Skip to content
Home » [Update] เรื่องควรรู้! สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 40 | เรื่อง ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

[Update] เรื่องควรรู้! สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 40 | เรื่อง ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

เรื่อง ประกัน สังคม: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Log in with your credentials

Remember me
Lost your password?

[Update] ประ กัน สังคม เช็คประกันสังคม ออนไลน์ เวป www.sso.go.th เพียง 2 นาที | เรื่อง ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

Sign in

Welcome!

Log into your account


ความรู้พื้นฐานประกันสังคม EP2 ประเภทของผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40


มาตรา ๓๓ ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป
มาตรา ๓๙ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ (๒) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งต้องนำส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๔๖ วรรคสาม ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย
ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
มาตรา ๔๐ บุคคลใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา ๓๓ หรือไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยแสดงความจำนงต่อสำนักงาน ทั้งนี้ คุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับตามมาตรา ๕๔ ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง
======================================
บท/บรรยาย : ศราวุธ ชัยดี
บันทึกเสียง : PURE Studio
https://purestudio.simdif.com/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ความรู้พื้นฐานประกันสังคม EP2 ประเภทของผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40

กรณีตาย (เสียชีวิต) ประกันสังคม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.sso.go.th

กรณีเสียชีวิต
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
1. กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
2. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น
ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่
1. ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ
ใครคือผู้จัดการศพ
(ก) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
(ข) สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
(ค) บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
2. เงินสงเคราะห์กรณีตาย
• เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้
1. ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
2. ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตายได้แก่
บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน
กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 2 ปี (ดูรายละเอียดในกรณีชราภาพ)
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย กรณีขอรับค่าทำศพ

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 201)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
3. หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
4. สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ 11 ธนาคาร ดังนี้
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด)
10) ธนาคารออมสิน
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
กรณีขอรับเงินสงเคราะห์

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 201)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
3. สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
4. สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร
5. หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)
การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

1. หนังสือมอบอำนาจ
2. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
3. หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม
4. การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในการยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

1. ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 201 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
4. พิจารณาสั่งจ่าย
1. เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
2. ส่งธนาณัติให้ผู้มีสิทธิ
3. โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ข้างต้น

กรณีตาย (เสียชีวิต) ประกันสังคม

Ep.94 | Update วงเงินค่าคลอดบุตร มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 ใครมีสิทธิรับ และใช้เอกสารอะไรบ้าง


Ep.94 | Update เพิ่มวงเงินค่าคลอดบุตร สิทธิประโยชน์ประกันสังคม มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564
เงื่อนไขการเบิกค่าคลอด คือ ผู้ประกันตนที่ขอรับสิทธิ จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน เมื่อนับย้อนหลังไป 15 เดือน โดยการจ่ายเงินสมทบจะจ่ายแบบต่อเนื่องกันหรือไม่ต่อเนื่องกันก็ได้
เอกสารเบิกค่าคลอดบุตร • ผู้ประกันตนที่ขอรับสิทธิต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน เอกสาร สปส.201 หน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ สามารถดาว์โหลดได้ที่เวปไซด์ประกันสังคม หรือจะไปกรอกเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมเลยก็ได้เช่นกันค่ะ • ส่วนเอกสารแนบการเบิกค่าคลอดบุตร ประกอบด้วย สูติบัตรบุตรพร้อมสำเนา หากมีลูกแฝด ก็ให้แนบมาด้วย โดยจะนับเป็นการคลอด 1 ครั้งค่ะ หาเป็นผู้ประกันตนชายต้องมีสำเนาทะเบียนสมรสด้วย หรือหากกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้ใช้หนังสือรับรองผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแนบมาด้วยนะคะ
การรับเงินค่าคลอดบุตร หากกรณีผู้ประกันตนยื่นเรื่องเองที่สำนักงานประกันสังคม สามารถรับเป็นเงินสดได้เลย โดยจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงเพื่อยืนยันการรับเงินด้วยค่ะ หรือกรณีรับผ่านธนาคาร จะต้องแนบสำเนาหน้าสมุดธนาคาร ที่เป็นชื่อบัญชีของผู้ประกันตนที่ยื่นเรื่องขอรับเงิน

Ep.94 | Update วงเงินค่าคลอดบุตร  มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 ใครมีสิทธิรับ และใช้เอกสารอะไรบ้าง

ด่วน! 5ขั้นตอน วิธีการขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน จากประกันสังคม ช่วงโควิด19 นี้ EP.8


ประกันสังคม แจ้งวิธีการขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงานจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 เริ่ม 4 มกราคม 2564 หากทำถูกต้องได้เงินภายใน 5 วัน
ผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิ
ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน จึงจะเกิดสิทธิรับเงินกรณีว่างงาน แต่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น
ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคหรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณีแต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน
ลูกจ้างผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิดังที่กล่าวจะต้องเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าทำงานและนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างเท่านั้น
ดาวน์โหลด แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.201/7) : https://www.sso.go.th/wpr/main/downloads/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99_module_listlabel_1_147_0
ประกันสังคม เงินเยียวยาผู้ประกันตน เงินว่างงานช่วงโควิดของขวัญรับปีใหม่64 เงินสงเคราะห์บุตร
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
คลิปที่ท่านสนใจ
ประกันสังคม แจกใหญ่ เงินว่างงานช่วงโควิด และขวัญพิเศษ 4 ชิ้น ให้ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 EP.7
https://youtu.be/YDO6KDeHtpo
วิธีรับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800บาท ตารางวันรับเงิน และสิทธิคลอดบุตร ฝากครรภ์ EP.6
https://youtu.be/YnM1raxHe_I
กยศ.มอบของขวัญปีใหม่ให้ลูกหนี้ ลดเบี้ยปรับ 80100% เริ่ม ม.ค–มิ.ย 2564 EP.5
https://youtu.be/nY2BCTO6nso
ครม.ไฟเขียว เริ่ม 1ม.ค 64 ลดส่งเงินสมทบเหลือ3% 3เดือน และเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรให้ 800 บาท EP.4
https://youtu.be/LROtDB0mjpA
ลุ้นชงต่ออายุ ลดเงินส่งประกันสังคม เหลือ 1% นาน 3 เดือน คาดเริ่มมกราคม 64 EP.3
https://youtu.be/yJXEV1y3Q
รู้หรือไมว่า! ถ้าส่งประกันสังคมครบ 179 เดือน กับ 180 เดือนแล้ว มีผลต่างกันอย่างไรมาดูกันครับ EP.2
https://youtu.be/WgOP5fWNi4E
รู้หรือไม่ว่า ถ้าไม่อยากรับเงิน ชราภาพเป็นบำนาญ แต่ส่งประกันสังคมครบ180เดือนแล้ว มีวิธีนะครับมาดูกัน EP.1
https://youtu.be/Gqgzop9qA1A

ขอบคุณทุกๆท่านที่กด Like กด share และ กด subscribe กำลังใจที่ดีมากๆครับ
และอย่าลืมกดรูปกระดิ่งเพื่อจะได้ไม่พลาดคลิปใหม่ ๆ นะครับ
FreedomChannelbyKasemsan แค่พื้นฐาน
ติดตามช่อง FreedomChannelbyKasemsan ▶ : https://www.youtube.com/channel/UCg1R…
Facebook Fan Page ▶ :

ติดต่องาน
Email : [email protected]

ด่วน! 5ขั้นตอน วิธีการขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน จากประกันสังคม ช่วงโควิด19 นี้ EP.8

ทำประกันสังคมมาตรา 40 ไปเพื่ออะไร


ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นอีก 1 ทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 แต่ความคุ้มครองอาจจะแตกต่างจากผู้ประกันตน 2 ประเภทดังกล่าว
คลิปนี้มีตารางสรุปสิทธิประโยชน์ทั้งหมดของการเป็นผู้ประกันตนตามมารตรา 40 มาให้ดูครับ
| บท/บรรยาย ศราวุธ ชัยดี
บันทึกเสียง : PURE Studio
https://purestudio.simdif.com/
ฟังหนังสือเสียง ใน MEB ที่อ่านโดย ศราวุธ ชัยดี ได้ที่
https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book\u0026type=narrator\u0026search=%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%20%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B5\u0026exact_keyword=1\u0026page_no=1

ทำประกันสังคมมาตรา 40 ไปเพื่ออะไร

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เรื่อง ประกัน สังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *