Skip to content
Home » [Update] เทคนิคเขียนภาษาอังกฤษ ให้เป๊ะเหมือนฝรั่งเขียนเอง!(ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้) | โปรแกรมอ่านภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] เทคนิคเขียนภาษาอังกฤษ ให้เป๊ะเหมือนฝรั่งเขียนเอง!(ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้) | โปรแกรมอ่านภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

โปรแกรมอ่านภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

พูดถึงการเขียน แม้จะเป็นภาษาไทย ก็ยากแล้วสำหรับหลายๆ คน และถ้าอยู่ดันในสถานการณ์ที่ต้อง เขียนภาษาอังกฤษ ล่ะ เราจะทำยังไงดีนะ? 

ถ้าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์นี้และรู้สึกไม่มั่นใจกับการเขียน วันนี้เรามีตัวช่วยดีๆ มาฝากกันค่ะ

ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เขียน Essay เขียนเรียงความ เขียนบทความ เขียนอีเมล เขียนจดหมาย เขียน Landing Page เขียนขายของ เรามี Tips ดีๆ มาฝากที่สามารถประยุกต์ได้หลากหลายค่ะ

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวซักนิดนึงนะคะ ตัวเรานั้นเรียนโรงเรียนไทยมาทั้งชีวิต และยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปเรียนหรือใช้ชีวิตในต่างประเทศนานๆ มาก่อน แต่เพราะมีสิ่งที่อยากทำหลายอย่าง ที่ผ่านมาเคยทำโปรเจกต์ร่วมกับชาวต่างชาติ เขียนข่าว เขียนบทความภาษาอังกฤษ และล่าสุดก็ได้ร่วมก่อตั้ง Justoneclub.com เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าสำหรับคนที่รักการพัฒนาตัวเอง และตั้งเป้าขยายกลุ่มลูกค้าในหลากหลายประเทศทั่วโลก

ที่สำคัญคือไม่ยากอย่างที่คิด เพราะสมัยนี้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีมากมาย ส่วนใหญ่เริ่มต้นใช้งานได้ฟรีด้วยค่ะ บทความนี้จะเน้นแนะนำเครื่องมือสำคัญๆ ที่มีประโยชน์ น่าเชื่อถือ ใช้แล้วช่วยเราได้เยอะมากๆ

Table of Contents

แนะนำเครื่องมือช่วยเขียนภาษาอังกฤษ

เครื่องมือช่วยตรวจเช็คแกรมม่าและการสะกดคำ

Grammar หรือ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คนไทยเรียนมากันเยอะที่สุดแล้ว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะเขียนได้อย่าง Perfect หมดจดไม่มีที่ติ บางครั้งเราทราบแต่ก็อาจจะเผลอสะกดผิดบ้าง เช่น ลืมเติม s ต่อท้าย verb

Grammarly ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีเวอร์ชันใช้งานฟรี และรองรับการใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชัน..

  • Native app บนเครื่อง Mac

  • Add-in สำหรับโปรแกรม Microsoft Office บน Windows

  • Web application สามารถใช้งานได้เลยบนเว็บบราวเซอร์ ไม่จำกัด OS

หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังภาพนี้

เขียนภาษาอังกฤษ เช็คแกรมมาร์ grammarly

Grammarly มันสามารถช่วยเช็คแกรมมาร์ให้เรา พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขให้ เราสามารถเขียนเอกสารในโปรแกรม หรือจะ Import ไฟล์ Word (.docx) เข้าไปก็ได้ แล้วมันก็จะช่วยเช็คให้ว่าเราพลาดตรงไหนบ้าง พร้อมบอกเราว่าต้องปรับยังไง รูปด้านล่างคือตัวอย่างผลลัพธ์หลังจากที่เราอัปโหลดไฟล์ Press Release ที่เราเคยเขียนใน Microsoft Word เข้าไป

use-grammarly-for-techsauce-press-release

ตามรูปคือ มันช่วยบอกเราว่าเรามีจุดที่ลืมเติม s อยู่ และมีจุดที่ลืมเติมคำนำหน้า ในที่นี้โปรแกรมช่วยแนะนำให้ด้วยว่า ควรใช้คำว่า the

นอกจากการแปะข้อความ หรืออัปโหลดไฟล์แล้ว อีกเรื่องสำคัญที่อยากชี้คือ Grammarly ยังมีเวอร์ชัน Google Chrome Extension และ Firefox Add-on ด้วยนะ ซึ่งความหมายคือ มันจะช่วยเช็คแกรมมาร์ให้ทุกๆ การพิมพ์ของเราเวลาเราเล่นอินเทอร์เน็ตเลย!

ตัวอย่างนี้คือการติดตั้งบน Chrome และกำลังเปิดหน้าอีเมลเอาไว้อยู่ มันจะถามเราว่าอยากให้เช็คข้อความในอีเมลไหม? นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเหมือน Dictionary อังกฤษ-อังกฤษ ช่วยแสดงผล Definition และ Synonym ในตัวได้อีกด้วย

grammarly-on-browser

 

Shifu แนะนำ

การติดตั้งบน Browser นั้นสะดวกมากๆ เพราะแปลว่าไม่ว่าจะเป็นอีเมล เขียนสเตตัสเฟซบุ๊ก

เขียนบล็อก

บน

WordPress

มันก็จะตามอ่านและให้คำแนะนำกับเรา แน่นอนว่ามันสะดวกมาก แต่ก็อาจจะสูญเสียความเป็นส่วนตัวของข้อมูลไปบ้าง แม้ใน Policy จะระบุว่าเขาจะไม่แชร์ข้อมูลให้ปาร์ตี้ที่สามก็ตาม แต่ตัวโปรแกรมเอง ก็มีการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อการปรับปรุง Product อันนี้ก็แล้วแต่ทางผู้ใช้จะลองพิจารณาดูค่ะ

เครื่องมือช่วยเช็คความอ่านง่ายของการเขียน

บางทีเรื่องที่คนกังวลอาจจะไม่ใช่เรื่องของ Grammar แต่อาจจะเป็นเรื่องการสื่อสารให้ตรงประเด็น ถ้าคุณเขียนแล้วประโยคออกมางงๆ เช่น รูปประโยคซับซ้อนเกินไป เครื่องมืออีกตัวที่คุณใช้ช่วยได้คือ Hemingway สามารถใช้งานได้เลยในเว็บไซต์ หรือจะโหลด Desktop App ก็ได้

ภาพด้านล่างนี้สาธิตการใช้งาน Hemingway มันสามารถไฮไลท์บอกได้ว่าการเรียบเรียงให้ง่ายต่อการอ่าน (Readability) ของข้อความของเรานั้น ทำได้ดีแค่ไหน รวมถึงช่วยไฮไลท์จุดที่คุณควรลองดูเพื่อปรับให้มันง่ายขึ้น โดยเฉพาะประโยคที่ได้รับไฮไลต์สีเหลืองและสีแดง คือประโยคที่ค่อนข้างเป็นรูปประโยคที่ซับซ้อน 

เครื่องมือนี้จึงค่อนข้างเหมาะกับงานเขียนบทความออนไลน์ในภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป ซึ่งความง่ายในการอ่านเป็นเรื่องสำคัญ มากกว่าความสวยหรูของประโยค แต่เราอยากบอกว่า ไม่ต้องถึงกับยึดตามคำแนะนำมากก็ได้ เพราะมันจะแนะนำให้เราไม่ใส่ Adverb หรือ Passive voice เยอะเกินไป (ซึ่งเขาถือว่ามันทำให้ประโยคซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์มากในการแต่งประโยค) โดยส่วนตัวเรามองว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับใช้ช่วยเช็คคร่าวๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

คิดชื่อเรื่องบทความภาษาอังกฤษดีๆ ไม่ออก

“ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” พวกเราได้เคยเขียนแนะนำการตั้งชื่อบทความไปตั้งแต่บล็อกแรกๆ การตั้งชื่อสำคัญมากเพราะมันเป็นสิ่งแรกที่คนเห็น แต่ก็ยากไม่ใช่เล่นเลย แล้วทีนี้ถ้าเราต้องเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษล่ะ ถามว่ามีอะไรที่พอเข้ามาช่วยเราได้บ้างไหม ข่าวดีคือมีค่ะ และลิงก์เหล่านี้คือเครื่องมือที่สามารถใช้ช่วยได้

Shifu แนะนำ

อันที่จริงแล้วเครื่องมือเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อช่วยนักเขียนที่เริ่มคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี ไว้ใช้หาไอเดียในการเขียนบล็อกได้ ซึ่งคุณผู้อ่านเองก็สามารถใช้ในการหาไอเดียได้เช่นกัน แถมเมื่อได้ไอเดียแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังช่วยให้ได้เห็นไกด์ไลน์ หรือสไตล์การตั้งชื่อบทความ ที่นักเขียนสากลนิยมใช้อีกด้วย

บทความภาษาอังกฤษ

ภาพด้านบนนี้แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จาก HubSpot‘s Blog Topic Generator เมื่อขอไอเดียในการเขียนเรื่อง Inbound Marketing หรือ Blogging ก็จะเห็นสไตล์การตั้งชื่อบทความภาษาอังกฤษ ว่านิยมเขียน Copywriting กันในรูปแบบไหน

ช่วยเขียน Rewrite หรือ Paraphrase เพื่อให้สละสลวยขึ้น

หลายๆ ครั้ง ความยากในการสื่อสารไม่ใช่เรื่องความถูกผิดของภาษา แต่เป็นเรื่องระดับภาษา ว่าที่เขียนมามันสละสลวยไหม ภาษาออกมาเป็นโทนที่เราต้องการสื่อสารหรือเปล่า โดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ถูก หรือ ผิด เยอะเลยค่ะ

โชคดีที่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยี AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ภาษาอังกฤษ ออกมาเป็น Products ให้เราเลือกใช้ ซึ่งเจ้า AI เหล่านี้สามารถช่วยแนะนำการเขียนให้กับเราได้ค่ะโดยตัวที่อยากจะขอแนะนำ มีชื่อว่า Quillbot เป็นอีกตัวที่สามารถเริ่มต้นใช้ได้เลยฟรี

จากหน้าจอเมนู Paraphraser นี้ จะเห็นว่าเราสามารถเลือก Mode การเขียนได้แบบ เช่น โหมดแบบครีเอทีฟ โหมด Formal (เป็นทางการ) โหมดเขียนให้สั้นเอง (เดิมเขียนยาวไป อยากย่อ) โหมดเขียนยาวๆ (เดิมเขียนสั้นไป อยากขยาย) เป็นต้น

ช่วยแนะนำการเขียนตามวัตถุประสงค์

อีกหนึ่งความโหดของ AI Content Writer ในปัจจุบัน คือการพัฒนาให้ช่วยแนะนำการเขียนตามวัตถุประสงค์ได้ ซึ่งเดี๋ยวเราจะนำมารีวิวให้ดู พร้อมๆ กับแชร์เทคนิคการเขียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ในหัวข้อถัดไปให้ด้วยค่ะ

แชร์เทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษ

เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ได้แนะนำไป สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็มีเครื่องมือแบบเฉพาะกิจด้วย  และนอกจากเรื่องเครื่องมือแล้ว ความจริงการรู้จักและเข้าใจ “หลักการสื่อสาร” ที่เหมาะสมกับรูปแบบนั้นๆ คืออีกหัวใจที่สำคัญไม่แพ้เรื่องทักษะด้านภาษาโดยตรงค่ะ

เขียนเมลภาษาอังกฤษ

ปัจจุบัน Email provider ต่างๆ เริ่มมีฟังก์ชัน Quick reply หรือฟังก์ชันแนะนำการเขียนมาให้ใช้งาน ถ้าใครใช้ Gmail อยู่ จะพบว่าเมื่อเราเริ่มพิมพ์ลงไป มันจะสามารถแนะนำคำหรือประโยคที่เป็นที่นิยมเขียนมาให้ด้วย (เรียกว่า Smart compose feedback) หลังจากที่ลองใช้มาสักระยะ คิดว่า AI นี้ของ Gmail เก่งใช้ได้เลยค่ะ แนะนำภาษามาได้ตรงกับรูปแบบภาษาที่นิยมใช้เขียนในอีเมลกัน

อย่างเช่นช่วงที่ขึ้นต้นประโยคแรกๆ ในอีเมล คนนิยมเขียนเพื่อตอบรับอีกฝ่าย เช่น ในที่นี้เขาแนะนำมาเป็น It’s good to hear from you.

หรือช่วงปิดท้ายอีเมล เมื่อมีคำว่า Look ขึ้นประโยคมา Gmail ก็เดาทางต่อว่าเราน่าจะอยากเขียนประโยคนี้

โดยรวมแล้วจึงทำให้การเขียนอีเมลง่ายและเร็วขึ้นค่ะ โดยปกติจะเราเองก็จะเขียนใน Gmail ลงไปเลย และตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย Grammarly ต่ออีกหน่อย

Shifu แนะนำ

ความจริง Gmail มีฟีเจอร์ Check spelling ด้วยค่ะ ถ้าเข้าบน Desktop จะอยู่ในเมนูสามจุดด้านซ้ายล่าง ได้ลองใช้แล้ว พบว่าสามารถตรวจสอบการเขียนผิดได้เบื้องต้น แต่ยังตรวจได้ละเอียดไม่เท่า Grammarly เช่น การเช็คว่าคำนามนี้ ต้องต่อท้ายด้วย s หรือไม่ต้อง ด้วย ed หรือไม่ต้อง

อีกเรื่องที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือ แม้โปรแกรมต่างๆ จะช่วยเช็คและแนะนำได้เบื้องต้น แต่การเขียน Effective email นั้น เป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะต้องเรียนรู้ตัวอย่างดีๆ เพิ่มเติมกันต่อด้วยนะคะ โดยปกติแล้วอีเมลควรเขียนด้วยรูปประโยคที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ Complex sentence (ซึ่งใช้ Hemingway ช่วยดูได้ค่ะว่า Complex เกินไปหรือเปล่า) อีเมลควรชัดเจนว่าอยากบอกอะไร Next step คืออะไร เป็นต้น

การเขียนบทความภาษาอังกฤษ

จริงอยู่ที่ AI Content Writer เหล่านี้รองรับความสามารถในการเขียนบทความแล้ว โดยสามารถนำเสนอได้ถึงระดับไอเดียหัวข้อบทความ รวมไปถึง Outline ก็ทำได้โอเคเลย อย่างในเคสนี้คือเราแค่ใส่ประเด็นลงไปว่า ‘English Writing’ โปรแกรมก็แนะนำชื่อบทความและ Outline มาเสร็จสรรพ

ทั้งนี้ เราไม่แนะนำวิธีนี้เท่าไรนะคะ เราคิดว่าดูเป็นไอเดียได้ แต่คนเขียนควรจะเป็น Leader ที่กำหนดทิศทางด้วยตัวเอง โดยปกติเราจะเขียนบทความขึ้นมาด้วยตัวเอง แล้วใช้โปรแกรมในการช่วยตรวจสอบ ช่วย Paraphrase บางประโยค

อีกเรื่องคือ บางคนชอบเขียนบทความเป็นภาษาไทยแล้วเอาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย Google Translate จากนั้นก็อาจจะใช้โปรแกรม Paraphrase ต่อ วิธีนี้ก็ทำได้ แต่โดยส่วนตัวยังเชียร์ให้คิดและเขียนด้วยตัวเองเป็นภาษาอังกฤษเลยแต่แรก จะดีที่สุดค่ะ

Shifu แนะนำ

ถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ในเรื่องการเขียนบทความ อาจเริ่มต้นฝึกเขียนบทความในภาษาที่ตัวเองถนัดก่อน และถ้าอยากเรียนรู้วิธีการและเทคนิคการเขียนบทความตั้งแต่มือใหม่จนฝึกเป็นมืออาชีพ ขอแนะนำ คอร์สเรียน Content Writing for Beginners คอร์สนี้ และ คอร์ส Digital Copywriting สำหรับการเขียนก็อปปี้ค่ะ

การเขียน Essay หรือเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ

สำหรับการเขียน Essay หรือ เรียงความ คำแนะนำจะไม่ต่างกับการเขียนบทความมากนัก แต่ขอให้บริบทเพิ่มเติมคือ ในการเขียนบทความเพื่อลงในบล็อกต่างๆ ความง่ายในการอ่านจะมีความสำคัญ ในขณะที่เรียงความหรือ Essay มักจะใช้ในเชิงวิชาการ เช่น เพื่อการสมัครเรียนต่อ อาจต้องการรูปประโยคที่สละสลวยและโชว์ความ Advanced English มากกว่า

ในบริบทที่เราเคยเขียน Essay จริงจังเพื่อสอบชิงทุน เราจะไม่ได้ใช้เพียงแค่ตัวเอง+AI Tools แต่จะขอรับ Feedback จากเพื่อนๆ คนอ่านและผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมด้วย

เขียน Copywriting หรือข้อความเพื่อการตลาด

ในบรรดา Use Case ทั้งหมด โดยส่วนตัวคิดว่าอันนี้ยากที่สุดสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา เพราะ Copywriting เป็นเรื่องของการกระตุ้นความสนใจ ซึ่งความถูกต้องของภาษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นคือความน่าสนใจ เรายังคงใช้หลักการเดียวกันกับการเขียน Digital Copywriting ภาษาไทย ตามที่เราเองก็เคยทำคอร์สเรียนสอน แต่สิ่งที่ทำเพิ่มก็คือมีการใช้ AI Writer ช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะใน Use Case ที่ต้องการนำไปใช้งานจริง

Shifu แนะนำ

โปรแกรมที่ชื่อ Writesonic เป็นตัวที่เราพบว่ามีฟีเจอร์เพื่อการเขียนขายของและเขียนเพื่อการตลาดเยอะดีค่ะ เลือกได้ว่าต้องการเขียนสำหรับ Channel ไหน เลือกได้ทั้ง Facebook Ads, Google Ads, LinkedIn Ads, Ecommerce Copy, YouTube Copy เป็นต้น

นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้คือการศึกษาดูงานต่างๆ เพราะก็อปปี้เป็นเรื่องของความครีเอทีฟ เราไม่ได้เชื่อใจโปรแกรมอย่างเดียว 100% แต่ Research ดูคนอื่นๆ ที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันว่าเขาเขียนกันประมาณไหน กลุ่มเป้าหมายของเราใกล้เคียงกันกับใคร เป็นต้น

เกร็ดน่ารู้เพิ่มเติม

ใจเย็นๆ ค่อยๆ ฝึกที่ละสไตล์

แม้ว่าเราจะเคยมีประสบการณ์เขียนบทความสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษก่อนหน้ามาบ้างแล้ว แต่เราก็ยังคงใช้เวลาปรับตัวไม่น้อยตอนเราเริ่มต้นเขียนบทสัมภาษณ์สไตล์แบบไม่เป็นทางการ เรายังไม่ชินกับแนว Lifestyle (สำหรับภาษาอังกฤษ) เพราะเดิมทีที่ประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัย จะเน้นสาย Acedemic writing มากกว่า ตอนนั้นเราจึงต้องปรับตัวนิดนึง อ่านบล็อกแนวไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ตอนที่ต้องเขียนแนว PR ก็เช่นกัน เราต้องเรียนรู้ใหม่เยอะมาก มันจะใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าฝึกเรื่อยๆ คุณจะเก่งขึ้นจริงๆ นะ

ฝึกให้ครบ ฟัง พูด อ่าน เขียน ในชีวิตประจำวัน

ถึงแม้งานของเราจะเน้นที่การเขียนเป็นหลัก แต่เราก็ยังพบว่าการฝึกฟังและพูดนั้นมีส่วนช่วยด้วย หลักๆ แล้วมันช่วยให้เรา “คิดเป็นภาษาอังกฤษ” มากขึ้น นั่นเอง คอนเทนต์ที่ทำมาเพื่อการฟัง เพื่อการพูด การอ่าน การเขียน ก็มีความแตกต่างกันไป เพิ่มความหลากหลายของสไตล์เข้าไปในสมองมากยิ่งขึ้น

เริ่มต้นที่ไดอารี่สั้นๆ

จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนของเรา อันที่จริงแล้วมันคือสเตตัสบน Facebook นั่นเอง ซึ่งเราเขียนแบบกึ่งไดอารี่ เมื่อเราเปรียบเทียบสเตตัสเก่าๆ กับสเตตัสใหม่ๆ เราก็เห็นว่าตัวเองเขียนดีขึ้นจริงๆ  หากอยากฝึกภาษาอังกฤษก็สามารถลองเริ่มจากสเตตัสภาษาอังกฤษก็ได้นะ หรือจะเขียนเก็บไว้ดูเอง เป็นไดอารี่สั้นๆ ก็ได้ค่ะ Seth Godin ก็เป็นคนนึงที่เขียนบล็อกแล้วมีคนติดตามเยอะมาก แม้ว่าบล็อกของเขาจะเป็นสไตล์ไดอารี่สั้นๆ ก็ตาม

หาคนช่วยตรวจ

วิธีการจัดการกับความไม่มั่นใจที่ดีที่สุด คือการหาคนช่วยตรวจ ถ้าให้ดี ควรเป็นคนที่สามารถแลกเปลี่ยนกันและกันได้ คือ คุณขอเขาช่วยเล็กๆ น้อยๆ  และเขาก็ขอคุณช่วยบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ เช่นกัน

แต่ก่อนจะหาคนตรวจ ให้อากู๋ Google ช่วยตรวจให้ด้วยก็ได้ แทบทุกครั้งที่เขียน เรามักจะมีคำที่ไม่แน่ใจเรื่องวิธีการใช้ ซึ่งเราก็สามารถศึกษาการใช้คำเหล่านี้ก่อน โดยการเซิร์จอ่านเอาได้ อย่างเรื่อง Preposition มักจะเป็นเรื่องที่คนไทยใช้ผิดบ่อย เช่น Interested ต้องใช้คู่กับ in; I am interested in marketing ไม่ใช่ I am interested about marketing เป็นต้น

ทดสอบภาษาอังกฤษ

สำคัญคือต้อง ‘รู้’ ว่าตัวเอง ‘ไม่รู้’ อะไร

สำคัญสุดคือตัวคอนเทนต์

ภาษา คือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร และเครื่องมือน้ันมีไว้ให้ใช้งาน ไม่ได้มีไว้ให้กลัว

ภาษาเป็นเครื่องมือนึง แต่สาระจริงๆ คือตัวคอนเทนต์ ครั้งหนึ่งเราจะเขียนบทความเกี่ยวกับซอฟแวร์สัญชาติญี่ปุ่นตัวหนึ่ง เราหาข้อมูลภาษาอังกฤษไม่ได้เลย จึงตัดสินใจหาเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วใช้ Google Translate ช่วยแปลเอา ผลลัพธ์การแปลอาจจะยังไม่ใช่ภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์เพอร์เฟกต์ แต่เมื่อเราได้อ่านแล้ว เราก็พึงพอใจกับเนื้อหา และพบว่าบทความนี้มีคุณค่ากับเรา ในการทำงานเองก็เหมือนกัน ถ้าเชื่อว่าตัวเองมีเนื้อหาที่ดี ก็ลงมือเลย ภาษาเดี๋ยวค่อยๆ พัฒนากันไปได้

สรุป

บทความนี้เราเขียนโดยแบ่งเป็นเคสการใช้งานหลักๆ ที่หลายๆ คนต้องเจอในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเน้นการแนะนำโปรแกรมต่างๆ รวมถึงแนะนำความคิดเห็นเพิ่มเติมจากประสบการณ์ส่วนตัว ยังไงก็ตาม การเรียนภาษาอังกฤษและฝึกเขียนฝึกใช้บ่อยๆ ยังคงเป็นพื้นฐานความรู้ที่สำคัญมากๆ ที่เราไม่อยากให้ละเลยกัน

หวังว่าบทความจะมีประโยชน์เพื่อให้คุณพร้อมลุยตลาด International ไปด้วยกันนะคะ 🙂

ตาคุณแล้ว

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ขอให้คุณลองเริ่มต้นเขียนภาษาอังกฤษ เริ่มจาก Caption สเตตัสต่างๆ ไล่ไปสู่ไดอารี่ จนกระทั่งเขียนบทความภาษาอังกฤษได้ และอย่าลืมเข้าไปดูเครื่องมือต่างๆ ที่เราแนะนำและลองใช้ดูนะคะ

ใครที่ได้ลองเล่น ลองใช้ ลองทำตามแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ? นำสิ่งที่คุณได้เรียนรู้หรือได้ลอง มาแชร์ความรู้ด้วยกันได้ที่คอมเมนต์ใต้บทความนี้เลยค่ะ 🙂

New call-to-action

[NEW] อ้างอิง ภาษาอังกฤษ การเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร มาดูกัน! | โปรแกรมอ่านภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

4

SHARES

Facebook

Twitter

การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในงานเขียนต่างๆ การอ้างอิงควรจะอ้างอิงจากเอกสาร หรือแหล่งที่ชื่อถือได้ ว่าข้อมูลนั้นๆถูกต้อง ไม่ควรอ้างอิงจากแหล่งที่ไม่สามารถชื่อถือได้ เพราะข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

อ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าเอกสารไว้ข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น (Athikom, S, 2014, pp. 31)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA Style 6th ed.

ตัวอย่างเขียนบรรณานุกรม (References) ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงต่อไปนี้ เป็นการแปลงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฟษ ซึ่ง ม.กรุงเทพได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดัน วารสารวิชาการเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน และฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารฯ จึงกำหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมรายการที่อ้างอิงเป็นของคนไทย ดังนี้

1. ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมเป็นแบบ APA (American Psychological Association)

2. รายการอ้างอิงเป็นของคนไทยในบรรณานุกรมจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่ กัน คือ เรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อน และตามด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย และให้เรียงลำดับโดยยึดตัวอักษรภาษาอังกฤษในการเรียง

3. ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องทำให้เป็น Thai Romanization (การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน) และต้องเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม […]

4. การทำการ Romanization นั้นจะยึดตามหลักสากลโดยใช้เกณฑ์ของ Library of congress สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ website : https://www.loc.gov/catdir/cpso/roman.html

5. สำหรับการเขียน Thai Romanization แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์น ที่พัฒนาโดย NECTEC http://164.115.23.167/plangsarn/index.php

6. โปรดดูตัวอย่างรูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

หมายเหตุ การให้ผู้เขียนจัดเรียงลักษณะนี้เพื่อให้กองบรรณาธิการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง รูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การอ้างอิงจากหนังสือ (Books)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title [Translated Title]. Place: Publisher

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แบรนด์ เอจ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Kaewthep, K. (2006). Thritsadī læ nǣothāng kānsưksā sư̄sānmūanchon (Phim khrang thī
4) [Theory and approach of mass communication (4th ed.)]. Bangkok: Brand Age.

2. การอ้างอิงจากบทในหนังสือ (Book Chapters)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of chapter [Translated Title of chapter ]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of book [Translated Title of book] (Page). Place: Publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย. (2549). อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม. ใน ฐิรวุฒิ เสนาคำ
(บก.), เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป (น. 81-126). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chatuthai, N. (2006). ʻOdō̜nō kap ʻutsāhakam watthanatham: Kō̜ranī sưksā phlēng samainiyom
[Adorno and cultural industry: The case study of popular music]. In T. Senakham (Ed.),
Līeo nā lǣ lang watthanatham pō̜p [The review of popular music] (pp. 81-126).
Bangkok: OS Printing House.

3. การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of dissertation [Translated Title of dissertation] (Doctoral
thesis or Master’s thesis, University).

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒ
นบริหารศาสตร์).

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Hemmin, A. (2013). Phrưttikam kānchai læ khwāmkhithen kīeokap phon thī dai čhāk kānchai
khrư̄akhāi sangkhom ʻō̜nlai (Social Media) khō̜ng prachāchon nai khēt Krung Thēp
Mahā Nakhō̜n [Social media consumption behaviors and opinion towards results of
experiencing social media in Bangkok Metropolitan] (Master’s thesis, National Institute
of Development Administration).

4. การอ้างอิงจากเว็บไซต์ (Websites)
รูปแบบ (Format)
Romanized Author Author’s in original language. (Year, Month date). Romanized Title
[Translated Title]. Retrieved from URL

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
บลูมูน. (2553, 7 ตุลาคม). Group แบบใหม่ คุยกับกลุ่มเพื่อนได้ง่ายกว่าเดิม. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559,
จาก http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Bluemoon. (2010, October 7). Group bǣp mai khui kap klum phư̄an daingā yok wā doēm [New
group chat with new friends more easily than ever]. Retrieved April 26, 2016, from
http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

5. การอ้างอิงจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ (Conference papers/proceedings)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of paper [Translated Title of paper]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of conference [Translated Title of conference] (Pages). Place:
publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
สรชัย จำเนียรดำรงการ, และ คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร (บก). (2558). สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ: ขา (ไม่) เคลื่อน
สำคัญกว่าขาขึ้น. ใน งานประชุมวิชาการ เรื่อง ปฎิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฎิรูป จิตสำนึก
ประชาธิปไตย ในโอกาส 9 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (น. 245-313). นนทบุรี:
สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chamniandamrongkarn, S., & Sumritdejkhajon, K. (Ed.). (2015). Samatchā sukkhaphāp hǣng
chāt : khā ( mai ) khlư̄an samkhan kwā khā khưn [National health assembly:
One (not) important than moving up]. In Ngān prachum wichākān rư̄ang padirūp
rabop sukkhaphāp læ chīwit padirūp čhitsamnưk prachāthipatai nai ʻōkāt kao pī
samnakngān Khana Kammakān sukkhaphāp hǣng chāt [A meeting of the
enlightenment and health system reforms in a nine-year of The National Health
Commission office] (pp. 245-313). Nonthaburi: The National Health Commission Office.

6. การอ้างอิงวารสาร (Journal)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of article [Translated Title of article]. Title of Journal,
volume(issue), page-numbers.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
พราว อรุณรังสีเวช. (2560). สาเหตุและกลยุทธ์การแก้ปัญหาความรู้สึกไม่แน่นอนจากการสิ้นยุคของ
โปรแกรมแฟลซ. วารสารนักบริหาร, 37(1), 3-13.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Arunrangsiwed, P. (2017). Sāhēt læ konlayut kān kǣ panhā khwāmrū sưk mai nǣnō̜n
čhāk kān sin yuk khō̜ng prōkrǣm fǣnsa [Solution when parting with my dear
flash: Identifying causesand uncertainty reduction strategies], Executive Journal,
37(1), 3-13.

อันนี้เป็นตัวอย่างการเขียนนะครับ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน ดังนั้นให้ยึดแนวการเขียนของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลักนะครับ 

source: http://buacademicreview.bu.ac.th/exe_ref2.pdf

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม…

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ…

Average rating 4.8 / 5. Vote count: 29

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก….


แชร์ 4 แอพฝึกภาษาฟรี! มีติดเครื่องไว้เล่นเพลินๆ ความรู้เพียบ! | LDA World


แชร์ 4 แอพฝึกภาษาฟรี! มีติดเครื่องไว้เล่นเพลินๆ ความรู้เพียบ🤩
.
มาฝึกภาษาเพิ่มโอกาสให้ตัวเรากัน! คลิปนี้ แพรว จาก The Next LDA มาแชร์ 4 แอพฟรี ตัวช่วยให้ทุกคนฝึกภาษาให้เน้นขึ้น เป็นมินิเกม เล่นเพลิน ๆ อัปสกิลได้ทุกวันไม่มีเบื่อ แถมมีให้เลือกหลายภาษามาก จะมีแอพอะไรบ้าง ตามมาดูคลิปนี้เลย~
LDASmartlife PraewLDA แอพฝึกภาษา Drops Duolingo LingoDeer LingoDeerPlus RedKiwi Jadoh

ABOUT US
Facebook: http://www.facebook.com/LDAworld
Tiktok: https://www.tiktok.com/@ldaworld?lang=en
Blog: http://www.ldaworld.com
Instagram: http://www.instagram.com/ldaworld
Twitter: http://twitter.com/ldaworlds
PODCAST
Spotify : https://spoti.fi/2v8nNY9
Apple Podcast : https://apple.co/35NteJc
Podbean : https://ldapodcast.podbean.com
ติดต่องาน/ลงโฆษณา : [email protected]
โทร : 0863636683

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

แชร์ 4 แอพฝึกภาษาฟรี! มีติดเครื่องไว้เล่นเพลินๆ ความรู้เพียบ! | LDA World

Study Music ฟังแล้วตั้งใจทำงาน อ่านหนังสือ เพิ่ม 500% ด้วยคลื่นเสียง Alpha Waves ผ่อนคลาย คลายเครียด


คลื่นเสียงนี้ทำโดยนักจิตบำบัด ในประเทศสหรัฐอเมริกา คลื่นเสียง Alpha Wave คือคลื่นเสียงที่มีความถี่ระหว่าง ประมาณ 714 รอบต่อวินาที เวลาที่ความถี่น้อยลง หมายถึงว่า เราจะคิดช้าลง เป็นจังหวะ เป็นท่วงทำนอง คมชัด ให้เวลาแก่จิตในการไตร่ตรองและมีความคิดเป็นระบบขึ้น สภาวะที่สมองทำงานอยู่ในคลื่นอัลฟ่ายังพบอยู่ในหลายๆ รูปแบบ เช่น ขณะที่กล้ามเนื้อหรือร่างกายผ่อนคลาย ช่วงเวลาที่ง่วงนอน ก่อนหลับหรือหลับใหม่ๆ เวลาทำอะไรเพลินๆ จนลืมสิ่งรอบๆ ตัว เวลาสบายใจ เวลาอ่านหนังสือหรือจดจ่อกับกิจกรรมใด ๆ อย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง และการเข้าสมาธิในระดับภวังค์ที่ไม่ลึกมาก
โดยหากจะตั้งโปรแกรมจิตใต้สำนึกก็ควรทำในช่วงที่คลื่นสมองเป็นอัลฟ่า ในคนทั่วไปเองก็ควรฝึกฝนตนเองให้สมองทำงานอยู่ในช่วงคลื่นอัลฟ่าเป็นประจำเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยสร้างความผ่อนคลาย ร่างกายจะไม่ทำงานอยู่บนฐานแห่งความกลัวหรือวิตกกังวล แต่จะมองชีวิตอย่างสนุกสนาน มีความรู้สึกอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรืออยากสำรวจโลกแบบเด็ก ๆ แต่คนส่วนใหญ่มักจะขาดการฝึกฝนให้ตนเองมีคลื่นสมองชนิดนี้ และมักปล่อยให้อารมณ์อัตโนมัติตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ขาดการคิดใคร่ครวญด้วยระยะเวลาอันเหมาะสมก่อน หากเรามีการฝึกฝนจิตให้ตื่นรู้เช่นเดียวกันกับแนวทางการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา คลื่นอัลฟ่านี้จะถูกบ่มเพาะให้เข้มแข็งขึ้น สามารถรื้อโปรแกรมอัตโนมัติเก่า สร้างโปรแกรมอัตโนมัติใหม่ ๆ ได้
หากชื่นชอบและอยากสนับสนุนช่องของเรา คุณสามารถเลี้ยงกาแฟเราได้นะคะ
เราจะได้ตาสว่างยันเช้าเพื่อทำเพลงให้พวกคุณได้นอนหลับสบาย ^^
เลี้ยงกาแฟเราได้ที่นี่ค่ะ https://www.buymeacoffee.com/KateVP
ที่มา
http://www.jaisabuy.com/index.php?lay=show\u0026ac=article\u0026Id=5385708\u0026Ntype=1
Copyrights
Meditate and Create, LLC
Commercial Rights License
เพลงเพิ่มสมาธิ เพลงอ่านหนังสือ เพลงกล่อมนอน

Study Music ฟังแล้วตั้งใจทำงาน อ่านหนังสือ เพิ่ม 500% ด้วยคลื่นเสียง Alpha Waves ผ่อนคลาย คลายเครียด

Learn English through story Beauty and the Beast (level 1)


A rich merchant had three sons and three daughters. One of the children, daughter Beauty, was very special. She had a kind heart and was so beautiful, that everybody loved her…
…It was a terrible mistake because it angered the owner of this castle. Now old man had to pay by his death. Watching video now!

Learn English through story Beauty and the Beast (level 1)

Classical Music for Brain Power – Mozart


🎧 Listen to our playlist on Spotify: http://bit.ly/MozartBrainPower
🎬 Watch Hollywood AwardWinning Film \”Interlude in Prague\”, Mozart in love: https://bit.ly/MozartInLove1788 SAVE 25% OFFER CODE: HALIDONMUSIC
💿 Order “Brain Power” [2CDs] on Amazon: http://hyperurl.co/BrainPower
These tracks are available for sync licensing in web video productions, corporate videos, films, ads and music compilations.
For further information and licensing please contact [email protected].
👉 The HalidonMusic Sync Licensing platform is now live at https://licensing.halidonmusic.com
📧 Subscribe to our newsletter and get a 50% discount for 10 days: https://www.halidonmusic.com/en/newsletter.html
CLASSICAL MUSIC FOR BRAIN POWER
Wolfgang Amadeus Mozart
01 Ascanio in Alba, K. 111: Ouverture 00:00
02 Lucio Silla, K. 135: Ouverture
I. Molto allegro 03:33
II. Andante 07:17
III. Molto allegro 10:04
03 Eine Kleine Nachtmusik in G Major, K. 525
I. Allegro 11:44
II. Romanza. Andante 17:47
III. Minuetto. Allegretto 24:26
IV. Rondò. Allegro 26:51
04 Flute Concerto No. 2 in D Major, K. 314
I. Allegro aperto 30:03
II. Adagio non troppo 38:09
III. Rondo. Allegretto 45:52
05 La Finta Giardiniera (“The Pretend GardenGirl”), K. 196: Ouverture 51:33
06 Symphony No. 36 in C Major, K. 425 \”Linz\”
II. Andante con moto 57:38
III. Menuetto 1:05:06
07 Symphony No. 41 in C Major, K. 551 \”Jupiter\”
II. Andante cantabile 1:08:21
IV. Molto Allegro 1:16:40
08 Flute Concerto No. 1 in G Major, K. 313
I. Allegro maestoso 1:25:35
II. Adagio Allegro ma non troppo 1:34:39
III. Rondò – Minuetto 1:44:09
09 Bastien und Bastienne, K. 50: Ouverture 1:51:54
10 Symphony No. 40 in G Minor, K. 550: I. Molto allegro 1:53:52
11 Piano Concerto No. 21 in C Major, K. 467
I. Allegro maestoso 2:02:05
II. Andante 2:16:35
1, 3 \u0026 9: Opole Philharmonic Orchestra conducted by Werner Stiefel
2, 47, 10 \u0026 11: Orchestra da Camera Fiorentina conducted by Giuseppe Lanzetta
Flute on 4: Andreas Blau | Piano on 11: Jörg Demus
8: Ubaldo Rosso, Opole Philarmonic Orchestra conducted by Silvano Frontalini
Wolfgang Amadeus Mozart (1756–1791) was a prolific and influential composer of the Classical era. Born in Salzburg, he showed prodigious ability from his earliest childhood. Already competent on keyboard and violin, he composed from the age of five and performed before European royalty. At 17, Mozart was engaged as a musician at the Salzburg court, but grew restless and traveled in search of a better position. While visiting Vienna in 1781, he was dismissed from his Salzburg position. He chose to stay in the capital, where he achieved fame but little financial security. During his final years in Vienna, he composed many of his bestknown symphonies, concertos, operas, and portions of the Requiem, which was largely unfinished at the time of his death. He wrote more than 600 works, many acknowledged as pinnacles of symphonic, concertante, chamber, operatic, and choral music. He is among the most enduringly popular of classical composers, and his influence is profound on subsequent Western art music. Ludwig van Beethoven composed his own early works in the shadow of Mozart, and Joseph Haydn wrote: \”Posterity will not see such a talent again in 100 years\”.
Thank you so much for watching this video by Halidon Music channel, we hope you enjoyed it! Don’t forget to share it and subscribe to our channel: http://bit.ly/YouTubeHalidonMusic
All the best classical music ever on Halidon Music Youtube Channel.
The very best of Mozart, Beethoven, Bach, Chopin, Tchaikovsky, Vivaldi, Schubert, Handel, Liszt, Haydn, Strauss, Verdi, Brahms, Wagner, Mahler, Rossini, Ravel, Grieg, Dvorák…
classicalmusic musicforreading classicalmusicforstudying mozart brainpower

Classical Music for Brain Power - Mozart

ศึกดวลเดือด!!! TOP 3 แอปแปลภาษา 🔥🔥🔥


https://www.facebook.com/Itmild1096689317131984/
ติดต่อโดยตรงพวกเราได้ทาง 091 465 1959

ศึกดวลเดือด!!! TOP 3 แอปแปลภาษา 🔥🔥🔥

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ โปรแกรมอ่านภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *