Skip to content
Home » [Update] ‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ คือ อะไร What is ‘Southeast Asia’? | สเปน อยู่ทวีปอะไร – NATAVIGUIDES

[Update] ‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ คือ อะไร What is ‘Southeast Asia’? | สเปน อยู่ทวีปอะไร – NATAVIGUIDES

สเปน อยู่ทวีปอะไร: คุณกำลังดูกระทู้

 

 

คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “Southeast Asia” จัดว่ามีความหมายที่หลากหลายตามแต่ความรู้ความเข้าใจของผู้สันทัดกรณีในแต่ละศาสตร์

โดยทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ดินแดนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีสัณฐานคล้ายคลึงกับรูปสามเหลี่ยม เริ่มจากพื้นที่ทางตอนใต้ของจีนตัดตรงไปยังชายฝั่งตอนเหนือของออสเตรเลีย จากนั้นจึงเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ตอนใต้ของอินเดีย แล้วจึงวกกลับไปยังตอนใต้ของจีน จากสภาพภูมิลักษณ์ดังกล่าว อาณาบริเวณที่อยู่ภายในดินแดนสามเหลี่ยม ซึ่งประกอบด้วย เขตภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก รวมถึงเขตหมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ คือดินแดนที่เรียกโดยรวมว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบางบริเวณภายในพื้นที่ดังกล่าวที่ถือว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ เกาะไหหลำ ปาปัวนิวกินี ศรีลังกาและบังคลาเทศ ซึ่งในทางเขตแดนและวัฒนธรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งของจีน ออสเตรเลีย-โอเชียเนีย และ เอเชียใต้ ตามลำดับ

สำหรับในแวดวงรัฐศาสตร์ คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หมายถึง พื้นที่ทางการเมืองซึ่งประกอบด้วยรัฐต่างๆ จำนวน 11 รัฐ ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาราม และติมอร์ตะวันออก โดยแต่ละรัฐล้วนมีพัฒนาการทางการเมืองและรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ระบอบคอมมิวนิสต์ในลาวและเวียดนาม ประชาธิปไตยในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ หรือแม้กระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในบรูไน

ส่วนในทางการเมืองระหว่างประเทศ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ถือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ “อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1967 โดยมีลักษณะเป็นการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยรัฐต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนทั้งสิ้น 10 รัฐ ยกเว้นติมอร์ตะวันออกซึ่งอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์และยังไม่ได้รับการตอบรับให้เป็นสมาชิกถาวรของอาเซียน

สำหรับในแวดวงเศรษฐศาสตร์และการลงทุน คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หมายถึง พื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ในโซนมรสุมเขตร้อน (Monsoon) และประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย อาทิ ผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและสินแร่นานาชนิด โดยอาณาบริเวณดังกล่าวมักเต็มไปด้วยรูปแบบโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัว อาทิ สังคมนิยมในเวียดนาม ลาวและเมียนมาร์ในช่วงสงครามเย็น หรือ ทุนนิยมในไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์

ส่วนในแง่ศิลปวัฒนธรรม “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” มักหมายถึงดินแดนที่อยู่ระหว่างอู่อารยธรรมอันเก่าแก่ของโลก ซึ่งได้แก่ อารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน ขณะเดียวกัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังจัดเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์วรรณา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในเมียนมาร์ ไทย ลาวและกัมพูชา ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์และติมอร์ตะวันออก ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ในมาเลเซีย บรูไนและอินโดนิเซีย ตลอดจนความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของเมืองพุกาม(พม่า) พระนคร(กัมพูชา) และเกาะชวา(อินโดนิเซีย) หรือแม้แต่ ความสลับซับซ้อนทางชาติพันธุ์ในพม่า อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นอาทิ

จากสภาวะแวดล้อมดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดเป็นคำที่มีความหมายหลากหลายในตัวเองซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริบท สภาพเงื่อนไข และการให้นิยามในแวดวงวิชาการ รวมถึงความรับรู้และความเข้าใจส่วนบุคคล

สำหรับจุดกำเนิดและพัฒนาการของคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” พบว่า ก่อนหน้าที่จะมีการใช้คำดังกล่าว ดินแดนแถบนี้เคยมีชื่อเรียกเป็นหน่วยภูมิศาสตร์แบบโบราณมาก่อน เช่น ชาวกรีกและโรมัน เคยเรียกขานแนวคาบสมุทรและหมู่เกาะซึ่งกั้นกลางระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ว่า “Chryse Chersonesos” ซึ่งมีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของปโตเลมี ส่วนชาวจีนนั้นเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “นานยาง (Nanyang)” ขณะที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “นานโย (Nan Yo)” โดยทั้งสองคำล้วนมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ อาณาเขตแห่งทะเลใต้ ส่วนวรรณกรรมอินเดียโบราณก็มีคำที่หมายถึงดินแดนแถบนี้เช่นกัน คือคำว่า “สุวรรณภูมิ หรือ สุวรรณทวีป (Savarnadvipa)” ซึ่งครอบคลุมอาณาบริเวณแถบพม่าตอนล่างและตอนกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะที่พ่อค้าชาวอาหรับก็เรียกขานดินแดนแถบนี้ว่า “Qumr หรือ Waq-Waq” ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะซีลีเบส (มากัสซาร์) จนถึงน่านน้ำญี่ปุ่น

ครั้นเมื่อมาถึงยุคที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม ก็เริ่มปรากฏคำเกี่ยวกับดินแดนแถบนี้เป็นจำนวนมาก อาทิ “อินเดียไกล (Further India)” ซึ่งหมายถึงดินแดนที่ไกลออกไปจากอินเดียเพียงเล็กน้อย หรือคำว่า “จีนน้อย (Little China)” ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีนหรือแม้กระทั่งคำว่า “อินโดจีน (Indo-China)” ก็ถูกบัญญัติขึ้นมาตามลักษณะการรับอิทธิพลทั้งจากอารยธรรมอินเดียและจีน

ต่อมาเมื่อลัทธิล่าอาณานิคมและอำนาจของชาติยุโรปเริ่มลงหลักปักฐานในดินแดนแถบนี้อย่างมั่นคง จึงเริ่มปรากฏชื่อเรียกขานอาณาบริเวณต่างๆ ตามแต่ผลประโยชน์และขอบเขตการปกครองของเจ้าอาณานิคม อาทิ “พม่าของอังกฤษ (British Burma)” “มลายูของอังกฤษ (British Malaya)” “อินโดจีนของฝรั่งเศส (French Indochina)” “หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอแลนด์ (Dutch East Indies)” และ “ฟิลิปปินส์ของสเปน (Spanish Philippines)” เป็นต้น

จนเมื่อมาถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1939-ค.ศ.1945) คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้เริ่มปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการโดยในช่วงเวลาดังกล่าวกองทัพญี่ปุ่นได้ยกทัพเข้ารุกรานดินแดนแถบนี้ ตลอดจนเข้ายึดครองอาณานิคมที่เคยตกอยู่ใต้อาณัติของชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยการรุกรบอย่างต่อเนื่องของกองทหารญี่ปุ่น ได้สร้างแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรง จนส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรถอนกำลังออกจากดินแดนดังกล่าว แล้วหันมาสถาปนาศูนย์บัญชาการรบแห่งใหม่เพื่อควบคุมอำนวยการยุทธ์และกำหนดยุทธบริเวณในการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น โดยกองบัญชาการดังกล่าวมีชื่อว่า “South-East Asia Command” หรือ “กองทัพภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะลังกาและอยู่ภายใต้การนำของ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตตัน แม่ทัพสัมพันธมิตรผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับญี่ปุ่น

จากบริบทดังกล่าว คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้แรงบีบคั้นยุทธศาสตร์และการสัประยุทธ์ทางการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังการสิ้นสุดของสงครามมหาเอเชียบูรพา คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้ถูกนำมาปรับใช้ในแวดวงวิชาการของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีปรากฏในงานวรรณกรรมของนักวิชาการหลายท่าน อาทิ หนังสือเล่มคลาสสิกเรื่อง A History of South-East Asia (ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1955) ของท่านอาจารย์ D.G.E. Hall ปรมาจารย์ชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และหนังสือเรื่อง Government and Politics of Southeast Asia (ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1959) ของท่านอาจารย์ George Mct. Kahin ปรมาจารย์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์

โดยจากหนังสือทั้งสองเล่ม เป็นที่น่าสังเกตว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในโลกทรรศน์ของชาวตะวันตกจัดว่ามีรูปแบบการสะกดที่หลากหลาย อาทิ “South-East Asia” และ “South East Asia”(เขียนแบบอังกฤษ) “Southeast Asia (เขียนแบบอเมริกัน)” ตลอดจนรูปแบบการเขียนอื่นๆ อีกมากมาย จากสภาพเงื่อนไขดังกล่าว การสะกดคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในสังคมของโลกตะวันตกจึงแฝงไปด้วยนัยยะและยังหาข้อสรุปที่แน่นอนตายตัวไม่ได้

สำหรับประเทศไทยนั้น คำดังกล่าว ถือเป็นศัพท์ที่พึ่งถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่และมีรูปแบบการใช้ที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งมีทั้งคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” “เอเชียอาคเนย์” และ “อุษาคเนย์” ที่เป็นคำสมาสระหว่าง “อุษา” ที่แปลว่ารุ่งเช้า กับ “อาคเนย์” ที่แปลว่าทิศตะวันออกเฉียงใต้

จากการนำเสนอในเบื้องต้น อาจกล่าวได้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดเป็นภูมิภาคที่เติมไปด้วยมนต์เสน่ห์และคู่ควรแก่การศึกษา แม้แต่ชื่อเรียกขานก็มีการตีความและให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป จนกล่าวได้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” คือศัพท์พื้นฐานที่สังคมไทยควรหันมาทบทวนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีกันอย่างจริงจัง

ดุลยภาค ปรีชารัชช
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

หมายเหตุ: บทความนี้ตัดตอนและเรียบเรียงจาก “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา: วิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง” โดย ดุลยภาค ปรีชารัชช ตีพิมพ์ลงในวารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีที่ 11 ฉบับที่ 2, 2554)

รายการอ้างอิงเพิ่มเติม

Hall, D.G.E. (1981). A History of South-East Asia. London: Macmillan.

McCloud, D. G. (1995). Southeast Asia: Tradition and Modernity in the Contemporary World. Colorado: Westview Press.

Osborne, M. (1997). Southeast Asia: An Introductory History. Bangkok: Silkworm Books.

Reid, A. (ed.) (2003). Southeast Asian Studies: Pacific Perspectives. Program for Southeast Asian Studies Monograph Series. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies.

 

 

 

[NEW] 9 ประโยคเบสิก “ภาษาสเปน” ที่ช่วยทำให้เที่ยวสเปนและลาตินอเมริกาสนุกขึ้น! | สเปน อยู่ทวีปอะไร – NATAVIGUIDES

      

สวัสดีค่ะชาว

Dek-D

ทุกคน เชื่อว่าทวีปแถบ “ลาตินอเมริกา” น่าจะเป็นหนึ่งจุดหมายสำหรับนักท่องเที่ยว เพราะธรรมชาติและวัฒนธรรมของเขาทั้งสวยงามและมีเสน่ห์น่าค้นหาสุดๆ แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่านอกจากสเปนเองแล้ว ประเทศส่วนใหญ่แถบนั้นก็ใช้ “ภาษาสเปน” ในการสื่อสารด้วยเช่นกัน วันนี้

พี่เยลลี่

หยิบประโยคภาษาสเปนเบื้องต้นมานำเสนอให้น้องๆ ลองจำไปใช้ดู รับรองว่าถ้ารู้แล้วเที่ยวง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ 😀  


 

     

 Note:

ประเทศในลาตินอเมริกาที่ใช้ภาษาสเปนมีกว่าครึ่งทวีปเลยค่ะ อย่างเช่น อาร์เจนตินา โคลัมเบีย เม็กซิโก เปรู ชิลี ฯลฯ ส่วนอีกครึ่งทวีปที่ใช้ภาษาโปรตุเกสคือบราซิล (ใช่ค่ะ บราซิลกินไปครึ่งทวีปเรียบร้อย 55555)

 

สวัสดี

       คำทักทายหรือคำว่าสวัสดีในภาษาสเปนนั้นมีหลายคำเลยค่ะ บางคนอาจเคยได้ยินคำว่า

Hola

(โอ๊-ลา) มาก่อน ซึ่งคำนี้แปลว่า สวัสดี ฟีลประมาณ Hello ในภาษาอังกฤษเลย สามารถใช้ทักทายได้ทั้งวัน เจอหน้าใครก็ Hola ใส่ได้หมด (ถ้าไม่กลัวเค้าหาว่าบ้า 5555) แต่ถ้าอยากให้เป็นทางการมากขึ้นสักหน่อย สามารถใช้คำทักทายที่แบ่งตามเวลาได้ดังนี้ค่ะ
 

  • Buenos días

    (บูเอ-โนส-ดี้-อัส) สวัสดีตอนเช้า ใช้ได้จนถึงประมาณเที่ยง (แต่บางทีบ่ายโมงก็ยังพูดอยู่)

  • Buenas tardes

    (บูเอ-นัส-ตาร-เดส) สวัสดีตอนกลางวัน ใช้ได้จนถึงฟ้ามืด  

  • Buenos noches

    (บูเอ-นัส-โน-เชส) สวัสดีตอนเย็น หรือ ราตรีสวัสดิ์ ตั้งแต่ค่ำจนถึงเที่ยงคืน
     

       สงสัยใช่มั้ยคะว่าทำไมการบอกสวัสดีในภาษาสเปนถึงแบ่งเวลาแปลกๆ นั่นเป็นเพราะคนสเปนจะอิงมื้ออาหารเป็นตัวแบ่งเวลาค่ะ ซึ่งเวลาอาหารกลางวันกับอาหารเย็นของเค้าเนี่ยจะช้ากว่าบ้านเรามากก กินข้าวกลางวันกันตอนบ่าย 2 ข้าวเย็นตอน 4 ทุ่ม ทำให้คนชาติอื่นอาจเกิดความงงว่าใช้ยังไงกันแน่ แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะยังไงเจ้าของภาษาเค้าเข้าใจที่เราจะสื่ออยู่แล้วค่า ^^

 

ลาก่อน

       มีคำว่าสวัสดีแล้วแน่นอนว่าจะขาดคำว่าลาก่อนคงไม่ได้ ในภาษาสเปนสามารถพูดได้หลากหลายแบบเหมือนกันค่ะ ที่น้องๆ น่าจะเคยได้ยินมากที่สุดคงเป็น

Adiós

(อา-ดิ-โอส) หรือจะเป็นคำว่า

Chao

(เชา) ที่ยืมมาจากภาษาอิตาเลียนก็ใช้ได้เช่นกัน 
 

       หรือถ้าน้องๆ ได้เพื่อนใหม่เป็นคนที่นั่นแล้วประทับใจ อยากกลับมาอีกแน่นอน ก็บอกเพื่อนว่า

Hasta luego

(อัส-ต้า-ลูเอ-โก้) ได้เลยค่ะ แปลว่า เจอกันใหม่คราวหน้า หรือถ้าพรุ่งนี้ยังนัดกันมาเที่ยวต่อ พูดว่า

Hasta mañana

(อัส-ต้า-มา-ญา-น่า) ซึ่งแปลว่า เจอกันใหม่พรุ่งนี้

 

ใช่ / ไม่ใช่ / OK

       เซ็ตนี้ถือเป็นคำพื้นฐานสำหรับทุกภาษาจริงๆ ค่ะ 5555 ในกรณีที่น้องๆ ตอบตกลงหรือตอบว่า ใช่ สามารถพูดว่า

Si

(สิ) ส่วนคำว่า ไม่ใช่ ใช้คำว่า

No

(โน) เหมือนกับภาษาอังกฤษเป๊ะๆ จำไม่ยากเลยซักนิดด สิ่งที่จะแปลกจากประเทศอื่นๆ ซักหน่อยคงเป็นคำว่า OK นี่แหละค่ะ ที่จริงเราสามารถพูดว่า OK ได้เลย เค้าก็เข้าใจเหมือนกัน แต่เพื่อเป็นเกร็ดความรู้สักเล็กน้อย ภาษาสเปนจะใช้คำว่า

Vale

(บา-เหละ) ค่ะ เช่น เพื่อนชาวสเปนพูดว่า “Vayamos a cenar fuera.” (บา-ยา-โมส-อา-เซ-นาร-ฟวย-ร่ะ) ไปกินข้าวข้างนอกกันเถอะ เราก็ตอบว่า “Vale” (ได้/ตกลง) ไปได้เลยค่ะ

 

ขอโทษ

       ในภาษาอังกฤษเราจะเปิดด้วยคำว่า Excuse me ก่อนเวลาต้องการรบกวนใคร ส่วนในภาษาสเปนสามารถใช้คำว่า

Perdón

(เปร-ด้น) แล้วค่อยพูดขอความช่วยเหลือ ส่วนในกรณีต้องการขอโทษแบบ Sorry จะใช้ว่า

Lo siento

(โล-เซียน-โต้) แทนค่ะ

 

ขอบคุณ

       คำว่า ขอบคุณ ในภาษาสเปนพูดว่า

Gracias

(กรา-เซียส) ถ้ารู้สึกขอบคุณมากๆ สามารถเติมคำว่า Muchas ที่แปลว่า มาก ไว้ข้างหน้า เป็น

Muchas gracias

(มุ-ชัส-กรา-เซียส) ได้ค่ะ  หรือถ้าอยากจะขอบคุณที่เค้าให้ความช่วยเหลือ พูดเต็มๆ ว่า

Gracias por tu ayuda

(กรา-เซียส-ปอร-ตู-อา-ยู-ด้า) ก็ได้เช่นกัน เค้าจะได้รับรู้ว่าเราซาบซึ้งในความช่วยเหลือมากจริงๆ 5555

 

คุณพูดภาษาอังกฤษมั้ยครับ/คะ?

       หากน้องต้องการความช่วยเหลือจากคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ สามารถถามเพื่อเช็กก่อนด้วยประโยคที่ว่า (Perdón)

¿Hablas ínglés?

(อา-บลัส-อิง-เกล้ส) หมายถึง คุณพูดภาษาอังกฤษมั้ย ได้เลยค่ะ ในกรณีที่ของสำคัญหายจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเล่นใบ้คำกันไปมา
 

       หรือถ้าอยู่ดีๆ มีคนเข้ามารัวภาษาสเปนใส่ น้องอาจพูดปฏิเสธสวยๆ ไปว่า

No hablo español

(โน-อา-โบล-เอส-ปัน-ญอล) ที่แปลว่า ฉันไม่พูดภาษาสเปน กลับก็ได้ แต่เสี่ยงโดนขยี้กลับมาว่า เมื่อกี้เธอก็เพิ่งจะพูดภาษาสเปนไปไม่ใช่เหรอ? 55555

 

ราคาเท่าไหร่?

       ประโยคสำคัญที่สุดสำหรับสายช็อปแหลกคงหนีไม่พ้นประโยคที่ว่า อันนี้ราคาเท่าไหร่ แน่นอน ในภาษาสเปนจะพูดว่า

¿Cuánto cuesta esto?

(กวัน-โต้-เกวส-ตา-เอส-โต้) หรือถ้าน้องๆ ถามถึงราคาโดยรวม ไม่ได้เจาะจงชิ้นใดชิ้นหนึ่ง สามารถตัด esto ที่แปลว่า อันนี้ ออกไปได้เลย คนขายจะได้กดเครื่องคิดเลขให้เราดู ง่ายๆ คือประโยคนี้เอาไว้พูดหลังจากหยิบของใส่ตะกร้าอย่างบ้าคลั่งนั่นแหละค่ะ (หลังจากรู้ราคาก็ฉีกยิ้มแห้งและหยิบออก แหะ)

 

 …อยู่ที่ไหน?

       เวลาเราไปเที่ยวต่างที่ ยังไงก็ต้องมีสถานการณ์สับสนงงทางกันบ้าง หากต้องการถามทางสามารถพูดว่า

¿Dónde está…?

(ดอน-เด้-เอส-ต้า…) แล้วต่อด้วยชื่อสถานที่ได้เลยค่ะ พี่ขอยกตัวอย่างประโยคที่สำคัญอย่าง

¿Dónde está el baño?

(ดอน-เด้-เอส-ต้า-เอล-บา-โญ่) ที่แปลว่า ห้องน้ำอยู่ที่ไหนครับ/คะ ไว้ให้น้องๆ ละกันค่ะ รับรองว่ารู้ประโยคนี้ไว้อุ่นใจชัวร์ 55555 

 

ฉันต้องการ/อยากได้…

       เวลาเราจะสั่งอาหาร หรืออยากขอสิ่งของอะไร สามารถพูดว่า

Quiero… , por favor

(เกีย-โร่… ปอร-ฟา-บอร) แปลว่า ฉันต้องการ/อยากได้… เช่นถ้าน้องอยากกินสเต็ก ก็พูดไปเลยว่า

Quiero un bistec, por favor

(เกีย-โร่-อุน-บิส-เตก-ปอร-ฟา-บอร) หรือจะบอกชื่อเมนูแล้วตบท้ายด้วย Por favor อย่างเดียวก็ได้เช่นกัน เพราะคำนี้มีความหมายเหมือนกับคำว่า Please ในภาษาอังกฤษ จะได้ดูสุภาพขึ้นค่ะ

 

       ภาษาสเปนเป็นภาษาที่เหมาะกับคนชอบเที่ยวมากจริงๆ ค่ะ ถ้ารู้ภาษาสเปน น้องๆ ก็สามารถไปเที่ยวได้แล้วเกือบครึ่งโลกเลย เพราะฉะนั้นใครที่มีประโยคภาษาสเปนที่เป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวก็อย่าลืมมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้รู้กันนะคะ ส่วนใครที่กำลังจะไปเที่ยว พี่หวังว่า 10 ประโยคนี้จะช่วยให้น้องๆ เที่ยวได้สนุกขึ้น แล้วอย่าลืมมาเล่าให้พี่ฟังบ้าง

¡Que tengas buen viaje!

เที่ยวให้สนุกเด้อ ><

 


ค่าครองชีพสเปน | ค่าครองชีพหลัก | ค่าใช้จ่ายจำเป็นของคนสเปน | คนไทยไกลบ้านinspain


วันนี้มาเล่าสู่กันฟังนะคะในเรื่องของค่าใช้จ่ายจำเป็นหลักๆที่เราต้องใช้จ่ายกันในทุกๆเดือน ของคนกันดีอา สเปน นะคะ
เผื่อใครที่กำลังตัดสินใจจะย้ายมาอยู่ต่างแดน ว่ามีอะไรหลักๆที่เราจำเป็นต้องจ่ายบ้าง และรายได้ของเมืองนี้ขั้นต่ำอยู่ที่เท่าไหร่
ช่องคนไทยไกลบ้าน in spain
เรานำเสนอการใช้ชีวิต Lifestyle การทำงาน การท่องเที่ยว การทำอาหารต่างๆ
ในแบบของเราในประเทศสเปนนะคะ
ถ้าชอบคลิปนี้ช่วยกดไลท์ 👍กดแชร์ 🙏🙏กดติดตาม🙏🙏 เป็นกำลังใจให้ทำคลิปใหม่ๆมาให้ชมเรื่อยๆด้วยนะคะ 😍ขอบคุณมากๆค่ะ
📌📌อ๊ะ อ๊ะ อย่าลืมกดกระดิ่ง 🔔 เพื่อจะได้ไม่พลาดคลิปวีดีโอใหม่ๆด้วยนะคะ 📌📌
………………………………………………………
สามารถติดตามได้ตามช่องทางนี้เลยค่ะ
YouTube:
กดเลย 👇
https://www.youtube.com/channel/UCAg9EB1Bcz_QXSZvhWcRYhA
Page Facebook:
กดเลย 👇
https://www.facebook.com/ThaiValenciaFoodTravel106913717350850/
………………❤️❤️❤️❤️❤️…………………
สเปนค่าครองชีพสเปนชีวิตต่างแดน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ค่าครองชีพสเปน | ค่าครองชีพหลัก | ค่าใช้จ่ายจำเป็นของคนสเปน | คนไทยไกลบ้านinspain

สเปน กับความรุ่งเรืองและความเสื่อมอำนาจในทวีปอเมริกา l Social Studies BRU 2562


สื่อการสอนประกอบรายวิชา ประวัติศาสตร์อเมริกา ( 1182203 )
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562
สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
โดย
นายพงศธร ไทยรัมย์
นางสาวธันธนา บุญสวัสดิ์
นางสาวสวิชญา หัดรัดชัย
สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่3 หมู่ 2
________________________________
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นแหล่งรวมชาติมหาอำนาจตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยใหม่ เริ่มจากกรีก โรมัน โปรตุเกส สเปน และออตโตมัน
สเปนชาติแรกที่ค้นพบทวีปอเมริกา โดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส การค้นพบทวีปอเมริกาในความร่ำรวยและรุ่งเรือง,ให้สเปน
ความร่ำรวยของสเปนทำให้ชาติยุโรปต่างพากันเข้ามาสำรวจทวีปอเมริกา โดยมีประเทศ โปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศสและฮอนแลนด์
คู่แข่งที่สำคัญของสเปนในอเมริกาคืออังกฤษ การแพ้สงครามกองทัพเรือกับอังกฤษทำให้สเปนเริ่มเสื่อมอำนาจลง และชาติที่ทำให้สเปนหมดอำนาจในภายหลังคือสหรัฐอเมริกา
ในวีดีโอชุดนี้เราจะนำเสนอถึงเรื่องราวของสเปนที่เกิดความรุ่งเรืองและความเสื่อมอำนาจในทวีปอเมริกา

สเปน กับความรุ่งเรืองและความเสื่อมอำนาจในทวีปอเมริกา l Social Studies BRU 2562

โลกมีกี่ประเทศ ประเทศทั้งหมด


โลกเรามีกี่ประเทศ
โลกเรามีทั้งหมด 7 ทวีป
54 ประเทศอยู่ในแอฟริกา
48 ในเอเชีย
44 ในยุโรป
33 ในละตินอเมริกาและแคริบเบียน
14 ในโอเชียเนีย
2 ในอเมริกาเหนือ
ยังมีดินแดนที่ใช้พื้นที่ของประเทศอื่นแบบพึงพาอีก 39 ประเทศ และดินแดนอิสระ

Facebook Fanpage : รู้ก่อนเที่ยว
https://www.facebook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7102180094904988
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCNFd5GRULOpq4U6eu_D6Wg?sub_confirmation=1

โลกมีกี่ประเทศ ประเทศทั้งหมด

\”สเปน\” หายไปไหน? ทำไมไม่เข้าร่วมสงครามโลก? – History World


สนใจติดต่อโฆษณา หรือ สนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ให้รายการ สามารถติดต่อได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/HistoryWorld45
คลิปใหม่ทุกวันจ้าาาา อย่าลืมกดติดตามด้วย สนับสนุนเพจง่ายๆเพียงกดแชร์คลิปนี้
ช่องในเครือทั้งหมด
Comic World Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCicuJZl5riLYnzSrvEX01UA
Comic World Story Yotube:
https://www.youtube.com/channel/UCSsH_MLwk8oGxGiPDfIAuvQ
Manga World Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCZWV6xtulPhPqiGeU9rtvw
History World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UC3_l4osjAYv0cAha63UuSmA
Football World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UCTzIDhr_uL_sttLGMsnnqQ
Gaming World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UCryQHlnzj2rZoBNCJX1pilA
Business World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UC6vpDob2EbJDIB1iJ40UYQ
Ghost World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UCzNaMCZxVtUxfdLE3SYZdYg

Facebook: https://www.facebook.com/comicworlddaily

\

ตลาดสดสเปน Boqueria ขายอะไร? สกปรกไหม? เจอพิษโควิดแล้วเป็นอย่างไร?


ตลาดสดสเปน Boqueria เมืองบาร์เซโลน่า
ที่อยู่ : La Rambla, 91, 08001 Barcelona , Spain
เปิด : จันทร์เสาร์ 8.00 น. 20.30 น.
THANK YOU
Frumhere, Kevatta Warm Feeling No Copyright Music
https://youtu.be/9zIK9qPkf8U
Your Sunday(Sunday Morning of Maroon5)Sunny Shin(Prod.Ampoff)
https://youtu.be/mhYql4IIZwE
Can’t Take My Eyes Off You
https://youtu.be/xOgdaVoSuWg
🌟🌟Contact for review or commercial issues (สนใจให้รีวิวสินค้าหรือลง โฆษณา) :
Email: [email protected]
My Instragram: pakboong_france
My Facebook : ผักบุ้ง สะดุ้งน้ำเย็น pakboong
https://www.facebook.com/pakboongfrance/?modal=admin_todo_tour
ขอบคุณที่เมตตากันค่ะ 🙏🏻

ตลาดสดสเปน Boqueria ขายอะไร? สกปรกไหม? เจอพิษโควิดแล้วเป็นอย่างไร?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ สเปน อยู่ทวีปอะไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *