Skip to content
Home » [Update] 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1) | คำที่มักใช้ผิด – NATAVIGUIDES

[Update] 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1) | คำที่มักใช้ผิด – NATAVIGUIDES

คำที่มักใช้ผิด: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

          สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com…. สมัยพี่มิ้นท์เรียนในมหาวิทยาลัย มีวิชาที่เกี่ยวกับการเขียน อาจารย์จะเน้นเรื่องการสะกดคำบ่อยมากๆ บ่อยถึงขนาดที่ว่าให้ นศ.ไปอ่านข่าวหรือนิตยสารแล้วให้หาคำผิด ไม่ว่าจะสะกดผิด วรรณยุกต์ผิด มาส่งสัปดาห์ละ 1 งาน(ฝึกจับผิด+ฝึกการอ่านสุดๆ) หลังจากนั้นมาเหมือนคนบ้าเลย เห็นใครเขียนผิดหน่อยก็จะรู้สึกขัดตา โดยเฉพาะคำที่ใช้บ่อยและผิดบ่อยที่สุดอย่าง “นะคะ” ที่หลายคนเขียนกันว่า “นะค่ะ”

           นอกจากคำว่า “นะคะ” แล้ว ยังมีคำอีกเป็นร้อยๆ ที่คนไทยมักเขียนผิดโดยไม่รู้ตัว วันนี้พี่มิ้นท์เลยรวบรวมคำที่เขียนผิดบ่อยๆ มาให้น้องๆ ดูกันในช่วงปิดเทอมนี้แหละ เผื่อมีเวลาว่างจะได้นำไปทบทวนกันค่ะ ทั้งหมด 50 คำ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยย

      1) กะเทย VS กระเทย
         
คำที่ถูก >> กะเทย
          คำที่ผิด >> กระเทย
          คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี “ร” จ้า

      2) โควตา VS โควต้า
          คำที่ถูก >> โควตา
          คำที่ผิด >>โควต้า
          ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า “ตา” นะ

      3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
          คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
          คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
         โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า “นานา” “จะจะ” ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

      4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง
          ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี “ล” นะคะ “ผลัด” แบบนี้ใช้สำหรับ “ผลัดผ้า” ค่ะ

       5) ผาสุข VS ผาสุก
          คำที่ถูก >> ผาสุก
          คำที่ผิด >> ผาสุข    
          เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ “ข” สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ “ก” สะกดค่ะ

       6) พะแนง VS พแนง
          คำที่ถูก >> พะแนง
          คำที่ผิด >> พแนง
          พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า “พะแนง”

        7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
          คำที่ถูก >> หย่าร้าง
          คำที่ผิด >> อย่าร้าง
          คำว่า “หย่า” กับ “อย่า” ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ “อย่า” เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน “หย่า” หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

        8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
            คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์
            คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
            มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น “เทศ..”  ใช้ “ก์” นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

         9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
            คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ “กงเกวียนกำเกวียน” นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

        10) กังวาล VS กังวาน
             คำที่ถูก >> กังวาน
             คำที่ผิด >> กังวาล
             กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย “น” ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

        11) อนุญาติ VS อนุญาต
              คำที่ถูก >> อนุญาต
              คำที่ผิด >> อนุญาติ
              พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ “ญาติ” ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

         12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
               คำที่ถูก >> ขี้เกียจ
               คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
               น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ “รังเกียจ” อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ “ขี้เกียจ” อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ “จ” สะกดค่ะ

         13) ศรีษะ VS ศีรษะ
              คำที่ถูก >> ศีรษะ
              คำที่ผิด >> ศรีษะ
             การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง “ร” ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น “ศ” หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า “ร” จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ “ศ” ค่ะ

        14) ผัดไทย VS ผัดไท
             คำที่ถูก >> ผัดไทย
             คำที่ผิด >> ผัดไท
            คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า “ไทย” ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

        15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
             คำที่ถูก >> อานิสงส์
             คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
             คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ “ส์”

        16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
             คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
             คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
            ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี “ร” เพียงแค่ที่เดียว คือ “เพา” ส่วน “กะ” ไม่ต้องนะคะ
             ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี “ร” ในคำว่า “กระ” ส่วน “เพาะ” ไม่มี

        17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล
             คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
             คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
             พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า “มูล” โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง…เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
              ส่วน “มูน” ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

        18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
              คำที่ถูก >> คลินิก
              คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
              คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ “ก” สะกดจ้า 

       

        19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
              คำที่ถูก >> อุบาทว์
              คำที่ผิด >> อุบาท
             คำที่ออกเสียงว่า “บาด” ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก “บาด” คำอื่นๆ โดยจะต้องมี “ว์” ตามหลัง “ท” เสมอค่ะ
             

        20) คัดสรร VS คัดสรรค์
             คำที่ถูก >> คัดสรร
             คำที่ผิด >> คัดสรรค์
             ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า “สัน” ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า “คัด-สัน” ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ “คัดสรร” ไม่ต้องมีตัว “ค์” จ้า เพราะคำว่า “สรร” หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

        21) สังสรรค์ VS สังสรร
             คำที่ถูก >> สังสรรค์
             คำที่ผิด >> สังสรร
             อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล “สัน” แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย “ค์” เสมอ

        22) โคตร VS โครต
              คำที่ถูก >> โคตร
              คำที่ผิด >> โครต
              ทั้ง 2 คำอ่านว่า “โคด” เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา “ร” ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

        23) จลาจล VS จราจล
              คำที่ถูก >> จลาจล
              คำที่ผิด >> จราจล
              สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า “จราจร” วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า “จราจร” ใช้ “ร” ทั้งสองตัว ส่วน “จลาจล” ก็ใช้ “ล” ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

        24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
              คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
             น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ “ด” สะกดไปเลยค่ะ
            ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า “น้ำมันก๊าซ” นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า “ก๊าซ” หรือ “แก๊ส” ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

        25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
           คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
           คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
           เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า “จัน” ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
              จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
              จันทร์ = วันจันทร์
              จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
             ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ

         กว่าจะครบ 25 คำเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาทิตย์หน้าพี่มิ้นท์ยังมีอีก 25 คำที่พวกเราเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ รับรองว่าเห็นแล้วมีตะลึงแน่นอน
         ส่วนสัปดาห์นี้ฝากน้องๆดูทั้ง 25 คำ แล้วจำให้แม่น จะได้ไม่ใช้แบบผิดๆ กันอีก 🙂 เราคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ

                 มาแล้ว!! 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 2)  
          

เด็กดีดอทคอม :: ว้าว!! เครื่องตรวจจับรอยยิ้ม...แบบนี้ก็มีด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

  บทความอื่นๆ ในหมวดเคล็ดลับการเรียน

Table of Contents

[Update] Grammar: 6 Grammar ที่มักเขียนผิดบ่อยในประโยคภาษาอังกฤษ | คำที่มักใช้ผิด – NATAVIGUIDES

Grammar หรือ หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เป็นการศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา รวมถึง คำศัพท์ ประโยค การออกเสียง และส่วนประกอบอื่น ๆ ซึ่งยังคงสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้ บางครั้งในการสนทนาอาจผิดหลักไวยากรณ์โดยไม่ตั้งใจ เช่น 6 ประโยคต่อไปนี้

 

ประโยคที่ใช้ผิด Grammar

1. My new purse beautiful.

2. At Monday, I will go to work.

3. I play badminton very good.

4. Last month I travel to Rayong.

5. He like salad.

6. What time it is?

 

ประโยคที่ถูกต้องพร้อมคำอธิบาย

1. My new purse beautiful.


My new purse beautiful. ประโยคนี้ มีคำนึงหายไป นั่นคือ verb หลักที่มาเชื่อมระหว่าง subject (my new purse) กับ Adj. (beautiful) ซึ่งนั่นก็คือ verb to be ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องคือ My new purse is beautiful.
 

Verb to be มีสามตัวคือ is/am/are ที่ต้องผันให้ถูกต้องตามประธาน 

Is ผันตามประธานเอกพจน์ คนเดียว สิ่งเดียว

Am ผันตาม ประธาน I เท่านั้น

Are ผันตามประธานพหูพจน์ หลายคน หลายสิ่ง

2. At Monday, I will go to work.

At Monday, I will go to work. สิ่งผิดในประโยคนี้คือ คำบุพบท (prepositions) ต้องจำได้ว่า วันต่าง ๆ (Monday/Tuesday…) จะต้องใช้กับ on ไม่ใช่ at ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องคือ On Monday, I will go to work.
 

Prepositions มีหลายตัวหลัก ๆ เช่น on, at, under, up, between, before, about, etc. ซึ่งแต่ละตัวจะใช้กับประเภทคำที่ต่างกันไป

3. I play badminton very good.

I play badminton very good. ประโยคนี้ผิดที่คำสุดท้าย เพราะจากประโยค Sub. (I) + Verb (play) + Obj. (badminton) + Adverb (คำขยาย verb) จะเห็นได้ว่าคำท้ายสุดคือ Adverb ที่ขยายการเล่น เพราะฉะนั้น ใช้ good ไม่ได้ ต้องใช้ well ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องคือ I play badminton very well.
 

Adverb คือกริยาวิเศษณ์ มีหน้าที่ขยายคำกริยา โดยส่วนมากจะเป็นคำที่ลงท้ายด้วย -ly เช่น quickly, thankfully, deeply แต่ก็มีอีกหลายคำเช่นกัน ที่เป็นคำเฉพาะ ไม่ได้ลงท้ายด้วย -ly เช่น good/well เป็นต้น
 

4. Last month I travel to Rayong.

Last month I travel to Rayong. จะสังเกตได้ว่า มีคำว่า last month ซึ่งบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะฉะนั้นต้องผันกริยาให้เป็นรูปช่อง 2 (Past tense) ดังนั้นประโยคที่ถูกคือ Last month I travelled to Rayong.
 

การผันกริยา 3 ช่อง (present – past – participle) เป็นสิ่งที่ต้องอ่านทบทวนบ่อย ๆ ให้เกิดความเคยชิน จะได้ผันกริยาได้อย่างถูกต้อง

5. He like salad.

He like salad. ประธานของประโยคนี้คือ He ซึ่งกริยาที่ตามมานั้น จะต้องผันตามประธาน ดังนั้นประโยคที่ถูกคือ He likes salad.
 

จำให้แม่น : ประธานเอกพจน์ + verb เติม s 

               ประธานพหูพจน์ + verb ไม่เติม s

6. What time it is?

What time it is? เวลาพูดประโยคบอกเล่า ว่าตอนนี้กี่โมง จะพูดว่า It is 9 AM. คือ Sub + Verb + เวลา แต่ถ้าเราอยากจะถามเวลา เราจะไม่เรียงโครงสร้างนี้ค่ะ ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องคือ What time is it? 

โดยแกรมม่าร์นี้เรียกว่า word order หรือการวางลำดับคำในประโยค หลักการคือ ประโยคคำถาม จะต้องเรียงจาก Verb + sub เช่น 
 

     Is it cold in your country? ที่ประเทศคุณหนาวไหม

     Were you here yesterday? คุณอยู่ที่นี่หรือเปล่าเมื่อวาน

 

เรียบเรียงโดย เบญจมาภรณ์ บุนนาค


วิชาภาษาไทย ชั้น ม.5 เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด


สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ม.6 ทุกคนที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบได้จาก เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของเรา
Web: https://nockacademy.com/learn/
iOS: https://apple.co/2SKdksn
Android: http://bit.ly/2REzb7w
●สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ●
http://nockacademy.com
●สำหรับโรงเรียนใดที่สนใจ●
https://nockacademy.com/forschool/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

วิชาภาษาไทย ชั้น ม.5 เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด

การอ่านแจกลูก การสะกดคำ สระ อา – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.1


วีดีโอนี้จะสอนเกี่ยวกับ
การอ่านแจกลูก การสะกดคำ สระ อา
เรียนรู้เรื่อง สระ อา พร้อมคำตัว อย่าง
การแจกลูกสะกดคำ พร้อมคำบรรยาย ภาพประกอบ พร้อมความหมาย
บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา ภาษาไทย ป.1 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE

การอ่านแจกลูก การสะกดคำ สระ อา  - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.1

thi 120 sec 02 คำที่มักใช้ผิด


thi 120 sec 02 คำที่มักใช้ผิด

7 คำศัพท์ที่คนไทยใช้ผิดบ่อย | Tina Academy Ep.162


♡ดูตัวอย่างหนังสือของติน่า https://www.tinaacademy.com/books
♡ติดต่อซื้อหนังสือ @linetina (มี @ ด้วย)
♡ Subscribe จะได้ไม่พลาดคลิปทุกๆสัปดาห์
https://www.youtube.com/tinathanchannel/
♡ Instagram: https://www.instagram.com/tinathanchannel
♡ Facebook: https://www.facebook.com/tinathanchannel
♡ Line ID: @linetina https://line.me/R/ti/p/%40hxr4999x

7 คำศัพท์ที่คนไทยใช้ผิดบ่อย | Tina Academy Ep.162

ความรักในราชสำนัก รัชกาลที่ 6 (ตอนที่ 1/3)


\”อันนี้เป็นเรื่องจริงนะ ไม่ได้เสียหายอะไรเลยนะ เมืองไทยมันดีอย่าง ผู้ชายจะนอนกับผู้ชาย ผู้หญิงจะนอนกับผู้หญิงมันไม่ผิดกฎหมาย ที่อังกฤษนั้น การร่วมเพศเดียวกันติดคุกนานเลยนะครับ ประเพณีอังกฤษผู้ชายนอนกับผู้ชายมีมาก รัชกาลที่ ๖ ท่านไปติดอันนี้มาจากอังกฤษ เพราะอังกฤษเป็นระบบโรงเรียนประจำ เด็กผู้ชายเมื่อแตกเนื้อหนุ่มมันอยู่ด้วยกันทั้งนั้น มันก็เล่นเพื่อนกันเป็นของธรรมดา เพราะไม่มีผู้หญิงให้เล่นด้วย
.
\”จนทีหลังท่านรู้สึกแล้วว่าท่านมีความรับผิดชอบ จะต้องมีรัชทายาท ทีหลังแล้ว ถึงมาได้พระนางสุวัทนา เมื่อใกล้สวรรคตแล้ว เสร็จแล้วก็ท้อง ท่านก็เลื่อนให้เป็นพระนางเจ้าสุวัทนา หวังว่าจะมีพระราชโอรส จะได้สืบราชสมบัติ
.
\”จนกระทั่งสวรรคตแล้ว พระนางสุวัทนาจึงได้คลอด ถ้าเป็นพระราชโอรส จะมีมโหรี แต่คลอดมาเป็นพระราชธิดา เลยไม่มี ท่านน้ำพระเนตรคลอเลยนะ บอกว่า “ดีเหมือนกันนะ เป็นผู้หญิงก็ดีเหมือนกัน”
รัชกาลที่6 ร6 ราชวงศ์จักรี

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
https://www.youtube.com/channel/UChB3qJ0Yo9rwd9pjhBIaNrA/join

สนับสนุน พวกเรา \”Dhanadis ธนดิศ\” (ทีมแอดมินเพจอาจารย์สุลักษณ์) ให้ทำคอนเทนต์สาระความรู้ทางประวัติศาสตร์จากมุขปาฐะของอาจารย์สุลักษณ์ ได้ที่
ธนาคาร : กรุงศรีอยุธยา
เลขบัญชี : 0007140300
ชื่อบัญชี : ธนากร ทองแดง

ผลิตโดย ธนดิศ ([email protected] / 0898064081)
LINE: taotanagon

ความรักในราชสำนัก รัชกาลที่ 6 (ตอนที่ 1/3)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ คำที่มักใช้ผิด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *