Skip to content
Home » [Update] สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา คนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย : กฤษฎา บุญราช (ปลัดกระทรวงมหาดไทย) | ประเทศและสัญชาติ – NATAVIGUIDES

[Update] สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา คนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย : กฤษฎา บุญราช (ปลัดกระทรวงมหาดไทย) | ประเทศและสัญชาติ – NATAVIGUIDES

ประเทศและสัญชาติ: คุณกำลังดูกระทู้

1.ความหมายของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพคนไร้สัญชาติ (The Convention relating to the Status of Stateless Person) ค.ศ.1954 ให้ความหมายของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นคนชาติจากรัฐใดภายใต้บทบัญญัติกฎหมายของรัฐ (A person who is not considered as a national by any state under the operation of its law) หรือกล่าวสั้นๆ ก็คือ บุคคลที่ไม่มีประเทศใดยอมรับว่าเป็นคนชาติของประเทศนั้น โดยสถานะของการไร้รัฐไร้สัญชาติสามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศและคนที่เกิดในประเทศ เช่น กรณีของชน
กลุ่มน้อยและบุตรที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองจะถือว่าคนเหล่านี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
สําหรับประเทศไทย เพื่อให้การนิยามมีความเหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงของปัญหาในประเทศและนําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้จริง นักวิชาการทางด้านสถานะบุคคลของไทยจึงได้แยกคําดังกล่าวออกเป็นสองคํา และกําหนด
นิยามคําว่า คนไร้รัฐ หรือ Stateless persons หมายถึง คนที่ไม่ถูกบันทึกรายการบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก ส่วนคําว่าคนไร้สัญชาติ หรือ Nationalityless persons หมายถึง คนที่ไม่ได้รับการบันทึกในสถานะคนถือสัญชาติของรัฐใดเลยบนโลกนี้ กล่าวคือ ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนชาติของรัฐใดเลย บทนิยามดังกล่าวจะแสดงผลลัพธ์ต่อกระบวนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบร่วมตามหลักกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของนานาชาติหรือกฎหมายของประเทศไทย จะพบว่าคนไร้รัฐไร้สัญชาติ หมายถึง คนต่างด้าว กล่าวคือยอมรับในสถานะเป็นคนต่างด้าว ดังเช่นมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กําหนดว่า คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้นการใช้สิทธิอันมีฐานแห่งสิทธิมาจากสถานะความเป็นคนชาตินั้น คนไร้รัฐไร้สัญชาติย่อมตกอยู่ภายใต้แนวคิดตามกฎหมายเดียวกับที่บังคับใช้กับคนต่างด้าวทั่วไป แม้ว่าอาจมีรายละเอียดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่คนต่างด้าวไร้รัฐไร้สัญชาตินั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยเพียงใด ส่วนคนไร้รัฐไร้สัญชาติจะเป็นผู้อพยพหรือไม่ จําเป็นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวมีข้อเท็จจริงของการย้ายถิ่นฐานหรือไม่ เช่น คนไร้สัญชาติที่อพยพหนีภัยสงครามมาจากต่างประเทศ ย่อมมีความเป็นผู้อพยพ
ขณะที่คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย แต่เผชิญกับความไร้รัฐไร้สัญชาติ ย่อมไม่มีข้อเท็จจริงของความเป็นผู้อพยพ

2.ที่มาของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางบกและทางน้ำเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร และมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าหลายประเทศ จึงเกิดสถานการณ์ของการเคลื่อนย้ายประชากรข้ามชาติในลักษณะต่างๆ ได้ง่าย ทั้งการหลบหนีเข้าเมืองทั่วไปและการอพยพหนีภัยความตายจากการสู้รบ หรือสงครามอินโดจีนเมื่อปี พ.ศ.2518 หรือความอดอยากยากจนจากประเทศต้นทาง เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจํานวนมาก บางกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาอยู่เป็นเวลานานหลายสิบปี เช่น เวียดนามอพยพ ลาวอพยพ เขมรอพยพ อดีตทหารจีนคณะชาติ จีนฮ่ออพยพ ไทยลื้อ ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า เป็นต้น บางกลุ่มเป็นคนเชื้อสายเดียวกันหรือเป็นญาติพี่น้องกับคนที่อยู่ในประเทศไทยมานาน โดยเฉพาะตามแนวชายแดนมีการเดินทางไปมาหาสู่กันและตั้งถิ่นฐานภายหลังมีการกําหนดอาณาเขตของประเทศ เช่น ชาวเขา บุคคลบนพื้นที่สูงเชื้อสายมอญ หรือไทยใหญ่ เป็นต้น กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจํานวนมากอยู่ในสถานะของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และเมื่อไม่อาจ
กลับประเทศต้นทางได้จึงตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
ขณะเดียวกันหลักการในการให้สัญชาติของประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง เป็นสาเหตุทําให้เกิดคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย กล่าวคือ หลักการสากลของการได้สัญชาติโดยการเกิด ตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น การได้สัญชาติโดยการเกิดจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ (1) การได้สัญชาติตามหลักการสืบสายโลหิตจากบิดามารดา กล่าวคือ บิดามารดามีสัญชาติอะไร บุตรก็ย่อมได้สัญชาตินั้น กับ (2) การได้สัญชาติโดยหลักดินแดนที่เป็นถิ่นกําเนิด กล่าวคือ ผู้ใดเกิดในดินแดนของประเทศใด ย่อมจะได้สัญชาติของประเทศนั้น ซึ่งประเทศไทยใช้หลักการได้สัญชาติดังกล่าวมาโดยตลอด แต่ในปี พ.ศ.2515 เมื่อประเทศไทยเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ มีการขยายลัทธิการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลในขณะนั้นได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน โดยการกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า บุคคลที่จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนได้นั้น บิดามารดาต้องไม่ใช่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองชั่วคราวหรือคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทําให้คนที่เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวไม่ได้สัญชาติไทยเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวยังกําหนดให้มีผลย้อนหลัง ทําให้คนที่เคยได้สัญชาติไทยไปแล้วตามหลักดินแดนทั่วไปนั้นต้องถูกถอนสัญชาติไทยถ้ามีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองชั่วคราวหรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
ต่อมาแม้ว่าได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ตามผลของการแก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 แต่หลักการของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนก็ยังคงเป็นการให้สัญชาติไทยอย่างมีเงื่อนไขอยู่เช่นเดิม กล่าวคือ ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดถ้ามีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองชั่วคราวหรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเงื่อนไขตามหลักการของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนดังกล่าวยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการจะให้สัญชาติไทยกับบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยนั้นก็ยังเป็นอํานาจของ รมว.มหาดไทย และจะให้ได้เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ดังนั้น จึงเห็นได้ว่ากฎหมายสัญชาติของประเทศไทยก็เป็นสาเหตุที่ทําให้คนที่เกิดในประเทศไทยกลายเป็นคนไร้สัญชาติได้ ซึ่งสามารถสรุปคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 กลุ่มคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่มีปัญหาเรื่องการส่งกลับประเทศต้นทาง และ
2.2 กลุ่มคนที่เกิดในประเทศไทย แต่ตกเป็นคนไร้สัญชาติโดยผลของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

3.ประเภทของคนต่างด้าวหรือคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
รัฐบาลไทยได้กําหนดนโยบายในการจัดการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายสํานักงานสภา
ความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย สํารวจจัดทําทะเบียนประวัติกลุ่มผู้อพยพหรือผู้หลบหนีเข้าเมืองทุกกลุ่มที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย รวมถึงการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อรองรับการจัดทําทะเบียนราษฎรและกําหนดเลขประจําตัว
สําหรับคนต่างด้าว และการนําระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึกจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลตามเงื่อนไขที่กําหนดได้อย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎรของสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 มีคนต่างด้าวที่ได้รับการจัดทําทะเบียนราษฎร มีเลขประจําตัว 13 หลัก ซึ่งจะทําให้สามารถพิสูจน์ตัวบุคคลได้ชัดเจน จํานวน 2,586,089 ราย จําแนกเป็นกลุ่มตามสถานะการอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ ดังนี้
3.1 กลุ่มคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ถือใบสําคัญถิ่นที่อยู่และใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว) กลุ่มนี้จะมีที่มาจากคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรืออาจจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรก็ได้ ซึ่งต่อมาได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ได้รับใบสําคัญถิ่นที่อยู่ (ต.ม.16) และใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ทําให้มีสถานะเป็นผู้ได้รับสิทธิอาศัยถาวรในประเทศไทย โดยปัจจุบันเป็นอํานาจของนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย มีจํานวน
65,559 ราย
3.2 กลุ่มคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ถือหนังสือเดินทาง) กลุ่มนี้จะมีสถานะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว และอาจเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองได้ถ้าไม่เดินทางออกนอกประเทศเมื่อการอนุญาตสิ้นสุดลง โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ
สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง คนกลุ่มนี้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีจํานวน 45,331 ราย
3.3 กลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม รวมถึงบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติ อีก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนไร้รากเหง้า ไม่ปรากฏบุพการีหรือถูกบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่วัยเยาว์ และกลุ่มคนที่ได้ทําคุณประโยชน์แก่ประเทศ โดยในส่วนของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย
(1) เวียดนามอพยพ หรือญวนอพยพ
(2) อดีตทหารจีนคณะชาติ
(3) จีนฮ่ออพยพพลเรือน
(4) จีนฮ่ออิสระ
(5) อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา
(6) ไทยลื้อ
(7) ลาวอพยพ
(8) เนปาลอพยพ
(9) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
(10) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า
(11) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย เข้ามาก่อนวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519
(12) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย เข้ามาหลังวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519
(13) บุคคลบนพื้นที่สูง/ชาวเขา ที่อพยพเข้ามาก่อนวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2528
(14) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจาก จ.เกาะกง
กัมพูชา
(15) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศกัมพูชา
(16) บุคคลหรือชุมชนบนพื้นที่สูง ที่อพยพเข้ามาหลังวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2528
(17) ม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก
(18) ลาวภูเขาอพยพ
(19) ชาวมอร์แกน
คนกลุ่มนี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อรอส่งกลับประเทศเดิมหรือรอการกําหนดสถานะ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันมีคนกลุ่มนี้อยู่
จํานวน 488,105 ราย แยกเป็น
1) คนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานและบุตรที่เกิดในประเทศไทย
จํานวน 400,731 ราย โดยเป็นคนที่อพยพเข้ามาจํานวน 290,269 ราย และบุตรที่เกิดในประเทศไทย จํานวน 110,462 ราย
2) เด็กและบุคคลที่กําลังศึกษาเล่าเรียน
จํานวน 78,676 ๗๘,๖๗๖ ราย
3) คนไร้รากเหง้าจํานวน 8,670 ราย
4) คนที่ทําคุณประโยชนให้แก่ประเทศ
จํานวน 28 ราย
3.4 กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติ
เมียนมา ลาว และกัมพูชา กลุ่มนี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อรอส่งกลับหรือไปพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง โดยใช้อํานาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันมีแรงงานที่จดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทํางานรวมถึงบุตรที่เป็นผู้ติดตามอายุไม่เกิน 15 ปี จํานวน 1,588,914 ราย
3.5 กลุ่มผู้ลี้ภัยการสู้รบจากประเทศเมียนมา ที่อยู่ในที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี กลุ่มนี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง การให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยจํานวน 101,713 ราย และบุตรที่เกิดในประเทศไทยที่ได้รับการจดทะเบียนการเกิดจํานวน 16,716 ราย
3.6 กลุ่มบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตั้งแต่มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ในปี พ.ศ.2515 จนถึงปัจจุบัน ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 2.2 โดยมีคนที่เกิดในประเทศไทยและไม่ได้สัญชาติไทยได้รับการจดทะเบียนการเกิด (มีสูติบัตร) จํานวน 316,748 ราย (ไม่รวมบุตรแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ และบุตรของผู้ลี้ภัยการสู้รบในที่พักพิงชั่วคราว) ส่วนการอาศัยอยู่ในประเทศไทยของคนกลุ่มนี้จะเป็นไปตามสถานะการอาศัยอยู่ในประเทศไทยของบิดามารดา

4.นโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ สำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติของประเทศไทย
เนื่องจากปัญหาของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่สํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทําทะเบียนราษฎรไว้จํานวน 488,105 รายนั้นมีสภาพของปัญหาแตกต่างกัน เช่น บางกลุ่มไม่มีเอกสารทางทะเบียน บางกลุ่มได้เดินทางเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานานแล้วแต่ไม่มีสิทธิอาศัยตามกฎหมาย
ในขณะที่บางกลุ่มเพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ทําให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกําหนดไว้ได้ รัฐบาลจึงได้กําหนด
นโยบาย มาตรการและวิธีการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
4.1 การแก้ไขปัญหาบุคคลที่ไม่มีเอกสารทะเบียนราษฎร โดยกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ให้นายทะเบียนสามารถจัดทําทะเบียนราษฎรให้กับคนไร้รัฐไร้สัญชาติได้เหมือนประชาชนไทยทั่วไป
ดังนี้
1) การรับแจ้งการเกิดหรือจดทะเบียนการเกิดและออกสูติบัตรให้กับคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยทุกคน ไม่ว่าบิดามารดาของเด็กจะเป็นคนต่างด้าวประเภทใด มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่ก็ตาม
2) การจัดทําทะเบียนประวัติคนไร้รัฐไร้สัญชาติตามมติคณะรัฐมนตรี และตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร (มาตรา 38 วรรคสอง)
3) การจัดทําบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย  และบัตรประจําตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
4.2 การแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิอาศัยในประเทศไทย เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ซึ่งมีสถานะเป็นคนที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจึงได้อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ออกมติคณะรัฐมนตรีให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้โดยถูกต้อง ได้แก่
1) การผ่อนผันให้กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติซึ่งมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวในระหว่างรอการดําเนินการในเรื่องต่างๆ เช่น การดําเนินการให้สถานะบุคคล หรือรอการส่งกลับประเทศเดิมตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กําหนดเขตพื้นที่ควบคุมการอยู่อาศัยโดยใช้เขตจังหวัดที่คนต่างด้าวได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้เป็นเขตควบคุม  และกําหนดเงื่อนไขการสิ้นสุดสิทธิอาศัยตามที่ได้รับอนุญาต เช่น การกระทําผิดกฎหมายที่มีโทษจําคุก หรือการกระทําที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ก็จะหมดสิทธิการอาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกต่อไป
2) การให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ขอใบสําคัญถิ่นที่อยู่) ซึ่งครั้งหลังสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2553 กำหนดหลักเกณฑ์ให้กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติบางกลุ่มได้รับสิทธิในการเป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีถิ่นที่อยู่ถาวร ดังนี้
(1) กลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องเป็นผู้ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยภายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2538 โดยต้องได้รับ
การสํารวจจัดทําทะเบียนประวัติภายในปี พ.ศ.2542 และมีชื่อในทะเบียนบ้าน
(2) เด็กนักเรียน นักศึกษา จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในประเทศไทยภายใน 18 มกราคม พ.ศ.2538 โดยต้องได้รับการสํารวจจัดทําทะเบียนบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนระหว่างปี พ.ศ.2548-2552 และเรียนจบปริญญาตรีภายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548
(3) คนไร้รากเหง้า จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในประเทศไทยภายในวันที่ 18 มกราคม 2548 โดยต้องได้รับการสํารวจจัดทําทะเบียนบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนระหว่างปี พ.ศ.2550-2552 และต้องมีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4.3 การแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติสําหรับ บุตรของคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 ซึ่งสามารถดําเนินการได้หลายกรณี ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นตามเงื่อนไขที่กฎหมาย
กําหนดไว้ ดังนี้
1) กรณีบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทยหรือไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 รวมถึงบุตรของคนเหล่านี้ที่เกิดในประเทศไทยจนถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 และไม่ได้รับสัญชาติไทยเนื่องจากบิดามารดาถูกถอนสัญชาติ สามารถยื่นคําขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านได้ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 โดยเป็นอํานาจของนายอําเภอเป็นผู้อนุมัติซึ่งคนเหล่านี้ถือว่าเป็นคนที่มีสัญชาติตามกฎหมายอยู่แล้ว
2) กรณีคนที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535๒๕๓๕ เป็นต้นมา โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย หรือเข้ามาอยู่ชั่วคราว ให้สามารถขอมีสัญชาติไทยจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด (มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติหลักเกณฑ์การให้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไปให้แก่กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติ (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2559) โดยบุคคลที่สามารถขอมีสัญชาติไทย ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 บุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีเงื่อนไขว่าบิดาหรือมารดาที่เป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปีนับถึงวันที่บุตร ยื่นคําขอมีสัญชาติไทย และจะต้องมีทะเบียนประวัติที่ทางราชการได้จัดทําให้ไว้แล้ว (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เปิดให้มีการจัดทําทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2542 โดยจะต้องเข้ามาอยู่ในประเทศไทยภายในวันที่ 30 กันยายน 2542)
กลุ่มที่ 2 คนที่เกิดในประเทศไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวอื่นที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเรียนต่อเนื่องในประเทศไทยจนจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย แต่ถ้าจบการศึกษาจากสถาบันในต่างประเทศ จะต้องเป็นกรณีที่ได้รับทุนการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐ ส่วนเด็กนักเรียนนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบปริญญาตรีแต่มีความจําเป็นต้องได้สัญชาติไทย กรณีนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน จึงจะขอสัญชาติไทยได้
กลุ่มที่ 3 เด็กนักเรียนนักศึกษาที่เป็นคนไร้รากเหง้า มีเงื่อนไขว่าจะต้องเกิดและอาศัยอยู่ต่อเนื่องในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี และต้องมีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าที่ออกให้ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงจะขอสัญชาติไทยได้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็นการลดขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติสัญชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงได้มอบอํานาจ
การพิจารณาอนุมัติเกี่ยวกับสัญชาติสําหรับ
ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ไปให้นายอําเภอเป็นผู้พิจารณาแทนกรณีผู้ขอมีสัญชาติไทยมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ และมอบอํานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาแทนกรณี
ผู้ขอมีสัญชาติไทยมีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป
สรุป กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติข้างต้นรวมถึงบุตรของคนเหล่านี้ที่เกิดในประเทศไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทยในขณะนี้มีจํานวน 488,105 ราย

5.การแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่จําเป็น นอกเหนือจากการได้รับสถานะบุคคลตามกฎหมาย
กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย มิได้ประสบแต่ปัญหาเฉพาะเรื่องสถานะบุคคลเท่านั้น แต่เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้มีสถานะบุคคลไม่ชัดเจน จึงทําให้เสียสิทธิในเรื่องอื่นๆ ที่มีความจําเป็นในการดํารงชีวิตด้วย รัฐบาลปัจจุบันที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้คํานึงถึงสิทธิมนุษยชนของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จึงได้กําหนดนโยบายผ่านมติคณะรัฐมนตรีให้กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยได้รับสิทธิที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ได้แก่
5.1 ด้านการรักษาพยาบาล : มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2558 อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบการรักษาพยาบาลคนไร้รัฐไร้สัญชาติกลุ่มที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล และกลุ่มที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ ของนายทะเบียนเพื่อการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยรัฐบาลอุดหนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัวให้ทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา
5.2 ด้านการศึกษา : มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2548 เกี่ยวกับการศึกษา 2 ประการ คือ 1) ให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยทุกคนเข้าศึกษาเล่าเรียน และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องออกหลักฐานรับรองผลการเรียนให้ทุกราย และ 2) รัฐบาลอุดหนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัวให้เท่ากับเด็กสัญชาติไทยสําหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
5.3 ด้านการประกอบอาชีพ : มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการพิจารณาการทํางานของคนต่างด้าว ให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ทํางานได้ทุกประเภทงาน
5.4 ด้านสิทธิอาศัยและการเดินทาง : รัฐบาลได้ผ่อนผันให้บุคคลกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการกําหนดสถานะหรือส่งกลับประเทศเดิมตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยกําหนดให้อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้รับการสํารวจจัดทําทะเบียนประวัติ การเดินทางออกนอกเขตจังหวัด ดําเนินการได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากนายอําเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลําเนา และหากมีเหตุจําเป็นตามกฎหมายก็สามารถย้ายเปลี่ยนแปลงจังหวัดได้
5.5 ด้านการก่อตั้งครอบครัว : ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือ การจดทะเบียนสมรสกับการรับบุตรบุญธรรม โดยมักจะถูกนายทะเบียนปฏิเสธการดําเนินการ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือสั่งการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเรื่องดังกล่าวแล้วว่า นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนสมรสให้กับบุคคลดังกล่าวได้ตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคําวินิจฉัยแจ้งไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปว่าคณะกรรมการรับบุตรบุญธรรมสามารถอนุญาตให้จดทะเบียนรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรมได้

6.ผลการดําเนินการให้สถานะคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและการให้สัญชาติไทยในภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2560 มีดังนี้
6.1 ให้สัญชาติไทยแก่คนไร้รัฐไร้สัญชาติกลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์แล้วทั้งสิ้น 253,742 ราย จําแนกได้ดังนี้
1) การลงรายการสัญชาติไทยให้แก่ชาวไทยภูเขา ซึ่งถือว่าเป็นคนไทยดั้งเดิมที่อยู่ติดแผ่นดินไทย เหมือนคนสัญชาติทั่วไป จํานวน 106,446 ราย
2) การลงรายการสัญชาติไทยให้คนที่ถูกถอนสัญชาติหรือไม่ได้สัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จํานวน 48,713 ราย
3) การให้สัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จํานวน 91,590 ราย
4) การให้สัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น (ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา และผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยจากมะริด ทะวาย ตะนาวศรี) จํานวน 6,993 ราย
6.2 ให้สถานะคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย จํานวน 30,881 ราย

7.บทสรุป ปัญหาอุปสรรค และความท้าทาย
7.1 ประเทศไทยได้ดําเนินการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ครอบคลุมทั้งเรื่องสถานะบุคคล สัญชาติ การศึกษา การรักษาพยาบาล การประกอบอาชีพ การก่อตั้งครอบครัว และอื่นๆ ที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต โดยคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน ควบคู่ไปกับความมั่นคงของประเทศ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ และมติคณะรัฐมนตรี โดยมีคนไร้รัฐไร้สัญชาติได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวเป็นจํานวนหลายแสนคน จนได้รับการยกย่องจากองค์กรระหว่างประเทศทางด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด (Best practice) ในการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ
ไร้สัญชาติ
7.2 ถึงแม้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ยังคงปรากฏสถานการณ์ของการเคลื่อนย้ายประชากรข้ามชาติในลักษณะต่างๆ ทั้งการหลบหนีเข้าเมืองทั่วไปและการอพยพหนีภัยความตายจากการสู้รบหรือความอดอยากยากจนจากประเทศต้นทางเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจํานวนมาก เช่น กลุ่มมุสลิมโรฮีนจา ชนกลุ่มน้อยจากประเทศเมียนมา แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ชาวบังกลาเทศหลบหนีเข้าเมือง เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติ จําเป็นต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของชาติ และความสามารถของประเทศไทยที่จะแบกรับภาระในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งต้องคํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
7.3 สําหรับกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติเดิมที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติอยู่แล้วนั้น ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่ไม่อาจเข้าสู่กระบวนการของการแก้ไขปัญหาตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่มีอยู่ได้ จําเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะสําหรับการแก้ไขปัญหา ซึ่งได้แก่คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทยหรือเกิดต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากมาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติภายใต้กฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่มีอยู่จะกําหนดแนวทางการแก้ไขโดยจําแนกตามสถานะการเกิดของผู้ที่เป็นเจ้าของปัญหาเป็น 2 กรณี คือ คนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย (แก้ไขโดยใช้กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง) และคนที่เกิดในประเทศไทย (แก้ไขโดยใช้กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ) คนกลุ่มนี้จะอยู่ในสถานะของคนไร้รากเหง้าที่ถูกบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่วัยเยาว์ เด็กกําพร้าไม่มีญาติ คนเร่ร่อน โยกย้ายถิ่นที่อยู่บ่อยๆ และคนพิการหรือป่วยทางจิตประสาท ซึ่งจะขาดพยานหลักฐานหรือไร้ความสามารถที่จะพิสูจน์ยืนยันสถานะการเกิดและสัญชาติของตน และหากจะผลักไปอยู่ กลุ่มคนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทยก็จะมีปัญหาในเรื่องระยะเวลาการเข้ามาในประเทศไทย ทําให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล โดยบทบัญญัติของกฎหมายที่มีความจําเป็นสําหรับกลุ่มบุคคลประเภทนี้คือ การรับรองสถานะการเกิดและสิทธิในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศในเชิงข้อสันนิษฐานที่เป็นบวก และแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยยกเลิกสถานะดังกล่าวได้หากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าผู้นั้นมิได้เกิดในราชอาณาจักรหรือไม่มีสัญชาติไทยตามเงื่อนไขของกฎหมายปกติ ซึ่งกฎหมายลักษณะนี้มีอยู่ในหลายประเทศ ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย ตัวอย่างเช่น ประเทศบัลแกเรีย กําหนดไว้ในกฎหมายความเป็นพลเมืองบัลแกเรียน ค.ศ.1988
มาตรา 11 ให้ถือว่าเด็กที่ถูกพบในอาณาเขตของสาธารณรัฐบัลแกเรียโดยไม่ปรากฏบิดามารดาเป็นผู้ที่เกิดในสาธารณรัฐบัลแกเรียหรือประเทศแคนาดา กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติความเป็นพลเมือง ค.ศ.1985 มาตรา 4(1) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 3(1)(a)ให้ถือว่าบุคคลทุกคนที่ถูกพบว่าถูกทอดทิ้งในประเทศแคนาดาก่อนอายุครบ 7 ปีเป็นผู้ที่เกิดในประเทศแคนาดา เว้นแต่ปรากฏข้อพิสูจน์อย่างอื่นภายใน 7 ปีนับจากวันที่พบตัวหรือประเทศสหรัฐอเมริกากําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการเข้าเมืองและสัญชาติ ค.ศ.1952 ในมาตรา 301(f) บุคคลที่ไม่ปรากฏบุพการีและถูกพบในสหรัฐอเมริกาในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีเป็นคนสัญชาติอเมริกันและพลเมืองอเมริกันโดยการเกิด หรือประเทศฟินแลนด์กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติสัญชาติ ค.ศ.2003 มาตรา 12 ให้ถือว่าเด็กแรกเกิดที่ถูกพบว่าถูกทอดทิ้งในฟินแลนด์เป็นพลเมืองของฟินแลนด์ตราบที่เด็กไม่สามารถได้มาซึ่งสัญชาติของรัฐต่างประเทศ หากเด็กได้มาซึ่งสัญชาติของรัฐต่างประเทศภายหลังจากอายุครบ 5 ปี ให้ถือว่าเด็กยังคงเป็นพลเมืองฟินแลนด์ หรือประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติสัญชาติ ค.ศ.2004 มาตรา 13 ให้ถือว่าเด็กที่ถูกพบในดินแดนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยไม่ปรากฏบิดาและมารดาเป็นพลเมืองลาว หากก่อนที่เด็กจะอายุครบ 18 ปี มีข้อพิสูจน์ว่าบิดาและมารดาของเด็กเป็นคนสัญชาติของรัฐต่างประเทศ ให้ถือว่าเด็กเป็นพลเมืองของรัฐดังกล่าวตั้งแต่เกิด หรือประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้กําหนดไว้ในกฎหมายฉบับที่ 16 เรื่องพระราชบัญญัติสัญชาติ ค.ศ.1948 มาตรา 2 วรรคสอง ให้ถือว่าเด็กที่ถูกทอดทิ้งและถูกพบในประเทศเป็นผู้ที่เกิดในสาธารณรัฐเกาหลี
เป็นต้น
7.4 กระทรวงมหาดไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา) ได้เล็งเห็นความสําคัญและผลสําเร็จของการแก้ไขปัญหากลุ่มคนไร้รากเหง้า โดยได้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ให้มีข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเพื่อรับรองสถานะการเกิดของคนไร้รากเหง้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในทํานองเดียวกันกับกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของประเทศไทยมีความสมบูรณ์และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ดังนั้น จากนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติดังกล่าวข้างต้นให้ประสบผลสําเร็จอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องอาศัยทั้งบทบัญญัติของกฎหมายและนโยบายรัฐที่เปิดโอกาสให้ดําเนินการได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่จะต้องไม่มีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและสิทธิมนุษยชนด้วย รวมทั้งนโยบาย มาตรการและแนวทางดังกล่าวก็จะต้องเอื้ออํานวย สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกข้อกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับความสะดวกได้อย่างเหมาะสม ไม่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนและเคารพสิทธิของประชาชนด้วย

Table of Contents

[NEW] | ประเทศและสัญชาติ – NATAVIGUIDES

Disclaimer: This article may link to products and services from one or more of ExpatDen’s partners. We may receive compensation when you click on those links. Although this may influence how they appear in this article, we try our best to ensure that our readers get access to the best possible products and services in their situations.

รู้หรือไม่ว่าเราสามารถขอสัญชาติใหม่ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องแต่งงานกับพลเมืองประเทศนั้น ทำงานที่นั้น หรือไปอาศัยในประเทศนั้นๆเป็นระยะเวลานาาน

หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่มสมาชิกประเทศยุโรป มีโปรแกรมถิ่นที่อยู่แบบพิเศษสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะ บางประเทศให้สัญชาติเราทันทีหลังจากที่รัฐบาลอนุมัติใบสมัคร ในบางประเทศ เราต้องถือวีซ่าลงทุนสักระยะหนึ่งก่อน ถึงจะมีสิทธิ์สมัครเป็นพลเมืองในประเทศนั้นได้ โดยที่ไม่ต้องทิ้งสัญชาติไทย 

ในบทความนี้ เรามาดูกันดีกว่า โปรแกรมการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนคืออะไร รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ขั้นตอนที่เราจำเป็นต้องรู้ รวมถึงประเทศแนะนำสำหรับการสมัครโปรแกรมแบบนี้สำหรับกลุ่มประเทศยุโรป

หากว่าท่านอ่านบทความนี้แล้วยังไม่แน่ใจว่าจะสมัครโปรแกรมของประเทศไหนดี หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้ เพื่อจะติดต่อขอรับคำปรึกษากับบริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สิทธิประโยชน์

การถือสัญชาติของกลุ่มประเทศยุโรปให้สิทธิประโยชน์กับเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ในการทำงานและอยู่อาศัยในประเทศนั้นๆตลอดชีพ การเดินทางไปกลุ่มประเทศยุโรปด้วยกันโดยไม่ต้องขอวีซ่า การเข้าถึงระบบสาธารณสุข 

เรามาดูกันดีกว่าว่าหากเราได้สัญชาติในกลุ่มประเทศยุโรป เราจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

สิทธิในการอาศัย ทำงาน และทำธุรกิจ

สิทธิประโยชน์อย่างแรกเมื่อเราได้สัญชาติแล้ว เราสามารถอาศัย ทำงาน ลงทุน ทำธุรกิจ รวมถึงสิทธิในการซื้อขายที่ดินต่างๆ ในประเทศที่เราขอสัญชาติได้

เรียกได้ว่าหลังจากได้สัญชาติแล้ว เราเปรียบเสมือนเป็นพลเมืองของคนในประเทศนั้นเลยทีเดียว 

สิทธิในการเดินทางในกลุ่มประเทศยุโรปและประเทศอื่นๆ 

นอกจากนั้น เราสามารถทำเรื่องถือหนังสือเดินทางของประเทศนั้นๆได้ ซึ่งจะทำให้เราเดินทางไปกลุ่มประเทศยุโรปได้เป็นระยะเวลา 90 วันต่อ 180 วัน โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่า  

หากว่าเราต้องการที่จะอยู่นานกว่านั้น เราสามารถที่จะยื่นเรื่องเพื่อขอพำนักในประเทศในกลุ่มสมาชิกยุโรปได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่โชว์หลักฐานทางการเงินและประกันสุขภาพ 

นอกจากนั้นแล้ว หนังสือเดินทางกลุ่มประเทศยุโรป มักจะมีข้อตกลงพิเศษกับประเทศอื่นทั่วโลก และทำให้เราเดินทางท่องเที่ยวไปประเทศนั้นๆได้ โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่า

อยากเช่น หากว่าเราถือหนังสือเดินทางของประเทศโปรตุเกส ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในหนังสือเดินทางที่ดีที่สุดในโลก เราสามารถเดินทางไปได้ถึง 192 ประเทศทั่วโลก โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่า 

สิทธิในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข

หลังจากที่เราได้สัญชาติเรียบร้อยแล้ว เราจะมีสิทธิในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประเทศนั้นๆได้อย่างเต็มที่ รวมถึงระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ 

โดยหลายประเทศในกลุ่มประเทศยุโรปนั้น มีชื่อเสียงในด้านระบบนี้เป็นอย่างมาก อย่างเช่นประเทศสเปน ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบประกันสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก

อีกทั้งหลายประเทศในกลุ่มประเทศยุโรปนั้นมีชื่อเสียงในด้านการแพทย์และมีโรงพยาบาลชั้นนำติดอันดับโลกเป็นจำนวนมาก 

หลังจากที่เราได้รับสัญชาติในกลุ่มประเทศสมาชิกยุโรปแล้ว เราสามารถรับการรักษาจากโรงพยาบาลเหล่าได้อย่างรวดเร็ว 

สิทธิในการส่งต่อสัญชาติ

หลังจากที่เราได้รับสัญชาติเรียบร้อยแล้ว ลูกของเราที่ยังไม่เกิดจะได้รับสัญชาติใหม่โดยอัติโนมัติ หลังจากที่ลืมตาเกิดขึ้นมาอยู่บนโลก 

ในส่วนของครอบครัวที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนั้น เรามีสิทธิที่จะขอสัญชาติผ่านการลงทุนได้ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนมากนั้น จะเป็นการเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครเพิ่มให้กับประเทศนั้นๆ 

สิทธิอื่นๆ

นอกเหนือจากสิทธิที่กล่าวไปในด้านต้นแล้ว ยังมีสิทธิอื่นๆที่เราจะได้รับ หลังจากที่เราได้รับสัญชาติเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการซื้อที่ดิน สิทธิในการลงทุน สิทธิในการได้รับการปกป้องด้านสิทธิเสรีภาพจากการเป็นพลเมืองกลุ่มประเทศยุโรป รวมถึงสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งอีกด้วย 

เราจะได้สัญชาติในกลุ่มประเทศยุโรปได้อย่างไร

ในปกติแล้ว ในการที่เราจะสามารถได้สัญชาติในกลุ่มประเทศยุโรปนั้น มีได้ด้วยวิธีหลักๆ 3 วิธีคือ 

Advertisement

  1. สามารถสืบได้ว่าเรามีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศนั้น
  2. ขอถิ่นที่อยู่ถาวรก่อนที่จะยื่นเรื่องขอสัญชาติ
  3. ผ่านโปรแกรมขอสัญชาติด้านการลงทุน

ในบางครั้ง กลุ่มประเทศยุโรปอาจจะให้สัญชาติเป็นกรณีพิเศษ เช่น จากการทำความดีให้ประเทศนั้นๆ 

สืบได้ว่าเรามีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศนั้น 

ถ้าเราสามารถพิสูจน์ได้ว่าบรรพบุรุษของเราสืบเชื้อสายมาจากประเทศนั้นๆ เราอาจจะมีสิทธิ์ในการขอสัญชาติประเทศนั้นๆได้ 

โดยวิธีนี้ ภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า By Blood หรือ By Soil 

เช่น ถ้าปู่ของเรามีสัญชาติสเปน เราสามารถไปทำเรื่องกับสถานทูตสเปนหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอสัญชาติได้ โดยวิธีนี้จะได้เป็นวิธีที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยค่าดำเนินการที่เราต้องเสียให้กับทางรัฐเป็นจำนวนไม่กี่พันบาท 

ขอถิ่นที่อยู่ถาวรก่อนที่จะยื่นเรื่องขอสัญชาติ (Naturalization) 

วิธีที่สอง คือการที่เราจะต้องอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นระยะเวลาหลายปี ก่อนที่เราจะสามารถทำเรื่องขอถิ่นที่อยู่ถาวร (Permanent Resident) ก่อนที่จะทำเรื่องสมัครสัญชาติต่อไป 

โดยวิธีนี้ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Naturalization

ในการได้ถิ่นที่อยู่ถาวรนั้น แต่ละประเทศจะมีขั้นตอนที่คล้ายๆกันคือ เราอยู่ในประเทศนั้นๆแบบถูกต้องตามกฎหมาย เช่น จากการทำงาน การแต่งงานกับคนประเทศนั้น การไปทำธุรกิจ หรือการไปเกษียรที่ประเทศนั้นๆ 

ระยะเวลาที่ต้องอยู่และข้อกำหนดในการขอถิ่นที่อยู่ถาวรนั้นจะแตกต่างกันไปแต่ละประเทศ 

วิธีที่นิยมที่สุดในการได้รับสัญชาติในกลุ่มประเทศยุโรปคือการอาศัยในประเทศนั้นนานๆ ผ่านการทำงาน ทำธุรกิจหรือการแต่งงาน

เช่น ถ้าเราจะขอถิ่นที่อยู่ถาวรในยุโรปจากประเทศเยอรมัน เราต้องอยู่ในเยอรมันก่อนเป็นระยะเวลา 5 ปี มีรายรับเพียงพอที่สำหรับการใช้ชีวิตและดูแลครอบครัว มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง สามารถพูดภาษาเยอรมันได้ และต้องจ่ายให้ระบบประกันสังคมก่อนเป็นระยะเวลา 60 เดือน ถึงจะสามารถยื่นเรื่องขอถิ่นที่ถาวรอยู่ได้ (Permanent Residence Permit) 

หลังจากนั้นแล้ว เราสามารถยื่นขอสัญชาติประเทศนั้นๆได้ โดยเราอาจจะต้องทำการทดสอบความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรม ก่อนที่จะได้รับสัญชาติ 

**แต่ละประเทศมีขั้นตอนที่แตกต่างกันและขึ้นอยู่กับวิซ่าที่เราถืออยู่ด้วย ในบางกรณี เราสามารถยื่นขอสัญชาติได้เลยโดยไม่ต้องขอถิ่นที่อยู่ถาวรก่อน 

การได้รับสัญชาติโดยวิธีนี้นั้น จะใช้ระยะเวลาโดยรวมประมาณ 8-10 ปี 

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไปอยู่ในประเทศนั้นๆโดยถูกต้องตามกฏหมายมาเป็นระยะเวลานาน ไม่มีคดีติดตัว และตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะไม่กลับมาใช้ชีวิตที่ประเทศไทยอีก เพราะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน และก่อนที่เราจะได้รับสัญชาตินั้น หลายประเทศบังคับให้เรายกเลิกสัญชาติประเทศไทยก่อน ถึงจะให้สัญชาติใหม่ให้แก่เรา 

ได้สัญชาติโดยการลงทุน

ประเทศส่วนมากในยุโรปจะมีวีซ่าแบบพิเศษ ที่มักจะเรียกกันว่าโกลเด้นวีซ่า (Golden Visa) ในบางประเทศจะเรียนกันว่าวีซ่าการลงทุน (Investment Visa) หรือ โปรแกรมถิ่นที่อยู่จากการลงทุน (Residence by Investment Program) หรือ โปรแกรมการได้สัญชาติจากการลงทุน (Citizenship by Investment Program)

วีซ่ารูปแบบนี้ เป็นวีซ่าแบบพิเศษที่ได้มาจากการลงทุนในส่วนต่างๆตามที่แต่ละประเทศต้องการในขณะนั้น และเราสามารถขอสัญชาติได้เลยหรือสามารถนำมาขอสัญชาติได้ในภายหลังขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละประเทศ

ข้อดีหลักๆของการขอสัญชาติโดยวิธีนี้คือ

  1. ขั้นตอนการขอที่ยุ่งยากน้อยกว่าวิธีอื่น ยกเว้นว่าเราจะมีบรรพบุรุษที่สื้อเชื้อสายมาจากประเทศนั้นๆ
  2. คนทุกคนสามารถสมัครได้ ถ้าสามารถลงทุนตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศได้
  3. เราไม่จำเป็นต้องอยู่ประเทศนั้นเป็นระยะเวลานานต่อปี
  4. เราอาจจะยังคงสามารถถือสัญชาติไทยได้ 

ข้อกำหนด

ในการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนนั้น จะมีข้อกำหนดหลักๆอยู่ 3 อย่าง คือ

  1. ต้องลงทุนให้ตรงกับข้อกำหนดที่แต่ละประเทศวางไว้
  2. ต้องอยู่ในประเทศนั้นๆเป็นระยะเวลาหนึ่ง
  3. ต้องไม่มีคดีติดตัว

โดยในข้อกำหนดแต่ละข้อนั้น จะมีรายละเอียดยิบย่อยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ หากเราสนใจที่จะสมัครโปรแกรมนี้ในประเทศไหน เราจะต้องไปศึกษาและดูรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดี ก่อนที่จะทำการสมัคร 

การลงทุน

ข้อกำหนดหลักของการได้วีซ่าประเภทนี้คือเราจะต้องไปทำการลงทุนในรูปแบบและจำนวนต่างๆ ตามที่แต่ละประเทศต้องการ 

Advertisement

ซึ่งสามารถเป็นได้ในรูปแบบของการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ การสร้างงาน หรือลงทุนในหน่วยงานต่างๆตามที่แต่ละประเทศต้องการ

เช่น หากเราอยากจะสมัครโกลเด้นวีซ่าในประเทศโปรตุเกส เราจะต้องลงทุนอย่างน้อยเป็นจำนวน 500,000 ยูโร ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และต้องถือการลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปีตลอดระยะเวลาที่เราถือวีซ่าประเทศนี้อยู่ 

แต่ถ้าเราสมัครโปรแกรมประเภทเดียวกันในประเทศมอลตา เราจะต้องลงทุนเป็นจำนวนเงิน 600,000 ยูโร ในตลาดอสังหาริมทรัพย์

การลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมที่สุดสำหรับการโปรแกรมการขอสัญชาติผ่านการลงทุน

ในการที่จะสมัครวีซ่าหรือการรับสัญชาติผ่านการลงทุนนั้น เราไม่สามารถกู้เงินเพื่อมาลงทุนได้ 

ก่อนที่เราจะลงทุนนั้น เราจะต้องศึกษาให้ดีว่า ข้อกำหนดของการลงทุนคืออะไร เช่น ถ้าเราเลือกจะลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมักจะเป็นวิธีที่นิยมที่สุดสำหรับการถือวีซ่าประเภทนี้ เราจะต้องลงทุนในรูปแบบและพื้นที่เฉพาะที่รัฐบาลประเทศนั้นๆกำหนดไว้เท่านั้น 

หากเราลงทุนในพื้นที่อื่น เราก็จะไม่ได้วีซ่าประเภทการลงทุน แม้ว่าจำนวนที่เราลงทุนจะมากกว่าจำนวนที่รัฐบาลประเทศนั้นๆกำหนดไว้ก็ตาม

นอกเหนือจากการลงทุนแล้ว เราอาจจะต้องบริจาคเงินจำนวนหนึ่งให้ประเทศนั้นๆอีกด้วย 

จำนวนวันขั้นต่ำที่ต้องอยู่ในประเทศนั้นๆ

หลังจากที่เราได้รับวีซ่าจากการลงทุนเรียบร้อยแล้ว ในแต่ละประเทศจะมีจำนวนวันขั้นต่ำที่เราจะต้องไปอยู่ เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์วีซ่า

แต่จำนวนขั้นต่ำที่เราจะต้องอยู่ในประเทศนั้น จะไม่ได้มากเหมือนวีซ่าประเภทอื่น 

เช่น ถ้าเราสมัครโกลเด้นวีซ่าของประเทศโปรตุเกส เราจะต้องอยู่ในประเทศโปรตุเกสเพียงแค่ 14 วันต่อปีเท่านั้น

ไม่มีคดีติดตัว

ก่อนที่เราจะสามารถสมัครโปรแกรมวีซ่าหรือการรับสัญชาติผ่านการลงทุนนั้น แต่ละประเทศจะทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราก่อน (Due Diligence) เพื่อที่จะแน่ในว่าเราไม่มีประวัติอาชญากรรม และเป็นผู้ที่มีที่มีความสามารถในการลงทุนในประเทศนั้นได้จริง

สิ่งที่ต้องคำนึง

เรามาดูดีกว่าว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราต้องนำมาพิจารณาก่อนที่จะสมัครโปรแกรมวีซ่าหรือสัญชาติผ่านการลงทุน

ความเสี่ยงในการลงทุน

การลงทุนคือข้อกำหนดหลักในการที่จะได้รับสัญชาติประเภทนี้ ซึ่งต้องการเงินลงทุนเป็นจำนวนมากและต้องถือไว้เป็นระยะหลายปี

ในขั้นต่ำนั้น เราจะต้องลงทุนเป็นจำนวนหลายแสนยูโร หรือบางประเทศอย่างเช่น ประเทศไซปรัส ที่เราจะต้องลงทุนเป็นจำนวนเงิน 2,000,000 ยูโรเลยทีเดียว 

ฉะนั้นแล้ว ก่อนที่เราจะทำการลงทุน เราจะต้องมั่นใจว่าเป็นการลงทุนที่ดี และมีความสามารถในการให้ผลกำไรในอนาคต

ระบบมีความชัดเจนแค่ไหน

นอกเหนือจากเรื่องของการลงทุนแล้ว เราต้องพิจารณาถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมประเทศนั้นๆว่ามีประสิทธิภาพเพียงไร และมีความชัดเจนแค่ไหน

ในบางประเทศ แม้โปรแกรมจะดูน่าสนใจ แต่ขั้นตอนสมัครมีความยุ่งยากและไม่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้การสมัครของเราล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น และบางครั้ง รัฐบาลอาจจะปฎิเสธใบสมัครของเราเลยก็เป็นได้ แม้ว่าเราจะทำการไปเรียบร้อยก็ตามแต่

จำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องใช้

ในการสมัครโปรแกรมสัญชาติหรือวีซ่าผ่านการลงทุนนั้น นอกจากในส่วนของการลงทุนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆที่เราต้องจ่ายเพิ่มเติม เช่น

  • เงินบริจาค
  • ค่าเอกสารต่างๆ
  • ค่าธรรมเนียมโปรแกรม
  • ค่าธรรมเนียมทนาย (ถ้ามี)

ซึ่งจำนวนค่าใช้ต่ายในส่วนนี้ จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่เราสมัคร

Advertisement

ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด

ในส่วนของระยะเวลาดำเนินการ เราสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนหลักๆ คือ

  1. ระยะเวลาที่รัฐบาลจะอนุมัติใบสมัครของเรา
  2. ระยะเวลาที่เราจะต้องอยู่ในประเทศนั้น ก่อนที่จะได้รับสัญชาติ

ในแต่ละประเทศจะมีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

โดยระยะเวลาที่รัฐบาลจะอนุมัติใบสมัครนั้น บางประเทศ เช่น สเปน จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6-8 เดือนหลังจากที่ยื่นใบสมัคร 

บางประเทศจะใช้ระยะเวลานานกว่านั้น เช่น ประเทศออสเตรีย จะใช้เวลาประมาณ 24-36 เดือนเลยทีเดียว

นอกจากนั้นแล้ว แต่ละประเทศก็จะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันในการที่เราจะต้องถือวีซ่าการลงทุนก่อนที่จะสามารถสมัครสัญชาติได้ บางประเทศอย่างโปรตุเกส เราจะต้องถือไว้ 5 ปี ก่อนที่จะสมัครสัญชาติได้ แต่ในส่วนของประเทศสเปน เราจะต้องถือวีซ่าลงทุนไว้ก่อนเป็นระยะเวลา 10 ปี 

ผลประโยชน์ทางภาษี

หากใครคิดที่จะทำธุรกิจในประเทศนั้นๆ จะต้องศึกษาเรื่องผลประโยชน์ทางภาษีให้ดีก่อน โดยประเทศต่างๆในกลุ่มสมาชิกยุโรปมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน รวมถึงข้อยกเว้นในเรื่องภาษี 

บางประเทศอาจจะมีสิทธิภาษีพิเศษ เช่น ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้จากต่างประเทศ สำหรับบุคคลที่ถือวีซ่าลงทุนโดยเฉพาะ

รักษาสัญชาติไทยได้ไหม?

โดยส่วนมากแล้ว ประเทศในกลุ่มยุโรปส่วนมากจะมีข้อยกเว้นในการถือสองสัญชาติให้กับบุคคลที่ได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนให้เป็นกรณีพิเศษ

แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศเยอรมัน หากเราต้องการที่จะได้รับสัญชาติเยอรมันแม้จะเป็นผ่านวิธีการลงทุน เราจะต้องยกเลิกสัญชาติไทย 

ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ผู้คนส่วนมากไม่ให้ความสนใจในวีซ่าการลงทุนของประเทศเยอรมัน แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ดีและต้องการจำนวนเงินลงทุนที่น้อยกว่าประเทศอื่นในยุโรปก็ตาม

ต้องเรียนภาษาไหม?

ในบางประเทศ เราจะต้องผ่านสอบวัดระดับภาษาก่อนที่เราจะสามารถสมัครสัญชาติได้ เช่น หากเราอยากจะได้สัญชาติโปรตุเกส เราต้องผ่านระดับ A2 เสียก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าเราสามารถสื่อสารภาษาโปรตุเกสได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

โดยส่วนมากแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาใหม่สำหรับประเทศที่ให้สัญชาติเราโดยตรงหลังจากสมัครผ่านโปรแกรมการลงทุน

หากประเทศไหนที่เราจะต้องอยู่ในประเทศนั้นสักระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะได้รับสัญชาติ เราต้องสามารถพูดภาษาของประเทศนั้นได้

โปรแกรมแนะนำ

ประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศยุโรปนั้นก็มีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมสัญชาติผ่านการลงที่แตกต่างกัน รวมถึง ขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย

และไม่ใช่ทุกประเทศ ที่มีโปรแกรมนี้

เรามาดูกันดีกว่าว่า มีประเทศไหนในกลุ่มประเทศยุโรป ที่เราสามารถได้สัญชาติผ่านโปรแกรมการลงทุนได้ง่าย โดยพิจารณาจากความชัดเจนของโปรแกรม ระยะเวลาที่ได้สัญชาติ ขั้นตอนการทำงานของรัฐบาล จำนวนเงินที่ใช้ และความเสี่ยงในการลงทุน

โปรตุเกส

ประเทศโปรตุเกส มักจะเป็นประเทศแรกๆที่คนนึกถึงในการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนในกลุ่มประเทศยุโรป เนื่องด้วยเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก มีขั้นตอนการสมัครที่ไม่วุ่นวาย มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อย มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่ำกว่าประเทศอื่น รวมถึงใช้ระยะเวลาน้อยในการได้รับสัญชาติ

อีกทั้งประเทศโปรตุเกสยังเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านคุณภาพชีวิต มีระบบสุขภาพที่ดี และหนังสือเดินทางยังสามารถใช้เดินทางไปได้มากกว่า 180 ประเทศทั่วโลกโดยที่ไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งถือได้ว่าหนังสือเดินทางของประเทศโปรตุเกสนั้นดีเป็นอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว 

ประเทศโปรตุเกสเป็นประเทศแรกๆที่คนมักนึกถึงในการขอสัญชาติยุโรป

อีกหนึ่งข้อดีของโปรแกรมการลงทุนของประเทศโปรตุเกสคือ เราจำเป็นต้องอยู่ในประเทศนี้เป็นเวลาเพียงแค่ 14 วันต่อปี เพื่อรักษาวีซ่า

Advertisement

โปรแกรมการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนของประเทศโปรตุเกสนั้น มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Portugal Golden Residence Permit หรือ GRP 

บางคนอาจจะเรียกโปรแกรมนี้ว่า ARI ซึ่งย่อมาจากคำว่า A Residence Permit for an Investment Activity 

หลายๆคนมักจะเรียกชื่อโปรแกรมนี้ว่า โกลเด้น วีซ่า (Golden Visa)

วิธีการลงทุนที่นิยมที่สุดในการสมัครโปรแกรม GRP คือการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจำนวนการลงทุนขั้นต่ำจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับที่ตั้งและประเภทอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่จำนวน 350,000 ยูโร จนถึง 1,000,000 ยูโร 

นอกจากการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์แล้ว เรายังสามารถสมัครโปรแกรม GRP ผ่านการลงทุนประเภทอื่นๆ เช่น การสร้างงานอย่างน้อย 10 งานในประเทศโปรตุเกส หรือ การลงทุนในหน่วยงานวิจัยต่างๆ  

ระยะเวลาสมัครทั้งหมดของโปรแกรม GRP ในประเทศโปรตุเกส ตั้งแต่การสรรหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน การเตรียมเอกสาร จนกระทั่งได้รับวีซ่า จะอยู่ที่ประมาณ 6-8 เดือน

หลังจากถือวีซ่าจากโปรแกรม GRP มาได้ 5 ปีแล้ว เราสามารถยื่นขอสัญชาติได้เลย ซึ่งข้อกำหนดหลักๆของการขอสัญชาติประเทศโปรตุเกสมีดังนี้

  1. เราต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี
  2. เราต้องสอบผ่านวัดระดับภาษาโปรตุเกสในระดับ A2
  3. เราต้องไม่มีประวัติอาชญากรรม
  4. เราต้องแสดงถึงความสนใจที่จะได้รับสัญชาติประเทศโปรตุเกส 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านบทความรีวิวโปรแกรมการลงทุนประเทศโปรตุเกสของเราได้

สเปน

โปรแกรมการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนของประเทศสเปนจะมีลักษณะคล้ายๆกับประเทศโปรตุเกส คือเราต้องลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือสร้างงานในประเทศก่อนที่จะสามารถขอวีซ่าแบบลงทุนได้

โปรแกรมการขอสัญชาติผ่านการลงทุนของประเทศสเปนมีความคลายกับประเทศโปรตุเกส แต่เราต้องถือวีซ่าก่อนเป็นระยะเวลา 10 ปี ก่อนที่จะสมัครขอสัญชาติได้

จำนวนในการลงทุน ระยะเวลาดำเนินการรวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการได้รับสัญชาติสเปนนั้นก็ไม่แตกต่างจากประเทศโปรตุเกสมาก 

ในแต่ประเทศสเปนนั้น เราจะต้องถือวีซ่าตัวนี้ก่อนเป็นระยะเวลาทั้งหมด 10 ปี ก่อนที่จะสมัครสัญชาติได้

มอลต้า

แม้ว่าประเทศมอลต้าอาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนไทย แต่สำหรับชาวต่างชาตินั้นที่อยากจะได้สัญชาติในกลุ่มประเทศยุโรป มักจะคิดถึงประเทศนี้เป็นอันดับแรก เนื่องด้วยโปรแกรมสัญชาติผ่านของลงทุนของประเทศมอลต้านั้น มีระยะเวลาดำเนินการที่เร็ว และต้องการจำนวนการลงทุนที่ไม่มาก

เราอาจจะไม่คุ้นหูกับประเทศมอลต้า แต่โปรแกรมสัญชาติผ่านการลงทุนของประเทศนี้ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว

หลังจากที่เราได้รับวีซ่าชั่วคราวจากการลงทุนแล้วนั้น เราจำเป็นต้องถือวีซ่าตัวนี้เพียงแค่ 1 ปี และสามารถทำการสมัครสัญชาติมอลต้าได้เลย โดยที่ไม่ต้องเรียนภาษาพื้นเมือง

อีกทั้งในช่วง 1 ปีที่เราถือวีซ่านั้น เราจำเป็นที่จะต้องอยู่ในประเทศนี้เพียงแค่ 14 วันเท่านั้น 

ในการสมัครโปรแกรมสัญชาติของประเทศมอลต้า มีข้อกำหนดการลงทุนหลักๆอยู่ 3 อย่าง คือ

  1. เราจะต้องลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ จำนวนไม่น้อยกว่า 600,000 ยูโร และถือไว้ 5 ปี หรือ เช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยค่าเช่าแต่ละปีต้องไม่ต่ำกว่าปีละ 16,000 ยูโร
  2. ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 150,000 ยูโร และถือไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปี
  3. ทำการบริจาคจำนวน 10,000 ยูโรให้กับประเทศมอลต้าในหน่วยงานตามที่รัฐบาลกำหนดไว้

หนังสือเดินทางของประเทศมอลต้านั้น ดีเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยสามารถเดินทางไปได้มากกว่า 180 ประเทศทั่วโลกโดยไม่ต้องขอวีซ่า

มอนเตรเนโกร

แม้ว่าในขณะนี้ประเทศมอนเตรเนโกรจะยังไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศยุโรปอย่างเป็นทางการ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า ประเทศเล็กๆในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ จะเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศยุโรปอย่างเป็นทางการในปี 2568

และโปรแกรมการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนของประเทศนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีเงื่อนไขที่ไม่ซับซ้อน และสามารถได้รับสัญชาติอย่างเพียงรวดเร็วภายในระยะเวลา 6-8 เดือนเท่านั้นหลังจากสมัครเข้าร่วมโปรแกรม

ประเทศมอนเตรเนโกรจะเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศยุโรปอย่างเป็นทางการในปี 2568

ในการที่จะได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนของประเทศมอนเตรเนโกร มีเงื่อนไขหลักๆอยู่ 3 อย่าง คือ

  1. จะต้องลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลมอนเตรเนโกรกำหนดไว้เป็นจำนวนอย่างน้อง 450,000 ยูโร
  2. จะต้องบริจาคให้กับประเทศมอนเตรเนโกเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ เป็นจำนวน 100,000 ยูโร
  3. จะต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และไม่มีประวัติอาชญากรรม 

เราสามารถสมัครสัญชาติให้กับคนในครอบครัวเราได้ด้วย โดยไม่ต้องทำการลงทุนเพิ่ม แต่จะต้องเสียค่าสมัครเพิ่มเติมให้กับรัฐบาลมอนเตรเนโกรเป็นจำนวน 7,000 ยูโร ถึง 50,000 ยูโร ต่อคน ซึ่งจำนวนเงินจะขึ้นอยู่กับลักษณะความสัมพันธ์และจำนวนคนในครอบครัวของเรา

ในการสมัครเข้าร่วมโปรแกรมสัญชาติมอนเตรเนโกรผ่านการลงทุนนั้น เราไม่สามารถสมัครได้ด้วยตนเอง แต่ต้องสมัครผ่านตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากประเทศมอนเตรเนโกรเท่านั้น 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านบทความรีวิวโปรแกรมการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนประเทศมอนเตรเนโกร ของเราได้ 

กลุ่มประเทศอื่นๆ 

โปรแกรมการได้รับสัญชาติผ่านการลงทุนนั้นไม่ได้มีแค่ในกลุ่มประเทศยุโรป 

อีกหนึ่งกลุ่มประเทศที่เป็นที่นิยมสำหรับการถือสัญชาติที่สองคือกลุ่มประเทศแคริบเบียน โดยเฉพาะประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส เพราะมีสิทธิประโยชน์ที่ไม่แตกต่างจากสัญชาติในกลุ่มประเทศยุโรป แต่มีระยะเวลาการดำเนินการที่ง่ายกว่า สั้นกว่า และจำนวนเงินลงทุนที่น้อยกว่า

ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสนั้น สามารถเดินทางไปได้มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่า รวมถึงประเทศในกลุ่มเชงเก้น (Schengen)

นอกจากนั้นแล้ว เมื่อเราได้สัญชาติประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส เราสามารถได้สิทธิทางภาษีแบบเดียวกันกับพลเมืองประเทศนี้อีกด้วย 

จะถือสัญชาติไหนดี?

ก่อนที่เราจะตัดสินใจสมัครสัญชาติใหม่ เราต้องแน่ใจให้ดีว่ามันเหมาะกับเราที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่ซับซ้อน มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก รวมถึงขั้นตอนการสมัคร และสิทธิประโยชน์ของประเทศต่างๆสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ฉะนั้น หากเรายังไม่มั่นใจว่าจะเลือกประเทศไหนดี หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เราสามารถขอคำปรึกษาและใช้บริการจากบริษัทด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการได้รับสัญชาติของแต่ละประเทศได้ 

โดยบริษัทเหล่านี้ สามารถช่วยเราสมัครโปรแกรมการขอสัญชาติผ่านการลงทุนได้ รวมถึงการเตรียมเอกสาร การสรรหาอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการต่างๆ

นอกจากนั้นแล้ว ในการสมัครโปรแกรมขอสัญชาติผ่านการลงทุนนั้น ในบางประเทศเราต้องสมัครผ่านตัวแทนที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลประเทศนั้นเท่านั้น 

หากท่านสนใจในโปรแกรมขอสัญชาติผ่านการลงทุน สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างได้ เพื่อติดต่อกับบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องโปรแกรมถิ่นที่อยู่อาศัยและเป็นตัวแทนที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก 

  • ชื่อ-นามสกุล

    *

  • อีเมล

    *

    กรุณาใส่อีเมล

    กรุณาใส่อีเมลอีกครั้ง

  • เบอร์โทรศัพท์

    *

  • ท่านสนใจโปรแกรมถิ่นที่อยู่ประเทศอะไร?

    *

  • ท่านอยากจะทำการสมัครเมื่อไหร่?

    *

  • รายละเอียดที่อยากให้เรารู้

    *

Δ


Click : ภาษาอังกฤษ : English around the world in 20 minutes (2/2) คำศัพท์เมืองสำคัญ ในยุโรป


ครูคริสเลือกเฟ้นคำศัพท์เกี่ยวกับประเทศเมืองสำคัญ และสถานที่สำคัญในโลกของเรา มาสอนพร้อมการออกเสียงที่ถูกต้อง และหลักการจำแบบสนุก ๆ ประกอบภาพกราฟิกธงชาติประเทศต่างๆ เหมาะเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษเกี่ยวกับประเทศต่างๆ รอบโลก
เคล็ดลับวิชา 10 หัวข้อในตำราเรียนที่ต้องรู้แต่เข้าใจยาก มาทำเป็นรายการสั้น ดูสนุก เข้าใจง่าย ในรายการ Click : ภาษาอังกฤษ ออกอากาศทาง Mahidol Channel
Facebook : http://www.facebook.com/mahidolchannel
Website : https://channel.mahidol.ac.th/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Click : ภาษาอังกฤษ : English around the world in 20 minutes (2/2) คำศัพท์เมืองสำคัญ ในยุโรป

49ประเทศในทวีปเอเชีย


หัดทำวีดีโอครับ
49ประเทศในทวีปเอเชีย
มีประเทศอะไรบ้าง
ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
เป็นกำลังใจกดไลด์กดแชร์ให้ด้วยนะครับ
ฝากติดตามเพจด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/fretsiM

49ประเทศในทวีปเอเชีย

Countries of the World – Nations Vocabulary for Kids


Countries of the World Nations and Vocabulary for Kids Fun Children’s Learning Videos
★ SUBSCRIBE ➜ http://bit.ly/SUB2ELF | Clean Up Song for Children ➜ https://youtu.be/oYH2WGThc8
More “Kids Learning” Videos:
★ Clean Up Song for Children ➜ https://www.youtube.com/watch?v=oYH2WGThc8
★ Counting Numbers Song ➜ https://www.youtube.com/watch?v=EjT5SA9WrY4
★ Learn Colors Preschool Chant ➜ https://www.youtube.com/watch?v=qhOTU8_1Af4
★ The Colors Song By ELF Learning ➜ https://www.youtube.com/watch?v=lH2C2R57_Yo
== Follow Us on Social Media ==
Facebook ➜ https://www.facebook.com/elflearning
G+ ➜ https://plus.google.com/+ELFKidsVideos
Twitter ➜ https://twitter.com/ELFLearning

★ Get our 1st CD Let’s Take A Walk:
CDBaby: http://www.cdbaby.com/cd/elflearning
Amazon: http://goo.gl/qIWhGU
★ Get our 2nd CD Classroom Classics
iTunes: https://itunes.apple.com/jp/album/kidssongs2classroomclassics/id866000243?l=en
CDBaby: http://www.cdbaby.com/cd/elflearning2
Amazon: http://goo.gl/z7clDu
★ Get our Halloween Song Halloween PeekABoo!
iTunes: https://itunes.apple.com/jp/album/halloweenpeekaboo!single/id1040339116?l=en
CDBaby: http://www.cdbaby.com/cd/elflearning3
Amazon: http://goo.gl/YwZKQJ
Get our Phonics Books, Games and More:
http://www.elflearning.jp
(In Japan) http://goo.gl/iIe26t
ELF Learning creates songs, videos and other learning materials for kids all over the world. Based in Japan, we publish books, CDs, DVDs and of course…learning videos! Our videos are designed for children ages 2~10 and cover a wide range of topics.
Our song videos are a mix of original and classic children’s songs. We try hard to add the ELF touch clear vocals, different genres and lots of FUN!
Our learning videos cover vocabulary, phrases and patterns perfect for the ESL and EFL classroom.
Many of our videos work well with special needs children, especially those with Autistic Disorder, Speech and Language Impairments and Speech, Reading and Learning Disabilities. We often receive emails from parents thanking us for helping their child learn to speak or read and each time it makes our day!
ELF Learning Everyone Loves FUN Learning!

Countries of the World - Nations Vocabulary for Kids

ประเทศและสัญชาติ


ประเทศและสัญชาติ

AtoZ 26 ประเทศกับสัญชาติ ภาษาอังกฤษใช้ต่างกันยังไง


ประเทศกับสัญชาติภาษาอังกฤษต่างกันยังไง
26 ประเทศกับสัญชาติ ไล่จาก A to Z
ตัวอย่างคำถาม/คำตอบ
A: Where are you from?
B: I am from Thailand. (ประเทศ)
A: What’s your nationality?
B: I’m Thai (สัญชาติ)

Facebook: https://www.facebook.com/ThinkEnglishWithKruFirst/

AtoZ 26 ประเทศกับสัญชาติ ภาษาอังกฤษใช้ต่างกันยังไง

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ประเทศและสัญชาติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *