Skip to content
Home » [Update] Adverbs (คำกริยาวิเศษณ์) | คําศัพท์ adverb 100 คํา – NATAVIGUIDES

[Update] Adverbs (คำกริยาวิเศษณ์) | คําศัพท์ adverb 100 คํา – NATAVIGUIDES

คําศัพท์ adverb 100 คํา: คุณกำลังดูกระทู้

คำกริยาวิเศษณ์   คือคำที่ใช้ขยายคำกริยาหรืออธิบายลักษณะการกระทำกริยานอกจากนี้ยังใช้ขยายคำคุณศัพท์ และบางคำใช้ขยายคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันได้คำกริยาวิเศษณ์มีทั้งที่เป็นคำเดียวและเป็นกลุ่มคำ

ปัญหาในการใช้คำกริยาวิเศษณ์ คือการวางตำแหน่งของคำในประโยค เพราะในบางครั้งความหมายของประโยคจะเปลี่ยนไป เมื่อวางคำกริยาวิเศษณ์ไว้ในตำแหน่งที่ต่างกัน

           5.2.1 ประเภทและตำแหน่งของคำกริยาวิเศษณ์     
คำกริยาวิเศษณ์มีหลายประเภทและจะวางไว้ตำแหน่งใดขึ้นอยู่กับประเภทของคำกริยาวิเศษณ์นั้น ๆ ประเภทของคำกริยาวิเศษณ์มีดังนี้

1) คำกริยาวิเศษณ์ที่อธิบายลักษณะการกระทำกริยา  ( Adverb of Manner)

คำกริยาวิเศษณ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ในภาษาอังกฤษ เช่น lazily, beautifully,  strictly, helpfully  ซึ่งจะตอบคำถาม   how?  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
The boy is sitting lazily under a tree in the garden.  ( อธิบายว่านั่งอย่างไร)
เป็นการตอบคำถาม   ‘how?’
Question:  How is the boy sitting?
Answer:   He is sitting lazily .
ตัวอย่างประโยคแสดงตำแหน่งของ adverb of manner

                    The boy is sitting lazily under a tree in the garden.

                    The singer sang beautifully .

                    The singer sang the song beautifully .

                    The instructor helpfully explained each student’s mistakes.

                    The 16-year-old girl drove carelessly along the road.

                    Carefully the old lady walked across the busy street.

คำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้วางไว้ได้หลายตำแหน่ง คือ   หลังคำกริยาหรือหลังกรรม เมื่อคำกริยานั้นมีกรรมซึ่งอาจจะเป็นท้ายประโยคเลยก็ได้ แต่บางครั้งถ้ามีคำกริยาวิเศษณ์ประเภทอื่น ในประโยคด้วย อาจจะอยู่หน้าคำกริยาวิเศษณ์นั้น

ตำแหน่งอื่นที่วางคำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้ไว้ได้ คือหน้าคำกริยา  และในกรณี ที่ต้องการเน้นคำขยายสามารถวางไว้หน้าประโยคได้ แต่คำกริยาวิเศษณ์ต้องเป็นคำโดด ๆ

2) คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกสถานที่การกระทำกริยา (Adverb of Place )

คำกริยาวิเศษณ์กลุ่มนี้ใช้บอกสถานที่ เช่น   there, in the (place), here, away, somewhere, nowhere, upstairs, etc.  ซึ่งจะตอบคำถาม   where?  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
My brother sat there 
His sister is working in the library .   ( กลุ่มคำทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์)
He bought the book here .
ทั้ง 3   ประโยคนี้ คำกริยาวิเศษณ์ตอบคำถาม where?
Question:  Where did your brother sit?
Answer:   He sat there .
ตัวอย่างประโยคแสดงตำแหน่งของ adverb of place

                      I left my handbag on the desk .

                      When I came back I couldn’t find my handbag there .

                      I tried to look for my handbag everywhere .

                      Please help me carry this box upstairs .

                      My handbag wasn’t there when I came back.

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าคำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้ต้องวางไว้หลังคำกริยาหรือหลังกรรม เมื่อคำกริยานั้นมีกรรมซึ่งอาจจะเป็นท้ายประโยคเลยก็ได้
คำกริยาวิเศษณ์ here, there  ใช้ตามหลัง   verbs:  be/come/go ได้   และสามารถใช้ในรูปประโยคเช่นนี้ได้
                          Here comes the policeman.
                          There goes the train.  We are only a half a minute late.
ในกรณีเช่นนี้เป็นการเน้นคำขยาย

3) คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกเวลาในการกระทำกริยา ( Adverb of Time)

คำกริยาวิเศษณ์กลุ่มนี้ใช้บอกเวลา เช่น now, tomorrow, recently, afterwards, at once, since then, etc.  ซึ่งจะตอบคำถาม   when?  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
My brother is leaving now . 
His sister will fly to England tonight .
They play tennis in the afternoon . ( กลุ่มคำทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์)
ในทั้ง 3 ประโยคนี้ คำกริยาวิเศษณ์ตอบคำถาม when?
Question:  When will his sister fly to England?
Answer:     She will fly to England tonight .
ตัวอย่างประโยคแสดงตำแหน่งของ adverb of time

                      Eventually Mary came to join us. / Mary came to join us eventually .

                      Then everybody left for the show. / Everybody left for the show then .

                      Please do the work now .  Don’t wait until/till tomorrow .

                      He always returns home late .

                      Please come immediately .  I have something to show you.

จากตัวอย่างประโยคจะเห็นได้ว่า ส่วนมากแล้วคำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้จะต้องวางไว้
หลังคำกริยาหรือหลังกรรม เมื่อคำกริยานั้นมีกรรม   ซึ่งอาจจะเป็นท้ายประโยคเลยก็ได้
คำกริยาวิเศษณ์บางคำ   เช่น   eventually, then, etc. สามารถนำมาไว้หน้าประโยคได้เมื่อ
ต้องการเน้นคำขยาย

**  คำกริยาวิเศษณ์ที่อธิบายลักษณะการกระทำกริยา  ( adverb of manner)   คำกริยาวิเศษณ์ที่ บอกสถานที่การกระทำกริยา ( adverb of place)  และคำกริยาวิเศษณ์ที่บอกเวลาในการกระทำกริยา ( adverb of time)  เมื่อนำมาใช้ในประโยคเดียวกัน มักจะเรียงดังนี้

adverb of manner  +  adverb of place  +  adverb of time

                  ยกเว้น   คำต่อไปนี้ away, back, down, forward, home, in, off, on, out, round, up   และ   here, there จะต้องวางไว้หน้า adverb of manner 

4) คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่   (Adverb of Frequency)

คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ เป็นคำกริยาวิเศษณ์ที่บอกว่ากริยาที่คำกริยาวิเศษณ์ขยายนั้นมีการกระทำบ่อยอย่างไร แบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
                     กลุ่ม   A:   เช่นคำต่อไปนี้   always, usually, frequently, often, sometimes, occasionally,
periodically, repeatedly, continually, once, twice, etc. มีความหมายเป็นเชิงบวก ( positive)   และใช้กับกริยา
affirmative หรือ   negative ได้ เช่น
He always goes to school very early.
We did not always go to school by taxi.
                      กลุ่ม   B:     เช่นคำต่อไปนี้   ever, hardly ever, never, rarely, scarcely (ever), seldom, etc. มีความหมายเป็นเชิงลบ ( negative) และใช้กับกริยา   affirmative
Mike has never eaten Indian food before.
We seldom go to the cinema because we do not have much time.
Brian had scarcely started his car when one of the front tires went flat.
                      คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ตอบคำถาม   how often?  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
He frequently comes to class late.
We sometimes go shopping at the Mall.
                      ใน   2 ประโยคนี้ คำกริยาวิเศษณ์ตอบคำถาม how often?
Question:  How often does he come to class late?
Answer:    Always.  He always comes to class late.
                    การใช้คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่  

                    มักจะใช้กับ   simple present tense แต่ใช้กับ tense อื่น ๆได้     เช่น

It is rarely cold in Bangkok.
We sometimes visit our relatives in the North.
It never snows in Thailand.
Jane and Mary frequently went swimming at the university pool.
Have you ever visited England?
We have never tried Indian food before.

                    ตำแหน่งของคำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่     คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ต้องวางไว้ดังนี้

– หลัง   BE แต่หน้ากริยาทั่วไปในประโยคที่เป็น   simple tense
He is always late for the first class.
We sometimes go shopping at the mall.
Those boys never ate the fruit before.
–  คำกริยาทั่วไปที่อยู่ในรูป tense ที่มีกริยาช่วย   เช่น   ใน continuous tense, perfect tense, etc.    คำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้ต้องวางไว้หลังกริยาช่วย ถ้ามีกริยาช่วย  2 ตัว   ต้องวางไว้หลังกริยาช่วยตัวแรก เช่น
I could never understand what he said.
The children have often been told to be careful when crossing the road.

                    คำกริยาวิเศษณ์ทั้งในกลุ่ม   A บางคำ   และในกลุ่ม B บางคำ วางไว้หน้าหรือท้าย clause หรือหน้า/ท้ายประโยคได้ แต่คำว่า always ใช้เช่นนี้ไม่ได้ ยกเว้นในประโยค imperative ดังในตัวอย่าง

                                        Sometimes the children walked to school by themselves.
                                        Hardly ever did he have time to enjoy himself like the other boys of his age.
He always comes to class late.
                                        Always bring a dictionary with you.
–  คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกจำนวนครั้งที่แน่นอน   เช่น   once, twice, three times, daily, etc. วางไว้เกือบท้ายประโยคหรือต้นประโยคก็ได้   ดังในตัวอย่าง
The light went out twice yesterday.
                                        Once I got stuck in the lift at my office.

                    คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ที่ใช้บ่อย เรียงลำดับจากมากไปน้อย

always, usually, frequently, often, sometimes / occasionally, seldom / hardly ever / rarely, never,
once, twice, etc.               5) คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณ   (Adverb of Degree) 
คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณ   เป็นคำกริยาวิเศษณ์ที่ขยายคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์อื่น เช่น    absolutely, almost, barely, completely, enough, entirely, fairly, far, hardly, just, much, nearly, quite, really, rather, so, too, very, etc.  ดังตัวอย่าง
                                        The two ladies are almost ready .
                                        This article is really interesting and it is quite easy to understand.
                                        This handwriting is absolutely impossible to read.
                                        The child is not old enough to go to school.
                                        The child didn’t walk quickly enough .  So he was left far behind.
                                        The girl is too young to go to school.
                                        The man drove too fast .
                                        Jane is much taller than her sister.
                                        Jane is far taller than her sister.
ในประโยคตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า
1. คำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้วางไว้หน้าคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่คำกริยาวิเศษณ์

ทำหน้าที่ขยายความ ยกเว้น   enough  จะอยู่หลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์
2. far และ much  ใช้ขยายคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ ใน   comparative degree

นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มได้จัดกลุ่มคำกริยาวิเศษณ์ต่างไปจากนี้   โดยมีเพิ่มอีก 3 ประเภท คือ

6) คำกริยาวิเศษณ์ที่เน้นคำหรือข้อความ (Focus Adverb) 

คำกริยาวิเศษณ์เหล่านี้   เช่น   only, just, really, too   ใช้เพื่อเน้นความที่ต้องการสื่อ   จึงมักวางไว้ชิดกับคำที่ต้องการขยาย   เช่น
                                        Mr. Brown has only one son.  (He has no more than one.)
                                        Just write your name over this line.  (This is all you have to do.)

7) คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกทัศนคติ   (Viewpoint Adverb)

คำกริยาวิเศษณ์เหล่านี้   เช่น   generally, hopefully, surely, clearly, probably, certainly, etc. วางไว้ต้นประโยค หรือหน้ากริยาหลักหรือกริยาช่วย เช่น
                                        Clearly , the truck driver should have stopped when he saw the train coming.
                                        Hopefully , the president will change his mind.
                                        She probably did not understand the notice on the front gate.
                                        John certainly saw the message we left, so he did not call us.

8) คำกริยาวิเศษณ์เชื่อมความ   (Conjunctive Adverb)

คำกริยาวิเศษณ์เหล่านี้   เช่น   however,  moreover, therefore, as a result, consequently, etc. ใช้เพื่อเชื่อมความที่เป็นความแย้งกัน ความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เป็นต้น วางไว้ต้นประโยคหรือบางคำวางไว้ระหว่างความที่ต้องการเชื่อม ซึ่งมักจะคั่นด้วย semicolon (;)   เช่น
                                        He was ill; however , he went to the meeting.
                                        He drove too fast; as a result , he was fined.
                                        Kelly did not go to the party because she had to finish her assignment;
                                        moreover , she had to study for the final examination.

หมายเหตุ    คำกริยาวิเศษณ์บางคำมีรูปเหมือนกับคำคุณศัพท์   ทำให้สับสนเวลานำไปใช้   คำเหล่านี้เมื่อ                 ใช้เป็นคำคุณศัพท์ จะขยายคำนามและจะวางไว้หน้าคำนาม หรือใช้เป็น complement ตามหลัง BE  หรือ
linking verb  เมื่อใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ จะใช้กับกริยาทั่วไป    เช่น

คำ

ใช้เป็นคำคุณศัพท์

ใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์

fast:

hard:

early:

late:

high:

low:

right:

wrong:

The sky train is very fast .This question is very hard .

She will take early retirement.

He was late for the first lecture.

The chair is too high for the boy.

The water level in the canal is toolow for diving.

This is my right hand. (right hand =  มือขวา)

You are right . ( คุณพูดถูก)

Your answer is wrong . Try again.

The sky train goes very fast .John worked hard to earn money for his education.

He returned home quite early yesterday evening.

He went to bed late last night.

The ballon was blown up high into the sky.

He turned down the air conditioner too low . So everybody is freezing.

He walked right into the office without knocking  on the door. ( เขาเดินเข้าไปในสำนักงานเลยโดยไม่เคาะประตู)

The computer went wrong , so we have to restart it.

  

5.2.2 การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์  

การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์มีอยู่ 3 ขั้น เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์

1)  ขั้นธรรมดา ( Positive Degree)

2)  ขั้นกว่า ( Comparative Degree)
3)  ขั้นสุด ( Superlative Degree)
การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ต่างจากการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์คือ การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการกระทำกริยาอาการ

1) การเปรียบเทียบขั้นธรรมดา (Positive Degree) 
การเปรียบเทียบขั้นธรรมดา   เป็นการเปรียบเทียบการกระทำกริยาของคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จำนวน   2  เช่น    ถ้าเป็นคน อาจจะเป็นการเปรียบเทียบการกระทำกริยาของ
คน คนเดียวกันแต่ต่างวาระ
คน 2  คน
คน 1 คน กับ คน 1 กลุ่ม
คน 1 กลุ่ม กับ คนอีก 1 กลุ่ม
การเปรียบเทียบขั้นธรรมดานี้ เป็นการเปรียบเทียบความเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน

วิธีการเปรียบเทียบใช้โครงสร้าง ดังนี้

                    verb + as + adverb + as  

http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Module5/images/content01_12.png

                    like, alike, unlike, not alike   เช่น

The boy swam like a fish.
John always works hard like his father.
Unlike his brother, Pete enjoys eating Chinese food.

                    จากตัวอย่าง การใช้ like, alike, unlike, not alike มีโครงสร้างดังนี้

http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Module5/images/content01_13.png

                    กริยาที่ใช้ในประโยคเป็นกริยาที่บอกการกระทำ    เช่น   study, walk, work, eat, etc.

– ใช้ as  เพื่อบอกว่า ‘ เหมือนกับ ‘ หรือ ‘ ไม่เหมือนกันกับ ‘  เช่น
You should walk to school as most students do.
จากตัวอย่าง   as + clause (= subject + verb)
–  ใช้ the same as และ similar to ซึ่งมีความหมายว่า  เหมือนกับ    เช่นเดียวกับ    เช่น
Please treat me the same as you treat those customers.
การใช้   the same as ที่ปรากฏนี้   the same as เป็นคำกริยาวิเศษณ์   ใช้ในโครงสร้างประโยคดังนี้ clause +the same as + clause

2) การเปรียบเทียบขั้นกว่า 
การเปรียบเทียบขั้นกว่า เป็นการเปรียบเทียบความไม่เหมือนกันของการกระทำของคนหรือสิ่งมีชีวิต สิ่งของ หรือสถานที่ ฯลฯ   จำนวน   2  คน    2 อย่าง หรือ 2 สถานที่ ฯลฯ   ในทำนอง ‘ มากกว่า/น้อยกว่า ‘  เช่น ถ้าเป็น คน/สิ่งมีชีวิต   จะเป็นการเปรียบเทียบ
คน/สิ่งมีชีวิต   2  คน/สิ่งมีชีวิต
คน/สิ่งมีชีวิต   1 คน/สิ่งมีชีวิต   กับ คน/สิ่งมีชีวิต   1 กลุ่ม
คน/สิ่งมีชีวิต   1 กลุ่ม กับ คน/สิ่งมีชีวิต   อีก 1 กลุ่ม
Jan sang more beautifully than Malee.
Cars and motorcycles run faster than bicycles.
Cars and motorcycles run more quickly than bicycles.

การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ขั้นกว่า  

                    ถ้าคำกริยาวิเศษณ์เป็นคำที่มีพยางค์เดียว ให้เติม   -er  ท้ายคำ

                    คำกริยาวิเศษณ์ที่มี 2 พยางค์ บางคำ   ให้เติม   -er  ท้ายคำ บางคำต้องใช้   more นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์

                    คำกริยาวิเศษณ์มีมากกว่า 2 พยางค์ ให้ใช้   more นำหน้า

                    การใช้ more นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์เพื่อให้ความหมายว่า   ‘ มากกว่า ‘ และใช้ less นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์ เมื่อต้องการความหมายว่า   ‘ น้อยกว่า ‘

                    ในการเปรียบเทียบขั้นกว่า จะต้องใช้   than หลังคำกริยาวิเศษณ์

3) การเปรียบเทียบขั้นสุด 
การเปรียบเทียบขั้นสุด เป็นการเปรียบเทียบการกระทำของคนหรือสิ่งมีชีวิต สิ่งของ หรือสถานที่ ฯลฯ   จำนวน   3  ขึ้นไป เพื่อแสดงความเป็นที่สุดหรือหนึ่งเดียวเท่านั้น   เช่น Jill reads the fastest in our class.
สรุปได้ว่า   การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ขั้นสุด

                    ถ้าคำกริยาวิเศษณ์เป็นคำที่มีพยางค์เดียว ให้เติม   -est  ท้ายคำ

                    คำกริยาวิเศษณ์ที่เป็นคำ 2 พยางค์บางคำ ให้เติม   -est  ท้ายคำ บางคำที่มี   2 พยางค์หรือมากกว่า 2 พยางค์ ให้ใช้   most นำหน้าเพื่อให้ความหมายว่า   ‘ มากที่สุด ‘  หรือใช้   least นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้ความหมายว่า   ‘ น้อยที่สุด ‘

                    ในการเปรียบเทียบขั้นสุด จะต้องใช้   the นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์ด้วย

ตารางแสดงการเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ 
ตาราง   1     

ขั้นธรรมดา

ขั้นกว่า

ขั้นสุด

เติม – er

และ – est

fast

hard

faster

harder

fastest

hardest

Ex:      Jim and Bill ran100 meters in 5 minutes. But Mike ran 110 meters in 4 minutes and Pete
could finish 110 meters in only 3 minutes.

=  Jim ran as fast as Bill. Mike ran faster than Jim and Bill. And Pete ran the fastest .

ตาราง 2

ขั้นธรรมดา

ขั้นกว่า

ขั้นสุด

ใช้ more

และ most

carefullybeautifully

boringly

cleverly

pleasantly

more carefullymore beautifully

more boringly

more cleverly

more pleasantly

most carefullymost beautifully

most boringly

most cleverly

most pleasantly

Ex:      Kelly made three mistakes in her typing.  Helen did too.  Sue made two, but Cindy didn’t
make any mistakes at all.
=  Kelly typed as carefully as Helen.  Sue typed more carefully than Kelly and Helen.

But Cindy typed the most carefully .
ตาราง 3

ขั้นธรรมดา

ขั้นกว่า

ขั้นสุด

คำที่มีรูปเฉพาะ

well

badly

much

many

better

worse

more

more

best

worst

most

most

Ex:     Jay and Kim got a B+ for their work.  But Nick got an A- and Tom got an A.
=  Jay did his work as well as Kim.  But Nick did better than the two students.

However, Tom did the best work.

4)   การเปรียบเทียบโครงสร้าง the comparative + the comparative 

มีความหมายในภาษาไทยว่า “ ยิ่ง … ยิ่ง ”   ในโครงสร้างนี้ต้องมีคำเปรียบเทียบ 2 คำ ซึ่งอาจจะเป็นคำกริยาวิเศษณ์   2 คำ หรือคำคุณศัพท์ 2 คำ   หรือคำกริยาวิเศษณ์   1 คำ และคำคุณศัพท์ 1 คำ คำกริยาวิเศษณ์หรือคำคุณศัพท์ในโครงสร้างนี้จะต้องมีรูปเป็น   comparative degree และนำหน้าด้วย   the ทั้ง 2 คำ   รูปประโยคเป็นดังนี้

     the comparative + subject + verb, the comparative + subject + verb

Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[Update] หลักการใช้ adverb of frequency พร้อมตัวอย่างประโยค | คําศัพท์ adverb 100 คํา – NATAVIGUIDES

ในภาษาอังกฤษ เวลาเราต้องการบอกว่าเราทำอะไรบ่อยขนาดไหน เราก็จะใช้คำอย่างเช่น always, usually, often, sometimes ซึ่งคำเหล่านี้จะถูกเรียกรวมๆว่า adverb of frequency

สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยแม่นเรื่อง adverb of frequency ในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหามาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

Adverb of frequency คืออะไร

Adverb of frequency คือคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นบ่อยมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่นคำว่า always, usually, often, sometimes, never

(คำว่า adverb แปลว่า “คำกริยาวิเศษณ์” ส่วนคำว่า frequency แปลว่า “ความถี่” เมื่อใช้รวมกัน คำว่า adverb of frequency จึงแปลว่า “คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกความถี่” นั่นเอง )

ทบทวนความรู้
Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) คือคำที่ใช้ขยาย verb, adjective, adverb หรือประโยค ซึ่งมักจะเป็นคำที่ลงท้ายด้วย -ly อย่างเช่น quickly, slowly, happily, sadly แต่ก็มี adverb บางคำที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย -ly เช่นกัน อย่างเช่นคำว่า always, never, very, fast

Adverb of frequency มีคำว่าอะไรบ้าง

Adverb of frequency จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกก็คือกลุ่มที่ไม่ชี้ชัด (adverb of indefinite frequency) ซึ่งก็คือกลุ่มคำที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าถี่ขนาดไหน แต่จะบอกความถี่แค่คร่าวๆเท่านั้น

ตัวอย่าง adverb of frequency ที่ใช้บ่อยในกลุ่มนี้เรียงตามความถี่จากมากไปน้อยก็อย่างเช่น

ความถี่Adverb of frequencyความหมายตัวอย่างประโยคบ่อยมาก (100%)Alwaysเป็นประจำ, เสมอI always wake up at 6 o’clock.
ฉันตื่นนอนตอนหกโมงเป็นประจำUsuallyมักจะTim usually goes to school by bus.
ทิมมักจะไปโรงเรียนด้วยรถประจำทางNormally
GenerallyโดยปกติWe normally/generally have lunch at the canteen.
โดยปกติแล้ว พวกเราจะกินข้าวเที่ยงที่โรงอาหารOften
Frequentlyบ่อยครั้งAnne often/frequently does yoga.
แอนเล่นโยคะบ่อยSometimesบางครั้งI sometimes go swimming with my friends.
บางครั้งฉันก็ไปว่ายน้ำกับเพื่อนๆOccasionallyเป็นครั้งคราวMy aunt occasionally comes to visit us.
ป้าของฉันมาเยี่ยมพวกฉันบ้างเป็นครั้งคราวSeldomไม่ค่อยHe seldom goes to the gym.
เขาไม่ค่อยไปฟิตเนสRarely
Hardly everนานๆครั้งI rarely/hardly ever eat spicy food.
นานๆครั้งฉันถึงจะกินอาหารเผ็ดไม่เคยเลย (0%)Neverไม่เคยShe never wears high heels.
เธอไม่เคยใส่รองเท้าส้นสูง

นอกจากในตารางแล้ว ยังมี adverb of frequency อีกกลุ่มหนึ่ง นั่นก็คือกลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด (adverb of definite frequency) โดยจะเป็นตัวที่ระบุชัดเจนเลยว่าถี่ขนาดไหน อย่างเช่น

  • Hourly – ทุกชั่วโมง
  • Every day – ทุกวัน
  • Daily – ทุกวัน
  • Every week – ทุกสัปดาห์
  • Weekly – ทุกสัปดาห์
  • Every month – ทุกเดือน
  • Monthly – ทุกเดือน
  • Every year – ทุกปี
  • Yearly – ทุกปี
  • Annually – ทุกปี
  • Once a day – วันละครั้ง
  • Twice a week – สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • Three times a month – เดือนละ 3 ครั้ง

ทั้งนี้ adverb of frequency ในกลุ่มนี้หลายๆคำสามารถทำหน้าที่เป็น adjective (คำที่ใช้ขยายคำนาม) ได้ด้วย อย่างเช่นในคำว่า weekly meeting ตัว weekly นี้ทำหน้าที่เป็น adjective ขยายคำว่า meeting ซึ่งจะแปลว่า “การประชุมประจำสัปดาห์”

หลักการใช้ adverb of frequency

การใช้ adverb of frequency นอกจากเราจะต้องดูความหมายของคำแล้ว เรายังต้องคำนึงถึงตำแหน่งในประโยคด้วย

ตำแหน่งในประโยค

เราจะแบ่งตำแหน่งการใช้ adverb of frequency ในประโยคได้หลักๆ 3 แบบ คือกลางประโยค ต้นประโยค และท้ายประโยค

กลางประโยค

ตำแหน่งกลางประโยคเป็นเหมือนตำแหน่งมาตรฐานของ adverb of frequency นั่นก็คือทุกตัวจะสามารถใช้ตำแหน่งนี้ได้หมด (ยกเว้นกลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด เช่น every day, daily, weekly) โดยจะแบ่งได้เป็น 3 กรณี

1. กรณีที่มีแค่ verb หลัก

ถ้าประโยคมีแค่ verb หลัก โดยที่ verb หลักนั้นไม่ใช่ verb to be (เช่น is, am, are, was, were) เราสามารถใช้ adverb of frequency ไว้หน้า verb หลักได้เลย

I always drink coffee in the morning.
ฉันดื่มกาแฟตอนเช้าเป็นประจำ
(drink เป็น verb หลัก เราสามารถใช้ always หน้า drink ได้เลย)

We rarely see each other now.
เดี๋ยวนี้พวกเรานานๆจะได้เจอกันที
(see เป็น verb หลัก เราสามารถใช้ rarely หน้า see ได้เลย)

2. กรณีที่มี verb หลักเป็น verb to be

ถ้าประโยคมี verb หลักเป็น verb to be (เช่น is, am, are, was, were) โดยทั่วไปแล้ว เราจะใช้ adverb of frequency ไว้หลัง verb to be

I am usually busy with work.
ฉันมักจะยุ่งอยู่กับงาน

He isn’t often late.
เขาไม่ได้สายบ่อยๆ

แต่เราอาจใช้ adverb of frequency ไว้หน้า verb to be เมื่อเราต้องการยืนยันในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด หรือเมื่อเราต้องการเน้น verb to be นั้น

Jack: Is he usually late?
แจ็ค: เขามักจะมาสายใช่มั้ย
Anne: Yes, he usually is.
แอน: ใช่ เขามักจะมาสาย

She was not as cheerful as she normally is.
เธอไม่ร่าเริงเหมือนปกติที่เธอเป็น

3. กรณีที่มี verb ช่วย

ถ้าประโยคมี verb ช่วย (เช่น can, could, may, might, will, would, verb to be ใน continuous tense, verb to have ใน perfect tense) เราจะใช้ adverb of frequency ไว้ระหว่าง verb ช่วยและ verb หลัก (verb ช่วย + adverb of frequency + verb หลัก)

People can sometimes make mistakes.
คนเราบางทีก็สามารถทำอะไรผิดพลาดได้

He has never been to Russia.
เขาไม่เคยไปประเทศรัสเซีย

ต้นประโยค

เราสามารถใช้ adverb of frequency บางคำขึ้นต้นประโยคได้ เช่น usually, normally, often, frequently, sometimes, occasionally

Frequently, social media is used to socialize.
บ่อยครั้ง สื่อโซเชียลก็ถูกใช้ในการเข้าสังคม

Sometimes I miss her.
บางครั้งฉันก็คิดถึงเธอ

แต่ถ้าเป็นคำบางคำอย่าง seldom, rarely, hardly ever, never ถ้าจะใช้ขึ้นต้นประโยค เราจะต้องกลับประธานและ verb (รูป inversion) ซึ่งจะถือเป็นภาษาที่เป็นทางการ ไม่ใช่ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป

Hardly ever did he study hard.
เขาแทบจะไม่เคยตั้งใจเรียนเลย

Never have I felt so sad.
ไม่เคยเลยที่ฉันจะรู้สึกเศร้ามากๆ

สำหรับ adverb of frequency กลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด เช่น every day, annually, twice a month เราก็สามารถใช้ขึ้นต้นประโยคได้เช่นกัน

Every day I walk my dog in the park.
ทุกๆวันฉันจะพาสุนัขไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ
(แม้จะใช้ขึ้นต้นประโยคได้ แต่เรานิยมใช้ every day ไว้ท้ายประโยคมากกว่า)

Once a month, we eat out together at our favorite restaurant.
เดือนละครั้ง พวกเราจะออกไปกินข้าวนอกบ้านที่ร้านโปรด

ทั้งนี้ เมื่อ adverb ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยคที่ตามหลัง เราจะนิยมใช้คอมม่า (,) คั่นหลัง adverb แต่ถ้ามันขยายแค่ verb หรือคำบางคำ เราจะเลือกที่จะใช้คอมม่าหรือไม่ก็ได้ (ส่วนมาก adverb of frequency มักจะขยายแค่ verb มากกว่าขยายทั้งประโยค)

ท้ายประโยค

เราสามารถใช้ adverb of frequency บางคำไว้ท้ายประโยคก็ได้เช่นกัน เช่น usually, normally, often, frequently, sometimes, occasionally

I don’t watch movies often.
ฉันไม่ได้ดูหนังบ่อย

We can hang out sometimes.
พวกเราไปเที่ยวด้วยกันบ้างบางครั้งก็ได้นะ

สำหรับ adverb of frequency กลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด เช่น every day, annually, twice a month เราก็สามารถใช้ท้ายประโยคได้เช่นกัน

I exercise every day.
ฉันออกกำลังกายทุกวัน

My son comes to visit me every year.
ลูกชายฉันมาเยี่ยมฉันทุกปี

รูปปฏิเสธ

Adverb of frequency บางคำจะมีความหมายเชิงปฏิเสธอยู่แล้ว เช่นคำว่า seldom, rarely, hardly ever, never การใช้คำเหล่านี้ในประโยค เราจะไม่ใช้คำปฏิเสธอื่นๆเข้ามาให้มันทับซ้อนกันอีก

เราจะใช้ I rarely eat spicy food. (ฉันไม่ค่อยได้กินอาหารเผ็ด)
แต่จะไม่ใช้ I doesn’t rarely eat spicy food.

เราจะใช้ I have never been to Japan. (ฉันไม่เคยไปประเทศญี่ปุ่น)
แต่จะไม่ใช้ I haven’t never been to Japan.

การใช้ tense

หลายคนมักจะสับสนว่าเราต้องใช้ tense อะไรเวลามี adverb of frequency ในประโยค

ปกติแล้ว adverb ไม่ได้เป็นตัวกำหนด tense ให้กับประโยค แต่สิ่งที่เป็นตัวกำหนด tense จะเป็นใจความของประโยคนั้นๆ ดังนั้น การใช้ adverb of frequency เราจึงสามารถใช้กับ tense อะไรก็ได้ ขอแค่ให้มีความหมายเหมาะสมก็พอ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น

ถ้าพูดถึงข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่เป็นกิจวัตรทั่วไป เราจะใช้ present simple tense

I always wake up at 5 o’clock.
ฉันตื่นนอนตอนตีห้าเป็นประจำ

ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่จบไปแล้ว เราจะใช้ past simple tense

I always woke up at 5 o’clock when I was a student.
ฉันตื่นนอนตอนตีห้าเป็นประจำเมื่อตอนที่ฉันยังเป็นนักเรียน
(สมัยนู้นฉันตื่นตีห้าเป็นประจำ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว)

ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งส่งผลมาถึงปัจจุบัน เราจะใช้ present perfect tense

I have always loved you since the first day we met.
ฉันรักคุณเสมอมาตั้งแต่ตอนที่พวกเราเจอกันครั้งแรก
(เริ่มรักตอนนั้น และปัจจุบันก็ยังรักอยู่)

ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคต เราจะใช้ future simple tense

I will always love you no matter what happens.
ฉันจะรักคุณเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

จบแล้วนะครับกับหลักการใช้ adverb of frequency ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


คำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้น | กริยาวิเศษณ์ | Adverb | Day 7 | เรียนง่ายภาษาอังกฤษ


วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ adverb นะคะชนิดของคำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา สามารถช่วยให้ประโยคสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นโดยตำแหน่งที่วางก็คือวางไว้ข้างหน้าคำกริยาก็ได้หรือว่าข้างหลังคำกริยาได้อีกข้อนึงก็คือคำกริยาวิเศษณ์ adverb นี้สามารถขยายคำคุณศัพท์ Adjective ได้ด้วย

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

คำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้น | กริยาวิเศษณ์ | Adverb | Day 7 | เรียนง่ายภาษาอังกฤษ

กริยา 100 คำ ( 100 Verbs )


คำกริยา verb คืออะไร คำถามนี้ง่ายมาก คำกริยา verb คือ การกระทำ
คำอธิบายอย่างละเอียดก็คือ คำกริยาแสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อบ่งบอกว่า ทำอะไร
แต่อย่าลืมว่า verb มีหลายรูปแบบด้วย
regular verb คำกริยาปกติ
ช่อง 2/3 แค่เติม ed ท้ายคำจากช่อง 1
wait / waited / waited
I waited 1 hour for you to come. ฉันรอคุณมาเป็นเวลา 10 นาที
irregular verb คำกริยาอปกติ
ช่อง 1/2/3 มีรูปแบบเฉพาะ
กิน = eat / ate / eaten
I like to eat pizza. ผมชอบกินพิซซ่า
Yesterday, I ate pizza. เมื่อวานผมกินพิซซ่า
I have just eaten pizza. ผมเพิ่งกินพิซซ่าเสร็จพอดี
adverb คำขยายกริยา
ส่วนมาก ก็แต่เติม ly ท้าย adjective คำคุณศัพท์
เช่น slow ช้า (adj) ก็จะกลายเป็น slowly อย่างช้าๆ (adv)
Please speak slowly. กรุณาพูดช้าๆ หน่อย
modal verb กริยาช่วย (บอกเจตนาอารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของกริยา)
เช่น want อยาก / need ต้องการ / must จำเป็นต้อง
I want to go. ผมอยากไป
I need to go. ผมต้องการไป
I must go. ผมจำเป็นต้องไป
auxiliary verb กริยาช่วย (บอกกาลเวลาของกริยา)
เช่น was / am / will (be)
I was angry yesterday. เมื่อวานผมรู้สึกโกรธ
I am sad today. วันนี้ผมรู้สึกเศร้า
I will be happy tomorrow. พรุ่งนี้ผมจะรู้สึกมีความสุข
ต่อไปนี้ ผมจะสอน 100 คำกริยาที่ใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวันพร้อมประโยคตัวอย่าง
ขอให้คุณตั้งใจเรียนนะครับ
สมัครเป็นสมาชิกช่องนี้!!
กดปุ่ม \”สมัคร\” ข้างล่างวีดีโอใน Youtube หรือกดลิงค์นี้ได้เลยนะครับ https://www.youtube.com/channel/UC93A91EZTtZW55WEKCz_jYA/join
สั่งซื้อหนังสือได้จากแอดมินไลน์
@LINE ID = @EnglishbyChris
รับสอนตัวต่อตัว ติดต่อผมได้ที่
@LINE ID = @TeacherChris
http://www.englishbychris.com/portfolioitems/100verbs
http://www.englishbychris.com
https://www.facebook.com/EnglishbyChris
110 = 2:39
1120 = 6:33
2130 = 10:26
3140 = 14:01
4150 = 17:50
5160 = 21:32
6170 = 25:27
7180 = 29:10
8190 = 32:57
91100 = 36:48

กริยา 100 คำ ( 100 Verbs )

Adverbs ep1/4 : Adverbs คืออะไร มีกี่ประเภท


จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

Adverbs ep1/4 : Adverbs คืออะไร มีกี่ประเภท

Adjective กับ Adverb ใช้ต่างกันอย่างไร


สอบถามเรื่องคอร์ส Line: Aj.Adam, Info.Hollywood, KhunBaiTuey
โทร 02 612 9300, 081 353 7810, 089 422 4546
รายละเอียดคอร์ส http://www.ajarnadam.tv/
เรียนกับอดัม: http://www.facebook.com/hollywoodlearning
สาขาเชียงใหม : http://www.facebook.com/hollywoodlearningcm
เรียนออนไลน์กับอดัม: http://www.ajarnadam.tv
FBของอดัม: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
Twitter: http://twitter.com/AjarnAdam
FBของซู่ชิง: http://www.facebook.com/jitsupachin
YouTube ของซู่ชิง: http://www.youtube.com/user/jitsupachin
Twitter ซูชิง: http://twitter.com/Sue_Ching

Adjective กับ Adverb ใช้ต่างกันอย่างไร

ภาษาดี ชีวิตดี รู้จักศัพท์ตั้งมากมาย ต้องเอามาใช้ให้มากกว่าการเอาไปสอบสิ! | คำนี้ดี EP.436


ภาษาอังกฤษไม่ได้เอาไว้สอบอย่างเดียว แต่มันเกี่ยวกับการช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นได้อีกด้วย เริ่มต้นวันกันอย่างไรดี ให้วันนี้ Productive ไปยาวๆ ยันเข้านอน, เป็นคนที่น่าสนใจขึ้นมาได้ ด้วยการขับไล่ความขี้เกียจ และทำอย่างไรจึงจะกลายเป็นคนที่ ‘มีเสน่ห์เกินต้านทาน’ Rerun KNDHits
———————————————
สรุปศัพท์สำนวนจาก 3 เอพิโสด รวมฮิต
KND076 เริ่มต้นวันกันอย่างไรดี ให้วันนี้ productive ไปยาวๆ ยันเข้านอน MorningRitual
ritual (n) = พิธีกรรมแบบแผน
productive (adj) = ได้งาน
precision, precise, precisely (n,adj,adv) = ความแม่นยำ ความเป๊ะ ถูกต้องตรงเผง
intention (n) = ความตั้งใจ
jot (v) = จด
attainable (adj) = สำเร็จลุล่วงได้
hit the gym (v) = ไปออกกำลังกายที่ฟิตเนส
ultimately (adv) = ท้ายที่สุดแล้ว
fuel (v) = เติมพลัง
intentional (adj) = ตั้งใจ
properly (adv) = อย่างถูกต้องเหมาะสม
will power (n) = พลังในความมุ่งมั่น
commute (v) = เดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงานเป็นประจำ
keep a journal (v) = เขียนบันทึกประจำวัน
KND238 เป็นคนที่น่าสนใจขึ้นมาได้ ด้วยการขับไล่ความขี้เกียจ
inversely proportional (adj) = แปรผกผัน
proactive (adj) = เข้ารุก เข้ากระทำ ไม่นั่งตั้งรับอยู่เฉยๆ
a bucket list (n) = สิ่งที่อยากทำก่อนตาย
the flip side (n) = ในทางกลับกัน ในทางตรงข้าม อีกด้านนึง
Intrigue (v) = ทำให้ประหลาดใจ เกิดความฉงนและทึ่งอย่างยิ่ง
Welltraveled (adj) = เดินทางมามากมายหลากหลายที่ในโลกนี้
KND132 ทำอย่างไรจึงจะกลายเป็นคนที่ “มีเสน่ห์เกินต้านทาน”
irresistable (adj) = ไม่สามารถต้านทานได้
can’t get enough of = ชอบมาก เท่าไรก็ไม่พอ
read people (v) = ดูคนออก
effortless (adj) = ง่ายมาก ไม่ต้องใช้ความพยายามเลย
urge (n, v) = แรงกระตุ้น
brag (v) = คุยโว โอ้อวด
———————————————
THE STANDARD PODCAST : EYEOPENING FOR YOUR EARS
พอดแคสต์จากสำนักข่าว THE STANDARD
Website : https://www.thestandard.co/podcast
SoundCloud: https://soundcloud.com/thestandardpodcast
Spotify : https://open.spotify.com/show/7o7TF3zfPyoydhWxtGSzLC?si=Nb_LuV8NS3C9mJ6ePdXLA
Twitter : https://twitter.com/TheStandardPod
Facebook : https://www.facebook.com/thestandardth/
คำนี้ดีรวมฮิต คำนี้ดี TheStandardPodcast TheStandardco TheStandardth

ภาษาดี ชีวิตดี รู้จักศัพท์ตั้งมากมาย ต้องเอามาใช้ให้มากกว่าการเอาไปสอบสิ! | คำนี้ดี EP.436

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ คําศัพท์ adverb 100 คํา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *