Skip to content
Home » [Update] ลําดับ ภาษาอังกฤษเขาเรียงยังไง มาดูลําดับที่ 1-100 และพันหมื่นล้านให้กระจ่างไปเลย! | การบอกวันที่ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] ลําดับ ภาษาอังกฤษเขาเรียงยังไง มาดูลําดับที่ 1-100 และพันหมื่นล้านให้กระจ่างไปเลย! | การบอกวันที่ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

การบอกวันที่ ภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

22

SHARES

Facebook

Twitter

การเรียงลำดับที่ภาษาอังกฤษอาจจะงงๆ หน่อยนะครับ เพราะการเรียงลำดับ ภาษาอังกฤษเขามีตัวเลขอีกชุดหนึ่ง แต่มันก็คล้ายๆกับตัวเลขจำนวนนับนั่นแหละ สังเกตุความแตกต่างนิดหน่อยก็สามารถที่จะบอกได้แล้ว อย่าว่าแต่ 1-100 เลย ถึงกี่ล้านก็ได้ ถ้ารู้แนว

Table of Contents

ลําดับ ภาษาอังกฤษเขาเรียงยังไง

ลำดับ ภาษาอังกฤษ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลขก่อนนะครับว่า มันมีอยู่ด้วยกัน  2 ชุดคือ

1. Cardinal Number (ค๊าดิเนิล นั๊มเบอส)ตัวเลขจำนวนนับ  เช่น one – หนึ่ง two – สอง  three – สาม  four – สี่  five – ห้า อันนี้เขาเรียกว่าตัวเลขจำนวนนับ เอาไว้นับจำนวนสิ่งต่างๆว่ามีอยู่เท่าไหร่

2. Ordinal Number ตัวเลขลำดับที่ (อ๊อดิเนิล นั๊มเบอส) เอาไว้เรียงลำดับ หรือบอกลำดับของสิ่งต่างๆ เช่น วันที่ ชั้นของตึก การเข้าเส้นชัยของนักกีฬา บอกลำดับในแถว เป็นต้น

ตัวอย่างการนับลำดับที่

  • I live on 3rd floor.
    ฉันอาศัยอยู่ชั้น(ลำดับ)ที่สาม
  • The third girl is my sister.
    เด็กหญิงลำดับที่ 3 คือ น้องสาวของฉัน
  • It is my first week here.
    มันคือสัปดาห์ที่หนึ่ง (สัปดาห์แรก) ของผมที่นี่
  • The third shirt is 150 bath.
    เสื้อเชิ้ตตัวที่ 3 ราคา 150 บาท

♦ มาดูลำดับที่ ตั้งแต่ลำดับที่ 1 – 100 กันนะครับ

 ลำดับ
ตัวย่อ
ตัวเต็ม
คำอ่าน

ลำดับที่  1
1st
first
เฟิสท

ลำดับที่  2
2nd
second
เซ๊เคินดึ

ลำดับที่  3
3rd
third
เธิด

ลำดับที่  4
4th
fourth
ฟอธ

ลำดับที่  5
5th
fifth
ฟิฟธ

ลำดับที่  6
6th
sixth
ซิกซธ

ลำดับที่  7
7th
seventh
เซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  8
8th
eighth
เอทธ

ลำดับที่  9
9th
ninth
ไนนธ

ลำดับที่  10
10th
tenth
เท็นธ

ลำดับที่  11
11th
eleventh
อิเล็ฝเวินธ

ลำดับที่  12
12th
twelfth
เทว็ลฟธ

ลำดับที่  13
13th
thirteenth
เธอที๊นธ

ลำดับที่  14
14th
fourteenth
ฟอที๊นธ

ลำดับที่  15
15th
fifteenth
ฟิฟที๊นธ

ลำดับที่  16
16th
sixteenth
ซิกซที๊นธ

ลำดับที่  16
17th
seventeenth
เซ็ฝเวินที๊นธ

ลำดับที่  18
18th
eighteenth
เอทที๊นธ

ลำดับที่  19
19th
nineteenth
ไนนที๊นธ

ลำดับที่  20
20th
twentieth
เทว็นทิเอ็ธ

ลำดับที่  21
21st
twenty-first
ทเว็นทิเฟิสท

ลำดับที่  22
22nd
twenty-second
เทว็นทิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  23
23rd
twenty-third
เทว็นทิเธิด

ลำดับที่  24
24th
twenty-fourth
เทว็นทิฟอธ

ลำดับที่  25
25th
twenty-fifth
เทว็นทิฟิฟธ

ลำดับที่  26
26th
twenty-sixth
เทว็นทิซิกซธ

ลำดับที่  27
27th
twenty-seventh
เทว็นทิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  28
28th
twenty-eighth
เทว็นทิเอทธ

ลำดับที่  29
29th
twenty-ninth
เทว็นทิไนนธ

ลำดับที่  30
30th
thirtieth
เธ๊อทิเอ็ธ

ลำดับที่  31
31st
thirty-first
เธ๊อทิเฟิสท

ลำดับที่  32
32nd
thirty-second
เธ๊อทิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  33
33rd
thirty-third
เธ๊อทิเธิด

ลำดับที่  34
34th
thirty-fourth
เธ๊อทิฟอธ

ลำดับที่  35
35th
thirty-fifth
เธ๊อทิฟิฟธ

ลำดับที่  36
36th
thirty-sixth
เธ๊อทิซิกซธ

ลำดับที่  37
37th
thirty-seventh
เธ๊อทิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  38
38th
thirty-eighth
เธ๊อทิเอทธ

ลำดับที่  39
39th
thirty-ninth
เธ๊อทิไนนธ

ลำดับที่  40
40th
fortieth
ฟ๊อทิเอ็ธ

ลำดับที่  41
41nd
forty-first
ฟ๊อทิเฟิสท

ลำดับที่  42
42nd
forty-second
ฟ๊อทิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  43
43rd
forty-third
ฟ๊อทิเธิด

ลำดับที่  44
44th
forty-fourth
ฟ๊อทิฟอธ

ลำดับที่  45
45th
forty-fifth
ฟ๊อทิฟิฟธ

ลำดับที่  46
46th
forty-sixth
ฟ๊อทิซิกซธ

ลำดับที่  47
47th
forty-seventh
ฟ๊อทิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  48
48th
forty-eighth
ฟ๊อทิเอทธ

ลำดับที่  49
49th
forty-ninth
ฟ๊อทิไนนธ

ลำดับที่  50
50th
fiftieth
ฟิ๊ฟทิเอ็ธ

ลำดับที่  51
51nd
fifty-first
ฟิ๊ฟทิเฟิสท

ลำดับที่  52
52nd
fifty-second
ฟิ๊ฟทิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  53
53rd
fifty-third
ฟิ๊ฟทิเธิด

ลำดับที่  54
54th
fifty-fourth
ฟิ๊ฟทิฟอธ

ลำดับที่  55
55th
fifty-fifth
ฟิ๊ฟทิฟิฟธ

ลำดับที่  56
56th
fifty-sixth
ฟิ๊ฟทิซิกซธ

ลำดับที่  57
57th
fifty-seventh
ฟิ๊ฟทิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  58
58th
fifty-eighth
ฟิ๊ฟทิเอทธ

ลำดับที่  59
59th
fifty-ninth
ฟิ๊ฟทิไนนธ

ลำดับที่  60
60th
sixtieth
ซิ๊กซติเอ็ธ

ลำดับที่  61
61nd
sixty-first
ซิ๊กซติเฟิสท

ลำดับที่  62
62nd
sixty-second
ซิ๊กซติเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  63
63rd
sixty-third
ซิ๊กซติเธิด

ลำดับที่  64
64th
sixty-fourth
ซิ๊กซติฟอธ

ลำดับที่  65
65th
sixty-fifth
ซิ๊กซติฟิฟธ

ลำดับที่  66
66th
sixty-sixth
ซิ๊กซติซิกซธ

ลำดับที่  67
67th
sixty-seventh
ซิ๊กซติเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  68
68th
sixty-eighth
ซิ๊กซติเอทธ

ลำดับที่  69
69th
sixty-ninth
ซิ๊กซติไนนธ

ลำดับที่  70
70th
seventieth
เซ็ฝเวินทิเอ็ธ

ลำดับที่  71
71nd
seventy-first
เซ็ฝเวินทิเฟิสท

ลำดับที่  72
72nd
seventy-second
เซ็ฝเวินทิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  73
73rd
seventy-third
เซ็ฝเวินทิเธิด

ลำดับที่  74
74th
seventy-fourth
เซ็ฝเวินทิฟอธ

ลำดับที่  75
75th
seventy-fifth
เซ็ฝเวินทิฟิฟธ

ลำดับที่  76
76th
seventy-sixth
เซ็ฝเวินทิซิกซธ

ลำดับที่  77
77th
seventy-seventh
เซ็ฝเวินทิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  78
78th
seventy-eighth
เซ็ฝเวินทิเอทธ

ลำดับที่  79
79th
seventy-ninth
เซ็ฝเวินทิไนนธ

ลำดับที่  80
70th
eightieth
เอ๊ททิเอ็ธ

ลำดับที่  81
81nd
eighty-first
เอ๊ททิเฟิสท

ลำดับที่  82
82nd
eighty-second
เอ๊ททิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  83
83rd
eighty-third
เอ๊ททิเธิด

ลำดับที่  84
84th
eighty-fourth
เอ๊ททิฟอธ

ลำดับที่  85
85th
eighty-fifth
เอ๊ททิฟิฟธ

ลำดับที่  86
86th
eighty-sixth
เอ๊ททิซิกซธ

ลำดับที่  87
87th
eighty-seventh
เอ๊ททิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  88
88th
eighty-eighth
เอ๊ททิเอทธ

ลำดับที่  89
89th
eighty-ninth
เอ๊ททิไนนธ

ลำดับที่  90
90th
ninetieth
ไน๊ทิเอ็ธ

ลำดับที่  81
81nd
ninety-first
ไน๊ทิเฟิสท

ลำดับที่  82
82nd
ninety-second
ไน๊ทิเซ๊เคินดึ

ลำดับที่  83
83rd
ninety-third
ไน๊ทิเธิด

ลำดับที่  84
84th
ninety-fourth
ไน๊ทิฟอธ

ลำดับที่  85
85th
ninety-fifth
ไน๊ทิฟิฟธ

ลำดับที่  86
86th
ninety-sixth
ไน๊ทิซิกซธ

ลำดับที่  87
87th
ninety-seventh
ไน๊ทิเซ็ฝเวินธ

ลำดับที่  88
88th
ninety-eighth
ไน๊ทิเอทธ

ลำดับที่  89
89th
ninety-ninth
ไน๊ทิไนนธ

ลำดับที่  100
100th
one hundredth
วัน ฮั๊นเดริดธ

ลำดับพันหมื่นล้าน

ถ้าสามารถนับได้ถึงพันหมื่นล้าน การนับลำดับก็จะง่ายมาก แค่เติม th ลงไปแค่นั้นเอง เช่น

  • ลำดับที่ 10,00 = 10,000th (ten thousandth เท็น เธ๊าเซินธ)
  • ลำดับที่ 100,000 = 100,000th (one hundred thousandth วัน ฮั๊นเดริด เธ๊าเซินธ)
  • ลำดับที่ 1,000,000 = 1,000,000th (one millionth วัน มิ๊ลเลียนธ)

ลำดับที่ กับเลขหลายจำนวน

หลายจำนวน ณ ที่นี้ คือ มันมีตัวเลขหลัก หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน ปนเปกัน ให้ยึดตัวสุดท้ายเท่านั้น ตัวอื่นๆให้นับเป็นตัวเลขนับจำนวนตามปกติ เช่น

ลำดับที่ 101 = one hundred and first

ลำดับที่ 582 = five hundred and eighty-second

ลำดับที่ 1,830 = one thousand eight hundred and thirtieth

ลำดับที่ 22,554 = twenty-two thousand five hundred and fifty-fourth

ลำดับที่ 346,747 = three hundred and forty-six thousand seven hundred and forty-seventh

ลำดับที่ 6,666,666 = six million six hundred and sixty-six thousand sex hundred and sixty-sixth

เป็นอย่างไรกับบ้างครับกับลำดับภาษาอังกฤษ ถ้าเรียนรู้ใหม่ๆก็อาจจะงงๆหน่อยนะครับ แต่เดี๋ยวก็จะคุ้นไปเอง ในเรื่องของการนับจำนวน และการนับลำดับที่

บทเรียนที่เกี่ยวข้อง

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม…

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ…

Average rating 4.5 / 5. Vote count: 116

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก….

[Update] “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Time in English) ” | การบอกวันที่ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling Time in English) ” กันค่ะ
ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

 บทนำ

ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • British English แบบบริติช
  • American English แบบอเมริกัน

โครงสร้างประโยคคำถาม

ประโยคคำถาม เพื่อถามถึงเวลา เช่น

  • ถามเวลาแบบ Direct question:

What time is it right now?

= ตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว

 

เรามักจะเจอคำถามในลักษณะนี้ในสถานการณ์แบบเป็นกันเอง ภาษาที่ใช้จะดูใกล้ชิดสนิทสนมมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนเราที่ถามทาง หรือ คนใกล้ตัว คุณพ่อ คุณแม่ เป็นต้น

 

  • ถามเวลาแบบ Indirect question: Can I know…= ขอทราบ/ถาม หน่อย…

Can you tell me what time it is?
= ขอถามหน่อยว่ากี่โมงแล้ว

Excuse me, can I know what time it is?
= ขอโทษนะ ขอทราบหน่อยว่าเป็นเวลากี่โมงแล้ว

***การถามเวลาในรูปแบบประโยคลักษณะ Indirect questions นี้ ประโยคของเราจะดูเป็น ทางการและสุภาพมากยิ่งข้น

 

บอกเวลาแบบ British English

 

 

ใน British English จะใช้ระบบเวลาแบบ 12 ชั่วโมง โดยจะใช้เลข 1 -12 ตามด้วยคำบอกเวลา a.m. และ p.m. ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษนั่นเองค่า

 

  • การใช้ a.m. และ p.m.

a.m. = ante meridiem ใช้กับเวลา หลังเที่ยงคืน จนถึง ก่อนเที่ยงวัน
(00.01 a.m. – 11.59 a.m.)

p.m. = post meridiem ใช้กับเวลาหลังเที่ยงวัน จนถึง ก่อนเที่ยงคืน
(12.00 p.m. – 11.59 p.m.)

 

หากว่าต้องการบอกเวลาเต็มชั่วโมง ให้เติมคำว่า “o’clock” ท้ายเวลา หรือพูด a.m. และ p.m. ตามด้วยเวลาต่างๆ ก็ได้ เช่นกันค่ะ

 

11.00 a.m. = eleven o’clock in the morning

แปลว่า ตอนนี้เป็นเวลาสิบเอ็ดโมงเช้า

05.00 p.m. = five o’clock in the afternoon

แปลว่า ตอนนี้เป็นเวลาห้าโมงเย็น

 

 

การใช้ to กับเวลาที่กำลังจะมาถึง 

 

 

เวลาที่ผ่านชั่วโมง และเกิน 30 นาทีมาแล้ว ให้บอกนาทีที่เหลือก่อนจะถึงชั่วโมงถัดไป ตามด้วย “to”  และชั่วโมงถัดไป เช่น

 

08.40 p.m. = twenty to nine

แปลว่า อีกยี่สิบนาทีจะถึงเก้านาฬิกาแล้ว

 สำหรับ การบอกเวลาแบบ British English หากนาฬิกาเป็นเวลา 15 นาทีหรือ 45 นาที ให้ใช้คำว่า a quarter และหากเป็น 30 นาที ให้ใช้ half เช่น

 

06.15 a.m. = a quarter past six

07.30 a.m. = a half past thirty

 

การใช้ “past”

 

past เป็นคำคุณศัพท์ เมื่อใช้กับการบอกเวลา จะแปลว่า ผ่าน….มา……แล้ว โดยส่วนมากจะใช้กับเวลาที่ผ่านล่วงเลยมาไม่ถึง 30 นาที เช่น

 

10.20 a.m. = twenty past ten
แปลว่า  ผ่านสิบนาฬิกามามายี่สิบนาทีแล้ว

ถือว่าเป็นการบอกเวลาทางอ้อม เพราะว่าไม่บอกมาตรงๆ มักจะเจอรูปแบบประโยคนี้ในสถานการณ์ปกติ ที่ไม่เร่งรีบ ในชั้นเรียน แต่อาจจะไม่ใช่การถามเวลาก่อนเที่ยงที่น้องๆหิวข้าว เป็นต้น

 

บอกเวลาแบบ American English

 

 

การอ่านเวลาแบบชาวอเมริกันนั้นได้กำหนดวิธีการบอกเวลาในภาษาอังกฤษสไตล์ชิวๆ ไม่ซับซ้อนเท่ากับวิธีการของ
ชาวบริติช
ซึ่ง American English จะมีการใช้ระบบเวลาแบบ 24 ชั่วโมง โดยจะใช้ตั้งแต่ตัวเลข 0 ไปจนถึง ตัวเลข 24 และส่วนใหญ่จะไม่มี a.m. และ p.m.
ให้ยุ่งยาก ตามสไตล์
easy going ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนอเมริกันเลยทีเดียว ง่ายๆ ไม่ทำให้ยุ่งยาก

วิธีการบอกเวลาของชาวอเมริกันคือ ให้บอกเลขชั่วโมงก่อนตามด้วยเลขนาที โดยทั่วมักจะในกรณีที่เป็นทางการมากๆ  เช่น

 

เวลา 21.15 น. = twenty-one fifteen

เวลา 08.09* น. = eight O nine 

ขออธิบายเพิ่มเติม:

*ใช้เสียง O อ่านว่า โอ จะใช้ แทนเลข 0 ใน American English

 

นอกจากนี้ยังมีคำวิเศษณ์เพื่อประมาณเวลา อีกด้วย เช่น about หรือ nearly  ซึ่งแปลว่า ประมาณ หรือ เกือบๆ เช่น

 

เวลา 09.05 น. =It’s about nine o’clock (แม้ว่าจะผ่านมาแล้วตั้ง 5 นาทีก็ตาม)

เวลา 10.28 น.  = It’s nearly half past ten (แม้ว่าจะยังไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็ตาม)

 

 

บอกเวลาตอนเที่ยง

 

 

ในเวลาเที่ยงคืนหรือเที่ยงวัน สามารถใช้คำว่า “midnight” หรือ “midday / noon” แทนเลข 12 ได้ เช่น  เวลา 00:00 น. แทนช่วงเวลานี้ ว่า midnight หรือ เวลา 12:00 น. แทนช่วงเวลานี้ว่า midday or noon

ส่วนในการพูดอย่างเป็นทางการ สามารถใช้ “a.m.” หรือ “p.m.” ประกอบได้อยู่เหมือนเดิม
เช่น  เวลา 05:15 น. บอกได้ว่า 

It is five fifteen a.m.

= เป็นเวลา ตีห้า  สิบห้านาที

แต่ถ้าไม่เป็นทางการมาก เช่นบอกเวลาเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆกัน
ก็สามารถพูดได้ว่า It is ten fifteen.
(ไม่ต้องบอก a.m. ก็ได้ แต่หากช่วงเวลาที่คุยเป็นกลางวัน เพื่อนก็จะเข้าใจไปโดยปริยายว่า มันคือเวลา สิบโมง สิบนาที )

ในกรณีที่ลืมว่า ควรจะใช้ a.m. หรือ p.m. ดี ให้ใช้วลีบอกเวลา เพ่อให้ผู้ที่เราพูดด้วยรู้ว่าเรากำลังบอกเวลาช่วงไหน โดยใช้ in/at แล้วตามด้วยช่วงเวลา เช่น

in the morning = ช่วงเช้า
at midday = เที่ยงวัน
at midnight = เที่ยงคืน
in the afternoon = ตอนบ่าย
in the evening = ตอนเย็น
at night = ตอนกลางคืน

 

แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอยู่ แต่คนที่เลือกใช้ก็คือตัวเราเอง ครูแนะนำให้ดูบริบทการใช้ให้มากนะคะ เช่นตัวอย่างประโยคด้านล่างนี้นะคะ

 

Situation I: At the train station (สถานการณ์เกิดที่ลานชาลาสถานีรถไฟ)

 

 

Romeo: Excuse me sir, what time is it now?
= ขอโทษนะครับ ตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว

Tom: It’s a half past ten.
= ตอนนี้ผ่านสิบนาฬิกามาครึ่งชั่วโมงแล้วครับ

Rome: Thank you sir. When will the next train arrive?
= ขอบคุณครับ แล้วรถไฟเที่ยวถัดไปจะมากี่โมงครับ

Tom: It will arrive in a minute.
= เดี๋ยวก็มาแล้วครับ

 

Situation II: At NokAcademy School (สถานการณ์เกิดที่โรงเรียน นกอะคาเดมี)

 

Nestie: Jenny, what time is it now?
= เจนนี่ ตอนนี้กี่โมงแล้ว

Jenny: It’s 9 O’ clock. Why did you ask?
= ตอนนี้เก้าโมง ถามทำไม

Nestie: Oh my gosh, we need to go now.
= โอ้ มาย กอด เราต้องไปตอนนี้เลย

Jenny: Why?
= ทำไมล่ะ

Nestie: The class was already begun 10 minutes ago.
= ชั้นเรียนเริ่มเมื่อ 10 นาทีที่แล้ว (เราเข้าชั้นเรียนสาย 10 นาทีแล้ว)

น้องๆนักเรียนทุกคน อย่าลืมทบทวนบทเรียน  เรื่อง การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ กับทีชเชอร์กรีซได้ที่วีดีโอด้านล่างนี้นะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่า
See you again next time.

+1


Click [by Mahidol] Everything About English : Dates \u0026 The Time (2/2)


คริสโตเฟอร์ ไรท์ เสนอ \”เคล็ดลับ\” วิธีการบอกวันที่ และเวลาทุกรูปแบบที่เราต้องเจอในวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งระบบ วัน/เดือน/ปี อย่างที่ใช้กันในหลายประเทศ และระบบ เดือน/วัน/ปี ที่ชาวอเมริกันนิยมใช้ รวมถึงการบอก \”เวลา\” ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ยังสับสน อาจารย์คริสจึงนำเสนอเคล็ดลับวิธีการบอกเวลา ทั้ง \”แบบง่าย\” และ \”แบบ (ไม่) ยาก (จนเกินไป)\” ติดตามได้ในรายการ Click
เคล็ดลับวิชา 10 หัวข้อในตำราเรียนที่ต้องรู้แต่เข้าใจยาก มาทำเป็นรายการสั้น ดูสนุก เข้าใจง่าย ในรายการ Click : ภาษาอังกฤษ ออกอากาศทาง Mahidol Channel
Facebook : https://www.facebook.com/mahidolchannel
Website : https://channel.mahidol.ac.th/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Click [by Mahidol] Everything About English : Dates \u0026 The Time (2/2)

เทียบเสียง อังกฤษ ไทย ตอน ordinal numbers (1st, 2nd, 3rd, …, 15th)


จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ การเทียบเสียงสระ ภาษาอังกฤษ ไทย
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

เทียบเสียง อังกฤษ ไทย ตอน ordinal numbers (1st, 2nd, 3rd, ..., 15th)

การบอกวันในภาษาอังกฤษ : สาระน่ารู้จาก Chris Jobs (22 พ.ย. 63)


เรื่องของการบอกวันในภาษาอังกฤษ อาจจำเป็นในการบอกกำหนดการ ต้องเรียกให้ถูก อย่างเช่น คำว่า \”Today\” แปลว่าวันนี้, \”Yesterday\” แปลว่าเมื่อวาน และ \”Tomorrow\” แปลว่าวันพรุ่งนี้ ส่วนประโยคที่ว่า \”The day after tomorrow.\” แปลว่าวันมะรืน (วันหลังพรุ่งนี้) และ \”The day before yesterday.\” แปลว่าวานซืน (วันก่อนเมื่อวาน) ชมย้อนหลังรายการ Chris Jobs ได้ที่ http://www.thaipbs.or.th/ChrisJobs

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://shorturl.at/czXZ0
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

การบอกวันในภาษาอังกฤษ : สาระน่ารู้จาก Chris Jobs (22 พ.ย. 63)

ปกติไม่ด่าตำรวจด้วยกัน! ครูฝึกตำรวจสุดทน โพสต์ซัด ผบ.ตร. ปฏิบัติการได้แย่ ไม่ถูกต้องตามหลัก!


กรณีการนัดชุมนุม นำโดย กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, กลุ่มทะลุฟ้า, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย DRG, กลุ่มเหล่าทัพราษฎร, ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย, SUPPORTER THAILAND, We Volunteer และคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ต่อมา ประกาศย้ายไปยังแยกปทุมวัน และเคลื่อนขบวนไปยังสถานทูตเยอรมัน โลกออนไลน์ร่วมกันแชร์ภาพเจ้าหน้าที่สถานทูตเยอรมันที่ออกมารอรับหนังสือจากผู้ชุมนุมบริเวณด้านหน้าสถานทูต โดยระหว่างนั้นผู้ชุมนุมยังอยู่ระหว่างการเดินทาง พร้อมมองว่านี่เป็นการกระทำของผู้ที่มาจากประเทศที่เจริญแล้ว เพราะรู้ว่าทุกเสียงมีคุณค่า
นายรัศมิ์ ชาลีจันทร์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยใน​หลายประเทศ เจ้าของเพจทูตนอกแถว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า
ตัวอย่างของนักการทูตที่ควรเป็น
เห็นข่าวและภาพนักการทูตของสถานเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทยมายืนรอรับหนังสือของผู้ชุมนุมประท้วงเมื่อวานนี้ก็รู้สึกชื่นชมเหมือนกับคนไทยอีกหลายๆคน
ทั้งเคร่งขรึม สง่าผ่าเผยในสถานการณ์ที่ไม่ได้ถือว่าปลอดภัยทีเดียวเพราะก่อนหน้ามีข่าวผู้ร่วมชุมนุมถูกยิง ท่วงท่าสมกับเป็นนักการทูตโดยแท้ (แถมใส่เสื้อสีหวานอีกต่างหาก)
(และขอบอกตรงนี้ว่าเคยเห็นหนังสือภาษาอังกฤษของสถานทูตเยอรมัน คือเขียนได้ดีมากๆ กระชับสั้น ได้ใจความครบถ้วน เป๊ะๆ – ผมว่าการใช้ภาษาของเขาดีกว่าหนังสือของสถานทูตอเมริกันที่ผมเคยเห็นอีก ที่นักการทูตไทยควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง)
นี่คือตัวอย่างของนักการทูตที่ควรเป็นโดยแท้
แต่ที่อยากจะบอกอีกอย่างคือ ทางสถานทูตเขาเลือกจะรับหรือไม่รับหนังสือก็ได้นะครับ และถ้าเขาเลือกจะรับหนังสือ จริงๆเขาก็สามารถรับทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องออกมายืนรอหน้าสถานทูตหรอก แต่การที่ผู้ชุมนุมเดินทางมายื่นหนังสือเช่นนี้มันเป็นเชิงสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งทางสถานทูตเขาก็เข้าใจและออกมายืนรอรับ และนี่ก็คือสิ่งที่เขาตั้งใจต้องการสื่อให้ทั้งทางการไทยรู้และเข้าใจด้วย
ตัดภาพไปยังเวทีการประชุมรายงาน UPR ของสหประชาชาติ ที่มีการรายงานเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในบ้านเราโดยนักการทูตไทย
ผมรู้สึกเศร้าใจอย่างไรบอกไม่ถูกครับ

ด้านความเคลื่อนไหวในโลกโซเชียล พ.ต.ท.ทรงศักดิ์ ธิติธารวัฒน์ อดีตรอง ผกก.ฝอ.ภ.จว.พะเยา และเป็นอาจารย์ (สัญญาบัตร 2) กลุ่มงานอาจารย์ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภาค 5 ลำปาง โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวถึงเรื่องดังกล่าว
โดยระบุว่า “ปกติไม่ด่าตำรวจด้วยกัน..แต่ คฝ. โดย ผบ.ตร.คนนี้ปฏิบัติการได้เxxxxจริงๆ..!!!”

ปกติไม่ด่าตำรวจด้วยกัน! ครูฝึกตำรวจสุดทน โพสต์ซัด ผบ.ตร. ปฏิบัติการได้แย่ ไม่ถูกต้องตามหลัก!

Click [by Mahidol] Everything About English : Dates \u0026 The Time (1/2)


คริสโตเฟอร์ ไรท์ เสนอ \”เคล็ดลับ\” วิธีการบอกวันที่ และเวลาทุกรูปแบบที่เราต้องเจอในวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งระบบ วัน/เดือน/ปี อย่างที่ใช้กันในหลายประเทศ และระบบ เดือน/วัน/ปี ที่ชาวอเมริกันนิยมใช้ รวมถึงการบอก \”เวลา\” ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ยังสับสน อาจารย์คริสจึงนำเสนอเคล็ดลับวิธีการบอกเวลา ทั้ง \”แบบง่าย\” และ \”แบบ (ไม่) ยาก (จนเกินไป)\” ติดตามได้ในรายการ Click
เคล็ดลับวิชา 10 หัวข้อในตำราเรียนที่ต้องรู้แต่เข้าใจยาก มาทำเป็นรายการสั้น ดูสนุก เข้าใจง่าย ในรายการ Click : ภาษาอังกฤษ ออกอากาศทาง Mahidol Channel
Facebook : https://www.facebook.com/mahidolchannel
Website : https://channel.mahidol.ac.th/

Click [by Mahidol] Everything About English : Dates \u0026 The Time (1/2)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การบอกวันที่ ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *