตงานวิจัยคณิตศาสตร์ชิ้นสำคัญได้อีก เขาก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิก Fellow ของมหาวิทยาลัย Cambridge ทันที

ในขณะที่ ชีวิตวิชาการกำลังพุ่งขึ้นๆ สุขภาพก็กำลังพุ่งลงๆ Green ได้ล้มป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่และมีอาการทรุดลงๆ จนต้องเดินทางกลับ Nottingham และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2384

Green จากโลกนี้ไปโดยไม่มีภาพถ่ายและภาพวาดเหมือนให้โลกเห็นเลย ทั้งนี้เพราะเขาได้เสียชีวิตไปก่อนที่โลกจะตระหนักในความสำคัญของผลงานของเขา และกล้องถ่ายรูปก็ยังไม่มีใช้

หลังจากที่ Green ตายไปไม่นาน William Thomson ผู้เป็นนักฟิสิกส์หนุ่ม (ซึ่งในเวลาต่อมาคือ Lord Kelvin ผู้มีชื่อเสียง) ได้เดินทางไป Cambridge เพื่อหาซื้อหนังสือที่ Green เขียน ทั้งนี้เพราะเขาเคยอ่านผลงานของ Green และรู้สึกประทับใจมาก จึงต้องการซื้อหนังสือทุกเล่มที่มีผลงานของ Green ปรากฏ แต่ก็ไม่มีร้านขายหนังสือใด มีหนังสือที่เขาต้องการ ในที่สุดเขาก็ได้พบว่า William Hopkins ผู้เป็นเพื่อนคนหนึ่งของเขามีหนังสือของ Green ในครอบครอง 3 เล่ม เขาจึงยืมหนังสือไปอ่านก่อนเดินทางไปปารีส เพื่อฝึกวิจัยกับ J. Loiuville และ C. Sturm ผู้มีชื่อเสียง และขณะอยู่ในฝรั่งเศสนาน 4 เดือนนั้น Thomson ได้พบว่า นักฟิสิกส์ของฝรั่งเศสหลายคนเช่น J. Fourier กับ Laplace และ Poisson ต่างก็รู้สึกตื่นเต้นในผลงานของ Green มาก ดังนั้นเมื่อ Thomson เดินทางกลับอังกฤษ เขาก็ได้จัดการพิมพ์บทความของ Green ลงในวารสาร Crell ทันที และนั่นก็คือที่มาของความยิ่งใหญ่ของ Green จนทุกวันนี้

สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท

Nottingham เป็นชื่อของเมืองๆ หนึ่งในอังกฤษตอนกลางที่หลายคนรู้ว่า Robin Hood เคยอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ แต่เมื่อถึงวันนี้ โลกวิชาการรู้จัก Nottingham ว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของผู้มีผลงานคณิตศาสตร์ที่สำคัญให้นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ใช้ในการศึกษาจนทุกวันนี้บิดาของ George Green มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายขนมปังในเมือง Nottingham ถึงแม้ไม่มีใครรู้วันเกิดที่แน่ชัดของเขา แต่บันทึกของโบสถ์ประจำเมือง แสดงให้เห็นว่า George Green เข้าพิธีเจิมน้ำมนตร์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 (รัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) และเมื่อมีอายุได้ 8 ขวบ Green ได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Robert Goodacre แต่เรียนได้นานเพียง 18 เดือน ก็ต้องลาออกไปช่วยบิดาขายขนมปัง และนั่นก็คือเวลาทั้งหมดที่ Green ได้เรียนหนังสือ ก่อนที่จะได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยหลังจากที่ทำงานในร้านได้นาน 5 ปี Green ก็ถูกบิดาส่งตัวไปทำงานเป็นพนักงานโรงสีที่หมู่บ้าน Sneiton ซึ่งอยู่ห่างจาก Nottingham 2 กิโลเมตร Green ทำงานที่นั่น จนกระทั่งอายุ 31 ปี ภรรยา Jane Smith ก็ให้กำเนิดบุตรสาวเป็นทายาทคนแรกของครอบครัว และถึงแม้ Green กับภรรยาจะมีลูกทั้งหมด 7 คน แต่คนทั้งสองก็ไม่ได้สมรสกันอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เพราะบิดาของ Green ไม่ชอบ Jane ในประเด็นว่า มีฐานะต่ำต้อยไม่คู่ควรกับบุตรชายของตนเลย ดังนั้น บิดาจึงขู่ว่า ถ้า Green สมรสกับ Jane เขาก็จะถูกตัดออกจากกองมรดกโลกไม่มีประวัติที่ละเอียดของ Green ในวัย 9-30 ปี ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่า การที่ Green เก่งคณิตศาสตร์ในเวลาต่อมา เพราะเขาได้ใครสอนหรือเขาเก่ง โดยเรียนด้วยตนเอง การสืบเสาะประวัติของนักคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในสมัย Green และที่อาศัยอยู่ในเมือง Nottingham ทำให้หลายคนคิดว่า John Toplis คงได้ช่วยเหลือ Green เพราะ Toplis คือผู้แปลหนังสือชื่อ Mechanique Celeste ของ Pierre Simon Laplace ที่ว่าด้วยดาราศาสตร์และเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ก็เป็นสิ่งที่ Green ใช้ในการสร้างทฤษฎีสนามศักย์ของเขาในเวลาต่อมาเมื่อ Green อายุได้ 31 ปี เขาได้สมัครเป็นสมาชิกของห้องสมุดประจำเมือง Nottingham ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรมวิชาการในเมืองในสมัยนั้น การเป็นสมาชิกห้องสมุดทำให้ Green มีโอกาสอ่านวารสารวิชาการต่างๆ และเมื่อได้อ่านบทความแล้ว เขาก็มักเขียนจดหมายถึงนักวิจัยที่มีบทความปรากฏในวารสาร เพื่อขอให้นักวิจัยเหล่านั้นส่งผลงานที่ Green สนใจมาให้อ่านเมื่ออายุ 35 ปี Green ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องแรกในชีวิตชื่อ An Essay on the Application of Mathematical Analysis to the Theories of Electricity and Magnetism ซึ่งว่าด้วยการใช้เทคนิคคณิตศาสตร์แก้โจทย์แม่เหล็กไฟฟ้า ในผลงานที่ยาว 70 หน้านี้ Green ได้แสดงให้เห็นที่มาของทฤษฎี Green และการใช้ฟังก์ชัน Green ในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายรูปแบบ เพราะในสมัยนั้นเวลานักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ต้องการเผยแพร่ผลงาน เขามักส่งงานวิจัยไปลงพิมพ์ในวารสารของสมาคม Royal Society หรือ Cambridge Philosophical Society แต่ Green เป็นคนที่ไม่มีปริญญาประดับกายเลย และไม่มีคนในวงการคณิตศาสตร์คนใดรู้จัก ปมด้อย นี้ได้ทำให้ Green รู้สึกว่า ตนไม่สมควรส่งงานวิจัยไปรับการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงทั้งสองฉบับ ดังนั้น เขาจึงใช้เงินส่วนตัวจ่ายเป็นค่าพิมพ์บทความ ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 7.5 ชิลลิง/เล่ม เงินจำนวนนี้มากพอๆ กับค่าจ้างกรรมการ/สัปดาห์ การลงทุนเช่นนี้ ทำให้บรรดาสมาชิกคนอื่นๆ ของห้องสมุดพากันช่วยซื้อหนังสือที่ Green พิมพ์ ทั้งๆ ที่หลายคนอ่านหนังสือนั้นไม่รู้เรื่อง แต่ทุกคนก็ซื้อเพื่อช่วยเพื่อนสมาชิกของสมาคมสำหรับเหตุผลหลักของการที่ Green ลงทุนพิมพ์ผลงานของตนนั้นก็เพื่อให้นักคณิตศาสตร์คนอื่นๆ ได้ มีโอกาสรู้จักตน แต่ผลก็ปรากฏว่า ไม่มีใครสนใจติดตามอ่านหนังสือที่ Green เขียนเลย นอกจาก Edward Bromhead ซึ่งได้อาสาจะจัดพิมพ์ผลงานในอนาคตของ Green ให้โดย Bromhead ได้กล่าวแนะนำตนเอง ในจดหมายที่เขียนถึง Green ว่า ตนมีฐานะค่อนข้างดี และมีงานทำในเมือง Lincoln ที่อยู่ห่างจาก Nottingham ที่ Green อาศัยอยู่ประมาณ 55 กิโลเมตร การเป็นคนที่รักวิชาคณิตศาสตร์มาก จึงทำให้ Bromhead ได้รู้จักนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคน เข่น Charles Babbage กับ John Herschel เป็นต้นเมื่อได้อ่านหนังสือของ Green Bromhead ก็รู้ว่า Green รักคณิตศาสตร์ด้วย ดังนั้น เขาจึงบอกว่า ถ้า Green ต้องการพิมพ์ผลงานชิ้นต่อไปในอนาคต ก็ขอให้ติดต่อไป เพื่อ Bromhead จะได้จัดการให้ Green มิได้ตอบรับข้อเสนอของ Bromhead อย่างทันทีทันใด จนกระทั่งอีก 20 เดือนต่อมา ในจดหมายตอบ Green ได้กล่าวตอบขอบคุณจดหมายของ Bromhead และกล่าวขอโทษที่ตอบจดหมายช้า ทั้งนี้เพราะ Green เชื่อเพื่อนที่บอกว่า Bromhead สัญญาจะช่วยอย่างไม่จริงใจ และนอกจากเหตุผลนี้แล้ว สถานะทางสังคมของ Bromhead กับ Green ก็แตกต่างกันมาก จน Green รู้สึกไม่สมควรที่ตนจะเขียนจดหมายถึงผู้มีศักดิ์สูงกว่า แต่เมื่อถึงวันนี้ Green ก็รู้สึกว่า ตนคิดผิดถนัด ทันทีที่ Bromhead ได้จดหมายของ Green เขาตอบกลับอย่างฉับพลัน การโต้ตอบจดหมายในเวลาต่อมาทำให้ Green และ Bromhead สนิทสนมกันมากขึ้นๆ และ Bromhead ก็ได้เชิญให้ Green ไปเยี่ยมบ้านของตนที่เมือง Lincoln จะอย่างไรก็ตาม สัมพันธภาพกับ Bromhead ได้ทำให้ผลงานของ Green ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอีก 8 เรื่อง ในช่วงปี พ.ศ. 2378-2382 และในการเขียนจดหมายถึงกันนั้น Green ได้บอก Bromhead ว่าตนใฝ่ฝันจะได้เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัย Cambridge แต่ตนมีข้อบกพร่องหลายเรื่อง เช่น ไม่รู้ภาษาละตินแม้แต่น้อย และถ้าจะกล่าวถึงภาษากรีกด้วย ตนก็ยิ่งไม่ประสีประสาอะไร นอกจากนี้ตนก็มีปัญหาเรื่องอายุ (เกือบ 40 ปี) อีกทั้งมีลูก 4 คน (กฎมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น บังคับให้นิสิตต้องรักษาพรหมจรรย์ และถ้ารักษาไม่ได้ ก็ต้องไม่แต่งงาน) ข้อบกพร่องเหล่านี้จึงไม่น่าทำให้ Green สามารถเข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัย Cambridge ได้แต่ Bromhead เป็นคนมีอิทธิพล ดังนั้น โดยอาศัยคำรับรองของ Bromhead ในที่สุด Green ชายวัย 40 ปี ก็ได้เข้าเรียนคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัย Gonville and Caius แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ Bromhead ได้เคยเรียนมาก่อน Green ใช้เวลา 4 ปีก็เรียนสำเร็จ และอีก 2 ปี ต่อมาเมื่อเขาผลิตงานวิจัยคณิตศาสตร์ชิ้นสำคัญได้อีก เขาก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิก Fellow ของมหาวิทยาลัย Cambridge ทันทีในขณะที่ ชีวิตวิชาการกำลังพุ่งขึ้นๆ สุขภาพก็กำลังพุ่งลงๆ Green ได้ล้มป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่และมีอาการทรุดลงๆ จนต้องเดินทางกลับ Nottingham และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2384Green จากโลกนี้ไปโดยไม่มีภาพถ่ายและภาพวาดเหมือนให้โลกเห็นเลย ทั้งนี้เพราะเขาได้เสียชีวิตไปก่อนที่โลกจะตระหนักในความสำคัญของผลงานของเขา และกล้องถ่ายรูปก็ยังไม่มีใช้หลังจากที่ Green ตายไปไม่นาน William Thomson ผู้เป็นนักฟิสิกส์หนุ่ม (ซึ่งในเวลาต่อมาคือ Lord Kelvin ผู้มีชื่อเสียง) ได้เดินทางไป Cambridge เพื่อหาซื้อหนังสือที่ Green เขียน ทั้งนี้เพราะเขาเคยอ่านผลงานของ Green และรู้สึกประทับใจมาก จึงต้องการซื้อหนังสือทุกเล่มที่มีผลงานของ Green ปรากฏ แต่ก็ไม่มีร้านขายหนังสือใด มีหนังสือที่เขาต้องการ ในที่สุดเขาก็ได้พบว่า William Hopkins ผู้เป็นเพื่อนคนหนึ่งของเขามีหนังสือของ Green ในครอบครอง 3 เล่ม เขาจึงยืมหนังสือไปอ่านก่อนเดินทางไปปารีส เพื่อฝึกวิจัยกับ J. Loiuville และ C. Sturm ผู้มีชื่อเสียง และขณะอยู่ในฝรั่งเศสนาน 4 เดือนนั้น Thomson ได้พบว่า นักฟิสิกส์ของฝรั่งเศสหลายคนเช่น J. Fourier กับ Laplace และ Poisson ต่างก็รู้สึกตื่นเต้นในผลงานของ Green มาก ดังนั้นเมื่อ Thomson เดินทางกลับอังกฤษ เขาก็ได้จัดการพิมพ์บทความของ Green ลงในวารสาร Crell ทันที และนั่นก็คือที่มาของความยิ่งใหญ่ของ Green จนทุกวันนี้สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท

[NEW] ห้องสมุดสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) | ห้องสมุด สสวท – NATAVIGUIDES

You must enable JavaScript to use foursquare.com

We use the latest and greatest technology available to provide the best possible web experience.
Please enable JavaScript in your browser settings to continue.

Download Foursquare for your smart phone and start exploring the world around you!


1. รู้จักโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ. (OBEC Library Automatiom System)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

1. รู้จักโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ. (OBEC Library Automatiom System)

[Dview] ห้องสมุดสถาปัตย์ จุฬาฯ มากกว่าพื้นที่ของการอ่าน คือ พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจ


เมื่อพูดถึงห้องสมุด ภาพที่เรามักจินตนาการถึง ก็คงหนีไม่พ้นสถานที่เงียบสงบ พื้นที่ของการอ่านที่ห้ามมีใครมารบกวน ห้ามส่งเสียงดัง นั่นคือสิ่งที่เราถูกปลูกฝังจนกลายเป็นภาพจำเดิมๆ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีผลกับพฤติกรรมของคนมากขึ้น บทบาทของพื้นที่ห้องสมุดที่จะมาตอบสนองต่อการใช้งานของคนในยุคปัจจุบันย่อมต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จึงเกิดการรีโนเวทพื้นที่ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ โดยได้สถาปนิกจาก DEPARTMENT OF ARCHITECTURE มามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเริ่มจากการนำคำถามต่อบทบาทของสมุดในอดีตเหล่านี้ มาเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ
.
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/34m5z17

[Dview] ห้องสมุดสถาปัตย์ จุฬาฯ มากกว่าพื้นที่ของการอ่าน คือ พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจ

แนะนำบริการออนไลน์ของห้องสมุด


สำนักหอสมุดกลาง มศว ขอแนะนำบริการออนไลน์ โดยสามารถเข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ห้องสมุด http://lib.swu.ac.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แนะนำบริการออนไลน์ของห้องสมุด

AR | คณิตศาสตร์ สสวท ม.2 ปริซึม


AR | คณิตศาสตร์ สสวท ม.2 ปริซึม

2. การติดตั้งโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ. เวอร์ชั่น 3


2. การติดตั้งโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ. เวอร์ชั่น 3

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ห้องสมุด สสวท

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *