Skip to content
Home » [Update] 16 องค์กร ที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 13 | อาสาสมัครต่างประเทศ – NATAVIGUIDES

[Update] 16 องค์กร ที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 13 | อาสาสมัครต่างประเทศ – NATAVIGUIDES

อาสาสมัครต่างประเทศ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน : Human Rights Lawyer Association (HRLA)

ที่อยู่ 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม.
เวปไซต์  : http://naksit.net/th/
เฟสบุ๊คเพจ : Human Rights Lawyers Association/

วัตถุประสงค์และกิจกรรมของโครงการ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รวมตัวของนักกฎหมายหรือทนายความ และกลุ่มคนทั่วไปที่ทำงานในด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อผลักดัน และปกป้องสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีความหวังร่วมกันว่า เราจะสามารถสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการสิทธิมนุษยชน และความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

ในปัจจุบัน งานของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. งานเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเป็นพื้นที่เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำงานร่วมกันของนักกฎหมาย/ทนายความ และนักสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรม
2. งานคดียุทธศาสตร์ เป็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดี เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบหรือกลุ่มคนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. งานข้อมูลและวิชาการ เป็นแหล่งข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนและการศึกษาวิจัย เพื่อสนับสนุนงานคดี และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสื่อสารประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนสู่สาธารณะ เพื่อทำให้เกิดการตระหนักรู้และผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา
ในปีนี้ สนส. จะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาการใช้การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation : SLAPP)

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
การฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรม

วัตถุประสงค์
เพื่อแก้ปัญหาการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการใช้การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation : SLAPP) สำหรับผลลัพธ์ที่ต้องการคือการมีกลไกหรือกฎหมายในการ Anti SLAPP เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ งานข้อมูลและวิจัย  การจัดเวทีปรึกษาหารือหรือสานเสวนา การจัดเวทีสาธารณะเพื่อสื่อสารสาธารณะ การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดียุทธศาสตร์เพื่อผลัดดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา  รวมถึงการพัฒนาศักยภาพนักกฎหมายเพื่อรับมือกับคดีในลักษณะ SLAPP ด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและสมาชิกของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
นักกฎหมาย หรือทนายความที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคม และบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

รายละเอียดงาน หน้าที่ และคุณสมบัติของอาสาสมัคร
งานที่จะให้อาสาสมัครรับผิดชอบมีลักษณะเป็นงานข้อมูล เพื่อนำไปสนับสนุนกิจกรรมในส่วนต่างๆของสนส. เช่น ในส่วนของงานคดียุทธศาสตร์ หรืองานวิชาการ เป็นต้น
1. รวบรวมและสรุปข้อมูลต่างๆ ทั้งงานคดี และงานข้อมูลวิชาการ
2. หาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนงานในประเด็น SLAPP
3. จัดระเบียบและเก็บข้อมูลต่างๆ
4. สรุปการประชุม

พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพมหานคร

 ——————————————————————–

2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม : Cross Cultural Foundation (CrCf)

ที่อยู่ : 89 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย เขตสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
เวปไซต์ : https://voicefromthais.wordpress.com/ หรือ https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
วัตถุประสงค์ขององค์กรคือให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเยียวยา ฟื้นฟู แก่บุคคลที่โดนละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ หรือได้รับผลกระทบจากการละเมิดดังกล่าว อีกทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาด้านกฎหมาย จัดเวทีเสวนา อภิปราย ลงพื้นที่เก็บข้อเท็จจริง และจัดทำรายงานเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิฯ นอกเหนือจากโครงการที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย อีกหนึ่งโครงการที่องค์กรกำลังดำเนินการอยู่คือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้หญิงและผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯที่อยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง ผ่านกิจกรรมที่ใช้สื่อดิจิทัลเป็นหลักในการสื่อสาร และกระบวนการสร้างพื้นที่เปิดและปลอดภัยสำหรับการแสดงความคิดเห็น รวมถึงแชร์ประสบการณ์

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน : Empowering Women Human Rights Defenders in

Thailand’s Deep South to Promote Pluralism and Diversity through Listening Study Sessions Focusing on Children’s Rights and UNSCR 1325, Documentation of Human Rights Violations, Interaction with Government, and Media Advocacy

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ก็คือการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ผู้หญิงและผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสร้างความเข้าใจแก่ประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทของพื้นที่

กิจกรรม
กิจกรรมภายใต้โครงการนี้ที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ พอดแคสท์ หนังสั้น สารคดี photo essay เวิร์คชอป empowerment ผ่านกระบวนการศิลปะบำบัด นอกจากนั้น ได้มีการให้ความรู้เรื่องสิทธิสตรี gender related issues รวมถึงความปลอดภัยเบื้องต้นด้านดิจิทัล ลงพื้นที่เก็บข้อเท็จจริง และจัดทำหนั งสือคู่มือ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
ผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนทั่วไป และสื่อ

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
เนื่องจากโครงการหลักที่เราต้องการให้อาสาสมัครได้มีโอกาสเรียนรู้ เป็นโครงการที่ได้ให้ความสำคัญกับการทำงาน advocacy ผ่านสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ดังนั้นเนื้อหางานก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละครั้ง รวมถึงการจัดเสวนา เวิร์คชอป อาสาสมัครก็จะได้เรียนรู้ตัง้ แต่การวางแผนงาน การจัดการงบประมาณ และการประสานงาน หัวใจสำคัญของการปฎิบัติงานในรูปแบบดังกล่าว คือความคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์และความใส่ใจในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ดี รายละเอียดของการปฎิบัติงานมีความยืดหยุ่นที่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่องค์กรจัด และความสามารถของอาสาสมัคร

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
ให้ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสารองค์กร อาทิ การเขียน blog post, Facebook post, tweet ที่เกี่ยวกับการจัดการ social media platforms ต่างๆ ขององค์กรเพื่อ promote งานขององค์กรและกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ เผยแพร่แถลงการณ์และใบแจ้งข่าว ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมที่องค์กรจัด มีส่วนร่วมในการเตรียมงานก่อนและหลังลงพื้นที่การประชุม หรือกิจกรรมต่างๆ

พื้นที่ปฏิบัติงาน
สำนักงานที่กรุงเทพฯ และสามจังหวัดชายแดนใต้

——————————————————————–

3. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

ที่อยู่ : 87 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
เวปไซต์ : www.hdrfoundation.org

วัตถุประสงค์และกิจกรรมขององค์กร
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เป็นองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 โดยนักวิชาการ และทนายความสิทธิมนุษยชน วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
1. ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ
2. เสริมสร้างมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ และส่งเสริม การปฏิบัติตามมาตรฐาน
3. สนับสนุนการพัฒนาที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ
4. ส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และสิทธิของประชาชน
5. ส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพของสื่อมวลชน และสิทธิของผู้บริโภคตลอดจนต่อต้านการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า
6. ประสานงาน และร่วมมือกับบุคคลและองค์การด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
7. จัดการศึกษา ฝึกอบรม เผยแพร่ ประชุม สัมนา ประชุมทางวิชาการ ไต่สวน จัดทำรายงานสถานการณ์ สังเกตการณ์การพิจารณาคดี ร้องเรียน ให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการด้านกฎหมายและอรรถคดี

กิจกรรมของมูลนิธิฯ
1. โครงการคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด สำนักงานอยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
2. โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติและโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติมีสำนักงานอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมืองมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
3. โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์แรงงาน

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน (รับอาสาสมัคร 2 ตำแหน่ง)
ต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

วัตถุประสงค์
1.  ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในการดำเนินคดี การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ตลอดจนการเข้าถึงสิทธิใดๆตามกฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชน และตามหลักนิติธรรมที่ผู้เสียหายพึงได้รับจากการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
2. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและวิธีการป้องกันตนเองให้กับกลุ่มผู้เสียหายหรือกลุ่มเสี่ยงเพื่อมิให้ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะด้านแรงงาน
3. ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานราชการ และภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมถึงเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
4. กระตุ้นภาครัฐ และภาคประชาสังคม ตลอดจนประชาชนให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคม และผลักดันให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายและกฎหมายที่มีต่อปัญหาการค้ามนุษย์

กิจกรรม
1. Legal Advocacy ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในการดำเนินคดี การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งในทางแพ่งและทางอาญาตลอดจนการเข้าถึงสิทธิใดๆตามกฎหมายตามหลักสิทธิมนุษยชนและตามหลักนิติธรรมที่ผู้เสียหายพึงได้รับจากการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
2. Monitoring รวบรวมสถิติการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ เก็บรวบรวมรายงานการดำเนินกระบวนการทางคดี สภาพปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่และในหลักการดำเนินกระบวนการในคดีค้ามนุษย์ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับแจ้งเหตุ การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย รวมไปถึงขั้นตอนการเยียวยาผู้เสียหาย ว่ามีการดำเนินการสอดคล้องกับหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร
3. Prevention and Awareness raising จัดทำหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยพัฒนาจากหลักสูตรของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (หลักสูตรชาติ) โดยพัฒนาเนื้อหาจากหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น ทั้งในประเด็นขั้นตอนการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปละปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถนำไปใช้อบรมแก่เจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
4. Lawyer Network    จัดทำเครือข่ายทนายความที่มีประสบการณ์และทนายความที่มีความสนใจในการทำคดีค้ามนุษย์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทนายความในการวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ทำงานในคดีค้ามนุษย์ที่มีความท้าทายมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
– ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
– พนักงานเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ
– ผู้บังคับใช้กฎหมาย
– ประชาชนทั่วไป

รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
อาสาสมัครจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่โครงการ ในการเตรียมข้อมูลรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์  รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีการค้ามนุษย์   จัดการประชุมปรึกษาหารือ  ประสานงานกับหน่วยงานราชการทั้งในประเทศและต่างประเทศ  และทำงานกับทีมทนายความในการให้ความช่วยเหลือด้านคดี

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
– สนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
– สังเกตการณ์การดำเนินคดีและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่
– จัดทำรายงานการประจำปีสถานการณ์การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561- 2562

พื้นที่ปฏิบัติงาน
ประจำที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เลขที่ 87 ซอยสิทธิชน   ถ.สุทธิสารวินิจฉัย  แขวงสามเสนนอก  เขตห้วยขวาง  กรุงเทพฯ 10320 หรืออาจจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ตามชายแดน หรือต่างประเทศ

——————————————————————–

4. อไซลัมแอคแซส ประเทศไทย : Asylum Access Thailand(AAC)

ที่อยู่ 1111/151 หมู่บ้านกลางเมือง (ระหว่างซอยลาดพร้าว 23-25) ถนนลาดพร้าว, แขวงจันทรเกษม, เขตจตุจักร, กทม. 10900
เวปไซต์ http://asylumaccess.org/program/thailand/ หรือ https://www.facebook.com/aatthai/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
อไซลัมแอคแซส เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนสิทธิผู้ลี้ภัยในแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในการแสดงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนผ่านการให้คำปรึกษา และ/หรือตัวแทนเป็นรายบุคคลตามกฎหมาย การเพิ่มขีดความสามารถด้านกฎหมายในชุมชน การสนับสนุนนโยบายยุทธศาสตร์ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยตรงถึงผู้ลี้ภัยกว่า 10,000 รายต่อปี ผ่านสำนักงานในเอกวาดอร์ เม็กซิโก แทนซาเนีย มาเลเซีย และประเทศไทย

ในประเทศไทย โครงการอไซลัมแอคแซส ประเทศไทย ดำเนินการภายใต้มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เป็นโครงการให้คำปรึกษาแก่ผู้แสวงหาการลี้ภัย และเสนอข้อมูลและความเห็นต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อรับรองสถานะผู้ลี้ภัยให้แก่บุคคลดังกล่าว ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้แสวงหาการลี้ภัยในการขอรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จัดกิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็งชุมชน และสนับสนุนสิทธิมนุษยชนเพื่อผู้ลี้ภัย นอกจากงานบริการด้านกฎหมายแล้ว ยังทำงานด้านนโยบายทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ลี้ภัยในระยะยาว

ชื่อโครงการ
โครงการอไซลัมแอคแซส ประเทศไทย

วัตถุประสงค์และกิจกรรม
เพื่อสนับสนุนการทำงานฝ่ายกฎหมาย ในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาบุคคลที่ต้องการแสวงหาการลี้ภัย ให้เข้าถึงกระบวนการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยของ UNHCR

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้แสวงหาการลี้ภัย และผู้ลี้ภัยในเมือง (Asylum Seekers and Urban Refugees)

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
งานด้านให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
– สนับสนุนการทำงานของฝ่ายทีมกฎหมาย ในการให้บริการด้านกฎหมายกับผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางและจำเป็นต้องได้รับสิทธิในความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสากล
– ให้คำปรึกษาเบื้องต้นทางกฎหมายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการขอลี้ภัย รวมถึงการคัดกรองลูกความที่เข้ามาขอความช่วยเหลือว่ามีปัญหาด้านใดเพื่อส่งต่อไปหน่วยหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
– เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนการทำงานของโครงการสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ที่มีชุมชนผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่
– ร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่องค์กร และเข้าร่วมงานประชุมกับเครือข่ายอื่นๆ หากได้รับมอบหมาย
– ค้นคว้าข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับประเทศต้นทางของผู้ลี้ภัย
– แปลเอกสาร หรือเป็นล่ามไทย-อังกฤษ ให้กับทีมกฎหมายบ้างเป็นบางโอกาส

งานด้านธุรการของฝ่ายกฎหมาย
– ทำหน้าที่ต้อนรับลูกความที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ ดูแลเกี่ยวกับเอกสารแบบฟอร์มการลงทะเบียนและข้อมูลลูกความ คัดกรองลูกความเบื้องต้นว่า ต้องการความช่วยเหลือด้านใดและความเร่งด่วน
–  บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลออนไลน์  และจัดเก็บเอกสารลูกความให้เป็นระบบ
– ช่วยปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือหรือเอกสารส่งต่อที่เกี่ยวข้องให้กับลูกความ (บริการชุมชนผู้ลี้ภัยด้านอื่นๆ)
– เข้าร่วมฝึกอบรมกระบวนการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย (Refugee Status Determination) และช่วยจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการฝึกอบรมให้ทันสมัย
– ช่วยเหลืออาสาสมัครฝ่ายกฎหมาย ในการจัดอบรมให้กับ asylum seeker เพื่อเตรียมความพร้อมในขั้นตอนการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย

คุณสมบัติของอาสาสมัคร
มีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและสนใจด้านสิทธิผู้ลี้ภัย สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีความสนใจทำงานที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายวัฒนธรรม

พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพฯ และอาจจะมีการลงพื้นที่ชุมชนที่มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล

——————————————————————–

5. Center for Asylum Protection (CAP)

ที่อยู่ 40/32 หมู่บ้านสายลมโฮมออฟฟิส, ซอยอินทมาระ 8, ถนนสุทธิสารวินิจฉัย, แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท กทม.
เวปไซต์ https://capthailand.org/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
CAP เป็นโครงการคลินิคกฎหมายของมูลนิธิประชาชนเพื่อประชาชน ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัยในเขตเมืองที่ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับ UNHCR กิจกรรมหลักของ CAP คือการให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาและเป็นตัวแทนทางกฎหมายให้กับผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยต่อ UNHCR ซึ่ง CAP จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ระหว่างรอผลการพิจารณาคำขอสถานะของ UNHCR

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
โครงการส่งเสริมนักกฎหมายไทยให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผู้ลี้ภัย

รายละเอียดงาน
รับอาสาสมัครจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างน้อยในระดับสนทนา เนื่องจากอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ และยินดีทำงานกับกลุ่มเปราะบาง (vulnerable people) อาสาสมัครสามารถค้นคว้าระเบียบหรือกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ข้อมูลของประเทศต้นทาง (Country of Origin Information; COI) และช่วยเหลือที่ปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อเตรียมคำร้องประกอบการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับ UNHCR อาสาสมัครสามารถติดต่อประสานงานกับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง เยี่ยมชุมชน เยี่ยมผู้ต้อง

[NEW] 7 ขั้นตอน หางานทำต่างประเทศ..ไม่ยากอย่างที่คิด!!! | อาสาสมัครต่างประเทศ – NATAVIGUIDES

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2016/02/OO.jpeg

การได้ไปทำงานยังต่างประเทศเป็นความฝันของหลายคนไม่แพ้การเรียนต่อต่างประเทศ ด้วยอัตราค่าจ้างที่ค่อนข้างดึงดูดใจ รวมไปถึงประสบการณ์ใหม่ๆ ของการได้ไปใช้ชีวิตยังต่างแดน แต่จะทำอย่างไรหากอยากไปทำงานต่างประเทศ? วันนี้ Life on campus มีเคล็ดลับดีๆ 7 ขั้นตอนการหางานต่างประเทศเริ่มตั้งแต่การเตรียมตัว ไปจนถึงขั้นตอนต่างๆ ที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะได้งานแต่ก็ไม่อยากเกินไปหาเรามีความพยายาม และเริ่มต้นอย่างถูกวิธี

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2016/02/o2.jpeg

http://www.cplusplusproject.com

1. สิ่งที่ต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มหางาน

#Terraads

-การหางานทำในประเทศมักจะมีข้อจำกัดระหว่างคุณกับองค์กรต่างๆ นั่นก็คือ “ภาษา” ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีความสามารถด้านนี้ดีเพียงใด เพราะนอกจากภาษาที่สองอย่าง ภาษาอังกฤษ แล้ว การได้ภาษาที่ 2, 3, 4 ถือเป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบในการหางานต่างประเทศ

-การหางานในประเทศอเมริกาว่ายากแล้ว แต่การหางานในประเทศอื่นๆ “ยากยิ่งกว่า” และใช้เวลานาน เริ่มแรกคุณต้องหางานที่เปิดให้ประชาชนจากประเทศอื่น ๆ สามารถทำได้

-ต้องทำใจไว้ก่อนเลยว่าการจะหางานในตำแหน่งที่อยากได้ และเงินเดือนที่ต้องการในต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ “ยากมาก”โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ หรือ ไม่จบปริญญาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน

-หาคำตอบให้ได้ว่า “ทำไมถึงอยากไปทำงานต่างประเทศ?” ต้องการจะไปเมื่อไหร่, อยู่นานแค่ไหน และประเทศไหนที่คุณอยากไปทำงาน จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกงานที่เหมาะกับคุณได้ง่ายขึ้น

-สำรวจกองทุนส่วนตัวว่ามีมากพอสำหรับการใช้ชีวิตในต่างประเทศหรือไม่?

-องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่อยากไปทำงานต่างประเทศ การไปทำงานเป็นอาสาสมัคร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปหาประสบการณ์เพื่อต่อยอดในการไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี โดยสามารถเข้าไปดูงานด้านอาสาสมัครจากเว็บไซต์ “Idealist.org”

2. ทำงานต่างประเทศระยะสั้น-ระยะยาว

หากคุณอยู่ในช่วงปิดเทอมประจำปี หรืออยากหางานในต่างประเทศในช่วงเวลาสั้นๆ โอกาสเหล่านี้มีให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นนักศึกษาในต่างประเทศอยู่แล้ว และอยากหางานในช่วงปิดเทอมก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปดูที่เว็บไซต์“Jobs Abroad.com” และ “TransitionsAbroad.com” สำหรับการทำงานในระยะยาว ก็ขอแนะนำให้ลองอ่านและหาข้อมูลจากเว็บไซต์ TransitionsAbroad.com ก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยหาตำแหน่งงานที่รับคนต่างชาติ

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2016/02/o3.jpeg

www.forbes.com

3. หางานในตำแหน่งที่ต้องการ

Network

หลังจากพิจารณาวางแผนมาแล้ว ก็เริ่มหาตำแหน่งงานที่ต้องการกันเลย เราไม่มีทางรู้เลยว่างานไหนบ้างที่เปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาร่วมงานได้ ในส่วนนี้จึงต้องสังเกตให้ดี อันดับแรกเราขอแนะนำให้เข้าไปฝากประวัติไว้ที่ LinkedIns หรือwww.linkedin.com เครือข่ายที่จะทำให้คุณได้พบกับ CEOs และบริษัทเปิดใหม่มากมาย ซึ่งอาจจะทำให้คุณค้นพบงานที่ต้องการ สร้างประวัติการสมัครงานของคุณ ชื่อ รูปภาพ รายละเอียดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

ควรเข้าไปสอบถามพูดคุยกับคนที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทนั้น ๆ ด้วยการส่งข้อความไปทักทายและผูกมิตรกับพวกเขา ดูรายชื่องานใหม่ทุกวัน นอกจากนี้ยังต้องเข้าร่วมกลุ่ม LinkedIn จะคล้ายๆ กับกลุ่มสังคมบน Facebook คุณจะพบกับผู้คนใหม่ๆ ที่อาจจะช่วยเหลือกันได้ในอนาคต จะมีกลุ่มบริษัทเปิดใหม่ นายจ้างจากบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาโพสต์ในกลุ่มออนไลน์ หากพวกเขากำลังมองหาผู้สมัครงานจากทั่วโลก เพราะพวกเขาไม่อยากจ่ายค่านายหน้าให้กับบริษัทจัดหางานนั่นเอง

Job Fairs

เข้าร่วมกิจกรรมงาน “Job Fairs” ที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นอกจากงานในประเทศแล้ว ก็ยังมี “งานต่างประเทศ” บริษัทต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัครงานชาวต่างชาติ เมื่อเจองานที่ต้องการแล้ว บางแห่งก็ให้สัมภาษณ์เบื้องต้นพร้อมกรอกหลักฐาน ณ จุดรับสมัครได้ทันที ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวของการเริ่มต้นไปทำงานต่างประเทศที่คุณสามารถหาได้ง่าย ๆ จากงาน Job Fairs

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2016/02/o4.jpeg

www.rcrwireless.com

Job Search Engines

เครื่องมือค้นหางานง่ายๆ ทำได้ที่บ้าน จากเว็บไซต์ Craigslist, Monster, และ Gumtree ถือเป็นแหล่งหางานต่างประเทศแบบออนไลน์ที่ดีที่สุด Monster.com ครอบคลุมงานต่างๆ จากทั่วโลก, GoAbroad.com และ TransitionsAbroad.com นอกจากหางานจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นคู่มือการเดินทางอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี InterExchange บริการจัดหางานต่างประเทศ

ศึกษาหรือฝึกงานในต่างประเทศ

การไปฝึกงานยังต่างประเทศอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะทำให้คุณมีโอกาสได้งานทำต่างประเทศแบบระยะยาว โอกาสที่จะได้โชว์ฝีมือการทำงานของคุณให้กับบริษัทหรือนายจ้างให้เห็น และอยากที่จะรับคุณเข้าทำงานทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว โดยเข้าร่วมกับโปรแกรม AIFS, Hutong School และ IFSA-Butler ที่จะนำคุณไปสู่การฝึกงานที่ต่างประเทศ นอกจากนี้คุณยังสามารถไปติดต่อสอบถามการฝึกงานที่ต่างประเทศกับทางมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ได้ว่ามีโครงการไปหรือไม่และต้องทำอย่างไร

นายหน้า หรือ บริษัทจัดหางาน

การติดต่อไปทำงานต่างประเทศผ่านนายหน้า หรือบริษัทจัดหางานในต่างประเทศ วิธีนี้คุณจะต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่าจะไม่ถูกหลอก เป็นบริษัทที่ได้มาตรฐานและการรับรอง ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินเรื่องให้กับบริษัท ควรตรวจสอบรายละเอียดและสัญญาของบริษัทให้ดีว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ รวมไปถึงเปอร์เซนต์ที่จะหักจากเงินเดือนของเรา เมื่อได้ไปทำงานต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งวิธีติดต่องานผ่านทางนายหน้าหรือบริษัทจัดหางานต่างประเทศนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะจะมีคนคอยดำเนินเรื่องให้เราอยู่แล้ว เพียงแค่ตรวจสอบสัญญาและข้อตกลงให้ดีเท่านั้นเอง

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2016/02/o5.jpeg

http://blog.gaijinpot.com

4. เริ่มต้นด้วยการเป็นครูสอนภาษา

การเป็นครูสอนภาษาในประเทศต่างๆ ถือเป็นงานที่ชาวต่างชาติเข้าถึงได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูสอนภาษาอังกฤษ ในหลายประเทศต้องการมาก สำหรับคนไทยอาจจะเสียเปรียบด้านนี้อยู่สักหน่อย แต่ถ้าคุณเก่งภาษาจริงก็ไม่ยากที่จะโชว์ศักยภาพให้เห็น หรือไปเป็นครูสอนภาษาไทยในประเทศที่ต้องการก็ได้ อาชีพแรกสำหรับเป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพต่อๆ ไป ทำให้ได้รู้จักคนใหม่ๆ เพิ่มโปร์ไฟล์ารทำงานของคุณได้อีกด้วย เมื่อคุ้นเคยและพอหาลู่ทางก็จะสามารถขยับขยายไปทำงานที่ตัวเองต้องการได้

5. ส่งใบสมัคร

เมื่อคุณเจอตำแหน่งงานที่ต้องการจะสมัครแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการส่งใบสมัครแบบออนไลน์ ไปยังบริษัทเหล่านั้น มีเคล็ดลับง่ายๆ เพียงแค่ใช้อินเทอร์เน็ต และ “Google” เป็น เช่น คุณต้องการสมัครงานที่ประเทศอังกฤษ เข้า Google และพิมพ์ว่า “how to apply for a job England” เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการสมัครงานในประเทศอังกฤษทั้งหมด การเขียนเรซูเม่ การขอวีซ่า และการดำเนินการทั้งหมด หากต้องการครีเอทประวัติการทำงานให้สวยหรูและดูโดดเด่น แนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ “global resume” ข้อแนะนำดีๆ ในการเขียนเรซูเม่ของคุณโดยละเอียด

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2016/02/o6.jpeg

http://www.aptilink.com

6. เตรียมพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์

หลายบริษัทยินดีที่จะจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเพื่อบินไปสัมภาษณ์พนักงานโดยตรง แต่ถ้าคุณแสดงความพิเศษบางอย่างที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องลำบากเดินทางมาสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ด้วยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ จะทำให้บริษัทเหล่านั้นปลื้มคุณไปอีกขั้น แนะนำให้ลงทะเบียน “Skype” สำหรับการสัมภาษณ์ออนไลน์ที่บริษัทสามารถติดต่อมาได้ตลอดเวลา และต้องคอยเช็ควันและเวลาในการนัดสัมภาษณ์ให้ดี เพราะต่างที่ต่างเวลากัน แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย หรือจะเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ก็ดีควรเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับการตอบคำถาม

สำคัญที่สุด บอกเหตุที่ควรเลือกคุณเข้าทำงาน คุณมีอะไรที่คนในประเทศของเขาทำไม่ได้? ข้อดีและจุดเด่นของคุณคืออะไร? เหตุผลที่คุณอยากที่จะร่วมงานกับพวกเขา ทำให้มั่นใจได้ว่าการจ้างคุณเข้าทำงานคุ้มค่าอย่างไร? พูดถึงความรักในตัวองค์กรและบริษัท รวมถึงเพื่อนร่วมงาน ทำให้นายจ้างหรือบริษัทเชื่อในตัวคุณให้ได้

7. ขอวีซ่า (Visa) และใบอนุญาตทำงาน (Work permits)

เมื่อคุณผ่านขั้นตอนการสมัครงานทั้งหมดและได้รับการตอบรับจากบริษัทแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ “การขอวีซ่าและใบอนุญาตเข้าทำงาน” ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ตรวจร่างกาย ประวัติอาชญากรรม ต้องมีหนังสือเดินทาง และต้องเดินทางไปสัมภาษณ์ยังสถานฑูต เอกสารและขั้นตอนเหล่านี้สำคัญมาก เพราะแต่ละประเทศค่อนข้างเคร่งครัด

การหางานต่างประเทศเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก แต่ถ้าคุณทำมันได้สำเร็จรับรองได้ว่าผลตอบแทนเป็นที่น่าประทับใจอย่างแน่นอน ทั้งรายได้และประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดน แม้มันจะดูเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในตอนแรก แต่ถ้าคุณใส่ใจในทุกรายละเอียดและเตรียมตัวเองให้พร้อม รับรองได้ว่าความฝันอยู่แค่เอื้อมแน่นอน

ที่มา : -http://idealistcareers.org/work-abroad/ – http://idealistcareers.org/work-abroad/ -http://www.careerealism.com/job-search-tip-abroad/ -http://www.gooverseas.com/blog/how-apply-for-jobs-abroad -http://www.cheatsheet.com/personal-finance/5-tips-for-finding-and-obtaining-a-job-abroad.html/?a=viewall และผู้จัดการออนไลน์


ชาวนาเฮอีก! พรุ่งนี้​ธ.ก.ส.จ่ายต่อเนื่อง #ตารางจ่ายเงินส่วนต่าง 15-22พย64 จังหวัด​ อำเภอ​อะไร​


ตาราง​กำหนดโอน​เงิน​ประกัน​รายได้​ เงิน​ไร่​ละ​1000 ไร่ละ​1000​ เงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว ประกัน​รายได้​ปี​3 ค่าเก็บเกี่ยวปี64/65 ประกัน​รายได้​ข้าวปี3
เกษตรกรสามารถตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกรผ่าน https://chongkho.inbaac.com/ ที่เมนู “ตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ” ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เปิดขึ้นมาให้เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานของรัฐเรียบร้อยแล้ว เข้าไปตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาลว่าท่านมีสิทธิได้รับเงิน และมีการโอนเงินเข้าบัญชีแล้วหรือไม่
ตรวจสอบสิทธิ์ คลิกลิงค์ https://www.moac.go.th/
เยียวยาเกษตรกร แจกเงินเกษตรกร มาตรการเยียวยาเกษตรกร โอนตรงไม่ต้องลงทะเบียน แจกเงินเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ผู้พิการ ผู้สูงอายุรับเงินสูงสุด เด็กแรกเกิด บัตรคนจน อาสาสมัครชุมชน อสม เราไม่ทิ้งกัน แจกเงิน5000 เยียวยาโควิด เงินเยียวยาคนจน แจกเงิน รัฐบาลแจกเงิน แจกเงินเกษตรกรล่าสุด แจกเงินเกษตรกร เงินเยียวยาเกษตรกร ข่าวเกษตร รัฐบาลแจกเงินเยียวยา บัตรคนจนล่าสุด ข่าวคนจน ผู้ถือบัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด ข่าวสารคนจน บัตรคนจนล่าสุด สวัสดิการแห่งรัฐ

หากชอบการนำเสนอคลิป อย่าลืม!! กดติดตาม​ กดกระดิ่ง​ เพื่อรับชมก่อนใคร
ทางช่องเพียงนำเสนอเรื่องราว ข่าว​สารต่างๆที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์​
ขอ​ขอบคุณ​เจ้าของ​ข้อมูล

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ชาวนาเฮอีก! พรุ่งนี้​ธ.ก.ส.จ่ายต่อเนื่อง #ตารางจ่ายเงินส่วนต่าง 15-22พย64 จังหวัด​ อำเภอ​อะไร​

รู้ทันอาเซียน (AEC) : ศาสนสถานสืบสานประเพณีในประเทศลาว (13 ก.ย. 59)


ที่ประเทศลาวผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีธรรมเนียมและประเพณีในวันพระใหญ่เช่นเดียวกับประเทศไทย ในช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ทีมงานของช่วงรู้ทันอาเซียนได้ไปติดตามกิจกรรมงานบุญยามเช้า และบันทึกภาพวัดวาอารามที่สำคัญในเขตเมืองชั้นใน
ติดตามรายการ \”วันใหม่ ไทยพีบีเอส\” ออกอากาศทุกวันจันทร์ ศุกร์ เวลา 05.00 08.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง http://www.thaipbs.or.th/Live

ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
Google Plus : http://gplus.to/ThaiPBS
Youtube : http://www.youtube.com/user/ThaiPBS

รู้ทันอาเซียน (AEC) :  ศาสนสถานสืบสานประเพณีในประเทศลาว (13 ก.ย. 59)

จิตอาสาคืออะไร | What is volunteer?


ความหมายของคำว่า \”จิตอาสา\” จากเด็กกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ที่อยากทำความดีเพื่อผู้อื่น\r

The meaning of Volunteer from the children who want to help each other.\r
\r
IMPORTANT NOTICE:\r
This channel is only for promote volunteer work which is a nonprofits.\r
Music : \”Waves\” by Mattia Cupelli

จิตอาสาคืออะไร | What is volunteer?

อาสาสมัครเพื่อนไทยในภูฏาน EP.1


คลิปแรก เบื้องต้นก่อน จะมาเป็นอาสาสมัครในภูฏาน
การเตรียมตัว และ ข้อควรรู้เล็กๆน้อยๆ
ยังพูดไม่ค่อยเก่ง คิดไม่ทัน พูดไม่ถนัด ปากไม่ทันกับสมอง555
จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ นะคะ
Yim FFT ,Trashiyangtse,Bhutan

อาสาสมัครเพื่อนไทยในภูฏาน EP.1

วิธีเป็นอาสาสมัครในต่างประเทศ Leaving Home EP.24 How to find a Volunteer Job Abroad


Leaving​ Home โปรเจคโบกรถเที่ยวรอบอาเซียน 1 ปี
มาถึงโคตาคินาบาลู มาเลเซียสักที !!!
แถมมาถึงยังหาโฮสต์ได้ในนาทีสุดท้ายอีก
จะโชคดีอะไรขนาดนี้ 555 5
แล้วประสบการณ์ครั้งแรกในมาเลเซียจะเป็นยังไง ?
แต้มบุญของเราจะหมดแค่นี้ไหม ?
มาลุ้นไปพร้อมกันกับ​ Peace​ Story​ Leaving​ Home​
ปล. อย่าลืมกดไลก์ กดติดตาม กดกระดิ่ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยน๊า 😊

ติดตามต่อได้ที่
Facbook : https://www.facebook.com/peacestoryy
YouTube : https://bit.ly/2sivyG0
Instagram : https://www.instagram.com/peacestoryy
WorkAway LeavingHome PeaceStory

วิธีเป็นอาสาสมัครในต่างประเทศ Leaving Home EP.24 How to find a Volunteer Job Abroad

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ อาสาสมัครต่างประเทศ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *