Skip to content
Home » [Update] ประเภทของยุง ความสำคัญ และการป้องกันโรคอันตรายที่เกิดจากยุง (ยุงลาย,ยุงก้นปล่อง,ยุงรำคาญ,ยุงเสือ) | ตัวลูกน้ำ – NATAVIGUIDES

[Update] ประเภทของยุง ความสำคัญ และการป้องกันโรคอันตรายที่เกิดจากยุง (ยุงลาย,ยุงก้นปล่อง,ยุงรำคาญ,ยุงเสือ) | ตัวลูกน้ำ – NATAVIGUIDES

ตัวลูกน้ำ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ยุง (mosquito) จัดเป็นแมลงพาหะนำโรคหลายชนิด อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเลีย โรคเท้าช้าง โรคเด็งกิ และโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยยุงที่สำคัญ ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ยุงรำคาญ และยุงเสือ

ยุง เป็นแมลง 2 ปีก หนวดยาวมีจำนวน 13 ปล้อง เส้นปี และขอบปีกด้านท้าย ( posterior margin of wing ) ปกคลุมด้วยเกร็ด ( scales ) ปากเป็น proboscis ยาว

ยุงอยู่ใน family Culicidae ยุงมี 300 species 140 family แบ่งออกเป็น 3 subfamily คือ
1. Anophelinae
2. Culicinae
3. Toxorhynchitinae

วงจรชีวิต
วงจรชีวิตยุงประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่
1. ตัวเต็มวัย ( adult/imago)
ยุงตัวเต็มวัยที่ฟักออกจากดักแด้จะเอาส่วนหัวออกจากรอยแตกด้านหลังของ cephalothorax ใช้เวลาการฟักเพียง 2-3 ชั่วโมง เมื่อออกจากคราบแล้วจะพักตัวชั่วครู่ให้ปีกแห้ง แล้วจึงบิน โดยยุงตัวเมียที่ฟักตัวแล้วจะกินเลือดภายใน 24 ชั่วโมง

2. ไข่ยุง ( egg )
ยุง อาจวางทีละฟอง ( Aedes และ Anopheles) เป็นแพ หรือ raft ( Culex, Coquilletidia และ Culiseta ) เป็นกลุ่มคล้ายดอกไม้ cluster ( Mansonia ) จำนวนไข่แต่ละครั้ง 51-150 ฟอง จำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของเลือดที่กิน

ตลอดชีวิตของยุงจะออกไข่หลายครั้ง ภายใน 2-4 วัน ไข่ของ Anopheles, Culex และ Mansonia เมื่อถึงเวลา ถ้าไม่แช่น้ำ ตัวลูกน้ำภายในไข่จะตาย แต่ไข่ของยุงลาย ตัวอ่อนภายในจะไม่ตาย อยู่ได้เป็นปี เมื่อนำมาแช่น้ำจะฟักตัวเป็นลูกน้ำได้ ยุงในเขตหนาวออกไข่ 1 ครั้ง ไข่จะฟักตัวเมื่อหิมะละลาย โดยในเขตร้อนบริเวณน้ำท่วม เมื่อยุงออกไข่แล้วจะฟักตัวไม่พร้อมกัน โดยส่วนมากไข่จะฟักตัวในคราวน้ำท่วมครั้งแรก แต่ไข่บางฟองจะฟักตัวในคราวน้ำท่วมครั้งต่อไป

3. ลูกน้ำ ( larva/wrigglers )
ลูกน้ำมี 4 ระยะ จากการลอกคราบ ( moult, cast, pelt ) 4 ครั้ง กลายเป็นดักแด้ ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ อาหาร และชนิดของยุง โดยลูกน้ำหายใจเอาอากาศเข้าทางรูเปิดที่ท่อปากดูด (siphon) แต่บางชนิดหายใจทางผิวหนัง

ลูกน้ำยุงเสือใช้ท่อปากดูดเจาะในรากพืชดึงเอาออกซิเจนจากพืชมาใช้ สำหรับ gill ไม่ใช้หายใจ แต่ใช้บังคับ แรงดันของตัวลูกน้ำ โดยเป็นตัวดูด chloride เข้าออก ดังนั้น ยุงน้ำกร่อยจะมีเหงือกใหญ่

4. ดักแด้ ( pupa/tumblers )
ดักแด้ประกอบด้วยส่วน cephalothorax และ abdomen มี paddle ท่อหายใจอยู่บริเวณอก ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 2-3 วัน กลายเป็นตัวเต็มวัย

อายุขัยของยุง ( Longevity )
ตามปกติยุงตัวผู้มีอายุ 6-7 วัน แต่ถ้าให้อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอ และมีความชื้นสูงจะชีวิตได้นาน 30 วัน ยุงตัวเมียอาจมีชีวิตได้ 4-5 เดือน โดยเฉพาะถ้าจำศีล (hibermation ) โดยยุง Aedes sticticus Meigen มีชีวิตได้ถึง 104 วัน และ Aedes vexans Meigen มีชีวิตได้ถึง 113 วัน

ลักษณะนิสัย
แหล่งเพาะพันธุ์ แบ่งได้ ดังนี้
1. น้ำไหล ได้แก่ ยุงก้นปล่อง Anopheles minimus อยู่บริเวณริมลำธาร มีน้ำไหลเอื่อย มีต้นหญ้าขึ้น
2. น้ำนิ่ง
– มีน้ำถาวร ได้แก่ ยุงก้นปล่อง และยุง Culicine พวกที่ไม่ใช่ Aedes
– มีน้ำอยู่ชั่วคราว ได้แก่ ยุง Aedes
– น้ำในรูปู แอ่งหิน บ่อ น้ำซับ ได้แก่ Culicine และ Anopheline
3. น้ำในภาชนะรับน้ำจากคนทำขึ้น โพรงไม้ กระบอกไม้ไผ่ โคนก้านกล้วย หรือสับปะรด หรือต้น
Abacca ที่เก็บน้ำระหว่างต้นกับก้าน (axil) หม้อข้าวหม้อแกงลิง (pitcher) กลีบดอกไม้ bract, spathes ใบไม้ร่วง กะลามะพร้าว เปลือกหอย ถ้วย กระป๋อง ยางรถยนต์เก่า โอ่งน้ำ ยุงพวกนี้ ได้แก่ Toxorhynchites, Anopheles subgenus, Kerteszia, Sabethine และยุง Aedes

แหล่งเพาะพันธุ์ยุง Aedes aegypti ไข่ในน้ำสะอาดในภาชนะ, ยุง Culex quinquefasciatus วางไข่ ในน้ำเน่ามีอินทรีย์สูง, ยุง Mansonia ไข่บนพืชน้ำ เช่น จอกหูหนู แหน ผักตบชวา, ยุง Anopheles minimus ไข่ในลำธารมีน้ำไหลเอื่อยๆ ตรงบริเวณที่มีต้นหญ้าอยู่, ยุง Anopheles sundaicus เพาะพันธุ์ในน้ำกร่อย และ ยุง Aedes australis และ Aedes detritus พบในน้ำทะเล

การหาอาหาร
ยุงตัวผู้ และยุงตัวเมีย กินน้ำหวานจากพืช ส่วนใหญ่เป็นดอกไม้หรือน้ำผึ้งเพื่อใช้สร้างพลังงาน ส่วนยุง Malaya jacobsoni มีวิวัฒนาการมากขึ้น โดยอาศัยอาหารจากปากมด Crematagaster ซึ่งหากินอยู่ตามหน่อไม้ไผ่ ยุงพวกนี้ จะคอยอยู่ตามเส้นทางที่มดจะเดินกลับลงมาแล้วใช้ proboscis ยื่นเข้าไปดูดอาหารจากปากมด

ยุงตัวเมียโดยทั่วไปต้องกินเลือด เนื่องจาก โปรตีนในเลือดมีความสำคัญในการสร้างไข่ และใช้เป็นพลังงานเลือดนี้ได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือ สัตว์เลื้อยคลาน ยุงบางพวกไม่กินเลือดก็ออกไข่ได้ เนื่องจาก มีการใช้อาหารที่สะสมไว้ในตัวในการสร้างไข่รุ่นแรก ยุงพวกนี้ เรียกมี autogeny เช่น ยุง Culex molestus ยุง Aedes togoi ในมาเลเซีย และไทย

ยุงกินเลือดมากกว่าน้ำหนักตัว 1- 1.5 เท่า น้ำที่เป็นองค์ประกอบในเลือดจะถูกกำจัดออก โดยยุง Aedes aegypti จะขับน้ำออกมาทางก้นภายใน 5-15 นาที ประมาณ 1.5 ลูกบาศก์มิลลิลิตร หรือ 2-3 หยด แรกๆเป็นกรดยูริก และต่อมาเป็นนินอดรินปฏิกิริยาบวก นอกจากนั้น เป็นเม็ดเลือดแดง สิ่งที่ขับถ่ายนี้มาจาก Malpighian tubules ส่วนยุงก้นปล่อง จะมีเลือดออกจากก้นเลย ปริมาณเลือดที่กินเมื่อคำนวณโดยใช้สารรังสีไอโซโทป Cerium ใส่ปนไปในอาหารของยุง Aedes aegypti ได้ค่าเฉลี่ย 4.2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร เพิ่มจากคำนวณตามปกติ 2.5-2.7 ลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีของเหลวถูกขับออก 1.5 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนยุง Culex quiquefasciatus กินเลือดไก่ได้ 10.2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ทั้งนี้ อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยใน diverticula ส่วนโปรตีนถูกย่อยใน mid gut

ยุงกินเลือดคนเรียกเป็น anthropophilic ถ้ากินเลือดสัตว์เรียก zoophilic ยุงที่มีนิสัยกัดคนในบ้านเรียก endophagic ถ้ากัดคน และสัตว์นอกบ้านเรียก exophagic ยุงที่กัดในบ้านหลังกินเลือดแล้วบางชนิดก็พักอยู่ในบ้าน (resting) เพื่อรอให้ไข่สุกแล้วจึงบินออกวางไข่ พวกนี้เรียก endophilic ส่วนยุงที่กัดนอกบ้านจะเกาะพักบริเวณนอกบ้านตามใบไม้ ใบหญ้า พงไม้ หรือตามรอยดินแยก เรียกยุงพวกนี้ว่า exophilic ส่วนยุงลาย aegypti ชอบกินเลือดคนก็มีวิวัฒนาการปรับนิสัยเข้ามาอยู่อาศัยใกล้ชิดกับคน วางไข่ในภาชนะต่างๆที่มีน้ำขัง ซึ่งส่วนมากเป็นภาชนะที่มีใช้กันตามบ้านที่อยู่อาศัย และบริเวณรอบรอบบ้าน

นิสัยของยุงอาจเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างในกรณียุงก้นปล่องชนิดที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรียชนิดที่1 ซึ่งเป็นพวกกัดคนในบ้าน (indoor) และเมื่อกินเลือดแล้วยังเกาะพักเพื่อรอให้ไข่สุกภายในบ้านเมื่อใช้ยาฆ่าแมลงพ่นในบ้านทำให้ยุงหมดไป มาลาเรียก็หายไป ในระยะนี้ มีการพัฒนาการเกษตรโดยใช้เครื่องจักรยานมากขึ้นประชาชนไม่ใช้แรง วัวควายบ้านเมืองเจริญเติบโตเร็วเป็นเมืองอุตสาหกรรมมีการขยายเมืองออกสู่ชนบท ยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรียชนิดที่2 เดิมจะพบเฉพาะกับสัตว์นอกบ้าน (outdoor) เมื่อขาดสัตว์ก็หันมากัดคน และกัดภายในบ้านในที่สุด

เวลาออกหากินของยุงแต่ละชนิดจะต่างกัน เช่น
– ยุงลาย aegypti และยุงลาย albopictus หากินเวลากลางวัน
– ยุงรำคาญ quiauefasciatus หากินเวลากลางคืนจนถึงเราราวๆเที่ยงคืน
– ยุงก้นปล่อง dirus ออกหากินเวลากลางคืน 21.00-03.00 นาฬิกา ในที่โล่ง และ 22.00-04.00 นาฬิกา ในตัวอาคาร ส่วนยุงก้นปล่อง minimus ออกหากินตลอดคืน และยุงก้นปล่อง maculatus ออกหากินเวลา 18.00 – 02.00 นาฬิกา
– ยุงเสือออกหากินในตอนหัวค่ำ 1 ชั่วโมง ( 18.00-19.00 นาฬิกา) และตอนใกล้รุ่งอีก 1 ชั่วโมง (04.00-05.00 นาฬิกา) เป็น crepuscular
– สำหรับ Ma.Africana เชื่อว่ายุ่งอายุน้อย และยุงอายุมาก ออกหากินในเวลาต่างกัน

การที่อยู่กับเป็นจังหวะหรือระยะ เชื่อว่า ยุงมีวงจรภายในที่เป็นจังหวะ (endogenous circadian ryhthms) ทำหน้าที่คล้ายนาฬิกาทางสรีระวิทยา และถูกกระตุ้นจากภายนอก โดยการเปลี่ยนแปลงของแสงจากกลางวันเป็นกลางคืน ยุงตัวเมียจะมีความถี่ในการออกหากินสูง และยุงตัวผู้ก็จะบินจับเป็นกลุ่ม (swarming) เพื่อรอผสมพันธุ์

การวางไข่
ยุงลายออกไข่มากน้อยเป็นจังหวะใน 24 ชั่วโมง (thythmical oviposition) โดยอาศัยจังหวะที่แสงลดน้อยลงในตอนเย็น โดยในวันที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน และกลางวันสั้นกว่ากลางคืน ถ้ามีแสงตลอดจะออกไข่ไม่เป็น cycle แต่ถ้ามืดตลอดจะออกไข่เป็น cycle แสดงว่ามี endogenous cycle เมื่อถูกแสงครั้งหนึ่ง

ความสามารถในการบิน
ยุง Haemagogus บินได้ไกล 7-10 กิโลเมตร ยุงน้ำเค็มอาจบินได้ไกล 50 – 65 กิโลเมตร ยุง Aedes aegypti บินได้ 90 เมตร ยุง Culex quiquefasciatus บินได้ไกลกว่าเล็กน้อย และยุงก้นปล่องบินได้ 1-2 กิโลเมตร

นิสัยการผสมพันธุ์
ยุงที่ผสมพันธุ์ (mate) ในที่แคบ เช่น ในหลอดแก้วธรรมดา เรียกว่า stenogamy ตัวอย่างเช่น ยุง Aedes aegypti ตัวผู้บินไปหาตัวเมียตามเสียง ยุงพวกนี้เลี้ยงง่ายในห้องทดลอง พวกที่ผสมพันธุ์ในที่กว้าง เรียก eurygamy ตัวผู้รวมเป็นกลุ่มเป็น swarm แล้วตัวเมียบินเข้าไป เมื่อถูกผสมพันธุ์จะหล่นลงมา ส่วนความสำเร็จในการผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของ genitilai male และความสูงของการผสมพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ยุง Anopheles dirus , An. maculatus, An. Minimus และ Anopheles ส่วนใหญ่ (ยกเว้น Anopheles stephensi และ An. balabacensis Perlis from) พวกที่ผสมพันธุ์ในที่กว้าง ถ้าเลี้ยงในห้องทดลองต้องทำการผสมเทียม (artificial mating)

ลักษณะ
ตัวเต็มวัยขนาดเล็ก 3-6 มิลลิเมตร ประกอบด้วยส่วนหัวอก และท้องเห็นได้ชัดเจน
– ส่วนหัว มีขนาดเล็ก มีตาใหญ่หนึ่งคู่ และหนวดหนึ่งคู่ ซึ่งยาวมี 14-15
– ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้องๆ ปล้องยุงตัวผู้หนวดดก (plumous) แต่ยุงตัวเมียหนวดไม่ดก (pilose) proboscis ยาว palpi ของ maxilae มี 4-5 ปล้อง ใช้แยกเพศตัวเมีย ยุงรำคาญ (Culicine) มี palpi สั้น แต่ตัวผู้มี palpi ยาว บางตัวปลายมีขนเหมือนไม้กวาด แต่ palpi ของยุงก้นปล่อง (Anopheline) ยาวทั้งสองเพศ และของเพศผู้ปลายเป็นกระบอง (club) เหนือตาเป็น vertex (broad decumbent scales) หรือเกล็ดแคบนอน (narrow decumbent scales) หรือเกล็ดตั้ง (erect scales)

ส่วนนอกประกอบด้วย 3 ส่วน คือ prothorax , mesothorax และ metathorax ในส่วนของ mesothorax จะมีปีก 1 คู่ และมีส่วนท้ายของ mesothorax และมี rudimentary wing อีก 1 คู่ ออกจาก metathorax เรียก haltere มีหน้าที่ในการทรงตัว และที่ส่วนท้ายของ mesothorax จะมีส่วนที่แยกออกมาเรียกว่า scutellum ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในระหว่างยุงรำคาญ และยุงก้นปล่อง แต่ละส่วนของอกจะมีขาส่วนละ 1 คู่

ส่วนท้อง ปล้องท้องมี 8 ปล้อง ต่อจากปล้องที่ 8 มี paddle อัน ใช้ในการว่ายน้ำ เมื่อเอา pupa แผ่ออกมองจากหน้าไปหลังจะเห็น dorsal apotome นอกจากนั้น จะเห็นส่วนของ mesothoracic wing และส่วนของ mesothorax มี trumpet 1 คู่ ไว้หายใจ ซึ่งมีลักษณะต่างกันในแต่ละ genus

ความสำคัญทางการแพทย์
1. พาหะนำโรคมาลาเรีย
ยุงที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย คือ ยุงก้นปล่อง แบ่งเป็น
– แถบเอเชียใต้ ได้แก่ Anopheles balabacensis และ An. dirus, An. minimus, An. maculatus, An. sundaicus, An. umbrosus, An. leucosphyrus, An. aconitus, An. annularis, An. barbirostris group และ hyrcanus group
– บนเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ An. punctulatus complex
– ในอินเดีย และศรีลังกา ได้แก่ An. culicifacies
– เอเชียตะวันตก ได้แก่ An. stephensi, An. fluviatillis, An. pulcherrimus
– แอฟริกาใต้ ได้แก่ An. gambiae complex, An. funestus, An. moucheti, An. nill
– แถบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ An. labranchiae, An. sacharovi, An. sergenti, An. superpictus, An. pharoensis
– อเมริกากลาง และใต้ ได้แก่ An. psuedopunctipennis, An. bellator, An. cruzil, An. darlingi, An. aqusalis, An. albums, An. albitarsis, An. Nuneztovari

2. พาหะนำโรคเท้าช้าง
ยุงที่เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง Wuchereria bancrofti คือ ยุงลาย และรำคาญ โดยยุงรำคาญ ได้แก่ Culex quinquefasciatus ยุงลาย ได้แก่ Aedes polynesiensis ส่วนยุงที่เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง ชนิด Brugia malayi คือ ยุงก้นปล่อง และยุงเสือ

3. พาหะนำโรคไวรัส
ยุงที่เป็นพาหะนำโรคไวรัส โดยก่อโรคที่สำคัญ คือ ไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบ ประกอบด้วยยุงมากกว่า 150 ชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ Aedeomyia, Aedes, Anopheles, Culex, Culiseta, Deinnocerites, Eretemapodite, Limatus, Mansonia, Psorophora, Sabethes, Trichoprosopon, Wyeomyia

4. ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการกัด เนื่องจากอาการแพ้น้ำลาย

ยุงชนิดต่างๆ
1. ยุงลาย (Aedes)
ยุงลายที่สำคัญอยู่ใน subgenus Stegomyia และ Finkaya
1. Subgenus Stegomyia ที่สำคัญ ได้แก่ Aedes aegypti, Aedes albopictus, Aedes seatoi, Aedes vittatus, Aedes scutellaris group
2. Subgenus Finlaya ได้แก่ Aedes poicillius และ Aedes niveus group Aedes harveyi เป็นยุงใน Aedes chrysolineatus group

ยุงลาย Aedes aegypti Linnaeus เป็นพาหะนำโรคจากไวรัส คือ ไข้เหลือง (yellow fever) ไข้เด็งกี ไข้เลือดออก (Dengue and Dengue hemorrhagic fever) และชิกุนกุนยา (Chikungunya) พบอาศัยอยู่ในเขตเส้นรุ้ง 40 องศาทั้งเหนือ และใต้ เป็นยุงลายที่มีพื้นลำตัวดำ มีแถบหรือคาดสีขาวหรือขาวเหลือง อกด้านบนมีลายคล้ายพิณ ( lyrelike) เส้นขาวนอก 2 เส้น โค้ง เส้นขาวขนานกัน 2 เส้น เหมือนเส้นพิณ ขามีปล้องขาว ขาหลังปลายปล้องสุดท้ายขาวหมด หัวมีเกล็ดกว้างแบนราบ มีเกล็ดเป็นส้อมตั้ง 1 แถวเท่านั้น

ยุงลายวางไข่ทีละฟองในภาชนะขังน้ำฝนหรือน้ำสะอาดต่างๆ ตรงระดับน้ำหรือบริเวณใกล้ๆ ในถังน้ำตุ่มน้ำ แจกัน ถ้วยรองตู้กับข้าว กระป๋องต่างๆ กะลามะพร้าว ยางรถยนต์ที่มีน้ำขัง หรือซอกก้านกล้วยที่มีน้ำขัง และอาจเพาะพันธุ์ในน้ำกร่อยได้

ไข่ยุงลายมีสีดำ วางไข่ครั้งละ 140 ฟอง ไข่ฟักตัวภายใน 4 วัน ไข่ทนความแห้งแล้งได้เป็นปี ลูกน้ำมี siphon สั้น และดำ ลำตัวตั้งเกือบตรง ว่ายน้ำคล้ายงูเลื้อย ไม่ชอบแสง มีช่วงเติบโต 4 ระยะ เมื่อลูกน้ำอายุประมาณ 9 วัน ก็จะเป็นดักแด้ (ประมาณ 4-7 วัน ในอากาศอบอุ่น) ดักแด้มี trumpet เป็นสามเหลี่ยมกว้าง และอีก 2-3 วัน เป็นยุงตัวเต็มวัย หลังจากนั้น 2-3 ชั่วโมง ผสมพันธุ์กินเลือด แล้วอีก 2-3 วัน วางไข่

ยุงลายชอบกินเลือดคน บางครั้งกินเลือดสัตว์ ออกหากินเวลากลางวัน ถ้ากลางคืนแสงสว่างพอก็กินเลือดด้วย ยุงลายจะเข้ากัดคนด้านมืดหรือมีเงา เข้ามาทางด้านล่างบริเวณข้อเท้า แต่หากนอน มักจะกัดบริเวณหู และใบหน้า

2. ยุงก้นปล่อง (Anopheline)
ยุงก้นปล่องกินเลือดแล้ว 4 วันจึงออกไข่ ไข่จะติดกันบนผิวน้ำ โดยแม่ยุงจะลอยตัวบนผิวน้ำหรือปล่อยทิ้งไข่ลงน้ำบินเรี่อยๆ โดยวางไข่ทีละฟอง ไข่ใหม่จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ โดยยุงก้นปล่อง An. freeborni, An. punctipennis, An. psuedopunctipennis ออกไข่ได้ 200, 203, 151 ฟองตามลำดับต่อครั้ง และสามารถวางไข่ได้อย่างน้อย 3 ครั้งตลอดชีวิต ไข่ยุงก้นปล่องฟักตัวเป็นตัวภายใน 2 วัน ไข่ทนความแห้งแล้งได้ไม่นาน อาจทนได้ 2 สัปดาห์ เมื่อเป็นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 15-16 วัน จึงเป็นตัวดักแด้ ไม่กินอาหาร และภายใน 2 วัน จึงเปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัย

นิสัย แตกต่างกัน แล้วแต่ละ species ส่วนใหญ่มักเพาะพันธุ์ในป่า ยุงก้นปล่องในประเทศไทยมี 2 subgenus คือ Anopheles (150 ชนิด) และ Cellia (160 ชนิด)

3. ยุงรำคาญ (Culex)
ยุงใน genus Culex เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง นำเชื้อไวรัสหลายชนิด และเป็นพาหะนำโรคมาลาเรียในนก ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ชอบกินเลือดนก ยุง genus Culex แยกเป็น 7 subenus คือ Lutzia, Culex, Thaiomyia, Culiciomyia, Lophoceraomyia, Mochthogenus Neoculex

ยุงรำคาญที่มีความสำคัญทางการแพทย์ คือ Culex quinquefasciatus เพราะเป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง ไวรัสไข้เลือดออก และโรคชิกุนกุนย่า ส่วนยุงรำคาญ Culex tritaeniorhychus, Cx. Gelidus, Cx. Fuscocephala เป็นพาหะโรคไข้สมองอักเสบ Japanese encephalitis

ยุงรำคาญวางไข่เป็นแพลอยน้ำ 1 แพ แต่ละแพมีประมาณ 153 ฟอง ไข่ในระยะแรกๆมีสีขาว ภายใน 2-3 ชั่วโมงกลายเป็นสีดำ ถ้ากินเลือดนกจะวางไข่มากกว่ากินเลือดคน ไข่ฟักตัวภายใน 1 วันกว่าๆ ลูกน้ำใช้เวลา 6-8 วัน เป็นดักแด้ และอีก 40 ชั่วโมงเป็นยุงตัวเต็มวัย มีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำเน่า มีสารอินทรีย์สูง เช่น ท่อน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำ ขนาดตั้งแต่ 2-3 ลิตร ถึง 2-3 ลูกบาศก์เมตร อยู่ได้ทั้งที่ร่ม และกลางแดดในภาชนะที่ยุงลายไข่ เช่น ยางรถยนต์ที่มีน้ำขัง และตุ่มใส่น้ำ เป็นต้น

ยุงรำคาญบินไม่ไกลประมาณ 100 เมตร หลังจากฟักแล้วภายใน 24-36 ชั่วโมง ก็จะผสมพันธุ์ แล้วออกกินเลือดในเวลากลางคืน ถ้าคนนั่งมักกัดใต้หัวเข่า แต่ถ้าคนนอนจะกัดทุกส่วน ยุงรำคาญเกาะพักทั้งใน และนอกบ้าน ยุงกัดทั้งคืน และยุงแก่มักกัดเลยเที่ยงคืนแล้ว

4. ยุงเสือ Mansonia และ ยุง Coquilleidia
ยุงเสือ มีลักษณะพิเศษที่ลูกน้ำ และดักแด้ใช้ออกซิเจนจากพืชน้ำ โดยลูกน้ำมีท่อหายใจแหลมเป็นกรวย (conical) ซึ่งลักษณะพิเศษ พบเฉพาะในยุงเสือ ไม่พบในลูกน้ำยุงอื่น ยกเว้น Ficalbia ยุงเสือเดิมมี 2 subgenus คือ
1. subgenus Mansonoides ปัจจุบันเป็น (genus Mansonia) เป็นยุงนำโรคเท้าช้างบรูเกีย มาลาไย เกร็ดปีกกว้าง ลายปีกจากเกล็ดขาวออกไม่ symmetry กัน
2. subgenus Conquillettdia ปัจจุบันเป็น genus แล้ว เป็นยุงชอบกัดนก เกล็ดปีกแข็ง ชื่อพ้องของ Mansonia คือ Taeniorthynchus

ในแอฟริกา และอเมริกาใต้ยุง genus Mansonia หลังจากกินเลือด 4 วันแล้ว ลูกน้ำในระยะนี้ว่ายน้ำ และหายใจจากผิวน้ำ จากนั้น ใช้ท่อหายใจแทรกรากพืชน้ำเพื่อหายใจเอาออกซิเจน และเกาะติดกับรากพืชหรือลำต้นพืชน้ำ

ยุงเสือจะมีแหล่งเพาะพันธุ์ต่างกัน เช่น ยุงเสือ Mn. uniformis, Mn. idiana, Mn. annulifera, Cq.crassipes ชอบ open swamp Mn. annulata ชอบชายป่า ส่วนยุงเสือ Mn. bonneae, Mn. dives และ Cq. nigrosignata ชอบ swamp forest ส่วน Cq. ochracea เพาะพันธุ์ในทุกแห่ง

Mn. Annulifera ที่ Kerala เท่านั้นที่เกาะพักในบ้าน biting cycle เริ่มทันทีหลังพระอาทิตย์ตกดิน มี peak ใหญ่ หัวค่ำ และ peak เล็กก่อนสว่าง Mn. dives กัดทั้งระดับพื้นดิน และบนที่สูง 50 ฟุต เท่าๆ กัน Mn. dives และ Mn. bonneae บินกระจายไปในรัศมี 3 กิโลเมตร ถ้าในที่โล่งแจ้งยุง Mansonia บินได้ไม่เกิน 500 เมตร ความสำคัญทางการแพทย์ คือ เป็นพาหะนำเชื้อไวรัส และโรคเท้าช้างชนิดบรูเกียมาลาไย

5. ยุงยักษ์ (Toxorhynchites)
ยุงยักษ์ หรือ Elephant mosquito หรือ megarhine อยู่ใน subfamily Toxorhynchites มีเพียง 1 genus คือ Toxorhynchites ลำตัวมีสีสันสวยงาม โดย proboscis ส่วนโคนใหญ่ปลายแหลมเล็กอ่อน งอเข้าหาลำตัว ดูคล้ายเป็นตะขอ กัดดูดเลือดไม่ได้ จะกินแต่น้ำหวาน

ยุงยักษ์ไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ โดยบินเรี่ยผิวน้ำแล้วปล่อยไข่ลงน้ำ ไข่มีลักษณะเหมือนไข่ไก่ มักชอบไข่เวลาบ่าย ชอบไข่ในแหล่งน้ำเล็กๆ เช่น ลำไม้ไผ่ที่ถูกตัด และมีน้ำขัง โพรงไม้ กะลามะพร้าว ยางรถยนต์เก่าๆ และในพืชที่มีน้ำขัง ลูกน้ำกินสิ่งมีชีวิต เป็น predator กินสัตว์อื่นหรือ cannibalism (กินกันเอง) โดยลอยนิ่งรอจังหวะให้ลูกน้ำว่ายผ่านมา แล้วจึงแว้งกัด สามารถกินลูกน้ำยุงลาย 195 ตัวได้ภายใน 12 วัน ลูกน้ำทนอดอาหารได้ดี [1]

ความแตกต่างระหว่าง 4 ชนิด [1]

ลักษณะ
ยุงก้นปล่อง
(Anopheles)
ยุงลาย(Aedse )
ยุงรำคาญ (Culex )
ยุงเสือ (Mansonia)

• ไข่

– การวางไข่
เดี่ยวๆ เป็นฟองๆบริเวณที่ชื้นเหนือระดับน้ำหรือไข่ บริเวณผิวน้ำ
เดี่ยวๆ บริเวณที่ชื้น เหนือระดับน้ำ
แพลอยน้ำ
กลุ่มคล้ายดอกไม้ติดใต้ใบพืชน้ำ

– ลักษณะไข่
รูปรี ผิวมีลายลูกไม้ มี flaoat และ deck
รูปรี ผิวมีAir membrane ไม่มี float
รูปรี ผิวเรียบมี corolla ไม่มี float
รูปขวด ไม่มี float

– ความทนทานของไข่
เก็บไม่ได้
เก็บไว้ได้นานเป็นปี
เก็บไม่ได้
เก็บไม่ได้

• ลูกน้ำ

– ลักษณะการลอยตัว
ขนานผิวน้ำ
ทำมุมกับผิวน้ำ
ทำมุมกับผิวน้ำ
เกาะติดพืชน้ำ

– Siphon
ไม่มี
สั้น มี pectin 1 เส้น
ยาว, เรียว มี pectin
สั้น, แหลม มี pectin

– Siphon hair tuft
ไม่มี
มีฟัน
มากกว่า 1 เส้น
1 เส้น

– Comb scale
ไม่มี
ไม่มี
เป็นครุย
เป็นแท่ง 2 คู่

– Palmate hair
มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี

– Tergal plate
มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี

• ดักแด้

– การลอยตัว
ลำตัวส่วนใหญ่สัมผัสผิวน้ำ
ส่วนน้อย
ส่วนน้อย
อยู่ใต้ผิวน้ำ

– Trumpet
ปากแตร
สั้น
ยาว ปลายไม่กว้าง
ปลายแหลม

– Posterotateral Margin ของ Abdomen
มี spine แข็งตรงมุม
มีขนไม่อยู่ตรงมุมแต่ปล้องที่ 8 อยู่ตรงมุม
มีขนไม่ตรงมุม
มีขนไม่ตรงมุม

– ปลาย paddle มีขน
2 เส้น apical และ sub apical
1 คู่ apical
1 คู่ paddle แบ่งเท่ากัน
1 คู่ paddle แบ่งไม่เท่ากัน

• ตัวเต็มวัย

– ลักษณะการเกาะพัก
Proboscis* หัว,อก และท้องมักเป็นเส้น ตรงมุม 45-90 องศากับพื้น
ตัวขนานกับพื้น
ตัวขนานกับพื้น
ตัวขนานกับพื้น

– อก
หลังไม่โกง
หลังโกง
หลังโกง
หลังโกง

– Scutellum
กลม
3 lobes
3 lobes
3 lobes

– Palpi ตัวผู้
ยาวปลายพองออก(club)
ยาวปลายแหลม หักหัวขึ้น
ยาวปลายแหลมหักหัวขึ้น บางครั้ง Bloom like
ยาวปลายแหลมหักหัวขึ้น

– Palpi ตัวเมีย
ยาวเท่ากับ Proboscis
สั้นกว่า
สั้นกว่า
สั้นกว่า

– หนวด
ไม่มี
ไม่มี
โคนหนวดปล้องแรกยาวกว่าปล้องถัดไป
ไม่มี

– Spermatheca
1 อัน
1 อัน
2-3 อัน
2 อัน

– Pulvilli
ไม่มี
ไม่มี
มี
ไม่มี

– ปีก
ปีกมีลายจุด
ไม่ลาย
ไม่ลาย ยกเว้น Cx. mimuilus
เกล็ดปีกกว้าง สีขาว สลับดำเข้ม asymmetrically arranged

– ท้อง
มีเกล็ด ปลายท้องทู่
มีเกล็ด ท้องแหลม และทู่
มีเกล็ดปลายท้องทู่
มีเกล็ดปลายท้องทู่

– Spircular
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี

– Postspiracular
ไม่มี
มี
ไม่มี
ไม่มี

– Claw
simple
tooth
simple
simple

*ยกเว้น Anopheles culicifacies เวลาเกาะลำตัวขนานกับพื้นเหมือน Culex

มาตรการป้องกันยุงกัด
1. การใช้สารเคมีเพื่อฆ่ายุง
– การพ่นละอองฝอย หรือการพ่นแบบ Ultar Low Volume (ULV) เป็นการพ่นน้ำยาสารเคมีจากเครื่องพ่น ละอองน้ำยาจะกระจายอยู่ในอากาศ และสัมผัสกับตัวยุงที่บินอยู่
– การพ่นหมอกควัน ( Thermal Fogging ) เป็นการพ่นน้ำยาเคมีออกจากเครื่องพ่นโดยใช้อากาศร้อนพ่นเป็นหมอกควัน ให้น้ำยาฟุ้งกระจายในอากาศ เพื่อให้สัมผัสกับตัวยุง
– การพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้าง ( residual spray) เป็นการพ่นสารดังกล่าวลงบนฝาผนังหรือตามที่ยุงเกาะพัก สารเคมีจะซึมผ่านขาของยุง เข้าไปฆ่ายุงได้

2. การใช้กับดัก
เป็นการล่อให้ยุงบินเข้ามาติดกับดัก เพื่อทำให้ยุงตายต่อไป เช่น กับดักแบบใช้แสงล่อ ( แสงสว่างจากหลอด Black light ) กับดักยุงไฟฟ้า กับดักยุงแบบใช้คลื่นเสียง เป็นต้น

3. การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
– นอนในมุ้ง จะใช้มุ้งธรรมดา หรือมุ้งชุบสารเคมีก็ได้ หรือจะนอนในห้องที่หน้าต่างและประตูปิดด้วยมุ้งลวด และต้องแน่ใจว่าในห้องนั้นไม่มียุงเล็ดลอดเข้าไปอาศัยอยู่
– สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรใช้สีอ่อน
– ใช้สารทากันยุง
– ใช้ยาจุดกันยุง ( mosquito coil )
– ใช้การรมควันสมุนไพร เช่น ควันตะไคร้ เป็นต้น

ที่มา: เอกสารอ้างอิง จุฬารัตน์ นุราช, 2544, การศึกษาประสิทธิภาพของโลชั่นกันยุง จากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกดาวเรือง

Table of Contents

[NEW] หลักการใช้คอมม่า (Comma) ในภาษาอังกฤษ | ตัวลูกน้ำ – NATAVIGUIDES

คอมม่า (,) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้บ่อยในภาษาอังกฤษ แต่ถึงแม้จะถูกใช้บ่อย หลายๆคนก็ยังคงสับสนอยู่ดี ว่าเราควรใช้คอมม่าตอนไหนและต้องใช้อย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่สงสัย ในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหาการใช้คอมม่าในภาษาอังกฤษ มาให้เพื่อนๆได้เรียนรู้กันได้อย่างง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

คอมม่าคืออะไร

คอมม่า (comma) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ ทำหน้าที่แยกคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านจับใจความได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น

ถ้าเปรียบเทียบคอมม่ากับเครื่องหมายจุด (.) ที่ใช้ปิดท้ายประโยค หรือที่เรียกว่า period เครื่องหมายทั้ง 2 ตัวนี้จะเป็นตัวบอกการเว้นจังหวะในการอ่านและพูดเหมือนกัน แต่เครื่องหมายคอมม่าจะเป็นตัวบอกจังหวะการเว้นที่สั้นกว่า

หลักการใช้คอมม่า

ใครที่มีข้อสงสัยว่าเราต้องใช้คอมม่าในกรณีไหนและต้องใช้ยังไงบ้าง ก็ไปดูหลักการใช้คอมม่าทั้ง 11 ข้อกันเลย

1. ใช้คอมม่าหน้าคำเชื่อมที่เชื่อม independent clause

Independent clause (ประโยคใจความสมบูรณ์) คือประโยคที่มีทั้งประธานและคำกริยา ตัวประโยคจะมีใจความสมบูรณ์ในตัวมันเอง เช่น

I am a student. (ฉันเป็นนักเรียน) – ถือเป็น independent clause เพราะมีทั้งประธานและคำกริยา
Feel good (รู้สึกดี) – ไม่ใช่ independent clause เพราะไม่มีประธาน
Big black cat (แมวสีดำตัวใหญ่) – ไม่ใช่ independent clause เพราะไม่มีคำกริยา

ส่วนคำเชื่อมในที่นี้จะต้องเป็น coordinating conjunction ซึ่งก็คือคำเชื่อมที่ให้น้ำหนักกับ 2 สิ่งที่ถูกเชื่อมเท่าๆกัน โดยอาจใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคก็ได้ coordinating conjunction มีทั้งหมด 7 ตัวคือ for, and, nor, but, or, yet, so (เมื่อนำอักษรแรกมาต่อกันจะได้เป็น FANBOYS ใช้ช่วยให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น)

หากเราเชื่อม independent clause 2 ประโยคด้วย coordinating conjunction เราจะต้องใช้คอมม่าหน้า coordinating conjunction

โครงสร้างการใช้

independent clause + , + coordinating conjunction + independent clause

ตัวอย่างประโยค

He didn’t speak to anyone, and nobody spoke to him.
เขาไม่ได้พูดกับใคร และก็ไม่มีใครพูดกับเขา

I wanted to stay home, but my wife wanted to go shopping.
ฉันอยากอยู่บ้าน แต่ภรรยาของฉันอยากไปช้อปปิ้ง

เราจะไม่ใช้คอมม่า ถ้าข้างหน้าหรือข้างหลัง coordinating conjunction ไม่ใช่ independent clause

She brushed her teeth and washed her face.
เธอแปรงฟันและล้างหน้า
(washed her face ไม่ใช่ independent clause)

I am not a writer but an editor.
ฉันไม่ใช่นักเขียน แต่เป็นบรรณาธิการ
(an editor ไม่ใช่ independent clause)

2. ใช้คอมม่าเมื่อขึ้นต้นประโยคด้วย dependent clause

Dependent clause คือประโยคที่มีใจความไม่สมบูรณ์ เวลาใช้จะต้องใช้ร่วมกับประโยคอื่น ในที่นี้เราจะแบ่งออกเป็น 3 กรณี

1. Participial phrase

เมื่อประโยคขึ้นต้นด้วยวลีจำพวก participial phrase ซึ่งก็คือวลีที่ขึ้นต้นด้วย v. + ing หรือ v. ช่อง 3 เราจะต้องใช้คอมม่าคั่นหลังวลีนั้น

โครงสร้างการใช้

participial phrase + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Being the only son in the family, his family have high hopes for him.
ด้วยการที่เขาเป็นลูกชายคนเดียวในครอบครัว ครอบครัวของเขาจึงตั้งความหวังกับเขาไว้สูง

Bitten by my own dog, I was very disappointed.
การโดนกัดโดยหมาของตัวเองทำให้ฉันรู้สึกผิดหวังมาก

2. Adverbial phrase

แต่ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย adverbial phrase ซึ่งก็คือวลีที่ทำหน้าที่เป็น adverb เราอาจใช้คอมม่าหรือไม่ใช้ก็ได้ (ถ้า adverbial phrase ยาว หรือเราต้องการเน้น adverbial phrase นั้น เราจะนิยมใช้คอมม่า)

ตัวอย่าง adverbial phrase เช่น
At 6 o’clock
After the show
In the middle of Bangkok

โครงสร้างการใช้

adverbial phrase + (,) + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

In 2020 there is a pandemic affecting the world.
ในปี 2020 มีโรคระบาดที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

When I was six, I lived in Chiang Mai with my mom.
ตอนฉันอายุหกขวบ ฉันอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่กับแม่ของฉัน

3. Sentence adverb

ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย sentence adverb ซึ่งก็คือคำจำพวก adverb ที่ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยค เราจะใช้คอมม่าคั่นหลัง sentence adverb นั้น

โครงสร้างการใช้

sentence adverb + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Honestly, I am not angry.
ตรงๆเลยนะ ฉันไม่ได้โกรธ

Clearly, this plan isn’t working.
เห็นได้ชัดว่าแผนนี้ใช้ไม่ได้ผล

3. ใช้คอมม่าคั่นวลีหรือคำกลางประโยคที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

เราจะใช้คอมม่าคั่นวลีหรือคำที่อยู่กลางประโยค ถ้าวลีหรือคำนั้นทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ไม่ได้จำเป็นสำหรับประโยค (แม้ตัดออกไป ใจความหลักของประโยคก็ยังเหมือนเดิม)

โครงสร้างการใช้

ประโยคส่วนที่ 1 + , + วลี/คำที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม + , + ประโยคส่วนที่ 2

ตัวอย่างประโยค

Tim, unlike Joe, is very polite.
ทิมเป็นคนสุภาพมาก ไม่เหมือนกับโจ

King Crab restaurant, which Anne recommended, is fantastic.
ร้านอาหารคิงแครบที่แอนแนะนำนั้นดีมาก

แต่ถ้าวลีหรือคำนั้นจำเป็นสำหรับประโยค ถ้าตัดออกแล้วใจความเปลี่ยน เราก็จะไม่ใช้คอมม่า

People who exercise regularly tend to be more happy.
คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอมักจะมีความสุขมากกว่า
(ถ้าตัด who exercise regularly ทิ้ง ความหมายจะเปลี่ยนเป็น “คนจะมีความสุขมากกว่า” ซึ่งมีใจความผิดไปจากเดิม)

The restaurant that Anne recommended is fantastic.
ร้านอาหารที่แอนแนะนำนั้นดีมาก
(ถ้าตัด that Anne recommended ทิ้ง ความหมายจะเปลี่ยนเป็น “ร้านอาหารดีมาก” ซึ่งมีใจความผิดไปจากเดิม คือเราจะไม่รู้ว่าหมายถึงร้านไหน)

วลีที่ขึ้นต้นด้วย that มักจะจำเป็นสำหรับประโยค เรามักจะไม่ใช้คอมม่าครอบส่วนนั้น

4. ใช้คอมม่าแยกรายการคำตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป

ถ้าเรามีรายการคำตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป เราจะต้องคั่นแต่ละรายการด้วยคอมม่า ยกเว้นรายการสุดท้าย เราจะคั่นด้วยคอมม่าหรือไม่ก็ได้

โครงสร้างการใช้

รายการหนึ่ง, รายการสอง(,) and รายการสุดท้าย

ตัวอย่างประโยค

He is tall, dark, and handsome.
หรือ He is tall, dark and handsome.
เขาทั้งสูง เข้ม และหล่อ

She needs salt, pepper, and other seasonings at the grocery store.
หรือ She needs salt, pepper and other seasonings at the grocery store.
เธอต้องการเกลือ พริกไทย และเครื่องปรุงอย่างอื่นที่ร้านขายของ

5. ใช้คอมม่าคั่นระหว่าง coordinate adjectives

Coordinate adjectives คือคำคุณศัพท์ที่ขยายคำนามคำเดียวกันและมีความสำคัญเท่าๆกัน สามารถสลับที่กันได้ ตัวอย่างเช่น

เราสามารถใช้ได้ทั้ง long, narrow path
และ narrow, long path
คำว่า long และ narrow ในที่นี้จะถือเป็น coordinate adjectives

เราสามารถใช้ big black bear
แต่ไม่สามารถใช้ black big bear
คำว่า big และ black ไม่ถือเป็น coordinate adjectives (การใช้ adjective ขนาดจะต้องมาก่อนสี)

โครงสร้างการใช้

coordinate adjective 1 + , + coordinate adjective 2 + คำนาม

ตัวอย่างประโยค

The happy, lively cat is playing with the ball.
แมวที่มีความสุขสดใสกำลังเล่นกับลูกบอล

My roommate is a cheerful, kind girl.
รูมเมทของฉันเป็นเด็กผู้หญิงที่ร่าเริงและใจดี

ทั้งนี้ เราสามารถใช้ and เชื่อมระหว่าง coordinate adjectives แทนคอมม่าก็ได้เช่นกัน อย่างเช่น My roommate is a cheerful and kind girl.

6. ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำพูดกับวลีที่กำกับ

ในภาษาอังกฤษ เวลาเราเขียนประโยคที่เป็นคำพูด เราจะใช้เครื่องหมาย “-” ครอบประโยคคำพูดนั้น อย่างเช่น Anne said, “I feel sick.” ซึ่งแปลว่า แอนพูดว่า “ฉันรู้สึกป่วย”

สังเกตว่า เราจะใช้คอมม่าคั่นระหว่างวลีที่เข้ามากำกับ ซึ่งก็คือ Anne said และประโยคที่เป็นคำพูด ซึ่งก็คือ “I feel sick.”

ทั้งนี้ วลีที่กำกับนั้นอาจจะอยู่หน้า อยู่กึ่งกลาง หรืออยู่หลังประโยคที่เป็นคำพูดก็ได้

โครงสร้างการใช้

  • วลีกำกับ, “ประโยคคำพูด”
  • “ประโยคคำพูด,” วลีกำกับ, “ประโยคคำพูด”
  • “ประโยคคำพูด,” วลีกำกับ

ตัวอย่างประโยค

He answered, “She is not here.”
เขาตอบ “เธอไม่ได้อยู่ที่นี่”

“I think,” she said, “Joe can help.”
“ฉันคิดว่า” เธอพูด “โจสามารถช่วยได้”

“It is raining,” Tim said.
“ฝนกำลังตก” ทิมพูด

ในกรณีที่วลีกำกับอยู่ข้างหลังประโยคคำพูด ถ้าประโยคคำพูดลงท้ายด้วยเครื่องหมายตกใจ (!) หรือเครื่องหมายคำถาม (?) เราจะไม่ต้องใช้คอมม่า

“Stop playing video game!” mom yelled.
“หยุดเล่นเกมได้แล้ว” แม่ตวาด

“Are you alright?” Ben asked.
“คุณโอเคมั้ย” เบ็นถาม

บางคนอาจสงสัยว่า เราต้องใส่คอมม่าไว้ในหรือนอกเครื่องหมาย “-” ทำไมบางทีเห็นแต่ละที่ใช้ไม่เหมือนกัน

คำตอบก็คือถ้าเป็น American English จะนิยมเอาไว้ข้างใน เช่น “It is raining,” Tim said. แต่ถ้าเป็น British English จะนิยมเอาไว้ข้างนอก เช่น “It is raining”, Tim said.

7. ใช้คอมม่าในการแยกวันที่และสถานที่

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างวันและปีเมื่อเราเขียนวันที่ในรูปแบบ เดือน-วันที่-ปี แต่ถ้าเราเขียนในรูปแบบ วันที่-เดือน-ปี เราจะไม่ต้องใช้คอมม่า

โครงสร้างการใช้

เดือน วันที่, ปี

ตัวอย่างประโยค

She was born on December 10, 1995.
เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1995

She was born on 10 December 1995.
เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1995

และใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำบอกสถานที่ที่ต่างกัน เช่น เมือง จังหวัด รัฐ ประเทศ

โครงสร้างการใช้

  • ชื่อตำบล, ชื่อเขต, ชื่อจังหวัด, ชื่อประเทศ
  • ชื่อเมือง, ชื่อรัฐ, ชื่อประเทศ

ตัวอย่างประโยค

I live in Bangkok, Thailand.
ฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

He came from Chicago, Illinois.
เขามาจากเมืองชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์

8. ใช้คอมม่าหน้า question tag

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างประโยคหลักกับ question tag

โครงสร้างการใช้

ประโยคหลัก + , + question tag

ตัวอย่างประโยค

These flowers are beautiful, aren’t they?
ดอกไม้เหล่านี้สวยมาก ว่ามั้ย

You didn’t forget the key, did you?
คุณไม่ได้ลืมกุญแจใช่มั้ย

9. ใช้คอมม่าเมื่อเรียกบุคคลโดยตรง

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำเรียกบุคคลอื่นกับส่วนอื่นของประโยค เมื่อเราเรียกบุคคลนั้นโดยตรง

โครงสร้างการใช้

  • ประโยคหลัก + , + คำเรียกบุคคล
  • คำเรียกบุคคล + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Dad, where are you?
พ่ออยู่ไหน

See you later, John.
ไว้เจอกันใหม่นะจอห์น

10. ใช้คอมม่าหลังคำขึ้นต้นประโยค

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำขึ้นต้นประโยคกับประโยคหลัก อย่างเช่น คำทักทาย yes/no

โครงสร้างการใช้

  • คำทักทาย + , + ประโยคหลัก
  • yes/no + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Hello, how is it going?
สวัสดี เป็นยังไงบ้าง

Yes, I live by myself.
ใช่ ฉันอยู่คนเดียว

11. ใช้คอมม่าเพื่อป้องกันการสับสน

เราจะใช้คอมม่าในประโยคที่อาจก่อให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ถูกต้องมากขึ้น

ตัวอย่างประโยค

I waved at my friend who entered the canteen, and smiled.
ฉันโบกมือให้เพื่อนที่เข้ามาในโรงอาหาร และยิ้มให้เค้า
(คอมม่าทำให้เรารู้ว่าฉันเป็นคนยิ้ม ไม่ใช่เพื่อนยิ้ม)

เป็นยังไงบ้างครับกับหลักการใช้เครื่องหมายคอมม่า (comma) ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


ระวังอันตราย อย่าวิ่งเล่นบนถนน ระวังตาถลน!!


หนังสั้น เยลลี่ลูกตา เตือนภัย

สามารถติดต่อเป็นสปอนเซอร์ได้ที่
gmail : [email protected]

ยูทูปช่องหนังสั้นพี่วาฬ
https://youtube.com/channel/UCE1fOT7eFIO4i2TKpA0oRA

ช่องยูทูป พี่วาฬคีบตุ๊กตา
https://youtube.com/channel/UC5o4rkblAvBK0_TSFGImaA

ช่องยูทูปจัดอันดับ
https://youtube.com/channel/UCIFUytyvbGxS791wOsnRnDQ

เฟสบุ๊ค พี่วาฬ
https://www.facebook.com/whale.tube.1

เพจ ชอบคีบตุ๊กตา
https://www.facebook.com/chobkeep/

เพจ หนังสั้นพี่วาฬ
https://www.facebook.com/TrustStoreFilm102193605122117/

เพจจัดอันดับ
https://www.facebook.com/มีเฉย101185145435346/

เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์สมมุติ รับชมเพื่อความบันเทิงนะครับ โปรดอย่าลอกเลียนแบบ ไม่ทำตามและไม่ดราม่ากันนะครับ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ระวังอันตราย อย่าวิ่งเล่นบนถนน ระวังตาถลน!!

ไอยะตัวไหร – จุลินทรีย์ 「Official Music Video」


Subscribe ติดตามข่าวสาร BigloveMusicChannel : http://goo.gl/GK8rnw
ชอบอกชอบใจตามไปกดไลค์ Facebook Page : https://www.facebook.com/biglovemusicgroup

เพลง ไอยะตัวไหร วงจุลินทรีย์
คำร้อง : ลูกน้ำ จุลินทรีย์
ทำนอง : ลูกน้ำ จุลินทรีย์
เรียบเรียง : พง จุลินทรีย์
…………….
ทำตัวบายๆ ตามสไตล์บ้านๆ มีรถเครื่อง 1 คันไปไหนไปกัน ได้เพ
หนุกกันไปวันๆ ก็ไม่เคยเกเร โหมเราผ่านทั้งเพ สุดยอด
ก็ไม่รู้ พันพรือ ไปไหนคนมองทั้งหลาด เค้าก็คง คิดว่าฉันมัน ชาดหรอย
ถึงจะดูเซอร์ๆ ก็จริงใจไม่น้อย รักใครแล้ว ไม่ถอย เธอลองแล
ทำแล้ว บายใจ ไม่ได้เป็นภาระของใคร
หากว่าไม่ เข้าตา ต้องขออภัย
ไอยะตัวไหร เสื้อก็ร้าย กางเกงขาบาน
รู้เอาไว้บ้านฉัน นี่มาตรฐานที่สุดแล้ว
เด็กใต้ตัวดำ ก็ไม่เคยทำให้ใครช้ำ
ขอแหลงซักคำช่วยมองกันที่หัวใจ…..ว่า สดเกิน
ซ้ำ แยก,ฮุก

พูดคุยกันหรอยๆกับวงจุลินทรีย์ http://www.facebook.com/JulinzeeBand
♪ Digital download : กด 492285 รหัสศิลปิน 119
♪ iTunes Store : https://goo.gl/RyarxC
♪ KKBOX : http://kkbox.fm/Xc8Jfa
♪ Deezer : http://goo.gl/2TQrpV
ฮิตในTikTok ท่าเต้นสะท้านโคโรน่า

ไอยะตัวไหร - จุลินทรีย์ 「Official Music Video」

พบหนอนตัวแบนนิวกินีระบาด 11 จังหวัด


ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ลงพื้นที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี จุดที่พบหนอนตัวแบนนิวกินี ซึ่งเป็น 1 ใน 100 สัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก สัตว์ชนิดนี้กินหอยทากเป็นอาหาร ด้านนักวิชาการแนะเร่งกำจัด หลังยังไม่พบสัตว์ชนิดใดเป็นผู้ล่า ที่สำคัญขณะนี้พบแพร่ระบาดแล้วใน 11 จังหวัด ติดตามจากรายงาน
คลิกชม ► http://www.tnamcot.com/view/5a05b6a3e3f8e40ae38e4fac
►►►►►►►►►►
✮ ธ สถิตในใจราษฎร์นิรันดร์ ► https://goo.gl/v9U1YP
►►►►►►►►►►
✮สมัครรับข้อมูลฟรี! Subscribe ► https://www.youtube.com/tnamcot
✮ชมทุกตอน \”ชัวร์ก่อนแชร์\” ►https://goo.gl/zmgfeG
✮ข่าวดังข้ามเวลา ► https://goo.gl/rKcCQq
✮สกู๊ปพิเศษ ► https://goo.gl/Yw0ZIw
✮เห็นแล้วอึ้ง ► https://goo.gl/zFvXUA
✮เกษตรทำเงิน ► https://goo.gl/zF5aWu
✮เกษตรสร้างชาติ ► https://goo.gl/iSr814
✮ภาพมุมมองใหม่ | ท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง ► https://goo.gl/Z9DVHZ
คลิกชม
1.สารคดีเฉลิมพระเกียรติ ► https://goo.gl/IPLmNK
2.พระราชกรณียกิจพระมหากรุณาธิคุณ ► https://goo.gl/XH7ayo
3.คนไทยหัวใจ♥รักในหลวง ► https://goo.gl/CKPWpl

ติดตาม สำนักข่าวไทย อสมท (ช่อง 9MCOT HD หมายเลข 30 | Thai News Agency MCOT
► เว็บ http://www.tnamcot.com
► เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/tnamcot
► แอดไลน์ (LINE) @TNAMCOT หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40tnamcot
► ทวิตเตอร์ https://www.twitter.com/tnamcot
► อินสตาแกรม https://instagram.com/tnamcot
► ยูทูบ https://www.youtube.com/tnamcot
► ชมข่าวย้อนหลัง https://www.youtube.com/tnamcot

พบหนอนตัวแบนนิวกินีระบาด 11 จังหวัด

ตั๋วแล้วตั๋วอีก – ลูกน้ำ นนพล : เซิ้ง|Music「MUSICFACTOR」【Official Lyric 】


เครดิต
ชื่อเพลง ตั๋วแล้วตั๋วอีก
ชื่อศิลปิน ลูกน้ำ นนพล
สังกัด Music Factor
เนื้อร้อง ทำนอง ปรีชา ปัดภัย
เรียบเรียง วาทิตย์ ขุราษี
Producer กานต์ ใหญ่สว่าง
Mix/Master วาทิตย์ ขุราษี
ติดต่องานแสดง โทร 0930569696
ติดต่อออฟฟิศ เซิ้งมิวสิก 0832463936
ตั๋วแล้วตั๋วอีก
ลูกน้ำ นนพล
เซิ้งlMUSiC
MusicFactor

ตั๋วแล้วตั๋วอีก - ลูกน้ำ นนพล : เซิ้ง|Music「MUSICFACTOR」【Official Lyric 】

เกมทรมานเพื่อนทรยศ!


สติ๊กเกอร์ Line zbing z. ของพี่แป้งมาแล้วจ้า ดาวน์โหลดได้ที่
https://store.line.me/stickershop/product/1480015
โหลดเลยๆ ขอบคุณทุกคนที่ช่วยอุดหนุนน้า
ช่วยกด like \u0026 share + Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่แป้งกันด้วยนะคะ
contact me :: [email protected]
ขอให้สนุกกับคลิปนะคะ :3
ซื้อสินค้าของพี่แป้ง zbing z. มีทั้งเสื้อ หมวก กระเป๋า และของอื่นๆ ได้ที่นี่ https://goo.gl/R4XXeY

ติดตามแป้งได้ที่
♥ Facebook http://www.facebook.com/zbingzee
♥ Fan page http://www.facebook.com/zbingch
♥ Instagram http://www.instagram.com/zbingz
♥ Youtube http://www.youtube.com/zbingzbin­g
ด้วยรัก ♥
zbing z
เป็นพาร์ทเนอร์กับ Online Station คลิกที่นี่ http://caster.os.co.th
­­
::: สนใจติดต่อโฆษณาหรือสปอนเซอร์ :::
ติดต่อทีมงาน Online Station (เฉพาะเรื่องงานเท่านั้น)
โทร : 028595171
อีเมล์ : [email protected]
INTRO SONG
Sparks (feat. Corey Saxon)
Music by Epidemic Sound (http://www.epidemicsound.com)
zbingz

เกมทรมานเพื่อนทรยศ!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ตัวลูกน้ำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *