Skip to content
Home » [Update] หลักการใช้ Conjunction ฉบับเข้าใจง่าย | การใช้ as well – NATAVIGUIDES

[Update] หลักการใช้ Conjunction ฉบับเข้าใจง่าย | การใช้ as well – NATAVIGUIDES

การใช้ as well: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

เคยสงสัยไหมครับว่าเวลาเราใช้ภาษาในการสื่อสาร ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียน เราทำให้ประโยคแต่ละประโยคเหล่านั้นมีความสัมพันธ์สอดคล้องและเป็นใจความเดียวกันได้อย่างไร หากใครสงสัย ขอให้ยกมือขึ้นและตามผมมาเลยครับ (หรือหากไม่สงสัยก็ขอให้ตามมานะครับ แฮ่ๆ)

ไม่ว่าจะภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเองก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องนำเอาคำ วลี หรือประโยคตามๆมาเรียงร้อยให้มีความสัมพันธ์กัน โดยมีคำประเภทหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม ซึ่งเราเรียกว่า คำสันธาน หรือ Conjunction นั่นเองครับ

conjunction

Conjunction สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ 3 กลุ่มด้วยกัน

1. Coordinating Conjunction

คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมคำหรือประโยคสองอันเข้าด้วยกัน โดยสองข้อความที่ถูกเชื่อมนั้นจะต้องมีน้ำหนักหรือความสำคัญเท่ากันครับ เช่น and, yet, but, for, so, nor, neither, or

  • and ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นไปในทางเดียวกัน (แปลว่า และ)

เช่น  I love you and you love me too. (ฉันรักเธอ และ เธอก็รักฉัน)

  • yet และ but ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน (แปลว่า แต่)

เช่น  My brother worked hard but he did not succeed. (พี่ชายของฉันทำงานหนัก แต่ เขาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ)

  • for ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน (โดย for จะแสดงเหตุ ส่วนตัวผมจะแปลว่าเพราะ)

เช่น  He went in, for the door was open. เขาเข้าไป เพราะ ประตูเปิดอยู่ (สังเกต for จะนำหน้าประโยคที่เป็นเหตุ)

  • so ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน (โดย so จะแสดงผล แปลว่า ดังนั้น)

เช่น  The door was open so he went in. ประตูเปิดอยู่ ดังนั้น เข้าจึงเข้าไป (สังเกต so จะนำหน้าประโยคที่เป็นผล)

  • nor และ neither ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นไปในเชิงปฏิเสธทั้งคู่ (อาจแปลได้ว่า ไม่ทั้งสองอย่าง)

เช่น  He nor I was there. เขาและฉัน ไม่ ได้อยู่ที่นี่ (มาจาก He wasn’t there and I weren’t there.)

  • or ใช้เชื่อมประโยคที่แสดงทางเลือก (แปลว่า หรือ)

เช่น  She wants to watch TV or (to) listen to some music. เธอไปดูทีวี หรือ ไปฟังเพลง ( to หน้า listen อาจละไว้ได้)

2. Subordinating Conjunction

คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคใจความรองเข้ากับประโยคใจความหลัก เช่น after, because, if, although, before, since, that, unless, until, when, as soon as

  • after (หลังจาก)

เช่น  The girl cried after the boy left. เด็กหญิงร้องไห้ หลังจาก เด็กชายจากไป

  • because (เพราะว่า)

เช่น  The boy was absent because he was ill. เด็กชายขาดเรียน เพราะว่า เขาป่วย

  • if (ถ้าหาก)

เช่น  Stay indoors if it rains. อยู่ในร่ม ถ้าหาก ฝนตก

  • although (ถึงแม้ว่า)

เช่น  Although it was cold, I went swimming. ถึงแม้ว่า จะหนาวแต่ฉันก็จะไปว่ายน้ำ

  • before (ก่อน)

เช่น  Clean the room before I go. ทำความสะอาดห้อง ก่อน ที่ฉันจะไป

  • since (ตั้งแต่)

เช่น  He has been busy since he came. เขายุ่ง ตั้งแต่ เขามา

  • that (เพราะนั่น)

เช่น  Hold it up so that everyone can see it. ชูมันขึ้น เพราะนั่น จะทำให้ทุกคนมองเห็นมัน

  • unless (เว้นแต่)

เช่น  I’ll be there at nine, unless the train is late. ฉันจะอยู่ที่นั้นตอนเก้าโมง เว้นแต่ รถไฟจะมาสาย

  • until (จนกระทั่ง)

เช่น  They did not come until the meeting was half over. พวกเค้าไม่มา จนกระทั่ง การประชุมผ่านไปเกินกว่าครึ่ง

  • when (ในขณะที่)

เช่น  He is impatient when he is kept waiting. เขาจะหงุดหงิด ในขณะที่ เขาต้องรอ

  • as soon as (ทันทีที่)

เช่น  I’ll leave for the funeral as soon as the meeting ends. ฉันจะออกจากที่นี่เพื่อไปงานศพ ทันทีที่ ประชุมเสร็จ

3. Correlative Conjunction

คือคำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ(มาคู่กันเหมือนแฝด) โดยจะทำหน้าที่คล้ายๆกับ Coordinating Conjunction คือเชื่อมประโยคที่มีความสำคัญเท่ากันครับ เช่น not only…..but also, either…..or,  as…..as,  so as to,  both…..and

  • not only…..but also (ไม่เท่านั้น…แต่อีกด้วย)

เช่น  Man needs not only food but also shelter. มนุษย์ไม่เพียงแต่ต้องการอาหารเท่านั้นยังต้องการที่พักอาศัยอีกด้วย

  • either…..or (ไม่….หรือ/ก็)

เช่น  You can either sleep or eat. คุณไม่ นอนหลับก็ กิน (ประมาณว่าเลือกได้ว่าจะนอนหรือจะกิน อะไรจะสบายขนาดนั้นว่าไหมครับ)

  • as…..as (เป็นการใช้เชื่อมประโยคที่แสดงอะไรที่เท่ากัน)

เช่น  She runs as fast as I do. เธอวิ่งเร็วเท่าฉัน (นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบใส่ไปในระหว่าง as กับ as จากตัวอย่างใส่คำว่า fast เป็นการเปรียบเทียบความเร็ว)

  • so as to (เพื่อที่จะ)

เช่น  I study hard so as to pass the exam. ฉันเรียนหนัก เพื่อที่จะ ได้สอบผ่าน (to ตามด้วยกริยาช่องที่ 1 ไม่เติม s)

  • both … and (ทั้ง…และ) 

เช่น  I enjoy both singing and dancing. ฉันมีความสุขกับการร้องเพลงและการเต้น

หากจะมานั่นไล่เรียงถึง Conjunction ทีละตัวละก็ ผมว่าเราคงต้องพูดกันจนอายุสามสิบแน่ๆครับ (แฮ่ๆ อาจจะเกินจริงไปนิด เพียงแค่ผมอยากจะบอกว่าความจริง Conjunction มีเยอะมากครับ)

เอาเป็นว่าถ้าเรารู้ว่า Conjunction คืออะไร มีกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้อย่างไร ก็น่าจะเพียงพอแล้วนะครับ ส่วนคำอื่นที่ผมไม่ได้พูดถึงถ้าเรามีโอกาสไปพบเจอก็ค่อยๆทำความรู้จักและลองนำมาใช้งานดูนะครับ

อ่านเกี่ยวกับ Grammar เพิ่มเติมได้ที่นี่

[Update] รู้จักกับ WELL Building Standard เทรนด์มาตรฐานอาคารใหม่ที่เป็นห่วงสุขภาพของผู้อาศัยอย่างแท้จริง – THE STANDARD | การใช้ as well – NATAVIGUIDES

โครงการ ANIL Sathorn 12 คือโครงการที่พักอาศัยแห่งแรกของไทยที่ผ่านการรับรอง WELL Precertified for Multifamily Residential Project, Gold Level ซึ่งการนำร่องพัฒนาอาคารโดยใช้มาตรฐาน WELL คือความตั้งใจที่จะยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)

จากสถานการณ์ฝุ่นควัน มลพิษทางอากาศ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นจนน่าใจหายในทุกวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสภาพการณ์ของภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของมนุษย์ทุกคน และยิ่งส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวันโดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลยแม้แต่น้อย 

 

วงการอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรโลกในปริมาณที่สูงมาก และบ่อยครั้งที่การก่อสร้างอาคารจะสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันมาตรฐานระดับโลกซึ่งประเมินประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากรของอาคารเพื่อให้การออกแบบอาคารคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ก็เข้ามาทำให้หลายๆ อาคารในประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีในเชิงของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น

 

แต่เพียงแค่การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป THE STANDARD ขอชวนผู้อ่านมาร่วมทำความรู้จักกับ WELL Building Standard อีกหนึ่งมาตรฐานระดับสากล เทรนด์ของอาคารยุคใหม่ที่จะยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้หันมาใส่ใจสุขภาพของผู้ใช้อาคารกันอย่างจริงจัง

 

 

WELL Building Standard มาตรฐานใหม่ที่จะตอบโจทย์สุขภาพในปัจจุบัน

เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานเสวนา WELL BUILDING STANDARD The Next Chapter of ECO-Living’s Revolution เพื่อเผยถึงเทรนด์ของอาคารยุคใหม่ที่จะตอบโจทย์ของผู้อยู่อาศัยซึ่งคำนึงถึงเรื่องสุขภาพมากขึ้น 

 

WELL Building Standard คือมาตรฐานทางสุขภาวะที่เริ่มต้นขึ้นในประเทศแคนาดา โดยภายหลังทางผู้จัดตั้งได้ร่วมมือกับกลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน LEED จากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งสถาบัน IWBI (International WELL Building Institute) เป็นมาตรฐานแรกของโลกที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพการอยู่อาศัยของผู้ใช้อาคาร เพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในปัจจุบันได้ 

 

โดยก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้ง IWBI มาตรฐานด้านสุขภาพเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ในมาตรฐานอื่นๆ อย่าง LEED หรือ ISO ซึ่งมักจะเน้นไปที่การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานของอาคาร เพื่อให้เป็นอาคารที่สามารถลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ และเพื่อให้อาคารที่ออกแบบภายใต้มาตรฐานเหล่านั้นเป็นอาคารที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่า ‘อาคารเขียว’ กันได้เป็นส่วนใหญ่ 

 

“ความจริงคือโลกเปลี่ยนไปแล้ว ถึงวันนี้เราหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มลพิษบนโลกก็ไม่ได้จะหายไปทันที เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เป็นอยู่ด้วย สิ่งที่เราต้องทำคือการทำสองสิ่งนี้ควบคู่กันไป ทั้งเพิ่มคุณภาพการอยู่อาศัยและลดปริมาณของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือก็คือการออกแบบโดยใช้มาตรฐาน WELL และ LEED ผสานกัน” 

 

รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รองประธานสถาบันอาคารเขียวไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอฟริคัส จำกัด อธิบายว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการออกแบบอาคารเขียวยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพียงแต่การเป็นอาคารเขียวอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องคำนึงถึงสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยอย่างจริงจังด้วย

 

 

มาตรฐาน 7 ด้านเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารทุกคน

WELL Building Standard มีรูปแบบการประเมินอาคารอย่างชัดเจน ภายใต้แนวคิดที่สำคัญ 7 ข้อ อันมีองค์ประกอบเบื้องต้นดังนี้

 

1. Air (อากาศ) คุณภาพของอากาศต้องบริสุทธิ์ ไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่น PM2.5 และมีความชื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย

 

2. Water (น้ำ) น้ำที่ใช้ในอาคารต้องสะอาด ปลอดภัย ต้องมีอุปกรณ์การคัดกรองที่ดี ไม่มีสารตะกั่วหรือสารพิษอื่นๆ เจือปนในระบบ

 

3. Nourishment (สาธารณูปโภค) คือการมีอาหารสดใหม่ ไร้สารพิษ มีการปรุงอย่างถูกสุขลักษณะและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 

 

4. Light (แสง) การมีแสงที่ดีต้องไม่ใช่แค่มีความสว่างในเชิงปริมาณ แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ การแยงตา และการมองเห็นสีด้วย

 

5. Fitness (การออกกำลังกาย) คือการมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้อาคาร

 

6. Comfort (สภาพแวดล้อม) สร้างสภาพแวดล้อมของการใช้งานอาคารให้มีเสียง แสง และอุณหภูมิที่ทำให้อยู่สบาย ปราศจากสิ่งรบกวน

 

7. Mind (จิตใจ) คือการเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดความผ่อนคลายสบายใจ อาจใกล้ชิดธรรมชาติหรือทำให้มีบรรยากาศที่ร่มรื่น

 

“สิ่งหนึ่งที่ดีมากของ WELL คือ Post Construction Measurements หรือการประเมินหลังการก่อสร้างที่จะเข้ามาตรวจหลังอาคารสร้างเสร็จแล้วว่าอากาศดีจริงไหม น้ำสะอาดจริงไหม แสงสว่างถูกต้องไหม เสียงดังเกินไปไหม อุณหภูมิความชื้นถูกต้องไหม ได้มาตรฐานการอยู่อาศัยหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าให้กับอาคาร” รศ.ดร.อรรจน์ เล่าถึงข้อดีของ WELL ในการประเมินทุกขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง ไปจนถึงหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ

 

อีกหนึ่งจุดเด่นของมาตรฐานนี้คือการมีตัวแปรที่สามารถวัดในเชิงปริมาณไม่ได้อย่างสภาพแวดล้อมและจิตใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การประเมินหลัก โดยการประเมินจะใช้วิธีการให้ผู้ออกแบบเขียนอธิบายที่มาที่ไปของตัวโครงการตั้งแต่จุดเริ่มต้น ความตั้งใจของผู้ออกแบบ ความพยายามในการดำเนินโครงการ พร้อมกับอธิบายแนวทางการออกแบบที่สอดคล้องกับการใช้งานอาคาร ซึ่งเป็นตัวแปรอื่นๆ ที่สามารถวัดได้จากการใช้งาน

 

 

เพิ่มคุณค่าให้กับการอยู่อาศัย ยกระดับมาตรฐานอาคารไทยไปสู่ระดับโลก 

ในมุมของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วรวรรต ศรีสอ้าน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) อธิบายถึงการตีความอาคารประเภท Luxury Condo ในรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นว่า คำว่า Luxury หรือความหรูหรานี้ไม่ใช่ราคาขายแต่อย่างใด แต่คือการได้ใช้อากาศบริสุทธิ์ การได้ใช้น้ำสะอาด หรือการได้พักผ่อนอย่างเพียงพอภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลพิษ สิ่งเหล่านี้คือความหรูหรารูปแบบใหม่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น Luxury Redefined หรือการมองความหรูหราในมุมมองใหม่

 

“เมื่อเราหันมามองการให้ความสำคัญกับผู้อยู่อาศัย เราจึงตีความคำว่า Luxury ใหม่ให้เป็นความหรูหราจากข้างใน เราต้องการให้ผู้พักอาศัยมองความหรูหราเป็นสิ่งที่เขาให้เป็นของขวัญแก่ตัวเขาเอง และ WELL Building Standard คือของขวัญนั้นที่จะทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น” 

 

นอกจากนี้การสร้างอาคารที่พักอาศัยระดับ WELL Building Standard ยังเป็นความตั้งใจที่จะใช้มาตรฐานนี้ในการยกระดับมาตรฐานของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยต้องการเห็นพัฒนาการของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทยที่สามารถไปถึงในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทั้งหมดเพื่อที่ในปลายทาง คนที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากจุดนั้นจะไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือผู้ใช้อาคารในประเทศไทยนั่นเอง

 

 

ANIL Sathorn 12 อาคารแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก WELL

จากประสบการณ์ที่ยาวนานในการสร้างอาคารโดยคำนึงถึงมาตรฐานที่จะมอบประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างที่อาจเห็นได้ในโครงการ Park Ventures อาคารประเภทอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานอาคารแรกและอาคารเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงานชั้นดีเลิศ The first LEED® Platinum Mixed-use Building in Thailand ในปี 2554 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมาตรฐาน WELL และส่งต่อไปยังบริษัทในเครืออย่าง บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด จนทำให้ในที่สุดสามารถสร้างโครงการนำร่องที่นำมาตรฐาน WELL Building Standard เข้ามาใช้จริงได้อย่างโครงการ ANIL Sathorn 12

 

รชฏ วรรณกนก อาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีบี สตูดิโอ จำกัด ผู้ออกแบบอาคารนี้ ได้ร่วมอธิบายถึงแนวทางการออกแบบที่ประกอบไปด้วยความยากมากมายเมื่อเทียบกับการออกแบบและสร้างอาคารในสมัยก่อน ทั้งการออกแบบเพื่อตอบสนองมาตรฐาน WELL Building Standard ทั้งพื้นที่ที่มีอยู่จำกัด และทั้งข้อจำกัดในเชิงของงบประมาณ

 

“เราต้องคำนึงถึงหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องงบประมาณ ฟังก์ชัน ไปจนถึงเรื่องมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LEED, WELL หรือ ADA ซึ่งคือการคำนึงถึงการใช้งานของทุกๆ คน ตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนชราและคนพิการ สิ่งเหล่านี้คือค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าไม่ได้เจ้าของที่เอาด้วยก็ไม่มีทางทำเรื่องพวกนี้ได้ ซึ่งอาคารที่ออกแบบตามมาตรฐาน WELL อย่าง ANIL Sathorn 12 คืออาคารที่มีความตั้งใจเริ่มต้นที่ดี โดยที่มีเจ้าของคอยอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดโปรเจกต์นี้ขึ้นได้”

 

 

โครงการ ANIL Sathorn 12 คือโครงการที่พักอาศัยแห่งแรกของไทยที่ผ่านการรับรอง WELL Precertified for Multifamily Residential Project, Gold Level ออกแบบโดยยึดแนวคิดสำคัญทั้ง 7 ข้อของ WELL Building Standard และนำมาทำให้เกิดขึ้นจริงในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันฝุ่นโดยใช้ประตูสองชั้นบริเวณทางเข้าเพื่อดักฝุ่นก่อนที่จะเข้าอาคาร การออกแบบให้เป็นอาคารที่หายใจได้ (Breathable Building) โดยใช้ช่องเปิดแบบ Full Height Glazing ที่เป็นหน้าต่างสูงโปร่งทั้งในส่วนล็อบบี้และห้องพัก การใช้ครีบอาคารที่สอดคล้องกับแนวคิดรีมกระดาษของโรงงานกระดาษซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมในการให้ร่มเงาและเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการใช้วัสดุธรรมชาติที่ไม่เป็นมลพิษต่อผู้อยู่อาศัย 

 

การออกแบบทั้งหมดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย เพื่อให้เกิดความหรูหราจากภายในที่เป็นแก่นแท้ เพื่อตอบรับกับความต้องการของผู้อาศัยที่เปลี่ยนไป และเพื่อให้ผู้ใช้ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์


เตือนภัยเงินไหลเข้าออก set/sectorไหนบ้าง 15-20 พ.ย. 2021


SET บวกร่วม 10 จุด หลังเราแจ้งเงินเข้า
.
ยังคงเป็นสัปดาห์ที่ตลาดออกข้างเป็นหลัก แต่เงินเข้าเรายังเจ๋ง
.
แค่กระซิบเบาๆ ก็วิ่งได้ 10 จุด!
.
มา update set/sector สัปดาห์นี้ เราจะมาเตือนภัยอะไรคุณอีก!
.
คัทก่อนวายเตือนก่อนวิ่ง
.
รับชมคลิก: https://youtu.be/mUpqCYxO3HE
.
เหล่าซือออปโป้
เหล่าซือไพลิน
เล่นพื้นฐานอ่านเทคนิค

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เตือนภัยเงินไหลเข้าออก set/sectorไหนบ้าง 15-20 พ.ย. 2021

[Order] May I take your order? Anything else? For here or to go. – English for Kids


https://www.youtube.com/user/englishsingsing9
May I take your order? I’d like two cheese burgers. (Easy Dialogue) English video for Kids English Sing sing
Here is Great Educational Songs \u0026 Animations for kids, toddlers, children, babies and EVERYONE!
Please enjoy watching fun \u0026 exciting English animation!
★ Subscribe us on YouTube: http://goo.gl/gDa963
★ More Our Dialogue: https://goo.gl/ByGXT2

Title: May I take your order?
Hi. May I take your order?
Yes. I’d like a hamburger, French fries and a Coke.
Anything else?
No, thank you. That’s it.
OK. For here or to go?
For here, please.
Hi. May I take your order?
Yes. I’d like two cheese burgers.
Anything else?
Yes, two large Cokes, please.
OK. For here or to go?
To go, please.

Thanks for checking out the \”English Singsing\”.
© Amanta Inc.

[Order] May I take your order? Anything else? For here or to go. - English for Kids

การใช้ Also, Too, As well | Tina Academy Ep.28


การใช้ Also, Too, As well
รายละเอียดคอร์สสอนภาษา https://goo.gl/ZJVvgr
Subscribe จะได้ไม่พลาดคลิปทุกๆสัปดาห์
https://www.youtube.com/tinathanchannel/
Instagram: https://www.instagram.com/tinathanchannel
Facebook: https://www.facebook.com/tinathanchannel
Line ID: https://line.me/R/ti/p/%40hxr4999x
@hxr4999x
กล้องที่ใช้: https://goo.gl/xxAi9H
ไฟที่ใช้: https://goo.gl/SFguUQ

การใช้ Also, Too, As well | Tina Academy Ep.28

A Week in My Life as a Consultant


I had more travel this week than usual, so I thought I’d vlog and show you what my work week could look like.
open up for more info! ⬇
music:
↳ broke for free: https://soundcloud.com/brokeforfree
↳ dyalla: https://soundcloud.com/dyallas
↳ lakey inspired: https://soundcloud.com/lakeyinspired
📱 follow me:
↳ instagram: https://www.instagram.com/kristinachoi/
↳ foodstagram: https://www.instagram.com/kchoieats/
↳ twitter: https://twitter.com/kristina_choi
🎥 production:
↳ iphone x
↳ canon eos m6 + 1545mm lens: http://amzn.to/2ou7OMA
↳ final cut pro x: https://www.apple.com/uk/finalcutpro/
↳ mini tripod: http://amzn.to/2r2l4uH
this is an affiliate link.

A Week in My Life as a Consultant

good กับ well ต่างกันยังไง?


Vanilla English EP.109 good กับ well ต่างกันยังไง?
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ และอย่าลืม subscribe กดกระดิ่งเป็นกำลังใจให้กี๋ด้วยนะค้าาาา แล้วเจอกันคลิปต่อๆไป เย้ๆ เจอกันค่าาาาา
LINE: https://lin.ee/A5RQK7z
Apple Podcast: Vanillaenglishchannel
SoundCloud: https://soundcloud.com/vanillaenglish357145867
Facebook: https://www.facebook.com/vanillaenglishchannel
Instagram: https://www.instagram.com/vanillaenglishchannel
Twitter: https://twitter.com/ChannelVanilla
Vanilla English Channel มาพร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เรียนอังกฤษแบบชิลๆหนุกๆ กลมกล่อมหอมหวานเหมือนวานิลลาไปกับกี๋ ผู้ใช้ภาษาอังกฤษ รับความรู้ภาษาอังกฤษ และถ่ายทอดภาษาอังกฤษมานานกว่า 20 ปี
CAMERA: PANASONIC LUMIX GH5
LENS: PANASONIC LUMIX G 1235 f2.8
EDITING PROGRAMME: Davinci Resolve \u0026 Final Cut Pro X

good กับ well ต่างกันยังไง?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การใช้ as well

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *