Skip to content
Home » [Update] ภาษาอังกฤษดอทคอม “อยู่เมืองไทยก็เก่งภาษาอังกฤษได้” | หน่วย นับ สิ่งของ – NATAVIGUIDES

[Update] ภาษาอังกฤษดอทคอม “อยู่เมืองไทยก็เก่งภาษาอังกฤษได้” | หน่วย นับ สิ่งของ – NATAVIGUIDES

หน่วย นับ สิ่งของ: คุณกำลังดูกระทู้

หน่วยการนับคำนามนับไม่ได้

ในภาษาอังกฤษมีคำนามอยู่ 2 ประเภท คือ คำนามนับได้ และ คำนามนับไม่ได้ แน่นอนว่าคำนามนับได้ เราก็นับเป็นจำนวน หนึ่ง สอง สาม ได้อยู่แล้ว แต่คำนามนับไม่ได้นี่สิ เราจะนับยังไง วิธีการนับคำนามที่นับไม่ได้คือ นับตามจำนวนภาชนะที่ใส่มัน หรือ นับตามจำนวนหน่วยของการชั่ง ตวง วัด เช่น

  • I want two kilos of beef.
    ฉันอยากได้เนื้อวัว 2 โล
  • We need two spoons of sugar.
    เราต้องใช้น้ำตาล 2 ช้อน

หน่วยการนับของคำนามนับไม่ได้ ขอแบ่งคร่าวๆออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ค่ะ

1. การนับโดยใช้ลักษณะนามของคำนั้นๆ เช่น

  • sheet
    a sheet of paper     กระดาษ 1 แผ่น
  • drop
    a drop of water  น้ำ 1 หยด
  • bar
    a bar of soap   สบู่ 1 ก้อน
    a bar of chocolate  ช้อคโกแลต 1แท่ง
  • piece
    a piece of meat เนื้อ 1 ชิ้น
  • loaf
    a loaf of bread ขนมปัง 1 แถว
  • bunch
    a bunch of flowers   ดอกไม้ 1 ช่อ
    a bunch of keys   กุญแจ 1 พวง
  • bouquet
    a bouquet of flowers   ดอกไม้ 1 ช่อ
  • pinch
    a pinch of salt  เกลือ 1 หยิบมือ
  • lump
    a lump of sugar  น้ำตาล 1 ก้อน
  • roll
    a roll of tissue paper     กระดาษทิชชู่ 1 ม้วน
  • tube
    a tube of toothpaste  ยาสีฟัน 1 หลอด

2. การนับโดยใช้ลักษณะของภาชนะที่บรรจุนามนั้นๆ เช่น

cup                         a cup of coffee                            กาแฟ 1 ถ้วย
glass                       a glass of milk                             นม 1 แก้ว
bottle                     a bottle of wine                           ไวน์ 1 ขวด
plate                       a plate of rice                              ข้าว 1 จาน
can                         a can of beer                               เบียร์ 1 กระป๋อง
bowl                       a bowl of soup                            ซุป 1 ถ้วย
pack                       a pack of potato chips                 มันฝรั่งทอด 1 ห่อ
sack                        a sack of rice                               ข้าว 1 กระสอบ
case                       a case of beer                             เบียร์ 1 ลัง

3. การนับโดยใช้หน่วย ชั่ง ตวง วัด เช่น

kilo               a kilo of flour                               แป้ง 1 กิโล
liter              a liter of oil                                 น้ำมัน 1 ลิตร
gram            a gram of sugar                           น้ำตาล 1 กรัม
meter           a meter of ribbon                        ริบบิ้น 1 เมตร
yard              a yard of cloth                             ผ้า 1 หลา
gallon           a gallon of petrol                         น้ำมัน 1 แกลลอน
dozen            a dozen of eggs                           ไข่ 1 โหล
pound           a pound of sugar                         น้ำตาล 1 ปอนด์

ถ้าเราต้องการให้มันเป็นรูปพหูพจน์เราก็เติม s/es ไปที่ลักษณะนาม ภาชนะบรรจุ หรือหน่วยวัด ของคำนามที่นับไม่ได้ แต่ตัวคำนามนับไม่ได้ที่อยู่หลัง of ยังคงรูปไว้เช่นเดิม นอกจากถ้าเป็นนามที่นับได้ แล้วเราต้องการบอกเป็นหน่วยวัด หรือเป็นภาชนะบรรจุ นามหลัง of ต้องเติม s/es ด้วยค่ะ

two glasses of water                   น้ำ 2 แก้ว
five plated of rice                        ข้าว 5 จาน

** ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ ขนาดนามนับไม่ได้ เรายังทำให้มันนับได้เลย แค่ต้องปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมอะไรนิดๆหน่อยๆ ลองเอาไปใช้ดูนะคะ ^^

[NEW] คำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ ฉบับเข้าใจง่าย | หน่วย นับ สิ่งของ – NATAVIGUIDES

แกรมม่าภาษาอังกฤษเรื่องคำนามนับได้ (countable noun) และคำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ใช้บ่อย และจำเป็นสำหรับการเรียนแกรมม่าในหัวข้ออื่นๆอีกหลายหัวข้อ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ หรือยังสับสนเกี่ยวกับเรื่องคำนามนับได้และนับไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหามาให้เรียนรู้กันได้อย่างง่ายๆแล้ว ทั้งนิยามของคำนามนับได้และนับไม่ได้ ตัวอย่าง การใช้ร่วมกับ determiners และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

คำนามนับได้คืออะไร

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ อย่างเช่น

Apple – แอปเปิล (นับได้ว่ามีกี่ลูก)
Book – หนังสือ (นับได้ว่ามีกี่เล่ม)
Sister – พี่สาว/น้องสาว (นับได้ว่ามีกี่คน)

สำหรับคำนามนับได้ เราสามารถใส่จำนวนตัวเลขบอกปริมาณเข้าไปตรงๆได้เลย และคำนามชนิดนี้จะมีรูปพหูพจน์ อย่างเช่น

Three apples – แอปเปิล 3 ลูก
A book – หนังสือ 1 เล่ม
Two sisters – พี่สาว/น้องสาว 2 คน

(รูปพหูพจน์คือคำนามที่ถูกเติม s หรือ es ต่อท้าย เป็นตัวบ่งชี้ว่าคำนามนั้นมีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย เช่น bananas, pens, buffaloes แต่คำนามที่เป็นรูปพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s หรือ es เช่นคำว่า children ซึ่งแปลว่าเด็กหลายคน)

คำนามนับไม่ได้คืออะไร

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่ตามธรรมชาติแล้วนับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ยาก เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า อย่างเช่น

Water – น้ำ (เราจะไม่มานั่งนับน้ำว่ามีกี่หยด)
Sand – ทราย (เราจะไม่มานั่งนับทรายว่ามีกี่เม็ด)
Fun – ความสนุก (เรานับความสนุกเป็นอันๆไม่ได้)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ เราจะไม่สามารถใส่จำนวนตัวเลขบอกปริมาณเข้าไปตรงๆได้ และคำนามชนิดนี้จะไม่มีรูปพหูพจน์ ถ้าจะบอกปริมาณ เราต้องใช้หน่วยเฉพาะเข้ามากำกับ โดยใช้โครงสร้าง “ปริมาณ + หน่วย + of + คำนามนับไม่ได้” อย่างเช่น

Three waters -> Three glasses of water – น้ำ 3 แก้ว
A sand -> A bucket of sand – ทราย 1 ถัง
Two funs -> ความสนุกเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีหน่วยเฉพาะที่สามารถบอกปริมาณได้

ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าคำนามบางตัว อย่างน้ำ (water) และเงิน (money) เราสามารถบอกปริมาณได้โดยใช้หน่วยวัด เช่น น้ำกี่ลิตร เงินกี่บาท แล้วทำไมถึงยังจัดเป็นคำนามนับไม่ได้

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคำนามนับได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่นับได้ง่ายโดยธรรมชาติ ไม่ใช่นับได้ด้วยหน่วยวัดที่ประดิษฐ์ขึ้น

คำนามที่ทั้งนับได้และไม่ได้

หลายๆครั้ง เส้นแบ่งระหว่างคำนามนับได้และนับไม่ได้ก็สามารถยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ ไม่ได้ถือเป็นสิ่งตายตัวซะทีเดียว คำๆหนึ่งอาจเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ หรืออาจใช้งานเหมือนคำนามอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งได้แก่กรณีต่อไปนี้

คำเดียวกัน แต่คนละความหมาย

คำบางคำมีหลายความหมาย ซึ่งความหมายหนึ่งอาจเป็นคำนามนับได้ ในขณะที่ความหมายอื่นกลับเป็นคำนามนับไม่ได้ อย่างเช่น

คำว่า glass

  • ความหมายแรกแปลว่า “แก้วน้ำ” ถือเป็นคำนามนับได้ (นับได้ว่ามีกี่ใบ)
  • อีกความหมายแปลว่า “กระจก” ถือเป็นคำนามนับไม่ได้ (คำว่ากระจกถือเป็นคำที่กว้าง มีชนิด ขนาด และรูปทรงหลากหลาย ไม่มีหน่วยตามธรรมชาติที่ชัดเจน เช่นคำว่ากระจกอาจหมายถึง กระจกหน้าต่าง กระจกมือถือ กระจกที่เป็นส่วนผสมในวัสดุอื่น)

คำว่า paper

  • ความหมายแรกแปลว่า “หนังสือพิมพ์” เป็นคำสั้นๆที่ใช้แทนคำว่า newspaper ถือเป็นคำนามนับได้ (นับได้ว่ามีกี่ฉบับ)
  • อีกความหมายแปลว่า “กระดาษ” ถือเป็นคำนามนับไม่ได้ (คำว่ากระดาษถือเป็นคำที่กว้าง มีชนิด ขนาด และรูปทรงหลากหลาย ไม่มีหน่วยตามธรรมชาติที่ชัดเจน เช่นคำว่ากระดาษอาจหมายถึง กระดาษ A4 กระดาษลัง กระดาษห่อของขวัญ)

คำเดียวกัน ความหมายเดียวกัน แต่สื่อคนละแบบ

บางคำจะเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และนับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้คำนั้นสื่อความหมายแบบไหน (โดยรวมหรือหลายชนิด, ทั่วไปหรือชี้เฉพาะ) อย่างเช่น

คำว่า food ซึ่งแปลว่า “อาหาร” ถ้าใช้ในความหมายทั่วไป จะถือเป็นคำนามนับไม่ได้ แต่จะถือเป็นคำนามนับได้ ถ้าเราหมายถึงชนิดอาหารหลายๆชนิด

Japanese food and Thai food are examples of Asian foods.
อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทยเป็นตัวอย่างของอาหารเอเชีย
(เราใช้ Japanese food กับ Thai food เพื่อสื่อถึงอาหารญี่ปุ่นและอาหารไทยโดยรวม เลยถือเป็นคำนามนับไม่ได้ แต่ Asian foods ในที่นี้กล่าวรวมอาหารเอเชียหลายชนิดหลายเชื้อชาติ เลยถือเป็นคำนามนับได้)

คำว่า time ซึ่งแปลว่า “เวลา” ถ้าใช้ในความหมายทั่วไป จะถือเป็นคำนามนับไม่ได้

Time is the most precious resource.
เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
(พูดถึงเวลาโดยทั่วไป)

แต่จะถือเป็นคำนามนับได้ ถ้าเราหมายถึงช่วงเวลาเฉพาะ

I had a good time in London.
ฉันมีช่วงเวลาที่ดีตอนที่อยู่ที่ลอนดอน
(พูดถึงช่วงเวลาตอนที่อยู่ในลอนดอน)

การใช้คำนามนับไม่ได้เหมือนคำนามนับได้

อย่างที่ได้อธิบายไป ถ้าเราจะบอกจำนวนของคำนามนับไม่ได้ เราจะต้องใช้โครงสร้าง “ปริมาณ + หน่วย + of + คำนามนับไม่ได้” อย่างเช่น two cups of coffee ซึ่งแปลว่า กาแฟ 2 ถ้วย

แต่ในภาษาพูดหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ บางทีเราจะใช้คำนามนับไม่ได้เหมือนคำนามนับได้ อย่างเช่น

Can I have two coffees?
ฉันขอกาแฟสองถ้วยได้มั้ย
(Two coffees ในที่นี้จะหมายถึง two cups of coffee ซึ่งก็คือการพูดแบบย่อนั่นเอง)

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำนามไหนนับได้หรือนับไม่ได้

วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะรู้ได้ว่าคำนามภาษาอังกฤษคำไหนเป็นคำนามนับได้หรือนับไม่ได้ ก็คือการเปิดพจนานุกรม แต่ไม่ใช่ว่าพจนานุกรมทุกเล่มจะมีข้อมูลเหล่านี้เหมือนกันหมด

ตัวอย่างพจนานุกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ที่มีข้อมูลคำนามนับได้และนับไม่ได้ก็อย่างเช่น

วีธีดูเราจะต้องดูความหมายให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะใช้ด้วย เพราะคำภาษาอังกฤษบางคำก็มีทั้งความหมายที่เป็นคำนามนับได้ และความหมายที่เป็นคำนามนับไม่ได้

ที่แนะนำให้ใช้พจนานุกรมก็เพราะว่าการจัดประเภทคำนามนับได้และนับไม่ได้ หลายๆครั้งก็ขัดกับความรู้สึกของเรา ถ้าเราเดาโดยใช้หลักการกว้างๆ เราก็อาจจะเดาและจำไปใช้ต่อแบบผิดๆ การเปิดพจนานุกรมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำจะถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

การใช้ determiners กับคำนามแต่ละชนิด

Determiners คือคำนำหน้าคำนาม ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำนาม เช่น บอกปริมาณ ตัวอย่างคำที่เป็น determiners ก็อย่างเช่น a, an, the, many, much, some, any

การที่คำนามเป็นคำนามนับได้หรือนับไม่ได้จะมีผลต่อการเลือกใช้ determiners เพราะ determiners บางตัวก็สามารถใช้ได้กับคำนามนับได้หรือคำนามนับไม่ได้เท่านั้น

ตัวอย่าง determiners ที่ใช้ได้เฉพาะกับคำนามนับได้ ก็อย่างเช่น a, an, many, a few, ตัวเลข (one, two, three, …)

ตัวอย่าง determiners ที่ใช้ได้เฉพาะกับคำนามนับไม่ได้ ก็อย่างเช่น much, a little

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เรื่อง determiners เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ Determiners คืออะไร มีการใช้อย่างไร

เป็นยังไงบ้างครับกับคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


การวัดความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน – สื่อการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ ป.1


บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา คณิตศาสตร์ ป.1 ชุดนี้
เป็นสื่อ \”การเรียนการสอน\” ที่น่าสนใจ และมีประโยชน์มาก
โดยนำมาจากโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

การวัดความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน - สื่อการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ ป.1

ฝึกนับจำนวน1 10


ฝึกนับจำนวน1 10

สอบพลศึกษา นักเรียนนายสิบทหารบกปี 63 ดึงข้อ


สอบพลศึกษา นักเรียนนายสิบทหารบกปีการศึกษา 2563
สถานี ดึงข้อ เกณฑ์คะแนน ทำได้ 15 ครั้ง ได้ 100 คะแนน
ปีนี้เป็นปีแรกที่การสอบ นักเรียนนายสิบทหารบก ในการสอบรอบแรก จะเป็นการสอบ ภาควิชาการรวมกับการสอบพลศึกษา โดยนำคะแนนทั้งสองส่วนมารวมกัน แล้วจัดอันดับในการสอบผ่านรอบแรก ซึ่งทำให้น้องๆหลายคนที่ไม่ถนัดภาควิชาการยังมีโอกาสผ่านเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกได้ ถ้าทำพลศึกษาได้ดีพอ และที่สำคัญ การทดสอบร่างกายนั้น จะต้องทำให้ถูกต้อง ถูกท่าตามที่กรรมการสาธิตให้ดูนะครับ
สถาบันกวดวิชา Cadet Centre สัตหีบ ชลบุรี
ติวนายสิบทหารบก ติวจ่าทหารเรือ ติวจ่าอากาศ สมัครและพาไปสอบทั้งรอบวิชาการ พลศึกษา ตรวจร่างกาย และสัมภาษณ์
Line ID @cadetcentre

สอบพลศึกษา นักเรียนนายสิบทหารบกปี 63 ดึงข้อ

รถไฟบ๊อบเรียนผลไม้ | เพลงผลไม้ | ผลไม้สำหรับเด็กที่จะเรียนรู้ | Kids Learn | Bob Fruits Train


บ๊อบผลไม้เพลงรถไฟและวิดีโอสำหรับเด็กที่จะจะเรียนรู้และร้องเพลงในประเทศไทย
Visit our website http://www.uspstudios.co/ for more Children’s Nursery Rhymes \u0026 Kids Videos
============================================
Music and Lyrics: Copyright USP Studios™
Video: Copyright USP Studios™
============================================
KIDS FIRST Kids Videos \u0026 Nursery Rhymes | Free App Download: http://m.onelink.me/1e8f6c16
Bob The Train App Download Now https://goo.gl/6euK1b

รถไฟบ๊อบเรียนผลไม้ | เพลงผลไม้ | ผลไม้สำหรับเด็กที่จะเรียนรู้ | Kids Learn | Bob Fruits Train

การทำงานเป็นกะนับเวลาทำงานปกติหรือล่วงเวลาหรือการทำงานในวันหยุดอย่างไร


การทำงานเป็นกะนับเวลาทำงานปกติหรือล่วงเวลาหรือการทำงานในวันหยุดอย่างไร

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หน่วย นับ สิ่งของ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *