Skip to content
Home » [Update] สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society) | ความ รู้ เรื่อง ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

[Update] สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society) | ความ รู้ เรื่อง ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

ความ รู้ เรื่อง ประกัน สังคม: คุณกำลังดูกระทู้

สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน สังคม และประเทศชาติแบบองค์รวมเพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และมีความสุข ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีมานานแล้วโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศและนักคิดคนสำคัญ (อาทิ UNESCO, 2005; OECD, 1998; Schon, 1963; Hutchins, 1970; Husen, 1974; Drucker,1993; Ranson, 1994 เป็นต้น) ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศในทวีปยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรม สเปน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และประเทศในทวีปเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นต้น กำหนดให้สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นวิสัยทัศน์หลักในการพัฒนาคนและประเทศ สำหรับประเทศไทยการปฎิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ความสำคํญกับการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีสิทธิและมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย และบูรณาการเข้าเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคม

 

“สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมายถึง สังคมที่ผู้คนมีนิสัยรักการเรียนรู้ ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้ มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนใจและใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ผู้คนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลายและใช้ความรู้และทักษะความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม มีกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการ สะดวกรวดเร็วและมีการให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง เป็นสังคมที่มีการแบ่งปัน การถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทุกคนในสังคมร่วมมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง องค์ความรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญา มีระบบการบริหารจัดการความรู้ที่ทุกคนและทุกภาคส่วนในสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้ การพัฒนาสังคมเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนฐานการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีแบบองค์รวมเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

 

องค์ประกอบของสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ บุคคลแห่งการเรียนรู้หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้จัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ องค์ความรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ การจัดการความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบเสริม ได้แก่ วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบความผูกพันใกล้ชิดเป้าหมายการพัฒนา ความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค การออกแบบชุมชน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการประกันสิทธิการเรียนรู้ การสนับสนุนงบประมาณ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอาศัยองค์ประกอบทั้งเชิงโครงสร้างทางสังคมและเชิงระบบหรือสถาบันสำคัญของสังคม

 

หลักการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนฐานการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติที่ดีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีคุณภาพและมีความสุขอันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน แต่ผลจากการวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทยพบว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ แม้ว่ามีบรรยากาศการเรียนรู้ เช่น การยกย่องชุมชนต้นแบบด้านการเรียนรู้ และมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้มากมายทั้งในระดับท้องถิ่นชุมชน ภูมิภาค และระดับชาติ แต่เนื่องจากผู้คนยังไม่มีนิสัยและคุณลักษณะของผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learners) ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ในระดับองค์กรยังมีการยอมรับความสามารถของคนภายในด้วยกันในระดับต่ำ ประกอบกับการแบ่งปันความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังพบเห็นได้เฉพาะในบางหน่วยงาน อาทิ หน่วยงานด้านการศึกษาเท่านั้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม ทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอและเกื้อหนุนการเรียนรู้ตามปัญหา ความต้องการและความสนใจที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ในสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต้องเร่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งระบบ ไม่เจาะจงการพัฒนาไปที่การศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น (การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย) ให้ความสำคัญกับรูปแบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น มีมาตรฐานและคุณภาพการเรียนรู้ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การเพิ่มโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เป็นธรรมและมีคุณภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา การกระตุ้นและยกระดับการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นที่ตัวบุคคล ทั้งในแง่ทัศนคติที่ดี ความรู้ ทักษะและการประพฤติปฏิบัติตัว ส่งเสริมให้บุคคลเป็นผู้รักและใฝ่เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เป็นผู้เปิดกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีนิสัยรักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีภาวะผู้นำตนเองในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยทั่วไปมีกระบวนการพัฒนาอันนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1. การสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดสังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาโดยใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา และคุณค่าของการศึกษาตลอดชีวิต

2. การจัดตั้งคณะทำงาน เรียกว่า คณะกรรมการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อทำหน้าที่วางแผนการดำเนินงาน พัฒนาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ กำเนินโครงการการต่างๆ และการประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งรับผิดชอบการประสานงานร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. วิเคราะห์สภาพองค์กรหรือชุมชนในการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. กำหนดแผนการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

5. พัฒนาแผนปฏิบัติการอย่างละเอียดสำหรับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

6. แสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

7. ดำเนินการจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง

8. กำกับติดตามและประเมินผลความสำเร็จเป็นระยะๆ

9. สรุปองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานกับสมาชิกและเครือข่ายที่หลากหลาย

10. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการดำเนินงานการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ทั้งนี้ องค์กร หน่วยงานและชุมชนสามารถปรับกระบวนการพัฒนาข้างต้นได้ตามความเหมาะสมกับบริบทขององค์กร แนวนโยบาย ลักษณะการเรียนรู้ของผู้คนในองค์กร เป็นต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาจากภายใน ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือในการปฏิบัติงานที่เน้นความร่วมมือแบบหุ้นส่วน การมีส่วนร่วม และการมีความสามารถในการดำเนินการที่ชัดเจนและเป็นระบบต่อเนื่องอย่างเป็นพลวัต

 

สำหรับบริบทโรงเรียน การพัฒนาโรงเรียนไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืนต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ในการปฏิบัติขึ้นอยู่กับลักษณะบริบทโรงเรียน แนวนโยบาย วัฒนธรรมการเรียนรู้ การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และระบบโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน โดยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนมีแนวทางที่สำคัญๆ ดังนี้

 

         1. การกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาของโรงเรียนไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ชัดเจนและความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง

         2. การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติสามารถกระทำได้ทั้งในระบบและนอกระบบ อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และทั้งในระดับส่วนบุคคลและส่วนรวม ดังนี้

                  2.1 กำหนดคณะทำงานที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งระดับบริหารและดำเนินการ

                  2.2 แสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ

                  2.3 จัดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ความเชื่อ แนวคิดการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนทุกฝ่ายร่วมกัน รวมทั้งสร้างกระแสความตื่นตัวและมีบทบาทสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

                  2.4 กำหนดกรอบการพัฒนา วางแผนดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการขับเคลื่อน พิจารณาประเด็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือความสนใจร่วม

                  2.5 ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาอย่างเป็นระบบแบบมีส่วนร่วม ปรัยกิจกรรมการเรียนการสอน เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกห้องเรียน

                  2.6 จัดกิจกรรมการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียน โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ ตระหนัก เห็นคุณค่าและรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                  2.7 ดำเนินการจัดกิจกรรม และส่งเสริมการพัฒนา ฝึกปฏิบัติซ้ำจนเกิดเป็นอุปนิสัย พฤติกรรมใหม่ ที่ดีงาม เช่น กิจกรรมการส่งเสริมการรักการอ่าน รักการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการสร้างทัศนคติที่ดี การเปิดกว้างในการรับรู้ และยอมรับซึ่งกันและกัน

                  2.8 จัดสภาพแวดล้อมและการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในเชิงกายภาพ จิตใจ และสังคม สร้างอัตลักษณ์โรงเรียนให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและพฤติกรรม

                  2.9 กำหนดให้มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลความสำเร็จอย่างต่อเนื่องตามตัวชี้วัด เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

                  2.10 สรุปผลการดำเนินงาน ส่งเสริมการยกย่องและสร้างขวัญกำลังใจ เช่น การยกย่องเชิดชูคนดี เก่ง และมีความสุข

                  2.11 จัดระบบการจัดการความรู้โดยสร้างการเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน ชุมชนและระหว่างชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในวงกว้าง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกลไกในการบริหารจัดการ

                  2.12 สร้างระบบงานที่ส่งเสริมการพัฒนา การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนความสำเร็จ ประชาสัมพันธ์นำเสนอบทเรียน องค์ความรู้สู่สาธารณะทั้งในระดับสถานศึกษา ระดับชุมชนหรือสังคมอื่นๆ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

          3. การสร้างคุณค่าและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ผลจากการพัฒนาจนเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้จะทำให้โรงเรียนมีบุคลากรที่เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความพร้อมปฏิบัติงานและทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น โรงเรียนมีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี มีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างคุณค่า ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนมีความเป็นเลิศทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ เป็นที่พึงให้กับผู้คน ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียน สามารถพิจารณาได้จากการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปในระดับบุคคล และระดับองค์กร นั่นเอง

 

แผนภาพ 1 แสดงกระบวนการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับองค์กรและชุมชน

 

จะเห็นได้ว่า กระบวนการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนให้ความสำคัญกับการใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา การเห็นคุณค่าและมีวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาร่วมกันที่ชัดเจน การใช้ศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลักและการมีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดและตัดสินใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเองและหน่วยงาน การสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและกำลังความสามารถ การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ก่อเกิดพลังการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติอันเป็นรากฐานการพัฒนาโรงเรียนที่เข้มแข็ง อันจะเชื่อมโยงและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติที่ยั่งยืนต่อไป

 

สรุป การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องคำนึงถึงภูมิสังคม ปรับการพัฒนาให้สอดประสานกับแนวทางการพัฒนาชุมชน องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของบุคคลและกลุ่มบุคคล และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยมีการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกลไกการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนในสังคมควรทำความเข้าใจหลักคิดและแนวปฏิบัติของสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและการพัฒนาประเทศชาติที่มีดุลยภาพและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนและสังคมโดยรวม สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551

 

รายการอ้างอิง

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวก

สำหรับชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชา

การศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

Drucker, P. (1993). Post-Capitalist Society. HarperBusiness. New York, NY.

Faure, E., Herrera, F., Kaddoura, A., Lopes, H., Petrovsky, A., Rahnema, M., & Ward, F. R. (1972). Learning to be: The world of education today and tomorrow. Paris, France: UNESCO.

Husen, T. (1974). The Learning Society, London: Methuen.

Hutchins, R. M. (1970). The Learning Society, Harmondsworth: Penguin.

Longworth, N., & Osborne, M. (Eds.). (2000). Perspectives on learning cities and regions: Policy, practice and participation. Leicester, England: National Institute of Adult Continuing Education.

OECD. (1998). High level seminar on competitive strength and social cohesion through learning cities and regions: Concepts, developments, evaluation. Paris: Center for Research and Innovation.

Ranson, S. (1994). Towards the Learning Society, London: Cassell. 

Schon, D. (1963). The Theory and Rhetoric of the Learning Society. Retrieved from

http://www.infed.org/lifelonglearning/b-lrnsoc.htm.

Scott, L. (2015). Learning cities for adult learners. New Directions for Adult and Continuing Education, Number 145. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

UNESCO. (2005). Towards knowledge societies. UNESCO World Report. UNESCO Publishing.

Retrieved from www.unesco,org/en/worldreport

 

ประวัติผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[NEW] เรื่องควรรู้ สิทธิประโยชน์ทายาท กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต | ความ รู้ เรื่อง ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

Log in with your credentials

Remember me
Lost your password?


ประกันสังคมมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง? เสียสิทธิบัตรทองจริงไหม?


ประกันสังคมมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง? เสียสิทธิบัตรทองจริงไหม?
ประกันสังคมมาตรา40เยียวยาโควิด
AnewsTime คุยข่าวชาวบ้าน คนละครึ่งเฟส3 ยิ่งใช้ยิ่งได้ แอปเป๋าตัง G_wallet เยียวยารอบใหม่ ทิศทางเยียวยาโควิดรอบใหม่ กำหนดวันโอนเงินผู้พิการเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐโฉมใหม่ เป๋าตังสำคัญยังไงทำไมต้องมี วิธีเช็คยอดเงินในเป๋าตัง คนละครึ่งเฟส2มีแน่ เราไม่ทิ้งกัน เงินเยียวยาโควิด ข่าวร้ายกลุ่มร้องทุกข์เราไม่ทิ้งกันจ่อโดนเท ข่าวรัฐแจกเงิน เงินเยียวยาเกษตรกร เงินช่วยเหลือชาวนา ข่าวสังคม ข่าวต่างประเทศ พยากรณ์อากาศ มติคณะรัฐมนตรีล่าสุด มติครมล่าสุด มติครมวันนี้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด บัตรคนจนล่าสุด ร้านธงฟ้าประชารัฐ คนละครึ่งล่าสุด ข่าวแจกเงินล่าสุด กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา FootballLifeTH เบี้ยยังชีพคนแก่ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพคนพิการ เบี้ยยังชีพผู้พิการ เงินค่าเลี้ยงดูบุตร กลุ่มเปราะบาง ผู้ประกันตนมาตรา33 ผู้ประกันตนมาตรา39 ผู้ประกันตนมาตรา40 เงินช่วยเหลือชาวนา เงินประกันรายได้เกษตรกร สลากกินแบ่งรัฐบาล สินเชื่อ สินเชื่อธนาคารออมสิน สินเชื่อธกส สินเชื่อธอส สินเชื่อธนาคารกรุงไทย วิธีโหลดเป๋าตัง วิธีโหลดถุงเงิน วิธีเติมเงินเป๋าตัง คดีน้องชมพู ข่าวการท่องเที่ยว ราชกิจจานุเบกษา ข่าวลุงพลป้าแต๋น ข่าวลุงพล แถลงข่าวคดีน้องชมพู หรือนี่เป็นสัญญานปิดคดีน้องชมพู่

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
https://www.youtube.com/channel/UCp6BFzjCoeXO_9lFB_S8IHg/join

พบกับการรายงานข่าวสาร ทุกแวดวงสังคม ทั้งในและต่างประเทศ
👉ติดตามข่าวด่วน ข่าวเด่น ข่าวดัง คลิปสั้นได้ที่ TikTok https://vt.tiktok.com/ZSJeSgvPT/
👉ติดตามข่าวได้อีกช่องทางที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก เอนิวส์ไทม์ https://www.facebook.com/103454604757754/posts/124098052693409/

🌹ติดต่อแนะนำการเสนอข่าว ได้ที่
Tel. 0892458533
LINE ID : a.cph979
Email : [email protected]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ประกันสังคมมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง? เสียสิทธิบัตรทองจริงไหม?

ประกันสังคมมาตรา 40 ให้อะไรเราบ้าง กรณีเจ็บป่วย?/Nathamon channel


ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กรณีเจ็บป่วย จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ส่วนจำนวนเงินชดเชยการขาดรายได้นั้น ประกันสังคมได้กำหนดไว้ ดังนี้
_เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หลังจากได้รับการตรวจรักษา ข้อที่ (1) แพทย์พิจารณาให้
นอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ท่านก็จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ วันละ 300 บาท
ข้อที่ (2) ไม่ได้นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงิน
ชดเชยการขาดรายได้ วันละ 200 บาท และข้อที่ (3) ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก และ
แพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ ครั้งละ 50 บาท
3. การรับสิทธิประโยชน์นั้นนะคะ ผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 1 ซึ่งจ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน และทาง
เลือกที่ 2 ซึ่งจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อ (1) และ (2) ที่นับ
รวมกันแล้ว ไม่เกิน 30 วันต่อปี ส่วนข้อ (3) มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปีนะคะ
_ สำหรับผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 3 ซึ่งจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ก็มีสิทธิที่จะได้รับเฉพาะสิทธิ
ประโยชน์ตามข้อ (1) และ (2) ที่นับรวมกันแล้ว ไม่เกิน 90 วันต่อปี ส่วนสิทธิประโยชน์ตามข้อ (3) ทาง
เลือกนี้จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองไว้
4. ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น จะทำอย่างไร ใครเป็นคนจ่าย
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สำนักงานประกันสังคมไม่ได้ให้ความคุ้มครองไว้ ดังนั้นผู้ประกันตนใน
มาตรา 40 จึงสามารถใช้สิทธิในเรื่องค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิที่ตนเองมีได้ ตัวอย่าง เช่น
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีสิทธิบัตรทองก็ใช้สิทธิบัตรทองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล หรือ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลางก็ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลางได้
ประกันสังคมมาตรา40เงินชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย

ประกันสังคมมาตรา 40 ให้อะไรเราบ้าง กรณีเจ็บป่วย?/Nathamon channel

ความรู้พื้นฐานประกันสังคม EP2 ประเภทของผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40


มาตรา ๓๓ ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป
มาตรา ๓๙ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ (๒) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งต้องนำส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๔๖ วรรคสาม ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย
ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
มาตรา ๔๐ บุคคลใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา ๓๓ หรือไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยแสดงความจำนงต่อสำนักงาน ทั้งนี้ คุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับตามมาตรา ๕๔ ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง
======================================
บท/บรรยาย : ศราวุธ ชัยดี
บันทึกเสียง : PURE Studio
https://purestudio.simdif.com/

ความรู้พื้นฐานประกันสังคม EP2 ประเภทของผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40

สิทธิประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่คนทำงานควรรู้และต้องได้รับ!


สิ้นเดือนแล้ว เหล่าพนักงานประจำคงทราบกันดีว่าเงินเดือนของเราส่วนหนึ่งจะถูกหักไปกับการจ่ายค่าประกันสังคมด้วย แต่รู้ไหมว่าทั้งนายจ้างและรัฐบาลต่างก็ร่วมจ่ายเงินสบทบนี้ด้วยเช่นกัน แล้วเราจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/2XurctO
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
โทร: 020268989 และ Line: @flowaccount (มี@)
♥ สมัครใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี! ได้ที่ https://flowaccount.com
♥ ร่วมเป็นสำนักงานบัญชีพาร์ทเนอร์กับเรา https://flowaccount.com/accountingfirm/accountant
💻 ทดลองใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี 30 วันได้ที่ https://flowaccount.com
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น New FlowAccount ทั้งทาง iOS และ Andriod
📱 App Store: https://apple.co/2PoDikS
📱 Play Store: http://bit.ly/354gFcf

Credits
Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา
Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
Sound Designer \u0026 Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์
สิทธิประกันสังคม FlowAccount NewFlowAccount

สิทธิประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่คนทำงานควรรู้และต้องได้รับ!

สิทธิประโยชน์ประกันสังคมทุกมาตรา มาตรา33,39,40 ได้อะไรบ้าง


สิทธิประโยชน์ประกันสังคม ผลตอบเเทนประกันสังคม สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา33 สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมรตรา39 สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา40 วิธีสมัครเป็นผู้ประกันตน ความรู้ประกันสังคม เงินช่วยเหลือผระกันสังคมทุกมาตรา

สิทธิประโยชน์ประกันสังคมทุกมาตรา มาตรา33,39,40 ได้อะไรบ้าง

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ความ รู้ เรื่อง ประกัน สังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *