Skip to content
Home » [Update] บทความด้านการศึกษา บริหารจัดการศึกษา | การ ศึกษา สิงคโปร์ – NATAVIGUIDES

[Update] บทความด้านการศึกษา บริหารจัดการศึกษา | การ ศึกษา สิงคโปร์ – NATAVIGUIDES

การ ศึกษา สิงคโปร์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

Singapore Educational Quality Assurance

 

1. ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์

          1.1 ข้อมูลทั่วไป

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่สงบและสะอาด เนื่องจากกฎหมายของประเทศค่อนข้างเข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรง ดังนั้นประชาชนชาวสิงคโปร์จึงเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายกันอย่างเคร่งครัด ทำให้บ้านเมืองปราศจากอาชญากรรมและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินค่อนข้างสูง สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางธุรกิจการค้าสูงและยังเป็นศูนย์กลางแห่งธุรกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญ

1.2 สภาพภูมิศาสตร์ อากาศ เวลา และแผนที่

1) ภูมิประเทศ

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore) ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรอยู่ทางทิศใต้ของประเทศไทยต่อจากประเทศมาเลเซีย โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปร์ คือ 136.8 กิโลเมตร เหนือเส้นศูนย์สูตรโดยตั้งอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก กับเส้นแวงที่ 104 องศา 06 ลิปดาตะวันออก สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์ประกอบด้วยเกาะหลักหนึ่งเกาะ และเกาะขนาดเล็กล้อมรอบอีก 63 เกาะ เกาะหลักมีเนื้อที่พื้นดินรวม 682 ตารางกิโลเมตร และด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งติดฝั่งทะเลทั้ง 3 ด้าน ซึ่งอยู่ตรงกลางสี่แยกของโลก คือ ทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโอร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์  ที่ตั้งนี้ส่งผลความได้เปรียบมีส่วนผลักดันให้สิงคโปร์เติบโต จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า การสื่อสาร และการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก

2) ภูมิอากาศ

สิงคโปร์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศและพืชพรรณธรรมชาติแบบร้อนชื้น แต่ได้รับอิทธิพลจากลมทะเลจึงช่วยให้มีอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจึงไม่ต่างกันมากนัก สภาพอากาศของสิงคโปร์ เป็นแบบอบอุ่นและชื้นตลอดปี ความชื้นในช่วงกลางวันประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ และ 95 เปอร์เซ็นต์ในช่วงกลางคืน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 23-33 องศาเซลเซียส มีแดดตลอดปีและฝนตกเป็นครั้งคราวโดยเฉพาะช่วงปลายปี โดยเฉลี่ยแล้วในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม เป็นช่วงที่ร้อนน้อยที่สุด เนื่องจากฝนตกชุก ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด และเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่แดดจ้ามากที่สุด

3) เวลา
สิงคโปร์เวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

 

 

4) แผนที่

 

1.3 ลักษณะประชากรและเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา

1) ประชากรและเชื้อชาติ

ประชากรหนาแน่นสุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจำนวนประชากรประมาณ 4.24 ล้านคน (2547) ส่วนใหญ่เป็น เชื้อชาติจีน ถึงร้อยละ 76.5 เชื้อชาติมาเลเซีย ร้อยละ13.8 เชื้อชาติอินเดีย ร้อยละ 8.1 และเชื้อชาติอื่น ๆ ร้อยละ 1.6 ความหนาแน่นของประชากรต่อเนื้อที่ตารางกิโลเมตร ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูงมากกว่าประเทศไทยถึง 40 เท่า

2) ภาษา

สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ อังกฤษ จีน มาเลย์ และภาษาทมิฬ ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นลักษณะผสมระหว่างจีน มาเลเซีย และอินเดีย ภาษาประจำชาติ คือ ภาษามาเลย์ ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษภาษาจีนกลาง และภาษาทมิฬ

3) ศาสนา

ศาสนาที่ประชาชนนับถือมีทั้งศาสนาพุทธ ขงจื้อ เต๋า อิสลาม คริสต์ และฮินดู  ไม่มีศาสนาประจำชาติของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามผู้คนในสิงคโปร์มีอิสระในการนับถือศาสนา นอกจากนี้มีศาสนาอื่นๆ ที่มีผู้นับถือเป็นกลุ่มเล็ก ได้แก่ ศาสนาซิกซ์ ศาสนายิว

1.4 สภาพสังคมและวัฒนธรรมสิงคโปร์

สิงคโปร์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีคนจากหลากหลายเชื้อชาติ เช่น จีน มาเลย์ อินเดีย และลูกครึ่งระหว่างชาวเอเชียและชาวยุโรปมาอยู่ร่วมกันอย่างสงบและไม่มีปัญหาขัดแย้งเรื่องชนชาติระหว่างกัน โดยที่ทุกเชื้อชาติยังดำรงไว้ซึ่งวิถีการดำเนินชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของตนไว้อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ในสิงคโปร์ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติมากถึง 90,000 คน ที่เข้ามาอยู่อาศัยและทำงาน ซึ่งคนเหล่านี้ได้เข้ามาเผยแพร่ขนบธรรมเนียมและแลกเปลี่ยนแนวความคิดกับคนในประเทศ

          1.5 สีประจำชาติ

สีประจำชาติสิงคโปร์ คือ สีแดง-ขาว ซึ่งสีแดงหมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล

 

1.6 วันชาติสิงคโปร์

วันชาติสิงคโปร์ ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม 1965 ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึง ตัดสินใจที่จะแยกตัวออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1965 และประกาศตั้งชาติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1965 ท่ามกลางสถานการณ์การสู้รบที่แหลมคม ระหว่างคอมมิวนิสต์กับจักรวรรดินิยม  

 

1.7 ตราแผ่นดิน


คำขวัญ: Majulah Singapara (สิงคโปร์ จงเจริญ)

1.8 ธงชาติสิงคโปร์

ธงชาติสิงคโปร์เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ธงนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงคโปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่  9 สิงหาคม พ.ศ.2508

ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ในธงชาติ อันได้แก่ สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

1.9 การเมืองและการปกครอง

ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่เดิมสิงคโปร์เคยอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษและเป็นรัฐหนึ่งของมาเลเซีย ต่อมาปี พ.ศ. 2506 – 2509 ได้แยกตัวออกมา ปัจจุบันมีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทั้งประธานาธิบดีและคณะรัฐบาลอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สถานการณ์ทางการเมืองสงบเรียบร้อย มีความมั่นคงทางการเมืองจึงทำให้คนต่างชาตินำเงินเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก

2. ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ซึ่งทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจจัดวางแนวทางการสอนและการประเมินผล และควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ดำเนินการสม่ำเสมอทำให้สถานศึกษามีคุณภาพทัดเทียมกัน รัฐบาลให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า รัฐบาลสิงคโปร์ใช้งบประมาณถึง 1 ใน 4 ของงบประมาณพัฒนาประเทศทั้งหมดเพื่อการศึกษา พัฒนาและดำเนินการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนในระดับประถมและมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์มีเฉพาะในระดับอนุบาลและโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น

ปีการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี ช่วงระหว่างภาคเรียนที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 กับที่ 4 จะมีการหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 กับที่ 3 หยุด 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุด 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา โดยระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.1 การศึกษาก่อนวัยเรียน

การศึกษาก่อนวัยเรียน ได้แก่ การศึกษาในชั้นอนุบาลและการดูแลเด็กโดยศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยจะรับนักเรียนอายุ 3-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในสิงคโปร์จะมีกระทรวงศึกษาธิการควบคุม และมีมูลนิธิของชุมชน หน่วยงานทางศาสนา และองค์กรทางธุรกิจและสังคมทำหน้าที่บริหาร

โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะทำการเรียนการสอน 5 วันต่อสัปดาห์ และแบ่งการเรียนเป็นสองช่วงในแต่ละวัน ช่วงหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งถึง 4 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะสอนโดยใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่สอง ยกเว้นในโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนหลักสูตรต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสอนในสิงคโปร์

2.2 การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี และระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์ ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น (นักเรียนจะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย) ตามเชื้อชาติของตนเอง) และวิชาเสริม อันได้แก่ ดนตรี ศิลปหัตถกรรม สุขศึกษา และสังคมศึกษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาปี ที่ 3 เป็นต้นไป และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวนักเรียนและทดสอบความถนัดของนักเรียนให้ ตรงกับแผนการเรียนในระดับมัธยม

1) ประถมศึกษา นักเรียนทุกคนในสิงคโปร์จะต้องใช้เวลาเรียน 6 ปี ในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการเรียนชั้นประถมต้น (foundation stage) 4 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้นประถมปลาย (orientation stage) อีก 2 ปี ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 นักเรียนทุกคนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) ให้ผ่านเพื่อจบการศึกษาระดับประถม

2) มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์มีหลายรูปแบบ ทั้งที่ให้ทุนทั้งหมดโดยรัฐบาล หรือเพียงส่วนเดียว หรือนักเรียนเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด การศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้น จะมี 3 หลักสูตรให้เลือกตามความสามารถ และความสนใจ โดยใช้เวลา 4-5 ปี หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรพิเศษ   (Special Course) หลักสูตรเร่งรัด  (Express Course) หลักสูตรปกติ    (Normal Course) โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษ (Special และ Express) จะใช้เวลาเรียนเพียง 4 ปี ขณะที่นักเรียนในแผนการเรียนปกติ (Normal) จะใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษจะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Ordinary’ (GCE ‘O’ Level) เมื่อเรียนครบ 4 ปี ส่วนนักเรียนหลักสูตรปกติที่ใช้เวลาเรียน 5 ปีนั้น จะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Normal’ (GCE ‘N’ Level) เมื่อถึงปีที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะสามารถสอบ GCE ‘O’ Level เมื่อเรียนจบปีที่ 5

หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาประกอบด้วย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาแม่ (จีน มาเลย์ หรือทมิฬ) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในสิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่าทำให้นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน

2.3 เตรียมอุดมศึกษา (Junior College) หรือ สถาบันกลางการศึกษา (centralized institute)

เมื่อนักเรียนสอบ GCE ‘O’ Level ผ่านได้แล้ว นักเรียนสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมศึกษาเป็นเวลา 2 ปี หรือศึกษาที่สถาบันกลางการศึกษา (centralized institute) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย เตรียมอุดมศึกษาและสถาบันกลางการศึกษาจะสอนทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวให้นักเรียนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ หลักสูตรหลักแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ วิชาความรู้ทั่วไป (General Paper) และภาษาแม่ เมื่อเรียนจบเตรียมอุดมศึกษานักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Advanced’ (GCE ‘A’ Level) โดยเลือกวิชาสอบสูงสุดได้ 4 วิชา จากวิชาในหมวดศิลปะ วิทยาศาสตร์และธุรกิจการค้า

2.4 โพลีเทคนิค (Polytechnics)

โพลีเทคนิคสร้างขึ้นเพื่อเปิดหลักสูตรการอบรมที่หลากหลายให้แก่นักศึกษาที่ต้องการพัฒนาฝีมือในระดับประกาศนียบัตร และอนุปริญญา ในขณะนี้มีโพลีเทคนิค 5 แห่งในสิงคโปร์ ได้แก่ 1) Nanyang Polytechnic 2) Ngee Ann Polytechnic 3) Republic Polytechnic 4) Singapore Polytechnic 5) Temasek Polytechnic สถาบันเหล่านี้มีหลักสูตรการสอนมากมายที่มุ่งเน้นให้สามารถไปประกอบอาชีพในอนาคต เช่น วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การสื่อสารมวลชน การออกแบบดีไซน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรเฉพาะทางอย่างเช่น การวัดสายตา วิศวกรรมทางทะเล การศึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือ พยาบาล การเลี้ยงดูเด็กอ่อน และการทำภาพยนตร์ ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาในจากโพลีเทคนิคเป็นที่นิยมของบริษัทต่างๆ เพราะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่โลกเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่

2.5 สถาบันเทคนิคศึกษา (Institute of Technical Education – ITE)

สถาบันเทคนิคศึกษาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาและต้องการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและความรู้ทางอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ นอกจากโปรแกรมฝึกอบรมเต็มเวลาสำหรับนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาแล้ว และยังมีโปรแกรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกด้วย

2.6 การศึกษาในระดับอุดมศึกษา (Universities)

มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง ได้แก่ 1) National University of Singapore (NUS) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1905 เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมานาน เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมาย ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ และแพทยศาสตร์ 2) Nanyang Technological University (NTU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1981 เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนและการวิจัยด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ต่อมาได้ร่วมกับวิทยาลัยครู หรือ สถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute Education – (NIE) เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาการบัญชี บริหารธุรกิจและสื่อสารมวลชน 3) Singapore Management University (SMU) มหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งได้ผลิตนักศึกษาปริญญาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2000 โดยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแต่บริหารจัดการแบบเอกชน เน้นการเรียนการสอนด้านธุรกิจการจัดการ

นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยนานาชาติในสิงคโปร์ โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกของต่างประเทศได้ตั้งวิทยาเขต (สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา) หรือมีความร่วมมือ/หลักสูตรร่วม กับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์ (ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์) โดยแบ่งเป็น มหาวิทยาลัยนานาชาติที่มีวิทยาเขตอยู่ในสิงคโปร์ และ มหาวิทยาลัยนานาชาติชั้นนำที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์

1) สถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำที่มีวิทยาเขตอยู่ในสิงคโปร์ ได้แก่

INSEAD

http://www.insead.edu/

มหาวิทยาลัยชิคาโก Graduate School of Business http://chicagogsb.edu/visit/singapore/

Duke

http://www.gms.edu.sg/themes/gms_home/theme.html

SP Jain Centre of Management

http://www.spjain.org/

ESSEC

http://www.essec.edu/essec-business-school/management-authorities/essec-asian-center

สถาบันเทคโนโลยี Digipen

http://www.digipen.edu/main/Singapore

มหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส (UNLV)

http://www.unlv.edu.sg/

New York University Tisch School of the Arts Asia

2) มหาวิทยาลัยนานาชาติชั้นนำ ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์

มหาวิทยาลัย Johns Hopkins

http://www.bms.jhmi.edu/sin/default.htm

สถาบันเทคโนโลยี Georgia

http://www.tliap.nus.edu.sg/

สถาบันเทคโนโลยี Massachusetts (MIT)

http://web.mit.edu/SMA/

The Wharton School แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania  http://www.research.smu.edu.sg/wsrc/

Design Technology Institute

http://www.dti.nus.edu.sg/home/index.htm

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเยอรมัน

http://www.gist.edu.sg/

มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง  http://www.nbs.ntu.edu.sg/Programmes/Graduate/sjtu-mba.asp

มหาวิทยาลัย Stanford

http://www.ntu.edu.sg/cee/ssp/

มหาวิทยาลัย Waseda

http://www.waseda.ntu.edu.sg/

สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย บอมเบย์  http://www.eng.nus.edu.sg/eir/news/index.php?id=109

School of Law แห่งมหาวิทยาลัย New York

http://www.nyulawglobal.org/students/NationalUniversityofSingapore.htm

มหาวิทยาลัย Cornell

http://www.cni.ntu.edu.sg/

นอกจากนี้มหาวิทยาลัย National University of Singapore และมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ก็มีหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษามากกว่า 16 แห่งทั่วโลก เช่น มหาวิทยาลัย St. Gallen (สวิสเซอร์แลนด์), มหาวิทยาลัย Beijing University for Chinese Medicine, ESIEE (ฝรั่งเศส), มหาวิทยาลัย Australian National University, มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (ออสเตรเลีย), มหาวิทยาลัย University of Illinois Urbana-Champaign (สหรัฐฯ), UCLA Anderson School of Management (สหรัฐฯ), Ecole Superieure d’Electricite (Supelec) (ฝรั่งเศส), มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (จีน), Karolinska Institutet (สวีเดน), University of Basel (สวิสเซอร์แลนด์), มหาวิทยาลัย Technical University of Denmark, King’s College London, มหาวิทยาลัยชิงหัว (จีน), Universite Pierre Et Marie Curie, Universite Paris Sud and the French Grandes Ecoles รวมถึงสถาบันการศึกษาเฉพาะทางต่างประเทศ (Foreign specialised institutes) ได้ตั้งวิทยาเขตในสิงคโปร์หรือร่วมมือกับวิทยาลัยโพลีเทคนิคของสิงคโปร์ ซึ่งทำให้นักเรียนในวิทยาลัยโพลีเทคนิคสามารถได้รับปริญญาในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ หลังจากที่เขาได้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาจากวิทยาลัยโพลีเทคนิคแล้ว

ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ สามารถสรุปได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

3. ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

          3.1 วิสัยทัศน์ทางการศึกษาของสิงคโปร์

กรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของสิงคโปร์ที่สร้างขึ้นเพื่อเตรียมประเทศให้พร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ 4 อย่างที่สัมพันธ์ต่อกัน ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์เพื่อประเทศชาติโดยรวม (2) วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษาของชาวสิงคโปร์ (3) วิสัยทัศน์เพื่อเปลี่ยนแปลงโรงเรียน และ (4) วิสัยทัศน์เพื่อสร้างความร่วมมือ ซึ่งก็คือชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง

การหลอมรวมวิสัยทัศน์เหล่านี้เองที่จะใช้เป็นหลักประกันที่จะทำให้แนวทางการเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์นี้กลายเป็นแบบอย่าง วิสัยทัศน์เหล่านี้จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแนวปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนช่วยสร้างมุมมองใหม่ให้ประเทศอื่นนำไปพิจารณาถ้าจะคิดเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ศตวรรษที่  21  กรอบวิสัยทัศน์ทางการศึกษาของสิงคโปร์ดังกล่าว ได้แก่

วิสัยทัศน์ที่  1 วิสัยทัศน์เพื่อชาติ             โรงเรียนนักคิด  ประเทศแห่งการเรียนรู้

วิสัยทัศน์ที่ 2 วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษา        สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น

วิสัยทัศน์ที่ 3 วิสัยทัศน์เพื่อการปฏิบัติ       กลยุทธ์ตึงสลับหย่อน

วิสัยทัศน์ที่ 4 วิสัยทัศน์เพื่อความร่วมมือ     ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1) วิสัยทัศน์ที่ 1: วิสัยทัศน์เพื่อชาติ

โรงเรียนนักคิด  ประเทศแห่งการเรียนรู้คือวิสัยทัศน์อย่างแรกในกรอบความคิดของสิงคโปร์วิสัยทัศน์ที่สำคัญของชาติ         นี้ฝังลึกอยู่ในปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนในสิงคโปร์ทุกแห่ง โดยได้นิยามแผนการอันน่าภาคภูมิใจของทั้งประเทศที่มุ่งสร้างระบบการศึกษาที่ภาคภูมิและเป็นเลิศโรงเรียนนักคิด ประเทศแห่งการเรียนรู้ เป็นวิสัยทัศที่เกี่ยวกับการสร้างชุดทักษะชีวิตที่สำคัญ (การคิด การสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา) สร้างเจตคติ (การทำงานร่วมกัน ความสนใจใคร่รู้) และนิสัย (ความอดทนต่อความไม่ชัดเจน ความเพียรพยายาม) ให้แก่นักเรียน ซึงจะปลูกฝังความคิดเรื่องนวัตกรรมและความกระหายสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญต่อความมั่งคั่งและสวัสดิภาพของบุคคลและประเทศโดยรวม วิสัยทัศน์นี้เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่จุดประกายความหวังให้คนสิงคโปร์

สิงคโปร์มีรูปแบบการปกครองเฉพาะตัวที่เชื่อมความเป็นเมืองรัฐ และประเทศเข้ากัน ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้รัฐบาลสามารถวางแผน ดำเนินการ และสนับสนุนเปลี่ยนแปลงได้อย่างกว้างไกล และช่วยให้เกิดการประสานแผนงาน การดำเนินงาน และการสร้างความเป็นสถาบันได้ในทุกขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลสามารถเพิ่มการสนับสนุนภายในชุมชน โรงเรียน และรัฐ อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลสามารถสร้างภาวะที่จำเป็นซึ่งเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและยั่งยืน

2) วิสัยทัศน์ที่ 2: วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษา

สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น  คือวิสัยทัศน์ที่สองในกรอบความคิดนี้  ซึ่งมีความสำคัญต่อวิสัยทัศน์แรกและตรงกับเป้าหมายของ  “การสอนในแบบที่ช่วยนักเรียนให้เรียนรู้แบบไม่ต้องสอน” วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษานี้เป็นหลักยึดเหนี่ยวในการเปลี่ยนสภาพจากการศึกษานี้ เป็นหลักยึดเหนี่ยวในการเปลี่ยนสภาพจากการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ไปสู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ตามคำจำกัดความของภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่  21  ทักษะแห่งศตวรรษที่  21  ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์  “สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น”  ซึ่งครอบคลุมถึงทักษะใหญ่ ๆ ทั้งหมด  อาทิ  ทักษะหารเรียนรู้และนวัตกรรม ,  ทักษะการทำงาน , ทักษะด้านสารสนเทศ  สื่อ  และเทคโนโลยี , และทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริง (กับครอบครัว  โรงเรียน  ชุมชน  รัฐ  และประเทศชาติ)  สิ่งเกล่านี้เคียงคู่กับวิชาแกนจากสาชาวิชาเดิมด้านต่าง ๆ ละผูกกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่  21  เช่น  จิตสำนึกต่อโลก  ความรู้พื้นฐานทางการเงิน  เศรษฐกิจ  ธุรกิจ  การเป็นผู้ประกอบการ  ความเป็นพลเมืองและสุขภาพและสวัสดิภาพ  วิสัยทัศน์    “สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น”ลองใช้ครั้งแรกในโรงเรียนนำร่อง   TLLM  (Teach  Less, Learn  More  Ignite  School) ซึ่งหน้าที่หลักของโรงเรียนนี้คือเน้นการส่งเสริมความสนใจเรียนรู้อย่างแท้จริง  โรงเรียนนำร่อง   TLLM  มีขนาดต่าง ๆ กัน  ทั้งระดับประถมและมัธยม  ซึ่งถูกกำกับโดยพันธกิจที่กำหนดมาเป็นอย่างดี  การรับนักเรียนในโครงการนำร่องต้องผ่านขั้นตอนในการรับสมัครที่มีการแข่งขันสูงมาก

3) วิสัยทัศน์ที่ 3: วิสัยทัศน์เพื่อการปฏิบัติ

ตึง  หย่อน  ตึง  คือองค์ประกอบที่สามในกรอบความคิดของสิงคโปร์  การปฏิรูปโรงเรียนด้วยเป้าหมาย  “สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น” จะไม่ยั่งยืนหากไม่รู้จักการยืดหยุ่นพอที่จะรับมือกับความต้องการอันหลากหลายของโรงเรียนท้องถิ่นหรือยอมรับเงื่อนไขที่ตายตัว สูตร  “ตึง  หย่อน  ตึง”  เป็นส่วนผสมระหว่างการยึดมั่นในหลักเกณฑ์ส่วนกลาง  (ตึง)  กับการโอนอ่อนตามความจำเป็น  ทรัพยากร  ข้อจำกัด  และลักษณะเฉพาะตัวของโรงเรียนหรือเขตใดก็ตาม  (หย่อน)  หากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ขัดแย้งกับกรอบความคิดทางทฤษฏี  (ตึง)  และไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายที่วางไว้และผลลัพธ์ที่อยากได้ (ตึง)  บรรดาผู้นำของสิงคโปร์ต่างสนับสนุนให้ปฏิบัติโดยยึดตามปรัชญา “ตึง หย่อน ตึง”  แม้จะไม่ได้ระบุโมเดลใดเป็นพิเศษ แต่พวกเขาส่งเสริมความเป็นช่างประดิษฐ์และกระบวนการคิดที่กว้างไกลผ่านกระบวนการ “ตึง หย่อน ตึง”  รวมถึงสนับสนุนกรอบความคิดในการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการสร้างสรรค์ทางความคิดของเจ้าหน้าที่ในแต่ละโรงเรียน

4) วิสัยทัศน์ที่ 4: วิสัยทัศน์เพื่อความร่วมมือ

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional  Learning  Community หรือ PLC) คือองค์ประกอบที่สี่ แนวคิดเรื่องนี้มีรากฐานมาจากงานชิ้นสำคัญของ  ริชาร์ดดูโฟร์  และ  โรเบิร์ด  เอเกอร์  ซึ่งช่วยเติมกรอบความคิดในการเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์ให้สมบูรณ์  โรงเรียนในสิงคโปร์ได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูประดับชาติ  เพื่อให้สามารถทำงานตามแนวคิดเรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้ทรัพยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายโรงเรียนนำร่อง  TLLM  และทีมวางแผนการพัฒนาวิชาชีพภายในโรงเรียนของตน  แม้ว่าชุมชนการเรียนรู้แต่ละแห่งแต่ละแห่งยังไม่พัฒนาเติมที่ในขั้นนี้  แต่ก็มีการตั้งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนนำร่อง  TLLM  ทุกแห่ง  และมีระดับความสำเร็จที่แตกต่างไป

โรงเรียนนำร่อง  TLLM  ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  และมีภาระรับผิดชอบในการแสดงผลการปฏิบัติงานต่อกระทรวงศึกษาธิการ  โดยจะต้องแสดงหลักฐานความก้าวหน้าทุก ๆ ปี  โรงเรียนฯ  ประกอบด้วยทีมเรียนรู้ที่สมาชิกต่างร่วมมือกันแบบพึ่งพาอาศัยเพื่อผลักดันขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การร่วมมือกันทำงานซึ่งเป็นกระบวนการที่ยังไม่สมบูรณ์ในการตอบโต้ความคิดเห็นไปมาในชุมชนแห่งการเรียนรู้  หรือระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้นั้นจะช่วยกันกลั่นกรองจนได้ความคิดที่เป็นสาระสำคัญของกลุ่ม  นักการศึกษาที่เชื่อว่าวาทกรรมทางสังคมมีผลต่อการคิดอันสร้างสรรค์  ยอมรับสิ่งนี้ว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและเห็นด้วยกับแนวคิดและมิตรภาพในการทำงานเป็นทีม  สมาชิกในทีมมุ่งมั่นที่จะนำแนวคิดเรื่องชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปปฏิบัติด้วยความจริงใจ  และท้ายที่สุดขั้นตอนของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงก็จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนและการสอนที่ลึกซึ้งและเป็นแรงดลใจ  สิ่งนี้เองคือจุดเด่นของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น “คลังสมอง” สำหรับการสร้างความแตกต่าง  นำเสนอสิ่งสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่แท้จริง (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์, 2554)

3.2 พันธกิจทางการศึกษาของสิงคโปร์

พันธกิจ (Mission): Moulding the future of our nation เน้นการหล่อหลอมประชากรของชาติเพื่อการพัฒนาชาติในอนาคต

3.3 การประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

1) ข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

จุดแข็งของการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ คือ กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจจัดวางแนวทางการสอนและการประเมินผล และควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ดำเนินการสม่ำเสมอทำให้สถานศึกษามีคุณภาพทัดเทียมกัน นอกจากนี้สิงคโปร์เป็นประเทศที่เห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าที่สุดของสิงคโปร์ ดังนั้นสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญกับการศึกษามาก ซึ่งจะเห็นได้จาก ค่าเล่าเรียนที่ต่ำมากในการศึกษาระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยม เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน โดยสิงคโปร์จัดการศึกษาโดยมองพื้นฐานการตลาดของประเทศที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม เมื่อนำมาผูกติดกับการศึกษา การผลิตบุคลากรจึงคำนึงถึงความสอดคล้องกับตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก สิงคโปร์มุ่งผลิตบุคลากรในระดับ Polytechnic เป็นหลัก ทุกคนที่จบออกมาจะมีงานรองรับและเป็นที่ต้องการของบริษัท และสิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่เห็นความสำคัญของการฝึกอบรม (Training) เป็นอย่างยิ่ง

สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สิงคโปร์มีมุมมองการจัดการศึกษาที่น่าสนใจ เช่น การเลือกที่ตั้งของสถานศึกษาให้เหมาะสมกับการศึกษานั้นๆ เช่น มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดการ (Singapore Management University: SMU) ก็จัดตั้งอยู่ในย่านเศรษฐกิจ (Orchard Road) เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นบรรยากาศของการทำธุรกิจ เห็นการแข่งขันทางการค้าจริงๆ ในการเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและปฏิบัติเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานไปกับการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเล่าเรียนมากขึ้น ฯลฯ นอกจากนั้นการนำห้องสมุดแห่งชาติ (National Library) เข้าไปอยู่ในห้างสรรพสินค้า ถือได้ว่าเป็นเป็นอีกยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะสถานที่เหล่านั้นคือแหล่งรวมของเยาวชน การนำแหล่งความรู้มาไว้ใกล้ๆ จะเป็นการเอื้อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้บริการได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมถึงการคิดที่เป็นระบบ มองทุกอย่างในภาพรวมของสิงคโปร์ ถือเป็นจุดเด่นของประเทศนี้ ตั้งแต่การวางผังเมือง จุดของห้างสรรพสินค้า แนวของรถไฟที่จะวิ่งผ่าน จุดติดตั้งกล้องเพื่อรักษาความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจในสวัสดิภาพ การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับระบบการตลาดของประเทศโดยไม่ละเลยเรื่องทำเลที่ตั้งและการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย สิงคโปร์เป็นประเทศที่ทำให้ผู้ไปเยือนได้เห็นว่าไม่มีทรัพยากรใดจะยิ่งใหญ่และสำคัญไปกว่า “ทรัพยากรบุคคล”

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของประเทศสิงคโปร์ ได้ให้ความสำคัญและได้มีการพยายามให้เกิดปรากฎการณ์ โดยกล่าวถึงวิธีการต่างๆ เพื่อให้ความสมดุลของการประกันคุณภาพ ว่าจำเป็นต้องให้มีคุณภาพ ความเชื่อมั่นและความต้องการความหลากหลายของการศึกษาและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและนวัตกรรมที่รัฐบาลพยาบาลที่จะกระจายอำนาจของตนให้กับ โรงเรียน แต่ในทางกลับกัน การประกันคุณภาพการศึกษาที่ได้รัฐบาลได้กำหนดขึ้น จากโครงสร้างคุณภาพที่เป็นศูนย์ร่วมของการควบคุมของรัฐบาล จากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นี้จะสามารถตรวจสอบผลกระทบดังกล่าวของกลยุทธ์และความท้าทายที่โรงเรียนแถวหน้า ในการนำกระบวนทัศน์ใหม่ของความหลากหลายและนวัตกรรม ในขณะที่ความถึงพอใจของการประกันคุณภาพที่เป็นกุญแจสำคัญหรือปัจจัยสำคัญ คือ โรงเรียน การประเมินตนเอง คุณภาพ นวัตกรรม และความหลากหลาย (Keywords School, Excellence- Self-appraisal, Quality, Innovation, Diversity)

ได้รับเอกราชในปี 1965 ตลอดเวลา 42 ปี มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในด้านของระเบียบวินัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติมีแต่ทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นเขาจึงเร่งเห็นความสำคัญเนื่องจากเป็นทรัพยากรหลัก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความฉลาดและมีนโยบายเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการเจริญเติบโตของประเทศ เพราะนอกเหนือจากมนุษย์แล้วไม่มีแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ในพื้นที่ของประเทศนอกจากแผ่นดินเล็กน้อยแล้วด้านหลังก็เป็นฝังทะเลหรือการทำการเกษตร การดำรงชีวิตส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับองค์กรและการทำงานอย่างหนัก ดังนั้นเขาจึงเร่งเห็นว่าการที่ทำให้มนุษย์มีความฉลาดและมีความสามารถของชาวสิงคโปร์จะทำให้ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วได้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นการชดเชยการขาดแคลนของทรัพยากรธรรมชาติของสิงคโปร์ (รัฐบาล) ให้ความสำคัญในปัจจัยขอมนุษย์ โดยมีนโยบายในการออกแบบให้มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนและ เพื่อเพิ่มศักยภาพรายบุคคลและการสนับสนุนของประเทศ

สถาบันบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้มีการลงทุนในการศึกษา ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างมนุษย์ กำลังการผลิตของสิงคโปร์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตมากขึ้น ดังนั้นจึงการลงทุนในการศึกษาและเป็นยุทธศาสตร์ของชาติที่สำคัญสำหรับแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจสิงคโปร์ได้เริ่มต้น จากพื้นฐานการศึกษาที่ต่ำในปี 1965 ในช่วงระยะเวลาอัตราการอ่านและเขียน ร้อยละ 60 ใน 3 จาก 100 คน ของประชากรในแต่ละไปมหาวิทยาลัย ในวันนี้ 40 ปีต่อมา อัตราการรู้หนังสือของสิงคโปร์ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 94 และหนึ่งในห้าของประชากรแต่ละกลุ่มคนทำให้เรียนในมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นปัญหาในการลงทุนในการศึกษามากในการศึกษา ต้องใช้งบประมาณของรัฐเพื่อการศึกษาของสิงคโปร์เกือบร้อยละ 4 ควรเน้นว่าไม่ใช่เพียงแค่จำนวนเงินที่ต้องมาลงทุนในการศึกษา

แต่ในปัจจุบันเป็นประเทศ ซึ่งได้รับการประสบความสำเร็จในช่วงเวลาที่ผ่านมา ว่าสามารถปรับตัวเองได้ดีกับการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 เพิ่มมากขึ้นในด้านความอยู่รอดของประเทศจะขึ้นอยู่กับประชาชนของพวกเขา ว่าพวกเขาได้เพิ่มความรู้ความสามารถทางด้านการศึกษากันตลอดเวลาในช่วงระยะที่ผ่าน และวิธีการเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก (Drucker, 1993) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ให้ความสำคัญในการแข่งขันทางการศึกษาและเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต จากเวลาที่ผ่านมา การศึกษาในระบบจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ Tharman Shanmugaratnam ได้กล่าวว่า

“เรามีระบบการศึกษาที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่รู้จักกันดีสำหรับระดับสูง ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของเราในทุกหลักสูตร ที่เราได้นำเสนอของประเทศเรา นักเรียนมีจุดมุ่งหมายที่สูงและทำได้ดี โดยการเปรียบเทียบระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่ดีมากที่สุด จะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมาเราได้เริ่มต้น การจัดขั้นตอนระบบการศึกษาของเราที่จะช่วยให้เด็กเตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับความท้าทายของการแข่งขันมากขึ้น และในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคตการศึกษาที่จะพัฒนาขึ้น ขณะนี้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต ซึ่งจะแตกต่างจากที่ผ่านมา ถ้าเราคิดว่าเรากำลังทำสิ่งที่เราต้องทำเพราะมีการทำงานในอดีตที่ผ่านมา จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา”  (Thurman, 2003 cited in Ng, 2007)

สิงคโปร์ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของการศึกษาอยู่ในกลุ่มดีที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามโครงสร้างที่สม่ำเสมอและเข้มงวดเกินไปผลักดันทำให้ชาวสิงคโปร์พัฒนาและเพิ่มความสามารถที่หลากหลาย หากเราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความพยายามสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุคที่มีความหลากหลาย ปรากฏว่าในปัจจุบันการประกันคุณภาพเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ระบบ A strong ที่ส่งเสริมให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ถูกมองว่าเป็นแหล่งสำคัญของความสามารถในการแข่งขันที่จะเก็บรักษาไว้ สิงคโปร์จะหลีกเลี่ยงความแตกต่างในมาตรฐานการศึกษา ระหว่างโรงเรียนสำหรับผู้มีสิทธิพิเศษสำหรับเข้ารับการศึกษาที่จะทำให้บรรลุมาตรฐานระดับสูงของความสามารถ  จึงบรรลุมาตรฐานระดับสูงของความสามารถทำให้มีวงกว้าง ชาวสิงคโปร์ที่เข้าสู่การศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่มีคุณภาพมีสัดส่วนที่มาก ความจริงที่ว่าพื้นฐานของสิงคโปร์ในการทำงานที่ดีที่ช่วยให้สามารถมองไปข้างหน้า สามารถหาช่องว่างที่จำเป็นต้องปิดให้กำหนดทิศทางใหม่และก้าวไปข้างหน้า ด้วยความมั่นใจ (Thurman, 2004 cited in Ng, 2007)

ดังนั้นการประกันคุณภาพกับแนวคิดของมาตรฐานการปฏิบัติงาน และความเป็นเลิศของโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ควบคุมมาตรฐานในการศึกษา คือการดำเนินธุรกิจทุกครั้งและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดภาระผูกพัน โรงเรียนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ปกครองและชุมชนในการจัดหาโปรแกรมที่ดีที่สุดและมีคุณภาพสูงของการศึกษาให้กับนักเรียนของพวกเขา ผู้ปกครองเด็กต้องการโรงเรียนของเขาจะต้องเป็นโรงเรียนที่ดี เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะโรงเรียนดี ผลไม่ว่าจะเป็นในด้านวิชาการหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ทางวิชาการมีประโยชน์ เพราะเขาท้าทาย ให้ความสนใจอย่างเข้มงวดกับสิ่งที่มีประสบความสำเร็จและสิ่งที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น (Ministry of Education, 2000 cited in Ng, 2007) รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญว่าจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายและนวัตกรรมในขณะที่รักษาคุณภาพและมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เป็นความพยายามเป็นอย่างมากของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ความหลากหลายและนวัตกรรม ในขณะเดียวกันก็พร้อมตอบสนองความต้องการของการประกันคุณภาพ

2) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

การประกันคุณภาพการศึกษามามีความสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นมาตรฐานสำคัญที่สุดที่เป็นตัวชี้วัดโรงเรียนที่มีคุณภาพ ระบบคุณภาพมีความครอบคลุมการจัดการประกันคุณภาพ ในปี ค.ศ. 2000 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โรงเรียนมัธยมและคอลเลจจูเนียร์ได้รับการจัดอันดับเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 และผลการจัดอันดับทำให้โรงเรียนเป็นที่รู้จัก โดยผ่านทางสื่อท้องถิ่น มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ได้รับการจัดอันดับตามเกณฑ์หลักไว้ 3 มาตรฐานคือ

(1) นักเรียนที่มีผลโดยรวมในการสอบระดับชาติ

(2) ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนที่มีบันทึกไว้ในระบบการตรวจสอบประสิทธิภาพของนักเรียนที่มีคะแนนกับที่นักเรียนได้รับคะแนนผลสอบแรกเข้าโรงเรียน

(3) การแสดงผลการเรียนของนักเรียนที่มีผลจากการทดสอบแห่งชาติ และอัตราร้อยละของนักเรียน

อย่างไรก็ตามการจัดอันดับดังกล่าว ไม่ได้รับความพอใจจากทุกฝ่ายในประเทศสิงคโปร์จากทีมงานที่ตรวจสอบภายนอก ได้รับการมอบหมายจากกระทรวงการศึกษาในปี ค.ศ. 1997 ได้ชี้ให้เห็นด้านลบของการจัดอันดับโรงเรียน ทำให้รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับการจัดอันดับอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ชี้แจงเกี่ยวกับการจัดอันดับทางวิชาการว่ายังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ เพื่อตัวของคุณเอง ถ้าเราไม่ได้มีการจัดอันดับ คุณภาพสถานศึกษาของคุณ และสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในทุกประเทศที่มีมาตรฐานการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ และเป็นความรับผิดชอบสำหรับโรงเรียน เราสามารถจัดอันดับกับจำนวนของพื้นที่ที่แตกต่าง ในทางตรงกันข้ามหากเราหยุดการจัดอันดับเราจะไม่สามารถตรวจสอบได้เลย

กระทรวงศึกษาธิการได้ออกแถลงการณ์ตามปกติของการออกรายการ ของโรงเรียนที่มีร้อยละ 100 ของนักเรียนของพวกเขาให้คะแนนห้าหรือมากกว่าระดับ – O ผ่านไป มันก็ไม่ได้บอกได้ว่าโรงเรียนมีการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในอัตราร้อยละเท่าไหร่ถึงผ่าน ซึ่งการทำเช่นนี้โฆษกได้กล่าวว่า เพราะต้องการให้เห็นจุดที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาไม่ควรวัดจากผลการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องการจับประเด็นที่มีสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จทั้งระบบที่เป็นที่น่าประทับใจ ทำให้เกิดการแนะนำ School Excellence Model (SEM) ในปี ค.ศ. 2000 ส่วนหนึ่งที่สำคัญความเชื่อในเรื่องของความสำเร็จที่กว้างขึ้นโดยเน้นคุณภาพ ตอนนี้โรงเรียนจะต้องไปประเมินตัวเองโดยใช้รูปแบบใหม่ให้แยกจากการตรวจสอบโรงเรียนแบบดั้งเดิม เมื่อโรงเรียนตรวจดำเนินงานของพวกเขาโดยใช้มาตรการที่ไม่ได้รับทั้งความชัดเจนให้กับโรงเรียน

วิธีการที่ SEM ดำเนินการได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการบรรยายสรุปคุณลักษณะบางอย่างที่สำคัญก่อนที่จะอธิบายเพื่อการประกันคุณภาพในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรม SEM เป็นรูปแบบการประเมินตนเองสำหรับโรงเรียนที่ดัดแปลงมาจากแบบจำลองคุณภาพต่างๆ ที่ใช้โดยธุรกิจองค์กร ได้แก่ ยุโรปมูลนิธิการจัดการคุณภาพ (EFQM) สิงคโปร์รางวัลคุณภาพ (SQA) การศึกษารูปแบบและอเมริกันแบบ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)

SEM มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดให้มีวิธีการระบุวัตถุประสงค์และการวัดจุดแข็งของโรงเรียนและหาพื้นที่สำหรับการปรับปรุง นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการปรับปรุงที่เป็นผลบวก และสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมของโรงเรียน และในที่สุดคุณภาพของระบบการศึกษา การใช้รูปแบบนี้สอดคล้องกับ SQA ที่โรงเรียนสามารถพิสูจน์และอ้างถึงในเกณฑ์มาตรฐานในการจัดอันดับ ในความเป็นจริงตัวเองจากการจัดอันดับของสถาบันระดับชาติ ในด้านเกณฑ์มาตรฐานด้านความเป็นเลิศขององค์กร SEM โดยทั่วไปอธิบายถึงโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำกลยุทธ์การประดิษฐ์และทรัพยากรปรับใช้ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลในการเข้าสู่ระบบ ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงกระบวนการที่เน้นนักเรียนที่มีการกำหนดเป้าหมายและประสิทธิภาพ การติดตามและการจัดการ เหล่านี้สร้างผลลัพธ์ในบุคลากรและค่าตอบแทน ความพึงพอใจของผู้รวม และทั้งผลกระทบที่มีต่อสังคมส่วนร่วมในความสำเร็จของผลการเรียนและความเป็นเลิศ ใน SEM  การดำเนินงานส่งผลไปไกลกว่าความสำเร็จทางวิชาการ ในขณะที่ผลการเรียนของโรงเรียนยังคงเป็นที่สำคัญ ลักษณะของโรงเรียนที่ยอดเยี่ยมตามแนวคิด SEM ได้แก่

(1) ให้การศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นแบบองค์รวม

(2) ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมตามเป้าหมายจะส่งผลให้เห็นเป็นรูปธรรม และการแสดงผลในเชิงบวก

SEM ประกอบด้วย 9 หลักเกณฑ์คุณภาพที่โรงเรียนสามารถประเมิน ได้แก่

(1) ผู้นำ: ผู้นำวิธีการเรียนและความเป็นผู้นำระบบโรงเรียนมีคุณค่ามาก และมุ่งเน้นการเรียนรู้ของนักเรียนและความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและวิธีการที่โรงเรียนที่อยู่ความรับผิดชอบต่อสังคม

(2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์: วิธีการเรียนที่ชัดเจนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มุ่งเน้นทิศทางกลยุทธ์ การพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนทิศทางของโรงเรียน แผนงานและประสิทธิภาพ

(3) เจ้าหน้าที่บริหาร: การศึกษาการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคลากร เพื่อสร้างโรงเรียนที่ดีเยี่ยม

(4) ทรัพยากร: การโรงเรียนจัดการทรัพยากรภายในและหุ้นส่วนภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานของกระบวนการ

(5) กระบวนการที่เน้นนักเรียน: วิธีการออกแบบโรงเรียนดำเนินบริหารจัดการและช่วยปรับปรุงกระบวนการสำคัญที่จะให้การศึกษาแบบองค์รวมและผลงานที่ต่อเนื่องที่ดีของนักเรียน

(6) การบริหารและผลการดำเนินงาน: โรงเรียนคือความสำเร็จให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียน

(7) ผลลัพธ์ บุคลากร: คือความสำเร็จของโรงเรียนเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการพัฒนาและการสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากร

(8) ห้างหุ้นส่วนจำกัด: โรงเรียนจะบรรลุในความสัมพันธ์กับคู่แข่งและชุมชนที่มีขนาดใหญ่

(9) ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ: สิ่งที่โรงเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาแบบองค์รวมของนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบเขตที่โรงเรียนสามารถบรรลุ ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา

เกณฑ์คุณภาพของแต่ละการประเมินใน SEM ต้องใช้หลักดังนี้

(1) วิธีการและระบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดโดยรูปแบบ

(2) การปรับใช้ระบบของวิธีการและระดับของการปฏิบัติ

(3) การประเมินปกติและทบทวนวิธีการและการใช้งาน ตามการติดตามผลและการวิเคราะห์ผลสำเร็จและต่อเนื่องของกิจกรรม

(4) การตรวจหาลำดับความสำคัญของการวางแผนและการดำเนินการปรับปรุงกิจกรรม

(5) ตั้งค่าที่เหมาะสมและประสิทธิภาพการทำงานที่ท้าทายเป้าหมาย

(6) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3 – 5 ปี

(7) การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับโรงเรียนเทียบเคียง

(8) ระบุสาเหตุของผลดีหรือไม่ดี

SEM เป็นระบบการประเมินตนเองซึ่งจะเป็นกลไกสำหรับโรงเรียน ผู้นำในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียน ทีมงานตรวจสอบภายนอกจากกระทรวงศึกษาธิการ ผลการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์เดียวกับประมาณหนึ่งครั้งใน 5 ปี จากการประเมินจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนในการปรับคะแนน เมื่อโรงเรียนมีมาตรฐานทำงานได้ดีกับเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีหลักฐานการนี้รูปแบบการให้คะแนนสำหรับประสิทธิภาพของโรงเรียน นอกจากนี้ยังทำคะแนนได้ดี โรงเรียนมีคุณภาพ ที่สำคัญยังมีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานทำให้ส่งผลเป็นข้อมูลในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการวิเคราะห์อย่างมีแนวโน้มที่ดี

SEM เป็นแผนแม่บทสำหรับโรงเรียน ดังนี้

(1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับรางวัลของโรงเรียนประจำปี เป็นความสำเร็จที่เป็นปัจจุบัน

(2) รางวัล Best Practices (BPA) ซึ่งตระหนักถึงโรงเรียนที่มีคะแนนดีในประเภทรางวัลอย่างยั่งยืนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (SAA) ซึ่งตระหนักถึงโรงเรียนที่มีคะแนนดีอย่างยั่งยืนใน “ผลลัพธ์” เป็นรางวัลที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศโรงเรียน (SEA) ซึ่งจะทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียง

3) ความท้าทายของการประกันคุณภาพในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรมในประเทศสิงคโปร์    (Challenges of quality assurance in an era of diversity and innovation)

(1) แฝงความตึงเครียดในแนวทางการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง

รัฐบาลได้กล่าวย้ำความตั้งใจในการกระจายอำนาจ อำนาจของตนออกมาในรูปแบบการควบคุมโดยตรง เพื่อเพิ่มเติมการควบคุมดูแลในระยะไกล นี้มีขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับความหลากหลายและนวัตกรรมในระบบโรงเรียนมีอิสระเพิ่มขึ้น ผู้นำโรงเรียนและครูผู้สอนมีอำนาจ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนเพื่อตอบสนองนักเรียน มี 3 รูปแบบหลักของการกระจายอำนาจ คือ

(1.1) การโอนงานและการทำงาน แต่ไม่มีอำนาจไปยังหน่วยงานอื่นในองค์กรนั้น

(1.2) คณะผู้แทนเกี่ยวข้องกับการโอนอำนาจในการตัดสินใจจากที่สูงที่ต่ำกว่า

(1.3) หน่วยลำดับชั้น แต่ละอำนาจที่สามารถถอนได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วย การตกทอดมาเป็นมรดก หมายถึงการโอนอำนาจไปยังหน่วยงานในกำกับของรัฐที่สามารถทำหน้าที่อิสระหรือหน่วยงานที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน

ในขณะที่ทั้ง 3 รูปแบบของการกระจายอำนาจได้รับการปฏิบัติในสิงคโปร์ระบบการศึกษา ความพยายามของรัฐบาลปัจจุบันในระบบการศึกษา สามารถอธิบายได้มากขึ้นอย่างถูกต้องตามรูปแบบของการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง รัฐบาลพยายามที่จะกระจายอำนาจและให้อิสระตกมาอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับโรงเรียน ในทางกลับกันจะมีความเสี่ยงจากการลดควบคุมมาตรฐานการศึกษา เมื่อรัฐบาลมีน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีระบบการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ระบบดังกล่าวจะป้องกับการสูญเสียของการควบคุม และความคล่องตัวในการสื่อสารและสิทธิการพิจารณาการบริหารจัดการ ระบบของตัวชี้วัดประสิทธิภาพและการประเมินคุณภาพการศึกษามั่นใจมากขึ้น ความรับผิดชอบและการตอบสนองในการควบคุมส่วนกลาง

ดังนั้นในสิงคโปร์ มีการกระจายอำนาจไม่เพียงเกี่ยวกับการพลิกอำนาจและผู้มีอำนาจ รัฐบาลยังคงดำเนินการเพื่อให้บรรลุความรับผิดชอบที่ดีของชาติ และผลที่มีตอบแทนสูงสำหรับการให้ค่าตอบแทนประชาชน ดังนั้นความหลากหลายที่หวังที่จะพัฒนาเป็นความหลากหลายของหมายถึงการไม่สิ้นสุด ให้เศรษฐกิจของประเทศ กลยุทธ์การทำงานของโรงเรียนจะต้องมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของชาติ พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในประเทศสิงคโปร์ จึงเน้นการตรวจสอบได้และมาตรฐาน ดังนั้นสิ่งที่โรงเรียนกำลังประสบแนวโน้มอยู่ในกระบวนทัศน์การกระจายอำนาจ เพิ่มเติมการกระจายอำนาจของเรื่องยุทธวิธีมากกว่าการรวบอำนาจของเส้นทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ความประสงค์ที่จะรักษาและส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพสูง และเพื่อโรงเรียนช่วยให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะกระจายการลงทุนและสร้างสรรค์นวัตกรรมอื่นๆ นี่คือเรื่องที่ท้าทายที่จะให้บรรลุทั้งภาครัฐและโรงเรียน

ในยุคของการกระจายอํานาจความหลากหลายและนวัตกรรมนักศึกษาจะได้รับ เพื่อปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา และต้องกล้าที่จะทดสอบและรับความเสี่ยง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากการคิดนอกกรอบและหาเส้นทางของตัวเองและทำลายพรมแดน แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบวนทัศน์ในการรวมอำนาจยังคงแข็งแกร่งมาก การประกันคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานความต้องการของบางอย่างและความสำเร็จของการปฏิบัติ ตัวชี้วัด ปัจจัยพื้นฐานบางตัวเช่นการตรวจสอบ การปรับเปลี่ยน และคงความทันสมัย

(2) การแข่งขัน

แม้ว่าการศึกษาอาจไม่ใหม่ในสิงคโปร์ มาโดดเด่นมากขึ้นในยุคของการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง

(2.1) บทบาทของรัฐช้า อาจคิดค้นเพื่อหาวิธีทำให้ผู้รับบริการแทนผู้ให้บริการเช่นเดียวกับในอดีต

(2.2) โรงเรียนจะต้องทำงานมากขึ้น เช่น สถานประกอบการขององค์กรแข่งขันกันในการหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความมีชื่อเสียงในประเทศ และทั่วโลกแม้กระทั่งตลาดการศึกษา การแข่งขันสูงและต้องได้รับการปรับปรุงในขณะที่ในทฤษฎี SEM สามารถประเมินตนเองและการปรับปรุงในแบบรวมศูนย์

กระบวนทัศน์การกระจายอำนาจผู้นำโรงเรียนอาจจะยังคงรูปแบบการตีความหมายเป็นหนึ่งสำหรับการควบคุมและการพิจารณา ซึ่งจะมีผลต่อการแข่งขันของโรงเรียนของพวกเขา และพวกเขาเองร่วมงานรับรัฐบาล จึงจำเป็นต้องได้คะแนนดี อาจกล่าวว่ารางวัลและการประกันคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่การแข่งขันอาจมีผลข้างเคียง

ในปีล่าสุดหนังสือพิมพ์ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ของโรงเรียนลดลง การแข่งขันกีฬาบางชนิดไม่เข้าร่วมกิจกรรมในหลักสูตร เพื่อที่จะมุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มของพวกเขาการแข็งแรงที่พวกเขามีโอกาสมากขึ้นเพื่อสะสมผลและต้องการชนะรางวัล อื่นๆ ได้เขียนในหนังสือพิมพ์และแปลกใจ บางโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นที่สนใจมากขึ้นในการแข่งขันสำหรับรางวัลที่ให้มา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสมรรถภาพทางกาย และระดับต่ำของโรคอ้วนในนักเรียนของพวกเขา หรือสมรรถภาพทางด้านกายที่เกิดขึ้นจริงของนักเรียน ตอนนี้การเข้าร่วมของโรงเรียนในกิจกรรมร่วมหลักสูตร (CCA) รวมทั้งเป็นสถิติสมรรถภาพทางกายของพวกเขาแสดงต่อสาธารณะ ในความสำเร็จของพวกเขาในพื้นที่อื่นๆ เช่น การศึกษาแห่งชาติและการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับครูและเด็กนักเรียน ความตั้งใจเป็นที่เข้าใจก็คือการพัฒนานักเรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ รางวัลที่ได้รับเป็นผลพ่วง เหล่านี้มีความเปลี่ยนแปลง จากการครอบงำความคิด และเกรดการครอบงำจิตใจด้วยการชนะรางวัลอื่นๆ ทั้งหมดเช่นกัน

จากที่กล่าวมาจึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่าการใช้ SEM อาจส่งผลให้ในบางโรงเรียนใช้มากขึ้น กลยุทธ์การแอบแฝงเดียวกับที่พวกเขาได้ใช้ในเวลานี้ ของกระบวนการและกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโรงเรียนของพวกเขา ประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพที่ได้รับการประเมินเป็นไปได้ด้วยดี ตัวอย่างเช่น ครูใหญ่ลดกิจกรรมร่วมหลักสูตรที่มีอยู่ เพื่อที่จะมุ่งเน้นทรัพยากรของโรงเรียนที่มีต่อกิจกรรมเหล่านั้น ที่มีการพิจารณาเพิ่มเติม มีผลในแง่ของรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน

ดังนั้น SEM อาจจะหันไปยังรูปแบบของการจัดอันดับของโรงเรียนอื่น วัตถุประสงค์และความหมายเดิมของมันหายไปในการแข่งขัน การเพิ่มจำนวนของชนิดของรางวัลที่ได้รับก็สามารถเพิ่มจำนวนของข้อมูลสำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน

(3) รางวัลกับนวัตกรรม

SEM เป็นระบบของรางวัลให้กับโรงเรียนตามเกณฑ์ที่กว้าง รวมทั้งเพิ่มการปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กร และความสำเร็จในการกีฬา และศิลปะ ในทางทฤษฎีรางวัลมีขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพในพื้นที่ที่แตกต่างกันและรูปแบบที่แตกต่างกันเฉลิมฉลองความเป็นเลิศ อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมการแข่งขันรางวัล นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อไปนี้แสดงให้เห็นตารางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปี 2004

โรงเรียนชั้นนำในสิงคโปร์มีภาวะของตัวเองที่เข้มแข็ง เป็นระบบการการควบคุมต้นเอง ที่สามารถให้อยู่ในระบบได้อย่างมีคุณภาพและให้ตรงตามมาตรฐาน ในสภาพแวดล้อมการที่มีแข่งขันสูง รางวัลเป็นเครื่องมือการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นใจของลูกค้าของคุณภาพ แต่ในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรมในโรงเรียนดังกล่าวข้างต้น เป็นหนึ่งสิ่งในกิจการนอกเหนือจากที่ได้รับการยอมรับโดยระบบการประกันคุณภาพเป็นมาตรฐาน  ความเข้มข้นในระบบใหม่บางครั้งอาจใช้การไม่ได้ โดยต้องที่จะต้องมีรางวัลที่เคยได้รับหรือประวัติการได้รับรางวัลในพี่ก่อนๆ นั้น ดังนั้นจึงมีความตึงเครียดระหว่างการแสวงหาความหลากหลายและนวัตกรรมและระบบที่มีอยู่

(4) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ

แหล่งที่มาของความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นว่าใน โรงเรียนควรมีมาตรฐาน เพื่อแทนคำว่า ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของ SEM ต้องใช้ความสำเร็จของตัวชี้วัดดังกล่าวและการมีหลักฐาน SEM เป็นระบบวินิจฉัยที่ดีสำหรับการประเมินตนเองและข้อมูลสำหรับการปรับปรุง และอาจจะควบคู่ไปกับการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพที่เหมาะสมตามกรอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมนวัตกรรมล้ำยุค ในทางปฏิบัติเพื่อให้คะแนนที่ดีใน SEM หลายๆ คนอาจจะเก็บรวบรวมข้อมูลและการเขียนรายงาน รายงานอาจจะควบคู่โดยการติดตามผลการดำเนินการ เพราะจากการปรับปรุงและนวัตกรรม SEM เน้นการเปรียบเทียบ แต่ในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรม โรงเรียนที่แตกต่างกันจะมีบริบทที่แตกต่างกันมาก การเปรียบเทียบหากไม่ได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมอาจจะไม่มีความหมายและสามารถเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาที่แท้จริงอาจเกิดเหตุการณ์พยายามที่จะเลียนแบบอื่นๆ ของสถานศึกษาลักษณะเดียวกัน และปฏิบัติให้ดีที่สุดที่อาจไม่เหมาะสมกับบริบทใหม่

ปัญหาอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้นำโรงเรียนมีขาดความตระหนัก มักจะรวมความแข็งแกร่งของโรงเรียนมองข้ามขั้นตอนการประเมินตนเองที่โรงเรียนสามารถปฏิบัติ เมื่อจัดตั้งระบบของตนเองได้ สามารถขับเคลื่อนด้วยความต้องการในการปรับปรุงคะแนน SEM เน้นอยู่

พื้นที่สำหรับการปรับปรุงในบางครั้ง ผ่านผู้นำเพื่อความแข็งแกร่งของโรงเรียนและการใช้ประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพของจุดแข็งเหล่านี้

ดังนั้นในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรมความท้าทาย คือ การหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพ แม้จะมีความต้องการที่มีคุณภาพการรับรอง ซึ่งสามารถกระทำด้วยความสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่กระทำได้อยาก

(5) โรงเรียนแกนนำ

ความท้าทายคุณภาพและนวัตกรรมใหม่ จึงเป็นที่เรียกร้องสำหรับผู้นำโรงเรียนส่งผลสะท้อนกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ผู้นำโรงเรียนมากมายมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วจากกระบวนทัศน์ของ ‘คำสั่ง’ ที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่ให้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินตนเองและนวัตกรรม ในขณะที่ความต้องการคุณภาพที่น่าพอใจ บางครั้งอาจปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว แต่คนอื่นอาจแข็งขันกันในระหว่างการดำเนินการ

กรอบที่มีคุณภาพต้องมีทักษะที่พบไม่ได้บ่อยครั้ง แม้ในอุตสาหกรรมและภาคการค้า จริงยังไม่พบในแบบแผนที่สมบูรณ์ โรงเรียนชั้นนำตอนนี้จะต้องเป็นนักคิดระบบ การเปลี่ยนแปลงและผู้นำ โรงเรียนชั้นนำการฝึกอบรม ศิลปะและการเตรียมความพร้อมเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพ และต้องเป็นระบบประกันคุณภาพที่มีมาตรฐาน สามารถวัดและประเมินผลได้ ที่สำคัญตอนนี้โรงเรียนชั้นนำมีอิสระในบ้างขั้นตอนที่พวกเขาสามารถจะปฏิบัติให้โรงเรียนของพวกเขาเป็นโรงเรียนแถวหน้า ว่าอะไรเป็นแบบแผนที่ดีเยี่ยมของโรงเรียนมีอะไรบ้าง ของพวกเขาคิดอย่างไร ปรัชญาการศึกษาคืออะไร  สิ่งที่ผู้นำเชื่อว่าในโรงเรียนจะพัฒนารูปแบบของโรงเรียนของพวกเขาให้เป็นโรงเรียนแห่งคุณภาพ

เมื่อเร็วๆ นี้ด้วยการจำลองข้อมูลทางธุรกิจและปรัชญาของผู้นำโรงเรียนมี เพื่อตรวจสอบสำหรับโรงเรียนที่เป็นเลิศ ในสิ่งที่นำแนวคิดต่างๆ เช่น ความหลากหลายและนวัตกรรมจริงๆ ในการศึกษา ตัวอย่างเช่น โรงเรียนอาจเป็นโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม โดยไม่ต้องเก็บรวบรวมหลักฐานของความยอดเยี่ยมของโรงเรียน โรงเรียนสามารถทำทุกสิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่สามารถประมวลทุกความเป็นเลิศสำหรับการแสดงข้อมูล โรงเรียนสามารถใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม และเป็นที่รู้จักกันสำหรับครูผู้สอนดูแลและปลูกฝังค่านิยม รวมกับโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าหน้าที่และนักศึกษา โดยพูดถึงของ ‘นวัตกรรม’ เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นและกระตุ้นครูให้กระตือรือร้นในการเรียนการสอนให้มีการปรับปรุง ในทางการศึกษาเพื่อสะท้อนให้เห็นจริงจากการทำงานของระบบอาจเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเป็นจุดประสงค์หลักของการศึกษาที่ต้องทำรวมกัน และในอนาคตสามารถนำเสนอถึงนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการทางด้านการศึกษา โดยคำนึงถึงคุณลักษณะและความละเอียดอ่อนของการศึกษาที่ปลูกฝั่งในความสัมพันธ์ของมนุษย์มากกว่าในระบบและกระบวนการ มันยากที่จะปฏิบัติ แต่เป็นที่น่าจับตามองของครูที่ให้การดูแลและบทบาทต่างๆ ของครู ในการสร้างแบบจำลองของพวกเขาเอง ชีวิตประจำวัน นวัตกรรมไม่อาจควบคุม แต่มันอยู่ในส่วนลึกของจิตใจว่าอยู่ด้วยคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากจิตสำนึก ฉะนั้นแทนที่จะมีนวัตกรรมความหลากหลายและมีแนวคิดที่เป็นทิศทางเดียวกัน คุณภาพสำหรับโรงเรียนที่มีมาตรฐานขั้นสูง คือ มีปัญหาทางวัฒนธรรมที่ซ้ำซ้อนกับการแก้ไขปัญหาในรูปแบบของธุรกิจ ผู้นำโรงเรียนมีความไว้วางใจกับการตัดสินของพวกเขาในความรับผิดชอบและทำในโลกที่มีมาตรการ

(6) ข้อสรุป

การประกันคุณภาพในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรม เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนแลความตึงเครียดในตัวของระบบการประกันคุณภาพเอง กรณีของประเทศสิงคโปร์แสดงให้เห็นว่ารัฐบาล ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่ดีที่สุดในโลกของกลยุทธ์ เป็นที่น่าจับตามอง พร้อมเฝ้ามองสิงคโปร์ ว่าสามารถดำเนินการต่อเกี่ยวกับเรื่องของการส่งเสริมความหลากหลายและนวัตกรรมในการศึกษา ขณะที่ยังคงสูงคุณภาพและความมุ่งมั่นที่ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ ในเรื่องอันดับต้นๆ ของประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์ (ผู้แปล) Fogarty, R. & Pete, B. M. (ผู้แต่ง). (2554) ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: openworlds.

Ng, P. T. (2007). Quality assurance in the Singapore education system in an era of diversity and innovation. Educational Research for Policy and Practice, 6(3), October 2007, 235-247.

Drucker, P. F. (1993). Post-capitalist society. New York: Harper Business.

[Update] บทความด้านการศึกษา บริหารจัดการศึกษา | การ ศึกษา สิงคโปร์ – NATAVIGUIDES

ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

Singapore Educational Quality Assurance

 

1. ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์

          1.1 ข้อมูลทั่วไป

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่สงบและสะอาด เนื่องจากกฎหมายของประเทศค่อนข้างเข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรง ดังนั้นประชาชนชาวสิงคโปร์จึงเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายกันอย่างเคร่งครัด ทำให้บ้านเมืองปราศจากอาชญากรรมและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินค่อนข้างสูง สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางธุรกิจการค้าสูงและยังเป็นศูนย์กลางแห่งธุรกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญ

1.2 สภาพภูมิศาสตร์ อากาศ เวลา และแผนที่

1) ภูมิประเทศ

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore) ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรอยู่ทางทิศใต้ของประเทศไทยต่อจากประเทศมาเลเซีย โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปร์ คือ 136.8 กิโลเมตร เหนือเส้นศูนย์สูตรโดยตั้งอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก กับเส้นแวงที่ 104 องศา 06 ลิปดาตะวันออก สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์ประกอบด้วยเกาะหลักหนึ่งเกาะ และเกาะขนาดเล็กล้อมรอบอีก 63 เกาะ เกาะหลักมีเนื้อที่พื้นดินรวม 682 ตารางกิโลเมตร และด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งติดฝั่งทะเลทั้ง 3 ด้าน ซึ่งอยู่ตรงกลางสี่แยกของโลก คือ ทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโอร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์  ที่ตั้งนี้ส่งผลความได้เปรียบมีส่วนผลักดันให้สิงคโปร์เติบโต จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า การสื่อสาร และการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก

2) ภูมิอากาศ

สิงคโปร์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศและพืชพรรณธรรมชาติแบบร้อนชื้น แต่ได้รับอิทธิพลจากลมทะเลจึงช่วยให้มีอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจึงไม่ต่างกันมากนัก สภาพอากาศของสิงคโปร์ เป็นแบบอบอุ่นและชื้นตลอดปี ความชื้นในช่วงกลางวันประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ และ 95 เปอร์เซ็นต์ในช่วงกลางคืน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 23-33 องศาเซลเซียส มีแดดตลอดปีและฝนตกเป็นครั้งคราวโดยเฉพาะช่วงปลายปี โดยเฉลี่ยแล้วในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม เป็นช่วงที่ร้อนน้อยที่สุด เนื่องจากฝนตกชุก ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด และเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่แดดจ้ามากที่สุด

3) เวลา
สิงคโปร์เวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

 

 

4) แผนที่

 

1.3 ลักษณะประชากรและเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา

1) ประชากรและเชื้อชาติ

ประชากรหนาแน่นสุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจำนวนประชากรประมาณ 4.24 ล้านคน (2547) ส่วนใหญ่เป็น เชื้อชาติจีน ถึงร้อยละ 76.5 เชื้อชาติมาเลเซีย ร้อยละ13.8 เชื้อชาติอินเดีย ร้อยละ 8.1 และเชื้อชาติอื่น ๆ ร้อยละ 1.6 ความหนาแน่นของประชากรต่อเนื้อที่ตารางกิโลเมตร ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูงมากกว่าประเทศไทยถึง 40 เท่า

2) ภาษา

สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ อังกฤษ จีน มาเลย์ และภาษาทมิฬ ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นลักษณะผสมระหว่างจีน มาเลเซีย และอินเดีย ภาษาประจำชาติ คือ ภาษามาเลย์ ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษภาษาจีนกลาง และภาษาทมิฬ

3) ศาสนา

ศาสนาที่ประชาชนนับถือมีทั้งศาสนาพุทธ ขงจื้อ เต๋า อิสลาม คริสต์ และฮินดู  ไม่มีศาสนาประจำชาติของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามผู้คนในสิงคโปร์มีอิสระในการนับถือศาสนา นอกจากนี้มีศาสนาอื่นๆ ที่มีผู้นับถือเป็นกลุ่มเล็ก ได้แก่ ศาสนาซิกซ์ ศาสนายิว

1.4 สภาพสังคมและวัฒนธรรมสิงคโปร์

สิงคโปร์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีคนจากหลากหลายเชื้อชาติ เช่น จีน มาเลย์ อินเดีย และลูกครึ่งระหว่างชาวเอเชียและชาวยุโรปมาอยู่ร่วมกันอย่างสงบและไม่มีปัญหาขัดแย้งเรื่องชนชาติระหว่างกัน โดยที่ทุกเชื้อชาติยังดำรงไว้ซึ่งวิถีการดำเนินชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของตนไว้อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ในสิงคโปร์ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติมากถึง 90,000 คน ที่เข้ามาอยู่อาศัยและทำงาน ซึ่งคนเหล่านี้ได้เข้ามาเผยแพร่ขนบธรรมเนียมและแลกเปลี่ยนแนวความคิดกับคนในประเทศ

          1.5 สีประจำชาติ

สีประจำชาติสิงคโปร์ คือ สีแดง-ขาว ซึ่งสีแดงหมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล

 

1.6 วันชาติสิงคโปร์

วันชาติสิงคโปร์ ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม 1965 ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึง ตัดสินใจที่จะแยกตัวออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1965 และประกาศตั้งชาติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1965 ท่ามกลางสถานการณ์การสู้รบที่แหลมคม ระหว่างคอมมิวนิสต์กับจักรวรรดินิยม  

 

1.7 ตราแผ่นดิน


คำขวัญ: Majulah Singapara (สิงคโปร์ จงเจริญ)

1.8 ธงชาติสิงคโปร์

ธงชาติสิงคโปร์เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ธงนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงคโปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่  9 สิงหาคม พ.ศ.2508

ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ในธงชาติ อันได้แก่ สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

1.9 การเมืองและการปกครอง

ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่เดิมสิงคโปร์เคยอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษและเป็นรัฐหนึ่งของมาเลเซีย ต่อมาปี พ.ศ. 2506 – 2509 ได้แยกตัวออกมา ปัจจุบันมีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทั้งประธานาธิบดีและคณะรัฐบาลอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สถานการณ์ทางการเมืองสงบเรียบร้อย มีความมั่นคงทางการเมืองจึงทำให้คนต่างชาตินำเงินเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก

2. ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ซึ่งทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจจัดวางแนวทางการสอนและการประเมินผล และควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ดำเนินการสม่ำเสมอทำให้สถานศึกษามีคุณภาพทัดเทียมกัน รัฐบาลให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า รัฐบาลสิงคโปร์ใช้งบประมาณถึง 1 ใน 4 ของงบประมาณพัฒนาประเทศทั้งหมดเพื่อการศึกษา พัฒนาและดำเนินการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนในระดับประถมและมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์มีเฉพาะในระดับอนุบาลและโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น

ปีการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี ช่วงระหว่างภาคเรียนที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 กับที่ 4 จะมีการหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 กับที่ 3 หยุด 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุด 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา โดยระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.1 การศึกษาก่อนวัยเรียน

การศึกษาก่อนวัยเรียน ได้แก่ การศึกษาในชั้นอนุบาลและการดูแลเด็กโดยศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยจะรับนักเรียนอายุ 3-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในสิงคโปร์จะมีกระทรวงศึกษาธิการควบคุม และมีมูลนิธิของชุมชน หน่วยงานทางศาสนา และองค์กรทางธุรกิจและสังคมทำหน้าที่บริหาร

โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะทำการเรียนการสอน 5 วันต่อสัปดาห์ และแบ่งการเรียนเป็นสองช่วงในแต่ละวัน ช่วงหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งถึง 4 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะสอนโดยใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่สอง ยกเว้นในโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนหลักสูตรต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสอนในสิงคโปร์

2.2 การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี และระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์ ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น (นักเรียนจะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย) ตามเชื้อชาติของตนเอง) และวิชาเสริม อันได้แก่ ดนตรี ศิลปหัตถกรรม สุขศึกษา และสังคมศึกษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาปี ที่ 3 เป็นต้นไป และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวนักเรียนและทดสอบความถนัดของนักเรียนให้ ตรงกับแผนการเรียนในระดับมัธยม

1) ประถมศึกษา นักเรียนทุกคนในสิงคโปร์จะต้องใช้เวลาเรียน 6 ปี ในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการเรียนชั้นประถมต้น (foundation stage) 4 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้นประถมปลาย (orientation stage) อีก 2 ปี ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 นักเรียนทุกคนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) ให้ผ่านเพื่อจบการศึกษาระดับประถม

2) มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์มีหลายรูปแบบ ทั้งที่ให้ทุนทั้งหมดโดยรัฐบาล หรือเพียงส่วนเดียว หรือนักเรียนเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด การศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้น จะมี 3 หลักสูตรให้เลือกตามความสามารถ และความสนใจ โดยใช้เวลา 4-5 ปี หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรพิเศษ   (Special Course) หลักสูตรเร่งรัด  (Express Course) หลักสูตรปกติ    (Normal Course) โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษ (Special และ Express) จะใช้เวลาเรียนเพียง 4 ปี ขณะที่นักเรียนในแผนการเรียนปกติ (Normal) จะใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษจะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Ordinary’ (GCE ‘O’ Level) เมื่อเรียนครบ 4 ปี ส่วนนักเรียนหลักสูตรปกติที่ใช้เวลาเรียน 5 ปีนั้น จะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Normal’ (GCE ‘N’ Level) เมื่อถึงปีที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะสามารถสอบ GCE ‘O’ Level เมื่อเรียนจบปีที่ 5

หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาประกอบด้วย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาแม่ (จีน มาเลย์ หรือทมิฬ) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในสิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่าทำให้นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน

2.3 เตรียมอุดมศึกษา (Junior College) หรือ สถาบันกลางการศึกษา (centralized institute)

เมื่อนักเรียนสอบ GCE ‘O’ Level ผ่านได้แล้ว นักเรียนสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมศึกษาเป็นเวลา 2 ปี หรือศึกษาที่สถาบันกลางการศึกษา (centralized institute) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย เตรียมอุดมศึกษาและสถาบันกลางการศึกษาจะสอนทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวให้นักเรียนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ หลักสูตรหลักแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ วิชาความรู้ทั่วไป (General Paper) และภาษาแม่ เมื่อเรียนจบเตรียมอุดมศึกษานักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Advanced’ (GCE ‘A’ Level) โดยเลือกวิชาสอบสูงสุดได้ 4 วิชา จากวิชาในหมวดศิลปะ วิทยาศาสตร์และธุรกิจการค้า

2.4 โพลีเทคนิค (Polytechnics)

โพลีเทคนิคสร้างขึ้นเพื่อเปิดหลักสูตรการอบรมที่หลากหลายให้แก่นักศึกษาที่ต้องการพัฒนาฝีมือในระดับประกาศนียบัตร และอนุปริญญา ในขณะนี้มีโพลีเทคนิค 5 แห่งในสิงคโปร์ ได้แก่ 1) Nanyang Polytechnic 2) Ngee Ann Polytechnic 3) Republic Polytechnic 4) Singapore Polytechnic 5) Temasek Polytechnic สถาบันเหล่านี้มีหลักสูตรการสอนมากมายที่มุ่งเน้นให้สามารถไปประกอบอาชีพในอนาคต เช่น วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การสื่อสารมวลชน การออกแบบดีไซน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรเฉพาะทางอย่างเช่น การวัดสายตา วิศวกรรมทางทะเล การศึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือ พยาบาล การเลี้ยงดูเด็กอ่อน และการทำภาพยนตร์ ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาในจากโพลีเทคนิคเป็นที่นิยมของบริษัทต่างๆ เพราะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่โลกเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่

2.5 สถาบันเทคนิคศึกษา (Institute of Technical Education – ITE)

สถาบันเทคนิคศึกษาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาและต้องการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและความรู้ทางอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ นอกจากโปรแกรมฝึกอบรมเต็มเวลาสำหรับนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาแล้ว และยังมีโปรแกรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกด้วย

2.6 การศึกษาในระดับอุดมศึกษา (Universities)

มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง ได้แก่ 1) National University of Singapore (NUS) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1905 เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมานาน เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมาย ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ และแพทยศาสตร์ 2) Nanyang Technological University (NTU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1981 เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนและการวิจัยด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ต่อมาได้ร่วมกับวิทยาลัยครู หรือ สถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute Education – (NIE) เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาการบัญชี บริหารธุรกิจและสื่อสารมวลชน 3) Singapore Management University (SMU) มหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งได้ผลิตนักศึกษาปริญญาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2000 โดยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแต่บริหารจัดการแบบเอกชน เน้นการเรียนการสอนด้านธุรกิจการจัดการ

นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยนานาชาติในสิงคโปร์ โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกของต่างประเทศได้ตั้งวิทยาเขต (สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา) หรือมีความร่วมมือ/หลักสูตรร่วม กับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์ (ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์) โดยแบ่งเป็น มหาวิทยาลัยนานาชาติที่มีวิทยาเขตอยู่ในสิงคโปร์ และ มหาวิทยาลัยนานาชาติชั้นนำที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์

1) สถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำที่มีวิทยาเขตอยู่ในสิงคโปร์ ได้แก่

INSEAD

http://www.insead.edu/

มหาวิทยาลัยชิคาโก Graduate School of Business http://chicagogsb.edu/visit/singapore/

Duke

http://www.gms.edu.sg/themes/gms_home/theme.html

SP Jain Centre of Management

http://www.spjain.org/

ESSEC

http://www.essec.edu/essec-business-school/management-authorities/essec-asian-center

สถาบันเทคโนโลยี Digipen

http://www.digipen.edu/main/Singapore

มหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส (UNLV)

http://www.unlv.edu.sg/

New York University Tisch School of the Arts Asia

2) มหาวิทยาลัยนานาชาติชั้นนำ ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์

มหาวิทยาลัย Johns Hopkins

http://www.bms.jhmi.edu/sin/default.htm

สถาบันเทคโนโลยี Georgia

http://www.tliap.nus.edu.sg/

สถาบันเทคโนโลยี Massachusetts (MIT)

http://web.mit.edu/SMA/

The Wharton School แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania  http://www.research.smu.edu.sg/wsrc/

Design Technology Institute

http://www.dti.nus.edu.sg/home/index.htm

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเยอรมัน

http://www.gist.edu.sg/

มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง  http://www.nbs.ntu.edu.sg/Programmes/Graduate/sjtu-mba.asp

มหาวิทยาลัย Stanford

http://www.ntu.edu.sg/cee/ssp/

มหาวิทยาลัย Waseda

http://www.waseda.ntu.edu.sg/

สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย บอมเบย์  http://www.eng.nus.edu.sg/eir/news/index.php?id=109

School of Law แห่งมหาวิทยาลัย New York

http://www.nyulawglobal.org/students/NationalUniversityofSingapore.htm

มหาวิทยาลัย Cornell

http://www.cni.ntu.edu.sg/

นอกจากนี้มหาวิทยาลัย National University of Singapore และมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ก็มีหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษามากกว่า 16 แห่งทั่วโลก เช่น มหาวิทยาลัย St. Gallen (สวิสเซอร์แลนด์), มหาวิทยาลัย Beijing University for Chinese Medicine, ESIEE (ฝรั่งเศส), มหาวิทยาลัย Australian National University, มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (ออสเตรเลีย), มหาวิทยาลัย University of Illinois Urbana-Champaign (สหรัฐฯ), UCLA Anderson School of Management (สหรัฐฯ), Ecole Superieure d’Electricite (Supelec) (ฝรั่งเศส), มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (จีน), Karolinska Institutet (สวีเดน), University of Basel (สวิสเซอร์แลนด์), มหาวิทยาลัย Technical University of Denmark, King’s College London, มหาวิทยาลัยชิงหัว (จีน), Universite Pierre Et Marie Curie, Universite Paris Sud and the French Grandes Ecoles รวมถึงสถาบันการศึกษาเฉพาะทางต่างประเทศ (Foreign specialised institutes) ได้ตั้งวิทยาเขตในสิงคโปร์หรือร่วมมือกับวิทยาลัยโพลีเทคนิคของสิงคโปร์ ซึ่งทำให้นักเรียนในวิทยาลัยโพลีเทคนิคสามารถได้รับปริญญาในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ หลังจากที่เขาได้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาจากวิทยาลัยโพลีเทคนิคแล้ว

ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ สามารถสรุปได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

3. ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

          3.1 วิสัยทัศน์ทางการศึกษาของสิงคโปร์

กรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของสิงคโปร์ที่สร้างขึ้นเพื่อเตรียมประเทศให้พร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ 4 อย่างที่สัมพันธ์ต่อกัน ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์เพื่อประเทศชาติโดยรวม (2) วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษาของชาวสิงคโปร์ (3) วิสัยทัศน์เพื่อเปลี่ยนแปลงโรงเรียน และ (4) วิสัยทัศน์เพื่อสร้างความร่วมมือ ซึ่งก็คือชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง

การหลอมรวมวิสัยทัศน์เหล่านี้เองที่จะใช้เป็นหลักประกันที่จะทำให้แนวทางการเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์นี้กลายเป็นแบบอย่าง วิสัยทัศน์เหล่านี้จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแนวปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนช่วยสร้างมุมมองใหม่ให้ประเทศอื่นนำไปพิจารณาถ้าจะคิดเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ศตวรรษที่  21  กรอบวิสัยทัศน์ทางการศึกษาของสิงคโปร์ดังกล่าว ได้แก่

วิสัยทัศน์ที่  1 วิสัยทัศน์เพื่อชาติ             โรงเรียนนักคิด  ประเทศแห่งการเรียนรู้

วิสัยทัศน์ที่ 2 วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษา        สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น

วิสัยทัศน์ที่ 3 วิสัยทัศน์เพื่อการปฏิบัติ       กลยุทธ์ตึงสลับหย่อน

วิสัยทัศน์ที่ 4 วิสัยทัศน์เพื่อความร่วมมือ     ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1) วิสัยทัศน์ที่ 1: วิสัยทัศน์เพื่อชาติ

โรงเรียนนักคิด  ประเทศแห่งการเรียนรู้คือวิสัยทัศน์อย่างแรกในกรอบความคิดของสิงคโปร์วิสัยทัศน์ที่สำคัญของชาติ         นี้ฝังลึกอยู่ในปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนในสิงคโปร์ทุกแห่ง โดยได้นิยามแผนการอันน่าภาคภูมิใจของทั้งประเทศที่มุ่งสร้างระบบการศึกษาที่ภาคภูมิและเป็นเลิศโรงเรียนนักคิด ประเทศแห่งการเรียนรู้ เป็นวิสัยทัศที่เกี่ยวกับการสร้างชุดทักษะชีวิตที่สำคัญ (การคิด การสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา) สร้างเจตคติ (การทำงานร่วมกัน ความสนใจใคร่รู้) และนิสัย (ความอดทนต่อความไม่ชัดเจน ความเพียรพยายาม) ให้แก่นักเรียน ซึงจะปลูกฝังความคิดเรื่องนวัตกรรมและความกระหายสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญต่อความมั่งคั่งและสวัสดิภาพของบุคคลและประเทศโดยรวม วิสัยทัศน์นี้เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่จุดประกายความหวังให้คนสิงคโปร์

สิงคโปร์มีรูปแบบการปกครองเฉพาะตัวที่เชื่อมความเป็นเมืองรัฐ และประเทศเข้ากัน ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้รัฐบาลสามารถวางแผน ดำเนินการ และสนับสนุนเปลี่ยนแปลงได้อย่างกว้างไกล และช่วยให้เกิดการประสานแผนงาน การดำเนินงาน และการสร้างความเป็นสถาบันได้ในทุกขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลสามารถเพิ่มการสนับสนุนภายในชุมชน โรงเรียน และรัฐ อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลสามารถสร้างภาวะที่จำเป็นซึ่งเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและยั่งยืน

2) วิสัยทัศน์ที่ 2: วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษา

สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น  คือวิสัยทัศน์ที่สองในกรอบความคิดนี้  ซึ่งมีความสำคัญต่อวิสัยทัศน์แรกและตรงกับเป้าหมายของ  “การสอนในแบบที่ช่วยนักเรียนให้เรียนรู้แบบไม่ต้องสอน” วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษานี้เป็นหลักยึดเหนี่ยวในการเปลี่ยนสภาพจากการศึกษานี้ เป็นหลักยึดเหนี่ยวในการเปลี่ยนสภาพจากการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ไปสู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ตามคำจำกัดความของภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่  21  ทักษะแห่งศตวรรษที่  21  ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์  “สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น”  ซึ่งครอบคลุมถึงทักษะใหญ่ ๆ ทั้งหมด  อาทิ  ทักษะหารเรียนรู้และนวัตกรรม ,  ทักษะการทำงาน , ทักษะด้านสารสนเทศ  สื่อ  และเทคโนโลยี , และทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริง (กับครอบครัว  โรงเรียน  ชุมชน  รัฐ  และประเทศชาติ)  สิ่งเกล่านี้เคียงคู่กับวิชาแกนจากสาชาวิชาเดิมด้านต่าง ๆ ละผูกกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่  21  เช่น  จิตสำนึกต่อโลก  ความรู้พื้นฐานทางการเงิน  เศรษฐกิจ  ธุรกิจ  การเป็นผู้ประกอบการ  ความเป็นพลเมืองและสุขภาพและสวัสดิภาพ  วิสัยทัศน์    “สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น”ลองใช้ครั้งแรกในโรงเรียนนำร่อง   TLLM  (Teach  Less, Learn  More  Ignite  School) ซึ่งหน้าที่หลักของโรงเรียนนี้คือเน้นการส่งเสริมความสนใจเรียนรู้อย่างแท้จริง  โรงเรียนนำร่อง   TLLM  มีขนาดต่าง ๆ กัน  ทั้งระดับประถมและมัธยม  ซึ่งถูกกำกับโดยพันธกิจที่กำหนดมาเป็นอย่างดี  การรับนักเรียนในโครงการนำร่องต้องผ่านขั้นตอนในการรับสมัครที่มีการแข่งขันสูงมาก

3) วิสัยทัศน์ที่ 3: วิสัยทัศน์เพื่อการปฏิบัติ

ตึง  หย่อน  ตึง  คือองค์ประกอบที่สามในกรอบความคิดของสิงคโปร์  การปฏิรูปโรงเรียนด้วยเป้าหมาย  “สอนให้น้อยลง  เรียนรู้ให้มากขึ้น” จะไม่ยั่งยืนหากไม่รู้จักการยืดหยุ่นพอที่จะรับมือกับความต้องการอันหลากหลายของโรงเรียนท้องถิ่นหรือยอมรับเงื่อนไขที่ตายตัว สูตร  “ตึง  หย่อน  ตึง”  เป็นส่วนผสมระหว่างการยึดมั่นในหลักเกณฑ์ส่วนกลาง  (ตึง)  กับการโอนอ่อนตามความจำเป็น  ทรัพยากร  ข้อจำกัด  และลักษณะเฉพาะตัวของโรงเรียนหรือเขตใดก็ตาม  (หย่อน)  หากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ขัดแย้งกับกรอบความคิดทางทฤษฏี  (ตึง)  และไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายที่วางไว้และผลลัพธ์ที่อยากได้ (ตึง)  บรรดาผู้นำของสิงคโปร์ต่างสนับสนุนให้ปฏิบัติโดยยึดตามปรัชญา “ตึง หย่อน ตึง”  แม้จะไม่ได้ระบุโมเดลใดเป็นพิเศษ แต่พวกเขาส่งเสริมความเป็นช่างประดิษฐ์และกระบวนการคิดที่กว้างไกลผ่านกระบวนการ “ตึง หย่อน ตึง”  รวมถึงสนับสนุนกรอบความคิดในการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการสร้างสรรค์ทางความคิดของเจ้าหน้าที่ในแต่ละโรงเรียน

4) วิสัยทัศน์ที่ 4: วิสัยทัศน์เพื่อความร่วมมือ

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional  Learning  Community หรือ PLC) คือองค์ประกอบที่สี่ แนวคิดเรื่องนี้มีรากฐานมาจากงานชิ้นสำคัญของ  ริชาร์ดดูโฟร์  และ  โรเบิร์ด  เอเกอร์  ซึ่งช่วยเติมกรอบความคิดในการเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์ให้สมบูรณ์  โรงเรียนในสิงคโปร์ได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูประดับชาติ  เพื่อให้สามารถทำงานตามแนวคิดเรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยใช้ทรัพยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายโรงเรียนนำร่อง  TLLM  และทีมวางแผนการพัฒนาวิชาชีพภายในโรงเรียนของตน  แม้ว่าชุมชนการเรียนรู้แต่ละแห่งแต่ละแห่งยังไม่พัฒนาเติมที่ในขั้นนี้  แต่ก็มีการตั้งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนนำร่อง  TLLM  ทุกแห่ง  และมีระดับความสำเร็จที่แตกต่างไป

โรงเรียนนำร่อง  TLLM  ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  และมีภาระรับผิดชอบในการแสดงผลการปฏิบัติงานต่อกระทรวงศึกษาธิการ  โดยจะต้องแสดงหลักฐานความก้าวหน้าทุก ๆ ปี  โรงเรียนฯ  ประกอบด้วยทีมเรียนรู้ที่สมาชิกต่างร่วมมือกันแบบพึ่งพาอาศัยเพื่อผลักดันขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การร่วมมือกันทำงานซึ่งเป็นกระบวนการที่ยังไม่สมบูรณ์ในการตอบโต้ความคิดเห็นไปมาในชุมชนแห่งการเรียนรู้  หรือระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้นั้นจะช่วยกันกลั่นกรองจนได้ความคิดที่เป็นสาระสำคัญของกลุ่ม  นักการศึกษาที่เชื่อว่าวาทกรรมทางสังคมมีผลต่อการคิดอันสร้างสรรค์  ยอมรับสิ่งนี้ว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและเห็นด้วยกับแนวคิดและมิตรภาพในการทำงานเป็นทีม  สมาชิกในทีมมุ่งมั่นที่จะนำแนวคิดเรื่องชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปปฏิบัติด้วยความจริงใจ  และท้ายที่สุดขั้นตอนของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงก็จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนและการสอนที่ลึกซึ้งและเป็นแรงดลใจ  สิ่งนี้เองคือจุดเด่นของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น “คลังสมอง” สำหรับการสร้างความแตกต่าง  นำเสนอสิ่งสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่แท้จริง (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์, 2554)

3.2 พันธกิจทางการศึกษาของสิงคโปร์

พันธกิจ (Mission): Moulding the future of our nation เน้นการหล่อหลอมประชากรของชาติเพื่อการพัฒนาชาติในอนาคต

3.3 การประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

1) ข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

จุดแข็งของการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ คือ กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจจัดวางแนวทางการสอนและการประเมินผล และควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ดำเนินการสม่ำเสมอทำให้สถานศึกษามีคุณภาพทัดเทียมกัน นอกจากนี้สิงคโปร์เป็นประเทศที่เห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าที่สุดของสิงคโปร์ ดังนั้นสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญกับการศึกษามาก ซึ่งจะเห็นได้จาก ค่าเล่าเรียนที่ต่ำมากในการศึกษาระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยม เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน โดยสิงคโปร์จัดการศึกษาโดยมองพื้นฐานการตลาดของประเทศที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม เมื่อนำมาผูกติดกับการศึกษา การผลิตบุคลากรจึงคำนึงถึงความสอดคล้องกับตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก สิงคโปร์มุ่งผลิตบุคลากรในระดับ Polytechnic เป็นหลัก ทุกคนที่จบออกมาจะมีงานรองรับและเป็นที่ต้องการของบริษัท และสิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่เห็นความสำคัญของการฝึกอบรม (Training) เป็นอย่างยิ่ง

สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สิงคโปร์มีมุมมองการจัดการศึกษาที่น่าสนใจ เช่น การเลือกที่ตั้งของสถานศึกษาให้เหมาะสมกับการศึกษานั้นๆ เช่น มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดการ (Singapore Management University: SMU) ก็จัดตั้งอยู่ในย่านเศรษฐกิจ (Orchard Road) เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นบรรยากาศของการทำธุรกิจ เห็นการแข่งขันทางการค้าจริงๆ ในการเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและปฏิบัติเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานไปกับการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเล่าเรียนมากขึ้น ฯลฯ นอกจากนั้นการนำห้องสมุดแห่งชาติ (National Library) เข้าไปอยู่ในห้างสรรพสินค้า ถือได้ว่าเป็นเป็นอีกยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะสถานที่เหล่านั้นคือแหล่งรวมของเยาวชน การนำแหล่งความรู้มาไว้ใกล้ๆ จะเป็นการเอื้อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้บริการได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมถึงการคิดที่เป็นระบบ มองทุกอย่างในภาพรวมของสิงคโปร์ ถือเป็นจุดเด่นของประเทศนี้ ตั้งแต่การวางผังเมือง จุดของห้างสรรพสินค้า แนวของรถไฟที่จะวิ่งผ่าน จุดติดตั้งกล้องเพื่อรักษาความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจในสวัสดิภาพ การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับระบบการตลาดของประเทศโดยไม่ละเลยเรื่องทำเลที่ตั้งและการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย สิงคโปร์เป็นประเทศที่ทำให้ผู้ไปเยือนได้เห็นว่าไม่มีทรัพยากรใดจะยิ่งใหญ่และสำคัญไปกว่า “ทรัพยากรบุคคล”

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของประเทศสิงคโปร์ ได้ให้ความสำคัญและได้มีการพยายามให้เกิดปรากฎการณ์ โดยกล่าวถึงวิธีการต่างๆ เพื่อให้ความสมดุลของการประกันคุณภาพ ว่าจำเป็นต้องให้มีคุณภาพ ความเชื่อมั่นและความต้องการความหลากหลายของการศึกษาและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและนวัตกรรมที่รัฐบาลพยาบาลที่จะกระจายอำนาจของตนให้กับ โรงเรียน แต่ในทางกลับกัน การประกันคุณภาพการศึกษาที่ได้รัฐบาลได้กำหนดขึ้น จากโครงสร้างคุณภาพที่เป็นศูนย์ร่วมของการควบคุมของรัฐบาล จากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นี้จะสามารถตรวจสอบผลกระทบดังกล่าวของกลยุทธ์และความท้าทายที่โรงเรียนแถวหน้า ในการนำกระบวนทัศน์ใหม่ของความหลากหลายและนวัตกรรม ในขณะที่ความถึงพอใจของการประกันคุณภาพที่เป็นกุญแจสำคัญหรือปัจจัยสำคัญ คือ โรงเรียน การประเมินตนเอง คุณภาพ นวัตกรรม และความหลากหลาย (Keywords School, Excellence- Self-appraisal, Quality, Innovation, Diversity)

ได้รับเอกราชในปี 1965 ตลอดเวลา 42 ปี มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในด้านของระเบียบวินัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติมีแต่ทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นเขาจึงเร่งเห็นความสำคัญเนื่องจากเป็นทรัพยากรหลัก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความฉลาดและมีนโยบายเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการเจริญเติบโตของประเทศ เพราะนอกเหนือจากมนุษย์แล้วไม่มีแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ในพื้นที่ของประเทศนอกจากแผ่นดินเล็กน้อยแล้วด้านหลังก็เป็นฝังทะเลหรือการทำการเกษตร การดำรงชีวิตส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับองค์กรและการทำงานอย่างหนัก ดังนั้นเขาจึงเร่งเห็นว่าการที่ทำให้มนุษย์มีความฉลาดและมีความสามารถของชาวสิงคโปร์จะทำให้ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วได้ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นการชดเชยการขาดแคลนของทรัพยากรธรรมชาติของสิงคโปร์ (รัฐบาล) ให้ความสำคัญในปัจจัยขอมนุษย์ โดยมีนโยบายในการออกแบบให้มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนและ เพื่อเพิ่มศักยภาพรายบุคคลและการสนับสนุนของประเทศ

สถาบันบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้มีการลงทุนในการศึกษา ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างมนุษย์ กำลังการผลิตของสิงคโปร์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตมากขึ้น ดังนั้นจึงการลงทุนในการศึกษาและเป็นยุทธศาสตร์ของชาติที่สำคัญสำหรับแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจสิงคโปร์ได้เริ่มต้น จากพื้นฐานการศึกษาที่ต่ำในปี 1965 ในช่วงระยะเวลาอัตราการอ่านและเขียน ร้อยละ 60 ใน 3 จาก 100 คน ของประชากรในแต่ละไปมหาวิทยาลัย ในวันนี้ 40 ปีต่อมา อัตราการรู้หนังสือของสิงคโปร์ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 94 และหนึ่งในห้าของประชากรแต่ละกลุ่มคนทำให้เรียนในมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นปัญหาในการลงทุนในการศึกษามากในการศึกษา ต้องใช้งบประมาณของรัฐเพื่อการศึกษาของสิงคโปร์เกือบร้อยละ 4 ควรเน้นว่าไม่ใช่เพียงแค่จำนวนเงินที่ต้องมาลงทุนในการศึกษา

แต่ในปัจจุบันเป็นประเทศ ซึ่งได้รับการประสบความสำเร็จในช่วงเวลาที่ผ่านมา ว่าสามารถปรับตัวเองได้ดีกับการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 เพิ่มมากขึ้นในด้านความอยู่รอดของประเทศจะขึ้นอยู่กับประชาชนของพวกเขา ว่าพวกเขาได้เพิ่มความรู้ความสามารถทางด้านการศึกษากันตลอดเวลาในช่วงระยะที่ผ่าน และวิธีการเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก (Drucker, 1993) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ให้ความสำคัญในการแข่งขันทางการศึกษาและเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต จากเวลาที่ผ่านมา การศึกษาในระบบจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ Tharman Shanmugaratnam ได้กล่าวว่า

“เรามีระบบการศึกษาที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่รู้จักกันดีสำหรับระดับสูง ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของเราในทุกหลักสูตร ที่เราได้นำเสนอของประเทศเรา นักเรียนมีจุดมุ่งหมายที่สูงและทำได้ดี โดยการเปรียบเทียบระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่ดีมากที่สุด จะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมาเราได้เริ่มต้น การจัดขั้นตอนระบบการศึกษาของเราที่จะช่วยให้เด็กเตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับความท้าทายของการแข่งขันมากขึ้น และในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคตการศึกษาที่จะพัฒนาขึ้น ขณะนี้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต ซึ่งจะแตกต่างจากที่ผ่านมา ถ้าเราคิดว่าเรากำลังทำสิ่งที่เราต้องทำเพราะมีการทำงานในอดีตที่ผ่านมา จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา”  (Thurman, 2003 cited in Ng, 2007)

สิงคโปร์ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของการศึกษาอยู่ในกลุ่มดีที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามโครงสร้างที่สม่ำเสมอและเข้มงวดเกินไปผลักดันทำให้ชาวสิงคโปร์พัฒนาและเพิ่มความสามารถที่หลากหลาย หากเราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความพยายามสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุคที่มีความหลากหลาย ปรากฏว่าในปัจจุบันการประกันคุณภาพเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ระบบ A strong ที่ส่งเสริมให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ถูกมองว่าเป็นแหล่งสำคัญของความสามารถในการแข่งขันที่จะเก็บรักษาไว้ สิงคโปร์จะหลีกเลี่ยงความแตกต่างในมาตรฐานการศึกษา ระหว่างโรงเรียนสำหรับผู้มีสิทธิพิเศษสำหรับเข้ารับการศึกษาที่จะทำให้บรรลุมาตรฐานระดับสูงของความสามารถ  จึงบรรลุมาตรฐานระดับสูงของความสามารถทำให้มีวงกว้าง ชาวสิงคโปร์ที่เข้าสู่การศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่มีคุณภาพมีสัดส่วนที่มาก ความจริงที่ว่าพื้นฐานของสิงคโปร์ในการทำงานที่ดีที่ช่วยให้สามารถมองไปข้างหน้า สามารถหาช่องว่างที่จำเป็นต้องปิดให้กำหนดทิศทางใหม่และก้าวไปข้างหน้า ด้วยความมั่นใจ (Thurman, 2004 cited in Ng, 2007)

ดังนั้นการประกันคุณภาพกับแนวคิดของมาตรฐานการปฏิบัติงาน และความเป็นเลิศของโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ควบคุมมาตรฐานในการศึกษา คือการดำเนินธุรกิจทุกครั้งและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดภาระผูกพัน โรงเรียนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ปกครองและชุมชนในการจัดหาโปรแกรมที่ดีที่สุดและมีคุณภาพสูงของการศึกษาให้กับนักเรียนของพวกเขา ผู้ปกครองเด็กต้องการโรงเรียนของเขาจะต้องเป็นโรงเรียนที่ดี เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะโรงเรียนดี ผลไม่ว่าจะเป็นในด้านวิชาการหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ทางวิชาการมีประโยชน์ เพราะเขาท้าทาย ให้ความสนใจอย่างเข้มงวดกับสิ่งที่มีประสบความสำเร็จและสิ่งที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น (Ministry of Education, 2000 cited in Ng, 2007) รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญว่าจำเป็นต้องเน้นความหลากหลายและนวัตกรรมในขณะที่รักษาคุณภาพและมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เป็นความพยายามเป็นอย่างมากของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ความหลากหลายและนวัตกรรม ในขณะเดียวกันก็พร้อมตอบสนองความต้องการของการประกันคุณภาพ

2) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

การประกันคุณภาพการศึกษามามีความสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นมาตรฐานสำคัญที่สุดที่เป็นตัวชี้วัดโรงเรียนที่มีคุณภาพ ระบบคุณภาพมีความครอบคลุมการจัดการประกันคุณภาพ ในปี ค.ศ. 2000 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โรงเรียนมัธยมและคอลเลจจูเนียร์ได้รับการจัดอันดับเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 และผลการจัดอันดับทำให้โรงเรียนเป็นที่รู้จัก โดยผ่านทางสื่อท้องถิ่น มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ได้รับการจัดอันดับตามเกณฑ์หลักไว้ 3 มาตรฐานคือ

(1) นักเรียนที่มีผลโดยรวมในการสอบระดับชาติ

(2) ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนที่มีบันทึกไว้ในระบบการตรวจสอบประสิทธิภาพของนักเรียนที่มีคะแนนกับที่นักเรียนได้รับคะแนนผลสอบแรกเข้าโรงเรียน

(3) การแสดงผลการเรียนของนักเรียนที่มีผลจากการทดสอบแห่งชาติ และอัตราร้อยละของนักเรียน

อย่างไรก็ตามการจัดอันดับดังกล่าว ไม่ได้รับความพอใจจากทุกฝ่ายในประเทศสิงคโปร์จากทีมงานที่ตรวจสอบภายนอก ได้รับการมอบหมายจากกระทรวงการศึกษาในปี ค.ศ. 1997 ได้ชี้ให้เห็นด้านลบของการจัดอันดับโรงเรียน ทำให้รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับการจัดอันดับอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ชี้แจงเกี่ยวกับการจัดอันดับทางวิชาการว่ายังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ เพื่อตัวของคุณเอง ถ้าเราไม่ได้มีการจัดอันดับ คุณภาพสถานศึกษาของคุณ และสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในทุกประเทศที่มีมาตรฐานการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ และเป็นความรับผิดชอบสำหรับโรงเรียน เราสามารถจัดอันดับกับจำนวนของพื้นที่ที่แตกต่าง ในทางตรงกันข้ามหากเราหยุดการจัดอันดับเราจะไม่สามารถตรวจสอบได้เลย

กระทรวงศึกษาธิการได้ออกแถลงการณ์ตามปกติของการออกรายการ ของโรงเรียนที่มีร้อยละ 100 ของนักเรียนของพวกเขาให้คะแนนห้าหรือมากกว่าระดับ – O ผ่านไป มันก็ไม่ได้บอกได้ว่าโรงเรียนมีการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในอัตราร้อยละเท่าไหร่ถึงผ่าน ซึ่งการทำเช่นนี้โฆษกได้กล่าวว่า เพราะต้องการให้เห็นจุดที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาไม่ควรวัดจากผลการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องการจับประเด็นที่มีสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จทั้งระบบที่เป็นที่น่าประทับใจ ทำให้เกิดการแนะนำ School Excellence Model (SEM) ในปี ค.ศ. 2000 ส่วนหนึ่งที่สำคัญความเชื่อในเรื่องของความสำเร็จที่กว้างขึ้นโดยเน้นคุณภาพ ตอนนี้โรงเรียนจะต้องไปประเมินตัวเองโดยใช้รูปแบบใหม่ให้แยกจากการตรวจสอบโรงเรียนแบบดั้งเดิม เมื่อโรงเรียนตรวจดำเนินงานของพวกเขาโดยใช้มาตรการที่ไม่ได้รับทั้งความชัดเจนให้กับโรงเรียน

วิธีการที่ SEM ดำเนินการได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการบรรยายสรุปคุณลักษณะบางอย่างที่สำคัญก่อนที่จะอธิบายเพื่อการประกันคุณภาพในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรม SEM เป็นรูปแบบการประเมินตนเองสำหรับโรงเรียนที่ดัดแปลงมาจากแบบจำลองคุณภาพต่างๆ ที่ใช้โดยธุรกิจองค์กร ได้แก่ ยุโรปมูลนิธิการจัดการคุณภาพ (EFQM) สิงคโปร์รางวัลคุณภาพ (SQA) การศึกษารูปแบบและอเมริกันแบบ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)

SEM มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดให้มีวิธีการระบุวัตถุประสงค์และการวัดจุดแข็งของโรงเรียนและหาพื้นที่สำหรับการปรับปรุง นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการปรับปรุงที่เป็นผลบวก และสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมของโรงเรียน และในที่สุดคุณภาพของระบบการศึกษา การใช้รูปแบบนี้สอดคล้องกับ SQA ที่โรงเรียนสามารถพิสูจน์และอ้างถึงในเกณฑ์มาตรฐานในการจัดอันดับ ในความเป็นจริงตัวเองจากการจัดอันดับของสถาบันระดับชาติ ในด้านเกณฑ์มาตรฐานด้านความเป็นเลิศขององค์กร SEM โดยทั่วไปอธิบายถึงโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำกลยุทธ์การประดิษฐ์และทรัพยากรปรับใช้ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลในการเข้าสู่ระบบ ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงกระบวนการที่เน้นนักเรียนที่มีการกำหนดเป้าหมายและประสิทธิภาพ การติดตามและการจัดการ เหล่านี้สร้างผลลัพธ์ในบุคลากรและค่าตอบแทน ความพึงพอใจของผู้รวม และทั้งผลกระทบที่มีต่อสังคมส่วนร่วมในความสำเร็จของผลการเรียนและความเป็นเลิศ ใน SEM  การดำเนินงานส่งผลไปไกลกว่าความสำเร็จทางวิชาการ ในขณะที่ผลการเรียนของโรงเรียนยังคงเป็นที่สำคัญ ลักษณะของโรงเรียนที่ยอดเยี่ยมตามแนวคิด SEM ได้แก่

(1) ให้การศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นแบบองค์รวม

(2) ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมตามเป้าหมายจะส่งผลให้เห็นเป็นรูปธรรม และการแสดงผลในเชิงบวก

SEM ประกอบด้วย 9 หลักเกณฑ์คุณภาพที่โรงเรียนสามารถประเมิน ได้แก่

(1) ผู้นำ: ผู้นำวิธีการเรียนและความเป็นผู้นำระบบโรงเรียนมีคุณค่ามาก และมุ่งเน้นการเรียนรู้ของนักเรียนและความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและวิธีการที่โรงเรียนที่อยู่ความรับผิดชอบต่อสังคม

(2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์: วิธีการเรียนที่ชัดเจนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มุ่งเน้นทิศทางกลยุทธ์ การพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนทิศทางของโรงเรียน แผนงานและประสิทธิภาพ

(3) เจ้าหน้าที่บริหาร: การศึกษาการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคลากร เพื่อสร้างโรงเรียนที่ดีเยี่ยม

(4) ทรัพยากร: การโรงเรียนจัดการทรัพยากรภายในและหุ้นส่วนภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานของกระบวนการ

(5) กระบวนการที่เน้นนักเรียน: วิธีการออกแบบโรงเรียนดำเนินบริหารจัดการและช่วยปรับปรุงกระบวนการสำคัญที่จะให้การศึกษาแบบองค์รวมและผลงานที่ต่อเนื่องที่ดีของนักเรียน

(6) การบริหารและผลการดำเนินงาน: โรงเรียนคือความสำเร็จให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียน

(7) ผลลัพธ์ บุคลากร: คือความสำเร็จของโรงเรียนเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการพัฒนาและการสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากร

(8) ห้างหุ้นส่วนจำกัด: โรงเรียนจะบรรลุในความสัมพันธ์กับคู่แข่งและชุมชนที่มีขนาดใหญ่

(9) ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ: สิ่งที่โรงเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาแบบองค์รวมของนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบเขตที่โรงเรียนสามารถบรรลุ ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา

เกณฑ์คุณภาพของแต่ละการประเมินใน SEM ต้องใช้หลักดังนี้

(1) วิธีการและระบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดโดยรูปแบบ

(2) การปรับใช้ระบบของวิธีการและระดับของการปฏิบัติ

(3) การประเมินปกติและทบทวนวิธีการและการใช้งาน ตามการติดตามผลและการวิเคราะห์ผลสำเร็จและต่อเนื่องของกิจกรรม

(4) การตรวจหาลำดับความสำคัญของการวางแผนและการดำเนินการปรับปรุงกิจกรรม

(5) ตั้งค่าที่เหมาะสมและประสิทธิภาพการทำงานที่ท้าทายเป้าหมาย

(6) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3 – 5 ปี

(7) การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับโรงเรียนเทียบเคียง

(8) ระบุสาเหตุของผลดีหรือไม่ดี

SEM เป็นระบบการประเมินตนเองซึ่งจะเป็นกลไกสำหรับโรงเรียน ผู้นำในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียน ทีมงานตรวจสอบภายนอกจากกระทรวงศึกษาธิการ ผลการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์เดียวกับประมาณหนึ่งครั้งใน 5 ปี จากการประเมินจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนในการปรับคะแนน เมื่อโรงเรียนมีมาตรฐานทำงานได้ดีกับเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีหลักฐานการนี้รูปแบบการให้คะแนนสำหรับประสิทธิภาพของโรงเรียน นอกจากนี้ยังทำคะแนนได้ดี โรงเรียนมีคุณภาพ ที่สำคัญยังมีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานทำให้ส่งผลเป็นข้อมูลในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการวิเคราะห์อย่างมีแนวโน้มที่ดี

SEM เป็นแผนแม่บทสำหรับโรงเรียน ดังนี้

(1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับรางวัลของโรงเรียนประจำปี เป็นความสำเร็จที่เป็นปัจจุบัน

(2) รางวัล Best Practices (BPA) ซึ่งตระหนักถึงโรงเรียนที่มีคะแนนดีในประเภทรางวัลอย่างยั่งยืนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (SAA) ซึ่งตระหนักถึงโรงเรียนที่มีคะแนนดีอย่างยั่งยืนใน “ผลลัพธ์” เป็นรางวัลที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศโรงเรียน (SEA) ซึ่งจะทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียง

3) ความท้าทายของการประกันคุณภาพในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรมในประเทศสิงคโปร์    (Challenges of quality assurance in an era of diversity and innovation)

(1) แฝงความตึงเครียดในแนวทางการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง

รัฐบาลได้กล่าวย้ำความตั้งใจในการกระจายอำนาจ อำนาจของตนออกมาในรูปแบบการควบคุมโดยตรง เพื่อเพิ่มเติมการควบคุมดูแลในระยะไกล นี้มีขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับความหลากหลายและนวัตกรรมในระบบโรงเรียนมีอิสระเพิ่มขึ้น ผู้นำโรงเรียนและครูผู้สอนมีอำนาจ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนเพื่อตอบสนองนักเรียน มี 3 รูปแบบหลักของการกระจายอำนาจ คือ

(1.1) การโอนงานและการทำงาน แต่ไม่มีอำนาจไปยังหน่วยงานอื่นในองค์กรนั้น

(1.2) คณะผู้แทนเกี่ยวข้องกับการโอนอำนาจในการตัดสินใจจากที่สูงที่ต่ำกว่า

(1.3) หน่วยลำดับชั้น แต่ละอำนาจที่สามารถถอนได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วย การตกทอดมาเป็นมรดก หมายถึงการโอนอำนาจไปยังหน่วยงานในกำกับของรัฐที่สามารถทำหน้าที่อิสระหรือหน่วยงานที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน

ในขณะที่ทั้ง 3 รูปแบบของการกระจายอำนาจได้รับการปฏิบัติในสิงคโปร์ระบบการศึกษา ความพยายามของรัฐบาลปัจจุบันในระบบการศึกษา สามารถอธิบายได้มากขึ้นอย่างถูกต้องตามรูปแบบของการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง รัฐบาลพยายามที่จะกระจายอำนาจและให้อิสระตกมาอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับโรงเรียน ในทางกลับกันจะมีความเสี่ยงจากการลดควบคุมมาตรฐานการศึกษา เมื่อรัฐบาลมีน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีระบบการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ระบบดังกล่าวจะป้องกับการสูญเสียของการควบคุม และความคล่องตัวในการสื่อสารและสิทธิการพิจารณาการบริหารจัดการ ระบบของตัวชี้วัดประสิทธิภาพและการประเมินคุณภาพการศึกษามั่นใจมากขึ้น ความรับผิดชอบและการตอบสนองในการควบคุมส่วนกลาง

ดังนั้นในสิงคโปร์ มีการกระจายอำนาจไม่เพียงเกี่ยวกับการพลิกอำนาจและผู้มีอำนาจ รัฐบาลยังคงดำเนินการเพื่อให้บรรลุความรับผิดชอบที่ดีของชาติ และผลที่มีตอบแทนสูงสำหรับการให้ค่าตอบแทนประชาชน ดังนั้นความหลากหลายที่หวังที่จะพัฒนาเป็นความหลากหลายของหมายถึงการไม่สิ้นสุด ให้เศรษฐกิจของประเทศ กลยุทธ์การทำงานของโรงเรียนจะต้องมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของชาติ พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในประเทศสิงคโปร์ จึงเน้นการตรวจสอบได้และมาตรฐาน ดังนั้นสิ่งที่โรงเรียนกำลังประสบแนวโน้มอยู่ในกระบวนทัศน์การกระจายอำนาจ เพิ่มเติมการกระจายอำนาจของเรื่องยุทธวิธีมากกว่าการรวบอำนาจของเส้นทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ความประสงค์ที่จะรักษาและส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพสูง และเพื่อโรงเรียนช่วยให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะกระจายการลงทุนและสร้างสรรค์นวัตกรรมอื่นๆ นี่คือเรื่องที่ท้าทายที่จะให้บรรลุทั้งภาครัฐและโรงเรียน

ในยุคของการกระจายอํานาจความหลากหลายและนวัตกรรมนักศึกษาจะได้รับ เพื่อปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา และต้องกล้าที่จะทดสอบและรับความเสี่ยง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากการคิดนอกกรอบและหาเส้นทางของตัวเองและทำลายพรมแดน แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบวนทัศน์ในการรวมอำนาจยังคงแข็งแกร่งมาก การประกันคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานความต้องการของบางอย่างและความสำเร็จของการปฏิบัติ ตัวชี้วัด ปัจจัยพื้นฐานบางตัวเช่นการตรวจสอบ การปรับเปลี่ยน และคงความทันสมัย

(2) การแข่งขัน

แม้ว่าการศึกษาอาจไม่ใหม่ในสิงคโปร์ มาโดดเด่นมากขึ้นในยุคของการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง

(2.1) บทบาทของรัฐช้า อาจคิดค้นเพื่อหาวิธีทำให้ผู้รับบริการแทนผู้ให้บริการเช่นเดียวกับในอดีต

(2.2) โรงเรียนจะต้องทำงานมากขึ้น เช่น สถานประกอบการขององค์กรแข่งขันกันในการหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความมีชื่อเสียงในประเทศ และทั่วโลกแม้กระทั่งตลาดการศึกษา การแข่งขันสูงและต้องได้รับการปรับปรุงในขณะที่ในทฤษฎี SEM สามารถประเมินตนเองและการปรับปรุงในแบบรวมศูนย์

กระบวนทัศน์การกระจายอำนาจผู้นำโรงเรียนอาจจะยังคงรูปแบบการตีความหมายเป็นหนึ่งสำหรับการควบคุมและการพิจารณา ซึ่งจะมีผลต่อการแข่งขันของโรงเรียนของพวกเขา และพวกเขาเองร่วมงานรับรัฐบาล จึงจำเป็นต้องได้คะแนนดี อาจกล่าวว่ารางวัลและการประกันคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่การแข่งขันอาจมีผลข้างเคียง

ในปีล่าสุดหนังสือพิมพ์ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ของโรงเรียนลดลง การแข่งขันกีฬาบางชนิดไม่เข้าร่วมกิจกรรมในหลักสูตร เพื่อที่จะมุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มของพวกเขาการแข็งแรงที่พวกเขามีโอกาสมากขึ้นเพื่อสะสมผลและต้องการชนะรางวัล อื่นๆ ได้เขียนในหนังสือพิมพ์และแปลกใจ บางโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นที่สนใจมากขึ้นในการแข่งขันสำหรับรางวัลที่ให้มา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสมรรถภาพทางกาย และระดับต่ำของโรคอ้วนในนักเรียนของพวกเขา หรือสมรรถภาพทางด้านกายที่เกิดขึ้นจริงของนักเรียน ตอนนี้การเข้าร่วมของโรงเรียนในกิจกรรมร่วมหลักสูตร (CCA) รวมทั้งเป็นสถิติสมรรถภาพทางกายของพวกเขาแสดงต่อสาธารณะ ในความสำเร็จของพวกเขาในพื้นที่อื่นๆ เช่น การศึกษาแห่งชาติและการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับครูและเด็กนักเรียน ความตั้งใจเป็นที่เข้าใจก็คือการพัฒนานักเรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ รางวัลที่ได้รับเป็นผลพ่วง เหล่านี้มีความเปลี่ยนแปลง จากการครอบงำความคิด และเกรดการครอบงำจิตใจด้วยการชนะรางวัลอื่นๆ ทั้งหมดเช่นกัน

จากที่กล่าวมาจึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่าการใช้ SEM อาจส่งผลให้ในบางโรงเรียนใช้มากขึ้น กลยุทธ์การแอบแฝงเดียวกับที่พวกเขาได้ใช้ในเวลานี้ ของกระบวนการและกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโรงเรียนของพวกเขา ประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพที่ได้รับการประเมินเป็นไปได้ด้วยดี ตัวอย่างเช่น ครูใหญ่ลดกิจกรรมร่วมหลักสูตรที่มีอยู่ เพื่อที่จะมุ่งเน้นทรัพยากรของโรงเรียนที่มีต่อกิจกรรมเหล่านั้น ที่มีการพิจารณาเพิ่มเติม มีผลในแง่ของรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน

ดังนั้น SEM อาจจะหันไปยังรูปแบบของการจัดอันดับของโรงเรียนอื่น วัตถุประสงค์และความหมายเดิมของมันหายไปในการแข่งขัน การเพิ่มจำนวนของชนิดของรางวัลที่ได้รับก็สามารถเพิ่มจำนวนของข้อมูลสำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน

(3) รางวัลกับนวัตกรรม

SEM เป็นระบบของรางวัลให้กับโรงเรียนตามเกณฑ์ที่กว้าง รวมทั้งเพิ่มการปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กร และความสำเร็จในการกีฬา และศิลปะ ในทางทฤษฎีรางวัลมีขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพในพื้นที่ที่แตกต่างกันและรูปแบบที่แตกต่างกันเฉลิมฉลองความเป็นเลิศ อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมการแข่งขันรางวัล นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อไปนี้แสดงให้เห็นตารางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปี 2004

โรงเรียนชั้นนำในสิงคโปร์มีภาวะของตัวเองที่เข้มแข็ง เป็นระบบการการควบคุมต้นเอง ที่สามารถให้อยู่ในระบบได้อย่างมีคุณภาพและให้ตรงตามมาตรฐาน ในสภาพแวดล้อมการที่มีแข่งขันสูง รางวัลเป็นเครื่องมือการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นใจของลูกค้าของคุณภาพ แต่ในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรมในโรงเรียนดังกล่าวข้างต้น เป็นหนึ่งสิ่งในกิจการนอกเหนือจากที่ได้รับการยอมรับโดยระบบการประกันคุณภาพเป็นมาตรฐาน  ความเข้มข้นในระบบใหม่บางครั้งอาจใช้การไม่ได้ โดยต้องที่จะต้องมีรางวัลที่เคยได้รับหรือประวัติการได้รับรางวัลในพี่ก่อนๆ นั้น ดังนั้นจึงมีความตึงเครียดระหว่างการแสวงหาความหลากหลายและนวัตกรรมและระบบที่มีอยู่

(4) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ

แหล่งที่มาของความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นว่าใน โรงเรียนควรมีมาตรฐาน เพื่อแทนคำว่า ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของ SEM ต้องใช้ความสำเร็จของตัวชี้วัดดังกล่าวและการมีหลักฐาน SEM เป็นระบบวินิจฉัยที่ดีสำหรับการประเมินตนเองและข้อมูลสำหรับการปรับปรุง และอาจจะควบคู่ไปกับการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพที่เหมาะสมตามกรอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมนวัตกรรมล้ำยุค ในทางปฏิบัติเพื่อให้คะแนนที่ดีใน SEM หลายๆ คนอาจจะเก็บรวบรวมข้อมูลและการเขียนรายงาน รายงานอาจจะควบคู่โดยการติดตามผลการดำเนินการ เพราะจากการปรับปรุงและนวัตกรรม SEM เน้นการเปรียบเทียบ แต่ในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรม โรงเรียนที่แตกต่างกันจะมีบริบทที่แตกต่างกันมาก การเปรียบเทียบหากไม่ได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมอาจจะไม่มีความหมายและสามารถเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาที่แท้จริงอาจเกิดเหตุการณ์พยายามที่จะเลียนแบบอื่นๆ ของสถานศึกษาลักษณะเดียวกัน และปฏิบัติให้ดีที่สุดที่อาจไม่เหมาะสมกับบริบทใหม่

ปัญหาอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้นำโรงเรียนมีขาดความตระหนัก มักจะรวมความแข็งแกร่งของโรงเรียนมองข้ามขั้นตอนการประเมินตนเองที่โรงเรียนสามารถปฏิบัติ เมื่อจัดตั้งระบบของตนเองได้ สามารถขับเคลื่อนด้วยความต้องการในการปรับปรุงคะแนน SEM เน้นอยู่

พื้นที่สำหรับการปรับปรุงในบางครั้ง ผ่านผู้นำเพื่อความแข็งแกร่งของโรงเรียนและการใช้ประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพของจุดแข็งเหล่านี้

ดังนั้นในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรมความท้าทาย คือ การหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพ แม้จะมีความต้องการที่มีคุณภาพการรับรอง ซึ่งสามารถกระทำด้วยความสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่กระทำได้อยาก

(5) โรงเรียนแกนนำ

ความท้าทายคุณภาพและนวัตกรรมใหม่ จึงเป็นที่เรียกร้องสำหรับผู้นำโรงเรียนส่งผลสะท้อนกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ผู้นำโรงเรียนมากมายมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วจากกระบวนทัศน์ของ ‘คำสั่ง’ ที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่ให้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินตนเองและนวัตกรรม ในขณะที่ความต้องการคุณภาพที่น่าพอใจ บางครั้งอาจปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว แต่คนอื่นอาจแข็งขันกันในระหว่างการดำเนินการ

กรอบที่มีคุณภาพต้องมีทักษะที่พบไม่ได้บ่อยครั้ง แม้ในอุตสาหกรรมและภาคการค้า จริงยังไม่พบในแบบแผนที่สมบูรณ์ โรงเรียนชั้นนำตอนนี้จะต้องเป็นนักคิดระบบ การเปลี่ยนแปลงและผู้นำ โรงเรียนชั้นนำการฝึกอบรม ศิลปะและการเตรียมความพร้อมเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพ และต้องเป็นระบบประกันคุณภาพที่มีมาตรฐาน สามารถวัดและประเมินผลได้ ที่สำคัญตอนนี้โรงเรียนชั้นนำมีอิสระในบ้างขั้นตอนที่พวกเขาสามารถจะปฏิบัติให้โรงเรียนของพวกเขาเป็นโรงเรียนแถวหน้า ว่าอะไรเป็นแบบแผนที่ดีเยี่ยมของโรงเรียนมีอะไรบ้าง ของพวกเขาคิดอย่างไร ปรัชญาการศึกษาคืออะไร  สิ่งที่ผู้นำเชื่อว่าในโรงเรียนจะพัฒนารูปแบบของโรงเรียนของพวกเขาให้เป็นโรงเรียนแห่งคุณภาพ

เมื่อเร็วๆ นี้ด้วยการจำลองข้อมูลทางธุรกิจและปรัชญาของผู้นำโรงเรียนมี เพื่อตรวจสอบสำหรับโรงเรียนที่เป็นเลิศ ในสิ่งที่นำแนวคิดต่างๆ เช่น ความหลากหลายและนวัตกรรมจริงๆ ในการศึกษา ตัวอย่างเช่น โรงเรียนอาจเป็นโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม โดยไม่ต้องเก็บรวบรวมหลักฐานของความยอดเยี่ยมของโรงเรียน โรงเรียนสามารถทำทุกสิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่สามารถประมวลทุกความเป็นเลิศสำหรับการแสดงข้อมูล โรงเรียนสามารถใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม และเป็นที่รู้จักกันสำหรับครูผู้สอนดูแลและปลูกฝังค่านิยม รวมกับโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าหน้าที่และนักศึกษา โดยพูดถึงของ ‘นวัตกรรม’ เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นและกระตุ้นครูให้กระตือรือร้นในการเรียนการสอนให้มีการปรับปรุง ในทางการศึกษาเพื่อสะท้อนให้เห็นจริงจากการทำงานของระบบอาจเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเป็นจุดประสงค์หลักของการศึกษาที่ต้องทำรวมกัน และในอนาคตสามารถนำเสนอถึงนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการทางด้านการศึกษา โดยคำนึงถึงคุณลักษณะและความละเอียดอ่อนของการศึกษาที่ปลูกฝั่งในความสัมพันธ์ของมนุษย์มากกว่าในระบบและกระบวนการ มันยากที่จะปฏิบัติ แต่เป็นที่น่าจับตามองของครูที่ให้การดูแลและบทบาทต่างๆ ของครู ในการสร้างแบบจำลองของพวกเขาเอง ชีวิตประจำวัน นวัตกรรมไม่อาจควบคุม แต่มันอยู่ในส่วนลึกของจิตใจว่าอยู่ด้วยคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากจิตสำนึก ฉะนั้นแทนที่จะมีนวัตกรรมความหลากหลายและมีแนวคิดที่เป็นทิศทางเดียวกัน คุณภาพสำหรับโรงเรียนที่มีมาตรฐานขั้นสูง คือ มีปัญหาทางวัฒนธรรมที่ซ้ำซ้อนกับการแก้ไขปัญหาในรูปแบบของธุรกิจ ผู้นำโรงเรียนมีความไว้วางใจกับการตัดสินของพวกเขาในความรับผิดชอบและทำในโลกที่มีมาตรการ

(6) ข้อสรุป

การประกันคุณภาพในยุคของความหลากหลายและนวัตกรรม เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนแลความตึงเครียดในตัวของระบบการประกันคุณภาพเอง กรณีของประเทศสิงคโปร์แสดงให้เห็นว่ารัฐบาล ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่ดีที่สุดในโลกของกลยุทธ์ เป็นที่น่าจับตามอง พร้อมเฝ้ามองสิงคโปร์ ว่าสามารถดำเนินการต่อเกี่ยวกับเรื่องของการส่งเสริมความหลากหลายและนวัตกรรมในการศึกษา ขณะที่ยังคงสูงคุณภาพและความมุ่งมั่นที่ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ ในเรื่องอันดับต้นๆ ของประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์ (ผู้แปล) Fogarty, R. & Pete, B. M. (ผู้แต่ง). (2554) ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: openworlds.

Ng, P. T. (2007). Quality assurance in the Singapore education system in an era of diversity and innovation. Educational Research for Policy and Practice, 6(3), October 2007, 235-247.

Drucker, P. F. (1993). Post-capitalist society. New York: Harper Business.


พรศักดิ์ ส่องแสง(รวมเพลงดัง)☺ใบตองรองน้ำตา ผู้แพ้รัก


รายชื่อ เพลง
01.ใบตองรองน้ำตา
02.ผู้แพ้รัก
03.มีเมียเด็ก
04.หนุ่มวัยทอง
05.เมียไม่มีไม่เจอ
06.ลอยกระทง
07.หนุ่มนานครพนม
08.พยอมลืมนา
09.สวยเหมือนเดิม
10.เสื้อลายคนสวย
11.เขามีรักใหม่
12.คนจนเหงาใจ
13.ขอโทษอย่าเรียกลุง
14.เฟื่องฟ้า
15.ฝากใจไปสิงคโปร์
16.สงครามหัวใจ
17.มาลัยใจดำ
18.รักสาว ป.ก.ศ
19.แม่ของใคร
20.เปลี่ยวใจไกลแฟน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

พรศักดิ์ ส่องแสง(รวมเพลงดัง)☺ใบตองรองน้ำตา ผู้แพ้รัก

การศึกษาของประเทศสิงคโปร์


การศึกษาของประเทศสิงคโปร์

ล้มล้างการปกครอง จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้!!Ep111 (Full Program)


Full Program มาเเล้วครับ ใครที่พลาดรับชมได้เลยครับ
SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep111 (Full Program)
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคดีล้มล้างการปกครอง 3 แกนนำ ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร หน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยกำลังเดินไปทิศทางใด?
จับโกหก “บิ๊กอ๊อด” คดีบอส เมื่อเจ้าหน้าที่พูดโกหก ประชาชนจะเชื่อไจตำรวจไทยได้อย่างไร
ตีเเสกหน้า จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับทุกปัญหาของกระทรวงพานิชย์ \”ราคาข้าวตกต่ำ”
สงครามประชาชนในพม่า ความวุ่นวาย เเละสงครามตัวแทนของมหาอำนาจที่ใช้พม่าเป็นหมากในการเดินเกม

YoutubeSondhitalk: https://www.youtube.com/c/Sondhitalk
Website: https://www.sondhitalk.com
Podcast Sondhitalk: https://sondhitalk.podbean.com/
สถานการณ์โควิดโลก. 02:19
ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ม็อบล้มล้างการปกครอง. 14:32
\”สมยศ\” กับการโกหกหน้าด้าน คดีบอส กระทิงแดง. 34:00
สงครามตัวแทนใน พม่า. 51:26
\”จุรินทร์ประชาธิปัตย์\” ฝันอยากเป็นรัฐบาล. 01:46:00

ล้มล้างการปกครอง จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้!!Ep111 (Full Program)

ต้นแบบการจัดการศึกษา ประเทศสิงคโปร์ (บรรยายไทย)


ต้นแบบการจัดการศึกษา ประเทศสิงคโปร์ (บรรยายไทย)

บาร์นสลีย์และเวสต์บรอมยืมตัวธนวัฒน์/ส่องฟอร์มนักเตะ ลูอิส ดึง ซัลบา ร่วมงานช้างศึก ชุดใหญ่ ยุค มาโน่


ทีเด็ดบอล + วิเคราะห์บอล https://www.youtube.com/watch?v=PabcBoRta8Y
SBOROBOT
คำนวนสถิติบอลด้วยระบบ AI แม่นยำ ปลอดภัย ไม่ต้องนั่งเฝ้า
แอดไลน์ @SBOROBOT หรือ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40914hovsi

บาร์นสลีย์และเวสต์บรอมยืมตัวธนวัฒน์/ส่องฟอร์มนักเตะ ลูอิส ดึง ซัลบา ร่วมงานช้างศึก ชุดใหญ่ ยุค มาโน่

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ การ ศึกษา สิงคโปร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *