Skip to content
Home » [Update] ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท และมีวิธีคำนวณค่าไฟฟ้าอย่างไร | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมีกี่อัตรา – NATAVIGUIDES

[Update] ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท และมีวิธีคำนวณค่าไฟฟ้าอย่างไร | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมีกี่อัตรา – NATAVIGUIDES

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมีกี่อัตรา: คุณกำลังดูกระทู้

หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าในปัจจุบันนี้การไฟฟ้านั้นมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการคิดค่าไฟฟ้ากับผู้ใช้ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องทำความเข้าใจให้ละเอียด เนื่องจากการคำนวณค่าไฟฟ้านั้นทางการไฟฟ้ามีหลายสูตรคำนวณที่แตกต่างกันไปตามประเภทของผู้ใช้ ในบทความนี้มาศึกษากันว่ารายละเอียดต่างๆ ของค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้านั้นมีอะไรบ้าง รวมไปถึงการคำนวณค่าไฟฟ้านั้นคำนวณอย่างไร ค่าไฟหน่วยละกี่บาทกันแน่

Table of Contents

1. ผู้ให้บริการไฟฟ้าในประเทศไทยคือใคร

เราทุกคนต่างเข้าใจกันว่าผู้ให้บริการไฟฟ้าแก่ทุกครัวเรือน และทุกกิจการในประเทศไทยนั้นคือการไฟฟ้า แต่ในความเป็นจริงทาด้านการบริหารแล้วการไฟฟ้ามี 3 บริษัทที่ให้บริการในประเทศไทย คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ทำหน้าผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบเพียงอย่างเดียว, การไฟฟ้านครหลวง เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับพื้นที่ กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, นนทบุรี บริษัทสุดท้ายคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับพื้นที่อื่นๆ ยอกเว้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง

2. การไฟฟ้าฯ คิดค่าไฟอย่างไร

การคิดคำนวณค่าไฟฟ้านั้นมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยไม่ได้มีราคาเท่ากันทุกบ้าน เพราะค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะคิดตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่ บ้านเรือนที่พักอาศัย, กิจการขนาดเล็ก, กิจการขนาดกลาง, กิจการขนาดใหญ่, กิจการเฉพาะอย่าง, องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร, กิจการเพื่อการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว ซึ่งทั้งหมดนี้มีวิธีการคิดค่าไฟต่อหน่วยที่แตกต่างกัน 

3. ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการไฟฟ้านั้นมีวิธีคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของการใช้งาน ลองมาดูกันว่าถ้าเป็นบ้านพักอาศัยธรรมดาทีจัดว่าเป็นการใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 นั้นการไฟฟ้าฯ จะคิดค่าไฟหน่วยละกี่บาท 
 การคิดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 มีการคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยได้ 3 แบบตามปริมาณ และรูปแบบของการใช้ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าการคิดค่าไฟอัตราปกติแบบก้าวหน้า ได้แก่

  • อัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 1 คือ บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน เริ่มต้นที่หน่วยละ 2.3488 บาท ถึง หน่วยละ 4.4217 บาท (ค่าบริการ 8.19 บาท/เดือน)
  • อัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 2 คือ บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน เริ่มต้นที่หน่วยละ 3.2484 บาท ถึง หน่วยละ 4.4217 บาท (ค่าบริการ 38.22 บาท/เดือน)
  • อัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 3 หรือ TOU คือ บ้านอยู่อาศัยที่ขอติดตั้งมิเตอร์แบบคิดค่าไฟตามช่วงเวลาของการใช้งาน ในช่วง Peak หรือ Off Peak เริ่มต้นที่หน่วยละ 2.6037 บาท ถึง หน่วยละ 5.7982 บาท (ค่าบริการ 38.22 หรือ 312.24 บาท/เดือน)

4. การคิดค่าไฟฟ้าอัตราปกติแบบก้าวหน้าคืออะไร

การคิดค่าไฟในรูปแบบอัตราก้าวหน้าคือการคิดค่าตามปริมาณการใช้งานนั่นเอง ซึ่งเป็นวิธีการที่การไฟฟ้าฯ ใช้มาตลอด โดยเป็นการคิดแบบขั้นบันไดโดยแต่ละขั้นก็มีราคาของค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่แตกต่างกันไป ถ้าใช้ไฟมากก็จะถูกคิดคิดราคาแพงขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น 
ถ้าเป็นที่พักอาศัยตามปกติ มีการใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน จะคิดค่าไฟฟ้าตามอัตราก้าวหน้าดังนี้  
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) หน่วยละ 2.3488 บาท

  • 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 16-25)  หน่วยละ 2.9882 บาท
  • 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 26-35)  หน่วยละ  3.2405 บาท
  • 65 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 36-100)  หน่วยละ  3.6237 บาท
  • 50 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 101-150)  หน่วยละ  3.7171 บาท
    ถ้ามีการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือนจะมีอัตราการคิดค่าไฟฟ้าแบบก้าวหน้าดังนี้
  • 150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150) หน่วยละ  3.2484 บาท
  • 250 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ  4.2218 บาท
  • หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ราคาหน่วยละ  4.4217 บาท

จากอัตราการคิดคำนวณแบบนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนมาว่ายิ่งใช้ไฟฟ้ามากเท่าไหร่ค่าไฟฟ้าก็จะถูกคำนวณในแบบก้าวหน้า ทำให้ต้องจ่ายค่าไฟต่อหน่วยแพงขึ้น จนหลายๆ คนตกใจว่าทำไมค่าไฟในบางเดือนถึงได้แพงมากกว่าปกติ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น และวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าแบบก้าวหน้านั่นเอง 

5. ค่า FT คืออะไร

ในการคำนวณค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านั้นนอกจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังมีกรนำค่า FT หรือ Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเป็นต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่สามารถควบคุมได้ โดยค่า FT จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน ซึ่งจะมากขึ้น หรือน้อยลงก็เป็นไปตามตัวแปรต่างๆ นั่นเอง

6. การคำนวณค่าไฟด้วยตัวเอง

การคำนวณค่าไฟฟ้านั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ทำความเข้าใจถึงอัตราการคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ค่าบริการต่างๆ ค่า FT และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้ 
คิดค่าไฟฟ้าพื้นฐานก่อน 
ถ้าในระยะเวลา 1 เดือนภายในบ้านมีการใช้ไฟฟ้า 100 หน่วยพอดี การตำนวณเฉพาะค่าไฟฟ้าสามารถทำได้ดังนี้ 

  • หน่วยที่ 1-15 หน่วยละ 2.3488 บาท คือ 15 x 2.3488 = 35.23 บาท
  • หน่วยที่ 16-25 หน่วยละ 2.9882 บาท คือ 10 x 2.9882 = 29.88 บาท
  • หน่วยที่ 26-35 หน่วยละ  3.2405 บาท คือ 10 x 3.2405 = 32.41 บาท
  • หน่วยที่ 36-100 หน่วยละ  3.6237 บาท คือ65 x 3.6237 = 235.54 บาท

รวมค่าไฟฟ้า 100 หน่วย 333.06 บาท + ค่าบริการ 8.19 บาท = 341.25 บาท 

  • คิดค่า FT 

ในตอนนี้ค่า FT อยู่ที่ 11.60 บาท ซึ่งถูกตรึงไว้ตามนโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทำให้การคิดค่า FT สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าพื้นฐานคือ นำค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่คำนวณได้มาลบออกด้วยค่า FT ถ้าตามตัวอย่างค่าไฟฟ้าพื้นฐานคือ 341.25 ลบออกด้วยค่า FT คือ 11.60 ทำให้ค่าไฟฟ้าก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มคือ 329.65 บาท 

  • คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ในประเทศไทยนั้นทุกสินค้า และบริการจะถูกคิดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% รวมไปถึงค่าไฟฟ้าด้วย ดังนั้นเมื่อคิดอัตราค่าไฟฟ้าพื้นฐาน และค่า FT เรียบร้อยแล้ว ต้องมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% สำหรับค่าไฟฟ้าตามตัวอย่างที่คำนวณไว้คือ ค่าไฟฟ้าพื้นฐาน และค่า FT คือ 329.65 บาท ต้องนำมารวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% คือ 23.08 บาท ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายจริงคือ 352.73 บาทนั่นเอง หรือถ้าต้องการคำนวณให้ง่ายมากกว่านี้สามารถเข้าไปที่ Website ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ จะมีตารางให้ลองคำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตัวเอง

7. ทำไมฤดูร้อนค่าไฟฟ้าแพง

แทบทุกครั้งที่ฤดูร้อนของประเทศไทยวนกลับมาถึงจะได้ยินเสียงบ่นว่าค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้แบบง่ายๆ คือด้วยอุณหภูมิที่ร้อนจัดสำหรับฤดูร้อนในประเทศไทยทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดต้อทำงานหนักขึ้น ทำมีปริมาณในการใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้าสำหรับหน้าร้อนไม่ว่าจะเป็นการเปิดเครื่องปรับอากาศนานขึ้น การเปิด – ปิดตู้เย็นบ่อยขึ้น และเมื่อรวมกับการคิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า จึงทำให้มีค่าใช้ไฟฟ้าที่แพงขึ้นนั่นเอง 

จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าการคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก หากผู้อยู่อาศัยเกิดความสงสัยในการคำนวณและอยากรู้ว่า ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท สามารถตรวจสอบรายละเอียดกับการไฟฟ้าในพื้นที่ได้ เนื่องจากมีสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ขัดเจนทุกขั้นตอน ดังนั้น การที่ค่าไฟฟ้าในบางเดือนเพิ่มสูงขึ้น ให้ดูที่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก่อน เพราะอาจมีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม หากคิดว่าค่าไฟฟ้ามีความผิดปกติจริง สามารถติดต่อการไฟฟ้าที่ดูแลพื้นที่เพื่อสอบถามความชัดเจนได้โดยตรง

[NEW] ขายของส่งออก คิดภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร – | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมีกี่อัตรา – NATAVIGUIDES

การขายส่งออกเป็นการขายสินค้าจากในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ ในทางภาษีอากร การขายส่งออกเข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นดียวกับการขายสินค้าปกติทั่วไป

เพราะตามประมวลรัษฏากรมาตรา 77 เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มระบุว่า “ ขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่และให้หมายความรวมถึง (ค) ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร” นอกจากนี้เมื่อผู้ประกอบการส่งออกมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วัน เช่นเดียวกับการขายปกติ

ทำไมการส่งออกต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อผู้ประกอบการส่งออกจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามมาตรา80/1 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้กิจการส่งออกซึ่งเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าประเภทหนึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ใช้อัตรา 0% ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

วิธีคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกิจขายสินค้าส่งออก

การส่งออกที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% เฉพาะกรณีที่กิจการดำเนินการส่งออกโดยผ่านพิธีการกรมศุลกากร หรือ การรายงานต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เมื่อมีการส่งออกสินค้าจากประเทศไทย ว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ส่งออก ส่งไปที่ใด ส่วนการส่งออกทางไปรษณีย์หรือการนำติดตัวออกไปต่างประเทศโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกันแต่เสียในอัตรา 7%

หน้าที่ของผู้ประกอบการส่งออกที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จะเห็นว่าการที่ผู้ประกอบการส่งออกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา
0% มีผลเท่ากับไม่ต้องเสียภาษีจากการขายสินค้าและสำหรับภาษีซื้อสามารถยื่นขอคืนจากกรมสรรพากรได้

อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการส่งออกที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงมีหน้าที่เช่นเดียวกันกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปดังนี้

  1. ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีต้องออกให้ถูกเวลา คือออกเมื่อเกิดความรับผิด (Tax Point) สำหรับการส่งออกความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ
    1.1 มีการชำระอากรขาออก
    1.2 มีการวางหลักประกันขาออก
    1.3 จัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก

และรวบรวมใบกำกับภาษีซื้อเมื่อมีการซื้อสินค้าและบริการ

2. จัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามที่กฎหมายกำหนด

3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยสามารถยื่นแบบได้ทั้งทางออนไลน์หรือยื่นแบบที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่

นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรเก็บหลักฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิกับกรมสรรพากร ว่าได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0%

  1. Invoice คือใบแจ้งหนี้ค่าสินค้า ซึ่งแสดงชื่อสินค้า จำนวนและมูลค่าสินค้า ชื่อที่อยู่ผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นต้น

2. Packing List คือเอกสารที่ผู้ส่งออกทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ ว่าบรรจุแบบใดหรืออยู่กล่องใด รวมถึงน้ำหนักและปริมาณโดยรวมของสินค้าแต่ละรายการ

3.หลักฐานการชำระค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้ เช่นหลักฐานการเปิด L/C(Letter of Credit), หลักฐาน การทำ T/T (Telex of Transfer)หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าว สามารถใช้บันทึกรายการส่งออกสินค้าในรายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ บัญชีเงินสดรับหรือบัญชีขายแทนได้

4. สำเนาใบขนสินค้าในนามผู้ประกอบการที่ผ่านพิธีศุลกากร ฉบับที่มีการสลักหลังตรวจปล่อยสินค้า โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร

จากหน้าที่ที่กล่าวมาของผู้ประกอบการส่งออกที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถ้าผู้ประกอบการไม่ปฎิบัติตามทางกรมสรรพากรกำหนดบทลงโทษไว้ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกอบการที่ไม่จัดทำใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับและเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี

2. ผู้ประกอบการที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้บัญชี/ภาษีเป็นเรื่องง่าย ช่วยเตรียมเอกสารใบกำกับภาษีออนไลน์และจัดทำรายงานภาษีได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบ

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์

    อ้างอิง: https://www.beeaccountant.com/revenue_vat_export
           คำสั่งกรมสรรพากรที่ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการได้รับสิทธิเสีย
           ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
            https://www.rd.go.th/ความรู้เรื่องภาษี/ภาษีมูลค่าเพิ่ม/กำหนดโทษการปฎิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม


วิธีคิดอัตราอากรรวม (อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย ภาษีมูลค่าเพิ่ม)


วิชา หลักการนำเข้าและส่งออก
อาจารย์นวพร สิมะวัฒนา
วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

วิธีคิดอัตราอากรรวม (อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

รายการ ภาษา ภาษี EP 7 สรุปอัตราภาษี ของบุคคล vs บริษัท


อย่าลืม !! กดไลค์ กด subscribe ช่องยูทูป บัญชีอย่างง่าย เพื่อเจ้าของกิจการ
ฟังเนื้อหาต่อได้ที่ fanpage facebook :https://bit.ly/2Y3h11K​​
สอบถามปัญหาภาษีได้ที่ Line @bunchee.easy

รายการ ภาษา ภาษี EP 7 สรุปอัตราภาษี ของบุคคล vs บริษัท

กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม


กิจการที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินหนึ่งจุดแปดล้านบาทต่อปี (ประมวลรัษฎากร มาตรา 85/1) จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำไร-ขาดทุน เช็กได้ ง่ายนิดเดียว


เอสเอ็มอี รู้แล้วรอด หัวข้อ \”กำไรขาดทุน เช็กได้ ง่ายนิดเดียว\”
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบความรู้ได้ที่ http://goo.gl/O307b8
00:48 งบกำไรขาดทุน บอกอะไร
01:10 การคิดกำไรขาดทุนในขั้นต่างๆ
01:47 อัตราส่วนกำไรต่อยอดขายในขั้นต่างๆ บอกอะไรได้บ้าง
ติดตามรายการเอสเอ็มอี รู้แล้วรอด
ได้ที่ https://goo.gl/nUfsyQ

กด Subscribe ช่อง K SME \”วาไรตี้ธุรกิจ ฟิตไอเดีย\”
กลยุทธ์ เคล็ดลับธุรกิจดีๆ มีให้เรียนได้ไม่รู้จบ
คลิก http://goo.gl/t6i0Nw

กำไร-ขาดทุน เช็กได้ ง่ายนิดเดียว

หนึ่งสัปดาห์ มี7วัน เพลงเด็ก Happy Channel Kids Song


ช่องเพลงเด็กช่องใหม่ของ Happy Channel
ชื่อช่อง Happy Channel Kids Song เป็นช่องเกี่ยวกับเพลงเด็กฝึกทักษะก่อนเข้าโรงเรียน ฝึกร้อง ฝึกอ่าน ผ่านคลิปVDOของ พี่ฟิล์มและน้องฟิวส์นะคะ
ติดต่อทำคลิป2D และ 3D
สามารถติดต่อได้ที่ คุณแอน
line : http://line.me/ti/p/zUWdG8kLIG
https://www.facebook.com/DuckCreativ…

หนึ่งสัปดาห์ มี7วัน เพลงเด็ก Happy Channel Kids Song

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมีกี่อัตรา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *