Skip to content
Home » [Update] หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋ว :: บล็อกของ phyblas ;囧; いつか見えた空 ~ φυβλαςのブログ | นั ท ภาษา อังกฤษ เขียน ยัง ไง – NATAVIGUIDES

[Update] หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋ว :: บล็อกของ phyblas ;囧; いつか見えた空 ~ φυβλαςのブログ | นั ท ภาษา อังกฤษ เขียน ยัง ไง – NATAVIGUIDES

นั ท ภาษา อังกฤษ เขียน ยัง ไง: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ก่อนหน้านี้ได้เขียนหลักการทับศัพท์ภาษาจีนกลางและกวางตุ้งไปแล้ว

– สำหรับจีนกลาง
– สำหรับกวางตุ้ง

เช่นเดียวกับภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง ภาษาจีนแต้จิ๋วเองก็ใช้อักษรจีนในการเขียนเป็นหลัก และอักษรจีนก็เป็นอักษรแทนความหมายซึ่งไม่สามารถบอกเสียงอ่านได้ในตัว จึงต้องอาศัยอักษรอื่นในการแสดงเสียงอ่าน

และเช่นเดียวกับที่จีนกลางมีพินอิน แต้จิ๋วก็มีระบบทับศัพท์ด้วยอักษรโรมันแบบคล้ายๆกัน เรียกว่า 潮州話拼音 แปลว่า “พินอินภาษาแต้จิ๋ว” หรือนิยมเรียกว่า “เพ็งอิม” ซึ่งเป็นเสียงอ่านในสำเนียงแต้จิ๋วของคำว่า 拼音 (คำว่า “พินอิน” ในจีนกลาง)

หลักการทับศัพท์เป็นภาษาไทยที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเสียงอ่านจากเพ็งอิมอีกที

เพ็งอิมเป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในพจนานุกรมภาษาแต้จิ๋วและหนังสือเรียนแต้จิ๋วเพื่อใช้แสดงเสียง

เพื่อที่จะรู้เสียงอ่านแต้จิ๋วอาจเปิดพจนานุกรม หรือดูแบบออนไลน์ผ่านเว็บ มีที่แนะนำอยู่ ๒ เว็บ ทั้งหมดแสดงเสียงด้วยเพ็งอิม และสามารถเปิดฟังเพื่อเป็นตัวอย่างได้ด้วย
https://www.mogher.com
http://www.czyzd.com

นอกจากนี้เว็บ

เมื่อเห็นเสียงอ่านที่แทนด้วยเพ็งอิมแล้ว ก็ค่อยแปลงเป็นภาษาไทยอีกที

ภาษาแต้จิ๋วเองยังแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยมากมาย แต่สำเนียงมาตรฐานจะยืดเอาที่ใช้ในเมืองซัวเถาเป็นหลัก หลักการถอดเสียงอ่านที่จะแนะนำนี้ก็จะยึดตามสำเนียงซัวเถาโดยจะเขียนเสริมถึงสำเนียงอื่นเพิ่มเติมแค่เล็กน้อยแต่ไม่เน้น

สำหรับหลักการเขียนสำหรับในบางเสียงที่ไม่ค่อยตรงกับภาษาไทยอาจมีการแยกวิธีการเขียนออกเป็น ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน คือ

– ทับศัพท์เพื่อใช้ในงานเขียนทั่วไป จะดูแล้วอ่านง่ายเป็นธรรมชาติในภาษาไทย แต่อาจจะให้เสียงอ่านที่ไม่ตรงมาก เนื่องจากข้อจำกัดของภาษาไทยซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่มีเสียงบางอย่างที่ภาษาจีนแต้จิ๋วมี

– เขียนเพื่อให้เรียนรู้แยกแยะเสียงอ่าน จะมีการใช้สัญลักษณ์เช่น ^ * ‘ มาเติมเพื่อแสดงเสียงอ่านที่ไม่มีในภาษาไทย คนจะอ่านได้จำเป็นต้องรู้ว่าใช้เพื่อแทนเสียงอะไร จึงไม่เหมาะจะใช้ในงานเขียนทั่วไป แต่เหมาะใช้เวลาเรียนเพื่อให้อ่านออกเสียงได้ตรง แยกแยะเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยได้ ในกรณีนี้จะใช้ * แทนเสียงออกจมูก ใช้ ‘ง แทนเสียง gh (ง แบบไม่ออกจมูก) และใช้ ^ สำหรับเชื่อมเสียงเพื่อแสดงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทย

ในบทความนี้จะแสดงการทับศัพท์ทั่วไปเป็นหลัก ส่วนการเขียนแบบแยกแยะเสียงจะใส่ไว้ในวงเล็บต่อท้ายด้านหลังในกรณีที่มีความต่าง

วรรณยุกต์

สำหรับภาษาแต้จิ๋วแล้ววรรณยุกต์ถือเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง ๘ เสียง และคำแต่ละคำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม

แต่ละวรรณยุกต์มีตัวเลขเพื่อแทนวรรณยุกต์นั้นๆ การแสดงเสียงวรรณยุกต์ในเพ็งอิมทำโดยการเขียนตัวเลขต่อท้าย

แต่ตัวเลขจะไม่ได้แทนวรรณยุกต์เดิมเสมอไป เพราะคำมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม เรียกว่าการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เป็นลักษณะเด่นของภาษาจีนในตระกูลหมิ่น (闽语/閩語)

ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้ง ๘ เทียบเคียงกับภาษาไทย และแสดงด้วยว่าเสียงไหนจะเปลี่ยนเป็นเสียงไหนเมื่อไปนำหน้าคำอื่น

เลข
ระดับเสียง
เทียบ
วรรณยุกต์ไทย
แปรเสียงเป็น
ตัวอย่าง

1
กลางเรียบ
˧ (3)
สามัญ
1 (ไม่เปลี่ยน)
分 = hung1 = ฮุง
刀 = do1 = ตอ

2
สูงไปต่ำ
˥˨ (52)
โท
6
粉 = hung2 = ฮุ่ง
短 = do2 = ต้อ

3
ต่ำไม่เรียบ
˨˩˧ (213)
เอก
5 หรือ 2
训/訓 = hung3 = หุ่ง
倒 = do3 = ต่อ

4
ต่ำกัก
˨̚ (2)
เอก
8
忽 = hug4 = หุก
桌 = doh4 = เตาะ

5
สูงเรียบ
˥ (5)
ตรี
7
云/雲 = hung5 = ฮุ้ง
逃 = do5 = ต้อ

6
กลางไปสูง
˧˥ (35)
จัตวา
7
混 = hung6 = หุง
在 = do6 = ต๋อ

7
ต่ำเรียบ
˩ (1)
เอก
7 (ไม่เปลี่ยน)
份 = hung7 = หุ่ง
袋 = do7 = ต่อ

8
สูงกัก
˦̚ (4)
ตรี
4
佛 = hug8 = ฮุก
择/擇 = doh8 = เต๊าะ

ในที่นี้ 4 กับ 8 เป็นเสียงกัก หรือก็หมายถึงคำตายในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาแต้จิ๋วนั้นคำตายจะเกิดในกรณีที่เป็นตัวสะกดแม่กก และ แม่กบ ซึ่งคือตัวสะกด g และ b ในเพ็งอิม หรือกรณีเสียงสั้นไร้ตัวสะกด ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า “เสียงกักเส้นเสียง” ในเพ็งอิมจะลงท้ายด้วย h

ส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่เหลือคือ 1, 2, 3, 5, 6, 7 จะเกิดขึ้นกับคำเป็นเท่านั้น จึงแยกต่างหากจากเสียง 4 และ 8 ชัดเจน

เสียง 1 เป็นเสียงกลางๆไม่สูงไม่ต่ำ ใกล้เคียงเสียงสามัญในภาษาไทย

เสียง 2 เป็นเสียงที่เริ่มจากสูงแล้วลงต่ำ ใกล้เคียงเสียงโทในภาษาไทย หรือเสียง 4 ในจีนกลาง

เสียง 5 เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทย

เสียง 6 เป็นเสียงที่เริ่มจากต่ำแล้วค่อยๆขึ้นสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย หรือเสียง 2 ในจีนกลาง

เสียง 4 กับ 8 เป็นเสียงกักทั้งคู่แต่ต่างกันตรงที่เสียง 4 ต่ำกว่าเสียง 8 เสียง 4 จึงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 8 ใกล้เคียงกับเสียงตรี

เสียง 3 กับ 7 โดยพื้นฐานแล้วเป็นต่ำ คล้ายเสียงวรรณยุกต์เอกในภาษาไทย แต่เสียง 7 เป็นต่ำแบบเรียบๆ ส่วน 3 เสียงจะมีกดลงต่ำตรงกลางและยกสูงขึ้นอีกทีตอนท้าย แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อย คนไทยจะฟังแล้วได้ยินเป็นเสียงเอกเหมือนกัน

แต่ข้อแตกต่างระหว่างเสียง 3 และ 7 จะชัดเจนเมื่อนำหน้าคำอื่น โดยเสียง 3 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 (เสียงตรี) หรือเสียง 2 (เสียงโท) แต่เสียง 7 จะไม่เปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นเสียงเอก

เสียง 3 จะเปลี่ยนไปเป็นเสียง 5 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับสำเนียง แต่สำเนียงมาตรฐานซัวเถาจะใช้เสียง 5

เสียง 2 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 ส่วนเสียง 5 และ 6 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 7

เสียง 1 และเสียง 7 จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงไม่ว่าอยู่ตรงไหนของคำ

การเปลี่ยนไปมาของเสียงอาจสรุปได้ดังนี้

อาจจำในแบบไทยๆว่า
– เสียงสามัญจะไม่มีการเปลี่ยนเสียง
– เสียงโทจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา
– เสียงตรี (ทั้งเสียง 5 และ 8) และจัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงเอก
– เสียงเอกจะยุ่งยากที่สุด เพราะมีอยู่สามเสียงคือ 3, 4, 7 ถ้าหากเป็น 3 หรือ 4 ให้เปลี่ยนเป็นเสียงตรี (ยกเว้นบางสำเนียง 3 เปลี่ยนเป็น 2 เสียงโท) แต่ถ้าเป็น 7 ให้คงเสียงเอกไว้

ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงด้วยคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว”

อักษร 牛 “วัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 อ่านว่า “งู้”

แต่รวมกับ 肉 กลายเป็น 牛肉 “เนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 แต่เสียงที่อ่านจริงจะเป็น ghu7 nêg8 “หงู่เน็ก”

พอรวมกับ 丸 กลายเป็น 牛肉丸 “ลูกชิ้นเนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 แต่เสียงที่อ่านจริงเป็น ghu7 nêg4 in5 “หงู่เหน็กอี๊”

คำว่า 粿条 ที่หมายถึง “ก๋วยเตี๋ยว” เขียนเพ็งอิมว่า guê2 diao5 แต่อ่านจริงเป็นเสียง guê6 diao5 “ก๋วยเตี๊ยว”

ดังนั้นรวมแล้วคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว” เขียนเพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 guê2 diao5 แต่อ่านจริงๆเป็น ghu7 nêg4 in7 guê6 diao5 “หงู่เหน็กอี่ก๋วยเตี๊ยว”

จะเห็นว่าทุกตัวนอกจากตัวแรกเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปหมด เพราะแต่ละตัวขยายตัวที่อยู่ข้างหลัง

ในการทับศัพท์ภาษาไทยเราจะเขียนเสียงวรรณยุกต์ตามที่ออกจริง แต่เพ็งอิมที่แสดงในพจนานุกรมจะใช้เลขที่เป็นเสียงเดิมก่อนเปลี่ยนเสียงเสมอ ดังนั้นจะต้องรู้เองว่าเสียงจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง และเมื่อใดจำเป็นต้องเปลี่ยนเสียงบ้าง

หลักโดยทั่วไปคือจะเปลี่ยนเสียงเมื่อเป็นคำที่นำหน้าคำอื่นเพื่อขยายคำนั้น หรือเป็นคำกริยาที่มีกรรม แต่ก็มีรายละเอียดให้พิจารณามากกว่านั้น ในที่นี้ขอละไว้ในรายละเอียดเนื่องจากค่อนข้างซับซ้อน

พยัญชนะต้น

ในภาษาแต้จิ๋วมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว แทนด้วยเพ็งอิมเป็น b, p, bh, m, d, t, n, l, g, k, gh, ng, h, z, c, r, s

เพ็งอิม
IPA
ทับศัพท์ไทย
ตัวอย่าง




丫 = a1 = อา

b
p

吧 = ba1 = ปา

p

พ, ผ
帕 = pê3 = แผ่

bh
b

武 = bhu2 = บู้

m
m

墓 = mo6 = หมอ

d
t

灱 = da1 = ตา

t

ท, ถ
他 = ta1 = ทา

n
n

年 = ni5 = นี้

l
l

牢 = lo5 = ล้อ

g
k

咬 = ga6 = ก๋า

k

ค, ข
卡 = ka2 = ค่า

gh
g
ง (‘ง)
牙 = ghê5 = แง้ (แ’ง้)

ng
ŋ

宜 = ngi5 = งี้

h
h
ฮ, ห
夏 = hê7 = แห่

z
ʦ

早 = za2 = จ้า

c
ʦʰ
ช, ฉ
市 = ci6 = ฉี

r
ʣ

字 = ri7 = หยี่

s
s
ซ, ส
傻 = sa6 = สา

เสียง ng ตรงกับเสียง “ง” ในภาษาไทย แต่เสียง gh จะเหมือนกับเสียง g ในภาษาอังกฤษ คืออยู่ระหว่าง “ก” กับ “ง” เวลาทับศัพท์มักจะใช้ “ง” เช่นเดียวกับ ng เพราะไม่มีเสียงนี้จริงๆในภาษาไทย แต่เมื่อต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างชัดอาจจะเติม ‘ ลงไปเป็น ” ‘ง ” แบบนี้

เสียง z กับ c จะเหมือนกับ z และ c ในจีนกลาง คือจะต่างจากเสียง “จ” และ “ช” ในภาษาไทยเล็กน้อย เวลาทับศัพท์ก็ใช้ “จ” และ “ช” ได้

r เป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง “จ” และ “ย” แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ “ย” จึงทับศัพท์ด้วย “ย”

ส่วนเสียงที่เหลือล้วนตรงกับภาษาไทยตามที่เทียบในตาราง

สระและตัวสะกด

ภาษาแต้จิ๋วมีสระหลากหลายมาก มีทั้งสระเดี่ยว สระควบสอง สระควบสาม แต่ละสระอาจมีตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่กก แม่กบ หรือเป็นเสียงกักเส้นเสียง (ลงท้าย h) นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน

ตัวสะกดแต่ละตัวอาจปรากฏกับสระบางตัวเท่านั้น มีการเข้าคู่กันค่อนข้างจะจำเพาะ

ตารางสรุปคู่สระและตัวสะกดที่มีทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)

สระ
ตัวสะกด

แม่กม
[m]

แม่กบ
[p̚]

แม่กง
[ŋ]

แม่กก
[k̚]

กักเส้นเสียง
[ʔ]

อา
[a]

a
อา
am
อัม
ab
อับ
ang
อัง
ag
อัก
ah
อะ

อือ
[ɯ]

e
อือ
 
 
eng
อึง
eg
อึก
 

แอ / เอ
[e]

ê
แอ
 
 
êng
เอ็ง
êg
เอ็ก
êh
แอะ

อี
[i]

i
อี
im
อิม
ib
อิบ
ing
อิง
ig
อิก
ih
อิ

ออ / โอ
[o]

o
ออ
 
 
ong
อง
og
อก
oh
เอาะ

อู
[u]

u
อู
 
 
ung
อุง
ug
อุก
uh
อุ

ไอ
[ai]

ai
ไอ
 
 
 
 
 

เอา
[au]

au
เอา
 
 
 
 
auh
เอา (เอา^)

เอีย (อี^อา)
[ia]

ia
เอีย (อี^อา)
iam
เอียม
iab
เอียบ
iang
เอียง
iag
เอียก
iah
เอียะ (อี^อะ)

เอีย (อี^ออ)
[io]

io
เอีย (อี^ออ)
 
 
iong
ยง
iog
ยก
ioh
เอียะ (อี^เอาะ)

อิว
[iu]

iu
อิว
 
 
 
 
 

โอย
[oi]

oi
โอย
 
 
 
 
oih
โอย (โอย^)

โอว
[ou]

ou
โอว
 
 
 
 
 

อัว
[ua]

ua
อัว
uam
อวม
uab
อวบ
uang
อวง
uag
อวก
uah
อัวะ

อวย (อู^เอ)
[ue]


อวย
 
 
 
 
uêh
เอวะ

อุย
[ui]

ui
อุย
 
 
 
 
 

เอียว
[iau]

iao
เอียว
 
 
 
 
 

เอียว
[iou]

iou
เอียว
 
 
 
 
 

ไอว
[uai]

uai
ไอว
 
 
 
 
 

ไร้สระ
 
m
อึม
 
ng
อึง
 
 

ต่อไปจะอธิบายรายละเอียดพร้อมยกตัวอย่าง โดยจะขอแยกเขียนเป็นกลุ่มๆ

สระเดี่ยว

มีทั้งหมด ๖ สระ ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถแทนแต่ละสระด้วยสระในภาษาไทยดังนี้

a
อา
鸦/鴉 = a1 = อา
饱/飽 = ba2 = ป้า
炒 = ca2 = ช่า

e
อือ
余 = e2 = อื้อ
你 = le2 = ลื่อ
巨 = ge6 =กื๋อ

ê
แอ
些 = sê1 = แซ
帕 = pê3 = แผ่
架 = gê3 = แก่

i
อี
意 = i3 = อี่
丕 = pi2 = พี่
义/義 = ngi6 = หงี

o
ออ
奥/奧 = o3 = อ่อ
退 = to3 = ถ่อ
所 = so5 = ซ่อ

u
อู
污/汙 = u1 = อู
虏/虜= lu2 = ลู่
付 = hu3 = หู่

ที่ควรระวังคือ e กับ ê เป็นคนละสระกัน โดย e เฉยๆจะแทนสระอือ แต่ถ้ามี ˆ อยู่ด้านบนเป็น ê จะแทนสระแอ


สระประสมสองเสียง

สระประสมมีอยู่มากมายในภาษาแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่จะมีในภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่มีในภาษาไทยจึงได้แค่แทนด้วยเสียงที่ใกล้เคียง

ai
ไอ
哀 = ai1 = ไอ
眉 = bhai5 = ไบ๊
再 = zai3 = ไจ่

ao
เอา
呕/嘔 = ao2 = เอ้า
卯 = bhao2 = เบ้า
投 = dao5 = เต๊า

ia
เอีย (อี^อา)
也 = ia7 = เอี่ย (อี^อ่า)
雅 = ngia2 = เงี่ย (งี^อ้า)
者 = zia2 = เจี้ย (จี^อ้า)

io
เอีย (อี^ออ)
姚 = io5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ)
庙/廟 = bhio7 = เบี่ย (บี^อ่อ)
桥/橋 = gio5 = เกี๊ย (กี^อ๊อ)

iu
อิว
佑 = iu6 = อิ๋ว
手 = ciu2 = ชิ่ว
球 = giu5 = กิ๊ว

oi
โอย
鞋 = oi5 = โอ๊ย
改 = goi2 = โก้ย
蟹 = hoi6 = โหย

ou
โอว
湖 = ou5 = โอ๊ว
路 = lou7 = โหล่ว
雨 = hou6 = โหว

ua
อัว
我 = ua2 = อั้ว
麻 = mua5 = มั้ว
沙 = sua1 = ซัว


อวย
卫/衛 = uê6 = อ๋วย
尾 = bhuê2 = บ้วย
最 = zuê3 = จ่วย

ui
อุย
为/為 = ui5 = อุ๊ย
唯 = rui5 = ยุ้ย
隧 = sui7 = สุ่ย

แต้จิ๋วปกติจะไม่แยกแยะเสียงสั้นและยาว เสียง ai ที่จริงเสียงค่อนข้างยาว อาจเขียนเป็น “อาย” ก็ได้ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่คนนิยมเขียนเป็น “ไอ” มากกว่า ในที่นี้จึงเลือกเขียนเป็น “ไอ”

เสียง ia กับ io มักถูกเขียนแทนด้วยสระเอีย แต่ทั้งสองเสียงไม่ได้ตรงกับสระเอียซะทีเดียว

ia คือสระอีต่อด้วยสระอา ใกล้เคียงกับสระเอีย แต่สระอาด้านหลังลากเสียงยาวกว่า

io คือสระอีต่อด้วยสระออ ที่จริงไม่ได้ใกล้เคียงกับสระเอียมาก แต่ไม่มีสระในภาษาไทยที่แทนได้ใกล้เคียงจริงๆอยู่

กรณีทับศัพท์ทั่วไปอาจเขียนเป็นสระเอียทั้งคู่ แต่เมื่อต้องการเขียนให้เห็นความต่างจะเขียนโดยแยกสระ โดยใช้ ^ เป็นตัวคั่น เป็น “อี^อา” กับ “อี^ออ”

กรณีที่เขียนแบบนี้ เสียงวรรณยุกต์จะใส่ไว้ที่ตัวหลัง ส่วนตัวหน้าใส่เสียงสามัญตลอด

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่เสียง io จะถูกแทนด้วย iê (อี^เอ)

ส่วน oi นั้นที่จริงแล้วเป็นเสียงค่อยข้างสั้น เป็น สระโอะ+ย โดยทั่วไปสระโอะเมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปกลายเป็นไม่ใส่รูปสระ จึงมีบางคนเขียนเป็น “อย” เช่นเดียวกับที่ สระโอะ+น = อน แต่ว่าจริงๆ สระโอะ+ย ไม่เคยปรากฏในภาษาไทย การเขียนแบบนี้จึงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นในกรณีนี้จึงเขียนในรูปสระโอแทน เพราะความสั้นยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมายของคำในภาษาแต้จิ๋ว

ส่วน uê นั้นจริงๆแล้วเป็นเสียง อู+เอ แต่ฟังดูแล้วจะใกล้เคียงกับเสียง “อวย” ในภาษาไทยจึงมักเขียนแบบนี้

สระประสมสามเสียง

สำหรับสระประสมสามเสียงมีอยู่แค่ ๒ แบบ ได้แก่

iao
เอียว (อี^เอา)
夭 = iao1/iou1 = เอียว
表 = biao2/biou2 = เปี้ยว
了 = liao2/liou2 = เลี่ยว

iou
เอียว (อี^โอว)

uai
ไอว
挖 = uai1 = ไอว
拐 = guai2 = ไกว้
甩 = suai1 = ไซว

iao กับ iou เป็นคำเดียวกันในต่างสำเนียง ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถาเองก็มีการใช้ทั้ง iao และ iou ในที่นี้จึงแสดงไว้ทั้งคู่ ความแตกต่างอยู่ที่เสียงสระตัวกลาง หากเขียนแยกจะเป็น อี^เอา กับ อี^โอว แต่ไม่ว่าจะเสียงไหนก็ใกล้เคียงกับ “เอียว” ในภาษาไทย จึงเขียนแบบนี้เหมือนกัน

สำหรับ uai นั้นจะคล้ายกับ uai ในจีนกลาง คือออกเสียงควบ ว

สระเดี่ยว+นาสิก

สระในกลุ่มนี้จะมีตัว n ต่อท้าย ซึ่ง n ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสะกดแม่กน เพราะในแต้จิ๋วไม่มีแม่กน แต่หมายถึงเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก)

คนไทยทั่วไปจะไม่รู้จักเสียงนี้และแยกแยะไม่ออกว่ามีเสียงออกจมูกหรือไม่ ในการทับศัพท์เสียงออกจมูกนี้มักถูกละเลย เขียนเหมือนไม่มีตัว n อยู่ท้าย แต่ในการเขียนเพื่อแสดงเสียงอ่านโดยละเอียดบางคนก็เติม * หรือ น์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเสียงออกจมูกอยู่

ในที่นี้ก็จะขอละ n ไปเลยในการทับศัพท์ทั่วไป ส่วนเวลาที่ต้องการแยกแยะเสียงจะเติม * เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนี้มีเสียงออกจมูก

การมีเสียงออกจมูกไม่ได้ทำให้สระเปลี่ยนไป ดังนั้นเวลาทับศัพท์ให้ทำเหมือนกับตัด n ออกแล้วอ่านสระแบบเหมือนไม่มี n

an
อา (อา*)
馅/餡 = an7 = อ่า (อ่า*)
怕 = pan3 = ผ่า (ผ่า*)
敢 = gan2 = ก้า (ก้า*)

ên
แอ (แอ*)
楹 = ên5 = แอ๊ (แอ๊*)
梗 = gên2 = แก้ (แก้*)
青 = cên1 = แช (แช*)

in
อี (อี*)
圆/圓 = in5= อี๊ (อี๊*)
鼻 = pin7 = ผี่ (ผี่*)
面/麵 = min7 = หมี่ (หมี่*)

สระประสมสองเสียง+นาสิก

ain
ไอ (ไอ*)
爱/愛 = ain3 = ไอ่ (ไอ่*)

aon
เอา (เอา*)
好 = haon3 = เห่า (เห่า*)

ian
เอีย (เอีย*)
影 = ian2 = เอี้ย (เอี้ย*)
兄 = hian1 = เฮีย (เฮีย*)
声/聲 = sian1 = เซีย (เซีย*)

ion
เอีย (อี^ออ*)
羊 = ion5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ*)
帐/帳 = dion3 = เตี่ย (ตี^อ่อ*)
伤/傷 = sion1 = เซีย (ซี^ออ*)

iun
อิว (อิว*)
幼 = iun3= อิ่ว (อิ่ว*)

oin
โอย (โอย*)
闲/閑 = oin5 = โอ๊ย (โอ๊ย*)
肩 = goin1 = โกย (โกย*)
睇 = toin2 = โท่ย (โท่ย*)

oun
โอว (โอว*)
虎 = houn2 = โฮ่ว (โฮ่ว*)

uan
อัว (อัว*)
旱 = uan6 = อั๋ว (อั๋ว*)
半 = buan3 = ปั่ว (ปั่ว*)
欢/歡 = huan1 = ฮัว (ฮัว*)

uên
อวย (อวย*)
横/橫 = huên5 = ฮ้วย (ฮ้วย*)

uin
อุย (อุย*)
畏 = uin3 = อุ่ย (อุ่ย*)

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ ion จะออกเสียงเป็น iên

สระเดี่ยว+ตัวสะกด

แต้จิ๋วมีตัวสะกดอยู่ ๔ เสียง คือ แม่กม แม่กง แม่กบ แม่กก

เมื่อมีตัวสะกดเสียงสระจะกลายเป็นเสียงสั้นทั้งหมด a เป็นสระอะ i เป็นสระอิ u เป็นสระอุ

ส่วนเสียง ê นั้นจะซับซ้อนขึ้นหน่อย คือเมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระแอ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระเอะ จึงอ่านเป็น “เอ็ง” “เอ็ก”

เสียง o ก็มีการเปลี่ยนเสียงเช่นกัน เมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระออ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระโอะ เป็น “อง” “อก”

am
อัม
暗 = am3 = อั่ม
惨/慘 = cam2 = ชั่ม
憾 = ham6 = หัม

ab
อับ
盒 = ab8 = อั๊บ
答 = dab4 = ตับ
峡/峽 = hab8 = ฮับ

ang
อัง
宴 = ang3 = อั่ง
朗 = lang6 = หลัง
刊 = kang5 = คั้ง

ag
อัก
抑 = ag4 = อัก
北 = bag4 = ปัก
贼/賊 = cag8 = ชัก

eng
อึง
隐/隱 = eng2 = อึ้ง
女 = neng2 = นึ่ง
床 = ceng5 = ชึ้ง

eg
อึก
乞 = keg4 = ขึก
吃 = ngeg4 = หงึก

êng
เอ็ง
用 = êng7 = เอ่ง
胸 = hêng1 = เฮ็ง
令 = lêng6 = เหล็ง

êg
เอ็ก
亿/億 = êg8 = เอ๊ก
击/撃 = kêg4 = เข็ก
碧 = pêg4 = เป็ก

im
อิม
淫/滛 = im5 = อิ๊ม
凛/凜 = lim2= ลิ่ม
吟 = ngim5 = งิ้ม

ib
อิบ
邑 = ib4 = อิบ
急 = gib4 = กิบ
入 = rib8 = ยิบ

ing
อิง
引 = ing2 = อิ้ง
镇/鎮 = ding3= ติ่ง
臣 = cing5 = ชิ้ง

ig
อิก
逸 = ig8 = อิ๊ก
匹 = pig4 = ผิก
乜 = mig4 = หมิก

ong
อง
鹟/鶲 = ong1 = อง
鹏/鵬 = pong5 = พ้ง
孔 = kong2 = ค่ง

og
อก
握 = og4 = อก
禄/祿 = log8 = ลก
福 = hog4 = หก

ung
อุง
运/運 = ung7 = อุ่ง
文 = bhung5 = บุ๊ง
允 = rung2 = ยุ่ง

ug
อุก
夗 = ug8 = อุ๊ก
吻 = bhug4= บุก
卒 = zug4 = จุก

สำหรับ êng กับ êg นั้นถ้าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ให้ใส่ไม้ไต่คู่ แต่ถ้าต้องใส่รูปวรรณยุกต์ค่อยตัดไม้ไต่คู่ทิ้งไป

สระประสมสองเสียง+ตัวสะกด

iam
เอียม
盐/鹽 = iam5 = เอี๊ยม
点/點 = diam2 = เตี้ยม
染 = riam2 = เยี่ยม

iab
เอียบ
叶/葉 = iab8 = เอี๊ยบ
协/協 = hiab8 = เฮี้ยบ
业/業= ngiab8 = เงี้ยบ

iang
เอียง
映 = iang3 = เอี่ยง
良 = liang5 = เลี้ยง
仰 = ngiang2 = เงี่ยง

iag
เอียก
跃/躍= iag4 = เอียก
却/卻 = kiag4 = เขียก
弱 = riag8 = เรี้ยก

iong
ยง
永 = iong2 = ย่ง
恐 = kiong2 = คย่ง
雄 = hiong5 = ฮย้ง

iog
ยก
育 = iog8 = ยก
畜 = tiog4 = ถยก
克 = iog4 = ขยก

uam
อวม
泛 = huam3 = ห่วม

uab
อวบ
法 = huab4 = หวบ

uang
อวง
旺 = uang6 = อ๋วง
忘 = bhuang5 = บ๊วง
元 = nguang5 = ง้วง

uag
อวก
获/獲 = uag8 = อ๊วก
扩/擴 = kuag4 = ขวก
浊/濁 = zuag8 = จ๊วก

ในบางสำเนียงเช่นสำเนียงเตี่ยเอี๊ยมีเสียง iêng, iêg, uêng, uêg ด้วย แต่ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถายุบรวม iêng เป็น iang, iêg เป็น iag, uêng เป็น uang, uêg เป็น uag ทั้งหมด

iong และ iog นั้นจริงเป็นเสีย อี+ยง แต่เพื่อความง่ายให้เขียนเป็น “ยง” และ “ยก” เฉยๆ พอมีพยัญชนะต้นนำหน้าก็เขียนในรูปควบ ย เช่นเป็น “คยง” และ “คยก”

สระเดี่ยว+กักเส้นเสียง

เสียงกักเส้นเสียงคือเสียงที่ในเพ็งอิมลงท้ายด้วย h จะตรงกับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย คือเป็นคำตาย เสียงจะหยุดที่ท้ายพยางค์

สำหรับสระเดี่ยวที่ลงท้ายด้วย h นี้ก็จะออกเสียงคล้ายกับสระเดี่ยวที่ไม่มี h ต่อท้าย แค่เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้น

ah
อะ
鸭/鴨 = ah4 = อะ
甲 = gah4 = กะ
闸/閘 = zah8 = จ๊ะ

êh
แอะ
扼 êh4 = แอะ
白 = bêh8 = แป๊ะ
册/冊 = cêh4 = แฉะ

ih
อิ
浥 = ih4 = อิ
裂 = lih8 = ลิ
舌 = zih8 = จิ๊

oh
เอาะ
呃 = oh4 = เอาะ
桌 = doh4 = เตาะ
绝/絶 = zoh8 = เจ๊าะ

สระประสมสองเสียง+กักเส้นเสียง

สำหรับสระประสมสองเสียงที่ลงท้ายด้วย h นั้นส่วนใหญ่จะแทนด้วยภาษาไทยยากเพราะที่มีในภาษาไทยมีแค่สระเอียะ (iah) และสระอัวะ (uah) เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยากที่จะเขียนในภาษาไทยให้ตรง ได้แต่เขียนให้ใกล้เคียงที่สุด

เสียงกลุ่มนี้มีดังนี้

aoh
เอา (เอา^)
落 = laoh8 = เล้า (เล้า^)
乐/樂 = ghaoh8 = เง้า (เง้า^)

oih
โอย (โอย^)
狭/狹 = oih8 = โอ๊ย (โอ๊ย^)
八 = boih4 = โป่ย (โป่ย^)
夹/夾 = goih8 = โก๊ย (โก๊ย^)

iah
เอียะ (อี^อะ)
溢 = iah4 = เอียะ (อี^อะ)
壁 = biah4 = เปียะ (ปี^อะ)
食 = ziah8 = เจี๊ยะ (จี^อ๊ะ)

ioh
เอียะ (อี^เอาะ)
药/藥 = ioh8 = เอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ)
挈 = kioh8 = เคียะ (คี^เอ๊าะ)
惜 = sioh4 = เสียะ (ซี^เอาะ)

uah
อัวะ
活 = uah8 = อั๊วะ
割 = guah4 = กัวะ
杀/殺 = suah4 = สัวะ

uêh
เอวะ
画/畫 = uêh8 = เอว๊ะ
月 = ghuêh8 = เงวะ (เ’งวะ)
刷 = suêh4 = เสวะ

สำหรับ aoh นั้นจริงๆคือสระเอาที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง เนื่องจากไม่มีสระแบบนั้นจริงๆในภาษาไทย ดังนั้นเวลาทับศัพท์ทั่วไปก็ทำได้แค่เขียนเป็น สระเอา ธรรมดา แต่เมื่อต้องการเขียนให้บอกได้ชัดเจนว่าต่างจาก ao อาจเติม ^ ลงไปเป็น “เอา^”

สำหรับ oih ที่จริงคือ “โอย” ที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง ภาษาไทยไม่มีเสียงแบบนี้จึงให้แทนด้วย “โอย” เฉยๆ แต่ถ้าต้องการแยกให้ต่างจาก oi ชัดอาจเขียนเติม ^ ต่อท้ายลงไปเป็น “โอย^”

อนึ่ง oih บางคนอาจเลือกที่จะเติม “ะ” ลงไป กลายเป็ฯ “โอยะ” แบบนี้ แต่การเขียนแบบนี้สร้างความสับสนได้ง่าย อาจถูกอ่านเป็น “โอ-ยะ” อีกทั้งวิธีการเดียวกันนี้ใช้ในกรณี aoh ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็น “เอาะ” ยิ่งทำให้เข้าใจผิดง่ายขึ้นไปอีก

ดังนั้นแล้วจึงเลือกใช้ ^ เติมเพื่อแสดงถึงการกักเส้นเสียง แทนที่จะใช้ “ะ” แต่สำหรับคำอื่นซึ่งเขียนในภาษาไทยได้อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้วิธีนี้

ioh จะหลายเป็น iêh ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ เช่นเดียวกับที่ io กลายเป็น iê

uêh เป็น uê ที่มีการกักเส้นเสียง แต่เปลี่ยนมาเขียนโดยใช้สระเอะควบ ว เพราะไม่สามารถเขียนเสียง อวย ให้เป็นเสียงกักได้

ไร้สระ

คือเสียงที่เหมือนมีแต่ตัวสะกดลอยมาโดยไม่มีสระ แต่จะฟังดูคล้ายกับเป็นสระอือ จึงใช้สระอือแทน

m
อึม
姆 = m2 = อึ้ม
唔 = m6 = อึ๋ม

ng
อึง
黄/黃 = ng5 = อึ๊ง
园/園 = hng5 = ฮึ้ง

ตัวอย่าง

สุดท้ายนี้ขอยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

เริ่มจากการนับเลข

0
〇/零
lêng5
เล้ง

1

zêg8 / ig4
เจ๊ก / อิก

2

no6 / ri6
หนอ / หยี

3

san1
ซา (ซา*)

4

si3
สี่

5

ngou6
โหงว

6

lag8
ลัก

7

cig4
ฉิก

8

boih4
โป่ย (โป่ย^)

9

gao2
เก้า

10

zab8
จั๊บ

100

bêh4
แปะ

1,000

coin1
โชย (โชย*)

10,000
万/萬
bhuang7
บ่วง

100,000,000
亿/億
êg8
เอ๊ก

1,000,000,000,000

diao6
เตี๋ยว

ชื่อสถานที่ในภูมิภาคแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง หลายชื่อในนี้คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ในที่นี้จะเป็นการเขียนชื่อโดยใช้หลักที่ยกมาข้างต้น

อักษรจีน
เพ็งอิม
ทับศัพท์
จีนกลาง
รูปเดิม
แปรเสียง

潮州
dio5 ziu1
dio7 ziu1
เตี่ยจิว (ตี^อ่อ)
เฉาโจว

汕头/汕頭
suan1 tao5
 
ซัวเท้า (ซัว*)
ซ่านโถว

揭阳/揭陽
gig4 ion5
gig8 ion5
กิ๊กเอี๊ย (อี^อ๊อ*)
เจียหยาง

汕尾
suan1 bhuê5
 
ซัวบ้วย (ซัว*)
ซ่านเหว่ย์

湘桥/湘橋
siang1 gio5
 
เซียงเกี๊ย (กี^อ๊อ)
เซียงเฉียว

潮安
dio5 ang1
dio7 ang1
เตี่ยอัง (ตี^อ่อ)
เฉาอาน

饶平/饒平
riao5 pêng5
riao7 pêng5
เหยี่ยวเพ้ง
เหราผิง

金平
gim1 pêng5
 
กิมเพ้ง
จินผิง

龙湖/龍湖
lêng5 ou5
lêng7 ou5
เหล่งโอ๊ว
หลงหู

濠江
hao5 gang1
hao7 gang1
เห่ากัง
เหาเจียง

澄海
têng5 hai2
têng7 hai2
เถ่งไฮ่
เฉิงไห่

潮阳/潮陽
dio5 ion5
dio7 ion5
เตี่ยเอี๊ย (ตี^อ่อ อี^อ๊อ*)
เฉาหยาง

潮南
dio5 nam5
dio7 nam5
เตี่ยนั้ม (ตี^อ่อ)
เฉาหนาน

南澳
nam5 o3
nam7 o3
หนั่มอ่อ
หนานเอ้า

榕成
iong5 sian5
iong7 sian5
หย่งเซี้ย (ซี^อ๊า*)
หรงเฉิง

揭东/揭東
gig4 dang1
gig8 dang1
กิ๊กตัง
เจียตง

揭西
gig4 sai1
gig8 sai1
กิ๊กไซ
เจียซี

普宁/普寧
pou2 lêng5
pou6 lêng5
โผวเล้ง
ผู่หนิง

惠来/惠來
hui6 lai5
hui7 lai5
หุ่ยไล้
ฮุ่ยไหล

陆丰/陸豐
lok8 hong1
lok4 hong1
หลกฮง
ลู่เฟิง

海丰/海豐
hai2 hong1
hai6 hong1
ไหฮง
ไห่เฟิง

ตัวอย่างคำภาษาแต้จิ๋วที่กลายเป็นคำไทย

อักษรจีน
เพ็งอิม
ทับศัพท์
คำไทย
รูปเดิม
แปรเสียง

把戏/把戲
ba2 hi3
ba6 hi3
ป๋าหี่
ปาหี่

畚箕
bung3 gi1
bung5 gi1
ปุ๊งกี
ปุ้งกี๋

肉面/肉麵
bhah4 min7
bhah8 min7
บ๊ะหมี่ (หมี่*)
บะหมี่

肉粽
bhah4 zang3
bhah8 zang3
บ๊ะจั่ง
บ๊ะจ่าง

八仙
boih4 siang1
boih8 siang1
โป๊ยเซียง
โป๊ยเซียน

草粿
cao5 guê2
cao7 guê2
เฉาก้วย
เฉาก๊วย

谶诗/讖詩
ciam1 si1
 
เชียมซี
เซียมซี

粗货/粗貨
cou1 huê3
 
โชวห่วย
โชห่วย

豆腐
dao7 hu7
 
เต่าหู่
เต้าหู้

豆花
dao7 huê1
 
เต่าฮวย
เต้าฮวย

豆酱
dao7 zion3
 
เต่าเจี่ย (จี^อ่อ*)
เต้าเจี้ยว

压腰/壓腰
dêh4 io1
dêh8 io1
แต๊ะเอีย (อี^ออ)
แต๊ะเอีย

橄榄/橄欖
gan1 na2
 
กาน่า (กา*)
กาน้า

交椅
gao1 in2
 
เกาอี้
เก้าอี้

菊花
gêg4 huê1
gêg8 huê1
เก๊กฮวย
เก๊กฮวย

咸菜/鹹菜
giam5 cai3
giam7 cai3
เกี่ยมไฉ่
เกี้ยมไฉ่

膏药/膏藥
go1 ioh8
 
กอเอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ)
กอเอี๊ยะ

韭菜
gu2 cai3
gu6 cai3
กู๋ไฉ่
กุยช่าย

粿条/粿條
guê2 diao5
guê6 diao5
ก๋วยเตี๊ยว
ก๋วยเตี๋ยว

粿汁
guê2 zab4
guê6 zab4
ก๋วยจับ
ก๋วยจั๊บ

军师/軍師
gung1 se1
 
กุงซือ
กุนซือ

风水/風水
huang1 zui2
 
ฮวงจุ้ย
ฮวงจุ้ย

芥蓝/芥藍
kah4 na5
kah8 na5
คะน้า
คะน้า

喽啰/嘍囉
liu5 lo5
liu3 lo5
หลิ่วล้อ
ลิ่วล้อ

乌凉/烏涼
ou1 liang5
 
โอวเลี้ยง
โอเลี้ยง

乌热/烏熱
ou1 ruoh8
 
โอวยัวะ
โอยัวะ

字号/字號
ri7 ho7
 
หยี่ห่อ
ยี่ห้อ

三辇/三輦
san1 ling2
 
ซาลิ่ง (ซา*)
ซาเล้ง

豉油
si7 iu5
 
สี่อิ๊ว
ซีอิ๋ว

四散
si3 suan2
si5 suoa2
ซี้ซั่ว
ซี้ซั้ว

先生
sing1 sên1
 
ซิงแซ (แซ*)
ซินแส

梭罗包/梭羅包
so1 lo1 bao1
 
ซอลอเปา
ซาลาเปา

头家/頭家
tao5 gê1
tao3 gê1
เถ่าแก
เถ้าแก่

杂菜/雜菜
zab8 cai3
zab4 cai3
จับไฉ่
จับฉ่าย

杂工/雜工
zab8 gang1
zab4 gang1
จับกัง
จับกัง

座山
zo7 suan1
 
จ่อซัว (ซัว*)
เจ้าสัว

สุดท้ายขอยกบทกวี เซียงซือ (相思) โดยหวางเหวย์ (王維) กวีสมัยราชวงศ์ถัง

红豆生南国

春来发几枝

愿君多采撷

此物最相思

紅豆生南國

春來發幾枝

願君多採擷

此物最相思

ang5 dao7 sên1 nam5 gog4
cung1 lai5 huag4 gui2 gi1
nguang6 gung1 do1 cai2 kiag4
ce2 muêh8 zuê3 sio1 si1

เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์
ang7 dao7 sên1 nam7 gog4
cung1 lai5 huag8 gui6 gi1
nguang7 gung1 do1 cai6 kiag4
ce6 muêh8 zuê5 sio1 si1

อั่ง เต่า แซ หนั่ม กก
ชุง ไล้ ฮ้วก กุ๋ย กี
หง่วง กุง ตอ ไฉ เขียก
ฉือ เมวะ จ๊วย เซีย ซี

อ้างอิง

https://zh.wikipedia.org/wiki/潮州话
https://zh.wikipedia.org/wiki潮州話拼音方案
หนังสือ ลูกหลานคนแต้จิ๋ว โดยเหล่าตั๊ง
พจนานุกรม 潮州音字典 โดย 林伦伦

สำหรับบทความนี้จะขอเสนอหลักการทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นภาษาไทยก่อนหน้านี้ได้เขียนหลักการทับศัพท์ภาษาจีนกลางและกวางตุ้งไปแล้ว- สำหรับจีนกลาง https://phyblas.hinaboshi.com/20181019 – สำหรับกวางตุ้ง https://phyblas.hinaboshi.com/20190208 เช่นเดียวกับภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง ภาษาจีนแต้จิ๋วเองก็ใช้อักษรจีนในการเขียนเป็นหลัก และอักษรจีนก็เป็นอักษรแทนความหมายซึ่งไม่สามารถบอกเสียงอ่านได้ในตัว จึงต้องอาศัยอักษรอื่นในการแสดงเสียงอ่านและเช่นเดียวกับที่จีนกลางมีพินอิน แต้จิ๋วก็มีระบบทับศัพท์ด้วยอักษรโรมันแบบคล้ายๆกัน เรียกว่า 潮州話拼音 แปลว่า “พินอินภาษาแต้จิ๋ว” หรือนิยมเรียกว่า “เพ็งอิม” ซึ่งเป็นเสียงอ่านในสำเนียงแต้จิ๋วของคำว่า 拼音 (คำว่า “พินอิน” ในจีนกลาง)หลักการทับศัพท์เป็นภาษาไทยที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเสียงอ่านจากเพ็งอิมอีกทีเพ็งอิมเป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในพจนานุกรมภาษาแต้จิ๋วและหนังสือเรียนแต้จิ๋วเพื่อใช้แสดงเสียงเพื่อที่จะรู้เสียงอ่านแต้จิ๋วอาจเปิดพจนานุกรม หรือดูแบบออนไลน์ผ่านเว็บ มีที่แนะนำอยู่ ๒ เว็บ ทั้งหมดแสดงเสียงด้วยเพ็งอิม และสามารถเปิดฟังเพื่อเป็นตัวอย่างได้ด้วยนอกจากนี้เว็บ wiktionary เองก็มีบางส่วนที่แสดงเสียงอ่านแต้จิ๋วด้วย ซึ่งก็แสดงด้วยเพ็งอิมด้วยเช่นกันเมื่อเห็นเสียงอ่านที่แทนด้วยเพ็งอิมแล้ว ก็ค่อยแปลงเป็นภาษาไทยอีกทีภาษาแต้จิ๋วเองยังแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยมากมาย แต่สำเนียงมาตรฐานจะยืดเอาที่ใช้ในเมืองซัวเถาเป็นหลัก หลักการถอดเสียงอ่านที่จะแนะนำนี้ก็จะยึดตามสำเนียงซัวเถาโดยจะเขียนเสริมถึงสำเนียงอื่นเพิ่มเติมแค่เล็กน้อยแต่ไม่เน้นสำหรับหลักการเขียนสำหรับในบางเสียงที่ไม่ค่อยตรงกับภาษาไทยอาจมีการแยกวิธีการเขียนออกเป็น ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน คือ- ทับศัพท์เพื่อใช้ในงานเขียนทั่วไป จะดูแล้วอ่านง่ายเป็นธรรมชาติในภาษาไทย แต่อาจจะให้เสียงอ่านที่ไม่ตรงมาก เนื่องจากข้อจำกัดของภาษาไทยซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่มีเสียงบางอย่างที่ภาษาจีนแต้จิ๋วมี- เขียนเพื่อให้เรียนรู้แยกแยะเสียงอ่าน จะมีการใช้สัญลักษณ์เช่น ^ * ‘ มาเติมเพื่อแสดงเสียงอ่านที่ไม่มีในภาษาไทย คนจะอ่านได้จำเป็นต้องรู้ว่าใช้เพื่อแทนเสียงอะไร จึงไม่เหมาะจะใช้ในงานเขียนทั่วไป แต่เหมาะใช้เวลาเรียนเพื่อให้อ่านออกเสียงได้ตรง แยกแยะเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยได้ ในกรณีนี้จะใช้ * แทนเสียงออกจมูก ใช้ ‘ง แทนเสียง gh (ง แบบไม่ออกจมูก) และใช้ ^ สำหรับเชื่อมเสียงเพื่อแสดงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทยในบทความนี้จะแสดงการทับศัพท์ทั่วไปเป็นหลัก ส่วนการเขียนแบบแยกแยะเสียงจะใส่ไว้ในวงเล็บต่อท้ายด้านหลังในกรณีที่มีความต่างสำหรับภาษาแต้จิ๋วแล้ววรรณยุกต์ถือเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง ๘ เสียง และคำแต่ละคำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรมแต่ละวรรณยุกต์มีตัวเลขเพื่อแทนวรรณยุกต์นั้นๆ การแสดงเสียงวรรณยุกต์ในเพ็งอิมทำโดยการเขียนตัวเลขต่อท้ายแต่ตัวเลขจะไม่ได้แทนวรรณยุกต์เดิมเสมอไป เพราะคำมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม เรียกว่าการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เป็นลักษณะเด่นของภาษาจีนในตระกูลหมิ่น (闽语/閩語)ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้ง ๘ เทียบเคียงกับภาษาไทย และแสดงด้วยว่าเสียงไหนจะเปลี่ยนเป็นเสียงไหนเมื่อไปนำหน้าคำอื่นในที่นี้ 4 กับ 8 เป็นเสียงกัก หรือก็หมายถึงคำตายในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาแต้จิ๋วนั้นคำตายจะเกิดในกรณีที่เป็นตัวสะกดแม่กก และ แม่กบ ซึ่งคือตัวสะกด g และ b ในเพ็งอิม หรือกรณีเสียงสั้นไร้ตัวสะกด ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า “เสียงกักเส้นเสียง” ในเพ็งอิมจะลงท้ายด้วย hส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่เหลือคือ 1, 2, 3, 5, 6, 7 จะเกิดขึ้นกับคำเป็นเท่านั้น จึงแยกต่างหากจากเสียง 4 และ 8 ชัดเจนเสียง 1 เป็นเสียงกลางๆไม่สูงไม่ต่ำ ใกล้เคียงเสียงสามัญในภาษาไทยเสียง 2 เป็นเสียงที่เริ่มจากสูงแล้วลงต่ำ ใกล้เคียงเสียงโทในภาษาไทย หรือเสียง 4 ในจีนกลางเสียง 5 เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทยเสียง 6 เป็นเสียงที่เริ่มจากต่ำแล้วค่อยๆขึ้นสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย หรือเสียง 2 ในจีนกลางเสียง 4 กับ 8 เป็นเสียงกักทั้งคู่แต่ต่างกันตรงที่เสียง 4 ต่ำกว่าเสียง 8 เสียง 4 จึงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 8 ใกล้เคียงกับเสียงตรีเสียง 3 กับ 7 โดยพื้นฐานแล้วเป็นต่ำ คล้ายเสียงวรรณยุกต์เอกในภาษาไทย แต่เสียง 7 เป็นต่ำแบบเรียบๆ ส่วน 3 เสียงจะมีกดลงต่ำตรงกลางและยกสูงขึ้นอีกทีตอนท้าย แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อย คนไทยจะฟังแล้วได้ยินเป็นเสียงเอกเหมือนกันแต่ข้อแตกต่างระหว่างเสียง 3 และ 7 จะชัดเจนเมื่อนำหน้าคำอื่น โดยเสียง 3 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 (เสียงตรี) หรือเสียง 2 (เสียงโท) แต่เสียง 7 จะไม่เปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นเสียงเอกเสียง 3 จะเปลี่ยนไปเป็นเสียง 5 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับสำเนียง แต่สำเนียงมาตรฐานซัวเถาจะใช้เสียง 5เสียง 2 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 ส่วนเสียง 5 และ 6 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 7เสียง 1 และเสียง 7 จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงไม่ว่าอยู่ตรงไหนของคำการเปลี่ยนไปมาของเสียงอาจสรุปได้ดังนี้อาจจำในแบบไทยๆว่า- เสียงสามัญจะไม่มีการเปลี่ยนเสียง- เสียงโทจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา- เสียงตรี (ทั้งเสียง 5 และ 8) และจัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงเอก- เสียงเอกจะยุ่งยากที่สุด เพราะมีอยู่สามเสียงคือ 3, 4, 7 ถ้าหากเป็น 3 หรือ 4 ให้เปลี่ยนเป็นเสียงตรี (ยกเว้นบางสำเนียง 3 เปลี่ยนเป็น 2 เสียงโท) แต่ถ้าเป็น 7 ให้คงเสียงเอกไว้ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงด้วยคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว”อักษร 牛 “วัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 อ่านว่า “งู้”แต่รวมกับ 肉 กลายเป็น 牛肉 “เนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 แต่เสียงที่อ่านจริงจะเป็น ghu7 nêg8 “หงู่เน็ก”พอรวมกับ 丸 กลายเป็น 牛肉丸 “ลูกชิ้นเนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 แต่เสียงที่อ่านจริงเป็น ghu7 nêg4 in5 “หงู่เหน็กอี๊”คำว่า 粿条 ที่หมายถึง “ก๋วยเตี๋ยว” เขียนเพ็งอิมว่า guê2 diao5 แต่อ่านจริงเป็นเสียง guê6 diao5 “ก๋วยเตี๊ยว”ดังนั้นรวมแล้วคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว” เขียนเพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 guê2 diao5 แต่อ่านจริงๆเป็น ghu7 nêg4 in7 guê6 diao5 “หงู่เหน็กอี่ก๋วยเตี๊ยว”จะเห็นว่าทุกตัวนอกจากตัวแรกเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปหมด เพราะแต่ละตัวขยายตัวที่อยู่ข้างหลังในการทับศัพท์ภาษาไทยเราจะเขียนเสียงวรรณยุกต์ตามที่ออกจริง แต่เพ็งอิมที่แสดงในพจนานุกรมจะใช้เลขที่เป็นเสียงเดิมก่อนเปลี่ยนเสียงเสมอ ดังนั้นจะต้องรู้เองว่าเสียงจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง และเมื่อใดจำเป็นต้องเปลี่ยนเสียงบ้างหลักโดยทั่วไปคือจะเปลี่ยนเสียงเมื่อเป็นคำที่นำหน้าคำอื่นเพื่อขยายคำนั้น หรือเป็นคำกริยาที่มีกรรม แต่ก็มีรายละเอียดให้พิจารณามากกว่านั้น ในที่นี้ขอละไว้ในรายละเอียดเนื่องจากค่อนข้างซับซ้อนในภาษาแต้จิ๋วมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว แทนด้วยเพ็งอิมเป็น b, p, bh, m, d, t, n, l, g, k, gh, ng, h, z, c, r, sเสียง ng ตรงกับเสียง “ง” ในภาษาไทย แต่เสียง gh จะเหมือนกับเสียง g ในภาษาอังกฤษ คืออยู่ระหว่าง “ก” กับ “ง” เวลาทับศัพท์มักจะใช้ “ง” เช่นเดียวกับ ng เพราะไม่มีเสียงนี้จริงๆในภาษาไทย แต่เมื่อต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างชัดอาจจะเติม ‘ ลงไปเป็น ” ‘ง ” แบบนี้เสียง z กับ c จะเหมือนกับ z และ c ในจีนกลาง คือจะต่างจากเสียง “จ” และ “ช” ในภาษาไทยเล็กน้อย เวลาทับศัพท์ก็ใช้ “จ” และ “ช” ได้r เป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง “จ” และ “ย” แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ “ย” จึงทับศัพท์ด้วย “ย”ส่วนเสียงที่เหลือล้วนตรงกับภาษาไทยตามที่เทียบในตารางภาษาแต้จิ๋วมีสระหลากหลายมาก มีทั้งสระเดี่ยว สระควบสอง สระควบสาม แต่ละสระอาจมีตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่กก แม่กบ หรือเป็นเสียงกักเส้นเสียง (ลงท้าย h) นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนตัวสะกดแต่ละตัวอาจปรากฏกับสระบางตัวเท่านั้น มีการเข้าคู่กันค่อนข้างจะจำเพาะตารางสรุปคู่สระและตัวสะกดที่มีทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)ต่อไปจะอธิบายรายละเอียดพร้อมยกตัวอย่าง โดยจะขอแยกเขียนเป็นกลุ่มๆมีทั้งหมด ๖ สระ ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถแทนแต่ละสระด้วยสระในภาษาไทยดังนี้ที่ควรระวังคือ e กับ ê เป็นคนละสระกัน โดย e เฉยๆจะแทนสระอือ แต่ถ้ามี ˆ อยู่ด้านบนเป็น ê จะแทนสระแอสระประสมมีอยู่มากมายในภาษาแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่จะมีในภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่มีในภาษาไทยจึงได้แค่แทนด้วยเสียงที่ใกล้เคียงแต้จิ๋วปกติจะไม่แยกแยะเสียงสั้นและยาว เสียง ai ที่จริงเสียงค่อนข้างยาว อาจเขียนเป็น “อาย” ก็ได้ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่คนนิยมเขียนเป็น “ไอ” มากกว่า ในที่นี้จึงเลือกเขียนเป็น “ไอ”เสียง ia กับ io มักถูกเขียนแทนด้วยสระเอีย แต่ทั้งสองเสียงไม่ได้ตรงกับสระเอียซะทีเดียวia คือสระอีต่อด้วยสระอา ใกล้เคียงกับสระเอีย แต่สระอาด้านหลังลากเสียงยาวกว่าio คือสระอีต่อด้วยสระออ ที่จริงไม่ได้ใกล้เคียงกับสระเอียมาก แต่ไม่มีสระในภาษาไทยที่แทนได้ใกล้เคียงจริงๆอยู่กรณีทับศัพท์ทั่วไปอาจเขียนเป็นสระเอียทั้งคู่ แต่เมื่อต้องการเขียนให้เห็นความต่างจะเขียนโดยแยกสระ โดยใช้ ^ เป็นตัวคั่น เป็น “อี^อา” กับ “อี^ออ”กรณีที่เขียนแบบนี้ เสียงวรรณยุกต์จะใส่ไว้ที่ตัวหลัง ส่วนตัวหน้าใส่เสียงสามัญตลอดในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่เสียง io จะถูกแทนด้วย iê (อี^เอ)ส่วน oi นั้นที่จริงแล้วเป็นเสียงค่อยข้างสั้น เป็น สระโอะ+ย โดยทั่วไปสระโอะเมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปกลายเป็นไม่ใส่รูปสระ จึงมีบางคนเขียนเป็น “อย” เช่นเดียวกับที่ สระโอะ+น = อน แต่ว่าจริงๆ สระโอะ+ย ไม่เคยปรากฏในภาษาไทย การเขียนแบบนี้จึงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นในกรณีนี้จึงเขียนในรูปสระโอแทน เพราะความสั้นยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมายของคำในภาษาแต้จิ๋วส่วน uê นั้นจริงๆแล้วเป็นเสียง อู+เอ แต่ฟังดูแล้วจะใกล้เคียงกับเสียง “อวย” ในภาษาไทยจึงมักเขียนแบบนี้สำหรับสระประสมสามเสียงมีอยู่แค่ ๒ แบบ ได้แก่iao กับ iou เป็นคำเดียวกันในต่างสำเนียง ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถาเองก็มีการใช้ทั้ง iao และ iou ในที่นี้จึงแสดงไว้ทั้งคู่ ความแตกต่างอยู่ที่เสียงสระตัวกลาง หากเขียนแยกจะเป็น อี^เอา กับ อี^โอว แต่ไม่ว่าจะเสียงไหนก็ใกล้เคียงกับ “เอียว” ในภาษาไทย จึงเขียนแบบนี้เหมือนกันสำหรับ uai นั้นจะคล้ายกับ uai ในจีนกลาง คือออกเสียงควบ วสระในกลุ่มนี้จะมีตัว n ต่อท้าย ซึ่ง n ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสะกดแม่กน เพราะในแต้จิ๋วไม่มีแม่กน แต่หมายถึงเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก)คนไทยทั่วไปจะไม่รู้จักเสียงนี้และแยกแยะไม่ออกว่ามีเสียงออกจมูกหรือไม่ ในการทับศัพท์เสียงออกจมูกนี้มักถูกละเลย เขียนเหมือนไม่มีตัว n อยู่ท้าย แต่ในการเขียนเพื่อแสดงเสียงอ่านโดยละเอียดบางคนก็เติม * หรือ น์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเสียงออกจมูกอยู่ในที่นี้ก็จะขอละ n ไปเลยในการทับศัพท์ทั่วไป ส่วนเวลาที่ต้องการแยกแยะเสียงจะเติม * เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนี้มีเสียงออกจมูกการมีเสียงออกจมูกไม่ได้ทำให้สระเปลี่ยนไป ดังนั้นเวลาทับศัพท์ให้ทำเหมือนกับตัด n ออกแล้วอ่านสระแบบเหมือนไม่มี nในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ ion จะออกเสียงเป็น iênแต้จิ๋วมีตัวสะกดอยู่ ๔ เสียง คือ แม่กม แม่กง แม่กบ แม่กกเมื่อมีตัวสะกดเสียงสระจะกลายเป็นเสียงสั้นทั้งหมด a เป็นสระอะ i เป็นสระอิ u เป็นสระอุส่วนเสียง ê นั้นจะซับซ้อนขึ้นหน่อย คือเมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระแอ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระเอะ จึงอ่านเป็น “เอ็ง” “เอ็ก”เสียง o ก็มีการเปลี่ยนเสียงเช่นกัน เมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระออ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระโอะ เป็น “อง” “อก”สำหรับ êng กับ êg นั้นถ้าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ให้ใส่ไม้ไต่คู่ แต่ถ้าต้องใส่รูปวรรณยุกต์ค่อยตัดไม้ไต่คู่ทิ้งไปในบางสำเนียงเช่นสำเนียงเตี่ยเอี๊ยมีเสียง iêng, iêg, uêng, uêg ด้วย แต่ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถายุบรวม iêng เป็น iang, iêg เป็น iag, uêng เป็น uang, uêg เป็น uag ทั้งหมดiong และ iog นั้นจริงเป็นเสีย อี+ยง แต่เพื่อความง่ายให้เขียนเป็น “ยง” และ “ยก” เฉยๆ พอมีพยัญชนะต้นนำหน้าก็เขียนในรูปควบ ย เช่นเป็น “คยง” และ “คยก”เสียงกักเส้นเสียงคือเสียงที่ในเพ็งอิมลงท้ายด้วย h จะตรงกับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย คือเป็นคำตาย เสียงจะหยุดที่ท้ายพยางค์สำหรับสระเดี่ยวที่ลงท้ายด้วย h นี้ก็จะออกเสียงคล้ายกับสระเดี่ยวที่ไม่มี h ต่อท้าย แค่เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้นสำหรับสระประสมสองเสียงที่ลงท้ายด้วย h นั้นส่วนใหญ่จะแทนด้วยภาษาไทยยากเพราะที่มีในภาษาไทยมีแค่สระเอียะ (iah) และสระอัวะ (uah) เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยากที่จะเขียนในภาษาไทยให้ตรง ได้แต่เขียนให้ใกล้เคียงที่สุดเสียงกลุ่มนี้มีดังนี้สำหรับ aoh นั้นจริงๆคือสระเอาที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง เนื่องจากไม่มีสระแบบนั้นจริงๆในภาษาไทย ดังนั้นเวลาทับศัพท์ทั่วไปก็ทำได้แค่เขียนเป็น สระเอา ธรรมดา แต่เมื่อต้องการเขียนให้บอกได้ชัดเจนว่าต่างจาก ao อาจเติม ^ ลงไปเป็น “เอา^”สำหรับ oih ที่จริงคือ “โอย” ที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง ภาษาไทยไม่มีเสียงแบบนี้จึงให้แทนด้วย “โอย” เฉยๆ แต่ถ้าต้องการแยกให้ต่างจาก oi ชัดอาจเขียนเติม ^ ต่อท้ายลงไปเป็น “โอย^”อนึ่ง oih บางคนอาจเลือกที่จะเติม “ะ” ลงไป กลายเป็ฯ “โอยะ” แบบนี้ แต่การเขียนแบบนี้สร้างความสับสนได้ง่าย อาจถูกอ่านเป็น “โอ-ยะ” อีกทั้งวิธีการเดียวกันนี้ใช้ในกรณี aoh ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็น “เอาะ” ยิ่งทำให้เข้าใจผิดง่ายขึ้นไปอีกดังนั้นแล้วจึงเลือกใช้ ^ เติมเพื่อแสดงถึงการกักเส้นเสียง แทนที่จะใช้ “ะ” แต่สำหรับคำอื่นซึ่งเขียนในภาษาไทยได้อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้วิธีนี้ioh จะหลายเป็น iêh ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ เช่นเดียวกับที่ io กลายเป็น iêuêh เป็น uê ที่มีการกักเส้นเสียง แต่เปลี่ยนมาเขียนโดยใช้สระเอะควบ ว เพราะไม่สามารถเขียนเสียง อวย ให้เป็นเสียงกักได้คือเสียงที่เหมือนมีแต่ตัวสะกดลอยมาโดยไม่มีสระ แต่จะฟังดูคล้ายกับเป็นสระอือ จึงใช้สระอือแทนสุดท้ายนี้ขอยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้นเริ่มจากการนับเลขชื่อสถานที่ในภูมิภาคแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง หลายชื่อในนี้คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ในที่นี้จะเป็นการเขียนชื่อโดยใช้หลักที่ยกมาข้างต้นตัวอย่างคำภาษาแต้จิ๋วที่กลายเป็นคำไทยสุดท้ายขอยกบทกวี เซียงซือ (相思) โดยหวางเหวย์ (王維) กวีสมัยราชวงศ์ถังหนังสือโดยเหล่าตั๊งพจนานุกรมโดย 林伦伦

[Update] หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋ว :: บล็อกของ phyblas ;囧; いつか見えた空 ~ φυβλαςのブログ | นั ท ภาษา อังกฤษ เขียน ยัง ไง – NATAVIGUIDES

ก่อนหน้านี้ได้เขียนหลักการทับศัพท์ภาษาจีนกลางและกวางตุ้งไปแล้ว

– สำหรับจีนกลาง
– สำหรับกวางตุ้ง

เช่นเดียวกับภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง ภาษาจีนแต้จิ๋วเองก็ใช้อักษรจีนในการเขียนเป็นหลัก และอักษรจีนก็เป็นอักษรแทนความหมายซึ่งไม่สามารถบอกเสียงอ่านได้ในตัว จึงต้องอาศัยอักษรอื่นในการแสดงเสียงอ่าน

และเช่นเดียวกับที่จีนกลางมีพินอิน แต้จิ๋วก็มีระบบทับศัพท์ด้วยอักษรโรมันแบบคล้ายๆกัน เรียกว่า 潮州話拼音 แปลว่า “พินอินภาษาแต้จิ๋ว” หรือนิยมเรียกว่า “เพ็งอิม” ซึ่งเป็นเสียงอ่านในสำเนียงแต้จิ๋วของคำว่า 拼音 (คำว่า “พินอิน” ในจีนกลาง)

หลักการทับศัพท์เป็นภาษาไทยที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเสียงอ่านจากเพ็งอิมอีกที

เพ็งอิมเป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในพจนานุกรมภาษาแต้จิ๋วและหนังสือเรียนแต้จิ๋วเพื่อใช้แสดงเสียง

เพื่อที่จะรู้เสียงอ่านแต้จิ๋วอาจเปิดพจนานุกรม หรือดูแบบออนไลน์ผ่านเว็บ มีที่แนะนำอยู่ ๒ เว็บ ทั้งหมดแสดงเสียงด้วยเพ็งอิม และสามารถเปิดฟังเพื่อเป็นตัวอย่างได้ด้วย
https://www.mogher.com
http://www.czyzd.com

นอกจากนี้เว็บ

เมื่อเห็นเสียงอ่านที่แทนด้วยเพ็งอิมแล้ว ก็ค่อยแปลงเป็นภาษาไทยอีกที

ภาษาแต้จิ๋วเองยังแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยมากมาย แต่สำเนียงมาตรฐานจะยืดเอาที่ใช้ในเมืองซัวเถาเป็นหลัก หลักการถอดเสียงอ่านที่จะแนะนำนี้ก็จะยึดตามสำเนียงซัวเถาโดยจะเขียนเสริมถึงสำเนียงอื่นเพิ่มเติมแค่เล็กน้อยแต่ไม่เน้น

สำหรับหลักการเขียนสำหรับในบางเสียงที่ไม่ค่อยตรงกับภาษาไทยอาจมีการแยกวิธีการเขียนออกเป็น ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน คือ

– ทับศัพท์เพื่อใช้ในงานเขียนทั่วไป จะดูแล้วอ่านง่ายเป็นธรรมชาติในภาษาไทย แต่อาจจะให้เสียงอ่านที่ไม่ตรงมาก เนื่องจากข้อจำกัดของภาษาไทยซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่มีเสียงบางอย่างที่ภาษาจีนแต้จิ๋วมี

– เขียนเพื่อให้เรียนรู้แยกแยะเสียงอ่าน จะมีการใช้สัญลักษณ์เช่น ^ * ‘ มาเติมเพื่อแสดงเสียงอ่านที่ไม่มีในภาษาไทย คนจะอ่านได้จำเป็นต้องรู้ว่าใช้เพื่อแทนเสียงอะไร จึงไม่เหมาะจะใช้ในงานเขียนทั่วไป แต่เหมาะใช้เวลาเรียนเพื่อให้อ่านออกเสียงได้ตรง แยกแยะเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยได้ ในกรณีนี้จะใช้ * แทนเสียงออกจมูก ใช้ ‘ง แทนเสียง gh (ง แบบไม่ออกจมูก) และใช้ ^ สำหรับเชื่อมเสียงเพื่อแสดงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทย

ในบทความนี้จะแสดงการทับศัพท์ทั่วไปเป็นหลัก ส่วนการเขียนแบบแยกแยะเสียงจะใส่ไว้ในวงเล็บต่อท้ายด้านหลังในกรณีที่มีความต่าง

วรรณยุกต์

สำหรับภาษาแต้จิ๋วแล้ววรรณยุกต์ถือเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง ๘ เสียง และคำแต่ละคำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม

แต่ละวรรณยุกต์มีตัวเลขเพื่อแทนวรรณยุกต์นั้นๆ การแสดงเสียงวรรณยุกต์ในเพ็งอิมทำโดยการเขียนตัวเลขต่อท้าย

แต่ตัวเลขจะไม่ได้แทนวรรณยุกต์เดิมเสมอไป เพราะคำมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม เรียกว่าการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เป็นลักษณะเด่นของภาษาจีนในตระกูลหมิ่น (闽语/閩語)

ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้ง ๘ เทียบเคียงกับภาษาไทย และแสดงด้วยว่าเสียงไหนจะเปลี่ยนเป็นเสียงไหนเมื่อไปนำหน้าคำอื่น

เลข
ระดับเสียง
เทียบ
วรรณยุกต์ไทย
แปรเสียงเป็น
ตัวอย่าง

1
กลางเรียบ
˧ (3)
สามัญ
1 (ไม่เปลี่ยน)
分 = hung1 = ฮุง
刀 = do1 = ตอ

2
สูงไปต่ำ
˥˨ (52)
โท
6
粉 = hung2 = ฮุ่ง
短 = do2 = ต้อ

3
ต่ำไม่เรียบ
˨˩˧ (213)
เอก
5 หรือ 2
训/訓 = hung3 = หุ่ง
倒 = do3 = ต่อ

4
ต่ำกัก
˨̚ (2)
เอก
8
忽 = hug4 = หุก
桌 = doh4 = เตาะ

5
สูงเรียบ
˥ (5)
ตรี
7
云/雲 = hung5 = ฮุ้ง
逃 = do5 = ต้อ

6
กลางไปสูง
˧˥ (35)
จัตวา
7
混 = hung6 = หุง
在 = do6 = ต๋อ

7
ต่ำเรียบ
˩ (1)
เอก
7 (ไม่เปลี่ยน)
份 = hung7 = หุ่ง
袋 = do7 = ต่อ

8
สูงกัก
˦̚ (4)
ตรี
4
佛 = hug8 = ฮุก
择/擇 = doh8 = เต๊าะ

ในที่นี้ 4 กับ 8 เป็นเสียงกัก หรือก็หมายถึงคำตายในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาแต้จิ๋วนั้นคำตายจะเกิดในกรณีที่เป็นตัวสะกดแม่กก และ แม่กบ ซึ่งคือตัวสะกด g และ b ในเพ็งอิม หรือกรณีเสียงสั้นไร้ตัวสะกด ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า “เสียงกักเส้นเสียง” ในเพ็งอิมจะลงท้ายด้วย h

ส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่เหลือคือ 1, 2, 3, 5, 6, 7 จะเกิดขึ้นกับคำเป็นเท่านั้น จึงแยกต่างหากจากเสียง 4 และ 8 ชัดเจน

เสียง 1 เป็นเสียงกลางๆไม่สูงไม่ต่ำ ใกล้เคียงเสียงสามัญในภาษาไทย

เสียง 2 เป็นเสียงที่เริ่มจากสูงแล้วลงต่ำ ใกล้เคียงเสียงโทในภาษาไทย หรือเสียง 4 ในจีนกลาง

เสียง 5 เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทย

เสียง 6 เป็นเสียงที่เริ่มจากต่ำแล้วค่อยๆขึ้นสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย หรือเสียง 2 ในจีนกลาง

เสียง 4 กับ 8 เป็นเสียงกักทั้งคู่แต่ต่างกันตรงที่เสียง 4 ต่ำกว่าเสียง 8 เสียง 4 จึงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 8 ใกล้เคียงกับเสียงตรี

เสียง 3 กับ 7 โดยพื้นฐานแล้วเป็นต่ำ คล้ายเสียงวรรณยุกต์เอกในภาษาไทย แต่เสียง 7 เป็นต่ำแบบเรียบๆ ส่วน 3 เสียงจะมีกดลงต่ำตรงกลางและยกสูงขึ้นอีกทีตอนท้าย แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อย คนไทยจะฟังแล้วได้ยินเป็นเสียงเอกเหมือนกัน

แต่ข้อแตกต่างระหว่างเสียง 3 และ 7 จะชัดเจนเมื่อนำหน้าคำอื่น โดยเสียง 3 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 (เสียงตรี) หรือเสียง 2 (เสียงโท) แต่เสียง 7 จะไม่เปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นเสียงเอก

เสียง 3 จะเปลี่ยนไปเป็นเสียง 5 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับสำเนียง แต่สำเนียงมาตรฐานซัวเถาจะใช้เสียง 5

เสียง 2 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 ส่วนเสียง 5 และ 6 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 7

เสียง 1 และเสียง 7 จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงไม่ว่าอยู่ตรงไหนของคำ

การเปลี่ยนไปมาของเสียงอาจสรุปได้ดังนี้

อาจจำในแบบไทยๆว่า
– เสียงสามัญจะไม่มีการเปลี่ยนเสียง
– เสียงโทจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา
– เสียงตรี (ทั้งเสียง 5 และ 8) และจัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงเอก
– เสียงเอกจะยุ่งยากที่สุด เพราะมีอยู่สามเสียงคือ 3, 4, 7 ถ้าหากเป็น 3 หรือ 4 ให้เปลี่ยนเป็นเสียงตรี (ยกเว้นบางสำเนียง 3 เปลี่ยนเป็น 2 เสียงโท) แต่ถ้าเป็น 7 ให้คงเสียงเอกไว้

ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงด้วยคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว”

อักษร 牛 “วัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 อ่านว่า “งู้”

แต่รวมกับ 肉 กลายเป็น 牛肉 “เนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 แต่เสียงที่อ่านจริงจะเป็น ghu7 nêg8 “หงู่เน็ก”

พอรวมกับ 丸 กลายเป็น 牛肉丸 “ลูกชิ้นเนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 แต่เสียงที่อ่านจริงเป็น ghu7 nêg4 in5 “หงู่เหน็กอี๊”

คำว่า 粿条 ที่หมายถึง “ก๋วยเตี๋ยว” เขียนเพ็งอิมว่า guê2 diao5 แต่อ่านจริงเป็นเสียง guê6 diao5 “ก๋วยเตี๊ยว”

ดังนั้นรวมแล้วคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว” เขียนเพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 guê2 diao5 แต่อ่านจริงๆเป็น ghu7 nêg4 in7 guê6 diao5 “หงู่เหน็กอี่ก๋วยเตี๊ยว”

จะเห็นว่าทุกตัวนอกจากตัวแรกเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปหมด เพราะแต่ละตัวขยายตัวที่อยู่ข้างหลัง

ในการทับศัพท์ภาษาไทยเราจะเขียนเสียงวรรณยุกต์ตามที่ออกจริง แต่เพ็งอิมที่แสดงในพจนานุกรมจะใช้เลขที่เป็นเสียงเดิมก่อนเปลี่ยนเสียงเสมอ ดังนั้นจะต้องรู้เองว่าเสียงจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง และเมื่อใดจำเป็นต้องเปลี่ยนเสียงบ้าง

หลักโดยทั่วไปคือจะเปลี่ยนเสียงเมื่อเป็นคำที่นำหน้าคำอื่นเพื่อขยายคำนั้น หรือเป็นคำกริยาที่มีกรรม แต่ก็มีรายละเอียดให้พิจารณามากกว่านั้น ในที่นี้ขอละไว้ในรายละเอียดเนื่องจากค่อนข้างซับซ้อน

พยัญชนะต้น

ในภาษาแต้จิ๋วมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว แทนด้วยเพ็งอิมเป็น b, p, bh, m, d, t, n, l, g, k, gh, ng, h, z, c, r, s

เพ็งอิม
IPA
ทับศัพท์ไทย
ตัวอย่าง




丫 = a1 = อา

b
p

吧 = ba1 = ปา

p

พ, ผ
帕 = pê3 = แผ่

bh
b

武 = bhu2 = บู้

m
m

墓 = mo6 = หมอ

d
t

灱 = da1 = ตา

t

ท, ถ
他 = ta1 = ทา

n
n

年 = ni5 = นี้

l
l

牢 = lo5 = ล้อ

g
k

咬 = ga6 = ก๋า

k

ค, ข
卡 = ka2 = ค่า

gh
g
ง (‘ง)
牙 = ghê5 = แง้ (แ’ง้)

ng
ŋ

宜 = ngi5 = งี้

h
h
ฮ, ห
夏 = hê7 = แห่

z
ʦ

早 = za2 = จ้า

c
ʦʰ
ช, ฉ
市 = ci6 = ฉี

r
ʣ

字 = ri7 = หยี่

s
s
ซ, ส
傻 = sa6 = สา

เสียง ng ตรงกับเสียง “ง” ในภาษาไทย แต่เสียง gh จะเหมือนกับเสียง g ในภาษาอังกฤษ คืออยู่ระหว่าง “ก” กับ “ง” เวลาทับศัพท์มักจะใช้ “ง” เช่นเดียวกับ ng เพราะไม่มีเสียงนี้จริงๆในภาษาไทย แต่เมื่อต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างชัดอาจจะเติม ‘ ลงไปเป็น ” ‘ง ” แบบนี้

เสียง z กับ c จะเหมือนกับ z และ c ในจีนกลาง คือจะต่างจากเสียง “จ” และ “ช” ในภาษาไทยเล็กน้อย เวลาทับศัพท์ก็ใช้ “จ” และ “ช” ได้

r เป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง “จ” และ “ย” แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ “ย” จึงทับศัพท์ด้วย “ย”

ส่วนเสียงที่เหลือล้วนตรงกับภาษาไทยตามที่เทียบในตาราง

สระและตัวสะกด

ภาษาแต้จิ๋วมีสระหลากหลายมาก มีทั้งสระเดี่ยว สระควบสอง สระควบสาม แต่ละสระอาจมีตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่กก แม่กบ หรือเป็นเสียงกักเส้นเสียง (ลงท้าย h) นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน

ตัวสะกดแต่ละตัวอาจปรากฏกับสระบางตัวเท่านั้น มีการเข้าคู่กันค่อนข้างจะจำเพาะ

ตารางสรุปคู่สระและตัวสะกดที่มีทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)

สระ
ตัวสะกด

แม่กม
[m]

แม่กบ
[p̚]

แม่กง
[ŋ]

แม่กก
[k̚]

กักเส้นเสียง
[ʔ]

อา
[a]

a
อา
am
อัม
ab
อับ
ang
อัง
ag
อัก
ah
อะ

อือ
[ɯ]

e
อือ
 
 
eng
อึง
eg
อึก
 

แอ / เอ
[e]

ê
แอ
 
 
êng
เอ็ง
êg
เอ็ก
êh
แอะ

อี
[i]

i
อี
im
อิม
ib
อิบ
ing
อิง
ig
อิก
ih
อิ

ออ / โอ
[o]

o
ออ
 
 
ong
อง
og
อก
oh
เอาะ

อู
[u]

u
อู
 
 
ung
อุง
ug
อุก
uh
อุ

ไอ
[ai]

ai
ไอ
 
 
 
 
 

เอา
[au]

au
เอา
 
 
 
 
auh
เอา (เอา^)

เอีย (อี^อา)
[ia]

ia
เอีย (อี^อา)
iam
เอียม
iab
เอียบ
iang
เอียง
iag
เอียก
iah
เอียะ (อี^อะ)

เอีย (อี^ออ)
[io]

io
เอีย (อี^ออ)
 
 
iong
ยง
iog
ยก
ioh
เอียะ (อี^เอาะ)

อิว
[iu]

iu
อิว
 
 
 
 
 

โอย
[oi]

oi
โอย
 
 
 
 
oih
โอย (โอย^)

โอว
[ou]

ou
โอว
 
 
 
 
 

อัว
[ua]

ua
อัว
uam
อวม
uab
อวบ
uang
อวง
uag
อวก
uah
อัวะ

อวย (อู^เอ)
[ue]


อวย
 
 
 
 
uêh
เอวะ

อุย
[ui]

ui
อุย
 
 
 
 
 

เอียว
[iau]

iao
เอียว
 
 
 
 
 

เอียว
[iou]

iou
เอียว
 
 
 
 
 

ไอว
[uai]

uai
ไอว
 
 
 
 
 

ไร้สระ
 
m
อึม
 
ng
อึง
 
 

ต่อไปจะอธิบายรายละเอียดพร้อมยกตัวอย่าง โดยจะขอแยกเขียนเป็นกลุ่มๆ

สระเดี่ยว

มีทั้งหมด ๖ สระ ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถแทนแต่ละสระด้วยสระในภาษาไทยดังนี้

a
อา
鸦/鴉 = a1 = อา
饱/飽 = ba2 = ป้า
炒 = ca2 = ช่า

e
อือ
余 = e2 = อื้อ
你 = le2 = ลื่อ
巨 = ge6 =กื๋อ

ê
แอ
些 = sê1 = แซ
帕 = pê3 = แผ่
架 = gê3 = แก่

i
อี
意 = i3 = อี่
丕 = pi2 = พี่
义/義 = ngi6 = หงี

o
ออ
奥/奧 = o3 = อ่อ
退 = to3 = ถ่อ
所 = so5 = ซ่อ

u
อู
污/汙 = u1 = อู
虏/虜= lu2 = ลู่
付 = hu3 = หู่

ที่ควรระวังคือ e กับ ê เป็นคนละสระกัน โดย e เฉยๆจะแทนสระอือ แต่ถ้ามี ˆ อยู่ด้านบนเป็น ê จะแทนสระแอ


สระประสมสองเสียง

สระประสมมีอยู่มากมายในภาษาแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่จะมีในภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่มีในภาษาไทยจึงได้แค่แทนด้วยเสียงที่ใกล้เคียง

ai
ไอ
哀 = ai1 = ไอ
眉 = bhai5 = ไบ๊
再 = zai3 = ไจ่

ao
เอา
呕/嘔 = ao2 = เอ้า
卯 = bhao2 = เบ้า
投 = dao5 = เต๊า

ia
เอีย (อี^อา)
也 = ia7 = เอี่ย (อี^อ่า)
雅 = ngia2 = เงี่ย (งี^อ้า)
者 = zia2 = เจี้ย (จี^อ้า)

io
เอีย (อี^ออ)
姚 = io5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ)
庙/廟 = bhio7 = เบี่ย (บี^อ่อ)
桥/橋 = gio5 = เกี๊ย (กี^อ๊อ)

iu
อิว
佑 = iu6 = อิ๋ว
手 = ciu2 = ชิ่ว
球 = giu5 = กิ๊ว

oi
โอย
鞋 = oi5 = โอ๊ย
改 = goi2 = โก้ย
蟹 = hoi6 = โหย

ou
โอว
湖 = ou5 = โอ๊ว
路 = lou7 = โหล่ว
雨 = hou6 = โหว

ua
อัว
我 = ua2 = อั้ว
麻 = mua5 = มั้ว
沙 = sua1 = ซัว


อวย
卫/衛 = uê6 = อ๋วย
尾 = bhuê2 = บ้วย
最 = zuê3 = จ่วย

ui
อุย
为/為 = ui5 = อุ๊ย
唯 = rui5 = ยุ้ย
隧 = sui7 = สุ่ย

แต้จิ๋วปกติจะไม่แยกแยะเสียงสั้นและยาว เสียง ai ที่จริงเสียงค่อนข้างยาว อาจเขียนเป็น “อาย” ก็ได้ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่คนนิยมเขียนเป็น “ไอ” มากกว่า ในที่นี้จึงเลือกเขียนเป็น “ไอ”

เสียง ia กับ io มักถูกเขียนแทนด้วยสระเอีย แต่ทั้งสองเสียงไม่ได้ตรงกับสระเอียซะทีเดียว

ia คือสระอีต่อด้วยสระอา ใกล้เคียงกับสระเอีย แต่สระอาด้านหลังลากเสียงยาวกว่า

io คือสระอีต่อด้วยสระออ ที่จริงไม่ได้ใกล้เคียงกับสระเอียมาก แต่ไม่มีสระในภาษาไทยที่แทนได้ใกล้เคียงจริงๆอยู่

กรณีทับศัพท์ทั่วไปอาจเขียนเป็นสระเอียทั้งคู่ แต่เมื่อต้องการเขียนให้เห็นความต่างจะเขียนโดยแยกสระ โดยใช้ ^ เป็นตัวคั่น เป็น “อี^อา” กับ “อี^ออ”

กรณีที่เขียนแบบนี้ เสียงวรรณยุกต์จะใส่ไว้ที่ตัวหลัง ส่วนตัวหน้าใส่เสียงสามัญตลอด

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่เสียง io จะถูกแทนด้วย iê (อี^เอ)

ส่วน oi นั้นที่จริงแล้วเป็นเสียงค่อยข้างสั้น เป็น สระโอะ+ย โดยทั่วไปสระโอะเมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปกลายเป็นไม่ใส่รูปสระ จึงมีบางคนเขียนเป็น “อย” เช่นเดียวกับที่ สระโอะ+น = อน แต่ว่าจริงๆ สระโอะ+ย ไม่เคยปรากฏในภาษาไทย การเขียนแบบนี้จึงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นในกรณีนี้จึงเขียนในรูปสระโอแทน เพราะความสั้นยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมายของคำในภาษาแต้จิ๋ว

ส่วน uê นั้นจริงๆแล้วเป็นเสียง อู+เอ แต่ฟังดูแล้วจะใกล้เคียงกับเสียง “อวย” ในภาษาไทยจึงมักเขียนแบบนี้

สระประสมสามเสียง

สำหรับสระประสมสามเสียงมีอยู่แค่ ๒ แบบ ได้แก่

iao
เอียว (อี^เอา)
夭 = iao1/iou1 = เอียว
表 = biao2/biou2 = เปี้ยว
了 = liao2/liou2 = เลี่ยว

iou
เอียว (อี^โอว)

uai
ไอว
挖 = uai1 = ไอว
拐 = guai2 = ไกว้
甩 = suai1 = ไซว

iao กับ iou เป็นคำเดียวกันในต่างสำเนียง ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถาเองก็มีการใช้ทั้ง iao และ iou ในที่นี้จึงแสดงไว้ทั้งคู่ ความแตกต่างอยู่ที่เสียงสระตัวกลาง หากเขียนแยกจะเป็น อี^เอา กับ อี^โอว แต่ไม่ว่าจะเสียงไหนก็ใกล้เคียงกับ “เอียว” ในภาษาไทย จึงเขียนแบบนี้เหมือนกัน

สำหรับ uai นั้นจะคล้ายกับ uai ในจีนกลาง คือออกเสียงควบ ว

สระเดี่ยว+นาสิก

สระในกลุ่มนี้จะมีตัว n ต่อท้าย ซึ่ง n ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสะกดแม่กน เพราะในแต้จิ๋วไม่มีแม่กน แต่หมายถึงเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก)

คนไทยทั่วไปจะไม่รู้จักเสียงนี้และแยกแยะไม่ออกว่ามีเสียงออกจมูกหรือไม่ ในการทับศัพท์เสียงออกจมูกนี้มักถูกละเลย เขียนเหมือนไม่มีตัว n อยู่ท้าย แต่ในการเขียนเพื่อแสดงเสียงอ่านโดยละเอียดบางคนก็เติม * หรือ น์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเสียงออกจมูกอยู่

ในที่นี้ก็จะขอละ n ไปเลยในการทับศัพท์ทั่วไป ส่วนเวลาที่ต้องการแยกแยะเสียงจะเติม * เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนี้มีเสียงออกจมูก

การมีเสียงออกจมูกไม่ได้ทำให้สระเปลี่ยนไป ดังนั้นเวลาทับศัพท์ให้ทำเหมือนกับตัด n ออกแล้วอ่านสระแบบเหมือนไม่มี n

an
อา (อา*)
馅/餡 = an7 = อ่า (อ่า*)
怕 = pan3 = ผ่า (ผ่า*)
敢 = gan2 = ก้า (ก้า*)

ên
แอ (แอ*)
楹 = ên5 = แอ๊ (แอ๊*)
梗 = gên2 = แก้ (แก้*)
青 = cên1 = แช (แช*)

in
อี (อี*)
圆/圓 = in5= อี๊ (อี๊*)
鼻 = pin7 = ผี่ (ผี่*)
面/麵 = min7 = หมี่ (หมี่*)

สระประสมสองเสียง+นาสิก

ain
ไอ (ไอ*)
爱/愛 = ain3 = ไอ่ (ไอ่*)

aon
เอา (เอา*)
好 = haon3 = เห่า (เห่า*)

ian
เอีย (เอีย*)
影 = ian2 = เอี้ย (เอี้ย*)
兄 = hian1 = เฮีย (เฮีย*)
声/聲 = sian1 = เซีย (เซีย*)

ion
เอีย (อี^ออ*)
羊 = ion5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ*)
帐/帳 = dion3 = เตี่ย (ตี^อ่อ*)
伤/傷 = sion1 = เซีย (ซี^ออ*)

iun
อิว (อิว*)
幼 = iun3= อิ่ว (อิ่ว*)

oin
โอย (โอย*)
闲/閑 = oin5 = โอ๊ย (โอ๊ย*)
肩 = goin1 = โกย (โกย*)
睇 = toin2 = โท่ย (โท่ย*)

oun
โอว (โอว*)
虎 = houn2 = โฮ่ว (โฮ่ว*)

uan
อัว (อัว*)
旱 = uan6 = อั๋ว (อั๋ว*)
半 = buan3 = ปั่ว (ปั่ว*)
欢/歡 = huan1 = ฮัว (ฮัว*)

uên
อวย (อวย*)
横/橫 = huên5 = ฮ้วย (ฮ้วย*)

uin
อุย (อุย*)
畏 = uin3 = อุ่ย (อุ่ย*)

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ ion จะออกเสียงเป็น iên

สระเดี่ยว+ตัวสะกด

แต้จิ๋วมีตัวสะกดอยู่ ๔ เสียง คือ แม่กม แม่กง แม่กบ แม่กก

เมื่อมีตัวสะกดเสียงสระจะกลายเป็นเสียงสั้นทั้งหมด a เป็นสระอะ i เป็นสระอิ u เป็นสระอุ

ส่วนเสียง ê นั้นจะซับซ้อนขึ้นหน่อย คือเมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระแอ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระเอะ จึงอ่านเป็น “เอ็ง” “เอ็ก”

เสียง o ก็มีการเปลี่ยนเสียงเช่นกัน เมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระออ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระโอะ เป็น “อง” “อก”

am
อัม
暗 = am3 = อั่ม
惨/慘 = cam2 = ชั่ม
憾 = ham6 = หัม

ab
อับ
盒 = ab8 = อั๊บ
答 = dab4 = ตับ
峡/峽 = hab8 = ฮับ

ang
อัง
宴 = ang3 = อั่ง
朗 = lang6 = หลัง
刊 = kang5 = คั้ง

ag
อัก
抑 = ag4 = อัก
北 = bag4 = ปัก
贼/賊 = cag8 = ชัก

eng
อึง
隐/隱 = eng2 = อึ้ง
女 = neng2 = นึ่ง
床 = ceng5 = ชึ้ง

eg
อึก
乞 = keg4 = ขึก
吃 = ngeg4 = หงึก

êng
เอ็ง
用 = êng7 = เอ่ง
胸 = hêng1 = เฮ็ง
令 = lêng6 = เหล็ง

êg
เอ็ก
亿/億 = êg8 = เอ๊ก
击/撃 = kêg4 = เข็ก
碧 = pêg4 = เป็ก

im
อิม
淫/滛 = im5 = อิ๊ม
凛/凜 = lim2= ลิ่ม
吟 = ngim5 = งิ้ม

ib
อิบ
邑 = ib4 = อิบ
急 = gib4 = กิบ
入 = rib8 = ยิบ

ing
อิง
引 = ing2 = อิ้ง
镇/鎮 = ding3= ติ่ง
臣 = cing5 = ชิ้ง

ig
อิก
逸 = ig8 = อิ๊ก
匹 = pig4 = ผิก
乜 = mig4 = หมิก

ong
อง
鹟/鶲 = ong1 = อง
鹏/鵬 = pong5 = พ้ง
孔 = kong2 = ค่ง

og
อก
握 = og4 = อก
禄/祿 = log8 = ลก
福 = hog4 = หก

ung
อุง
运/運 = ung7 = อุ่ง
文 = bhung5 = บุ๊ง
允 = rung2 = ยุ่ง

ug
อุก
夗 = ug8 = อุ๊ก
吻 = bhug4= บุก
卒 = zug4 = จุก

สำหรับ êng กับ êg นั้นถ้าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ให้ใส่ไม้ไต่คู่ แต่ถ้าต้องใส่รูปวรรณยุกต์ค่อยตัดไม้ไต่คู่ทิ้งไป

สระประสมสองเสียง+ตัวสะกด

iam
เอียม
盐/鹽 = iam5 = เอี๊ยม
点/點 = diam2 = เตี้ยม
染 = riam2 = เยี่ยม

iab
เอียบ
叶/葉 = iab8 = เอี๊ยบ
协/協 = hiab8 = เฮี้ยบ
业/業= ngiab8 = เงี้ยบ

iang
เอียง
映 = iang3 = เอี่ยง
良 = liang5 = เลี้ยง
仰 = ngiang2 = เงี่ยง

iag
เอียก
跃/躍= iag4 = เอียก
却/卻 = kiag4 = เขียก
弱 = riag8 = เรี้ยก

iong
ยง
永 = iong2 = ย่ง
恐 = kiong2 = คย่ง
雄 = hiong5 = ฮย้ง

iog
ยก
育 = iog8 = ยก
畜 = tiog4 = ถยก
克 = iog4 = ขยก

uam
อวม
泛 = huam3 = ห่วม

uab
อวบ
法 = huab4 = หวบ

uang
อวง
旺 = uang6 = อ๋วง
忘 = bhuang5 = บ๊วง
元 = nguang5 = ง้วง

uag
อวก
获/獲 = uag8 = อ๊วก
扩/擴 = kuag4 = ขวก
浊/濁 = zuag8 = จ๊วก

ในบางสำเนียงเช่นสำเนียงเตี่ยเอี๊ยมีเสียง iêng, iêg, uêng, uêg ด้วย แต่ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถายุบรวม iêng เป็น iang, iêg เป็น iag, uêng เป็น uang, uêg เป็น uag ทั้งหมด

iong และ iog นั้นจริงเป็นเสีย อี+ยง แต่เพื่อความง่ายให้เขียนเป็น “ยง” และ “ยก” เฉยๆ พอมีพยัญชนะต้นนำหน้าก็เขียนในรูปควบ ย เช่นเป็น “คยง” และ “คยก”

สระเดี่ยว+กักเส้นเสียง

เสียงกักเส้นเสียงคือเสียงที่ในเพ็งอิมลงท้ายด้วย h จะตรงกับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย คือเป็นคำตาย เสียงจะหยุดที่ท้ายพยางค์

สำหรับสระเดี่ยวที่ลงท้ายด้วย h นี้ก็จะออกเสียงคล้ายกับสระเดี่ยวที่ไม่มี h ต่อท้าย แค่เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้น

ah
อะ
鸭/鴨 = ah4 = อะ
甲 = gah4 = กะ
闸/閘 = zah8 = จ๊ะ

êh
แอะ
扼 êh4 = แอะ
白 = bêh8 = แป๊ะ
册/冊 = cêh4 = แฉะ

ih
อิ
浥 = ih4 = อิ
裂 = lih8 = ลิ
舌 = zih8 = จิ๊

oh
เอาะ
呃 = oh4 = เอาะ
桌 = doh4 = เตาะ
绝/絶 = zoh8 = เจ๊าะ

สระประสมสองเสียง+กักเส้นเสียง

สำหรับสระประสมสองเสียงที่ลงท้ายด้วย h นั้นส่วนใหญ่จะแทนด้วยภาษาไทยยากเพราะที่มีในภาษาไทยมีแค่สระเอียะ (iah) และสระอัวะ (uah) เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยากที่จะเขียนในภาษาไทยให้ตรง ได้แต่เขียนให้ใกล้เคียงที่สุด

เสียงกลุ่มนี้มีดังนี้

aoh
เอา (เอา^)
落 = laoh8 = เล้า (เล้า^)
乐/樂 = ghaoh8 = เง้า (เง้า^)

oih
โอย (โอย^)
狭/狹 = oih8 = โอ๊ย (โอ๊ย^)
八 = boih4 = โป่ย (โป่ย^)
夹/夾 = goih8 = โก๊ย (โก๊ย^)

iah
เอียะ (อี^อะ)
溢 = iah4 = เอียะ (อี^อะ)
壁 = biah4 = เปียะ (ปี^อะ)
食 = ziah8 = เจี๊ยะ (จี^อ๊ะ)

ioh
เอียะ (อี^เอาะ)
药/藥 = ioh8 = เอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ)
挈 = kioh8 = เคียะ (คี^เอ๊าะ)
惜 = sioh4 = เสียะ (ซี^เอาะ)

uah
อัวะ
活 = uah8 = อั๊วะ
割 = guah4 = กัวะ
杀/殺 = suah4 = สัวะ

uêh
เอวะ
画/畫 = uêh8 = เอว๊ะ
月 = ghuêh8 = เงวะ (เ’งวะ)
刷 = suêh4 = เสวะ

สำหรับ aoh นั้นจริงๆคือสระเอาที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง เนื่องจากไม่มีสระแบบนั้นจริงๆในภาษาไทย ดังนั้นเวลาทับศัพท์ทั่วไปก็ทำได้แค่เขียนเป็น สระเอา ธรรมดา แต่เมื่อต้องการเขียนให้บอกได้ชัดเจนว่าต่างจาก ao อาจเติม ^ ลงไปเป็น “เอา^”

สำหรับ oih ที่จริงคือ “โอย” ที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง ภาษาไทยไม่มีเสียงแบบนี้จึงให้แทนด้วย “โอย” เฉยๆ แต่ถ้าต้องการแยกให้ต่างจาก oi ชัดอาจเขียนเติม ^ ต่อท้ายลงไปเป็น “โอย^”

อนึ่ง oih บางคนอาจเลือกที่จะเติม “ะ” ลงไป กลายเป็ฯ “โอยะ” แบบนี้ แต่การเขียนแบบนี้สร้างความสับสนได้ง่าย อาจถูกอ่านเป็น “โอ-ยะ” อีกทั้งวิธีการเดียวกันนี้ใช้ในกรณี aoh ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็น “เอาะ” ยิ่งทำให้เข้าใจผิดง่ายขึ้นไปอีก

ดังนั้นแล้วจึงเลือกใช้ ^ เติมเพื่อแสดงถึงการกักเส้นเสียง แทนที่จะใช้ “ะ” แต่สำหรับคำอื่นซึ่งเขียนในภาษาไทยได้อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้วิธีนี้

ioh จะหลายเป็น iêh ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ เช่นเดียวกับที่ io กลายเป็น iê

uêh เป็น uê ที่มีการกักเส้นเสียง แต่เปลี่ยนมาเขียนโดยใช้สระเอะควบ ว เพราะไม่สามารถเขียนเสียง อวย ให้เป็นเสียงกักได้

ไร้สระ

คือเสียงที่เหมือนมีแต่ตัวสะกดลอยมาโดยไม่มีสระ แต่จะฟังดูคล้ายกับเป็นสระอือ จึงใช้สระอือแทน

m
อึม
姆 = m2 = อึ้ม
唔 = m6 = อึ๋ม

ng
อึง
黄/黃 = ng5 = อึ๊ง
园/園 = hng5 = ฮึ้ง

ตัวอย่าง

สุดท้ายนี้ขอยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

เริ่มจากการนับเลข

0
〇/零
lêng5
เล้ง

1

zêg8 / ig4
เจ๊ก / อิก

2

no6 / ri6
หนอ / หยี

3

san1
ซา (ซา*)

4

si3
สี่

5

ngou6
โหงว

6

lag8
ลัก

7

cig4
ฉิก

8

boih4
โป่ย (โป่ย^)

9

gao2
เก้า

10

zab8
จั๊บ

100

bêh4
แปะ

1,000

coin1
โชย (โชย*)

10,000
万/萬
bhuang7
บ่วง

100,000,000
亿/億
êg8
เอ๊ก

1,000,000,000,000

diao6
เตี๋ยว

ชื่อสถานที่ในภูมิภาคแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง หลายชื่อในนี้คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ในที่นี้จะเป็นการเขียนชื่อโดยใช้หลักที่ยกมาข้างต้น

อักษรจีน
เพ็งอิม
ทับศัพท์
จีนกลาง
รูปเดิม
แปรเสียง

潮州
dio5 ziu1
dio7 ziu1
เตี่ยจิว (ตี^อ่อ)
เฉาโจว

汕头/汕頭
suan1 tao5
 
ซัวเท้า (ซัว*)
ซ่านโถว

揭阳/揭陽
gig4 ion5
gig8 ion5
กิ๊กเอี๊ย (อี^อ๊อ*)
เจียหยาง

汕尾
suan1 bhuê5
 
ซัวบ้วย (ซัว*)
ซ่านเหว่ย์

湘桥/湘橋
siang1 gio5
 
เซียงเกี๊ย (กี^อ๊อ)
เซียงเฉียว

潮安
dio5 ang1
dio7 ang1
เตี่ยอัง (ตี^อ่อ)
เฉาอาน

饶平/饒平
riao5 pêng5
riao7 pêng5
เหยี่ยวเพ้ง
เหราผิง

金平
gim1 pêng5
 
กิมเพ้ง
จินผิง

龙湖/龍湖
lêng5 ou5
lêng7 ou5
เหล่งโอ๊ว
หลงหู

濠江
hao5 gang1
hao7 gang1
เห่ากัง
เหาเจียง

澄海
têng5 hai2
têng7 hai2
เถ่งไฮ่
เฉิงไห่

潮阳/潮陽
dio5 ion5
dio7 ion5
เตี่ยเอี๊ย (ตี^อ่อ อี^อ๊อ*)
เฉาหยาง

潮南
dio5 nam5
dio7 nam5
เตี่ยนั้ม (ตี^อ่อ)
เฉาหนาน

南澳
nam5 o3
nam7 o3
หนั่มอ่อ
หนานเอ้า

榕成
iong5 sian5
iong7 sian5
หย่งเซี้ย (ซี^อ๊า*)
หรงเฉิง

揭东/揭東
gig4 dang1
gig8 dang1
กิ๊กตัง
เจียตง

揭西
gig4 sai1
gig8 sai1
กิ๊กไซ
เจียซี

普宁/普寧
pou2 lêng5
pou6 lêng5
โผวเล้ง
ผู่หนิง

惠来/惠來
hui6 lai5
hui7 lai5
หุ่ยไล้
ฮุ่ยไหล

陆丰/陸豐
lok8 hong1
lok4 hong1
หลกฮง
ลู่เฟิง

海丰/海豐
hai2 hong1
hai6 hong1
ไหฮง
ไห่เฟิง

ตัวอย่างคำภาษาแต้จิ๋วที่กลายเป็นคำไทย

อักษรจีน
เพ็งอิม
ทับศัพท์
คำไทย
รูปเดิม
แปรเสียง

把戏/把戲
ba2 hi3
ba6 hi3
ป๋าหี่
ปาหี่

畚箕
bung3 gi1
bung5 gi1
ปุ๊งกี
ปุ้งกี๋

肉面/肉麵
bhah4 min7
bhah8 min7
บ๊ะหมี่ (หมี่*)
บะหมี่

肉粽
bhah4 zang3
bhah8 zang3
บ๊ะจั่ง
บ๊ะจ่าง

八仙
boih4 siang1
boih8 siang1
โป๊ยเซียง
โป๊ยเซียน

草粿
cao5 guê2
cao7 guê2
เฉาก้วย
เฉาก๊วย

谶诗/讖詩
ciam1 si1
 
เชียมซี
เซียมซี

粗货/粗貨
cou1 huê3
 
โชวห่วย
โชห่วย

豆腐
dao7 hu7
 
เต่าหู่
เต้าหู้

豆花
dao7 huê1
 
เต่าฮวย
เต้าฮวย

豆酱
dao7 zion3
 
เต่าเจี่ย (จี^อ่อ*)
เต้าเจี้ยว

压腰/壓腰
dêh4 io1
dêh8 io1
แต๊ะเอีย (อี^ออ)
แต๊ะเอีย

橄榄/橄欖
gan1 na2
 
กาน่า (กา*)
กาน้า

交椅
gao1 in2
 
เกาอี้
เก้าอี้

菊花
gêg4 huê1
gêg8 huê1
เก๊กฮวย
เก๊กฮวย

咸菜/鹹菜
giam5 cai3
giam7 cai3
เกี่ยมไฉ่
เกี้ยมไฉ่

膏药/膏藥
go1 ioh8
 
กอเอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ)
กอเอี๊ยะ

韭菜
gu2 cai3
gu6 cai3
กู๋ไฉ่
กุยช่าย

粿条/粿條
guê2 diao5
guê6 diao5
ก๋วยเตี๊ยว
ก๋วยเตี๋ยว

粿汁
guê2 zab4
guê6 zab4
ก๋วยจับ
ก๋วยจั๊บ

军师/軍師
gung1 se1
 
กุงซือ
กุนซือ

风水/風水
huang1 zui2
 
ฮวงจุ้ย
ฮวงจุ้ย

芥蓝/芥藍
kah4 na5
kah8 na5
คะน้า
คะน้า

喽啰/嘍囉
liu5 lo5
liu3 lo5
หลิ่วล้อ
ลิ่วล้อ

乌凉/烏涼
ou1 liang5
 
โอวเลี้ยง
โอเลี้ยง

乌热/烏熱
ou1 ruoh8
 
โอวยัวะ
โอยัวะ

字号/字號
ri7 ho7
 
หยี่ห่อ
ยี่ห้อ

三辇/三輦
san1 ling2
 
ซาลิ่ง (ซา*)
ซาเล้ง

豉油
si7 iu5
 
สี่อิ๊ว
ซีอิ๋ว

四散
si3 suan2
si5 suoa2
ซี้ซั่ว
ซี้ซั้ว

先生
sing1 sên1
 
ซิงแซ (แซ*)
ซินแส

梭罗包/梭羅包
so1 lo1 bao1
 
ซอลอเปา
ซาลาเปา

头家/頭家
tao5 gê1
tao3 gê1
เถ่าแก
เถ้าแก่

杂菜/雜菜
zab8 cai3
zab4 cai3
จับไฉ่
จับฉ่าย

杂工/雜工
zab8 gang1
zab4 gang1
จับกัง
จับกัง

座山
zo7 suan1
 
จ่อซัว (ซัว*)
เจ้าสัว

สุดท้ายขอยกบทกวี เซียงซือ (相思) โดยหวางเหวย์ (王維) กวีสมัยราชวงศ์ถัง

红豆生南国

春来发几枝

愿君多采撷

此物最相思

紅豆生南國

春來發幾枝

願君多採擷

此物最相思

ang5 dao7 sên1 nam5 gog4
cung1 lai5 huag4 gui2 gi1
nguang6 gung1 do1 cai2 kiag4
ce2 muêh8 zuê3 sio1 si1

เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์
ang7 dao7 sên1 nam7 gog4
cung1 lai5 huag8 gui6 gi1
nguang7 gung1 do1 cai6 kiag4
ce6 muêh8 zuê5 sio1 si1

อั่ง เต่า แซ หนั่ม กก
ชุง ไล้ ฮ้วก กุ๋ย กี
หง่วง กุง ตอ ไฉ เขียก
ฉือ เมวะ จ๊วย เซีย ซี

อ้างอิง

https://zh.wikipedia.org/wiki/潮州话
https://zh.wikipedia.org/wiki潮州話拼音方案
หนังสือ ลูกหลานคนแต้จิ๋ว โดยเหล่าตั๊ง
พจนานุกรม 潮州音字典 โดย 林伦伦

สำหรับบทความนี้จะขอเสนอหลักการทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นภาษาไทยก่อนหน้านี้ได้เขียนหลักการทับศัพท์ภาษาจีนกลางและกวางตุ้งไปแล้ว- สำหรับจีนกลาง https://phyblas.hinaboshi.com/20181019 – สำหรับกวางตุ้ง https://phyblas.hinaboshi.com/20190208 เช่นเดียวกับภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง ภาษาจีนแต้จิ๋วเองก็ใช้อักษรจีนในการเขียนเป็นหลัก และอักษรจีนก็เป็นอักษรแทนความหมายซึ่งไม่สามารถบอกเสียงอ่านได้ในตัว จึงต้องอาศัยอักษรอื่นในการแสดงเสียงอ่านและเช่นเดียวกับที่จีนกลางมีพินอิน แต้จิ๋วก็มีระบบทับศัพท์ด้วยอักษรโรมันแบบคล้ายๆกัน เรียกว่า 潮州話拼音 แปลว่า “พินอินภาษาแต้จิ๋ว” หรือนิยมเรียกว่า “เพ็งอิม” ซึ่งเป็นเสียงอ่านในสำเนียงแต้จิ๋วของคำว่า 拼音 (คำว่า “พินอิน” ในจีนกลาง)หลักการทับศัพท์เป็นภาษาไทยที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเสียงอ่านจากเพ็งอิมอีกทีเพ็งอิมเป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในพจนานุกรมภาษาแต้จิ๋วและหนังสือเรียนแต้จิ๋วเพื่อใช้แสดงเสียงเพื่อที่จะรู้เสียงอ่านแต้จิ๋วอาจเปิดพจนานุกรม หรือดูแบบออนไลน์ผ่านเว็บ มีที่แนะนำอยู่ ๒ เว็บ ทั้งหมดแสดงเสียงด้วยเพ็งอิม และสามารถเปิดฟังเพื่อเป็นตัวอย่างได้ด้วยนอกจากนี้เว็บ wiktionary เองก็มีบางส่วนที่แสดงเสียงอ่านแต้จิ๋วด้วย ซึ่งก็แสดงด้วยเพ็งอิมด้วยเช่นกันเมื่อเห็นเสียงอ่านที่แทนด้วยเพ็งอิมแล้ว ก็ค่อยแปลงเป็นภาษาไทยอีกทีภาษาแต้จิ๋วเองยังแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยมากมาย แต่สำเนียงมาตรฐานจะยืดเอาที่ใช้ในเมืองซัวเถาเป็นหลัก หลักการถอดเสียงอ่านที่จะแนะนำนี้ก็จะยึดตามสำเนียงซัวเถาโดยจะเขียนเสริมถึงสำเนียงอื่นเพิ่มเติมแค่เล็กน้อยแต่ไม่เน้นสำหรับหลักการเขียนสำหรับในบางเสียงที่ไม่ค่อยตรงกับภาษาไทยอาจมีการแยกวิธีการเขียนออกเป็น ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน คือ- ทับศัพท์เพื่อใช้ในงานเขียนทั่วไป จะดูแล้วอ่านง่ายเป็นธรรมชาติในภาษาไทย แต่อาจจะให้เสียงอ่านที่ไม่ตรงมาก เนื่องจากข้อจำกัดของภาษาไทยซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่มีเสียงบางอย่างที่ภาษาจีนแต้จิ๋วมี- เขียนเพื่อให้เรียนรู้แยกแยะเสียงอ่าน จะมีการใช้สัญลักษณ์เช่น ^ * ‘ มาเติมเพื่อแสดงเสียงอ่านที่ไม่มีในภาษาไทย คนจะอ่านได้จำเป็นต้องรู้ว่าใช้เพื่อแทนเสียงอะไร จึงไม่เหมาะจะใช้ในงานเขียนทั่วไป แต่เหมาะใช้เวลาเรียนเพื่อให้อ่านออกเสียงได้ตรง แยกแยะเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยได้ ในกรณีนี้จะใช้ * แทนเสียงออกจมูก ใช้ ‘ง แทนเสียง gh (ง แบบไม่ออกจมูก) และใช้ ^ สำหรับเชื่อมเสียงเพื่อแสดงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทยในบทความนี้จะแสดงการทับศัพท์ทั่วไปเป็นหลัก ส่วนการเขียนแบบแยกแยะเสียงจะใส่ไว้ในวงเล็บต่อท้ายด้านหลังในกรณีที่มีความต่างสำหรับภาษาแต้จิ๋วแล้ววรรณยุกต์ถือเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง ๘ เสียง และคำแต่ละคำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรมแต่ละวรรณยุกต์มีตัวเลขเพื่อแทนวรรณยุกต์นั้นๆ การแสดงเสียงวรรณยุกต์ในเพ็งอิมทำโดยการเขียนตัวเลขต่อท้ายแต่ตัวเลขจะไม่ได้แทนวรรณยุกต์เดิมเสมอไป เพราะคำมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม เรียกว่าการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เป็นลักษณะเด่นของภาษาจีนในตระกูลหมิ่น (闽语/閩語)ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้ง ๘ เทียบเคียงกับภาษาไทย และแสดงด้วยว่าเสียงไหนจะเปลี่ยนเป็นเสียงไหนเมื่อไปนำหน้าคำอื่นในที่นี้ 4 กับ 8 เป็นเสียงกัก หรือก็หมายถึงคำตายในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาแต้จิ๋วนั้นคำตายจะเกิดในกรณีที่เป็นตัวสะกดแม่กก และ แม่กบ ซึ่งคือตัวสะกด g และ b ในเพ็งอิม หรือกรณีเสียงสั้นไร้ตัวสะกด ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า “เสียงกักเส้นเสียง” ในเพ็งอิมจะลงท้ายด้วย hส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่เหลือคือ 1, 2, 3, 5, 6, 7 จะเกิดขึ้นกับคำเป็นเท่านั้น จึงแยกต่างหากจากเสียง 4 และ 8 ชัดเจนเสียง 1 เป็นเสียงกลางๆไม่สูงไม่ต่ำ ใกล้เคียงเสียงสามัญในภาษาไทยเสียง 2 เป็นเสียงที่เริ่มจากสูงแล้วลงต่ำ ใกล้เคียงเสียงโทในภาษาไทย หรือเสียง 4 ในจีนกลางเสียง 5 เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทยเสียง 6 เป็นเสียงที่เริ่มจากต่ำแล้วค่อยๆขึ้นสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย หรือเสียง 2 ในจีนกลางเสียง 4 กับ 8 เป็นเสียงกักทั้งคู่แต่ต่างกันตรงที่เสียง 4 ต่ำกว่าเสียง 8 เสียง 4 จึงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 8 ใกล้เคียงกับเสียงตรีเสียง 3 กับ 7 โดยพื้นฐานแล้วเป็นต่ำ คล้ายเสียงวรรณยุกต์เอกในภาษาไทย แต่เสียง 7 เป็นต่ำแบบเรียบๆ ส่วน 3 เสียงจะมีกดลงต่ำตรงกลางและยกสูงขึ้นอีกทีตอนท้าย แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อย คนไทยจะฟังแล้วได้ยินเป็นเสียงเอกเหมือนกันแต่ข้อแตกต่างระหว่างเสียง 3 และ 7 จะชัดเจนเมื่อนำหน้าคำอื่น โดยเสียง 3 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 (เสียงตรี) หรือเสียง 2 (เสียงโท) แต่เสียง 7 จะไม่เปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นเสียงเอกเสียง 3 จะเปลี่ยนไปเป็นเสียง 5 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับสำเนียง แต่สำเนียงมาตรฐานซัวเถาจะใช้เสียง 5เสียง 2 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 ส่วนเสียง 5 และ 6 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 7เสียง 1 และเสียง 7 จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงไม่ว่าอยู่ตรงไหนของคำการเปลี่ยนไปมาของเสียงอาจสรุปได้ดังนี้อาจจำในแบบไทยๆว่า- เสียงสามัญจะไม่มีการเปลี่ยนเสียง- เสียงโทจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา- เสียงตรี (ทั้งเสียง 5 และ 8) และจัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงเอก- เสียงเอกจะยุ่งยากที่สุด เพราะมีอยู่สามเสียงคือ 3, 4, 7 ถ้าหากเป็น 3 หรือ 4 ให้เปลี่ยนเป็นเสียงตรี (ยกเว้นบางสำเนียง 3 เปลี่ยนเป็น 2 เสียงโท) แต่ถ้าเป็น 7 ให้คงเสียงเอกไว้ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงด้วยคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว”อักษร 牛 “วัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 อ่านว่า “งู้”แต่รวมกับ 肉 กลายเป็น 牛肉 “เนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 แต่เสียงที่อ่านจริงจะเป็น ghu7 nêg8 “หงู่เน็ก”พอรวมกับ 丸 กลายเป็น 牛肉丸 “ลูกชิ้นเนื้อวัว” เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 แต่เสียงที่อ่านจริงเป็น ghu7 nêg4 in5 “หงู่เหน็กอี๊”คำว่า 粿条 ที่หมายถึง “ก๋วยเตี๋ยว” เขียนเพ็งอิมว่า guê2 diao5 แต่อ่านจริงเป็นเสียง guê6 diao5 “ก๋วยเตี๊ยว”ดังนั้นรวมแล้วคำว่า 牛肉丸粿条 “ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว” เขียนเพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 guê2 diao5 แต่อ่านจริงๆเป็น ghu7 nêg4 in7 guê6 diao5 “หงู่เหน็กอี่ก๋วยเตี๊ยว”จะเห็นว่าทุกตัวนอกจากตัวแรกเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปหมด เพราะแต่ละตัวขยายตัวที่อยู่ข้างหลังในการทับศัพท์ภาษาไทยเราจะเขียนเสียงวรรณยุกต์ตามที่ออกจริง แต่เพ็งอิมที่แสดงในพจนานุกรมจะใช้เลขที่เป็นเสียงเดิมก่อนเปลี่ยนเสียงเสมอ ดังนั้นจะต้องรู้เองว่าเสียงจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง และเมื่อใดจำเป็นต้องเปลี่ยนเสียงบ้างหลักโดยทั่วไปคือจะเปลี่ยนเสียงเมื่อเป็นคำที่นำหน้าคำอื่นเพื่อขยายคำนั้น หรือเป็นคำกริยาที่มีกรรม แต่ก็มีรายละเอียดให้พิจารณามากกว่านั้น ในที่นี้ขอละไว้ในรายละเอียดเนื่องจากค่อนข้างซับซ้อนในภาษาแต้จิ๋วมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว แทนด้วยเพ็งอิมเป็น b, p, bh, m, d, t, n, l, g, k, gh, ng, h, z, c, r, sเสียง ng ตรงกับเสียง “ง” ในภาษาไทย แต่เสียง gh จะเหมือนกับเสียง g ในภาษาอังกฤษ คืออยู่ระหว่าง “ก” กับ “ง” เวลาทับศัพท์มักจะใช้ “ง” เช่นเดียวกับ ng เพราะไม่มีเสียงนี้จริงๆในภาษาไทย แต่เมื่อต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างชัดอาจจะเติม ‘ ลงไปเป็น ” ‘ง ” แบบนี้เสียง z กับ c จะเหมือนกับ z และ c ในจีนกลาง คือจะต่างจากเสียง “จ” และ “ช” ในภาษาไทยเล็กน้อย เวลาทับศัพท์ก็ใช้ “จ” และ “ช” ได้r เป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง “จ” และ “ย” แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ “ย” จึงทับศัพท์ด้วย “ย”ส่วนเสียงที่เหลือล้วนตรงกับภาษาไทยตามที่เทียบในตารางภาษาแต้จิ๋วมีสระหลากหลายมาก มีทั้งสระเดี่ยว สระควบสอง สระควบสาม แต่ละสระอาจมีตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่กก แม่กบ หรือเป็นเสียงกักเส้นเสียง (ลงท้าย h) นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนตัวสะกดแต่ละตัวอาจปรากฏกับสระบางตัวเท่านั้น มีการเข้าคู่กันค่อนข้างจะจำเพาะตารางสรุปคู่สระและตัวสะกดที่มีทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)ต่อไปจะอธิบายรายละเอียดพร้อมยกตัวอย่าง โดยจะขอแยกเขียนเป็นกลุ่มๆมีทั้งหมด ๖ สระ ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถแทนแต่ละสระด้วยสระในภาษาไทยดังนี้ที่ควรระวังคือ e กับ ê เป็นคนละสระกัน โดย e เฉยๆจะแทนสระอือ แต่ถ้ามี ˆ อยู่ด้านบนเป็น ê จะแทนสระแอสระประสมมีอยู่มากมายในภาษาแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่จะมีในภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่มีในภาษาไทยจึงได้แค่แทนด้วยเสียงที่ใกล้เคียงแต้จิ๋วปกติจะไม่แยกแยะเสียงสั้นและยาว เสียง ai ที่จริงเสียงค่อนข้างยาว อาจเขียนเป็น “อาย” ก็ได้ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่คนนิยมเขียนเป็น “ไอ” มากกว่า ในที่นี้จึงเลือกเขียนเป็น “ไอ”เสียง ia กับ io มักถูกเขียนแทนด้วยสระเอีย แต่ทั้งสองเสียงไม่ได้ตรงกับสระเอียซะทีเดียวia คือสระอีต่อด้วยสระอา ใกล้เคียงกับสระเอีย แต่สระอาด้านหลังลากเสียงยาวกว่าio คือสระอีต่อด้วยสระออ ที่จริงไม่ได้ใกล้เคียงกับสระเอียมาก แต่ไม่มีสระในภาษาไทยที่แทนได้ใกล้เคียงจริงๆอยู่กรณีทับศัพท์ทั่วไปอาจเขียนเป็นสระเอียทั้งคู่ แต่เมื่อต้องการเขียนให้เห็นความต่างจะเขียนโดยแยกสระ โดยใช้ ^ เป็นตัวคั่น เป็น “อี^อา” กับ “อี^ออ”กรณีที่เขียนแบบนี้ เสียงวรรณยุกต์จะใส่ไว้ที่ตัวหลัง ส่วนตัวหน้าใส่เสียงสามัญตลอดในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่เสียง io จะถูกแทนด้วย iê (อี^เอ)ส่วน oi นั้นที่จริงแล้วเป็นเสียงค่อยข้างสั้น เป็น สระโอะ+ย โดยทั่วไปสระโอะเมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปกลายเป็นไม่ใส่รูปสระ จึงมีบางคนเขียนเป็น “อย” เช่นเดียวกับที่ สระโอะ+น = อน แต่ว่าจริงๆ สระโอะ+ย ไม่เคยปรากฏในภาษาไทย การเขียนแบบนี้จึงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นในกรณีนี้จึงเขียนในรูปสระโอแทน เพราะความสั้นยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมายของคำในภาษาแต้จิ๋วส่วน uê นั้นจริงๆแล้วเป็นเสียง อู+เอ แต่ฟังดูแล้วจะใกล้เคียงกับเสียง “อวย” ในภาษาไทยจึงมักเขียนแบบนี้สำหรับสระประสมสามเสียงมีอยู่แค่ ๒ แบบ ได้แก่iao กับ iou เป็นคำเดียวกันในต่างสำเนียง ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถาเองก็มีการใช้ทั้ง iao และ iou ในที่นี้จึงแสดงไว้ทั้งคู่ ความแตกต่างอยู่ที่เสียงสระตัวกลาง หากเขียนแยกจะเป็น อี^เอา กับ อี^โอว แต่ไม่ว่าจะเสียงไหนก็ใกล้เคียงกับ “เอียว” ในภาษาไทย จึงเขียนแบบนี้เหมือนกันสำหรับ uai นั้นจะคล้ายกับ uai ในจีนกลาง คือออกเสียงควบ วสระในกลุ่มนี้จะมีตัว n ต่อท้าย ซึ่ง n ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสะกดแม่กน เพราะในแต้จิ๋วไม่มีแม่กน แต่หมายถึงเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก)คนไทยทั่วไปจะไม่รู้จักเสียงนี้และแยกแยะไม่ออกว่ามีเสียงออกจมูกหรือไม่ ในการทับศัพท์เสียงออกจมูกนี้มักถูกละเลย เขียนเหมือนไม่มีตัว n อยู่ท้าย แต่ในการเขียนเพื่อแสดงเสียงอ่านโดยละเอียดบางคนก็เติม * หรือ น์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเสียงออกจมูกอยู่ในที่นี้ก็จะขอละ n ไปเลยในการทับศัพท์ทั่วไป ส่วนเวลาที่ต้องการแยกแยะเสียงจะเติม * เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนี้มีเสียงออกจมูกการมีเสียงออกจมูกไม่ได้ทำให้สระเปลี่ยนไป ดังนั้นเวลาทับศัพท์ให้ทำเหมือนกับตัด n ออกแล้วอ่านสระแบบเหมือนไม่มี nในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ ion จะออกเสียงเป็น iênแต้จิ๋วมีตัวสะกดอยู่ ๔ เสียง คือ แม่กม แม่กง แม่กบ แม่กกเมื่อมีตัวสะกดเสียงสระจะกลายเป็นเสียงสั้นทั้งหมด a เป็นสระอะ i เป็นสระอิ u เป็นสระอุส่วนเสียง ê นั้นจะซับซ้อนขึ้นหน่อย คือเมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระแอ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระเอะ จึงอ่านเป็น “เอ็ง” “เอ็ก”เสียง o ก็มีการเปลี่ยนเสียงเช่นกัน เมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระออ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระโอะ เป็น “อง” “อก”สำหรับ êng กับ êg นั้นถ้าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ให้ใส่ไม้ไต่คู่ แต่ถ้าต้องใส่รูปวรรณยุกต์ค่อยตัดไม้ไต่คู่ทิ้งไปในบางสำเนียงเช่นสำเนียงเตี่ยเอี๊ยมีเสียง iêng, iêg, uêng, uêg ด้วย แต่ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถายุบรวม iêng เป็น iang, iêg เป็น iag, uêng เป็น uang, uêg เป็น uag ทั้งหมดiong และ iog นั้นจริงเป็นเสีย อี+ยง แต่เพื่อความง่ายให้เขียนเป็น “ยง” และ “ยก” เฉยๆ พอมีพยัญชนะต้นนำหน้าก็เขียนในรูปควบ ย เช่นเป็น “คยง” และ “คยก”เสียงกักเส้นเสียงคือเสียงที่ในเพ็งอิมลงท้ายด้วย h จะตรงกับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย คือเป็นคำตาย เสียงจะหยุดที่ท้ายพยางค์สำหรับสระเดี่ยวที่ลงท้ายด้วย h นี้ก็จะออกเสียงคล้ายกับสระเดี่ยวที่ไม่มี h ต่อท้าย แค่เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้นสำหรับสระประสมสองเสียงที่ลงท้ายด้วย h นั้นส่วนใหญ่จะแทนด้วยภาษาไทยยากเพราะที่มีในภาษาไทยมีแค่สระเอียะ (iah) และสระอัวะ (uah) เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยากที่จะเขียนในภาษาไทยให้ตรง ได้แต่เขียนให้ใกล้เคียงที่สุดเสียงกลุ่มนี้มีดังนี้สำหรับ aoh นั้นจริงๆคือสระเอาที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง เนื่องจากไม่มีสระแบบนั้นจริงๆในภาษาไทย ดังนั้นเวลาทับศัพท์ทั่วไปก็ทำได้แค่เขียนเป็น สระเอา ธรรมดา แต่เมื่อต้องการเขียนให้บอกได้ชัดเจนว่าต่างจาก ao อาจเติม ^ ลงไปเป็น “เอา^”สำหรับ oih ที่จริงคือ “โอย” ที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง ภาษาไทยไม่มีเสียงแบบนี้จึงให้แทนด้วย “โอย” เฉยๆ แต่ถ้าต้องการแยกให้ต่างจาก oi ชัดอาจเขียนเติม ^ ต่อท้ายลงไปเป็น “โอย^”อนึ่ง oih บางคนอาจเลือกที่จะเติม “ะ” ลงไป กลายเป็ฯ “โอยะ” แบบนี้ แต่การเขียนแบบนี้สร้างความสับสนได้ง่าย อาจถูกอ่านเป็น “โอ-ยะ” อีกทั้งวิธีการเดียวกันนี้ใช้ในกรณี aoh ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็น “เอาะ” ยิ่งทำให้เข้าใจผิดง่ายขึ้นไปอีกดังนั้นแล้วจึงเลือกใช้ ^ เติมเพื่อแสดงถึงการกักเส้นเสียง แทนที่จะใช้ “ะ” แต่สำหรับคำอื่นซึ่งเขียนในภาษาไทยได้อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้วิธีนี้ioh จะหลายเป็น iêh ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ เช่นเดียวกับที่ io กลายเป็น iêuêh เป็น uê ที่มีการกักเส้นเสียง แต่เปลี่ยนมาเขียนโดยใช้สระเอะควบ ว เพราะไม่สามารถเขียนเสียง อวย ให้เป็นเสียงกักได้คือเสียงที่เหมือนมีแต่ตัวสะกดลอยมาโดยไม่มีสระ แต่จะฟังดูคล้ายกับเป็นสระอือ จึงใช้สระอือแทนสุดท้ายนี้ขอยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้นเริ่มจากการนับเลขชื่อสถานที่ในภูมิภาคแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง หลายชื่อในนี้คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ในที่นี้จะเป็นการเขียนชื่อโดยใช้หลักที่ยกมาข้างต้นตัวอย่างคำภาษาแต้จิ๋วที่กลายเป็นคำไทยสุดท้ายขอยกบทกวี เซียงซือ (相思) โดยหวางเหวย์ (王維) กวีสมัยราชวงศ์ถังหนังสือโดยเหล่าตั๊งพจนานุกรมโดย 林伦伦


วิธีฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษผ่านการเขียน – ภาษาอังกฤษคุณครูนัท – นครนายก


อยากเก่งภาษาอังกฤษ ต้องหัดฝึกคิด ฝึกมองสิ่งรอบตัวให้เป็นภาษาอังกฤษ
วันนี้คุณครูนัทมาสอนทุกคน ชนิดที่เรียกว่า \”จับมือทำ\” เลยก็ว่าได้
.
.
นี่เป็นหนึ่งในวิธีการ ที่คุณครูนัทใช้ในการฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ
ทั้งของตัวเอง และแนะนำให้ลูกศิษย์ทุกคนได้ลองนำไปใช้
นั่นก็คือ \”การเขียนไดอารี\” เพราะมันคือพื้นที่ส่วนตัว
ดังนั้นทุกคนจึงไม่ต้องกลัวว่าจะเขียนผิด หรือเขียนถูก
ตรงกันข้าม มันเปิดโอกาสให้เราได้ลงมือคิด แล้วลงมือทำ
(โดยการเขียนมันลงในสมุดบันทึกของเราเอง)
.
.
ฝึกแบบนี้ในทุกๆ วัน คุณครูนัทมั่นใจว่า …
ภายในระยะเวลาไม่นาน ทักษะทางภาษาของคุณเปลี่ยนแน่นอน
.
.
คุณครู NATTO
www.worlducation.net
.
.
ปูและปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษชนิดเข้าเส้น
ทำภาษาอังกฤษให้เข้าใจง่าย
เรียนภาษาอังกฤษจากประสบการณ์
ภาษาอังกฤษคุณครูนัท
ThaiSchoolofEasyEnglish
นครนายก

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

วิธีฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษผ่านการเขียน - ภาษาอังกฤษคุณครูนัท - นครนายก

คอมเมนต์ชาวลาว 4 เหตุผลที่คนลาวชอบใช้ภาษาไทย และอ่านเขียนภาษาไทยได้ โดยที่ไม่ได้เรียนภาษาไทย #ไทยลาว


ทำไมคนลาวชอบใช้ภาษาไทย ทำไมคนลาวอ่านเขียนภาษาไทยได้
วันนี้ช่องของเราจะพาทุกคนมาส่องคอมเมนต์ของชาว สปป.ลาวกัน กับหัวข้อที่ว่า 4 เหตุผลทำไมคนลาวถึงชอบใช้ภาษาไทย และอ่านเขียนภาษาไทยได้ โดยที่ไม่ได้เรียนภาษาไทยมาก่อน และนี้ก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของยูทูปชาวลาวท่านนี้ได้กล่าวว่า
เหตุผลแรกก็คือ เรื่องพยัญชนะ และสระ ของภาษาลาวและภาษาไทยจะมีความคล้ายคลึงกันมาก ถ้าเราเรียนรู้สระ พยัญชนะของลาวได้ ภาษาไทยก็ไม่ยากมากเท่าไหร่ เพราะมีพยัญชนะที่เขียนเหมือนกัน
เหตุผลที่2 ก็คือ เรื่องคำศัพท์ คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาลาวจะเหมือนกัน แทบจะไม่ต่างกันเลย
จะแตกต่างกันก็แค่การออกเสียง และสำเนียง
เหตุผลที่3 ก็คือ โทรศัพท์มือถือ 90%ของคนลาว โทรศัพท์มือถือจะมีแป้นพิมพ์ภาษาไทย อย่างถ้าเราไม่รู้จะเขียนไทยยังไง เราก็เขียนตามแบบของเราไปก่อน แล้วแป้นพิมพ์ก็จะขึ้นคำที่คล้ายกันมาให้โดยอัตโนมัตหรือใช้วิธีพูดไมค์เอาก็จะขึ้นภาษาไทยมาให้
และเหตุผลที่4 ก็คือ คนลาวชอบใช้สินค้าไทย ผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงอาหารของไทย และมักชอบอ่านฉลากข้างขวด และดูทีวีละครไทย ฟังเพลงไทยมาตั้งแต่เด็ก ชอบที่สุดก็ช่อง7กับช่อง3 ของไทย จึงทำให้เราพอจะอ่านและพูดไทยได้
และนี่ก็คือ4เหตุผลหลักๆ ที่คนลาวชอบใช้ภาษาไทย และอ่านเขียนไทยได้ และคลิปนี้เราก็แปลคอมเมนต์มาจากช่องของยูทูปเบอร์ชาวลาวหลายๆช่องที่ได้กล่าวไว้ เราจึงได้นำคอมเมนต์มาแปลรวมไว้ในคลิปนี้คลิปเดียว เพื่อให้ทุกคนได้ฟังกัน โอเคค่ะ เรามาฟังคอมเมนต์ของชาวลาวกันเลย ว่าทำไมพวกเขาถึงชอบใช้ภาษาไทย

ที่มาข้อมูลคลิป https://youtu.be/Ha5vnJNFbM
……………………………………………………….
ชมคลิปเพิ่มเติม อื่นๆอีกมากมายหลายร้อยคลิปได้ที่ช่องYouTube
https://youtube.com/channel/UCNoPv8esN8LYcRihZnq4uUQ ฝากกดติดตามด้วยจ้า จะได้ไปถึง 20,000 Subscribe ด้วยกัน
👉อาหารไทย | ส่องคอมเมนต์ชาวต่างชาติ คิดเห็นอย่างไร? เกี่ยวกับอาหารไทย
https://youtu.be/Lxr1KDa1LFo
👉รู้ไหม? เที่ยวไทย ทำไมฝรั่งชอบ คอมเมนต์ต่างชาติ เหตุผลที่ชาวต่างชาติ รักเมืองไทย อยาากอยู่เมืองไทย
https://youtu.be/Mtnido3L6Lg
👉คอมเมนต์ชาวสปป.ลาว เหตุผลของคนลาวที่ชอบใช้เงินบาทไทย มากกว่าเงินเวียดนามเพราะอะไร?
https://youtu.be/i3UOv8tkJ7M
👉ตลาดรถไฟร่มหุบ ส่องคอมเมนต์ชาวต่างชาติ คิดเห็นอย่างไร? รถไฟวิ่งผ่านกลางตลาดในไทย มันน่าทึ่งมาก
https://youtu.be/Dz9HJ0nHXpo
ช่อง Apple Story รวมหลากหลายเรื่องราว มีทั้งศึกษาเป็นควารู้ สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ แชร์ประสบการณ์ ความบันเทิง และกิจกรรมในแต่ละวันมีทั้ง เล่น กิน เที่ยว
ขออภัยในความมือใหม่ ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ
……………………………………………….
คลิปนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาเป็นความรู้และความบันเทิงเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาที่ล่วงเกินจะทำให้ใครเกิดความเสื่อมเสีย
……………………………………………………………….
ถ้าชอบคลิปนี้ก็ช่วย กดถูกใจ ก็ติดตาม
กดกระดิ่งแจ้งเตือน ไว้ด้วยนะคะ
เพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิปต่อไปน๊าา
หรือใครมีความคิดเห็นอย่างไร หรืออย่างให้ทำคลิปอะไร หรือแก้ไขส่วนไหน
ก็แสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้เลยนะคะ
เราจะพยายามแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณสำหรับคำติชม
ขอบคุณที่ติดตามชมคลิปช่องเรานะคะ
ช่อง Apple Story
Thank you intro template
https://youtu.be/occ_JMzTgAU

คอมเมนต์ชาวลาว 4 เหตุผลที่คนลาวชอบใช้ภาษาไทย และอ่านเขียนภาษาไทยได้ โดยที่ไม่ได้เรียนภาษาไทย #ไทยลาว

คำศัพท์ ผลไม้ ภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่าน ผลไม้ไทย ผลไม้ต่างประเทศ ชื่อผลไม้ต่างๆ Fruits Vocabulary


💖 ถ้าอยากให้กำลังใจ มาสมัครสมาชิกกันนะครับ 💖
กดตรงนี้ 👉 https://www.youtube.com/channel/UCaiwEWHCdfCi23EYN1bWXBQ/join
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผลไม้ ชื่อผลไม้ต่างๆ ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร มีทั้งผลไม้ไทย ผลไม้ต่างประเทศ ผลไม้เมืองนอก คำศัพท์ผลไม้ที่น่าสนใจ เช่น แอปเปิ้ล แอปริคอท อะโวคาโด กล้วย บลูเบอร์รี่ สาเก แคนตาลูป เชอรี่ มะพร้าว ข้าวโพด น้อยหน่า ทุเรียน องุ่น ฝรั่ง กีวี ลางสาด ลิ้นจี่ มะม่วง เมลอน ส้ม มะละกอ เสาวรส ลูกท้อ ลูกพลับ สับปะรด ทับทิม ราสเบอร์รี่ ชมพู่ ละมุด มะเฟือง มะยม สตรอเบอร์รี่ น้อยหน่า มะขาม แห้ว แตงโม ฯลฯ คำศัพท์ผลไม้ พร้อมรูป พร้อมคำอ่าน
รวมวิดีโอฝึกฟัง ฝึกพูดภาษาอังกฤษ สำหรับเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
https://www.youtube.com/playlist?list=PLrstMNlAK0Iu3XViE08wFLjyxyRFFhKYl
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ฟรี! คลิก: https://www.tonamorn.com/
แจกศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1,000 คลิก: https://www.tonamorn.com/vocabulary
สอน การแต่งประโยคภาษาอังกฤษ
https://www.tonamorn.com/learnenglish/writesentences/
เรียนภาษาอังกฤษ จากภาพสวยๆ บนอินสตาแกรม
https://instagram.com/ajtonamorn
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ บทสนทนาภาษาอังกฤษ ไวยากรณ์ แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย และบทเรียนภาษาอังกฤษอีกมากมาย เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่พื้นฐาน จนถึงระดับสูง ฟรี 100% โดย อาจารย์ต้นอมร

คำศัพท์ ผลไม้ ภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่าน ผลไม้ไทย ผลไม้ต่างประเทศ ชื่อผลไม้ต่างๆ Fruits Vocabulary

7 วิชา เขียนสั่งการจักรวาล | Bundit Ungrangsee


==============================
▼ พูดคุยกับผมได้ที่นี่
► LINE OA :: http://line.me/ti/p/%40mdl4971x
► Facebook :: m.me/BunditUngrangsee
==============================
▼ ติดตามความรู้ใหม่ๆได้ที่นี่
► Youtube :: https://bit.ly/3Dg5OgI
► Facebook :: https://bit.ly/38aH1MD
► Instagram :: https://bit.ly/3yiWKDY
► Website :: http://bundit.org/
► LINE OA :: http://line.me/ti/p/%40mdl4971x
==============================
▼ สนใจผลงาน ในรูปแบบต่างๆ
► หนังสือ (Books) :: https://bit.ly/3gvzYmx
► หนังสือเสียง (Audio books) :: https://bit.ly/3gON6mX
► ดนตรี (Music) :: https://bit.ly/3D9NTs5
► คอร์สสัมมนา (Grand Box Set) ในรูปแบบ VDO :: https://bit.ly/3jeNfBJ
► ฟังความรู้ออนไลน์ (iAudio course) :: http://online.bundit.org/
► คอร์สเรียนออนไลน์ (iSeminar) :: https://bit.ly/3zk663J
► Website :: http://bundit.org/
==============================
▼ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
TEL\u0026LINE ID : 0990031550 คุณน้ำ
TEL\u0026LINE ID : 0613898855 คุณพิตต้า
TEL\u0026LINE ID : 0982501221 คุณหญิง
==============================

7 วิชา เขียนสั่งการจักรวาล | Bundit Ungrangsee

ep.3 เกมทายเสียงสัตว์ 20 ข้อ | เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสัตว์ | WAWA kids art


ep.3 เกมทายเสียงสัตว์ 20 ข้อ | เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสัตว์
เกมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยวาชน
เพื่อเสริมทักษะความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ
วิชาการทั้ง คณิตศาสตร์ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และอื่นๆๆอีกมากมาย
อย่าลืมกดติดตาม Subscribe WAWA kids art กันนะค่ะ
เกม คณิตศาสตร์หรรษา ระดับประถมศึกษา (10 ข้อ) https://youtu.be/GhlHe6bjBCQ
เกม หาภาพตรงกับคำสั่ง หมวดวิทยาสาสตร์ https://youtu.be/nqoTcc0QV4
เกม ทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดสัตว์ https://youtu.be/xcT9ntfaVk
วาดการ์ตูนปลาโลมา, เรือ, ผีเสือ, เห็ด | เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สนุกกับการเรียนรู้สีผ่านงานศิลปะ https://youtu.be/7_bjSKieC7c
วาดการ์ตูน ผีเสื้อ, ดอกไม้, บอลลูน, อ่างอาบน้ำ | เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรียนรู้สีผ่านงานศิลปะ https://youtu.be/sfOUFKhNmwc
เกมหารูปภาพตามคำสั่ง หมวดคำราชาศัพท์ https://youtu.be/6yPm5YA2is
เกมหาอักษรที่หายไป หมวดภาษาอังกฤษ https://youtu.be/If5UsAS9ZYQ
เรียนรู้ผลไม้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เล่นไข่เซอร์ไพรส์และลุ้นถ้วยไอศครีม | wawa kids art https://youtu.be/m0b4bpQLBfY
เรียนรู้เลข เล่นทำเลข 110 ผ่านแป้งโด เรียนรู้คำศัพท์ในหมวดผลไม้ https://youtu.be/VzdFLOoiWs
เรียนรู้เลข เล่นทำเลข 110 ผ่านแป้งโด เรียนรู้คำศัพท์ในหมวดผลไม้ https://youtu.be/VzdFLOoiWs
เกม ทายคำศัพท์ยานพาหนะ หมวดภาษาอังกฤษhttps://youtu.be/dc4ApC1qn_w
เกม หาสุภาษิตไทยจากรูปภาพ เรียนรู้ความหมายของสุภาพษิตไทย https://youtu.be/JhqtK1qae_s

ep.3 เกมทายเสียงสัตว์ 20 ข้อ | เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสัตว์ | WAWA kids art

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ นั ท ภาษา อังกฤษ เขียน ยัง ไง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *