Skip to content
Home » [Update] อัตราค่าแรงขั้นต่ำปี 2564 ของประเทศอาเซียนเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในเอเชียและต่ำกว่าประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว | ค่าจ้างขั้นต่ํา – NATAVIGUIDES

[Update] อัตราค่าแรงขั้นต่ำปี 2564 ของประเทศอาเซียนเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในเอเชียและต่ำกว่าประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว | ค่าจ้างขั้นต่ํา – NATAVIGUIDES

ค่าจ้างขั้นต่ํา: คุณกำลังดูกระทู้

ต้นปี 2564 มานี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ก็ยังเป็นค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชีย และประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้วในภูมิภาคอื่นของโลก รวมถึงว่าในช่วงการระบาดของโควิด-19 ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศก็ไม่ได้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญ

เว็บไซต์ aseanbriefing.com ได้รวบรวมอัตราค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2564 ของประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยไม่ได้นับรวมสิงคโปร์และบรูไนดารุสซาลาม เนื่องจากไม่ได้มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้

ทั้งนี้ ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละประเทศ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและนักธุรกิจที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจแล้ว อาจจะช่วยทำให้เห็นภาพเงื่อนไขที่มาของอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ท้ายที่สุดจะช่วยส่งเสริม หรือ ไม่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่และการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานในแต่ละประเทศด้วย

ข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2564 โดยสรุปของ 8 ประเทศ มีดังนี้

ประเทศไทย – ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันอยู่ระหว่าง 313 บาท (US$10.03) ถึง 336 บาท(US$10.77) แตกต่างไปตามแต่ละจังหวัด

ลาว – ยังไม่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2561 โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับปี 2564 ยังอยู่ที่ 1.1 ล้านกีบ (US$116) ส่วนการหารือเพื่อกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้น เป็นการหารือไตรภาคีระหว่างสมาชมนายจ้าง องค์กรแรงงาน และผู้แทนจากภาครัฐ

กัมพูชา – กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมของกัมพูชา (Ministry of Labor and Vocational Training – MLVT) ออกประกาศกระทรวงฉบับที่ 33 (Prakas No. 33) กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 สำหรับแรงงานประจำ (regular workers) อยู่ที่ US$192 เพิ่มจากปี 2563 ที่ US$2 ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับแรงงานทดลองงาน (probationary workers) อยู่ที่ US$187

นอกจากนี้ แรงงานยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ได้แก่ ค่าที่พัก US$7 ต่อเดือน โบนัสการเข้างาน US$10 ต่อเดือน ค่าอาหาร US$0.5 ต่อวัน โดยแรงงานที่ทำงานเป็นปีที่ 2 ถึงปีที่ 11 จะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาและโบนัสตามความอาวุโส (seniority bonus) ระหว่าง US$2 ถึง US$11

ประกาศกระทรวงดังกล่าวยังได้กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานที่ทำงานเป็นชิ้น โดยจะจ่ายตามจำนวนสินค้า อาทิ เสื้อผ้า และรองเท้า ที่ผลิตได้

เมียนมา – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันในเมียนมาจะมีการปรับทุก 2 ปี และการหารือครั้งล่าสุด ตามกำหนดคือจะต้องเริ่มเมื่อกลางปี 2563 แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 (รวมถึงเหตุการณ์ทางการเมือง) ทำให้การหารือดังกล่าวต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

โดยหากยึดตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันตามเดิม จะอยู่ที่ 4,800 จ๊าด (US$3.07) สำหรับการทำงานเป็นเวลา 8 ชั่วโมง และตามแผนการเดิมจะมีการเสนอให้ปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 7,200 จ๊าด (US$4.62)

  • ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเวียดนาม 2564
  • ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของมาเลเซีย 2564
  • ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของอินโดนีเซีย 2564
  • ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันของฟิลิปปินส์ 2564

เวียดนาม – สภาพเศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในปี 2564 ยังคงเป็นอัตราเดิมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และจะมีการปรับอีกครั้งวันที่ 1 กรกฎาคม 2564* ทั้งนี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามยังแตกต่างกันไปตาม 4 ภูมิภาคของประเทศ โดยที่ภูมิภาคที่ 1 (พื้นที่เมืองของฮานอยและกรุงโฮจิมินห์) เป็นภูมิภาคที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนมากที่สุด ที่ 4,200,000 ดง (US$181) ขณะที่ภูมิภาคที่ 4 เป็นภูมิภาคที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุด ที่ 3,070,000 ดง (US$132)

นอกจากนี้ พนักงานที่ผ่านการอบรมวิชาชีพมาแล้วจะต้องได้รับค่าแรงอย่างน้อย 7% มากกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำของภูมิภาคนั้นด้วย

มาเลเซีย – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในเมืองหลัก 56 เมืองอยู่ที่ 1,200 ริงกิต (US$291) ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในเมืองชนบทและพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เมือง อยู่ที่ 1,100 ริงกิต (US$266) โดยคาดว่าภายในปี 2564 นี้จะมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด

อินโดนีเซีย – กระทรวงแรงงานของอินโดนีเซีย (Ministry of Manpower) ออกหนังสือเวียนเลขที่ M/11/HK.04/X/2020 เมื่อปลายเดือนตุลาคม ปี 2563 ระบุให้ในปี 2564 ยังคงอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนไว้คงเดิม เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคระบาด อย่างไรก็ดี มีจังหวัด 5 จังหวัด (จาการ์ตา ซูลาเวซีใต้ ชวากลาง ชวาตะวันออก และยอคยาการ์ต้า) จาก 34 จังหวัดที่ตัดสินใจปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับปี 2564 นี้ ซึ่งตามระเบียบของทางราชการที่ GR 78/2015 กำหนดให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นคำนวณอัตราค่าแรงขั้นต่ำเองได้ โดยมีสูตรคือ

เงินเฟ้อของประเทศ + การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ = เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ

โดยสำหรับค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับเมืองหลวงจาร์กาตานั้น อยู่ที่ 4,416,186 รูเปียห์ (US$306)

ฟิลิปปินส์ – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันประจำปี 2564 ของฟิลิปปินส์แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค โดยอยู่ระหว่าง 316 เปโซ (US$6.57) ถึง 537 เปโซ (US$11.17) ส่วนการหารือเพื่อกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้น เป็นการหารือไตรภาคีของคณะกรรมการ National Wages and Productivity Commission ซึ่งมีอยู่ประจำในทุกภูมิภาค

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ผ่านการหารือและกำหนดไว้อย่างเหมาะสมจะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG8 ด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและสิทธิแรงงาน โดยที่หากกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่ยากจนที่สุด มีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการมีนโยบายทางการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม ก็จะช่วยให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมขึ้น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศตาม #SDG10

แต่หากค่าแรงขั้นต่ำไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจแล้ว ย่อมส่งผลต่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 การขจัดความยากจน
#SDG8 การเติบโตทางเศรษฐกิจและงานที่มีคุณค่า
-(8.5) ส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
-(8.8) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานหญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศ
-(10.1) ส่งเสริมการเติบโตของรายได้ในกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่ยากจนที่สุดอย่างต่อเนื่อง ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ภายในปี 2573
-(10.4) เลือกใช้นโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มา:
Minimum Wages in ASEAN for 2021 (ASEANBriefing) – ข้อมูลล่าสุดเมื่อเมษายน 2564
Minimum wages: an introduction (ILO)

Knowledge Communication | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

[Update] เช็คค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในอาเซียน 2020 | ค่าจ้างขั้นต่ํา – NATAVIGUIDES

Sign in

Welcome!

Log into your account


ค่าจ้างขั้นต่ำ | ค่าแรงขั้นต่ำ | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ | อัตราค่าแรงขั้นต่ำ | ค่าจ้าง | ค่าแรง


ค่าจ้างขั้นต่ำ | ค่าแรงขั้นต่ำ | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ | อัตราค่าแรงขั้นต่ำ | ค่าจ้าง | ค่าแรงขั้นต่ำ2563 ค่าจ้างขั้นต่ำ2563

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ค่าจ้างขั้นต่ำ | ค่าแรงขั้นต่ำ | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ | อัตราค่าแรงขั้นต่ำ | ค่าจ้าง | ค่าแรง

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ – พ่อเป็นกรรมกร【Official Audio】


‘ก็อยู่เมืองไทย ค่าแรงรายได้ต่ำ จะทำทนทำได้ยังไง’ บทเพลงที่พี่ปู พงษ์สิทธิ์ แต่งขึ้นจากเรื่องราวชีวิตของตนเอง ที่ในช่วงหนึ่งคุณพ่อต้องเดินทางไปทำงานในต่างแดน เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว บทเพลงจากอัลบั้ม มาตามสัญญา ปี พ.ศ.2535 พ่อเป็นกรรมกร พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
Remastered by Woody Pornpitaksuk @Westside Mastering
【 เนื้อเพลง 】
ทุกครั้งที่ท้องหยุดหิว ทุกครั้งที่หิว ฉันคิดถึงพ่อ
พ่อฉันเป็นกรรมกร พ่อต้องจากจรไปแดนไกล
ต้องจากบ้านไป ไปขายแรงงาน พ่อจากบ้านไป ไปขายแรงงาน
เคยมีเพื่อนฝูงหลายคน แต่ในยามจนกลับหาย…หมด
ก็ใครเล่าใครอยากจน ใครอยากอดทนขื่นขมดวงใจ
จากบ้านห่างเมือง ไปทำไม ทุกข์กายทุกข์ใจ ไปทำไม
ก็อยู่เมืองไทย ค่าแรงรายได้ต่ำ (จะทำทนทำได้ยังไง)
ดิ้นรนกันไป สิทธิ์เสียงแทบไม่มี (เสียงของเราไม่มีความหมาย)
ก็ยิ้มสู้ไว้ เพื่อครอบครัวอยู่ดี (อยู่ดีไม่ดีอยู่เมืองไทย)
อยู่เมืองไทย อยู่เมืองไทย อยู่ดีไม่ดีอยู่เมืองไทย
ก็อยู่เมืองไทย ค่าแรงรายได้ต่ำ (จะทำทนทำได้ยังไง)
ดิ้นรนกันไป สิทธิ์เสียงแทบไม่มี (เสียงของเราไม่มีความหมาย)
ก็ยิ้มสู้ไว้ เพื่อครอบครัวอยู่ดี (อยู่ดีไม่ดีอยู่เมืองไทย)
อยู่เมืองไทย อยู่เมืองไทย อยู่ดีไม่ดีอยู่เมืองไทย
อยู่เมืองไทย อยู่ดีไม่ดีอยู่เมืองไทย
อยู่เมืองไทย อยู่ดีไม่ดีอยู่เมืองไทย
พ่อฉันเป็นกรรมกร พ่อฉันเป็นกรรมกร (หรือพ่อมีกรรมมาก่อน)
พ่อฉันเป็นกรรมกร พ่อฉันเป็นกรรมกร (หรือพ่อมีกรรมมาก่อน)
พ่อฉันเป็นกรรมกร พ่อฉันเป็นกรรมกร (หรือพ่อมีกรรมมาก่อน)
พ่อฉันเป็นกรรมกร พ่อฉันเป็นกรรมกร (หรือพ่อมีกรรมมาก่อน)
【 ช่องทางติดตามข่าวสาร ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ 】
Line ► @PuPongsitOfficial หรือ คลิก http://line.me/ti/p/%40pupongsitofficial
Facebook ► http://www.facebook.com/pupongsitofficial

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ - พ่อเป็นกรรมกร【Official Audio】

ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราค่าจ้างปี 64 กลุ่มอาชีพสายช่าง เคาะเริ่มต้น 415-675บาทต่อวัน /K thai channel


ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราค่าจ้างปี64 กลุ่มอาชีพสายช่าง เริ่มต้น 415บาท/วัน จนถึงสูงสุด 675บาท/วัน

ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราค่าจ้างปี 64 กลุ่มอาชีพสายช่าง เคาะเริ่มต้น 415-675บาทต่อวัน /K thai channel

นโยบายขึ้น \”ค่าแรงขั้นต่ำ\” = ตัวประกันหาเสียง ? | จั๊ด ซัดทุกความจริง | ข่าวช่องวัน | one31


นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 400425 บาทที่พรรคพลังประชารัฐเคยหาเสียงไว้ ล่าสุดทิศทางของพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคการเมืองชัดเจนที่จะปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 400 บาท/วัน ให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน
ข่าวดีนี้ฝ่ายลูกจ้างดีใจ แต่ฟากฝั่งนายจ้างกลับกังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่อาจทยอยปิดกิจการเหมือนที่เคยเกิดขึ้น และยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรม เพราะขณะนี้ประเทศไทยมีการขาดแคลนแรงงาน จึงขอให้รัฐบาลทบทวนบทเรียนอันแสนเจ็บปวดตอนขึ้นค่าแรง 300 บาทเมื่อปี 2555

ดูฟรี คมชัด ทั่วประเทศ
ชม Online ได้ทาง : http://www.one31.net/live
ดูย้อนหลังที่แรกทาง : http://www.one31.net
ติดตามข่าวสารจากช่อง one
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “one31” ที่ : http://www.bit.ly/one31app
Facebook : https://www.facebook.com/one31Thailand
Instagram : https://www.instagram.com/one31thailand
Twitter : https://twitter.com/onehdthailand
http://www.one31.net/live

นโยบายขึ้น \

ค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นจริงหรือ?


การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้คนเรามีเงินมากขึ้น แล้วเศรษฐกิจจะดีขึ้นจริงหรือ?

ค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นจริงหรือ?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ค่าจ้างขั้นต่ํา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *