Skip to content
Home » [Update] แนวคิดและประสบการณ์จากต่างประเทศในการปฏิรูปการศึกษา – Theepakorn Jithitikulchai | การ ศึกษา ต่าง ประเทศ – NATAVIGUIDES

[Update] แนวคิดและประสบการณ์จากต่างประเทศในการปฏิรูปการศึกษา – Theepakorn Jithitikulchai | การ ศึกษา ต่าง ประเทศ – NATAVIGUIDES

การ ศึกษา ต่าง ประเทศ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้


กลยุทธ์หลักเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาระบบความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา: ถอดบทเรียนจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จทางด้านการปฏิรูประบบการศึกษา (สรุปประมวลผลโดยผู้เขียน)

กำหนดกรอบกฎหมายและนโยบายสนับสนุนความรับผิดชอบ (accountability) และความโปร่งใส (transparency) โดยสร้างการมีส่วนร่วมตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เครือข่ายและภาคเอกชน (autonomy)

ทั้งนี้ กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย

• ใช้ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเท่านั้น และกำหนดให้มีความรับผิดชอบ (accountability) ที่มีผลต่อการประเมินผลผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู

• สนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านการศึกษาและการกระจายอำนาจที่มีแนวทางชัดเจน ให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน โดยเน้นหลักสำคัญในการสร้างความเท่าเทียม ความรับผิดชอบ และการพัฒนาศักยภาพในพื้นที่

• สร้างกลไกเชิงสถาบันในด้านกฎหมาย การวางแผน และการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของการจัดการศึกษาอย่างมีธรรมาภิบาล

• จัดให้มีพื้นที่และเครื่องมือสำหรับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดลำดับความสำคัญของการจัดการศึกษาผ่านทางคณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู และคณะกรรมการสถานศึกษา

• กำหนดเป็นพันธะผูกพันทางกฏหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม รวมถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ

• กำหนดกรอบการกำกับดูแลความรับผิดชอบในการบริหารระบบการศึกษาในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อมโยงกับระบบการการเงินและบัญชี (เช่น การตรวจสอบข้อมูลภาครัฐ จากภายนอก กระบวนการมาตรฐานที่มีความโปร่งใส)

• สร้างความโปร่งใสโดยระบบตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐ

• สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาและการเงินของกระทรวงต่างๆ รวมถึง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทางด้านการกำหนดนโยบายและการจัดการงบประมาณ

• ขยายการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนัก เพื่อสร้างวัฒนธรรมของความรับผิดชอบและความโปร่งใส

• เพิ่มการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้มีการเรียนการสอนที่มีคุณค่าทางจริยธรรม

• สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการรับผิดชอบต่อการปฏิรูปสถาบัน การพัฒนาองค์กร และกระบวนการของภาครัฐ

ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนามเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศไทยในการยกระดับการศึกษาทั้งประเทศให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ โดยการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเวียดนามมีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายหรือความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ผู้บริหารการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง จะต้องสร้างความรับผิดชอบให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วประเทศตามมาตรฐานที่กำหนด

ประเทศเวียดนามได้มีความพยายามในการปฏิรูประบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ช่วงปี 1990 โดยมุ่งเน้นให้ระบบการศึกษามีความทันสมัย ซึ่งแม้ว่าจะมีความพยายามในทางยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์อย่างชัดเจนในหลายๆด้าน แต่ทว่าการปฏิรูปก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นโดยจำกัดเฉพาะในกลุ่มเมืองใหญ่และพื้นที่เขตเมืองเท่านั้น (Duggan, 2011) ซึ่งความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญในการบริหารการศึกษาของเวียดนาม นอกเหนือจากประเด็นทางด้านอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ (enrolment rate) ที่ต่ำเกินไป ในขณะที่อัตราการการออกกลางคัน (dropout rate) และอัตราการเรียนซ้ำชั้นก็อยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังในหลายมิติหลักที่สำคัญ ด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลกผ่านโครงการการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อนักเรียนที่ด้อยโอกาส (Primary Education for Disadvantaged Children) ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี 2003 จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการในปี 2010 ซึ่งการดำเนินการต่างๆในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐานของคุณภาพโรงเรียนระดับประถมทั่วประเทศ ได้ปรากฏในการสอบ PISA 2012 โดยเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในช่วงอายุ 15 ปีที่เข้าทำการสอบ PISA 2012 ก็คือ ประชากรรุ่นที่ได้ผ่านเข้าเรียนชั้นประถมในช่วงเวลาที่มีการดำเนินโครงการดังกล่าวทั่วประเทศ

โดยโครงการนี้สามารถที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายสำหรับกระทรวงศึกษาธิการของเวียดนาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากผู้ที่จะมีบทบาทหลักในการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดขึ้นเป็นจริงได้ ก็คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาของประเทศ ดังนั้น หน่วยงานที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักสำหรับโครงการ ก็คือกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เป้าหมายด้านการดำเนินการของโครงการจึงคาดหวังว่า เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถแสดงถึงศักยภาพที่เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งด้านการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การสนับสนุน และการติดตามความต้องการของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาระดับประถมที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส โดยโครงการได้กำหนดนิยามแบบกว้างสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส คือ เด็กในวัยเรียนซึ่งไม่ได้เรียนหนังสือหรือมีความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จการศึกษาในระดับประถม เด็กที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพพื้นฐาน (Fundamental School Quality Level: FSQL) และเด็กพิการหรือเด็กที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กที่มาจากครอบครัวที่มาจากต่างด้าว หรือ เด็กหญิงในบางพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย

ซึ่งโครงการมีการกำหนดตัวชี้วัดการพัฒนาโครงการ คือ

• เพิ่มจำนวนโรงเรียนในโครงการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพพื้นฐาน (FSQL)
• เพิ่มอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ
• ปรับปรุงอัตราการสำเร็จการศึกษาระดับประถม
• ลดอัตราการซ้ำชั้นประถมหนึ่ง
• ลดอัตราการการออกกลางคันจากโรงเรียน

ตัวชี้วัดสำหรับผลลัพธ์ในระยะกลาง คือ
• โรงเรียนที่ให้บริการการศึกษาต่อนักเรียนด้อยโอกาสในประเทศได้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเพื่อความสำเร็จ (ผลลัพธ์ที่ได้ คือ จากที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า 189 เขตการศึกษาที่เสียเปรียบทางการศึกษามากที่สุด จะมีการวางแผนและดำเนินการเพื่อให้ทุกโรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพพื้นฐาน (FSQL) เมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่า ไม่เพียงแค่ทำได้เฉพาะเขตการศึกษาที่เข้าร่วมเท่านั้น แต่ทั่วประเทศได้มีการพัฒนาระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวางแผน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา)
• การพัฒนาคุณภาพของครูและครูใหญ่ (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ที่บุคลากรจำนวน 59,000 คน จากโรงเรียนแม่ข่าย 4,200 แห่ง และโรงเรียนลูกข่ายผ่านดาวเทียมอีก 15,000 แห่ง ผ่านการฝึกอบรมการเรียนการสอนรายสาขาวิชาผลลัพธ์ที่ได้ คือ จำนวน 63,680 คนผ่านการฝึกอบรม)
• จ้างและฝึกอบรมผู้ช่วยครู (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ที่ประมาณ 15,000 คน ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีการจ้างผู้ช่วยครูประมาณ 7,500 คน และมีการฝึกอบรมครูผู้สอนระดับชั้นประถมหนึ่งประมาณ 7,500 คน)
• ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ คือ อย่างน้อยโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียม 9,240 แห่ง มีการปรับปรุงให้มีห้องเรียนที่แข็งแรง และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา ผลลัพธ์ คือ มีการสร้างห้องเรียนใหม่จำนวน 13,141 ห้องในโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียม และมีการปรับปรุงห้องเรียนจำนวน 6,720 ห้อง ทั้งในโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียมและในโรงเรียนแม่ข่าย)
• การเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีความเข้มแข็ง (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ที่ 15,000 แห่ง ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูในโรงเรียนทุกแห่ง และมีการดำเนินการใน 99% ของพื้นที่)
• มีตำราเรียนให้เด็กนักเรียนและมีเอกสารประกอบการเรียนการสอนสำหรับครูผู้สอน (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐาน คือ ครูในโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียมกว่า 40,000 คนมีเอกสารประกอบการเรียนการสอนครบถ้วน และนักเรียน 1,390,000 คนมีหนังสือคณิตศาสตร์และภาษาเวียดนามในตอนเริ่มต้นปีการศึกษาของทุกปี ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีตำราสำหรับครู คู่มือการสอน หรือ แนวทางการสอนจำนวนกว่า 259,062 เล่มส่งมอบให้กับครู และหนังสือเรียนกว่า 3,397,429 เล่ม ส่งมอบให้กับนักเรียน)

นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการนี้ได้นำเสนอแนวคิดระดับคุณภาพพื้นฐานสำหรับคุณภาพโรงเรียน (FSQL) โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับโรงเรียน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะพัฒนาครูและสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนด้านเอกสารการเรียนการสอนและครูผู้สอน โครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา และการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาคุณภาพ โดยได้ออกแบบ FSQL ให้เป็นมาตรฐานที่สามารถ”บรรลุผลได้” ซึ่งจะทำให้โรงเรียนที่อยู่ในเขตการศึกษาที่ด้อยโอกาสมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐาน แทนที่จะเป็นมาตรฐานระดับประเทศซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าที่จะสามารถทำได้จากพื้นฐานความเป็นจริงของโรงเรียน

โดย FSQL ได้มีการจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูล (Attfielf and Vu 2012) เพื่อการตรวจสอบภายในสำหรับระดับเขตพื้นที่การศึกษา (District FSQL Audit) ซึ่งเป็นการสำรวจรายปีสำหรับโรงเรียนประถมทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการวัดเชิงปริมาณสำหรับ FSQL เพื่อใช้ในการวางแผนและติดตามการดำเนินการและการใช้ทรัพยากรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มีการจัดทำ FSQL Input Index (FII) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดคุณภาพ โดยประกอบด้วยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของตัวแปรทางด้านโครงสร้างองค์กรของโรงเรียนและการจัดการ ตัวแปรเกี่ยวกับครูผู้สอน ตัวแปรด้านโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนและชั้นเรียน ตัวแปรทางด้านหนังสือและอุปกรณ์ช่วยสอน ตัวแปรทางด้านการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาและกฎระเบียบ และตัวแปรทางด้านสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา

ทั้งนี้ รัฐบาลของเวียดนามในปี 2009 ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 8 คณะ เพื่อจัดทำแนวทางในการดำเนินการด้านการจัดการองค์กรและด้านการเงิน เพื่อให้กิจกรรมภายใต้โครงการสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต โดยในแผนแบ่บทการศึกษาภายใต้กรอบ NTP-E 2011-2015 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสภาแห่งชาติของเวียดนาม ได้กำหนดให้มีโครงการหลักระดับชาติต่อเนื่องอีก 5 โครงการ ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการผ่านช่องทางปกติสำหรับเขตการศึกษาและศึกษาจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย

โครงการ 1: สนับสนุนการจัดการศึกษาก่อนปฐมวัยอย่างทั่วถึงสำหรับเด็กอายุ 5 ขวบ การลดปัญหาความไม่รู้หนังสือ รักษาอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับระดับประถม และเพิ่มอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับระดับมัธยม

โครงการ 2: จัดการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านการศึกษา

โครงการ 3: สร้างความเข้มแข็งในการเรียนการสอนและการสอนภาษาต่างประเทศให้กับระบบการศึกษา

โครงการ 4: สนับสนุนคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ภูเขา พื้นที่ชนกลุ่มน้อย และพื้นที่กันดาร

โครงการ 5: เพิ่มศักยภาพของสถาบันการศึกษาและการจัดฝึกอบรม โดยรวมถึง (ก) ปรับปรุงหลักสูตร ตำรา และสื่อการเรียนการสอน (ข) ฝึกอบรมและอบรมซ้ำต่อครูผู้สอนและผู้บริหารการศึกษา (ค) ขยายและสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา

ทั้งนี้ ในรายงานการพัฒนาเวียดนาม 2014 ของธนาคารโลก (อ้างถึงใน Malaysia Economic Monitor 2013) ได้เน้นถึงประเด็นสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างก้าวกระโดดของเวียดนาม ซึ่งได้แก่

• การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน – โดยครูระดับประถมศึกษาของเวียดนามได้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากในไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันเกือบร้อยละ 60 ของครูจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2006 ซึ่งผลการสำรวจเรื่องคุณภาพชีวิตซึ่งเผยแพร่ในปี 2013 ได้พบว่า ระบบการศึกษาของเวียดนามมีความเท่าเทียมกันค่อนข้างสูง กล่าวคือ แม้จะมีความสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างผลประเมินการเรียนการสอนของครูและคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน แต่ก็มีจำนวนครูไม่มาก (รวมถึงครูที่สอนในพื้นที่ด้อยโอกาส) ที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับการวัดความรู้ในวิชาที่ตนเองสอน ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบด้วยว่า อัตราการเข้าสอนของครูสูงมาก โดยเฉลี่ยขาดการสอนเพียง 2 วันในช่วงที่ทำการสำรวจในระยะเวลา 8 เดือน

• การผสมผสานระหว่างการประเมินภายในโรงเรียนและการสอบระดับประเทศ – ครูที่มีคุณภาพจะสามารถวัดผลการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยการประเมินคุณภาพของชั้นเรียนจะวัดจากการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า เช่นเดียวกับการบ้านและรายงาน ซึ่งจะถูกใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน

• การปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง – เวียดนามได้ใช้แนวทางการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบเป็นกลุ่มและพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหา แทนที่จะเน้นการเรียนแบบท่องจำและคัดลอก นักเรียนจะถูกสอนตามความสามารถของนักเรียน และโรงเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และสามารถมีบทบาทในการกำหนดเนื้อหาการเรียน ซึ่งประเด็นหลังจะมีความสำคัญสำหรับพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย เพราะผู้ปกครองจะได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาที่สามารถสอดแทรกวัฒนธรรมและคุณค่าของตนเองเข้าไปในหลักสูตรได้ ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้ขยายจากโครงการต้นแบบ 24 โรงเรียนใน 6 จังหวัดออกไปเป็น 1,500 โรงเรียนใน 63 จังหวัด

มหานครเซี่ยงไฮ้

มหานครเซี่ยงไฮ้มีความมุ่งมั่นทางการเมืองที่เข้มแข็งเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักเรียนโดยถ้วนหน้า โดยตั้งแต่การเข้าร่วมสอบครั้งแรกในปี 2009 นักเรียนในช่วงอายุ 15 ปีจากเซี่ยงไฮ้สามารถทำคะแนน PISA ได้สูงสุด คือ 556 คะแนนสำหรับวิชาการอ่าน, 600 คะแนนสำหรับวิชาคณิตศาสตร์, และ 575 คะแนนสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ประเทศที่คะแนนสูงสุดของ OECD คือ เกาหลี ทำได้ 539 คะแนนสำหรับวิชาการอ่าน, 546 คะแนนสำหรับวิชาคณิตศาสตร์, และ 538 คะแนนสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ และล่าสุดปี 2012 เซี่ยงไฮ้ก็ยังคงมีอันดับคะแนนสอบของนักเรียนเป็นอันดับ 1 ในทั้ง 3 รายวิชา

แม้จะมีการตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ เช่น การสุ่มตัวอย่างไม่ได้รวมเด็กที่มาจากครอบครัวผู้อพยพอย่างเพียงพอ กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถสะท้อนภาพของประเทศจีนทั้งประเทศได้ หรือระบบการศึกษาของจีนเน้นหนักในเรื่องการทำข้อสอบ แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธความสำเร็จของเซี่ยงไฮ้ได้ ซึ่งเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองแรกของประเทศจีนในการจัดการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างทั่วถึง และเป็นหนึ่งในบรรดาเมืองแห่งแรกๆที่สามารถจัดการการศึกษาภาคบังคับในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างทั่วถึง โดยเซี่ยงไฮ้มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนที่มาจากครอบครัวของแรงงานอพยพจากส่วนอื่นๆของประเทศจีน ซึ่งบ่อยครั้งมีภูมิหลังของภาษาที่แตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มาจากครอบครัวอพยพเหล่านี้ คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรนักเรียนของเซี่ยงไฮ้ทั้งหมดในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นอกจากนี้ ในปี 2009 97% ของนักเรียนเซี่ยงไฮ้จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือในระดับที่เทียบเท่าในสายอาชีวะ โดย 98% ของนักเรียนเซี่ยงไฮ้จะได้รับการศึกษาก่อนประถม (preschool) ซึ่งได้ล้ำหน้าเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ของประเทศในปี 2020 ว่า 95% ของประชากรจีนในวัยก่อนประถม จะต้องได้รับการศึกษาระดับชั้นอนุบาลอย่างน้อยหนึ่งปี ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรของเซี่ยงไฮ้มากกว่า 80% ของผู้ที่อยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยก็กำลังได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่ 24% หรือเป้าหมายของประเทศในปี 2020 คือ 40%

มหานครเซี่ยงไฮ้ได้เริ่มจริงจังที่จะปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ปี 1980 โดยเปิดกว้างนโยบายด้านการศึกษา จากการเรียนรู้ด้านนโยบายและการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการศึกษาที่ดีที่สุดจากต่างประเทศ ซึ่งช่วงแรกเป็นการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาในช่วงระหว่างปี 1980-1990 โดยได้มีการจัดระบบให้เป็นมาตรฐานในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีการกำหนดกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และมีการปฏิรูปหลักสูตรทั้งหลักสูตรวิชาหลัก วิชาเสริม และกิจกรรมนอกหลักสูตร จากนั้น ช่วงที่สองเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ปี 1990 มาจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นปรับคุณภาพโรงเรียนให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น กำหนดมาตรการสร้างเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียนแบบทวิภาคี ด้วยการจับคู่โรงเรียนที่ผลการเรียนดีกับโรงเรียนที่ผลการเรียนต่ำในรูปของโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง การแลกเปลี่ยนผู้บริหารและมาตรการพัฒนาครูแบบประกบคู่ ให้ครูอาวุโสที่พึ่งเกษียณอายุราชการมาพัฒนาครูใหม่อย่างเข้มข้น ตั้งแต่ติดตามประเมินผลการสอนในห้องเรียน และอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอน สร้างวัฒนธรรมการศึกษาใหม่ โดยยกเลิกการสอบแบบปรนัย และส่งเสริมการเรียนแบบสนทนาในห้องเรียน และการลดความเหลื่อมล้ำโดยขยายโอกาสให้เด็กที่มาจากครอบครัวแรงงานอพยพเข้าเรียน

การปฏิรูปหลักสูตรและระบบการเรียนการสอน

ปัจจุบัน การเรียนการสอนในเซี่ยงไฮ้ไม่ได้มุ่งเน้นการเรียนแบบท่องจำเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หากมีความหลากหลายและความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรได้เอง ซึ่งสามารถที่จะแสดงผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญ ตามที่ปรากฏในผลการสอบ PISA ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักเรียนจากเซี่ยงไฮ้สามารถแสดงทักษะในการประยุกต์องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างยอดเยี่ยม
(ก) กระจายอำนาจไปให้มหานครเซี่ยงไฮ้และในบางจังหวัดของประเทศจีนในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถพัฒนาหลักสูตรด้วยตนเองให้แตกต่างออกไปจาก 8 หลักสูตรกลางของระดับประเทศ
(ข) นำการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนแบบวิชาหลัก วิชาเสริม และการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการมาใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (70% เป็นเนื้อหาวิชาหลัก และ 30% เป็นเนื้อหาวิชาเสริมและการทำโครงการ)
(ค) เน้น (deepening) การเรียนวิชาเสริมและการทำโครงการในทุกสาระวิชา

มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพครู: บุคลากรครูผู้สอนในระดับประถมและมัธยมของประเทศจีนอาจจะไม่ได้มีคุณวุฒิทางวิชาการสูง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาของประเทศที่มีความก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม ได้มีความพยายามร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพครู โดยการกำหนดโครงการ “240 ชั่วโมง และ 540 ชั่วโมง” ซึ่งเป็นข้อบังคับให้ครูทุกคนจะต้องผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพเป็นเวลา 240 ชั่วโมงภายใน 5 ปีแรกของการสอน และจะต้องผ่านการอบรมอีก 540 ชั่วโมงเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะไปสู่ตำแหน่งครูอาวุโส โครงการอื่นที่สำคัญได้แก่ “รางวัลครูดาวเด่นและรางวัลผู้อำนวยการดาวเด่น” และ “โบนัสสำหรับความเป็นเลิศในการสอน” โดยกลุ่มเครือข่าย “สอน-ศึกษา-วิจัย” ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะกลุ่มนั้น จะเป็นกลไกเชิงสถาบันในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูผู้สอน โดยครูในเซี่ยงไฮ้จะต้องทำวิจัยด้านการสอนเชิงปฏิบัติการและเปิดเผยผลประเมินการสอนต่อเพื่อนครูด้วยกัน ทั้งนี้ อาชีพครูในเซี่ยงไฮ้จะมีความพึงพอใจในผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีสถานะสูงในสังคม

นโยบายบริหารการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่โรงเรียนคุณภาพต่ำ: ตั้งแต่ปี 2000 กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนที่มีปัญหา เช่น “ยกระดับโรงเรียนคุณภาพต่ำ” หรือ “พัฒนาอย่างสมดุลย์” เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการกำหนดนโยบาย ซึ่งหลายโครงการชั้นนำได้แก่ “การบริหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่น” สำหรับโรงเรียนคุณภาพต่ำ โดยส่งผู้อำนวยการหรือทีมบริหารที่มีความสามารถสูงกว่าไปบริหาร, “โรงเรียนคุณภาพใหม่” ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การศึกษาเฉลี่ยของพื้นที่หรือของโรงเรียนคุณภาพต่ำผ่านแผนการพัฒนาโรงเรียนและการฝึกอบรม, และ “การจัดการคู่แฝด” ระหว่างอำเภอในเมืองหรืออำเภอในชนบท ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองเดียวกัน จึงช่วยลดช่องว่างคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่เกิดใหม่จำนวนมาก เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กและเยาวชนในเขตชนบท ซึ่งประสบปัญหาขาดมาตรฐานและประสบการณ์บริหารจัดการสถานศึกษา และปัญหาขาดแคลนครูผู้มีประสบการณ์สอนมากกว่า 10 ปี

การจัดสรรเงินด้านการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ: เนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างมากในระดับรายได้เฉลี่ยของอำเภอต่างๆ เซี่ยงไฮ้จึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นจังหวัดแรกในประเทศจีนที่ได้มีการใช้ระบบการโอนเงิน (fiscal transfer) ตั้งแต่ปี 2005 โดยทุกอำเภอจะต้องนำส่ง 50% ของรายได้จากการศึกษาในท้องถิ่น เพื่อมอบให้กับงบประมาณส่วนกลางที่จะมีการจัดสรรไปให้กับอำเภอที่ยากจนสุดและมีคุณภาพการเรียนแย่สุด

สำรองพื้นที่ในโรงเรียนมัธยมชั้นนำให้กับนักเรียนที่มาจากโรงเรียนคุณภาพต่ำ: ระบบการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับของประเทศจีนจะครอบคลุมจนถึงระดับมัธยมต้น ดังนั้น การเรียนต่อระดับมัธยมปลายจึงไม่ใช่การศึกษาฟรีที่จัดให้โดยรัฐ เนื่องจากโรงเรียนที่มีคุณภาพดีมักจะรับเข้าตามผลคะแนนสอบ จึงเป็นการตัดโอกาสของเด็กนักเรียนที่มาจากโรงเรียนมัธยมต้นที่มีคุณภาพต่ำ ดังนั้น ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กำหนดให้โรงเรียนชั้นนำจะต้องสำรอง 30% ของจำนวนนักเรียนที่รับเข้า จะต้องมาจากโรงเรียนคุณภาพต่ำ ซึ่งทำให้โรงเรียนที่มีคุณภาพต่ำและนักเรียนมีความหวังและแรงจูงใจที่จะสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนชั้นนำในเมืองได้

การสร้างวัฒนธรรมใหม่เป็นตัวช่วยเร่งการปฏิรูปทางด้านการศึกษาของมหานครเซี่ยงไฮ้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางสังคมที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยความเชื่อมั่นที่ว่าผลลัพธ์ทางการศึกษาและการบรรลุความเป็นเลิศ สามารถจะทำได้ด้วยการฝึกฝนและความเพียร และความคาดหวังว่าการศึกษาเป็นหนทางหลัก(และบ่อยครั้งเป็นเพียงหนทางเดียว)ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานะของชีวิตและสถานภาพทางสังคม ซึ่งความสำเร็จจากการศึกษาเป็นเรื่องของความพยายามไม่ใช่พรสวรรค์ อีกทั้งการมองว่า ครูมีสถานะทางสังคมที่สูงในระดับเดียวกับแพทย์ จึงมีปัจจัยทางวัฒนธรรมในการเคารพต่อสถานะทางสังคมของอาชีพครู

อย่างไรก็ตาม การบริหารการศึกษาของเซี่ยงไฮ้ยังมีความท้าทายและความอ่อนแอบางประการในเรื่องคุณภาพการศึกษา อันได้แก่ ความแตกต่างของโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในชนบท การเรียนการสอนที่ครูมากกว่าร้อยละ 70 มีอายุน้อยและขาดประสบการณ์ การสอนแบบท่องจำและมุ่งเน้นการสอบมากจนเกินไป

ประเทศบราซิล

ประสบการณ์จากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศบราซิลจะสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับนโยบาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาไทยได้ เนื่องจากเป็นการปฏิรูปโดยสร้างกลไกและเครื่องมือ เพื่อให้เกิดการบริหารแบบมีธรรมาภิบาลสำหรับการศึกษาของประเทศบราซิล ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ประเทศบราซิลซึ่งมีประชากรมากกว่าประเทศไทย 3 เท่า ใช้งบประมาณด้านการศึกษาเพียง 5% ของจีดีพี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษา 6.7% ของจีดีพี ทั้งนี้ ความพยายามที่จะปฏิรูปการศึกษาของบราซิลได้แสดงให้เห็นจากการยกระดับคุณภาพของผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาและการขยายโอกาสทางการศึกษา โดยแม้ว่าจะยังคงมีคะแนนสอบ PISA ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OEECD แต่คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2003 จาก 356 เป็น 391 ในปี 2012 ซึ่งทำให้บราซิลเป็นประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นของคะแนนสอบสูงที่สุด นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา (OECD 2013) โดยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ ยังได้มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนในกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ซึ่งในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี บราซิลสามารถขยายอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนในช่วงอายุ 15 ปี เพิ่มขึ้นจาก 65% ในปี 2003 เป็น 78% ในปี 2012

ความเป็นระเบียบวินัยของครูและนักเรียนของบราซิลได้พัฒนาดีขึ้นจากปี 2003 (OECD 2013) และโรงเรียนสามารถดึงดูดและรักษาครูที่มีคุณภาพได้มากขึ้น โดยบราซิลได้กำหนดเป้าหมายไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติว่า ภายในปี 2020 เงินเดือนครูเฉลี่ยจะต้องเทียบเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาเป็นครูและยกระดับสถานะทางสังคมของอาชีพครู โดยมุ่งเน้นปัญหาด้านคุณภาพครู ซึ่งครูมีรายได้ต่ำ และไม่มีหลักสูตรการสอนวิชาชีพครูโดยตรง นอกจากนั้น ครูส่วนใหญ่ยังมีคุณวุฒิเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น

สำหรับประเทศบราซิล ได้มีนวัตกรรมทางนโยบายจัดการด้านการศึกษาในช่วงกว่า 15 ปีที่ผ่านมา ทั้งในระดับรัฐบาลส่วนกลาง ระดับรัฐบาลท้องถิ่น และระดับเทศบาล โดยแนวทางสำคัญในจัดสรร “เงินอุดหนุน” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสำหรับการพัฒนาการศึกษาในบราซิล ใช้วิธีบริหารจัดการหลัก 3 ประการ ได้แก่

1.มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีระบบติดตามเก็บข้อมูลการเข้าเรียน-ขาดเรียน ร่วมกับโรงเรียนในท้องที่ เพื่อหาทางสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนครบหลักสูตร

2. สร้างแรงจูงใจให้กับครูในพื้นที่มีความยากลำบาก โดยการให้ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพ หรือสวัสดิการพิเศษต่างๆ แก่ครูที่ต้องทำงานในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกันตามความยากลำบากและความจำเป็นของพื้นที่ เพื่อจูงใจให้ครูไปสอนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

3. ให้เงินอุดหนุนครอบครัวกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กไม่ต้องออกจากโรงเรียนไปทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้เด็กมีโอกาสได้เข้าเรียนอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น

โดยธนาคารโลก (2011) ได้สรุปว่า นโยบายหลักสำคัญที่สุด 3 ประการ ทำให้มีความก้าวหน้าของนโยบายปฏิรูปการศึกษาระดับประเทศอยู่ในระดับเดียวกันกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับโลก (global best practice) และเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืนและมีสัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างดี โดยนโยบายหลักทั้ง 3 ประการได้นำไปสู่กลยุทธ์สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาของบราซิล คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาด้วยระบบข้อมูลเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์การศึกษา และ การเพิ่มเงินอุดหนุนตรงตามตัวผู้เรียน (demand-side financing) เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษา ซึ่งภายในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศบราซิลได้ใช้วิธีการเพิ่มงบประมาณอย่างมากให้กับการศึกษา ด้วยการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อดำเนินการนโยบายหลักทั้ง 3 ประการที่สำคัญ คือ

1. การจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยมาตรการเพิ่มเงินอุดหนุนโรงเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในบราซิล ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาก่อนปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงเด็กที่ออกจากระบบการศึกษา ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 1996 โดยแบ่งเงินอุดหนุนออกเป็น 3 ส่วน คือ

ก. เงินอุดหนุนผู้เรียนยากจนและกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบ โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการติดตามการเข้าเรียน เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กวัยเรียนได้ครบทุกคนในพื้นที่

ข. เงินอุดหนุนเงินเดือนครู เพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมคุณภาพในการการพัฒนาครู โดยจัดให้มีการอุดหนุนเงินเดือนครูเพิ่มขึ้นในระหว่าง 10-60% ตามภาวะความยากลำบากของโรงเรียน

ค. เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข Conditional Cash Transfer โดยอุดหนุนตรงไปที่ครอบครัวผู้เรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ครอบครัวสนับสนุนให้เด็กวัยเรียนศึกษาต่อจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยการใช้งบประมาณในการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม เป็นการใช้ระบบ FUNDEF (Fundo de Desenvolvimento do Ensino Fundamental) ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลกลางใช้ในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยจัดสรรเพิ่มให้กับรัฐที่จัดเก็บภาษีได้น้อย เพื่อให้แต่ละรัฐสามารถมีงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพตามจำนวนนักเรียนในรัฐของตน และ กำหนดระดับค่าใช้จ่ายต่ำหัวขั้นต่ำสำหรับการจัดการศึกษาระดับประถมในระดับประเทศ ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนที่สังกัดเทศบาล โดยเป็นเงินอุดหนุนที่ตามตัวเด็กไป จึงเกิดเป็นแรงจูงใจสำหรับโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเทศบาลซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้รับการอุดหนุน เพื่อที่จะทำให้มีการเข้าเรียนในโรงเรียนของตนเองเพิ่มขึ้น ซึ่งได้มีผลทำให้เทศบาลทั่วประเทศหลายแห่งสามารถที่จะมีงบประมาณในการจัดระบบรถโรงเรียน โครงการสนับสนุนการเข้าเรียน อาหารกลางวัน และแรงจูงใจอื่นๆที่จะดึงดูดให้นักเรียนมาเข้าเรียนเป็นครั้งแรก

โดยการจัดสรรเงินอุดหนุนโดยระบบ FUNDEF ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สามารถทำได้เนื่องจากข้อบังคับในการจัดสรรงบประมาณระหว่างรัฐ และรัฐส่วนกลางยังได้ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมอีก โดยแต่ละรัฐจะถูกบังคับให้มีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันระหว่างเขตเทศบาล เพื่อให้โรงเรียนของรัฐและของเทศบาลทุกแห่งภายในรัฐนั้นสามารถได้รับเงินอุดหนุนรายหัวขั้นต่ำตามที่กำหนด ซึ่งงบประมาณจากรัฐส่วนกลางจะถูกจัดสรรไปให้กับรัฐที่ไม่สามารถอุดหนุนรายหัวขั้นต่ำได้

ลักษณะสำคัญอีกประการของ FUNDEF คือ การกำหนดว่างบประมาณสำหรับรัฐและเทศบาลอย่างน้อยร้อยละ 60 จะต้องใช้สำหรับเงินเดือนครู และอีกร้อยละ 40 ที่เหลือสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ของเงินเดือนครูภายในระยะเวลาไม่กี่ปีที่เริ่มต้นโครงการ

ทั้งนี้ ในปี 2007 ได้มีการขยายโครงการเป็น FUNDEB (Fundo de Manutenção e Desenvolvimento da Educação Básica e de Valorização dos Profissionais da Educação) ซึ่งเป็นการจัดสรรเงินที่มุ่งไปยังกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กที่ออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเพิ่มโอกาสในการการเข้าถึงการศึกษา ตั้งแต่การบริบาลเด็กแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ และก่อนประถมสำหรับอายุ 4-6 ปี รวมถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ FUNDEB ยังกำหนดไว้อย่างชัดเจนในการให้เงินอุดหนุนขั้นต่ำสำหรับการเข้าเรียนของผู้ที่อยู่ชุมชนชนกลุ่มน้อย และการศึกษานอกระบบ

โดยการเพิ่มเงินอุดหนุนขั้นต่ำต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของประเทศบราซิล ทั้งในแง่มูลค่าที่แท้จริงและสัดส่วนต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ซึ่งการปฏิรูปโดยใช้ระบบ FUNDEF/FUNDEB ได้ทำให้มีการปรับปรุงด้านความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างภูมิภาคและระหว่างสังกัดของโรงเรียน

2. นำระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ Basic Education Development Index (IDEB) ในการติดตามและประเมินผล “การเข้าเรียน” และ “พัฒนาการด้านการเรียนรู้” ของนักเรียนชั้น ป.4 ม.2 และ ม.5 ซึ่งดัชนี IDEB จะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลการทำงานของโรงเรียนและผู้อำนวยการทุก 2 ปี โดยมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับประเทศ ระดับรัฐ และระดับเขตเทศบาลเดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาด้วยระบบข้อมูล เพราะจะสามารถทำให้ความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักเรียน มีความโปร่งใส เอื้อให้เกิดการตรวจสอบและและการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถมอบรางวัลให้แก่โรงเรียนที่มีคุณภาพดี และให้งบประมาณพัฒนาสถานศึกษาที่ประสบปัญหาด้านคุณภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในรูปของกองทุนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนต่อการพัฒนาของโรงเรียนที่ต้องปรับปรุงคุณภาพ

โดยจะมีการเปิดเผยตัวชี้วัดต่อสาธารณะ เช่น IDEB การเลื่อนชั้น ผลการสอบวิชาบังคับ คือ ภาษาโปรตุเกส และคณิตศาสตร์ ชั่วโมงเรียนต่อวัน ร้อยละของอาจารย์จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งจะรายงานคะแนนเฉลี่ยโดยเปรียบเทียบกับทั้งโรงเรียนสังกัดรัฐทั้งหมดและโรงเรียนสังกัดเทศบาล จากทั้งประเทศ รัฐเดียวกัน เขตเทศบาลเดียวกัน

ซึ่งการกำหนดเป้าหมาย IDEB สำหรับแต่ละโรงเรียนหรือพื้นที่การศึกษานั้น จะมีความเป็นธรรมในการวัดประสิทธิภาพของโรงเรียนโดยเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ในอดีตของตนเอง จึงเกิดแรงจูงใจและมีความคาดหวังว่า จะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมกับความเป็นจริง แทนที่จะเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ร่วมกันทุกโรงเรียนโดยไม่คำนึงว่ามีคุณภาพหรือคุณลักษณะแตกต่างกัน

โดยระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยใช้ดัชนี IDEB จะสร้างความับผิดชอบ (Accountability) เพราะเป็นการวัดประสิทธิภาพการทำงานของโรงเรียน องค์กรระดับท้องถิ่น และของรัฐส่วนกลาง ซึ่งสามารถติดตามการทำงาน นอกจากนี้ ยังเกิดแรงจูงใจให้เกิดความสนใจของสาธารณชนจะบังคับให้เกิดการวางแผนและพัฒนานักเรียนให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย และผู้ปกครองมีแรงจูงใจที่จะสร้างแรงกดดันพัฒนาการของโรงเรียน

3. การลดต้นทุนในการศึกษาของกลุ่มเด็กยากจน โดยการให้เงินอุดหนุนรายหัวตรงไปยังครอบครัวของนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจสังคม ในรูปการให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer) ซึ่งเป็นการจ่ายรายเดือนให้กับครอบครัวที่อยู่ในกลุ่มที่ยากจนที่สุด โดยในปี 2009 สามารถครอบคลุมมากกว่า 12 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 97.3 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย

ซึ่งประเทศบราซิลยังมีโครงการ Bolsa Escola สำหรับนักเรียนที่อยู่ในช่วงอายุ 7-14 ปี เพื่อเป็นเงินทดแทนรายได้จากการทำงานของนักเรียนให้แก่ครอบครัว ซึ่งทำให้เด็กในครอบครัวสามารถจะเข้าเรียนที่โรงเรียน แทนที่จะต้องออกไปทำงาน จึงทำให้เด็กที่อยู่ในระดับประถมถึงมัธยมต้นสามารถเรียนต่ออยู่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มากขึ้น โดยธนาคารโลก (2011) ได้สรุปว่า โครงการ Bolsa Escola ทำให้มีผลในด้านบวกสำหรับนักเรียนในกลุ่มที่ด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ การเข้าชั้นเรียน และระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Bolsa Familia ซึ่งให้เงินอุดหนุนรายเดือนไปยังครอบครัวที่มีรายได้น้อยตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจ่ายในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 16 ปี (ไม่เกิน 5 คนต่อครัวเรือน) และอายุระหว่าง 16-17 ปี (ไม่เกิน 2 คนต่อครัวเรือน) นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ครัวเรือนที่ยากจนสุดขีด (extremely poor) ก็จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมด้วย โดยเน้นจ่ายให้กับหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเพศหญิงในรูปของบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารออมทรัพย์ซึ่งมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ

โดยผลการศึกษาจากธนาคารโลก (De Janvry และคณะ 2005) ระบุว่า โครงการ Bolsa Familia สามารถช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ทางการศึกษา และมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การบริโภคอาหาร และคุณภาพของโภชนาการ นอกจากนี้ เอกสารจากธนาคารโลกอีกชิ้นหนึ่ง (2001) ก็พบว่า มีการลดปัญหาการเอาเปรียบแรงงานเด็กในกลุ่มเด็กที่รับประโยชน์จากโครงการ Bolsa Familia ทั้งนี้ ทั้งโครงการ Bolsa Escola และ Bolsa Familia ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคและทางการเงินจากธนาคารโลก

ความท้าทายสำหรับการพัฒนาด้านการศึกษาของบราซิล คือ อัตราการซ้ำชั้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ และอัตราการซ้ำชั้นมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างชัดเจนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยพบว่า มีอัตราที่สูงกว่าในนักเรียนกลุ่มที่ด้อยโอกาส รวมถึงยังมีความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์การศึกษาระหว่างกลุ่มเพศ โดยในปี 2012 ประเทศบราซิลมีส่วนต่างของคะแนนสอบทางคณิตศาสตร์ระหว่างเพศชายและหญิงในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม OECD ซึ่งประเด็นนี้ได้มีมาตั้งแต่ปี 2003 นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าโรงเรียนเอกชนจะสามารถทำคะแนน PISA ได้ดีกว่า แต่ช่องว่างด้านคุณภาพการศึกษาระหว่างโรงเรียนรัฐและเอกชนได้มีการลดลงจากปี 2003

ดังนั้น ประเทศบราซิลจึงยังต้องเพิ่มมาตรการในการสนับสนุนโรงเรียนที่ให้บริการในพื้นที่ซึ่งมีความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม โดย OECD (2013) ยังพบด้วยว่า การจัดสรรทรัพยากรด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ยังมีช่องทางที่จะสามารถปรับปรุงการบริหารจัดการให้ดีขึ้นได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

ประเทศนิวซีแลนด์

ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่เล็งเห็นความจำเป็นของการปฏิรูปการศึกษาและได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาพอสมควร โดยมีการกำหนดเป็นกฎหมายเพื่อปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี 1989 ก่อนพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษาของไทย พ.ศ. 2542 (ปี 1999) เพียง 10 ปี ทั้งนี้ ในแง่ของภาพรวมในการบริหารระบบการศึกษานั้น นิวซีแลนด์สามารถทำได้ดีมากจากความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปคุณภาพการศึกษา จนกระทั่งทำให้การศึกษาสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการให้บริการด้านการศึกษาอย่างมีคุณภาพต่อนักเรียนต่างชาติ

ช่วงปี 1987-1997 เป็นทศวรรษที่สําคัญในประวัติศาสตร์ของนิวซีแลนด์ในการปรับโครงสร้างระบบการศึกษาของประเทศครั้งใหญ่ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างถอนรากถอนโคน เนื่องมาจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่นิวซีแลนด์เผชิญกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ จึงกําหนดบทบาทรัฐบาลในรูปแบบใหม่ให้มีบทบาทน้อยที่สุด และให้ระบบราชการมีบทบาทน้อยที่สุดเช่นกัน การศึกษาจึงเป็นยุทธศาสตร์สําคัญที่ใช้เพื่อการก้าวข้ามข้อจำกัดของการพัฒนาประเทศ และเป็นสะพานเชื่อมโยงเป้าหมายต่างๆ ของรัฐบาล นั่นคือ ทำให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบสนองในการผลิตบุคลากรที่มีทักษะและความชํานาญ มีความรู้และเจตคติตามที่ต้องการ และการศึกษายังเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะนํามาซึ่งความสําเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศ

ในเวลานั้น ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาในนิวซีแลนด์ได้รับความสนับสนุนจากภาคสังคมอย่างมาก เพราะการทำให้ผู้ปกครองมีส่วนในการบริหารโรงเรียน จึงได้รับการสนับสนุนจากชุมชนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของการปฏิรูป รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคการเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ การปฏิรูปของนิวซีแลนด์ยังสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับอยู่ กล่าวคือ สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นสามารถรับผิดชอบดูแลกิจการของตนได้ ก็เนื่องจากสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จําเป็นจากที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้ จึงสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ที่ให้บริการอยู่

โดยการปฏิรูปการศึกษาในขณะนั้นมีวัตถุประสงค์หลักที่จะกระจายอํานาจลงไปให้ถึงระดับโรงเรียน กล่าวคือ นําการรับผิดชอบด้านการบริหารสถาบันการศึกษาต่างๆ ออกจากการควบคุมจากส่วนกลาง แต่ให้มาอยู่ภายใต้การดูแลของชุมชน และยังคงใช้กฎระเบียบจากส่วนกลาง

ซึ่งแผนในการดำเนินการ คือ การจัดตั้งระบบการศึกษาที่สามารถบริหารจัดการด้วยตนเอง แต่รัฐให้เงินสนับสนุน โดยกระจายอํานาจการบริหารและการให้บริการด้านการศึกษาจากส่วนกลางไปให้กับระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการกำหนดระบบกำกับดูแลความรับผิดชอบ (accountability) ที่ชัดเจนและเหมาะสม โดยตั้งเป้าหมายไว้สําหรับแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะต่างๆ และเสนอทางเลือกให้ประชาชนทุกคนสามารถเลือกได้ว่าจะจะเข้าเรียนที่ไหนและอย่างไรเพื่อให้ได้รับการศึกษาตลอดชีวิต

จากบทสรุปกรณีศึกษาการดำเนินการปฏิรูปของนิวซีแลนด์ (ธนาคารโลก 1998) มีปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินการปฏิรูปอยู่แล้ว ซึ่งบทเรียนสำคัญในช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปที่ประเทศไทยสามารถจะเรียนรู้ ได้แก่

• การเปลี่ยนแปลงได้ตกผลึกจากบรรยากาศการปฏิรูปที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การสนับสนุนจากสาธารณะ และโครงสร้างเชิงสถาบันที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยในสังคมมีการตระหนักอย่างแท้จริงถึงภาวะวิกฤตและความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

• ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นทางการเมืองในการปฏิรูป และมีความต่อเนื่องของนโยบาย เป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่ง

• การจัดให้การเปลี่ยนแปลงมีสถานะถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และจะช่วยลดโอกาสที่จะถูกยกเลิกจากผู้มีอํานาจในรัฐบาลต่อมา

• ผู้นําทางการเมืองจะต้องมีความมั่นใจต่อความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงและความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐ

• มีพันธมิตรในภาครัฐบาลด้านการวางแผนและการงบประมาณ เป็นปัจจัยที่สําคัญมากเช่นเดียวกับเครือข่ายพันธมิตรที่เป็นกลุ่มผู้นำทางความคิดในสังคม

• ใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์

• ดําเนินการปฏิรูปโดยทันที แทนที่จะค่อยๆทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

• แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาเป็นผู้จัดการการปฏิรูป พร้อมทั้งมอบอํานาจในการดําเนินการ

• สร้างความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ดำเนินการปฏิรูป

• พิจารณาโดยรอบคอบในการนำกลุ่มต่อต้านมามีส่วนร่วมในกระบวนการ หรือทำให้กลุ่มดังกล่าวแยกจากกัน (deliberately engage or isolate) แต่ห้ามละเลยไม่ใส่ใจต่อกลุ่มต่อต้าน

• เตรียมตัวในการอัดเงินงบประมาณส่วนเพิ่มให้กับผู้ที่สูญเสียจากการปฏิรูป (reform losers) เพื่อเปลี่ยนลดผลเชิงลบจากการปฏิรูป (sweeten the pill)

• ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ และสร้างแรงจูงใจให้เกิดความโปร่งใสและการเรียนรู้

• เตรียมขั้นตอนในการจัดการสําหรับช่วงยกเลิกระบบเก่า ช่วงเปลี่ยนผ่าน และช่วงเริ่มต้นระบบใหม่

ทั้งนี้ แนวทางสำคัญในการกระจายอำนาจทางการศึกษา คือ การทดลองปฏิรูปการศึกษาโดยเน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น และโดยเฉพาะไปยังโรงเรียนซึ่งในโครงการทดลองเรียกว่า Tomorrow’s school เป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งเลือกคณะกรรมการสถานศึกษา (Board of Trustees) เพื่อบริหารจัดการในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการบริหารตนเองของโรงเรียน (Self-Governing Schools) อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าการจัดการแบบเดิม

โดยมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาจากผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อให้มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องการคัดเลือกครูและผู้บริหารโรงเรียน และกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยมีหน้าที่จัดสรรงบประมาณ ทั้งที่ได้รับจากรัฐบาลกลางและจากรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งอำนาจหน้าที่ยังครอบคลุมถึงเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน เนื่องจากในตอนนั้นมีความไม่พร้อม หรือขาดผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารโรงเรียน จึงไม่สามารถเลือกตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น วิธีแก้ปัญหา คือ การรวมโรงเรียนเป็นกลุ่ม (Clusters) และเลือกตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด สำหรับโรงเรียนในกลุ่ม

ซึ่งองค์ประกอบหลักของแนวทางสำหรับ Tomorrow’s Schools ประกอบด้วย ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการของโรงเรียน การมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ และการสร้างบรรยากาศให้เกิดการแข่งขันระหว่างโรงเรียน ซึ่งจะเน้นความสามารถในการอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยเป็นตัวแทนของรัฐที่จะพึ่งพารัฐในเฉพาะบางส่วน และคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์หรือการพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังมีนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีองค์กรอิสระด้านการศึกษาในการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพและเปิดเผยรายงานต่อสาธารณะ คือ Education Review Office (ERO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกออกเป็นอิสระจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีบทบาทในการตรวจสอบเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนและการศึกษาเด็กก่อนปฐมวัย โดยสำรวจคุณภาพของสถานศึกษาทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน และรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และรัฐบาล เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยเป้าหมายของตัวชี้วัดในการประเมินคุณภาพการศึกษาโดย Education Review Office จะมุ่งเน้นไปที่ผลการศึกษามากกว่ากระบวนการบริหารจัดการศึกษา

ปัจจุบันมีการสำรวจคุณภาพโดยเฉลี่ยทุกสามปี ซึ่งอาจจะมีการสำรวจบ่อยกว่านั้นหากเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพต่ำหรือมีความเสี่ยงด้านการศึกษาและความปลอดภัยต่อนักเรียน หรืออาจจะมีความถี่ในการสำรวจน้อยกว่าทุกสามปี หากโรงเรียนมีประวัติของคุณภาพที่น่าพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง และมีกระบวนการประเมินคุณภาพของตนเองและมีการนำข้อมูลการประเมินนั้นมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน

ทั้งนี้ ผลการสำรวจคุณภาพของแต่ละสถานศึกษาโดย Education Review Office มีการเผยแแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งจากการร้องขอตัวเล่มรายงานของโรงเรียนจากสำนักงานทั่วประเทศ หรือติดประกาศอยู่ในโรงเรียน รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ ซึ่งหากโรงเรียนไม่สามารถผ่านเกณฑ์คุณภาพได้ ทาง Education Review Office จะเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุง หรืออาจจะรายงานผลต่อกระทรวงศึกษาธิการและสาธารณชน ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลด้านคุณภาพของสถานศึกษา จะมีผลกระทบต่อโรงเรียน เพราะผู้ปกครองสามารถย้ายบุตรหลานของตนไปสู่สถานศึกษาอื่นๆ เนื่องจากระบบการศึกษาของนิวซีแลนด์เอื้อให้มีการแข่งขันด้านคุณภาพของโรงเรียน จึงไม่จำกัดว่านักเรียนจะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านเท่านั้น

ดังที่สรุปในธนาคารโลก (2011) ว่า จุดสำคัญในการปฏิรูประบบโรงเรียนของนิวซีแลนด์ คือ การให้อำนาจต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและจัดให้มีข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งการสร้างทางเลือกในการเข้าเรียนให้กับระบบการศึกษา

นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังมีการใช้เงินอุดหนุนตรงตามตัวผู้เรียน (demand-side financing) ซึ่งนอกจากจะสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาแล้ว ยังสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางนโยบายในการเพิ่มคุณภาพ โดยในนิวซีแลนด์ได้ให้เงินอุดหนุนผู้เรียนในรูปของ Targeted funding และ targeted vouchers ซึ่งทำให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถเลือกโรงเรียนตามที่ระบบได้จัดสรรให้สามารถเลือกได้ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลด้านคุณภาพ เพื่อช่วยประกอบในการตัดสินใจ จึงทำให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพด้านการเรียนการสอนและการบริหารจัดการต้นทุน เพราะจะต้องแข่งขันด้านคุณภาพกับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ระบบเช่นนี้จึงเป็นการสร้างทางเลือกสำหรับนักเรียน

บรรณานุกรม

Adams, Mark. 2009. Tomorrow’s schools today: New Zealand’s experiment 20 years on. Fairfax, VA: Mercatus Center.

Attfield, Ian, and Binh Thanh Vu. 2013. A rising tide of primary school standards—The role of data systems in improving equitable access for all to quality education in Vietnam. International Journal of Educational Development 33(1): 74-87.

Arcia, Gustavo, Kevin Macdonald, Harry Anthony Patrinos, and Emilio Porta. 2011. School autonomy and accountability. System assessment for benchmarking education for results, Regulatory and institutional framework. World Bank, Human Development Network, Washington, DC.

Bourguignon, François, Francisco HG Ferreira, and Phillippe G. Leite. 2003. Conditional cash transfers, schooling, and child labor: Micro-simulating Brazil’s Bolsa Escola program. The World Bank Economic Review 17(2): 229-254.

Bruns, Barbara, Deon Filmer, and Harry Anthony Patrinos. 2011. Making schools work: New evidence on accountability reforms. World Bank Publications.

Bruns, Barbara, David Evans, and Javier Luque. 2011. Achieving world-class education in Brazil: The next agenda. World Bank Publications.

De Janvry, Alain, Frederico Finan, Elisabeth Sadoulet, Donald Nelson, Kathy Lindert, Bénédicte de la Brière, and Peter Lanjouw. 2005. Brazil’s Bolsa Escola program: The role of local governance in decentralized implementation. Washington, DC: World Bank, Social Protection (SP), SP Discussion Paper 0542.

London, Jonathan D., ed. 2011. Education in Vietnam. Institute of Southeast Asian Studies.

Mai, Phu Hop, and Jun Wu Yang. 2013. The current situation of Vietnam education. Social Sciences 2(6): 168-178.

Ministry of Education of the People’s Republic of China. 2010. Outline of China’s National Plan for Medium and Long-term Education Reform and Development (2010-2020), Beijing.

Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). 2013. BRAZIL – Country Note –Results from PISA 2012.

Patrinos, Harry Anthony. 2002. A review of demand-side financing initiatives in education. Draft. Washington, DC: World Bank.

Patrinos, Harry Anthony, and Tazeen Fasih. 2009. Decentralized decision-making in schools: The theory and evidence on school-based management. World Bank Publications.

Performers, Strong. 2011. Successful reformers in education: lessons from PISA for the United States.

Perris, Lyall. 1998. Implementing education reforms in New Zealand: 1987-97. Education Reform and Management Series, Vol. 1, No.2.

Rawlings, Laura B., and Gloria Rubio. 2003. Evaluating the impact of conditional cash transfer programs: Lessons from Latin America. Vol. 3119. World Bank Publications.

Salleh, Hairon, and Charlene Tan. 2013. Novice teachers learning from others: Mentoring in Shanghai schools. Australian Journal of Teacher Education 38(3): n3.

Sander, Frederico Gil; Jalil, Intan Nadia; Ali, Rabia; Lathapipat, Dilaka; Jithitikulchai, Theepakorn; Taglioni, Daria; Testaverde, Mauro; Ozier, Owen; Ozden, Caglar; del Carpio, Ximena; Zachau, Ulrich; Shetty, Sudhir; Benveniste, Luis; Verghis, Mathew. 2013. Malaysia economic monitor: high-performing education. Washington DC ; World Bank Group.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. 2014. Governance and financing background note. Asia-Pacific Regional Education Conference 6-8 August 2014, Bangkok, Thailand.

Vegas, Emiliana, Alejandro Ganimian, and Analia Jaimovich. 2012. Learning from the best: improving learning through effective teacher policies. World Bank Publications.

World Bank. 2001. Brazil: An Assessment of the Bolsa Escola Programs. Human Development Department, Latin America and Caribbean Region, Washington, DC: World Bank.

World Bank. 2001. Vietnam – Primary Teacher Development Project. Washington, DC: World Bank.

World Bank. 2003. Vietnam – Primary Education for Disadvantaged Children Project. Washington, DC: World Bank.

World Bank. 2005. Vietnam – Targeted Budget Support for National Education For All Plan Implementation Program Project. Washington, DC: World Bank.

Yap, Yoon-Tien, Guilherme Sedlacek and Peter Orazem. 2001. Limiting child labor through behavior-based income transfers: An experimental evaluation of the PETI Program in rural Brazil. Washington, DC: World Bank.

Zhang, Chenjian, and Alexander Akbik. 2012. PISA as a legitimacy tool during China’s education reform: case study of Shanghai. No. 166. TranState Working Papers.

Like this:

Like

Loading…

[Update] แนวคิดและประสบการณ์จากต่างประเทศในการปฏิรูปการศึกษา – Theepakorn Jithitikulchai | การ ศึกษา ต่าง ประเทศ – NATAVIGUIDES


กลยุทธ์หลักเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาระบบความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา: ถอดบทเรียนจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จทางด้านการปฏิรูประบบการศึกษา (สรุปประมวลผลโดยผู้เขียน)

กำหนดกรอบกฎหมายและนโยบายสนับสนุนความรับผิดชอบ (accountability) และความโปร่งใส (transparency) โดยสร้างการมีส่วนร่วมตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เครือข่ายและภาคเอกชน (autonomy)

ทั้งนี้ กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย

• ใช้ตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเท่านั้น และกำหนดให้มีความรับผิดชอบ (accountability) ที่มีผลต่อการประเมินผลผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู

• สนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านการศึกษาและการกระจายอำนาจที่มีแนวทางชัดเจน ให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน โดยเน้นหลักสำคัญในการสร้างความเท่าเทียม ความรับผิดชอบ และการพัฒนาศักยภาพในพื้นที่

• สร้างกลไกเชิงสถาบันในด้านกฎหมาย การวางแผน และการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของการจัดการศึกษาอย่างมีธรรมาภิบาล

• จัดให้มีพื้นที่และเครื่องมือสำหรับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดลำดับความสำคัญของการจัดการศึกษาผ่านทางคณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู และคณะกรรมการสถานศึกษา

• กำหนดเป็นพันธะผูกพันทางกฏหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม รวมถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ

• กำหนดกรอบการกำกับดูแลความรับผิดชอบในการบริหารระบบการศึกษาในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อมโยงกับระบบการการเงินและบัญชี (เช่น การตรวจสอบข้อมูลภาครัฐ จากภายนอก กระบวนการมาตรฐานที่มีความโปร่งใส)

• สร้างความโปร่งใสโดยระบบตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐ

• สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาและการเงินของกระทรวงต่างๆ รวมถึง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทางด้านการกำหนดนโยบายและการจัดการงบประมาณ

• ขยายการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนัก เพื่อสร้างวัฒนธรรมของความรับผิดชอบและความโปร่งใส

• เพิ่มการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้มีการเรียนการสอนที่มีคุณค่าทางจริยธรรม

• สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการรับผิดชอบต่อการปฏิรูปสถาบัน การพัฒนาองค์กร และกระบวนการของภาครัฐ

ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนามเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศไทยในการยกระดับการศึกษาทั้งประเทศให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ โดยการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเวียดนามมีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายหรือความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ผู้บริหารการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง จะต้องสร้างความรับผิดชอบให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วประเทศตามมาตรฐานที่กำหนด

ประเทศเวียดนามได้มีความพยายามในการปฏิรูประบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ช่วงปี 1990 โดยมุ่งเน้นให้ระบบการศึกษามีความทันสมัย ซึ่งแม้ว่าจะมีความพยายามในทางยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์อย่างชัดเจนในหลายๆด้าน แต่ทว่าการปฏิรูปก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นโดยจำกัดเฉพาะในกลุ่มเมืองใหญ่และพื้นที่เขตเมืองเท่านั้น (Duggan, 2011) ซึ่งความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญในการบริหารการศึกษาของเวียดนาม นอกเหนือจากประเด็นทางด้านอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ (enrolment rate) ที่ต่ำเกินไป ในขณะที่อัตราการการออกกลางคัน (dropout rate) และอัตราการเรียนซ้ำชั้นก็อยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังในหลายมิติหลักที่สำคัญ ด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลกผ่านโครงการการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อนักเรียนที่ด้อยโอกาส (Primary Education for Disadvantaged Children) ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี 2003 จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการในปี 2010 ซึ่งการดำเนินการต่างๆในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐานของคุณภาพโรงเรียนระดับประถมทั่วประเทศ ได้ปรากฏในการสอบ PISA 2012 โดยเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในช่วงอายุ 15 ปีที่เข้าทำการสอบ PISA 2012 ก็คือ ประชากรรุ่นที่ได้ผ่านเข้าเรียนชั้นประถมในช่วงเวลาที่มีการดำเนินโครงการดังกล่าวทั่วประเทศ

โดยโครงการนี้สามารถที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายสำหรับกระทรวงศึกษาธิการของเวียดนาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากผู้ที่จะมีบทบาทหลักในการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดขึ้นเป็นจริงได้ ก็คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาของประเทศ ดังนั้น หน่วยงานที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักสำหรับโครงการ ก็คือกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เป้าหมายด้านการดำเนินการของโครงการจึงคาดหวังว่า เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถแสดงถึงศักยภาพที่เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งด้านการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การสนับสนุน และการติดตามความต้องการของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาระดับประถมที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส โดยโครงการได้กำหนดนิยามแบบกว้างสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส คือ เด็กในวัยเรียนซึ่งไม่ได้เรียนหนังสือหรือมีความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จการศึกษาในระดับประถม เด็กที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพพื้นฐาน (Fundamental School Quality Level: FSQL) และเด็กพิการหรือเด็กที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กที่มาจากครอบครัวที่มาจากต่างด้าว หรือ เด็กหญิงในบางพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย

ซึ่งโครงการมีการกำหนดตัวชี้วัดการพัฒนาโครงการ คือ

• เพิ่มจำนวนโรงเรียนในโครงการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพพื้นฐาน (FSQL)
• เพิ่มอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ
• ปรับปรุงอัตราการสำเร็จการศึกษาระดับประถม
• ลดอัตราการซ้ำชั้นประถมหนึ่ง
• ลดอัตราการการออกกลางคันจากโรงเรียน

ตัวชี้วัดสำหรับผลลัพธ์ในระยะกลาง คือ
• โรงเรียนที่ให้บริการการศึกษาต่อนักเรียนด้อยโอกาสในประเทศได้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเพื่อความสำเร็จ (ผลลัพธ์ที่ได้ คือ จากที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า 189 เขตการศึกษาที่เสียเปรียบทางการศึกษามากที่สุด จะมีการวางแผนและดำเนินการเพื่อให้ทุกโรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพพื้นฐาน (FSQL) เมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่า ไม่เพียงแค่ทำได้เฉพาะเขตการศึกษาที่เข้าร่วมเท่านั้น แต่ทั่วประเทศได้มีการพัฒนาระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวางแผน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา)
• การพัฒนาคุณภาพของครูและครูใหญ่ (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ที่บุคลากรจำนวน 59,000 คน จากโรงเรียนแม่ข่าย 4,200 แห่ง และโรงเรียนลูกข่ายผ่านดาวเทียมอีก 15,000 แห่ง ผ่านการฝึกอบรมการเรียนการสอนรายสาขาวิชาผลลัพธ์ที่ได้ คือ จำนวน 63,680 คนผ่านการฝึกอบรม)
• จ้างและฝึกอบรมผู้ช่วยครู (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ที่ประมาณ 15,000 คน ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีการจ้างผู้ช่วยครูประมาณ 7,500 คน และมีการฝึกอบรมครูผู้สอนระดับชั้นประถมหนึ่งประมาณ 7,500 คน)
• ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ คือ อย่างน้อยโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียม 9,240 แห่ง มีการปรับปรุงให้มีห้องเรียนที่แข็งแรง และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา ผลลัพธ์ คือ มีการสร้างห้องเรียนใหม่จำนวน 13,141 ห้องในโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียม และมีการปรับปรุงห้องเรียนจำนวน 6,720 ห้อง ทั้งในโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียมและในโรงเรียนแม่ข่าย)
• การเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีความเข้มแข็ง (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานไว้ที่ 15,000 แห่ง ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูในโรงเรียนทุกแห่ง และมีการดำเนินการใน 99% ของพื้นที่)
• มีตำราเรียนให้เด็กนักเรียนและมีเอกสารประกอบการเรียนการสอนสำหรับครูผู้สอน (กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐาน คือ ครูในโรงเรียนการศึกษาผ่านดาวเทียมกว่า 40,000 คนมีเอกสารประกอบการเรียนการสอนครบถ้วน และนักเรียน 1,390,000 คนมีหนังสือคณิตศาสตร์และภาษาเวียดนามในตอนเริ่มต้นปีการศึกษาของทุกปี ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีตำราสำหรับครู คู่มือการสอน หรือ แนวทางการสอนจำนวนกว่า 259,062 เล่มส่งมอบให้กับครู และหนังสือเรียนกว่า 3,397,429 เล่ม ส่งมอบให้กับนักเรียน)

นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการนี้ได้นำเสนอแนวคิดระดับคุณภาพพื้นฐานสำหรับคุณภาพโรงเรียน (FSQL) โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับโรงเรียน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะพัฒนาครูและสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนด้านเอกสารการเรียนการสอนและครูผู้สอน โครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา และการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาคุณภาพ โดยได้ออกแบบ FSQL ให้เป็นมาตรฐานที่สามารถ”บรรลุผลได้” ซึ่งจะทำให้โรงเรียนที่อยู่ในเขตการศึกษาที่ด้อยโอกาสมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐาน แทนที่จะเป็นมาตรฐานระดับประเทศซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าที่จะสามารถทำได้จากพื้นฐานความเป็นจริงของโรงเรียน

โดย FSQL ได้มีการจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูล (Attfielf and Vu 2012) เพื่อการตรวจสอบภายในสำหรับระดับเขตพื้นที่การศึกษา (District FSQL Audit) ซึ่งเป็นการสำรวจรายปีสำหรับโรงเรียนประถมทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการวัดเชิงปริมาณสำหรับ FSQL เพื่อใช้ในการวางแผนและติดตามการดำเนินการและการใช้ทรัพยากรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มีการจัดทำ FSQL Input Index (FII) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดคุณภาพ โดยประกอบด้วยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของตัวแปรทางด้านโครงสร้างองค์กรของโรงเรียนและการจัดการ ตัวแปรเกี่ยวกับครูผู้สอน ตัวแปรด้านโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนและชั้นเรียน ตัวแปรทางด้านหนังสือและอุปกรณ์ช่วยสอน ตัวแปรทางด้านการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาและกฎระเบียบ และตัวแปรทางด้านสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา

ทั้งนี้ รัฐบาลของเวียดนามในปี 2009 ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 8 คณะ เพื่อจัดทำแนวทางในการดำเนินการด้านการจัดการองค์กรและด้านการเงิน เพื่อให้กิจกรรมภายใต้โครงการสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต โดยในแผนแบ่บทการศึกษาภายใต้กรอบ NTP-E 2011-2015 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสภาแห่งชาติของเวียดนาม ได้กำหนดให้มีโครงการหลักระดับชาติต่อเนื่องอีก 5 โครงการ ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการผ่านช่องทางปกติสำหรับเขตการศึกษาและศึกษาจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย

โครงการ 1: สนับสนุนการจัดการศึกษาก่อนปฐมวัยอย่างทั่วถึงสำหรับเด็กอายุ 5 ขวบ การลดปัญหาความไม่รู้หนังสือ รักษาอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับระดับประถม และเพิ่มอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับระดับมัธยม

โครงการ 2: จัดการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้สารสนเทศด้านการศึกษา

โครงการ 3: สร้างความเข้มแข็งในการเรียนการสอนและการสอนภาษาต่างประเทศให้กับระบบการศึกษา

โครงการ 4: สนับสนุนคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ภูเขา พื้นที่ชนกลุ่มน้อย และพื้นที่กันดาร

โครงการ 5: เพิ่มศักยภาพของสถาบันการศึกษาและการจัดฝึกอบรม โดยรวมถึง (ก) ปรับปรุงหลักสูตร ตำรา และสื่อการเรียนการสอน (ข) ฝึกอบรมและอบรมซ้ำต่อครูผู้สอนและผู้บริหารการศึกษา (ค) ขยายและสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา

ทั้งนี้ ในรายงานการพัฒนาเวียดนาม 2014 ของธนาคารโลก (อ้างถึงใน Malaysia Economic Monitor 2013) ได้เน้นถึงประเด็นสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างก้าวกระโดดของเวียดนาม ซึ่งได้แก่

• การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน – โดยครูระดับประถมศึกษาของเวียดนามได้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากในไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันเกือบร้อยละ 60 ของครูจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2006 ซึ่งผลการสำรวจเรื่องคุณภาพชีวิตซึ่งเผยแพร่ในปี 2013 ได้พบว่า ระบบการศึกษาของเวียดนามมีความเท่าเทียมกันค่อนข้างสูง กล่าวคือ แม้จะมีความสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างผลประเมินการเรียนการสอนของครูและคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน แต่ก็มีจำนวนครูไม่มาก (รวมถึงครูที่สอนในพื้นที่ด้อยโอกาส) ที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับการวัดความรู้ในวิชาที่ตนเองสอน ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบด้วยว่า อัตราการเข้าสอนของครูสูงมาก โดยเฉลี่ยขาดการสอนเพียง 2 วันในช่วงที่ทำการสำรวจในระยะเวลา 8 เดือน

• การผสมผสานระหว่างการประเมินภายในโรงเรียนและการสอบระดับประเทศ – ครูที่มีคุณภาพจะสามารถวัดผลการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยการประเมินคุณภาพของชั้นเรียนจะวัดจากการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า เช่นเดียวกับการบ้านและรายงาน ซึ่งจะถูกใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน

• การปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง – เวียดนามได้ใช้แนวทางการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบเป็นกลุ่มและพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหา แทนที่จะเน้นการเรียนแบบท่องจำและคัดลอก นักเรียนจะถูกสอนตามความสามารถของนักเรียน และโรงเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และสามารถมีบทบาทในการกำหนดเนื้อหาการเรียน ซึ่งประเด็นหลังจะมีความสำคัญสำหรับพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย เพราะผู้ปกครองจะได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาที่สามารถสอดแทรกวัฒนธรรมและคุณค่าของตนเองเข้าไปในหลักสูตรได้ ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้ขยายจากโครงการต้นแบบ 24 โรงเรียนใน 6 จังหวัดออกไปเป็น 1,500 โรงเรียนใน 63 จังหวัด

มหานครเซี่ยงไฮ้

มหานครเซี่ยงไฮ้มีความมุ่งมั่นทางการเมืองที่เข้มแข็งเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักเรียนโดยถ้วนหน้า โดยตั้งแต่การเข้าร่วมสอบครั้งแรกในปี 2009 นักเรียนในช่วงอายุ 15 ปีจากเซี่ยงไฮ้สามารถทำคะแนน PISA ได้สูงสุด คือ 556 คะแนนสำหรับวิชาการอ่าน, 600 คะแนนสำหรับวิชาคณิตศาสตร์, และ 575 คะแนนสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ประเทศที่คะแนนสูงสุดของ OECD คือ เกาหลี ทำได้ 539 คะแนนสำหรับวิชาการอ่าน, 546 คะแนนสำหรับวิชาคณิตศาสตร์, และ 538 คะแนนสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ และล่าสุดปี 2012 เซี่ยงไฮ้ก็ยังคงมีอันดับคะแนนสอบของนักเรียนเป็นอันดับ 1 ในทั้ง 3 รายวิชา

แม้จะมีการตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ เช่น การสุ่มตัวอย่างไม่ได้รวมเด็กที่มาจากครอบครัวผู้อพยพอย่างเพียงพอ กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถสะท้อนภาพของประเทศจีนทั้งประเทศได้ หรือระบบการศึกษาของจีนเน้นหนักในเรื่องการทำข้อสอบ แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธความสำเร็จของเซี่ยงไฮ้ได้ ซึ่งเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองแรกของประเทศจีนในการจัดการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างทั่วถึง และเป็นหนึ่งในบรรดาเมืองแห่งแรกๆที่สามารถจัดการการศึกษาภาคบังคับในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างทั่วถึง โดยเซี่ยงไฮ้มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนที่มาจากครอบครัวของแรงงานอพยพจากส่วนอื่นๆของประเทศจีน ซึ่งบ่อยครั้งมีภูมิหลังของภาษาที่แตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มาจากครอบครัวอพยพเหล่านี้ คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรนักเรียนของเซี่ยงไฮ้ทั้งหมดในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นอกจากนี้ ในปี 2009 97% ของนักเรียนเซี่ยงไฮ้จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือในระดับที่เทียบเท่าในสายอาชีวะ โดย 98% ของนักเรียนเซี่ยงไฮ้จะได้รับการศึกษาก่อนประถม (preschool) ซึ่งได้ล้ำหน้าเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ของประเทศในปี 2020 ว่า 95% ของประชากรจีนในวัยก่อนประถม จะต้องได้รับการศึกษาระดับชั้นอนุบาลอย่างน้อยหนึ่งปี ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรของเซี่ยงไฮ้มากกว่า 80% ของผู้ที่อยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยก็กำลังได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่ 24% หรือเป้าหมายของประเทศในปี 2020 คือ 40%

มหานครเซี่ยงไฮ้ได้เริ่มจริงจังที่จะปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ปี 1980 โดยเปิดกว้างนโยบายด้านการศึกษา จากการเรียนรู้ด้านนโยบายและการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการศึกษาที่ดีที่สุดจากต่างประเทศ ซึ่งช่วงแรกเป็นการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาในช่วงระหว่างปี 1980-1990 โดยได้มีการจัดระบบให้เป็นมาตรฐานในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีการกำหนดกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และมีการปฏิรูปหลักสูตรทั้งหลักสูตรวิชาหลัก วิชาเสริม และกิจกรรมนอกหลักสูตร จากนั้น ช่วงที่สองเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ปี 1990 มาจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นปรับคุณภาพโรงเรียนให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น กำหนดมาตรการสร้างเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียนแบบทวิภาคี ด้วยการจับคู่โรงเรียนที่ผลการเรียนดีกับโรงเรียนที่ผลการเรียนต่ำในรูปของโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง การแลกเปลี่ยนผู้บริหารและมาตรการพัฒนาครูแบบประกบคู่ ให้ครูอาวุโสที่พึ่งเกษียณอายุราชการมาพัฒนาครูใหม่อย่างเข้มข้น ตั้งแต่ติดตามประเมินผลการสอนในห้องเรียน และอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอน สร้างวัฒนธรรมการศึกษาใหม่ โดยยกเลิกการสอบแบบปรนัย และส่งเสริมการเรียนแบบสนทนาในห้องเรียน และการลดความเหลื่อมล้ำโดยขยายโอกาสให้เด็กที่มาจากครอบครัวแรงงานอพยพเข้าเรียน

การปฏิรูปหลักสูตรและระบบการเรียนการสอน

ปัจจุบัน การเรียนการสอนในเซี่ยงไฮ้ไม่ได้มุ่งเน้นการเรียนแบบท่องจำเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หากมีความหลากหลายและความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรได้เอง ซึ่งสามารถที่จะแสดงผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญ ตามที่ปรากฏในผลการสอบ PISA ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักเรียนจากเซี่ยงไฮ้สามารถแสดงทักษะในการประยุกต์องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างยอดเยี่ยม
(ก) กระจายอำนาจไปให้มหานครเซี่ยงไฮ้และในบางจังหวัดของประเทศจีนในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถพัฒนาหลักสูตรด้วยตนเองให้แตกต่างออกไปจาก 8 หลักสูตรกลางของระดับประเทศ
(ข) นำการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนแบบวิชาหลัก วิชาเสริม และการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการมาใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (70% เป็นเนื้อหาวิชาหลัก และ 30% เป็นเนื้อหาวิชาเสริมและการทำโครงการ)
(ค) เน้น (deepening) การเรียนวิชาเสริมและการทำโครงการในทุกสาระวิชา

มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพครู: บุคลากรครูผู้สอนในระดับประถมและมัธยมของประเทศจีนอาจจะไม่ได้มีคุณวุฒิทางวิชาการสูง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาของประเทศที่มีความก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม ได้มีความพยายามร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพครู โดยการกำหนดโครงการ “240 ชั่วโมง และ 540 ชั่วโมง” ซึ่งเป็นข้อบังคับให้ครูทุกคนจะต้องผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพเป็นเวลา 240 ชั่วโมงภายใน 5 ปีแรกของการสอน และจะต้องผ่านการอบรมอีก 540 ชั่วโมงเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะไปสู่ตำแหน่งครูอาวุโส โครงการอื่นที่สำคัญได้แก่ “รางวัลครูดาวเด่นและรางวัลผู้อำนวยการดาวเด่น” และ “โบนัสสำหรับความเป็นเลิศในการสอน” โดยกลุ่มเครือข่าย “สอน-ศึกษา-วิจัย” ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะกลุ่มนั้น จะเป็นกลไกเชิงสถาบันในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูผู้สอน โดยครูในเซี่ยงไฮ้จะต้องทำวิจัยด้านการสอนเชิงปฏิบัติการและเปิดเผยผลประเมินการสอนต่อเพื่อนครูด้วยกัน ทั้งนี้ อาชีพครูในเซี่ยงไฮ้จะมีความพึงพอใจในผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีสถานะสูงในสังคม

นโยบายบริหารการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่โรงเรียนคุณภาพต่ำ: ตั้งแต่ปี 2000 กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนที่มีปัญหา เช่น “ยกระดับโรงเรียนคุณภาพต่ำ” หรือ “พัฒนาอย่างสมดุลย์” เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการกำหนดนโยบาย ซึ่งหลายโครงการชั้นนำได้แก่ “การบริหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่น” สำหรับโรงเรียนคุณภาพต่ำ โดยส่งผู้อำนวยการหรือทีมบริหารที่มีความสามารถสูงกว่าไปบริหาร, “โรงเรียนคุณภาพใหม่” ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การศึกษาเฉลี่ยของพื้นที่หรือของโรงเรียนคุณภาพต่ำผ่านแผนการพัฒนาโรงเรียนและการฝึกอบรม, และ “การจัดการคู่แฝด” ระหว่างอำเภอในเมืองหรืออำเภอในชนบท ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองเดียวกัน จึงช่วยลดช่องว่างคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่เกิดใหม่จำนวนมาก เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กและเยาวชนในเขตชนบท ซึ่งประสบปัญหาขาดมาตรฐานและประสบการณ์บริหารจัดการสถานศึกษา และปัญหาขาดแคลนครูผู้มีประสบการณ์สอนมากกว่า 10 ปี

การจัดสรรเงินด้านการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ: เนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างมากในระดับรายได้เฉลี่ยของอำเภอต่างๆ เซี่ยงไฮ้จึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นจังหวัดแรกในประเทศจีนที่ได้มีการใช้ระบบการโอนเงิน (fiscal transfer) ตั้งแต่ปี 2005 โดยทุกอำเภอจะต้องนำส่ง 50% ของรายได้จากการศึกษาในท้องถิ่น เพื่อมอบให้กับงบประมาณส่วนกลางที่จะมีการจัดสรรไปให้กับอำเภอที่ยากจนสุดและมีคุณภาพการเรียนแย่สุด

สำรองพื้นที่ในโรงเรียนมัธยมชั้นนำให้กับนักเรียนที่มาจากโรงเรียนคุณภาพต่ำ: ระบบการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับของประเทศจีนจะครอบคลุมจนถึงระดับมัธยมต้น ดังนั้น การเรียนต่อระดับมัธยมปลายจึงไม่ใช่การศึกษาฟรีที่จัดให้โดยรัฐ เนื่องจากโรงเรียนที่มีคุณภาพดีมักจะรับเข้าตามผลคะแนนสอบ จึงเป็นการตัดโอกาสของเด็กนักเรียนที่มาจากโรงเรียนมัธยมต้นที่มีคุณภาพต่ำ ดังนั้น ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กำหนดให้โรงเรียนชั้นนำจะต้องสำรอง 30% ของจำนวนนักเรียนที่รับเข้า จะต้องมาจากโรงเรียนคุณภาพต่ำ ซึ่งทำให้โรงเรียนที่มีคุณภาพต่ำและนักเรียนมีความหวังและแรงจูงใจที่จะสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนชั้นนำในเมืองได้

การสร้างวัฒนธรรมใหม่เป็นตัวช่วยเร่งการปฏิรูปทางด้านการศึกษาของมหานครเซี่ยงไฮ้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางสังคมที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยความเชื่อมั่นที่ว่าผลลัพธ์ทางการศึกษาและการบรรลุความเป็นเลิศ สามารถจะทำได้ด้วยการฝึกฝนและความเพียร และความคาดหวังว่าการศึกษาเป็นหนทางหลัก(และบ่อยครั้งเป็นเพียงหนทางเดียว)ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานะของชีวิตและสถานภาพทางสังคม ซึ่งความสำเร็จจากการศึกษาเป็นเรื่องของความพยายามไม่ใช่พรสวรรค์ อีกทั้งการมองว่า ครูมีสถานะทางสังคมที่สูงในระดับเดียวกับแพทย์ จึงมีปัจจัยทางวัฒนธรรมในการเคารพต่อสถานะทางสังคมของอาชีพครู

อย่างไรก็ตาม การบริหารการศึกษาของเซี่ยงไฮ้ยังมีความท้าทายและความอ่อนแอบางประการในเรื่องคุณภาพการศึกษา อันได้แก่ ความแตกต่างของโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในชนบท การเรียนการสอนที่ครูมากกว่าร้อยละ 70 มีอายุน้อยและขาดประสบการณ์ การสอนแบบท่องจำและมุ่งเน้นการสอบมากจนเกินไป

ประเทศบราซิล

ประสบการณ์จากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศบราซิลจะสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับนโยบาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาไทยได้ เนื่องจากเป็นการปฏิรูปโดยสร้างกลไกและเครื่องมือ เพื่อให้เกิดการบริหารแบบมีธรรมาภิบาลสำหรับการศึกษาของประเทศบราซิล ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ประเทศบราซิลซึ่งมีประชากรมากกว่าประเทศไทย 3 เท่า ใช้งบประมาณด้านการศึกษาเพียง 5% ของจีดีพี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษา 6.7% ของจีดีพี ทั้งนี้ ความพยายามที่จะปฏิรูปการศึกษาของบราซิลได้แสดงให้เห็นจากการยกระดับคุณภาพของผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาและการขยายโอกาสทางการศึกษา โดยแม้ว่าจะยังคงมีคะแนนสอบ PISA ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OEECD แต่คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2003 จาก 356 เป็น 391 ในปี 2012 ซึ่งทำให้บราซิลเป็นประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นของคะแนนสอบสูงที่สุด นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา (OECD 2013) โดยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ ยังได้มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนในกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ซึ่งในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี บราซิลสามารถขยายอัตราการได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนในช่วงอายุ 15 ปี เพิ่มขึ้นจาก 65% ในปี 2003 เป็น 78% ในปี 2012

ความเป็นระเบียบวินัยของครูและนักเรียนของบราซิลได้พัฒนาดีขึ้นจากปี 2003 (OECD 2013) และโรงเรียนสามารถดึงดูดและรักษาครูที่มีคุณภาพได้มากขึ้น โดยบราซิลได้กำหนดเป้าหมายไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติว่า ภายในปี 2020 เงินเดือนครูเฉลี่ยจะต้องเทียบเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาเป็นครูและยกระดับสถานะทางสังคมของอาชีพครู โดยมุ่งเน้นปัญหาด้านคุณภาพครู ซึ่งครูมีรายได้ต่ำ และไม่มีหลักสูตรการสอนวิชาชีพครูโดยตรง นอกจากนั้น ครูส่วนใหญ่ยังมีคุณวุฒิเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น

สำหรับประเทศบราซิล ได้มีนวัตกรรมทางนโยบายจัดการด้านการศึกษาในช่วงกว่า 15 ปีที่ผ่านมา ทั้งในระดับรัฐบาลส่วนกลาง ระดับรัฐบาลท้องถิ่น และระดับเทศบาล โดยแนวทางสำคัญในจัดสรร “เงินอุดหนุน” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสำหรับการพัฒนาการศึกษาในบราซิล ใช้วิธีบริหารจัดการหลัก 3 ประการ ได้แก่

1.มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีระบบติดตามเก็บข้อมูลการเข้าเรียน-ขาดเรียน ร่วมกับโรงเรียนในท้องที่ เพื่อหาทางสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนครบหลักสูตร

2. สร้างแรงจูงใจให้กับครูในพื้นที่มีความยากลำบาก โดยการให้ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพ หรือสวัสดิการพิเศษต่างๆ แก่ครูที่ต้องทำงานในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกันตามความยากลำบากและความจำเป็นของพื้นที่ เพื่อจูงใจให้ครูไปสอนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

3. ให้เงินอุดหนุนครอบครัวกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กไม่ต้องออกจากโรงเรียนไปทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้เด็กมีโอกาสได้เข้าเรียนอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น

โดยธนาคารโลก (2011) ได้สรุปว่า นโยบายหลักสำคัญที่สุด 3 ประการ ทำให้มีความก้าวหน้าของนโยบายปฏิรูปการศึกษาระดับประเทศอยู่ในระดับเดียวกันกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับโลก (global best practice) และเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืนและมีสัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างดี โดยนโยบายหลักทั้ง 3 ประการได้นำไปสู่กลยุทธ์สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาของบราซิล คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาด้วยระบบข้อมูลเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์การศึกษา และ การเพิ่มเงินอุดหนุนตรงตามตัวผู้เรียน (demand-side financing) เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษา ซึ่งภายในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศบราซิลได้ใช้วิธีการเพิ่มงบประมาณอย่างมากให้กับการศึกษา ด้วยการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อดำเนินการนโยบายหลักทั้ง 3 ประการที่สำคัญ คือ

1. การจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยมาตรการเพิ่มเงินอุดหนุนโรงเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในบราซิล ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาก่อนปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงเด็กที่ออกจากระบบการศึกษา ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 1996 โดยแบ่งเงินอุดหนุนออกเป็น 3 ส่วน คือ

ก. เงินอุดหนุนผู้เรียนยากจนและกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบ โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการติดตามการเข้าเรียน เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กวัยเรียนได้ครบทุกคนในพื้นที่

ข. เงินอุดหนุนเงินเดือนครู เพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมคุณภาพในการการพัฒนาครู โดยจัดให้มีการอุดหนุนเงินเดือนครูเพิ่มขึ้นในระหว่าง 10-60% ตามภาวะความยากลำบากของโรงเรียน

ค. เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข Conditional Cash Transfer โดยอุดหนุนตรงไปที่ครอบครัวผู้เรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ครอบครัวสนับสนุนให้เด็กวัยเรียนศึกษาต่อจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยการใช้งบประมาณในการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม เป็นการใช้ระบบ FUNDEF (Fundo de Desenvolvimento do Ensino Fundamental) ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลกลางใช้ในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยจัดสรรเพิ่มให้กับรัฐที่จัดเก็บภาษีได้น้อย เพื่อให้แต่ละรัฐสามารถมีงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพตามจำนวนนักเรียนในรัฐของตน และ กำหนดระดับค่าใช้จ่ายต่ำหัวขั้นต่ำสำหรับการจัดการศึกษาระดับประถมในระดับประเทศ ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนที่สังกัดเทศบาล โดยเป็นเงินอุดหนุนที่ตามตัวเด็กไป จึงเกิดเป็นแรงจูงใจสำหรับโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเทศบาลซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้รับการอุดหนุน เพื่อที่จะทำให้มีการเข้าเรียนในโรงเรียนของตนเองเพิ่มขึ้น ซึ่งได้มีผลทำให้เทศบาลทั่วประเทศหลายแห่งสามารถที่จะมีงบประมาณในการจัดระบบรถโรงเรียน โครงการสนับสนุนการเข้าเรียน อาหารกลางวัน และแรงจูงใจอื่นๆที่จะดึงดูดให้นักเรียนมาเข้าเรียนเป็นครั้งแรก

โดยการจัดสรรเงินอุดหนุนโดยระบบ FUNDEF ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สามารถทำได้เนื่องจากข้อบังคับในการจัดสรรงบประมาณระหว่างรัฐ และรัฐส่วนกลางยังได้ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมอีก โดยแต่ละรัฐจะถูกบังคับให้มีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันระหว่างเขตเทศบาล เพื่อให้โรงเรียนของรัฐและของเทศบาลทุกแห่งภายในรัฐนั้นสามารถได้รับเงินอุดหนุนรายหัวขั้นต่ำตามที่กำหนด ซึ่งงบประมาณจากรัฐส่วนกลางจะถูกจัดสรรไปให้กับรัฐที่ไม่สามารถอุดหนุนรายหัวขั้นต่ำได้

ลักษณะสำคัญอีกประการของ FUNDEF คือ การกำหนดว่างบประมาณสำหรับรัฐและเทศบาลอย่างน้อยร้อยละ 60 จะต้องใช้สำหรับเงินเดือนครู และอีกร้อยละ 40 ที่เหลือสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ของเงินเดือนครูภายในระยะเวลาไม่กี่ปีที่เริ่มต้นโครงการ

ทั้งนี้ ในปี 2007 ได้มีการขยายโครงการเป็น FUNDEB (Fundo de Manutenção e Desenvolvimento da Educação Básica e de Valorização dos Profissionais da Educação) ซึ่งเป็นการจัดสรรเงินที่มุ่งไปยังกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กที่ออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเพิ่มโอกาสในการการเข้าถึงการศึกษา ตั้งแต่การบริบาลเด็กแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ และก่อนประถมสำหรับอายุ 4-6 ปี รวมถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ FUNDEB ยังกำหนดไว้อย่างชัดเจนในการให้เงินอุดหนุนขั้นต่ำสำหรับการเข้าเรียนของผู้ที่อยู่ชุมชนชนกลุ่มน้อย และการศึกษานอกระบบ

โดยการเพิ่มเงินอุดหนุนขั้นต่ำต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของประเทศบราซิล ทั้งในแง่มูลค่าที่แท้จริงและสัดส่วนต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ซึ่งการปฏิรูปโดยใช้ระบบ FUNDEF/FUNDEB ได้ทำให้มีการปรับปรุงด้านความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างภูมิภาคและระหว่างสังกัดของโรงเรียน

2. นำระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ Basic Education Development Index (IDEB) ในการติดตามและประเมินผล “การเข้าเรียน” และ “พัฒนาการด้านการเรียนรู้” ของนักเรียนชั้น ป.4 ม.2 และ ม.5 ซึ่งดัชนี IDEB จะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลการทำงานของโรงเรียนและผู้อำนวยการทุก 2 ปี โดยมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับประเทศ ระดับรัฐ และระดับเขตเทศบาลเดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาด้วยระบบข้อมูล เพราะจะสามารถทำให้ความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักเรียน มีความโปร่งใส เอื้อให้เกิดการตรวจสอบและและการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถมอบรางวัลให้แก่โรงเรียนที่มีคุณภาพดี และให้งบประมาณพัฒนาสถานศึกษาที่ประสบปัญหาด้านคุณภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในรูปของกองทุนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนต่อการพัฒนาของโรงเรียนที่ต้องปรับปรุงคุณภาพ

โดยจะมีการเปิดเผยตัวชี้วัดต่อสาธารณะ เช่น IDEB การเลื่อนชั้น ผลการสอบวิชาบังคับ คือ ภาษาโปรตุเกส และคณิตศาสตร์ ชั่วโมงเรียนต่อวัน ร้อยละของอาจารย์จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งจะรายงานคะแนนเฉลี่ยโดยเปรียบเทียบกับทั้งโรงเรียนสังกัดรัฐทั้งหมดและโรงเรียนสังกัดเทศบาล จากทั้งประเทศ รัฐเดียวกัน เขตเทศบาลเดียวกัน

ซึ่งการกำหนดเป้าหมาย IDEB สำหรับแต่ละโรงเรียนหรือพื้นที่การศึกษานั้น จะมีความเป็นธรรมในการวัดประสิทธิภาพของโรงเรียนโดยเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ในอดีตของตนเอง จึงเกิดแรงจูงใจและมีความคาดหวังว่า จะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมกับความเป็นจริง แทนที่จะเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ร่วมกันทุกโรงเรียนโดยไม่คำนึงว่ามีคุณภาพหรือคุณลักษณะแตกต่างกัน

โดยระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยใช้ดัชนี IDEB จะสร้างความับผิดชอบ (Accountability) เพราะเป็นการวัดประสิทธิภาพการทำงานของโรงเรียน องค์กรระดับท้องถิ่น และของรัฐส่วนกลาง ซึ่งสามารถติดตามการทำงาน นอกจากนี้ ยังเกิดแรงจูงใจให้เกิดความสนใจของสาธารณชนจะบังคับให้เกิดการวางแผนและพัฒนานักเรียนให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย และผู้ปกครองมีแรงจูงใจที่จะสร้างแรงกดดันพัฒนาการของโรงเรียน

3. การลดต้นทุนในการศึกษาของกลุ่มเด็กยากจน โดยการให้เงินอุดหนุนรายหัวตรงไปยังครอบครัวของนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจสังคม ในรูปการให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer) ซึ่งเป็นการจ่ายรายเดือนให้กับครอบครัวที่อยู่ในกลุ่มที่ยากจนที่สุด โดยในปี 2009 สามารถครอบคลุมมากกว่า 12 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 97.3 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย

ซึ่งประเทศบราซิลยังมีโครงการ Bolsa Escola สำหรับนักเรียนที่อยู่ในช่วงอายุ 7-14 ปี เพื่อเป็นเงินทดแทนรายได้จากการทำงานของนักเรียนให้แก่ครอบครัว ซึ่งทำให้เด็กในครอบครัวสามารถจะเข้าเรียนที่โรงเรียน แทนที่จะต้องออกไปทำงาน จึงทำให้เด็กที่อยู่ในระดับประถมถึงมัธยมต้นสามารถเรียนต่ออยู่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มากขึ้น โดยธนาคารโลก (2011) ได้สรุปว่า โครงการ Bolsa Escola ทำให้มีผลในด้านบวกสำหรับนักเรียนในกลุ่มที่ด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ การเข้าชั้นเรียน และระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Bolsa Familia ซึ่งให้เงินอุดหนุนรายเดือนไปยังครอบครัวที่มีรายได้น้อยตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจ่ายในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 16 ปี (ไม่เกิน 5 คนต่อครัวเรือน) และอายุระหว่าง 16-17 ปี (ไม่เกิน 2 คนต่อครัวเรือน) นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ครัวเรือนที่ยากจนสุดขีด (extremely poor) ก็จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมด้วย โดยเน้นจ่ายให้กับหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเพศหญิงในรูปของบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารออมทรัพย์ซึ่งมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ

โดยผลการศึกษาจากธนาคารโลก (De Janvry และคณะ 2005) ระบุว่า โครงการ Bolsa Familia สามารถช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ทางการศึกษา และมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การบริโภคอาหาร และคุณภาพของโภชนาการ นอกจากนี้ เอกสารจากธนาคารโลกอีกชิ้นหนึ่ง (2001) ก็พบว่า มีการลดปัญหาการเอาเปรียบแรงงานเด็กในกลุ่มเด็กที่รับประโยชน์จากโครงการ Bolsa Familia ทั้งนี้ ทั้งโครงการ Bolsa Escola และ Bolsa Familia ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคและทางการเงินจากธนาคารโลก

ความท้าทายสำหรับการพัฒนาด้านการศึกษาของบราซิล คือ อัตราการซ้ำชั้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ และอัตราการซ้ำชั้นมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างชัดเจนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยพบว่า มีอัตราที่สูงกว่าในนักเรียนกลุ่มที่ด้อยโอกาส รวมถึงยังมีความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์การศึกษาระหว่างกลุ่มเพศ โดยในปี 2012 ประเทศบราซิลมีส่วนต่างของคะแนนสอบทางคณิตศาสตร์ระหว่างเพศชายและหญิงในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม OECD ซึ่งประเด็นนี้ได้มีมาตั้งแต่ปี 2003 นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าโรงเรียนเอกชนจะสามารถทำคะแนน PISA ได้ดีกว่า แต่ช่องว่างด้านคุณภาพการศึกษาระหว่างโรงเรียนรัฐและเอกชนได้มีการลดลงจากปี 2003

ดังนั้น ประเทศบราซิลจึงยังต้องเพิ่มมาตรการในการสนับสนุนโรงเรียนที่ให้บริการในพื้นที่ซึ่งมีความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม โดย OECD (2013) ยังพบด้วยว่า การจัดสรรทรัพยากรด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ยังมีช่องทางที่จะสามารถปรับปรุงการบริหารจัดการให้ดีขึ้นได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

ประเทศนิวซีแลนด์

ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่เล็งเห็นความจำเป็นของการปฏิรูปการศึกษาและได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาพอสมควร โดยมีการกำหนดเป็นกฎหมายเพื่อปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี 1989 ก่อนพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษาของไทย พ.ศ. 2542 (ปี 1999) เพียง 10 ปี ทั้งนี้ ในแง่ของภาพรวมในการบริหารระบบการศึกษานั้น นิวซีแลนด์สามารถทำได้ดีมากจากความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปคุณภาพการศึกษา จนกระทั่งทำให้การศึกษาสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการให้บริการด้านการศึกษาอย่างมีคุณภาพต่อนักเรียนต่างชาติ

ช่วงปี 1987-1997 เป็นทศวรรษที่สําคัญในประวัติศาสตร์ของนิวซีแลนด์ในการปรับโครงสร้างระบบการศึกษาของประเทศครั้งใหญ่ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างถอนรากถอนโคน เนื่องมาจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่นิวซีแลนด์เผชิญกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ จึงกําหนดบทบาทรัฐบาลในรูปแบบใหม่ให้มีบทบาทน้อยที่สุด และให้ระบบราชการมีบทบาทน้อยที่สุดเช่นกัน การศึกษาจึงเป็นยุทธศาสตร์สําคัญที่ใช้เพื่อการก้าวข้ามข้อจำกัดของการพัฒนาประเทศ และเป็นสะพานเชื่อมโยงเป้าหมายต่างๆ ของรัฐบาล นั่นคือ ทำให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบสนองในการผลิตบุคลากรที่มีทักษะและความชํานาญ มีความรู้และเจตคติตามที่ต้องการ และการศึกษายังเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะนํามาซึ่งความสําเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศ

ในเวลานั้น ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาในนิวซีแลนด์ได้รับความสนับสนุนจากภาคสังคมอย่างมาก เพราะการทำให้ผู้ปกครองมีส่วนในการบริหารโรงเรียน จึงได้รับการสนับสนุนจากชุมชนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของการปฏิรูป รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคการเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ การปฏิรูปของนิวซีแลนด์ยังสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับอยู่ กล่าวคือ สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นสามารถรับผิดชอบดูแลกิจการของตนได้ ก็เนื่องจากสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จําเป็นจากที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้ จึงสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ที่ให้บริการอยู่

โดยการปฏิรูปการศึกษาในขณะนั้นมีวัตถุประสงค์หลักที่จะกระจายอํานาจลงไปให้ถึงระดับโรงเรียน กล่าวคือ นําการรับผิดชอบด้านการบริหารสถาบันการศึกษาต่างๆ ออกจากการควบคุมจากส่วนกลาง แต่ให้มาอยู่ภายใต้การดูแลของชุมชน และยังคงใช้กฎระเบียบจากส่วนกลาง

ซึ่งแผนในการดำเนินการ คือ การจัดตั้งระบบการศึกษาที่สามารถบริหารจัดการด้วยตนเอง แต่รัฐให้เงินสนับสนุน โดยกระจายอํานาจการบริหารและการให้บริการด้านการศึกษาจากส่วนกลางไปให้กับระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการกำหนดระบบกำกับดูแลความรับผิดชอบ (accountability) ที่ชัดเจนและเหมาะสม โดยตั้งเป้าหมายไว้สําหรับแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะต่างๆ และเสนอทางเลือกให้ประชาชนทุกคนสามารถเลือกได้ว่าจะจะเข้าเรียนที่ไหนและอย่างไรเพื่อให้ได้รับการศึกษาตลอดชีวิต

จากบทสรุปกรณีศึกษาการดำเนินการปฏิรูปของนิวซีแลนด์ (ธนาคารโลก 1998) มีปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินการปฏิรูปอยู่แล้ว ซึ่งบทเรียนสำคัญในช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปที่ประเทศไทยสามารถจะเรียนรู้ ได้แก่

• การเปลี่ยนแปลงได้ตกผลึกจากบรรยากาศการปฏิรูปที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การสนับสนุนจากสาธารณะ และโครงสร้างเชิงสถาบันที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยในสังคมมีการตระหนักอย่างแท้จริงถึงภาวะวิกฤตและความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

• ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นทางการเมืองในการปฏิรูป และมีความต่อเนื่องของนโยบาย เป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่ง

• การจัดให้การเปลี่ยนแปลงมีสถานะถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และจะช่วยลดโอกาสที่จะถูกยกเลิกจากผู้มีอํานาจในรัฐบาลต่อมา

• ผู้นําทางการเมืองจะต้องมีความมั่นใจต่อความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงและความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐ

• มีพันธมิตรในภาครัฐบาลด้านการวางแผนและการงบประมาณ เป็นปัจจัยที่สําคัญมากเช่นเดียวกับเครือข่ายพันธมิตรที่เป็นกลุ่มผู้นำทางความคิดในสังคม

• ใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์

• ดําเนินการปฏิรูปโดยทันที แทนที่จะค่อยๆทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

• แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาเป็นผู้จัดการการปฏิรูป พร้อมทั้งมอบอํานาจในการดําเนินการ

• สร้างความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ดำเนินการปฏิรูป

• พิจารณาโดยรอบคอบในการนำกลุ่มต่อต้านมามีส่วนร่วมในกระบวนการ หรือทำให้กลุ่มดังกล่าวแยกจากกัน (deliberately engage or isolate) แต่ห้ามละเลยไม่ใส่ใจต่อกลุ่มต่อต้าน

• เตรียมตัวในการอัดเงินงบประมาณส่วนเพิ่มให้กับผู้ที่สูญเสียจากการปฏิรูป (reform losers) เพื่อเปลี่ยนลดผลเชิงลบจากการปฏิรูป (sweeten the pill)

• ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ และสร้างแรงจูงใจให้เกิดความโปร่งใสและการเรียนรู้

• เตรียมขั้นตอนในการจัดการสําหรับช่วงยกเลิกระบบเก่า ช่วงเปลี่ยนผ่าน และช่วงเริ่มต้นระบบใหม่

ทั้งนี้ แนวทางสำคัญในการกระจายอำนาจทางการศึกษา คือ การทดลองปฏิรูปการศึกษาโดยเน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น และโดยเฉพาะไปยังโรงเรียนซึ่งในโครงการทดลองเรียกว่า Tomorrow’s school เป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งเลือกคณะกรรมการสถานศึกษา (Board of Trustees) เพื่อบริหารจัดการในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการบริหารตนเองของโรงเรียน (Self-Governing Schools) อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าการจัดการแบบเดิม

โดยมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาจากผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อให้มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องการคัดเลือกครูและผู้บริหารโรงเรียน และกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยมีหน้าที่จัดสรรงบประมาณ ทั้งที่ได้รับจากรัฐบาลกลางและจากรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งอำนาจหน้าที่ยังครอบคลุมถึงเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน เนื่องจากในตอนนั้นมีความไม่พร้อม หรือขาดผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารโรงเรียน จึงไม่สามารถเลือกตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น วิธีแก้ปัญหา คือ การรวมโรงเรียนเป็นกลุ่ม (Clusters) และเลือกตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด สำหรับโรงเรียนในกลุ่ม

ซึ่งองค์ประกอบหลักของแนวทางสำหรับ Tomorrow’s Schools ประกอบด้วย ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการของโรงเรียน การมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ และการสร้างบรรยากาศให้เกิดการแข่งขันระหว่างโรงเรียน ซึ่งจะเน้นความสามารถในการอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยเป็นตัวแทนของรัฐที่จะพึ่งพารัฐในเฉพาะบางส่วน และคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์หรือการพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังมีนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีองค์กรอิสระด้านการศึกษาในการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพและเปิดเผยรายงานต่อสาธารณะ คือ Education Review Office (ERO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกออกเป็นอิสระจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีบทบาทในการตรวจสอบเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนและการศึกษาเด็กก่อนปฐมวัย โดยสำรวจคุณภาพของสถานศึกษาทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน และรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และรัฐบาล เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยเป้าหมายของตัวชี้วัดในการประเมินคุณภาพการศึกษาโดย Education Review Office จะมุ่งเน้นไปที่ผลการศึกษามากกว่ากระบวนการบริหารจัดการศึกษา

ปัจจุบันมีการสำรวจคุณภาพโดยเฉลี่ยทุกสามปี ซึ่งอาจจะมีการสำรวจบ่อยกว่านั้นหากเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพต่ำหรือมีความเสี่ยงด้านการศึกษาและความปลอดภัยต่อนักเรียน หรืออาจจะมีความถี่ในการสำรวจน้อยกว่าทุกสามปี หากโรงเรียนมีประวัติของคุณภาพที่น่าพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง และมีกระบวนการประเมินคุณภาพของตนเองและมีการนำข้อมูลการประเมินนั้นมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน

ทั้งนี้ ผลการสำรวจคุณภาพของแต่ละสถานศึกษาโดย Education Review Office มีการเผยแแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งจากการร้องขอตัวเล่มรายงานของโรงเรียนจากสำนักงานทั่วประเทศ หรือติดประกาศอยู่ในโรงเรียน รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ ซึ่งหากโรงเรียนไม่สามารถผ่านเกณฑ์คุณภาพได้ ทาง Education Review Office จะเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุง หรืออาจจะรายงานผลต่อกระทรวงศึกษาธิการและสาธารณชน ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลด้านคุณภาพของสถานศึกษา จะมีผลกระทบต่อโรงเรียน เพราะผู้ปกครองสามารถย้ายบุตรหลานของตนไปสู่สถานศึกษาอื่นๆ เนื่องจากระบบการศึกษาของนิวซีแลนด์เอื้อให้มีการแข่งขันด้านคุณภาพของโรงเรียน จึงไม่จำกัดว่านักเรียนจะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านเท่านั้น

ดังที่สรุปในธนาคารโลก (2011) ว่า จุดสำคัญในการปฏิรูประบบโรงเรียนของนิวซีแลนด์ คือ การให้อำนาจต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและจัดให้มีข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งการสร้างทางเลือกในการเข้าเรียนให้กับระบบการศึกษา

นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังมีการใช้เงินอุดหนุนตรงตามตัวผู้เรียน (demand-side financing) ซึ่งนอกจากจะสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาแล้ว ยังสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางนโยบายในการเพิ่มคุณภาพ โดยในนิวซีแลนด์ได้ให้เงินอุดหนุนผู้เรียนในรูปของ Targeted funding และ targeted vouchers ซึ่งทำให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถเลือกโรงเรียนตามที่ระบบได้จัดสรรให้สามารถเลือกได้ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลด้านคุณภาพ เพื่อช่วยประกอบในการตัดสินใจ จึงทำให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพด้านการเรียนการสอนและการบริหารจัดการต้นทุน เพราะจะต้องแข่งขันด้านคุณภาพกับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ระบบเช่นนี้จึงเป็นการสร้างทางเลือกสำหรับนักเรียน

บรรณานุกรม

Adams, Mark. 2009. Tomorrow’s schools today: New Zealand’s experiment 20 years on. Fairfax, VA: Mercatus Center.

Attfield, Ian, and Binh Thanh Vu. 2013. A rising tide of primary school standards—The role of data systems in improving equitable access for all to quality education in Vietnam. International Journal of Educational Development 33(1): 74-87.

Arcia, Gustavo, Kevin Macdonald, Harry Anthony Patrinos, and Emilio Porta. 2011. School autonomy and accountability. System assessment for benchmarking education for results, Regulatory and institutional framework. World Bank, Human Development Network, Washington, DC.

Bourguignon, François, Francisco HG Ferreira, and Phillippe G. Leite. 2003. Conditional cash transfers, schooling, and child labor: Micro-simulating Brazil’s Bolsa Escola program. The World Bank Economic Review 17(2): 229-254.

Bruns, Barbara, Deon Filmer, and Harry Anthony Patrinos. 2011. Making schools work: New evidence on accountability reforms. World Bank Publications.

Bruns, Barbara, David Evans, and Javier Luque. 2011. Achieving world-class education in Brazil: The next agenda. World Bank Publications.

De Janvry, Alain, Frederico Finan, Elisabeth Sadoulet, Donald Nelson, Kathy Lindert, Bénédicte de la Brière, and Peter Lanjouw. 2005. Brazil’s Bolsa Escola program: The role of local governance in decentralized implementation. Washington, DC: World Bank, Social Protection (SP), SP Discussion Paper 0542.

London, Jonathan D., ed. 2011. Education in Vietnam. Institute of Southeast Asian Studies.

Mai, Phu Hop, and Jun Wu Yang. 2013. The current situation of Vietnam education. Social Sciences 2(6): 168-178.

Ministry of Education of the People’s Republic of China. 2010. Outline of China’s National Plan for Medium and Long-term Education Reform and Development (2010-2020), Beijing.

Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). 2013. BRAZIL – Country Note –Results from PISA 2012.

Patrinos, Harry Anthony. 2002. A review of demand-side financing initiatives in education. Draft. Washington, DC: World Bank.

Patrinos, Harry Anthony, and Tazeen Fasih. 2009. Decentralized decision-making in schools: The theory and evidence on school-based management. World Bank Publications.

Performers, Strong. 2011. Successful reformers in education: lessons from PISA for the United States.

Perris, Lyall. 1998. Implementing education reforms in New Zealand: 1987-97. Education Reform and Management Series, Vol. 1, No.2.

Rawlings, Laura B., and Gloria Rubio. 2003. Evaluating the impact of conditional cash transfer programs: Lessons from Latin America. Vol. 3119. World Bank Publications.

Salleh, Hairon, and Charlene Tan. 2013. Novice teachers learning from others: Mentoring in Shanghai schools. Australian Journal of Teacher Education 38(3): n3.

Sander, Frederico Gil; Jalil, Intan Nadia; Ali, Rabia; Lathapipat, Dilaka; Jithitikulchai, Theepakorn; Taglioni, Daria; Testaverde, Mauro; Ozier, Owen; Ozden, Caglar; del Carpio, Ximena; Zachau, Ulrich; Shetty, Sudhir; Benveniste, Luis; Verghis, Mathew. 2013. Malaysia economic monitor: high-performing education. Washington DC ; World Bank Group.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. 2014. Governance and financing background note. Asia-Pacific Regional Education Conference 6-8 August 2014, Bangkok, Thailand.

Vegas, Emiliana, Alejandro Ganimian, and Analia Jaimovich. 2012. Learning from the best: improving learning through effective teacher policies. World Bank Publications.

World Bank. 2001. Brazil: An Assessment of the Bolsa Escola Programs. Human Development Department, Latin America and Caribbean Region, Washington, DC: World Bank.

World Bank. 2001. Vietnam – Primary Teacher Development Project. Washington, DC: World Bank.

World Bank. 2003. Vietnam – Primary Education for Disadvantaged Children Project. Washington, DC: World Bank.

World Bank. 2005. Vietnam – Targeted Budget Support for National Education For All Plan Implementation Program Project. Washington, DC: World Bank.

Yap, Yoon-Tien, Guilherme Sedlacek and Peter Orazem. 2001. Limiting child labor through behavior-based income transfers: An experimental evaluation of the PETI Program in rural Brazil. Washington, DC: World Bank.

Zhang, Chenjian, and Alexander Akbik. 2012. PISA as a legitimacy tool during China’s education reform: case study of Shanghai. No. 166. TranState Working Papers.

Like this:

Like

Loading…


ทำไมฟินแลนด์ถึงมีการศึกษาดีที่สุดในโลก ?


\”ทำไมฟินแลนด์ถึงมีการศึกษาดีที่สุดในโลก….\”
เห็นใครๆก็ชมว่าฟินแลนด์การศึกษาดียังงั้นยั้งงี้ เรามาลองดูสารคดีเกี่ยวกับการศึกษาฟินแลนด์กันดีกว่า ว่าเค้าคิดอะไรกันจากการสัมภาษณ์ชาวฟินแลนด์
เพิ่มเติม สารคดีนี้มีจุดที่ต้องแก้ไขคือ
ฟินแลนด์มีการบ้าน ไม่ใช่ไม่มี แต่ว่ามีน้อยมาก
ฟินแลนด์มีการสอบวัดระดับ ไม่ใช่ไม่มี เพียงแต่จะไม่สอบพร่ำเพื่อเท่านั้นเอง
ฟินแลนด์มีโรงเรียนเอกชน แต่คุณภาพเหมือนกันหมด จึงไม่มีความแตกต่างอะไร
สารคดีที่เอามาอันนี้ เป็นผลงานของผู้กำกับสารคดีชื่อ where to invade next (2015) ของไมเคิล มัวร์
คือ ลุง ไมเคิล มัวร์ เนี่ย แกออกเดินทางไปประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อเข้าไป \”ยึด\” แนวคิดเจ๋งๆของแต่ละประเทศมาใช้กับประเทศตัวเอง สารคดีเรื่องนี้จัดว่าสนุกเลยล่ะ ไม่น่าเบื่อเหมือนสารคดีทั่วไป ดูๆไปนึกว่าดูหนังโรงซะอีก
ท่อนที่ตัดมา 10 นาทีนี้เป็นช่วงของประเทศฟินแลนด์ ที่มีแนวคิดทางการศึกษาที่ดีมากๆ ดูจบแล้วน่าจะช่วยให้เข้าใจประเทศเค้าและเราได้มากขึ้นล่ะนะ
ส่วนใครอยากจะไปดูฉบับเต็มๆ ก็หาซื้อมาดูกันได้
แอดมินสั่งซื้อจาก documentary club (นี่ไม่ได้ตังค่าโฆษณานะ)
แนะนำให้ดู เพราะมันสนุกจริง เนื้อหาก็ดีมากก
ใครที่อยากดูฉบับเต็มก็ไปติดต่อดูละกันนะ
ส่วนใครอยากอ่านเพิ่มเติมไปอ่านที่บทความนี้ของ the matter ก็ได้
https://thematter.co/…/alittlebitmoreaboutfinlan…/20261
เครดิต มหาลัย 3 นาที https://www.facebook.com/3min.mahalai/videos/444240089264720/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ทำไมฟินแลนด์ถึงมีการศึกษาดีที่สุดในโลก ?

พูดคุยกับ คุณทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับประสบการณ์การไปเรียนต่างประเทศ


สัมภาษณ์ คุณทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จบการศึกษาจาก Harvard และ MIT ในหัวข้อ “การไปเรียนต่างประเทศช่วยพัฒนาศักยภาพ เพื่อรับมือกับยุค 4.0 อย่างไร”
งาน TIECA Study Abroad Expo 2018
วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2018
สมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติ
TIECA
รวมศูนย์แนะแนวศึกษาต่อมืออาชีพทั่วไทย
เรียนต่อต่างประเทศ วางใจสมาชิกเทียก้า
http://www.tieca.com
https://www.facebook.com/TIECA/

พูดคุยกับ คุณทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  กับประสบการณ์การไปเรียนต่างประเทศ

แชร์ประสบการณ์เรียนต่างประเทศ 🇳🇿 + ทัวร์มหาลัยที่นิวซีแลนด์👀✨😸


เฮโหลลลลลล 👀 วันนี้เรทมากับคลิปที่หลายๆคนทักมาให้ทำนะค้าา 🤍 เราพาทุกคนมาทัวร์มหาลัยของเราแล้วก็ตอบคำถามที่ดราได้รับมามากที่สุดนะคะ ✨✨ ถ้าใครมีคำถามหรือให้แนะนำอะไรเพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์ไว้ข้างล่างได้เลยค่า ! 😚 เป็นกำลังใจให้สำหรับทุกคนะค้า 💖
☂️ช่วงแรก ; ทัวร์มหาลัย University of Auckland
🌈ช่วงท้าย ; Q\u0026A studying / living in NZ
ปล. ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวนะคะ🙏🏻
🥕thank you for watching and stay safe ! ☁️
📎 music credit :
Music by Jennifer Chung Better Today Than Yesterday https://thmatc.co/?l=1C673398
🌻follow me ; ig smileysita
https://www.instagram.com/smileysita/
เรียนต่างประเทศ นักเรียนแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ newzealand auckland

แชร์ประสบการณ์เรียนต่างประเทศ 🇳🇿 + ทัวร์มหาลัยที่นิวซีแลนด์👀✨😸

Back To School in Finland – โรงเรียนฟินแลนด์ ที่ให้เด็ก ‘เป็นศูนย์กลาง’


Back To School in Finland : โรงเรียนเปลี่ยน ตอนที่ 2
Back to School in Finland บุกห้องเรียนชาวฟินน์ คุยกับคุณครู กุญแจสำคัญของความสำเร็จในระบบการศึกษาที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลก พร้อมไขข้อข้องใจ ทำอย่างไรให้โรงเรียนมีคุณภาพเท่ากันทั้งประเทศ แม้อยู่ในชนบท
ติดตาม VoiceTV21
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpHTAE2EOwWkWGnW2HY8gRw
Facebook : https://www.facebook.com/VoiceTVonline/
Instagram : https://www.instagram.com/voicetv/
Twitter : https://twitter.com/Voice_TV
Website : https://www.voicetv.co.th/

Back To School in Finland - โรงเรียนฟินแลนด์ ที่ให้เด็ก 'เป็นศูนย์กลาง'

ญัตติที่ว่าการศึกษาไทยดีกว่าการศึกษาของต่างประเทศอย่างไร


ญัตติที่ว่าการศึกษาไทยดีกว่าการศึกษาของต่างประเทศอย่างไร

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การ ศึกษา ต่าง ประเทศ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *