Skip to content
Home » [Update] หลักการใช้คอมม่า (Comma) ในภาษาอังกฤษ | เครื่องหมายคําพูด – NATAVIGUIDES

[Update] หลักการใช้คอมม่า (Comma) ในภาษาอังกฤษ | เครื่องหมายคําพูด – NATAVIGUIDES

เครื่องหมายคําพูด: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

คอมม่า (,) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้บ่อยในภาษาอังกฤษ แต่ถึงแม้จะถูกใช้บ่อย หลายๆคนก็ยังคงสับสนอยู่ดี ว่าเราควรใช้คอมม่าตอนไหนและต้องใช้อย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่สงสัย ในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหาการใช้คอมม่าในภาษาอังกฤษ มาให้เพื่อนๆได้เรียนรู้กันได้อย่างง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

Table of Contents

คอมม่าคืออะไร

คอมม่า (comma) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ ทำหน้าที่แยกคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านจับใจความได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น

ถ้าเปรียบเทียบคอมม่ากับเครื่องหมายจุด (.) ที่ใช้ปิดท้ายประโยค หรือที่เรียกว่า period เครื่องหมายทั้ง 2 ตัวนี้จะเป็นตัวบอกการเว้นจังหวะในการอ่านและพูดเหมือนกัน แต่เครื่องหมายคอมม่าจะเป็นตัวบอกจังหวะการเว้นที่สั้นกว่า

หลักการใช้คอมม่า

ใครที่มีข้อสงสัยว่าเราต้องใช้คอมม่าในกรณีไหนและต้องใช้ยังไงบ้าง ก็ไปดูหลักการใช้คอมม่าทั้ง 11 ข้อกันเลย

1. ใช้คอมม่าหน้าคำเชื่อมที่เชื่อม independent clause

Independent clause (ประโยคใจความสมบูรณ์) คือประโยคที่มีทั้งประธานและคำกริยา ตัวประโยคจะมีใจความสมบูรณ์ในตัวมันเอง เช่น

I am a student. (ฉันเป็นนักเรียน) – ถือเป็น independent clause เพราะมีทั้งประธานและคำกริยา
Feel good (รู้สึกดี) – ไม่ใช่ independent clause เพราะไม่มีประธาน
Big black cat (แมวสีดำตัวใหญ่) – ไม่ใช่ independent clause เพราะไม่มีคำกริยา

ส่วนคำเชื่อมในที่นี้จะต้องเป็น coordinating conjunction ซึ่งก็คือคำเชื่อมที่ให้น้ำหนักกับ 2 สิ่งที่ถูกเชื่อมเท่าๆกัน โดยอาจใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคก็ได้ coordinating conjunction มีทั้งหมด 7 ตัวคือ for, and, nor, but, or, yet, so (เมื่อนำอักษรแรกมาต่อกันจะได้เป็น FANBOYS ใช้ช่วยให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น)

หากเราเชื่อม independent clause 2 ประโยคด้วย coordinating conjunction เราจะต้องใช้คอมม่าหน้า coordinating conjunction

โครงสร้างการใช้

independent clause + , + coordinating conjunction + independent clause

ตัวอย่างประโยค

He didn’t speak to anyone, and nobody spoke to him.
เขาไม่ได้พูดกับใคร และก็ไม่มีใครพูดกับเขา

I wanted to stay home, but my wife wanted to go shopping.
ฉันอยากอยู่บ้าน แต่ภรรยาของฉันอยากไปช้อปปิ้ง

เราจะไม่ใช้คอมม่า ถ้าข้างหน้าหรือข้างหลัง coordinating conjunction ไม่ใช่ independent clause

She brushed her teeth and washed her face.
เธอแปรงฟันและล้างหน้า
(washed her face ไม่ใช่ independent clause)

I am not a writer but an editor.
ฉันไม่ใช่นักเขียน แต่เป็นบรรณาธิการ
(an editor ไม่ใช่ independent clause)

2. ใช้คอมม่าเมื่อขึ้นต้นประโยคด้วย dependent clause

Dependent clause คือประโยคที่มีใจความไม่สมบูรณ์ เวลาใช้จะต้องใช้ร่วมกับประโยคอื่น ในที่นี้เราจะแบ่งออกเป็น 3 กรณี

1. Participial phrase

เมื่อประโยคขึ้นต้นด้วยวลีจำพวก participial phrase ซึ่งก็คือวลีที่ขึ้นต้นด้วย v. + ing หรือ v. ช่อง 3 เราจะต้องใช้คอมม่าคั่นหลังวลีนั้น

โครงสร้างการใช้

participial phrase + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Being the only son in the family, his family have high hopes for him.
ด้วยการที่เขาเป็นลูกชายคนเดียวในครอบครัว ครอบครัวของเขาจึงตั้งความหวังกับเขาไว้สูง

Bitten by my own dog, I was very disappointed.
การโดนกัดโดยหมาของตัวเองทำให้ฉันรู้สึกผิดหวังมาก

2. Adverbial phrase

แต่ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย adverbial phrase ซึ่งก็คือวลีที่ทำหน้าที่เป็น adverb เราอาจใช้คอมม่าหรือไม่ใช้ก็ได้ (ถ้า adverbial phrase ยาว หรือเราต้องการเน้น adverbial phrase นั้น เราจะนิยมใช้คอมม่า)

ตัวอย่าง adverbial phrase เช่น
At 6 o’clock
After the show
In the middle of Bangkok

โครงสร้างการใช้

adverbial phrase + (,) + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

In 2020 there is a pandemic affecting the world.
ในปี 2020 มีโรคระบาดที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

When I was six, I lived in Chiang Mai with my mom.
ตอนฉันอายุหกขวบ ฉันอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่กับแม่ของฉัน

3. Sentence adverb

ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย sentence adverb ซึ่งก็คือคำจำพวก adverb ที่ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยค เราจะใช้คอมม่าคั่นหลัง sentence adverb นั้น

โครงสร้างการใช้

sentence adverb + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Honestly, I am not angry.
ตรงๆเลยนะ ฉันไม่ได้โกรธ

Clearly, this plan isn’t working.
เห็นได้ชัดว่าแผนนี้ใช้ไม่ได้ผล

3. ใช้คอมม่าคั่นวลีหรือคำกลางประโยคที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

เราจะใช้คอมม่าคั่นวลีหรือคำที่อยู่กลางประโยค ถ้าวลีหรือคำนั้นทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ไม่ได้จำเป็นสำหรับประโยค (แม้ตัดออกไป ใจความหลักของประโยคก็ยังเหมือนเดิม)

โครงสร้างการใช้

ประโยคส่วนที่ 1 + , + วลี/คำที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม + , + ประโยคส่วนที่ 2

ตัวอย่างประโยค

Tim, unlike Joe, is very polite.
ทิมเป็นคนสุภาพมาก ไม่เหมือนกับโจ

King Crab restaurant, which Anne recommended, is fantastic.
ร้านอาหารคิงแครบที่แอนแนะนำนั้นดีมาก

แต่ถ้าวลีหรือคำนั้นจำเป็นสำหรับประโยค ถ้าตัดออกแล้วใจความเปลี่ยน เราก็จะไม่ใช้คอมม่า

People who exercise regularly tend to be more happy.
คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอมักจะมีความสุขมากกว่า
(ถ้าตัด who exercise regularly ทิ้ง ความหมายจะเปลี่ยนเป็น “คนจะมีความสุขมากกว่า” ซึ่งมีใจความผิดไปจากเดิม)

The restaurant that Anne recommended is fantastic.
ร้านอาหารที่แอนแนะนำนั้นดีมาก
(ถ้าตัด that Anne recommended ทิ้ง ความหมายจะเปลี่ยนเป็น “ร้านอาหารดีมาก” ซึ่งมีใจความผิดไปจากเดิม คือเราจะไม่รู้ว่าหมายถึงร้านไหน)

วลีที่ขึ้นต้นด้วย that มักจะจำเป็นสำหรับประโยค เรามักจะไม่ใช้คอมม่าครอบส่วนนั้น

4. ใช้คอมม่าแยกรายการคำตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป

ถ้าเรามีรายการคำตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป เราจะต้องคั่นแต่ละรายการด้วยคอมม่า ยกเว้นรายการสุดท้าย เราจะคั่นด้วยคอมม่าหรือไม่ก็ได้

โครงสร้างการใช้

รายการหนึ่ง, รายการสอง(,) and รายการสุดท้าย

ตัวอย่างประโยค

He is tall, dark, and handsome.
หรือ He is tall, dark and handsome.
เขาทั้งสูง เข้ม และหล่อ

She needs salt, pepper, and other seasonings at the grocery store.
หรือ She needs salt, pepper and other seasonings at the grocery store.
เธอต้องการเกลือ พริกไทย และเครื่องปรุงอย่างอื่นที่ร้านขายของ

5. ใช้คอมม่าคั่นระหว่าง coordinate adjectives

Coordinate adjectives คือคำคุณศัพท์ที่ขยายคำนามคำเดียวกันและมีความสำคัญเท่าๆกัน สามารถสลับที่กันได้ ตัวอย่างเช่น

เราสามารถใช้ได้ทั้ง long, narrow path
และ narrow, long path
คำว่า long และ narrow ในที่นี้จะถือเป็น coordinate adjectives

เราสามารถใช้ big black bear
แต่ไม่สามารถใช้ black big bear
คำว่า big และ black ไม่ถือเป็น coordinate adjectives (การใช้ adjective ขนาดจะต้องมาก่อนสี)

โครงสร้างการใช้

coordinate adjective 1 + , + coordinate adjective 2 + คำนาม

ตัวอย่างประโยค

The happy, lively cat is playing with the ball.
แมวที่มีความสุขสดใสกำลังเล่นกับลูกบอล

My roommate is a cheerful, kind girl.
รูมเมทของฉันเป็นเด็กผู้หญิงที่ร่าเริงและใจดี

ทั้งนี้ เราสามารถใช้ and เชื่อมระหว่าง coordinate adjectives แทนคอมม่าก็ได้เช่นกัน อย่างเช่น My roommate is a cheerful and kind girl.

6. ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำพูดกับวลีที่กำกับ

ในภาษาอังกฤษ เวลาเราเขียนประโยคที่เป็นคำพูด เราจะใช้เครื่องหมาย “-” ครอบประโยคคำพูดนั้น อย่างเช่น Anne said, “I feel sick.” ซึ่งแปลว่า แอนพูดว่า “ฉันรู้สึกป่วย”

สังเกตว่า เราจะใช้คอมม่าคั่นระหว่างวลีที่เข้ามากำกับ ซึ่งก็คือ Anne said และประโยคที่เป็นคำพูด ซึ่งก็คือ “I feel sick.”

ทั้งนี้ วลีที่กำกับนั้นอาจจะอยู่หน้า อยู่กึ่งกลาง หรืออยู่หลังประโยคที่เป็นคำพูดก็ได้

โครงสร้างการใช้

  • วลีกำกับ, “ประโยคคำพูด”
  • “ประโยคคำพูด,” วลีกำกับ, “ประโยคคำพูด”
  • “ประโยคคำพูด,” วลีกำกับ

ตัวอย่างประโยค

He answered, “She is not here.”
เขาตอบ “เธอไม่ได้อยู่ที่นี่”

“I think,” she said, “Joe can help.”
“ฉันคิดว่า” เธอพูด “โจสามารถช่วยได้”

“It is raining,” Tim said.
“ฝนกำลังตก” ทิมพูด

ในกรณีที่วลีกำกับอยู่ข้างหลังประโยคคำพูด ถ้าประโยคคำพูดลงท้ายด้วยเครื่องหมายตกใจ (!) หรือเครื่องหมายคำถาม (?) เราจะไม่ต้องใช้คอมม่า

“Stop playing video game!” mom yelled.
“หยุดเล่นเกมได้แล้ว” แม่ตวาด

“Are you alright?” Ben asked.
“คุณโอเคมั้ย” เบ็นถาม

บางคนอาจสงสัยว่า เราต้องใส่คอมม่าไว้ในหรือนอกเครื่องหมาย “-” ทำไมบางทีเห็นแต่ละที่ใช้ไม่เหมือนกัน

คำตอบก็คือถ้าเป็น American English จะนิยมเอาไว้ข้างใน เช่น “It is raining,” Tim said. แต่ถ้าเป็น British English จะนิยมเอาไว้ข้างนอก เช่น “It is raining”, Tim said.

7. ใช้คอมม่าในการแยกวันที่และสถานที่

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างวันและปีเมื่อเราเขียนวันที่ในรูปแบบ เดือน-วันที่-ปี แต่ถ้าเราเขียนในรูปแบบ วันที่-เดือน-ปี เราจะไม่ต้องใช้คอมม่า

โครงสร้างการใช้

เดือน วันที่, ปี

ตัวอย่างประโยค

She was born on December 10, 1995.
เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1995

She was born on 10 December 1995.
เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1995

และใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำบอกสถานที่ที่ต่างกัน เช่น เมือง จังหวัด รัฐ ประเทศ

โครงสร้างการใช้

  • ชื่อตำบล, ชื่อเขต, ชื่อจังหวัด, ชื่อประเทศ
  • ชื่อเมือง, ชื่อรัฐ, ชื่อประเทศ

ตัวอย่างประโยค

I live in Bangkok, Thailand.
ฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

He came from Chicago, Illinois.
เขามาจากเมืองชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์

8. ใช้คอมม่าหน้า question tag

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างประโยคหลักกับ question tag

โครงสร้างการใช้

ประโยคหลัก + , + question tag

ตัวอย่างประโยค

These flowers are beautiful, aren’t they?
ดอกไม้เหล่านี้สวยมาก ว่ามั้ย

You didn’t forget the key, did you?
คุณไม่ได้ลืมกุญแจใช่มั้ย

9. ใช้คอมม่าเมื่อเรียกบุคคลโดยตรง

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำเรียกบุคคลอื่นกับส่วนอื่นของประโยค เมื่อเราเรียกบุคคลนั้นโดยตรง

โครงสร้างการใช้

  • ประโยคหลัก + , + คำเรียกบุคคล
  • คำเรียกบุคคล + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Dad, where are you?
พ่ออยู่ไหน

See you later, John.
ไว้เจอกันใหม่นะจอห์น

10. ใช้คอมม่าหลังคำขึ้นต้นประโยค

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำขึ้นต้นประโยคกับประโยคหลัก อย่างเช่น คำทักทาย yes/no

โครงสร้างการใช้

  • คำทักทาย + , + ประโยคหลัก
  • yes/no + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Hello, how is it going?
สวัสดี เป็นยังไงบ้าง

Yes, I live by myself.
ใช่ ฉันอยู่คนเดียว

11. ใช้คอมม่าเพื่อป้องกันการสับสน

เราจะใช้คอมม่าในประโยคที่อาจก่อให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ถูกต้องมากขึ้น

ตัวอย่างประโยค

I waved at my friend who entered the canteen, and smiled.
ฉันโบกมือให้เพื่อนที่เข้ามาในโรงอาหาร และยิ้มให้เค้า
(คอมม่าทำให้เรารู้ว่าฉันเป็นคนยิ้ม ไม่ใช่เพื่อนยิ้ม)

เป็นยังไงบ้างครับกับหลักการใช้เครื่องหมายคอมม่า (comma) ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[Update] Python Strings ข้อมูลชนิดสตริงในภาษาไพธอน | เครื่องหมายคําพูด – NATAVIGUIDES

Python Strings ข้อมูลชนิดสตริงในภาษาไพธอน

Python Strings ข้อมูลชนิดสตริงในภาษาไพธอน

Python Strings ข้อมูลชนิดสตริงหรือสายอักขระในภาษาไพธอน สามารถกำหนดด้วยเครื่องหมาย single quotation ( ‘ ‘ ) หรือ double quotation ( ” ” ) ก็ได้ จะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน เช่น ‘Hello World.’ หรือ “Hello World.”

และเราสามารถแสดงค่าของสตริงออกมาโดยการใชัฟังก์ชัน print() ดังตัวอย่าง

print('Hello World.')
print("This is string")

การกำหนดค่าข้อมูลประเภท String ให้กับตัวแปร

เราสามารถกำหนดค่าข้อมูลชนิด String ให้กับตัวแปรได้โดยการสร้างตัวแปรขึ้นมา ตามด้วยเครื่องหมาย = และข้อความที่ต้องการกำหนดให้ตัวแปร ซึ่งต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย ‘ ‘ หรือ ” “

a = 'Hello World.'
b = "This is string"
print(a)
print(b)

การกำหนดค่าข้อมูลประเภท String แบบหลายบรรทัดให้กับตัวแปร

เราสามารถกำหนดค่าข้อมูลประเภทส String แบบหลายบรรทัดให้กับตัวแปร โดยการใช้เครื่องหมาย three quotes ( “”” “”” ) คือเปิดด้วยเครื่องหมายดับเบิ้ลโควท 3 อัน “”” ตามด้วยข้อความแบบหลายบรรทัด แล้วปิดด้วยเครื่องหมายดับเบิ้ลโควท 3 อันอีกที “”” โดยลักษณะการใช้งานจะเป็นดังนี้

x = """Line 1,
Line 2,
Line 3,
Line 4,
Line 5"""
print(x)

หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายซิงเกิ้ลโควทครอบแทนก็ได้ เช่น ”’ข้อความที่ต้องการกำหนด”’

x = '''Line 1,
Line 2,
Line 3,
Line 4,
Line 5'''
print(x)

สตริงก็คืออาเรย์ Strings are Arrays

ข้อมูลชนิด String ในภาษาไพธอน ก็คืออาเรย์ประเภทหนึ่ง เช่น เมื่อเรากำหนดค่าเป็น “ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ” ข้อมูลที่เรากำหนดไปถือว่าเป็นอาเรย์ และเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยการใช้เครื่องหมาย Square brackets [] เหมือนการเข้าถึงข้อมูลในอาเรย์ตามปกติ โดยการนับอินเด็กซ์ในอาเรย์จะเริ่มจากลำดับที่ 0 1 2 3 ไปเรื่อย ๆ เข่น

x = "ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ"
print(x[0])
print(x[25])
  • บรรทัดที่ 1 เราสร้างตัวแปร x ขึ้นมา แล้วกำหนดค่าให้เป็นสตริง “ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ” ตัวแปร x จะกลายเป็นข้อมูลชนิดอาเรย์โดยอัตโนมัติ
  • บรรทัดที่ 2 ใช้คำสั่ง print() เพื่อให้แสดงค่าในตัวแปร x โดยอ้างอิงอินเด็กซ์ลำดับที่ 0 จะได้ข้อมูลตัวแรกในอาเรย์ x นั่นก็คือตัวอักษร A
  • บรรทัดที่ 3 ใช้คำสั่ง print() เพื่อให้แสดงค่าในตัวแปร x โดยอ้างอิงอินเด็กซ์ลำดับที่ 25 จะได้ข้อมูลตัวสุดท้ายในอาเรย์ x นั่นก็คือตัวอักษร Z

Slicing เข้าถึงข้อมูลในสตริงแบบกำหนดช่วงข้อมูล

เราสามารถเข้าถึงข้อมูลใน String โดยการกำหนดช่วงข้อมูลได้ โดยการใช้ slice syntax ก็คือการเข้าถึงอักขระในสตริงแบบอาเรย์เหมือนในหัวข้อก่อนหน้านี้ แต่เราจะกำหนดอินเด็กซ์เริ่มต้น คั่นด้วยเครื่องหมายโคลอน (:) ตามด้วยอินเด็กซ์สิ้นสุด เช่น x[1:10] เราจะได้ข้อมูลลำดับที่ 1 ถึงลำดับที่ 10-1 ดังตัวอย่าง

x = "ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ"
print(x[1:10])
  • บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x ขึ้นมา แล้วกำหนดค่าให้เป็นสตริง “ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ”
  • บรรทัดที่ 2 สั่งให้แสดงค่าในตัวแปร x โดยกำหนดช่วงข้อมูลลำดับที่ 1 ถึงลำดับที่ 10 โดยข้อมูลที่เราจะได้ ตัวแรกคือตัวอักษรลำดับที่ 1 นั่นคือตัวอักษร B (ไม่ใช่ A เพราะอินเด็กซ์เริ่มจาก 0) ตัวสุดท้ายคือตัวอักษรลำดับที่ 10-1 นั่นคือลำดับที่ 9 ได้แก่ตัวอักษร J ดังนั้น ข้อมูลที่เราจะได้จากคำสั่งนี้ก็คือ BCDEFGHIJ

Negative Indexing เข้าถึงข้อมูลโดยอินเด็กซ์ที่ติดลบ

เราสามารถเข้าด้วยข้อมูลในสตริงอาเรย์โดยใช้ slice syntax ด้วยการระบุช่วงข้อมูลด้วยตัวเลขอินเด็กซ์ที่ติดลบได้ จะเป็นการเริ่มนับอินเด็กซ์จากอักขระตัวสุดท้าย ตัวอย่างเช่น

x = "ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ"
print(x[-7:-1])
  • บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x ขึ้นมา แล้วกำหนดค่าให้เป็นสตริง “ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ”
  • บรรทัดที่ 2 เข้าถึงข้อมูลในสตริงแบบ slice syntax โดยระบุค่าอินเด็กซ์ติดลบ ในตัวอย่างระบุค่าเริ่มต้นเป็น -7 (หมายถึง ตัวอักขระตัวที่ 7 นับมาจากตัวสุดท้าย นั่นคือตัว T) และระบุค่าสิ้นสุดเป็น -1 (หมายถึง ตัวอักขระตัวที่ 1 นับจากตัวสุดท้าย (เริ่มที่ 0) นั่นคือตัว Y)

ผลลัพธ์

String Length ความยาวของสตริง

เราสามารถดึงค่าความยาวของสตริงได้โดยการใช้ฟังก์ชัน len() โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้

  • len(“string”) หรือ
  • len(variable)

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน len()

x = "ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ"
print(len("ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ"))
print(len(x))

String Methods เมธอดของสตริง

ในภาษาไพธอน มี built-in methods ของข้อมูลประเภทสตริงให้เราใช้งานจำนวนมาก เช่น

  • เมธอด strip() สำหรับตัดช่องว่าง whitespace ด้านหน้าและด้านหลังสตริง
  • เมธอด lower() สำหรับแปลงอักขระภาษาอังกฤษให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก
  • เมธอด upper() สำหรับแปลงอักขระภาษาอังกฤษให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่

เมธอดของสตริงในภาษาไพธอนยังมีอีกมาก นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้น

การตรวจสอบสตริงด้วยคีย์เวิร์ด in และ not in

เราสามารถตรวจสอบได้ว่า ในสตริงมีตัวอักขระหรือข้อความบางข้อความในสตริงนั้นหรือไม่ โดยใช้คีเวิร์ด in หรือ not in โดย

  • คีย์เวิร์ด in ใช้ตรวจสอบว่ามีคำที่ต้องการอยู่ในตัวแปรหรือไม่
  • คีย์เวิร์ด not in ใช้ตรวจสอบว่า ไม่มีคำที่ต้องการอยู่ในตัวแปรใช่หรือไม่

โดยจะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็น True หรือ False ดังตัวอย่าง

x = "I am python programmer."
r = "python" in x
print(r)
m = "Python" in x
print(m)
n = "Python" not in x
print(n)
  • บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x และกำหนดค่าเป็นสตริง
  • บรรทัดที่ 2 ใช้คีย์เวิร์ด in ตรวจสอบว่ามีคำว่า “python” อยู่ในตัวแปร x หรือไม่
  • บรรทัดที่ 3 แสดงผลออกมาทางหน้าจอ ผลลัพธ์จะเป็น True เพราะมีคำว่า “python” อยู่ในตัวแปร x จริง
  • บรรทัดที่ 4 ใช้คีย์เวิร์ด in ตรวจสอบว่า มีคำว่า “Python” อยู่ในตัวแปร x หรือไม่
  • บรรทัดที่ 5 แสดงผลออกมา โดยผลลัพธ์จะเป็น False เพราะไม่มีคำว่า “Python” อยู่ในตัวแปร x จริง (ตัวพิมพ์เล็กกับตัวพิมพ์ใหญ่ถือเป็นคนละตัวกัน)
  • บรรทัดที่ 6 ใช้คีย์เวิร์ด not in ตรวจสอบว่า ไม่มีคำว่า “Python” อยู่ในตัวแปร x ใช่หรือไม่
  • บรรทัดที่ 7 แสดงผลออกมา โดยผลลัพธ์จะเป็น True เพราะไม่มีคำว่า “Python” อยู่ในตัวแปร x จริงๆ

String Concatenation การต่อสตริงหลาย ๆ สตริงเข้าด้วยกัน

เราสามารถต่อสตริงหลาย ๆ สตริงเข้าด้วยกันได้โดยการใช้เครื่องหมาย + โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้

x = "www."
y = "dcrub"
z = ".com"
print(x + y + z)

ผลลัพธ์

String Format แทรกค่าจากตัวแปรอื่น ๆ เข้าไปในสตริง

โดยปกติ เราไม่สามารถนำข้อมูลชนิดสตริงกับข้อมูลชนิดตัวเลขมาต่อกันด้วยเครื่องหมาย + ได้ เพราะจะทำให้เกิด Error แต่เราสามารถใช้เมธอด format() แทรกข้อมูลชนิดตัวเลขเข้าไปในสตริงได้ โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้

  • แทรกเครื่องหมายวงเล็บปีกกาเข้าไปในสตริง ณ จุดที่ต้องการแทรกค่าตัวแปรอื่น ๆ เช่น “Price of this product is {}” (แทรก {} ไว้หลังคำว่า is เพื่อจะนำราคามาใส่ทีหลัง)
  • ใช้เมธอด format() สำหรับแทรกค่าจากตัวแปรอื่นเข้าไปในสตริงต้นทาง จะมีรูปแบบเป็น str.format(v) เมื่อ str คือตัวแปรชนิดสตริง และ v คือตัวแปรที่เก็บค่าตัวเลขที่เป็นราคาสินค้า

ตัวอย่างการใช้งานเมธอด format()

price = 4000
str = "Price of this product is {}"
print(str.format(price))
  • บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร price เพื่อเก็บราคาสินค้า
  • บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร str เพื่อเก็บข้อความ พร้อมทั้งแทรกเครื่องหมาย {} สำหรับรับค่าจากตัวแปร price มาใช้งาน
  • บรรทัดที่ 3 เรียกใชัเมธอด format() เพื่อแทรกค่าจากตัวแปร price เข้าไปในสตริงต้นทาง

ผลลัพธ์

เมธอด format() สามารถรับอากิวเมนต์ได้ไม่จำกัด นั่นก็หมายความว่า เราสามารถแทรกค่าเข้าไปในสตริงด้วยเมธอด format() อย่างไม่จำกัดจำนวน

ที่สำคัญคือ เราแทรกเครื่องหมาย {} เข้าไปในสตริงต้นทางกี่จุด เราต้องกำหนดอากิวเมนต์ให้เมธอด format() เป็นจำนวนเท่ากัน ดังตัวอย่าง

age = 35
year = 1985
str = "I am {} years old, I was born on {}"
print(str.format(age, year))

ในตัวอย่าง เราแทรกเครื่องหมาย {} เข้าไปในสตริงต้นทาง 2 จุด และเรียกใช้เมธอด format() โดยระบุอากิวเมนต์ 2 ตัว ผลลัพธ์จะเป็นดังนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัวร์ เราสามารถระบุอินเด็กซ์ไว้ในเครื่องหมาย {} เพื่อกำหนดให้ชัดลงไปเลยว่า ตรงนี้ให้นำอากิวเมนต์ตัวที่เท่านี้มาแทรก โดยตัวเลขระบุอินเด็กซ์จะเริ่มจากเลข 0 ดังตัวอย่าง

age = 35
year = 1985
str = "I am {0} years old, I was born on {1}"
print(str.format(age, year))

จากตัวอย่าง เรากำหนดตัวเลขอินเด็กซ์ไว้ในเครื่องหมาย {} เพื่อระบุว่าให้นำอากิวเมนต์ตามเลขลำดับนี้มาแทรกในสตริง โดยตัวเลขอินเด็กซ์จะอ้างอิงตามอากิวเมนต์ที่เราระบุไว้ในเมธอด format เช่น str.format(age, year) ในที่นี้ age คืออากิวเมนต์ลำดับที่ 0 และ year คืออากิวเมนต์ลำดับที่ 1 ตามลำดับ

ผลลัพธ์

และเราสามารถแทรกตัวเลขอินเด็กซ์ในสตริงสับลำดับกับก็ได้ เช่น

age = 35
year = 1985
str = "I was born on {1}, Now I am {0} years old."
print(str.format(age, year))

ผลลัพธ์

Escape Character การแทรกอักขระพิเศษในสตริง

บางทีเราต้องการแทรกอักขระพิเศษในสตริง เช่น เครื่องหมาย “” เครื่องหมาย ” เครื่องหมาย \ เป็นต้น ถ้าเราแทรกอักขระเหล่านี้ลงไปตรง ๆ จะเกิด Error ขึ้นทันที

อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหาย่อมมีทางออก เราสามารถแทรกอักขระพิเศษเหล่านั้นเข้าไปในสตริงได้โดยการทางเครื่องหมาย backslash (\) ไว้ด้านหน้า แล้วตามด้วยอักขระพิเศษเหล่านั้น เช่น ถ้าต้องการแทรกเครื่องหมาย ” ก็ให้วาง backslash ไว้ก่อน แล้วค่อยตามด้วย ” ซึ่งจะเป็นดังนี้ \”

ตัวอย่างการใช้งาน Escape Character

str = "He said that \"I\'m python programmer\""
print(str)

ในตัวอย่าง เราวางเครื่องหมาย \ ไว้ด้านหน้าเครื่องหมาย ” และเครื่องหมาย ‘ ที่อยู่ภายในสตริง ทำให้เครื่องหมายดังกล่าวสามารถแสดงผลภายในสตริงได้ ดังผลลัพธ์

อักขระพิเศษอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้ในภาษาไพธอน

โค้ดผลลัพธ์\’เครื่องหมาย ‘\”เครื่องหมาย “\\เครื่องหมาย \\nขึ้นบรรทัดใหม่ New Line\rขึ้นบรรทัดใหม่ Carriage Return \tแท็บ\b Backspace \f Form Feed \oooเลขฐานแปด\xhhเลขฐานสิบหก

เมธอดของสตริง

ข้อมูลประเภทสตริงในไพธอน มีเมธอดต่าง ๆ ให้ใช้งานดังนี้


มอร์สไทย : 28 คำ/นาที : เวลา


คุณไม่อาจดึงเวลาที่สูญเสียไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ บางครั้งการลบใครบางคนออกไปจากชีวิต ก็ทำให้เรามีที่ว่างสำหรับคนที่ดีกว่า อย่าปล่อยให้ความสุขของคนอื่น สำคัญมากไปกว่าความสุขของตัวเราเอง บางครั้ง คนเราก็ต้องเจอกับวันที่เลวร้ายบ้าง เพราะมันช่วยให้เราเห็นคุณค่าของวันดี ๆ ในชีวิต อย่าพยายามทำความเข้าใจกับทุกอย่างในชีวิต เพราะบางอย่างก็ไม่ได้เกิดขึ้นให้เราทำความเข้าใจ แต่ให้เรายอมรับมันเท่านั้น สิ่งเดียวที่คนเราต้องการคือ “ความรัก” จงรักคนที่เขารักคุณ ไม่ใช่เพราะวิธีคิดแตกต่าง แต่เพราะตัวตนฉันเป็นแบบนี้ ทุกเรื่องราวล้วนสวยงาม แต่เรื่องราวของเราคือเรื่องโปรดของฉัน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

มอร์สไทย : 28 คำ/นาที : เวลา

กระดิ่งวิเศษ | นิทานก่อนนอน | Thai Fairy Tales


กระดิ่งวิเศษ | The Magic Bell Story in Thai | นิทานก่อนนอน | นิทาน | นิทานไทย | นิทานอีสป | การ์ตูน | 4K UHD | Thai Fairy Tales
Watch Children’s Stories in English on our English Fairy Tales Channel : http://www.youtube.com/c/EnglishFairyTales
Top 25 stories Play List
https://www.youtube.com/playlist?list=PLxc3aXYiyRbCs_t7LTcMYONDxRtcbp6R
💙 ชมวิดีโอเพิ่มเติม 💙 Watch More Videos in Thai 💙
► ราพันเซล Rapunzel in Thai https://youtu.be/wv7vDU7WhpU
► ทัมเบลินา Thumbelina in Thai https://youtu.be/OdlxdTQST9E
► แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ Jack and the Beanstalk in Thai https://youtu.be/cFYYeWuFBoA
► ไฮดี้ Heidi in Thai https://youtu.be/FxrEPqQFcfk
► เจ้าหญิงนิทรา Sleeping Beauty in Thai https://youtu.be/TeZGebqXM2c
► โกลด์ดิล็อคกับหมีสามตัว Goldilocks and the Three Bears in Thai https://youtu.be/zqPISWt0COM
► หนูเมืองและหนูชนบท Town mouse and Country mouse in Thai https://youtu.be/z2ajdjmdf1Q
► มนุษย์ขนมปังขิง The Gingerbread Man in Thai https://youtu.be/4O07gGvcJXM
► ราชสีห์กับหนู Lion and the Mouse in Thai https://youtu.be/YiEQlbxbWfY
► ไก่แดงแสนขยัน The Little Red Hen in Thai https://youtu.be/_BAfybiLOw
► โฉมงามกับเจ้าชายอสูร Beauty and the Beast in Thai https://youtu.be/Rz9HCGmAbSs
► หนูน้อยหมวกแดง Little Red Riding Hood in Thai https://youtu.be/9ewYk4C1W1I
► ลิตเติ้ล เมอร์เมด – The Little Mermaid in Thai https://youtu.be/3ADF5NHTns
► สองสหายกับหมี The Bear and Two Friends in Thai https://youtu.be/Jp0Spku2oPo
► สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด Snow White And The Seven Drwafts in Thai https://youtu.be/pXUnHZiYEPY
► รัมเพลสติลสกิน Rumpelstiltskin in Thai https://youtu.be/vZBJg8nQAys
► ลูกเป็ดขี้เหร่ The ugly duckling in Thai https://youtu.be/AhkakdxFTgQ
► เจ้าชายกบ Frog prince in Thai https://youtu.be/xmwH5ZL0hrw
► ซินเดอเรลล่า Cinderella in Thai https://youtu.be/O6m9VNwML1E
► ฮันเซล และ เกรเทล Hansel and Gretel in Thai https://youtu.be/eSr2F3BWCR8 OfficialThaiFairyTales

Thaitales, Thai, newtalesinThailanguage, childrenstories, newchildrenstoriesinThailanguage, cartoonstories, latestThaistories, bestchildrenstoriesinThailanguage, newchildrenstories, bedtimestories, Thaibedtimestories, childrenstoriesThai, storytelling, cartoons,
Parental guidance: Some material of this video may not be suitable for children’s Below 13 year’s of age.
Disclaimer ►
The Thai Fairy Tales Channel and all of its videos are not “directed to children” within the meaning of Title 16 C.F.R. § 312.2 of CHILDREN’S ONLINE PRIVACY PROTECTION ACT (USA) are not intended for children under 13 years of age. Thai Fairy Tales CHANNEL and its owner(s), agents, representatives, and employees do not collect any information from children under 13 years of age and expressly deny permission to any third party seeking to collect information from children under 13 years of age on behalf of Thai Fairy Tales CHANNEL. Further, Thai Fairy Tales CHANNEL denies any and all liability or responsibility for the practices and policies of YouTube and its agents and subsidiaries, or any other affiliated third party, regarding data collection. WingsTFT

กระดิ่งวิเศษ | นิทานก่อนนอน | Thai Fairy Tales

LABANOON – คำพูด (เกินจริง) จากหัวใจ


เพลงพิเศษ ของนอกกาย เมธี Labanoon (สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย)
http://www.youtube.com/watch?v=7IDaZs2a4Jk\u0026feature=youtu.be
เพลงพิเศษ ของนอกกาย เมธี Labanoon (สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย)MV
http://www.youtube.com/watch?v=Ukux16YSDR0\u0026feature=youtu.be
ติดตามได้ที่ http://www.facebook.com/labanoon
ดาวน์โหลด เพลง ศิลปิน \”ลาบานูน\” อัลบั้ม \”Keep Rocking\”
\”กด 492278 โทรออก รหัส 38\” [ค่าบริการ นาทีละ 5 บาท (ไม่รวมค่าโหลด)
เพลง : คำพูดเกินจริงจากหัวใจ
ศิลปิน : Labanoon
อัลบั้ม : Keep Rocking

LABANOON - คำพูด (เกินจริง) จากหัวใจ

มอร์ไทย : 28 คำ/นาที : ทุกๆ วัน


ทุกๆ วันใหม่ เป็นอีกโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต ไม่มีคำว่าสาย สำหรับการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง อย่าปล่อยให้ความฝันของคุณ เป็นเพียงแค่ฝัน อย่าละทิ้งความฝันของคุณ การเตรียมตัวที่ดีที่สุดสำหรับวันพรุ่งนี้ คือการทำวันนี้ให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเจ็บปวดสักเพียงใด คุณต้องเชิดหน้าขึ้นเอาไว้ และก้าวต่อไป ความกังวลไม่ได้หยุดเรื่องเลวร้ายไม่ให้เกิดขึ้น มันเพียงแค่หยุดคุณจากการมีความสุขกับเรื่องดีๆ ฉันรู้ว่าฉันไม่ได้ดีที่สุด แต่ฉันพยายามทำให้ดีที่สุด โกหกฉันเพียงแค่ครั้งเดียว มันก็จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีก หนทางเดียวที่จะทำงานให้ดีเยี่ยม ก็คือรักในสิ่งที่คุณทำ

มอร์ไทย : 28 คำ/นาที : ทุกๆ วัน

How to Use Speech Marks


Informative and entertaining look at how to use speech marks in the English language. Great as a plenary, introduction or revision tool.

How to Use Speech Marks

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เครื่องหมายคําพูด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *