Skip to content
Home » [Update] อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) | เสียงถอนหายใจ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) | เสียงถอนหายใจ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

เสียงถอนหายใจ ภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

การหายใจจะมีลักษณะของเสียงที่ต่างกัน

1.เสียงนอนกรน ( snoring ) คือ มีการเกิดอาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติจากการหายใจเข้าและหายใจออกในขณะนอนหลับ เป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำและค่อนข้างหยาบ เกิดเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องปากเกิดการหย่อนยาน ส่งผลให้เนื้อเยื่ออ่อนของทางเดินหายใจส่วนบนมีการสั่นสะเทือน ตั้งแต่ คอหอยหลังโพรงจมูก ( nasopharynx ), คอหอยส่วนปาก ( Oropharynx ) และคอหอยส่วนกล่องเสียง ( laryngopharynx ) หรือคอหอยหลังกล่องเสียง ( hypopharynx )

2.เสียงวี้ด ( wheezing ) คือ เสียงที่เกิดแทรกขึ้นมาจากเสียงหายใจปกติ ลักษณะของเสียงเป็นเสียงแหลมต่อเนื่อง คล้ายกับเสียงดนตรีที่เกิดจากเสียงของลมเคลื่อนที่ผ่านท่อหลอดลมที่แคบมากหรือเสียงของลมที่มีความเร็วสูงเคลื่อนที่ผ่านท่อตีบแคบกว่าปกติ สำหรับในระบบหายใจเกิดเนื่องจากเกิดผนังทางเดินหายใจที่ตีบแคบอย่างรุนแรงจนเกือบปิด เมื่อลมหายใจเคลื่อนที่ผ่านจึงเกิดการสั่นหรือแกว่งไปมา ( oscillation ) จึงทำให้เกิดเสียงวี้ดแทรกขึ้นมาในขณะที่หายใจ การตีบสามารถเกิดขึ้นกับทุกตำแหน่งตั้งแต่ทางเดินหายใจส่วนบนขนาดใหญ่นอกช่วงอกจนถึงทางเดินหายใจขนาดเล็กในทรวงอก อาจพบได้ทั้งระยะหายใจขึ้นและหายใจออกเช่นกัน เสียงวี้ดเป็นเสียงความถี่สูงคงที่หรือหลายระดับ

3.เสียงฮี้ด ( stridor ) คือ เสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่าหรือเสียงแหบขณะหายใจ เป็น monophonic wheezing ที่เกิดในหลอดลมใหญ่ ลักษณะของเสียงที่ออกมาจะมีลักษณะเหมือนกันทุกๆที่และมีความถี่สูง เกิดจากอากาศไหลผ่านทางเดินหายใจที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ที่ถือว่าเกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนกลางในขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะบริเวณ กล่องเสียง ( larynx ) และ หลอดลมใหญ่ ( Trachea ) จะมีเสียงดังที่สุดที่บริเวณลำคอด้านหน้าและพบในหายใจเข้าได้มากกว่าการหายใจออก

เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ต้องทำเริ่มทำการตรวจผู้ป่วยดังนี้

1.การซักประวัติ

การซักประวัติด้วยการสอบถามผู้ป่วยว่า อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติเพื่อหาตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1ลักษณะของเสียง

ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้น สามารถบ่งบอกอาการและตำแหน่งทางเดินหายใจที่มีการปิดกั้นได้ ดังนี้

-เสียงหยาบ มีความถี่ต่ำ ทั้งระยะการหายใจเข้าและหายใจออก เกิดมากในช่วงที่ผู้ป่วยนอนหลับ การสอบถามต้องสอบถามผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เพราะเสียงดังกล่าวน่าจะเป็น snoring ที่เกิดจากโรคหรือภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแถบ ได้แก่ obstructive sleep apnea ( OSA ), obesity, allergix rhinitis, tonsillar hypertrophy, craniofacial anomalies, hypothyroidism, acromegaly ฯลฯ

-เสียงความถี่สูงขณะหายใจเข้า ให้คิดถึง wheezing หรือ stridor ที่เกิดจากการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบนนอกทรวงอก คือ จมูก ปาก คอหอย larynx และ extrathoracic trachea เป็นต้น ซึ่งเกิดจากสาเหตุ เช่น ต่อมทอนซิลโต ( Tonsillar Hypertrophy ), คอพอก ( goiter ), upper airway cough syndrome, กล่องเสียงบวม ( laryngeal edema ) เนื่องจากแพ้แบบปฎิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ( Anaphylaxis ), vocal cord edema หรือ vocal cord paralysis ของโรคทางระบบประสาท การบาดเจ็บของระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท การฉายรังสีหรือใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น

-เสียงที่มีความถี่สูงขณะหายใจออก ให้คิดถึง wheezing หรือ stridor จากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนกลางในทรวง เช่น intrathoracic trachea ร่วมกับการที่หลอดลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร เกิดจากหลอดลมตีบ ( Tracheal stenosis ), เนื้องอกที่หลอดลม, เนื้องอกที่แพร่เข้าสู่ทรวงอก, ความผิดปกติของกระดูกอ่อนหลอดลม ( tracheobronchomalacia ), relapsing polychondritis, สาร อะมีลอยด์ ( Amyloid ) ที่เป็นโปรตีนที่มีความผิดปกติที่สร้างจากไขกระดูก เข้าไปสะสมที่หลอดลมใหญ่ ( Trachea ) หรือหลอดลมในทรวงอก, มีเสมหะเข้ามาปิดกั้นทางเดินหายใจ, ก้อนในทรวงอก ( Mediastinal mass ) เช่น เนื้องอกที่ต่อมไทมัส ( thymic tumor ), เนื้องอกเจิมเซลล์ ( Germ cell tumor ), มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ต่อมน้ำเหลืองโตหรือ substernal goiter

-เสียงความถี่สูงขณะหายใจออกและพบในขณะหายใจเข้าเล็กน้อย ให้คำนึกถึง wheezing ที่เกิดจากการปิดกั้นระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในทรวงอก ร่วมกับการที่หลอดลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร มีสาเหตุจาก โรคหลอดลมพองหรือโรคมองคร่อ ( Bronchiectasis ), หลอดลมฝอยอักเสบ ( bronchiolitis obliterans ) จากการติดเชื้อไวรัสหรือสเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกาย ( Graft versus host disease ) จากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด, ภาวะหัวใจวาย ( Heart Failure ), มะเร็งเน็ตชนิด carcinoid tumor

1.2 ลักษณะของการเกิดอาการ

ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้ป่วยมีเสียงวี้ด ให้ทำการซักถามผู้ป่วยว่ามีเสียงวี้ด ( wheezing ) เกิดขึ้นทันทีหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นทันทีอาจเกิดขึ้นจากสูดหรือการสำลักสิ่งแปลกปลอม แต่ถ้ามีการเกิดเสียงวี้ด ( wheezing ) เป็นระยะ ๆ อาจเกิดจากมีเสมหะเข้ามาปิดกั้นระบบทางเดินหาย เนื่องจากปอดเกิดการอักเสบจากโรคหลอดลมพอง ( Bronchiectasis ) หรือกล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งจากโรคบางชนิด เช่น โรคหืด ( Asthma ), โรคภูมิแพ้ ทางระบบทางเดินหายใจ ( allergic bronchopulmonary aspergillosis – ABPA ) แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อาจมีสาเหตุจากต่อมไทรอยด์เข้ามากดเบียดหลอดลมหรือเกิดเนื้องงอกที่ระบบเกี่ยวกับหลอดลม ( Bronchial tumor )

1.3 ตำแหน่งของเสียงที่เกิดขึ้น

ถ้าผู้ป่วยมีเสียงวี้ด ( wheezing ) เกิดขึ้นแบบเฉพาะจุด สาเหตุมักเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้องงอกที่ระบบเกี่ยวกับหลอดลม ( bronchial tumor ) เข้าไปปิดกั้นหลอดลมหรือเกิดการกดหลอดลมจากภายนอก แต่ถ้าผู้ป่วยมีเสียงวี้ด ( wheezing ) เกิดขึ้นแบบกระจายทั่วไป สาเหตุเกิดจากการกำเริบของโรคหืด ( Asthma ) หรือภาวะหัวใจวาย ( Congestive Heart ) หรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ ( Carcinoid syndrome ) ในผู้ป่วยเป็นเนื้องอกคาร์ซินอยด์และมีการแพร่กระจายของเนื้องอกไปสู่ตับ ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน เช่น ซีโรโทนิน ( serotonin ) เข้าสู่กระแสเลือดนั่นเอง

1.4 ปัจจัยที่เข้ามากระตุ้น อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ

ทำการซักประวัติว่าผู้ป่วยทำกิจกรรมหรือรับประทานอาหารประเภทใดแล้วจึงเกิดอาการขึ้น 

  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้ยา benzodiazepines ที่ก่อให้เกิดอาการหายใจแบบ snoring
  • การสูดดมสารที่สร้างการระคายเคืองในปริมาณสูง เช่น สารคลอรีน ไอโซไซยาเนต ( Isocyanate )
  • การโดนแมลงหรือสัตว์กัดต่อย ทำให้เกิดอาการทางหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติ ( Reactive airway dysfunction syndrome;RADS ) ที่ก่อให้เกิดการหายใจแบบมี wheezing
  • การรับประทานอาหารบางชนิด
  • การได้รับสารทึบรังสีหรือยาบางชนิด ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันและรุนแรง ( Anaphylaxis ) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่มีความรุนแรงมากอาจส่งผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการักษาต้องทำการซักถามผู้ป่วยถึงสิ่งที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ หรือให้สอบถามผู้ป่วยว่าก่อนที่จะเกิดอาการดังกล่าวผู้ป่วยได้สัมผัสหรือสูดดมสิ่งใดมาก่อน

1.5 ปัจจัยที่สามารถช่วยบรรเทาหรือทำให้อาการลดลงได้

สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เคยเกิด อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติให้ทำการสอบถามว่าอาการดังกล่าวดีขึ้นได้อย่างไร เช่น

  • การใช้ยาขยายหลอดลมโดยการสูดหรือพ่น จะสามารถช่วยลดเสียง wheezing ได้ แสดงว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียง น่าจะเกิดจากโรคหืด การกำเริบของโรคปอดชนิดเรื้องรังที่มีการปิดกั้นหลอดลมหรือการอักเสบของหลอดลม
  • การได้รับยาขับปัสสาวะ ที่ส่งผลให้อาการหายใจแบบ wheezing ดีขึ้น แสดงว่าสาเหตุของเสียง wheezing เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว ( Congestive heart failure; CHF )
  • การได้รับยาขยายหลอดลม แต่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองเสียง wheezing ที่เกิดขึ้นไม่ลดลง และอาการของผู้ป่วยดีขึ้น หลังจากที่ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ แสดงว่าผู้ป่วยมีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ตั้งแต่บริเวณจมูกไปจนถึงหลอดลมใหญ่ ( Trachea ) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกล่องเสียงยาวลงไปจนถึงจุดที่แยกเข้าสู่ปอด 

1.6 อาการร่วมที่เกิดขึ้น

ซึ่งอาการร่วมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยสามารถแบ่งตามลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นในขณะที่หายใจดังนี้

1.6.1.อาการที่เกิดร่วมกับ snoring เช่น กระสับกระส่ายหรือมีการหยุดหายใจเป็นระยะ ๆเวลานอน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้เวลาตื่นนอนในตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่น ปวดศีรษะตอนเช้า ขาดสมาธิและมีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน และยังส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ หรือเรียกว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ( Obstructive Sleep Apnea: OSA ) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ขี้หนาว ท้องผูกและน้ำหนักตัวเพิ่ม ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจมีภาวะไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism ) หรือภาวะขาดไทรอยด์ ( Uneractive Thyroid ) ที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Gland ) ทำการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้กระบวนการกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายทำงานช้าลง ทำให้ร่างกายไม่มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือมีอาการคัดจมูกเนื่องจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ( allergic rhinitis ) หรือไซนัสอักเสบ ( Sinusitis ) รวมถึงกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดไซนัสมาก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยทำการหายใจทางปากหรือรู้สึกมีอาการเจ็บคอบ่อยๆ แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะต่อมทอนซิลโต ( Tonsillar Hypertrophy ) เกิดขึ้น เป็นต้น

1.6.2.อาการแสดงที่เกิดร่วมกับ wheezing หรือ stridor

อาการที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยสามารถช่วยในการวินิจฉัยถึงสาเหตุความผิดปกติในการหายใจได้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อยและไอ อาจเกิดจากการสูดดมสารก่อความระคายเคืองอาจเป็นระบบหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติ ( Reactive airway dysfunction syndrome;RADS )
  • ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ริมฝีปากบวมคัน เกิดผื่นลมพิษขึ้นทั่วตัวและมีความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากการแพ้แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ( Anaphylaxis )
  • ถ้าผู้ป่วยมีเสมหะปริมาณมาก แสดงว่าเกิดจากโรคหลอดลมพอง ( bronchiectasis )
  • ถ้าผู้ป่วยมีเซลล์อีโอซิโนฟิล ( Eosinophil ) ที่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูลที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ในปริมาณที่สูงในเลือด อาจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิของอวัยวะภายใน เช่น พยาธิไส้เดือน ( Ascaris lumbricoides ), พยาธิตัวกลมที่มีชื่อว่าสตรองจิลอยด์ สเตอร์โคราลิส ( Strongyloidiasis Stercoralis ) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีอาการบวม แสดงว่าน่าจะเกิดจากโรคหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการร่วม เช่น ไอเป็นเลือด เสียงแหบ เจ็บคอ สำรอก เรอเปรี้ยว แสบร้อนหน้าอก การสูดสำลักสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น   

1.7 การทำงานและสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมหรืออาชีพของผู้ป่วยก็อาจที่จะช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของเสียงการหายใจที่ผิดปกติได้ เช่น wheezing ในชาวนาอาจมีสาเหตุจากโรคหืดในผู้ที่ทำงานในบริเวณที่มีฝุ่นผงจากธัญพืช ( grain dust asthma )

อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) เกิดจากการปิดกั้นผนังทางเดินหายใจบวมกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องปากหย่อนตัว

2. การตรวจร่างกาย

1.ตรวจสัญญาณชีพ ( vital signs ) คือ ชีพจรที่แสดงถึงอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิภายในร่างกายและความดันโลหิต

2. ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ( Oxygen saturation ) จากการวัดค่าออกซิเจนในพัลส์ ( pulse oximetry หรือSpO2 ) ที่สมารถบ่งบอกระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนหรือระดับออกซิเจนในเลือด และแปลผลตรวจออกมาซึ่งจะสามารถระบุได้ว่าระบบการหายใจว่ามีเสียงหายใจผิดปกติหรือไม่

3.ลักษณะของเสียงหายใจผิดปกติ ( Adventitious Sounds ) ถ้ามีลักษณะเป็น wheezing หรือ stridor จะเกิดทางเดินหายใจถูกปิดกั้น ถ้าเป็นเสียงแบบ snoring สามารถตรวจพบขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ เกิดทั้งระยะหายใจเข้าหรือหายใจ ที่ตำแหน่งใด สามารถเกิดขึ้นแบบเฉพาะที่หรือกระจายทั่วไป การตรวจสอบถึงตำแหน่งรวมกับการซักประวัติของผู้ป่วย จะช่วยวินิจฉัยตำแหน่งที่ทางเดินหายใจเกิดการอุกตันได้ ซึ่งลักษณะเสียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ   

3.1 monophasic คือ เสียงที่มีระดับความถี่เดียว แสดงว่าการทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งเดียว หรือการอุดกั้นหลอดลมขนาดใหญ่ที่ระบบทางเดินหายใจส่วนกลาง

3.2 polyphasic คือ เสียงที่มีระดับความถี่หลายความถี่ร่วมกัน ทั้งความถี่สูงและความถี่ต่ำ แสดงว่ามีการอุดกั้นที่บริเวณหลอดลมขนาดเล็กบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนปลายหลายแห่ง

4.ตรวจร่างกายระบบอื่นๆ

นอกจากการสังเกตลักษณะของเสียง การซักประวัติและอาการรวมอื่น ๆ แล้ว เพื่อช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงจึงจำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย คือ

4.1 การตรวจพบ jugular venous pressure ที่เป็นการดูความดัน ( Pressure ) โดยตรงของหลอดเลือดดำมีค่าสูงขึ้นร่วมกับ S3 gallop จะช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยมีภาวะหายใจมีเสียงผิดปกติเนื่องจากภาวะหัวใจวาย ( congestive heart failure )

4.2 การตรวจพบภาวะอ้วนอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ( Obstructive Sleep Apnea: OSA )

4.3 การตรวจพบอาการคอพอก ( goiter ) หรือ ต่อมทอนซิลโต ( Tonsillar Hypertrophy ) ซึ่งอาจเข้าไปอุดกั้นทางเดินหายใจ

4.4 การตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการปากและลิ้นบวม มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัว อาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ( Anaphylaxis )

4.5 การตรวจพบอาการนิ้วปุ้ม ( clubbing of fingers ) ผู้ป่วยอาจเป็นโรคหลอดลมพอง ( Bronchiectasis ) หรือโรคมะเร็งคลองหลอดลม 

3.การตรวจสืบค้นเพื่อการวินิจฉัย

หลังจากที่ได้รับข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำมาวินิจฉัยหาตำแหน่งที่เกิดจากการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ ให้ทำการวินิจฉัยแยกโรคของสาเหตุโดยเน้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก แล้วจึงทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจpulmonary function test โดยเฉพาะการตรวจ spirometry with bronchodilator test และ flow-volume loop และถ้าผลการตรวจพบว่าอัตราการไหล ( flow ) มีค่าลดลงร่วมกับการหา  ( scooped-out ) ของ flow-volume loop แสดงว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจ แต่ถ้าอัตราการไหล ( flow ) มีค่าไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงว่าผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลมที่ได้รับเข้าไป

สำหรับการตรวจ diffustng capacity of the lung for carbon monoxide ( DLCO ) แล้วพบว่ามีค่าต่ำกว่าปกติในผู้ป่วยที่เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ แสดงว่าผู้ป่วยอาจมี emphysema ร่วมด้วย bronchoprovocation test แล้วพบว่าหลอดลมมีการหดตัวมากกว่าปกติ หลังจากที่ได้รับสารกระตุ้นการหดตัวของหลอดลม แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดลมที่ไวกว่าตัว chest radiograph ซึ่งผู้ป่วยอาจมีกะบังลมแบนราบและหัวใจมีขนาดเล็ก ( Hypertnflation ) ดังนั้นเมื่อมีการอุดกั้นทางเดินหายใจจะเกิดอย่างรุนแรง contrast-enhanced computed tomography ( CT ) of chest หรือ high resolution CT ( HRCT ) of chest ซึ่งอาจพบ signet ring sign หรือ tram-track sign ใน bronchiectasis ได้หรือสามารถพบ mosaic pattern ขณะที่ทำการหายใจออกใน small airway disease นอกจากนั้นอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นในทรวงอกได้อีก เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตจากการติดเชื้อวัณโรคหรือเชื้อรา หรือโรคมะเร็งหลอดลม dynamic CT of chest และถ้าทางเดินหายใจในช่วงหายใจออกมีขนาดเล็กลงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของช่วงหายใจเข้า แสดงว่าผู้ป่วยมีผิดปกติของกระดูกอ่อนหลอดลม ( tracheobronchomalacia ) ซึ่งสามารถใช้การการใช้กล้องส่องตรวจ lar
yngoscopy เพื่อหาตำแหน่งที่มีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจได้ ตั้งแต่คอหอยส่วนปาก ( Oropharynx ) ถึงสายเสียง ( Vocal cord )  หรือการส่องกล้องหลอดลม ( bronchoscopy ) ร่วมกับการทำการผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย ( Biopsy ) ที่นอกจากจะช่วยหาสาเหตุของ อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) แล้วยังช่วยเกี่ยวข้องกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น หากตรวจ complete blood count ( CBC ) พบเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด eosinophilia และการตรวจอุจจาระ ( Stool examination ) แล้วมีการตรวจพบตัวอ่อนพยาธิ ( larva ) แสดงว่าอาการป่วยเกิดจากโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิ strongyloidiasis หรือเมื่อทำการตรวจแบบ thyroid function tests ( TFT ) สามารถประเมินได้ว่าต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยมีการทำงานมากกว่าปกติหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาและเลือกวิธีการตรวจเพื่อสืบค้นต้องให้สอดคล้องกับภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย เพื่อช่วยให้ระบุตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจได้อย่างถูกต้อง

4.การประเมินและดูแลรักษา

การที่จะทำการรักษาและระบุวิธีการดูแลผู้ป่วยได้ แพทย์จะต้องสืบค้นให้ได้ว่าผู้ป่วยเกิดอาการ

หลักการสำคัญในการประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วย คือ ต้องสามารถค้นหาผู้ป่วยที่อาจเกิดภาวะอาการหายใจไม่ออก ( Asphyxia ) จากการอุดกั้นที่กล่องเสียง ( larynx ) หรือหลอดลมใหญ่ ( Trachea ) เนื่องจากการเกิดภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การผ่าเปิดหลอดลมคอ ( cricothyroidotomy ) หรือการเจาะคอ ( tracheostomy ) เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในภาวะเร่งด่วนสามารถทำการตรวจเพื่อสืบค้นตามขั้นตอนปกติได้ เมื่อทราบว่าถึงตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจที่แน่นอนแล้ว จึงสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้องตามสาเหตุต่อไป

ผู้ป่วยที่มี อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติผู้ทำการวินิจฉัยต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการซักประวัติของผู้ป่วย รวมทั้งความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างครบถ้วนและละเอียด เพื่อช่วยในประเมินตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นและสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดกั้นที่ระบบทางเดินหายใจ เพื่อช่วยในการเลือกวิธีการสืบค้นเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม และนำมาซึ่งการเลือกแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะรอดชีวิตสูงขึ้นด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

[Update] ภาษาอังกฤษที่คนไทยอ่านออกเสียงผิดบ่อย – Tuemaster เรียนออนไลน์ ม.ปลาย | เสียงถอนหายใจ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

      
    1. Asia

เริ่มกันที่คำศัพท์ที่เราคุ้นเคยกันอยู่เป็นประจำเวลาที่ฝรั่งมาถามว่าคุณเป็นคนอะไร? แล้วอยากจะตอบเขาไปว่า “ฉันเป็นคนเอเชีย” หรือ “Asian” จะต้องอ่านออกเสียงว่า “เอ-แฉ็น” ส่วนคำว่า “Asia” ที่แปลว่า “ทวีปเอเชีย” คนไทยส่วนใหญ่จะออกเสียงตรงตัวว่า “เอ-เซีย” บ้าง “อา-เซีย” บ้าง แต่ความจริงแล้วศัพท์็คำนี้จะต้องออกเสียงว่า “เอ-ฉะ” ดังนั้น “south east asia” หรือทวีปเอเชียอาคเนย์ ก็ต้องออกเสียงเป็น “เซาท์-อีส-เอ-ฉะ” เช่นเดียวกัน

2.Tuition

สำหรับนักเรียนนักศึกษาจะต้องเจอศัพท์คำนี้อยู่เป็นประจำ “Tuition” ที่แปลว่า “ค่าเทอม ค่าเล่าเรียน” และเชื่อได้เลยว่ามีอีกหลายคนที่ออกเสียงคำศัพท์คำนี้ผิดไปอย่างมหันต์ว่า “ทุย-ชั่น หรือ ตุ๋ย-ฉัน” งานนี้ตัวใครตัวมัน ฝรั่งมีงง คนไทยมีขำกันแน่นอนว่าอะไรคือ “ตุ๋ย-ฉัน” ซึ่งที่ถูกต้องแล้วคำว่า “tuition” จะต้องอ่านออกเสียงว่า “ทู-วิ-เชิน” ไม่เช่นนั้น ออกเสียงคำนี้ผิดชีวิตคุณเปลี่ยนแน่นอน!!!

 3. Comfortable/ Vegetable

คำนี้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ไม่เชิงว่าออกเสียงผิดซะทีเดียว แต่เป็นการเน้นเสียงที่ผิดมากกว่า “comfortable” คนไทยส่วนใหญ่จะอ่านออกเสียงตรงตัวว่า “คอม-ฟอร์ท-ทะ-เบิล” ที่แปลว่า “สบาย” อันจริงแล้วคำนี้จะต้องออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์แรก ส่วนพยางค์ที่สองแทบไม่ออกเสียงเลย การออกเสียงที่ถูกต้องจึงต้องอ่านว่า “คัมฟ-ทะ-เบิล” ห้ามออกเสียง “ฟอร์ท” โดยเด็ดขาด ออกเสียง “ฟึ่ท” สั้นๆ เบาๆ อยู่ในลำคอนิดเดียวเท่านั้น คล้ายกับคำว่า “vegetable” ที่แปลว่า “ผัก” ต้องอ่านว่า “เว็ท-ทะ-เบิล” ไม่ใช่ “เว็จ-เจ็ท-ทะ-เบิล” นะเด็กๆ

   4. Suite/ Suit

เวลาที่คุณจะไปพักโรงแรมแล้วต้องการห้องหรูหรา ที่คนไทยมักจะเรียกว่า “ห้องสูท” ในภาษาอังกฤษจะหมายถึง “suit” ที่แปลว่า ชุดสูท แต่เมื่อเติมตัว “e” เข้าไปก็จะกลายเป็น “suite” ที่แปลว่า “ห้องชุดหรูหราในโรงแรม” หลายคนจึงเข้าใจผิดว่าจะต้องออกเสียงเหมือนกันคือ “สูท” และถ้าไปพูดกับฝรั่งว่า “I want a suite room.” แล้วดันออกเสียงว่า “สูท-รูม” ความหมายจะเปลี่ยนทันทีกลายเป็น “ฉันต้องการห้องเก็บชุดสูท” เพราะคำศัพท์ที่แปลว่า “ห้องชุดในโรงแรม” ต้องออกเสียงว่า “ส-วีท” ไม่ใช่ “สูท” เหมือนที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน

5. Yoga

 “โยคะ” กีฬายอดนิยมสำหรับสาวๆ ในยุคนี้ เป็นอีกหนึ่งคำที่เราต้องเรียนรู้การออกเสียงที่ถูกต้อง เพราะเวลาที่ฝรั่งถามคุณว่า “Do you like yoga?” (ดู-ยู-ไลค์-โย-เกอะ) คำนี้ “yoga” ในภาษาอังกฤษฝรั่งจะออกเสียงว่า “โย-เกอะ” แต่คนไทยจะออกเสียงว่า “โย-คะ” เช่นเดียวกันถ้าจะตอบฝรั่งว่า “เล่นโยคะ” จะต้องใช้คำว่า “do yoga” ไม่ใช่ “play yoga” 

6. Error

ศัพท์คำนี้จะได้ยินบ่อยเวลาที่เราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วอยู่ๆ เครื่อง “error” คนไทยก็จะพูดว่าเครื่อง “เออ-เร่อ” ขึ้นมาทันที ซึ่งใช่กันอย่างแพร่หลายและเข้าใจกันผิดมาตลอด คำว่า “error” ที่แปลว่า “ข้อผิดพลาด, ความคลาดเคลื่อน” ที่ถูกต้องแล้วจะอ่านว่า “แอ-เร่อะ” ออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์แรก ส่วนพยางค์หลังออกเสียงเบาๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นอันถูกต้อง

7. Fragile

 “Fragile” คำนี้จะพบบ่อยในป้ายสติ๊กเกอร์ภาษาอังกฤษที่ติดไว้สำหรับสิ่งของที่ “เปราะบาง” เพื่อระวังของแตก หัก พัง นั่นเอง และแน่นอนว่าคนไทยส่วนใหญ่มักจะอ่านป้ายคำนี้ว่า “ฟรา-จิ้ล” อันนี้ผิดอย่างแน่นอน การออกเสียงที่ถูกสำหรับศัพท์คำนี้ก็คือ “แฟรก-ไจล์” เวลาที่เราจะพูดกับฝรั่งว่าให้ระวังสิ่งของในกล่อง หรือในกระเป๋า แตกหักต้องพูดว่า “แฟรก-ไจล์” ไม่ใช่ “ฟรา-จิ้ล” ใครที่เคยพูดแบบนี้เปลี่ยนด่วน!!!

8. Dove

ศัพท์คำนี้มั่นใจว่าคนไทยต้องเข้าใจผิดอย่างแน่นอน เพราะเป็นคำที่ใช้เรียกโฆษณาผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งว่า “โดฟ” และเข้าใจว่าเป็นความหมายของ “นกเขา” ในภาษาไทยเวลาเราพูดถึงสัญลักษณ์สันติภาพก็จะนึกถึงนกสีขาว นั่นคือนกพิราบขาว แต่ในภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งอื่นๆ นกที่เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพคือ “นกเขาสีขาว” ซึ่งก็คือคำว่า “dove” และอ่านออกเสียงว่า “เดิฟ” ไม่ใช่ “โดฟ” ไม่เช่นนั้นอาจจะหมายถึง “dove (โด๊ฟ)” ที่เป็นรูปอดีตของ “dive” ที่แปลว่า “ดำน้ำ, กระโดดลงน้ำ” ซึ่งมีความหมายต่างกัน

9. Sword

ศัพท์คำนี้มักจะพบบ่อยในชื่อหนัง หรือเกมส์ ที่มีการใช้ “ดาบ” ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง “Shadow of the Sword” คำว่า “sword” คนไทยหลายคนมักออกเสียงคำศัพท์นี้ผิดว่า “สะ-หวอด” ตรงตัวเป๊ะ แต่นั่นเป็นการออกเสียงอ่านที่ผิด ที่ถูกต้องจะต้องออกเสียง “sword” ว่า “ซอร์ด” สั้นๆ พยางค์เดียว ตัดเสียง “W” ออกไปก็จะได้คำอ่านที่ถูกต้อง

10. Receipt/ Debt

 “receipt” คำนี้จะต้องอ่านออกเสียงว่า “รี-ซีท” ที่แปลว่า “ใบเสร็จ” ไม่ใช่ “รี-ซิป” เหมือนที่หลายคนเข้าใจและอ่านคำนี้ผิดอยู่บ่อยๆ เทคนิคการจำก็คือ คำที่ลงท้ายด้วย “pt” ตัว “p” จะไม่ออกเสียง เช่นเดียวกับคำที่มักออกเสียงผิดบ่อยๆ อีกหนึ่งคำ “debt” ที่แปลว่า “หนี้สิน” มักได้ยินคนอ่านออกเสียงคำนี้ว่า “เด็บ” คำที่ลงท้ายด้วย “bt” ตัว “b” จะไม่ออกเสียงด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นที่ถูกต้องจะต้องอ่านว่า “เด็ท” ห้ามใช้ “เด็บ” โดยเด็ดขาด

11. Juice/ Cruise

อีกหนึ่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรามักพบบ่อยในชีวิตประจำวัน และต้องเรียกได้ว่าใช่ผิดกันเป็นประจำด้วยเช่นกัน คำแรกคือคำว่า “juice” ที่แปลว่า “น้ำผลไม้” แต่หลายคนมักออกเสียงว่า “จุ๊ยส์” นั่นเป็นการออกเสียงที่ผิด ที่ถูกต้องแล้วต้องอ่านว่า “จูซ” น้ำผลไม้ เช่นเดียวกับคำว่า “cruise” การล่องเรือ ที่มักจะได้ยินคนไทยพูดว่า “ครุยส์” ความจริงแล้วต้องออกเสียงว่า “ครูซ” ถึงจะถูกต้อง โดยทั้งสองคำศัพท์มีเทคนิคการจำอยู่ที่ เมื่อมี “_ui_” อยู่ในคำศัพท์นั้นๆ มักจะออกเสียง “สระอู” ลากเสียงยาวๆ ด้วยนะอย่าลืม

12. Science/ Scientist

ศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลว่า “วิทยาศาสตร์” ที่หลายคนมักออกเสียงผิดโดยการอ่านว่า “ซาย” ถ้าฝรั่งฟังแล้วจะเข้าใจว่า “sigh (ซาย)” ที่แปลว่า “ถอนหายใจ” หรือ “sign (ซาย-น)” ที่แปลว่า “ป้าย” นั่นเอง ถ้าจะสื่อความหมายของ “science” ที่แปลว่า “วิทยาศาสตร์” ต้องออกเสียงว่า “ไซ-เยินซ” ส่วน “Scientist” ก็ต้องออกเสียงว่า “ไซ-เยิน-ทิซ” หรือ นักวิทยาศาสตร์ นั่นเอง

13. Volume/ Value 

ศัพท์ชุดตัว “วี” เจ้าปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดจึงมักออกเสียงผิดอยู่เป็นประจำ คำแรกคือ “volume” ที่แปลว่า “เสียง” คนไทยส่วนใหญ่จะออกเสียงว่า “วอ-ลุ่ม” ให้ได้ยินอยู่เป็นประจำ แม้ว่าคนไทยฟังแล้วจะเข้าใจกันเอง แต่ออกเสียงแบบนี้รับรองฝรั่งงง!!! เพระาที่ถูกต้องแล้วศัพท์คำนี้ต้องออกเสียงว่า “โวล-ยุ่ม” เช่นเดียวกับคำว่า “value” ที่แปลว่า “มูลค่า” ที่ไม่ได้ออกเสียงว่า “แว-ลู่” แต่ต้องอ่านออกเสียงว่า “แฟ-ยิ่ว” อาจฟังดูไม่ค่อยคุ้นสำหรับบางคนอยู่สักหน่อย ขอเพียงแต่ให้เรามั่นใจว่าเราออกเสียงถูกต้องเป็นอันใช้ได้

       14. Onion/ Iron

“onion” เชื่อว่าคนไทยหลายคนต้องออกเสียงคำนี้ว่า “ออ-เนี่ยน” ที่แปลว่า “หัวหอม” แต่นั่นเป็นการออกเสียงที่ผิด ที่ถูกต้องแล้วจะต้องอ่านออกเสียงว่า “อันเยิน” หรืออีกหนึ่งคำที่ออกเสียงคำท้ายคล้ายๆ กันนั่นก็คือ “iron” ที่แปลว่า “เหล็ก, เตารีด” แต่เรามักได้ยินคนไทยออกเสียงคำนี้ว่า “ไอ-รอน หรือ ไอ-ออน” ซึ่งความจริงแล้วคำนี้จะต้องออกเสียงว่า “ไอ-เยิร์น” ดังนั้นภาพยนตร์สุดฮิตมนุษย์เหล็กใส่ชุดสีแดง “Iron Man” ก็จะต้องออกเสียงว่า “ไอ-เยิร์น-แมน” ไม่ใช่ “ไอ-รอน-แมน” นะจ๊ะ

15. Chaos/ Architect

หลายคำในภาษาอังกฤษที่พอเราเห็นคำขึ้นต้นเป็น “ch” ก็มักจะออกเสียงเป็นตัว “ช” เช่นเดียวกับคำว่า “chaos” ที่พอเห็นว่าขึ้นต้นด้วย ch ก็อ่านออกไปด้วยเสียงอันดังว่า “ชา-ออส หรือ เช้าท์” ในทันที ซึ่งต้องจำไว้เลยว่าศัพท์บางคำในภาษาอังกฤษก็มีข้อยกเว้นเช่นกัน เช่นเดียวกับคำว่า “chaos” จะต้องออกเสียงว่า “เค-ออส” ที่แปลว่า “ความยุ่งเหยิง” เช่นเดียวกับศัพท์คำว่า “architect” ทีแปลว่า “สถาปนิก” จะต้องอ่านว่า “อาร์-คิ-เท็คท”

16. Six/ Sick

ชุดคำศัพท์ที่ออกเสียงคล้ายกันก็ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เช่นนั้นออกเสียงเพี้ยนไปนิด แต่ผิดความหมายเยอะเว่อร์ อย่างเช่นคำว่า “six” ที่แปลว่า “หก” และ “sick” ที่แปลว่า “ป่วย” หลายคนออกเสียงเหมือนกันทำให้ฝรั่งเกิดอาการมึนและงงได้ เช่น ถ้าคุณจะบอกว่าคุณเป็นหมายเลข 6 แล้วพูดกับฝรั่งว่า “I am six. (ไอ-แอม-ซิค)” รับรองเลยว่าฝรั่งจะต้องตอบกลับมาว่า “Go to see the doctor!!!” อย่างแน่นอน เพราะ “sick” ที่แปลว่า ป่วย จะออกเสียงว่า “ซิค” ถ้าจะหมายถึงเลขหก “six” ให้ออกเสียงว่า “ซิคส” ออกเสียง “ส” ท้ายคำ

17. Island/ Iceland

อีกหนึ่งชุดคำศัพท์ที่ถ้าคุณออกเสียงผิดเมื่อไหร่ความหมายเปลี่ยนไปเมื่อนั้น อย่างคำว่า “Island” ที่แปลว่า “เกาะ” คำนี้ต้องจำไว้ว่าไม่ออกเสียงตัว “s” อ่านว่า “ไอ-เลินด์” ได้เลย หลายคนมักจะชอบออกเสียงโดยมีตัว “s หรือ ซ” ระหว่างคำเป็น “ไอซ-แลน” ซึ่งจะไปพ้องเสียงกับคำว่า “Iceland” ที่แปลว่า “ประเทศไอซ์แลนด์” นั่นเอง

18. Valley/ Medley/ Volleyball/ Harley

คำว่า “หุบเขา” ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “valley” ที่คนไทยหลายคนมักจะออกเสียงว่า “วัน-เล่” ซึ่งฝรั่งก็จะฟังเป็นว่า “บริการรับฝากจอดรถ” ที่มาจากคำว่า “valet parking” จะเห็นได้ตามโรงแรมและร้านอาหารหรูๆ ทั่วไป “แวะ-เลย์-ปาร์ค-กิง” แต่ถ้าหมายถึง “หุบเขา” ต้องออกเสียงว่า “แวล-ลี” ต้องจำไว้เลยว่าถ้ามีคำว่า “ley” จะต้องออกเสียงว่า “ลี” เช่น medley (เมด-ลีย์) ไม่ใช่ (เมด-เล่), volleyball (เวาะ-ลีย์-บอล) ไม่ใช่ (วอล-เล่-บอล) หรือแม้แต่ “Harley Davidison” ก็ต้องออกเสียงว่า “ฮาร์-ลีย์-เด-วิด-เซิน” ที่หมายถึง “มอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์ นั่นเองจึงจะถูกต้อง

19. Syrup/ Syringe/ Lyrics

 “พี่ครับ ขอไซรัปเพิ่มหน่อยครับ” ป้ายผิดโชว์ขึ้นทันที ตืด..ตืด เพราะศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลว่า “น้ำเชื่อม” หรือ syrup ไม่ได้อ่านว่า “ไซ-รัป” แต่จะต้องอ่านว่า “ซิ-เริพ” แต่ก็ต้องทำใจไว้นิดนึงว่าถ้าเราไปพูดกับคนไทยอาจยังไม่เข้าใจเท่ากับคำว่า “ไซ-รัป” นั่นเอง แต่ถ้าพูดกับฝรั่งก็ควรจะออกเสียงให้ถูกต้อง เหมือนกับคำว่า “syringe” ที่แปลว่า “เข็มฉีดยา” ที่มักจะได้ยินว่า “ไซ-ลิงค์” ถ้าไปพูดกับฝรั่งก็อาจจะนึก สลิงที่ไว้สำหรับห้อยโหนได้ ที่ถูกต้องคำนี้จะต้องออกเสียงว่า “ซิ-รินจ” หรือคำว่า “lyrics” อีกหนึ่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีตัว “y” เป็นพยัญชนะตัวที่สอง ที่คนไทยหลายคนมักออกเสียงว่า “ไล-ริคซ” กันเยอะ ที่ถูกแล้วต้องออกเสียงว่า “ลิ-ริคซ” ที่แปลว่า “เนื้อเพลง” นั่นเอง

20. Singer / Singing/ Belonging(s)

“singer” ศัพท์ฮิตติดหูอีกหนึ่งคำที่เรามักจะได้ยินคนอ่านออกเสียงว่า “ซิง-เกอร์” ที่แปลว่า “นักร้อง” การออกเสียงที่ถูกต้องคือ “ซิง-เงอร์” ส่วนการร้องเพลง “singing” ก็จะต้องออกเสียงว่า “ซิง-งิง” ไม่ใช่ “ซิง-คิง” (singking) จะแปลว่า “จมน้ำ” ออกเสียงผิดความหมายเปลี่ยนในทันที เช่นเดียวกับคำว่า “belonging(s)” ที่แปลว่า ของมีค่า คนไทยมักออกเสียงผิดอยู่บ่อยๆ ว่า “บี-ลอง-กิง” ที่ถูกต้องแล้วต้องออกเสียงว่า “บี-ลอง-งิง” เหมือนกับคำว่า singing นั่นเอง


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่องสัตว์ต่างๆ l พร้อมรูปและคำอ่าน l คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน


วีดีโอสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ มาพร้อมกับรูปสัตว์ คำอ่าน คำแปล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่องสัตว์ต่างๆ l พร้อมรูปและคำอ่าน l คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

ปี้(จน)ป่น – [ เอ มหาหิงค์ ] MAHAHING feat.บัว กมลทิพย์「Official MV」


ติดต่องานแสดง : 0817111059
ปี้จนป่น \” เป็นซิงเกิ้ลโปรเจ็คพิเศษ \” บทเพลง สนุกๆ จาก [ เอ มหาหิงค์ ] MAHAHING feat.บัว กมลทิพย์ ฝากกดไลค์กดแชร์ และขอบคุณที่สนับสนุนพวกเราเสมอมา ครับ มหาหิงค์ ติดตามผลงานได้ที่ เฟชบุ๊ค http://www.facebook.com/AA.Mahahing
คำร้อง / ทำนอง เอ มหาหิงค์
เรียบเรียง ยักษ์ ไอเอเรคคอร์ด
ห้องบันทึกเสียง ยักษ์ ไอเอ เรคคอร์ด
Record vocals สุเทพ หะขุนทด
Mix and mastering ภคพล กรกนก ห้องบันทึกเสียงศิลาแลง สตูดิโอ
Lyric Thefacemediastudio

Official Lyrics : https://youtu.be/47paZnK6z9c
เนื้อเพลง
แค่เธอเดินเข้ามาก็ทำให้ใจของฉันละลาย
มันละลายละลายอยากจะกลืนกินเธอทั้งตัว
เธอไม่ได้มากับใครใช่ไหม
หรือว่ายังไงเธอชอบอะไร
บอกฉันนะฉันจะหาให้เธอ
ฉันไม่ได้รวยเหมือนใคร
ไม่ได้มีเหมือนใครหรอก
แค่อยากจะบอกว่าคนอย่างฉัน
น่ะมันมีแต่รักจริง
จะไม่มีวันมาทอดมาทิ้ง
ให้เธอต้องมานั่งเสียใจ
ถึงหน้าตาไม่ดีแต่ฉันก็มีหัวใจ
หัวใจของฉันให้เธอไปจนหมด
ในชีวิตตอนนี้มีเพียงแค่เธอเท่านั้น
โปรดอย่าทิ้งขว้างกันทำให้หัวใจฉันปี้ป่น
ได้มาเจอกับเธอในวันที่ฉันไม่เหลืออะไร
เธอจะรับได้ไหมในวันที่ฉันไม่มีไรเหลือ
เศรษฐกิจไม่ดีบ้านพี่นั้นอยู่ลำบาก
ข้าวยากหมากแพงเงินทองไม่พอใช้
เธอมองกันที่ภายนอก
หรือมองกันที่ภายใน
โปรดมองกันที่ใจมองให้ถึงข้างใน
ถึงหน้าตาไม่ดีแต่ฉันก็มีหัวใจ
หัวใจของฉันให้เธอไปจนหมด
ในชีวิตตอนนี้มีเพียงแค่เธอเท่านั้น
โปรดอย่าทิ้งขว้างกันทำให้หัวใจฉันปี้ป่น…

ปี้(จน)ป่น - [ เอ มหาหิงค์ ] MAHAHING feat.บัว กมลทิพย์「Official MV」

Phonics Song 2


It’s a phonics song with a picture for each letter.
This is designed to help children learn the sounds of the letters in the English alphabet.
Written and performed by A.J.Jenkins
Copyright 2009 A.J.Jenkins/KidsTV123. All rights reserved.
This is an ORIGINAL song written in 2009 any copying is illegal.
For MP3s, worksheets and much more:
http://www.KidsTV123.com
Kids songs song for children
Chords for this song:
GDG
GDG
GDG
GDG
CDG

https://open.spotify.com/artist/0zC8dOCRSyLAqsBq99du1f
https://music.youtube.com/channel/UC0EqNhs_ejTB7_EgTZzpixA
https://music.apple.com/gb/artist/kidstv123/1439675517
https://www.amazon.com/EducationalSongsKidsTV123/dp/B07JQCMY27

Phonics Song 2

คำศัพท์ ร่างกาย ภาษาอังกฤษ Body parts


คำศัพท์ ร่างกาย ภาษาอังกฤษ Body parts
คำศัพท์ร่างกาย ภาษาอังกฤษ ศัพท์อังกฤษ

คำศัพท์ ร่างกาย ภาษาอังกฤษ Body parts

เพลง ABC : ฝึกออกเสียง A-Z Phonetics : เปรียบเทียบพยัญชนะไทยอังกฤษ : English – Thai Alphabet


500 Words\u0026Phrases ► shorturl.at/lpNP8
500 วลี ประโยคสั้น ภาษาอังกฤษ ► shorturl.at/kBJTW
500 กริยา3ช่อง:500 Verbs ► shorturl.at/bjlvS
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
Please Subscribe ► shorturl.at/lrzMV
More Videos/Languages ► shorturl.at/arvKX
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
♥ ♥ ♥ Thank you! ♥ ♥ ♥
English, Thai Learn, Thai lesson, Basic Thai, english room, learning english, english songs, english conversation, online english, learn english, learn english through story, listening english practice, conversation, english speaking, listening english, translate english to thai, english to thai, thai to english, ฺอังกฤษ, ภาษาอังกฤษ, คําศัพท์อังกฤษ, ไทย อังกฤษ, ศัพท์อังกฤษ, ภาษาอังกฤษ, ภาษา, 9ภาษา, เรียน ภาษา อังกฤษ, ไทยแลนด์, ภาษาไทย, ครูภาษาไทย, เรียน ภาษาอังกฤษเบื้องต้น, ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลี, ภาษาเกาหลี, ภาษาจีน,
https://www.youtube.com/watch?v=THWRjTEW8iY
ก ไก่ ฝึกเขียนพยัญชนะไทยสำหรับเด็ก Thai Consonants:Phonetic Alphabet:Pronunciation:Writing Practice
English ABC:
A – APPLE แอปเปิ้ล
B – BABY เด็ก
C – CANDY ลูกอม
D – DIAMOND เพชร
E – ELEPHANT ช้าง
F – FAIRY นางฟ้า
G – GLASSES แก้ว
H – HAND มือ
I – IGLOO บ้านน้ำแข็ง
J – JELLY เยลลี่
K – KEYBOARD คีย์บอร์ด
L – LADYBUG แมลงเต่าทอง
M – MONKEY ลิง
N – NEEDLE เข็ม
O – ORANGE ส้ม
P – PONY ม้า
Q – QUEEN ราชินี
R – RAINBOW สายรุ้ง
S – SPIDER แมงมุม
T – TIGER เสือ
U – UMBRELLA ร่ม
V – VIOLIN ไวโอลิน
W – WHALE ปลาวาฬ
X – XYLOPHONE ไซโลโฟน
Y – YOYO ลูกข่าง
Z – ZEBRA ม้าลาย

เพลง ABC : ฝึกออกเสียง A-Z Phonetics : เปรียบเทียบพยัญชนะไทยอังกฤษ : English - Thai Alphabet

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เสียงถอนหายใจ ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *