Skip to content
Home » [Update] | ความ รู้ เกี่ยว กับ ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

[Update] | ความ รู้ เกี่ยว กับ ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

ความ รู้ เกี่ยว กับ ประกัน สังคม: คุณกำลังดูกระทู้

ความเป็นมาของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

        การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นระดับหนึ่งของการวิจัยเชิงประฏิบัติการ (Carr & Kemmis 1986) ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันทั้งผู้วิจัยและ ผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผล การ ใช้วิธีวิจัยหลักที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยกึ่งทดลองและเชิงทดลองทั้งหมดเป็นวิธีวิทยาศาสตร์ของการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) สำหรับการวิจัยที่ต้องการหาความหมาย และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามมุมมองของผู้ถูกวิจัย จะเป็นวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีวิจัยเหล่านี้มีข้อจำกัดคือ การแก้ปัญหาไม่สามารถกระทำได้ทันท่วงทีในระหว่างกระบวนการทำวิจัย แต่ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ได้ออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการปฏิบัติการแก้ปัญหาผนวกรวมเข้าไป ด้วย ทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาอันเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวิธีวิจัยแบบอื่น ๆ (จำเริญ จิตรหลัง. 2555)

           Kurt Lewin  นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันได้เขียนบทความชื่อ  “Action  research   and  minority  problems” ในวารสาร “Journal  of  Social  lssues” ตีพิมพ์ในปี 1946  ทำให้แนวคิดการทำวิจัย (Research) ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงาน (Action) โดยผู้ปฏิบัติงานเป็นนักวิจัยเองที่เรียกว่า  “Action  Research”  ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเริกา  อังกฤษ ออสเตรเลีย  แคนาดา รวมทั้งประเทศในทวีปยุโรปได้นำวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปใช้ในการปรับ ปรุงพัฒนางานในบริบทต่าง ๆ  ทั้งงานพัฒนาชุมชน องค์กรธุรกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข  หรือการศึกษาในช่วงเวลาร่วม  50  ปีที่ผ่านมา (จำเริญ จิตรหลัง.2555)

           Corey  (1953) ได้ยืนยันว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เกิดจากการเสนอแนวคิดของ  Collier  ต่อคณะกรรมาธิการของ Indian Affairs ระหว่างปี  ค.ศ. 1933 –1945 ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมาธิการว่า  ความสำคัญของงานวิจัยเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคม  นอกจากจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโครงการวิจัยหรือเป้าหมายการวิจัยแล้ว ผลวิจัยก็ควรนำไปปฏิบัติได้โดยผู้ร่วมงานวิจัย และจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้ รับมา ผู้บริหารหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานต้องร่วมกันวิจัยในสิ่งที่เป็นความต้อง การในหน่วยงานของตนเองด้วย Kurt  Lewin (1940)  ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยอาศัยแนวคิดสำคัญ  2 ประการ คือ การตัดสินใจของกลุ่ม  และความตั้งใจร่วมกันที่จะทำการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งแนวคิดเริ่มต้นเกิดจากการพยายามเชื่อมโยงทฤษฎีที่นักวิจัยได้วิจัยไว้ไป สู่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาทางสังคมที่มีความแตกต่างของ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการแบ่งชนชั้น ความมีอคติ และการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย  (Ebbutt.1983) ความคิดของคนที่กำลังเผชิญสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หรือที่มีความคลุมเครือไม่กระจ่างชัด  มักจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจ 3 ข้อ คือ สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ? มีอันตรายอะไรบ้าง ? และที่สำคัญที่สุดคือ แล้วเราจะทำอย่างไร ? (Kurt  Lewin 1946)

ต่อมาได้มีการนำแนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้กับวงการอุตสาหกรรม ที่สถาบัน Tavistock ที่ประเทศอังกฤษ

          Stephen  M.Corey  (1953) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้นำการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้กับการจัดการศึกษาในอเมริกา  โดยนำมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียน (Corey,1953) ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในวงการศึกษาของอังกฤษและออสเตรเลียในช่วงทศวรรษ 1970 โดยในอังกฤษได้พยายามส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียน  (Classroom  Action  Research)  เพื่อให้ครูปรับปรุงการเรียนการสอนและเปลี่ยนแปลงบทบาทเรียกว่า  ครูนักวิจัย  (Teacher  as  a  Researcher) โดยสอนคู่ไปกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  (Elliott,1987)

          ออสเตรเลีย ได้มีการขยายแนวคิดเรื่อง  การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง ถึงกับจัดให้การวิจัยปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียนและการ ศึกษาของออสเตรเลีย โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของโรงเรียนและการพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน และสร้างความตระหนักให้กับครูในการแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ  โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย  Deakin ได้พัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งประยุกต์แนวคิดพื้นฐานของ  Kurt  Lewin  มาใช้  โดยกำหนดขั้นตอนของการวิจัยในลักษณะ “บันไดเวียน” (Spiral)  ประกอบด้วย การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ  (Act) การสังเกต (Observe) และการสะท้อนผล  (Reflect)  (Ebbutt, 1983 : Kemmis  and  McTaggart.1988)

ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          คำว่า  “Action  Research”  ในตำราภาษาไทยหลายคำ เช่น  “การวิจัยปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติ” “การวิจัยดำเนินการ” หรือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งน่าจะทำความเข้าใจในความหมายและมโนทัศน์ของคำนี้ให้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายพื้นฐานของการวิจัยปฏิบัติการไว้  หลายคน อาทิเช่น Kurt  Lewin  (1946) Dezin  and  Lincoin  (1994) และ Stringer  (1996) 

การ วิจัยปฏิบัติการเป็นการเชื่อมโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ  แนวคิด ซึ่งเป็นการนำทฤษฎี  ไปสู่การปฏิบัติได้จริง จากบนไปสู่ล่าง ระดับรากหญ้า ผู้ปฏิบัติงานคือนักวิจัย (Practitioners  as  a  Researcher)  ซึ่งอยู่ในองค์กรหรือชุมชนที่กำลังเผชิญสภาพการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา หรือข้อสงสัยที่คลุมเครือไม่กระจ่าง เป้าหมายคือ 1) เพื่อแก้ปัญหา และ 2) เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ หัวใจสำคัญที่แฝงอยู่ในกระบวนการของการวิจัยปฏิบัติการคือการมีส่วนร่วม  (Participation) และความร่วมมือกัน (Collaboration) เพื่อนำไปสู่ความเกี่ยวพันกัน (Involvement)  ของผู้เกี่ยวข้อง  (Participants) ในองค์กรหรือชุมชนที่ดำเนินการวิจัย การมีส่วนร่วมในการวิจัยปฏิบัติการคือ การร่วมกันตระหนักในปัญหา วางแผน ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ส่องสะท้อนตัวเอง และรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าแบบวิวัฒน์ ที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจากจุดเล็ก ๆ ของคนกลุ่มหนึ่งในประเด็นปัญหาที่ไม่ใหญ่โตซับซ้อนเกินไปจุดเด่นข้อหนึ่งของ การวิจัยปฏิบัติการคือ  ผู้ปฏิบัติงานในฐานะนักวิจัยเมื่อได้ทำวิจัยแล้ว  ผลวิจัยจะตอบสนองความต้องการของตนเองทำให้อยากศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงพัฒนา งานต่อไป  Carr & Kemmis (1986) จำแนกการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ออกเป็น 3 ระดับ 1) Technical Action Research ผู้วิจัยทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ 2) Practical Action Research   ผู้วิจัยมีส่วนร่วมกับผู้ร่วมวิจัยมากขึ้น 3) Participatory Action Research   ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ต่างร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมิน

แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทย 

ประเทศ ไทยนั้นแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการแพร่หลายมากพอสมควรในช่วง  10  ปีที่ผ่านมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการศึกษา แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการที่มีอิทธิพลมาก คือ แนวคิดจากมหาวิทยาลัย  Deakin โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแปลหนังสือชื่อ The  Action Research Planner ของ Kemmis and McTaggart (1988) เป็นภาษาไทยชื่อ “นักวางแผนวิจัยปฏิบัติการ”  เมื่อปี  2538  อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางเมื่อมีพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ระบุไว้ในมาตรา 30 ว่าให้สถานศึกษาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการพัฒนางานในโรงเรียนโดยใช้การวิจัย  จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาสนใจแนวคิดเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำการวิจัยปฏิบัติการไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ เรียกว่า  Classroom  Action  Research : CAR

สม โภชน์ อเนกสุข (2548) เขียนบทความไว้ในวารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2548 กล่าวถึง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มี คุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงาน กำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนถึงแม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่นในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษามีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม ระบบอุตสาหกรรม และองค์การต่าง ๆ แต่มีน้อยมากในงานด้านการศึกษา ซึ่งมีอยู่บ้างเมื่อครูแต่ละคนทำการแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนของตนเอง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต้องมีการทำความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกับ ชุมชนและสังคม และมีจุดเน้นของการวิจัยที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเป็นอิสระหรือมีส่วน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม การวิจัยในลักษณะนี้มักจะเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และอาจจะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมด้วยก็ได้ (Creswell, 2002 : 609) จะเห็นได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้นำแนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพมาประยุกต์ใช้ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัยมีส่วนร่วมกันแสวงหารูปแบบหรือ วิธีการแก้ปัญหาของตน เน้นการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่และชีวิต ตลอดจนเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนให้ดี ขึ้น และเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจให้กับประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์การจากภายนอกทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาหรือเป็น ผู้ประสานงานเพื่อให้

 

ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มีคุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงานกำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า   มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ถึง แม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่น ในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษา มีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหา วิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง (สมโภชน์ อเนกสุข.2548)

สรุป การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึงผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันที่ทั้ง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผลมีรูปแบบล่างขึ้นบน จึงมีความเป็นประชาธิปไตยสูงเปรียบได้กับการใช้ทฤษฎี Y  ทฤษฎี  Maturity Organization (Selena Rezvani, M.S.W) ทฤษฎี System 4 (R. Likert and Likert 1976) เปรียบได้กับการใช้ภาวะผู้นำแบบยึดผู้ปฏิบัติเป็นศูนย์กลาง แบบมีส่วนร่วม แบบมอบอำนาจ แบบความเป็นเพื่อนหรือมุ่งคน นำเอาหลักการบริหารแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน (Site Based Management : SBM) เป็น การนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา กระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหาวิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง

จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพองค์การ ประชาชนชุมชน และชีวิตครอบครัว (Stringer, 1999, Cited in Creswell, 2002 : 609) โดยมีสาระที่สำคัญ คือการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมจุดมุ่งหมายของความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยเกิดความร่วมมือ ในการตัดสินใจ มีความเห็นร่วมกันทั้งในฐานะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การและเป็นผู้ ร่วมกระทำกิจกรรมการวิจัยบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในทางการเมือง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยังมีจุดเน้นที่การกระจายอำนาจทางการเมือง ไปสู่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบ และกำหนดวิธีการปฏิบัติในโครงการวิจัยนั้น การร่วมกันปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการวิจัย รูปแบบนี้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคลในการวิจัย จะทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจ ที่ดีในรายละเอียดและทำให้เกิดข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมวิถีชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนวิธีการที่จะต้อง ปฏิบัติทั้งหมด (Merriam, 2002 : 138-139) เมื่อพิจารณาบทบาทของนักวิจัยจะพบว่า นักวิจัยมีบทบาทเป็นสมาชิกในบางด้านขององค์การ เป็นผู้มีส่วนร่วมตลอดกระบวนการของวิจัยในองค์การนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ นักวิจัยจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ทั้งในสถานะภาพของสมาชิกในองค์การและการเป็นนักวิจัย บทบาทเหล่านี้จะกำหนดให้นักวิจัยต้องพัฒนาข้อสรุปที่ถูกต้องตรงตามความเป็น จริง (Valid Conclusions) เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนในองค์การ และเกิดความพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น (Schutt, 1996 : 432, 584)

ลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีรูปแบบที่แตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน

เช่น การวิจัยโดยมีชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Inquiry) การวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือ(Collaborative Action Research) การวิจัยปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Critical Action Research) เป็นต้น คุณค่าของการวิจัยแบบนี้คือ กระบวนการของความร่วมมือ (Stringer, 1999 : 9 ; Kemmis & McTaggart, 2000 : 567 ; Mills, 2000 : 7, Cited in Creswell, 2002 : 609)ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการสังเกต การสะท้อนการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่พึงพอใจ ซึ่งต้องมีความยืดหยุ่นสูงและไม่ควรกำหนดเวลาในการวิจัยหรือกิจกรรมไว้ล่วง หน้า รวมทั้งตระหนักถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ภูมิปัญญาของนักวิชาการ (สมอาจ วงศ์ขมทอง, 2536 : 5 อ้างถึงใน ประพิณ วัฒนกิจ,2542 : 140)

เคมมิส และวิลคินสัน (Kemmis.& Wilkinson, 1988 cited in Creswell, 2002 : 609-610)ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ไว้ 6 ประการ คือ 1) เป็นกระบวนการทางสังคมที่นักวิจัยมีเจตนาขยายความสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละ บุคคลกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลสร้างความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมผ่านปฏิ สัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร 2) รูปแบบของการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วม หมายความว่า แต่ละคนจะเกิดความเข้าใจใน

สิ่งที่ตนทำ แล้วเสนอความรู้และความคิดเห็นสู่บุคคลอื่น รวมทั้งผลักดันให้เกิดการกระทำร่วมกัน 3) เป็นความร่วมมือในการปฏิบัติร่วมกัน เพราะการวิจัยจะมีความสมบูรณ์ต้องเกิดจากการกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการปฏิบัติเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชน หรือสร้างความรู้ให้กับองค์การทางสังคม เพื่อลดความไม่สมเหตุสมผล ความล้มเหลว และความไม่ยุติธรรม ในการปฏิบัติ หรือจากปฏิสัมพันธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ 4) การดำเนินงานไม่มีการบังคับ ทุกคนมีอิสระจากกฎเกณฑ์ที่ไม่มีเหตุผลและโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาตนเอง 5) ช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีความเป็นอิสระในตัวเอง จากข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น สื่อ ภาษาและกระบวนการทำงาน เป็นต้น 6) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันได้อีก โดยการพิจารณาผลที่สะท้อนกลับและเหตุผลที่เหมาะสม เพราะเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ

 

วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

วิธีดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีลักษณะร่วมกันกับการวิจัยปฏิบัติการ

หลายประการ จึงขอสร้างความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ ดังนี้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เป็นรูปแบบของการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบโดยผู้ที่ปฏิบัติมีส่วน เกี่ยวข้องในการใช้เทคนิคกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ของตน (Gall & Others, 1999 : 468) ลักษณะของการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบของปัญหาทั่ว ๆ ไปในระดับย่อยหรือเฉพาะท้องถิ่น โดยอาจศึกษาจากกลุ่มเฉพาะเล็ก ๆ ซึ่งการวิจัยลักษณะนี้ไม่เคร่งครัดในกฏเกณฑ์และรูปแบบเหมือนกับวิธีการวิจัย ตามปกติการวิจัยปฏิบัติการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ดีจากข้อค้นพบที่มีคุณภาพ จากข้อมูลในการวิจัยเข้ากับประสิทธิผลของระบบที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัย นั้น (Fryer & Feather, 1994 : 230) และใช้ข้อค้นพบนั้นไปปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณากระบวน การวิจัยปฏิบัติการจะพบว่า มีลักษณะเป็นเกลียวของการคิดการพิจารณา และการกระทำ ซึ่งเรียกว่า “เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)” ซึ่งเสนอไว้โดย สตริงเกอร์ (Stringer, 2007:9) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ดูว่ามีปัญหาอะไร (Look) คิดพิจารณา (Think) และลงมือปฏิบัติ (Act) ซึ่งรูปแบบลักษณะนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวเส้นตรง กระบวนการทั้งหลายสามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำอีกและจะมีการปรับปรุงกระบวนการและ การให้ความหมายในขั้นตอนต่อไป

 

 

ภาพที่ 2.1 เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)

แหล่งที่มา : Stringer, E.T. Action research. 2007: 9

 

เครสเวลล์ (Creswell, 2002 : 614) ได้สรุปลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) มีจุดเน้นไปสู่การนำไปปฏิบัติ 2) การดำเนินการวิจัยมีการปฏิบัติร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัย 4) เป็นกระบวนการที่เป็นพลวัติ (Dynamic Process) ของเกลียวปฏิสัมพันธ์ ที่มีกระบวนการย้อนกลับและนำไปสู่การพัฒนาขั้นต่อไป (Back and Forth) จากผลสะท้อนของสิ่งที่เป็นปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติ 5) การพัฒนาแผนการดำเนินงานต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ 6) มีการนำเสนอผลการวิจัยต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนในท้องถิ่น ชุมชน และบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่าการวิจัยปฏิบัติการและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะมีลักษณะร่วม กันหลาย ประการแต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ การวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อนำความรู้ไปใช้ ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการดำรงชีวิตประจำวัน (Reason & Bradbury, 2001 : 2 cited in Donna, 2004 : 536) ดังนั้นระเบียบวิธีการวิจัยจึงต้องการมาตรฐานทางทฤษฎีที่มากเพียงพอต่อการนำ ไปใช้และการนำไปปฏิบัติ (Donna, 2004 : 536) ส่วนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อสร้างความรู้และกระตุ้นประชาชนธรรมดา (Borda & Rahman, 1999 cited in Donna, 2004 : 538) ซึ่งกระบวนการนี้มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีอำนาจและการไร้อำนาจของบุคคลในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายหรือมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยเน้นความร่วมมือที่ทุกคนมีอำนาจอย่างเท่าเทียมกันทั้งตัวผู้วิจัย ผู้ให้ข้อมูล และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนที่มี ลักษณะเป็นพลวัติ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการสูง และเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องซึ่ง พันธุ์ทิพย์ รามสูต (มปป. : 42-43) ได้เสนอกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1) การเตรียมชุมชน เพื่อที่จะให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามีส่วนร่วมในการวิจัยในระดับที่เสมอ ภาคกัน 2) อบรมนักวิจัยร่วมจากชุมชน เพื่อเตรียมนักวิจัยในท้องถิ่นให้มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในท้องถิ่น บทบาทของผู้ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยท้องถิ่น การจัดองค์การชุมชน รูปแบบของผู้นำการสนับสนุนและมนุษยสัมพันธ์ 3) กำหนดรูปแบบการวิจัย โดยกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันกำหนดรูปแบบการวิจัย เช่น การพิจารณารายละเอียดปัญหาทั่วไปที่ชุมชนได้เลือกขึ้นมา การจำแนกออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อที่จะสามารถทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาได้ทีละส่วน กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเครื่องมือที่จะใช้ รูปแบบคำถาม วิธีการถาม กลุ่มและขนาดของตัวอย่าง เป็นต้น 4) ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล 5) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันประมวลผลและสรุปข้อมูลให้ข้อสังเกตหรือข้อ วิจารณ์สิ่งที่พบ วิเคราะห์ว่าเหตุใดจึงได้ข้อมูลเช่นนั้น เขียนสรุปสิ่งที่พบออกอย่างกว้าง ๆ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะประกอบ 6) หารือข้อค้นพบกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเสนอคืนต่อชุมชน ให้มีโอกาสตรวจสอบและแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง ตลอดจนทำการวิเคราะห์ สรุปประเด็น หรือชี้แนะประเด็นสำคัญให้แก่กลุ่มนักวิจัย 7) วางแผนชุมชน โดยการอบรม กลุ่มที่ทำหน้าที่วางแผนให้สามารถเขียนโครงการได้รวมทั้งมีความสามารถในการ จัดองค์การชุมชนด้วย โครงการที่กลุ่มวางแผนเขียนขึ้นนี้จะต้องนำมาปรึกษาหารือกับชุมชน ให้ชุมชนตรวจสอบแก้ไขและรับรองก่อนนำไปเสนอขอรับการสนับสนุนจากองค์การที่ เกี่ยวข้องต่อไป 8) นำแผนไปปฏิบัติ โดยการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ตลอดจนองค์การประชาชนต่าง ๆ ใน ชุมชนมาร่วมปฏิบัติตามแผนที่จัดวางขึ้น จากพื้นฐานข้อมูลที่เป็นผลมาจากการศึกษาร่วมกัน 9) ติดตามกำกับและประเมินผลในชุมชน โดยกลุ่มนักวิจัยร่วมกับชุมชนข้อควรพิจารณา ในการเลือกชุมชนเป้าหมายควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือก มีการพิจารณาศักยภาพของชุมชน และศึกษาข้อมูลที่สำคัญของชุมชนนั้นมาก่อน การเข้าสู่ชุมชนต้องทำความรู้จักชุมชน หาความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความคุ้นเคยกับบุคคลผู้นำชุมชน และกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน การเลือกทีมนักวิจัยท้องถิ่นที่สามารถเข้าร่วมกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมได้ตลอดโครงการ จากนั้นนักวิจัยร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นจะทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น หลังจากทำการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลเสร็จแล้ว ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นเสนอให้ชุมชนรับทราบ มีการแนะนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนทำการพัฒนา ทัศนคติของประชาชนให้รู้จักการทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องการทำการวิจัย จัดกิจกรรมการวิจัยขนาดเล็กเพื่อทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะในการทำการ วิจัยซึ่งทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องตลอดกระบวนการในการพัฒนา เลือกปัญหาที่จะทำการวิจัยซึ่งปัญหานั้นต้องสามารถจะหาคำตอบมาแก้ปัญหาได้ จากนั้นจึงหาทางเลือก และวิธีการต่าง ๆ มาใช้ ในขั้นตอนต่อไปจะมีการวางแผนการวิจัย การวางแผนการปฏิบัติ การกำกับดูแล ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผล การเขียนรายงานการวิจัย ถ้าการดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนนั้นสามารถนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกลับมาใช้ ใหม่ โดยไม่ต้องมีนักวิจัยจากภายนอกมาช่วยดำเนินการ และเป็นการเริ่มต้นวงจรต่อไปของกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของชุมชนนั้น เอง

 

คุณลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

          Mckernan (1996) ได้อธิบายลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไว้  9 ประการ โดยอาศัยแนวคิดของ  Elliott (1978)  ดังนี้ 1) ปัญหาที่นำมาวิจัย  ต้องเป็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงาน 2) ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ 3) ปัญหานั้นเป็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ  ไม่ใช่ปัญหาเชิงทฤษฎีหรือเชิงหลักการ 4) มีการเสนอทางออกของปัญหาและปรับเปลี่ยนไปจนกว่าการวิจัยจะเสร็จสิ้น 5) เป้าหมายคือต้องการให้ผู้วิจัยเข้าใจปัญหา 6) ใช้วิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study)  เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยและสถานการณ์ปัญหาที่เกาะ ติดเพื่อศึกษา 7) ใช้การบรรยายข้อมูลจากสัญลักษณ์ทางภาษาที่แสดงออกมาในชีวิตประจำวัน 8) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลได้อย่างอิสระ 9) เปิดรับหรือรวบรวมข้อมูลได้อย่างอิสระภายในกลุ่มหรือในระหว่างการปฏิบัติ

 

หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

          Mckernan (1996)  กล่าวว่า  การวิจัยปฏิบัติการมีหลักการสำคัญอยู่  16  ประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1)  เพิ่มพูนความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ  2)  มุ่งปรับปรุงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของบุคคล 3)  เน้นที่ปัญหาเร่งด่วนของผู้ปฏิบัติงาน 4)  ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5)  ดำเนินการวิจัยภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา 6)  ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรมชาติ 7)  เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือศึกษาเพียงหน่วยเดียว 8)  ไม่มีการควบคุมหรือจัดกระทำต่อตัวแปร 9) ปัญหา วัตถุประสงค์ และระเบียบวิธีมีลักษณะเป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ความจริง 10)  มีการประเมินหรือส่องสะท้อนผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวน 11)  ระเบียบวิธีวิจัยมีลักษณะเป็นนวัตกรรม  สามารถคิดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาได้ 12)  กระบวนการศึกษามีความเป็นระบบหรือเป็นวิทยาศาสตร์ 13)  มีการแลกเปลี่ยนผลวิจัยและมีการนำไปใช้จริง 14)  ใช้วิธีการแบบบรรยายข้อมูล  หรือการอภิปรายร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ 15)  คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องมาจากการทำความเข้าใจ  การตีความหมายและการคิดอย่างอิสระ 16)  เป็นการวิจัยที่ปลดปล่อยความคิดอย่างอิสระ และเป็นการเสริมสร้างพลังร่วมในการทำงาน (Empowerment) ให้ผู้เกี่ยวข้อง

 

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

            

 Mckernan. (1996) กล่าวว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการนำมาซึ่งสิ่งสำคัญ  3  ประการ คือ 1)  ปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์  ปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบ 2)  ส่งเสริมให้คนเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างนักวิจัย 3)  สร้างความกระจ่างในสังคมอย่างรอบด้าน

         กระบวนการหรือขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่สำคัญและมีผู้นำมา ประยุกต์ใช้ มีอยู่  5  กระบวนการ คือ กระบวนการของ  Kurt Lewin,  John  Elliott, มหาวิทยาลัย Deakin,David Ebbutt  และ James Mckernan อย่างไรก็ดีแม้ว่ากระบวนการวิจัยปฏิบัติการจะมีหลายรูปแบบแต่หลักการสำคัญ หรือวิธีการก็ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน  สำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของะกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัย  Deakin  ในประเทศออสเตรเลีย  Stephen Kemmis และคณะได้นำแนวคิดของ Lewin  มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาของ ออสเตรเลียจนได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปกว้างขวาง  ซึ่งในความคิดของ  Kemmis  และคณะนั้นการวิจัยปฏิบัติการ คือ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันเป็นหมู่คณะจะกระทำคนเดียวไม่ได้  เพราะการกระทำเพียงคนเดียวถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ก็จะทำลายพลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกลุ่ม ดังนั้นในขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการจึงต้องกำหนดจุดสนใจร่วมกัน  (thematic concern)  เช่น สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมตลาดพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน  หรือพัฒนาให้ชุมชนตลาดเข้าใจวิธีการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมให้ลึกซึ้ง  เป็นต้น  เมื่อได้จุดสนใจร่วมกันแล้วก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ 4 ประการที่เกี่ยวข้องกันเป็นวงจร  คือ

  1. การพัฒนาแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสิ่งที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่มี

โครง สร้างและแนวทาง  การวางแผนต้องมีความยืดหยุ่น  และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อ แผนที่กำหนดไว้ได้

  1. การปฏิบัติตามแผน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างละเอียด

รอบคอบ  และมีการควบคุมอย่างสมบูรณ์

  1. การสังเกตผลการปฏิบัติ เป็นการบันทึกข้อมูล หลักฐาน หรือร่องรอยต่าง ๆ อย่างมี

วิจารณญาณ เกี่ยวกับผลที่ได้จากการปฏิบัติ โดยอาจใช้วิธีการวัดแบบต่าง ๆ  เข้ามาช่วย  ซึ่งสารสนเทศจากการสังเกตนี้จะนำไปสู่การส่องสะท้อนและปรับปรุงการปฏิบัติ อย่างเข้าใจและถูกทิศทาง

  1. การส่องสะท้อนผลการปฏิบัติ  เป็นกระบวนการทบทวนการปฏิบัติจากบันทึกที่ได้

จากการสังเกตว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานการวางแผนในวงจรต่อไป

          ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย Deakin  จึงประกอบด้วยจุดสำคัญทั้ง  4 จุดดังที่กล่าวมาคือ การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตผล  (Observation)  และการสะท้อนผล  (Reflection) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวลักษณะ “เกลียวสว่าน” ไปในจุดทั้ง  4 จุด ไม่อยู่นิ่ง และไม่จบลงด้วยตัวเอง

 

 

ภาพที่ 2.2  กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของมหาวิทยาลัย  Deakin

(McKernan, 1996)

 

 

                McKernan (1996) ได้เสนอวงจรการวิจัยปฏิบัติการที่ยึดเอาระยะเวลาในการปฏิบัติงานและกิจกรรม เป็นหลัก โดยวงจรปฏิบัติที่ 1 เริ่มจากการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติและมีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน นั้น  เมื่อปฏิบัติจนครบวงจรแล้ว  ก็เริ่มระบุปัญหาในการปฏิบัติงานและกิจกรรมใหม่ในวงจรปฏิบัติที่  2  และต่อไปเรื่อย ๆ ดังที่นำเสนอในภาพประกอบที่  2.2

               กิจกรรมในแต่ละวงจร  ประกอบด้วย

  1. การนิยามปัญหา ในสถานการณ์ที่นักวิจัยประสบอยู่ในการปฏิบัติงาน
  2. การประเมินความต้องการจำเป็นที่จะปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน
  3. การกำหนดสมมุติฐาน  เป็นการกำหนดผลที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติแล้ว
  4. พัฒนาแผนปฏิบัติ  ซึ่งต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ
  5. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้  ซึ่งต้องมีการบันทึกข้อมูลไว้
  6. ประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
  7. สะท้อนผลปฏิบัติ  อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและทำความเข้าใจ
  8. ตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาต่อไป

         

 

จากกระบวน การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่กล่าวมาทั้งหมด นั้น จะเห็นว่า  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหาหรือจุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปสู่ขั้นตอนใหญ่ ๆ 3  ขั้น คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการปฎิบัติ  ซึ่งก็คือการปฏิบัติงานที่เป็นระบบนั่นเอง  แต่จุดเด่นของการวิจัยปฏิบัติการนอกเหนือจากความเป็นระบบแล้วคือการดำเนิน การนั้นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม  รวมทั้งต้องมีการส่องสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงสิ่งที่กำลังดำเนินการให้เกิด การเปลี่ยนแปลงหรือให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่ง  Kemmis  และ  McTaggart (1988) ได้กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าเป็นกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  4  ประการคือ 1)  เป็นการปฏิบัติที่ไม่ใช่สิ่งที่ทำตามปกติ  แต่ต้องทำเป็นระบบและได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม 2)  ไม่เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่เท่านั้น  แต่ต้องเกิดมาจากแรงกระตุ้นที่ต้องการปรับปรุงพัฒนางานที่ตนเองปฏิบัติอยู่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3)  ไม่ใช่การปรับปรุงพัฒนางานของผู้อื่น แต่เป็นงานของกลุ่มตนเองที่มีบทบาทหน้าที่อยู่ 4)  การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะมองในแง่การทดสอบ สมมุติฐานเพื่ออธิบายสภาพการณ์อย่างเดียว  แต่ต้องเป็นระบบที่หมุนวนไปเรื่อย ๆ  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวนักวิจัย  และสถานการณ์แวดล้อม

          ดังนั้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักวิจัย  ก็ควรต้องคำนึงถึงและพิจารณากระบวนการที่ได้ลงมือปฏิบัติว่าสอดคล้องเป็นไป ตามหลักการดังที่กล่าวมานี้หรือไม่  เพื่อให้เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

 

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

          การรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะข้อมูล  ขั้นตอนการวิจัย  และกลุ่มเป้าหมายที่จะรวบรวมข้อมูล ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงเทคนิค วิธีการรวบรวมข้อมูลตามลักษณะของแหล่งข้อมูลที่จะทำการรวบรวมทั้งที่เป็นการ วิจัยปฏิบัติการที่ทำในชุมชน  ดังนี้ คือ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป และ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

 

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป

 

            1.  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐาน

 

               วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอน นักวิจัยต้องกำหนดขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการสำรวจแหล่งข้อมูล สืบค้น และรวบรวมเอกสารและหลักฐาน ก่อนที่จะบันทึกข้อมูล นักวิจัยต้องศึกษาประเมิน คัดเลือกเอกสารและหลักฐานคัดเอาไว้เฉพาะส่วนนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ แล้วจึงบันทึกข้อมูล หลักการในการดำเนินงานทุกขั้นตอนก็คือ  การทำใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ  ทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบ  ศึกษาเอกสารหลักฐานอย่างละเอียด  และต้องมีความชำนาญในการหาความหมาย  หรือข้อเท็จจริงที่แฝงอยู่ในเอกสารหลักฐานเหล่านั้นด้วย  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                1)  สำรวจ  สืบค้น และรวบรวมเอกสารหลักฐาน

                    เมื่อได้สืบค้นทราบแหล่งของเอกสารหลักฐานแล้ว  นักวิจัยควรจัดทำรายการเอกสารหลักฐานให้เป็นระบบเพื่อความสะดวกในการศึกษา  และใช้ประโยชน์ต่อไป

                2)  ประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐาน

                    นักวิจัยต้องประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐานก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพ  วิธีการประเมินต้องพิจารณาประเมินทั้งแบบภายนอกและภายใน การประเมินภายนอกเป็นการประเมินลักษณะภายนอกทั่ว ๆ  ไปของเอกสารหลักฐานว่าเป็นเอกสารอะไร ผลิตที่ไหน  เมื่อไร ใครผลิต  มีการดัดแปลงหรือไม่  สาระยังคงถูกต้องคงเดิมหรือไม่  มีการตรวจสอบได้อย่างไร ส่วนการประเมินภายในเป็นการประเมินเนื้อหาสาระว่าเอกสารหลักฐานนั้นมีข้อมูล ครบถ้วน  มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่

                3)  บันทึกข้อมูล

                    การบันทึกข้อมูลจากเอกสารอาจจดบันทึกอย่างละเอียด หรือเลือกบันทึกเฉพาะประเด็นที่สนใจ โดยทำรายการประเด็นที่ต้องการศึกษาไว้ในแบบบันทึก  แล้วบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์  หรือพฤติกรรมในแต่ละประเด็น  ลักษณะแบบบันทึกในการวิจัยนิยมใช้บัตรขนาด  4 ´6  นิ้ว  บันทึกข้อมูลแยกบัตรละประเด็น  เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยยึดหลักการบันทึกข้อมูลให้ตรงตามวัตถุ ประสงค์  และถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

 

            2.  การสังเกต  (Observation)

 

                การสังเกตเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้มากสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ เหมาะกับการกระทำ กิริยาอาการหรือพฤติกรรมที่สามารถใช้ประสาทสัมผัส และ / หรือ เครื่องมือช่วยในการรับรู้  ทำความเข้าใจ และจดบันทึกเป็นข้อมูลได้เหมาะสมที่จะใช้ในการรวบรวมข้อมูลทั้งจากบุคคล  สถานที่  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ

                2.1  ประเภทของการสังเกต

                    2.1.1  การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัว / ไม่รู้ตัว  (Know / unknown   observation) การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัวนั้น นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์  และใกล้ชิดกับผู้ถูกสังเกต ข้อดีคือนักวิจัยสังเกตพฤติกรรมได้ครบถ้วน แต่มีข้อเสียคือการที่ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวอาจมีผลทำให้การแสดงพฤติกรรมไม่ เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนการสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวนั้น  นักวิจัยอาจไม่ได้เห็นพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตอย่างใกล้ชิด แต่จะได้พฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติแท้จริง

                    2.1.2  การสังเกตแบบมี /ไม่มีส่วนร่วม  (participant / non – participant  observation)การสังเกตแบบมีส่วนร่วมนั้นนักวิจัยต้องทำตัวเสมือนเป็นสมาชิก ของกลุ่ม  และต้องร่วมทำกิจกรรมไปกับกลุ่มด้วย โดยอาจมีการบันทึกข้อมูลโดยผู้ถูกสังเกตรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้  วิธีนี้จะได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ และได้ข้อมูลครบถ้วน ส่วนการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเป็นการสังเกตที่นักวิจัยทำตัวเป็นผู้ดู หรือผู้สังเกตการณ์อยู่นอกกลุ่ม และไม่เข้าร่วมกิจกรรม วิธีนี้จึงอาจไม่ได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติ  และอาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเมื่อผู้ถูกสังเกตมีปฏิกิริยาต่อนักวิจัย

                    2.1.3  การสังเกตแบบมี / ไม่มีระบบ  (structured / unstructured  observation)

ใน กรณีที่นักวิจัยทราบแน่ชัดว่าพฤติกรรมที่จะสังเกตเกิดขึ้นช่วงเวลาใด  อย่างไร ก็อาจกำหนดแนวทาง รูปแบบของการสังเกตให้เป็นระบบไว้ล่วงหน้าได้ โดยการนิยามพฤติกรรมการกำหนดหน่วยพฤติกรรม  และตัวผู้ถูกสังเกต การกำหนดช่วงเวลาการสังเกต การสร้างเครื่องมือบันทึกผลการสังเกต  และการซ้อมก่อนที่จะทำการสังเกตจริง การเตรียมระบบการสังเกตล่วงหน้าทำให้ได้ข้อมูลมีความเป็นปรนัย  ครบถ้วนและมีความสอดคล้องกรณีที่มีผู้สังเกตหลายคน  สำหรับการสังเกตแบบไม่มีระบบเหมาะสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า  หรืออาจต้องการได้ข้อมูลที่เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป หรืออาจต้องการรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดจนไม่อาจวาง ระบบการสังเกตได้

                    2.1.4  การสังเกตโดยตรง / อ้อม  (direct / indirect  observation)การสังเกตโดยตรงเป็นวิธีการที่นักวิจัยได้สัมผัสสิ่งที่ต้องการ สังเกตด้วยตนเอง  ส่วนการสังเกตโดยอ้อมนั้น นักวิจัยไม่สามารถสังเกตสัมผัสด้วยตนเอง แต่ใช้เครื่องมือ  เช่น  การบันทึกเทปโทรทัศน์  แล้วนำมาสังเกต และบันทึกข้อมูล วิธีนี้ได้ข้อมูลที่มีข้อจำกัด และคุณภาพต่ำกว่าการสังเกตโดยตรง

               2.2  หลักการสังเกต

                    1)  นักวิจัยต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่าจะสังเกตอะไร ควรให้นิยามของสิ่งที่จะสังเกตและกำหนดรายละเอียดของสิ่งที่จะสังเกตเป็น หน่วยย่อย ๆ

                    2)  นักวิจัยควรเตรียมการสังเกต วางระบบการสังเกตไว้ล่วงหน้าถ้าสามารถทำได้กรณีมีผู้สังเกตหลายคนควรมีการ ฝึกซ้อมให้การสังเกตมีมาตรฐานเดียวกัน

                    3)  ระหว่างการสังเกต นักวิจัยควรมีสมาธิจดจ่อกับผู้ถูกสังเกต เตรียมประสาทสัมผัสให้ตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้รายละเอียด โดยพยายามรบกวนผู้ถูกสังเกตให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่เป็น ธรรมชาติ

                    4)  การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยในการสังเกตต้องระมัดระวังให้กระทบกระเทือนผู้ถูกสังเกตน้อยที่ สุด ควรขออนุญาตก่อนใช้ และควรมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลืม  การบันทึกข้อมูลต้องทำด้วยความรอบคอบให้ข้อมูลตรงตามสภาพความเป็นจริงมากที่ สุด

               2.3  เครื่องมือบันทึกการสังเกต

          เครื่องมือสำหรับการสังเกต ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต และเครื่องมือช่วยการสังเกตประเภทโสตทัศนูปกรณ์  เช่น เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพยนต์ เป็นต้นในที่นี้จะเสนอเฉพาะแบบบันทึกการสังเกตเท่านั้น  แบบบันทึกการสังเกตเป็นเครื่องมือวิจัยที่นักวิจัยต้องสร้างขึ้นให้เหมาะสม กับจุดมุ่งหมายของการสังเกต และลักษณะข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเพื่อใช้บันทึกสิ่งที่สังเกตได้  การบันทึกอาจจะบันทึกในขณะทำการสังเกต  หรือบันทึกหลังจากเสร็จสิ้นการสังเกตโดยบันทึกจากความทรงจำ  หรือบันทึกจากการดูภาพ หรือวิดิทัศน์ก็ได้  ลักษณะของแบบบันทึกการสังเกตที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น  4 แบบ คือ แบบรายการตรวจสอบ (checklists) แผนภูมิการมีส่วนร่วม (participation charts) มาตรประมาณค่า (rating scales) และแบบบันทึกพฤติกรรม  (anecdotal  records) 

 

            3.  การสัมภาษณ์  (Interviews)

 

               การสัมภาษณ์เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการสนทนา ซักถามและโต้ตอบระหว่างนักวิจัยกับผู้ให้ข้อมูล วิธีนี้นักวิจัยมีโอกาสสังเกตบุคลิกภาพ อากัปกิริยา ตลอดจนพฤติกรรมทางกายและวาจา  ขณะสัมภาษณ์ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลประกอบได้ด้วย

               3.1  ประเภทของการสัมภาษณ์

                    3.1.1  การสัมภาษณ์แบบมี / ไม่มีระบบ  (Structured / unstructured  interviews) การสัมภาษณ์แบบมีระบบเป็นวิธีการที่นักวิจัยกำหนดรูปแบบการสัมภาษณ์  รายการคำถาม  เวลาและสถานที่สัมภาษณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว  ขณะสัมภาษณ์นักวิจัยจะดำเนินการตามระบบที่วางไว้ให้บรรยากาศ  และวิธีการคล้ายคลึงและมีมาตรฐานเป็นแบบเดียวกันทุกครั้ง วิธีนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่เบี่ยงเบนเนื่องจากความแตกต่างในการ สัมภาษณ์ แต่มีข้อเสียตรงที่ทำให้ได้ข้อมูลไม่ลึกซึ้งเพียงพอในบางประเด็น ตรงข้ามกับการสัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ ซึ่งนักวิจัยอาจตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อดึงข้อเท็จจริงจากผู้ให้ข้อมูลให้ มากที่สุด  ทั้งนี้นักวิจัยอาจทำการสัมภาษณ์แบบลึก  หรือตั้งคำถามตะล่อมให้ผู้ให้ข้อมูลเพ่งความสนใจไปที่เรื่องเฉพาะเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เป็นการสัมภาษณ์แบบรวมจุดสนใจ  (focused  interviews) ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลละเอียดลึกซึ้ง แต่ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนมีรูปแบบต่างกันไม่เป็นมาตรฐานเดียว กัน

                    3.1.2  การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม / รายบุคคล  (group / individual  interviews)

การ สัมภาษณ์แบบนี้เป็นการแยกตามจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นกลุ่มใช้เมื่อผู้สัมภาษณ์ต้องการข้อเท็จจริงจากสมาชิกทั้ง กลุ่ม อาจจะต้องการข้อมูลจากสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลด้วย  แต่ความสนใจอยู่ที่ข้อมูลจากสมาชิกทั้งกลุ่ม วิธีนี้ช่วยประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์  และถ้าจัดกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ให้มีลักษณะประสบการณ์คล้ายคลึงกันในบางเรื่อง จะยิ่งทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์มีอารมณ์ร่วม  และเต็มใจตอบคำถามมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสมาชิกมีโอกาสแสดงความคิดเห็นก่อนสรุปเป็นความคิดเห็นของ กลุ่ม  ทำให้ได้ความคิดเห็นจากกลุ่มที่เที่ยงตรงขึ้น

                    3.1.3  การสัมภาษณ์แบบลึก  (in – depth  interviews) วิธีการสัมภาษณ์แบบลึกเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่นักวิจัยต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ตะล่อมถาม  (probe)  เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์มากที่สุด  การสัมภาษณ์แบบนี้นักวิจัยเตรียมแนวทางการสัมภาษณ์ได้ล่วงหน้า  เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์แบบอื่น ๆ แต่คำถามที่จะใช้ตะล่อมถามเป็นความสามารถเฉพาะตัวนักวิจัยซึ่งต้องอาศัยความ รู้ความชำนาญ ลักษณะของการสัมภาษณ์แบบลึกจึงมีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มีรูปแบบเป็น ระบบมาตรฐาน เพราะการตะล่อมถามอาจแตกต่างกันตามลักษณะผู้ให้สัมภาษณ์  แม้ว่าผู้สัมภาษณ์จะเป็นคนเดียวกันก็ตาม

               3.2  หลักการสัมภาษณ์

                    ในการสัมภาษณ์  นักวิจัยควรดำเนินการดังนี้

                    1)  นักวิจัยควรกำหนดจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน  เตรียมแบบสัมภาษณ์  (interview  schedule)  แบบบันทึก ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะต้องใช้ในการสัมภาษณ์ให้พร้อม ถ้าเป็นไปได้ควรมีการทดลองใช้ก่อนการสัมภาษณ์จริง

                    2)  ควรมีการติดต่อนัดหมาย กำหนดเวลา สถานที่ และวิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ให้เรียบร้อย

                    3)  สัมภาษณ์ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดี ให้ความเป็นกันเอง และชี้แจงให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่าจะนำผลการสัมภาษณ์ไปใช้อย่างไร ให้คำรับรองว่าจะไม่ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์เสื่อมเสียเดือดร้อน  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์เต็มใจให้ความร่วมมือ

                    4)  ในขณะสัมภาษณ์นักวิจัยควรตั้งคำถามทีละคำถาม ใช้เวลารอคำตอบไม่เร่งเร้า  และไม่ใช้คำถามนำหรือชี้แนะ  ต้องแน่ใจว่าผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจคำถามทุกคำถามก่อนตอบ คำถามต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับปัญหาวิจัย  ภาษาง่าย  สื่อความหมายชัดเจน  และเป็นคำถามที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อมูล  เมื่อได้ฟังคำตอบไม่ควรแสดงอารมณ์ หรือปฏิกริยาใด ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการตอบคำถามต่อไป  ถ้าจำเป็นต้องตั้งคำถามเพื่อล้วงหาความจริง  หรือถามลึกลงไปควรชี้แจง  และกระทำด้วยความสุภาพ

                    5)  นักวิจัยควรจดบันทึกผลการสัมภาษณ์ทันทีตามที่เป็นจริง ไม่ควรเว้นเพราะอาจลืมได้  พยายามจดบันทึกให้เร็วเพื่อมิให้ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องรอนาน ในกรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยินยอมอาจใช้เครื่องบันทึกเสียงหรืออุปกรณ์อย่าง อื่นช่วยได้

               3.3  เครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รูปแบบของแบบรายการสัมภาษณ์ที่ ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามลักษณะคำถาม  คือ  คำถามกำหนดตัวเลือก  (fixed – alternative  questions)  คำถามปลายเปิด  (open  end  questions)  และคำถามแบบมาตรประมาณค่า  (scale  questions)

         

4.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  (Questionnaire)

การ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นวิธีที่เหมาะสมมากสำหรับการสำรวจซึ่งต้องรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก  หรืออยู่อย่างกระจัดกระจาย ข้อมูลที่เหมาะสมกับการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิดเห็นความเชื่อ  ทัศนคติ  และความสนใจ โดยแบบสอบถาม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  ตามรูปแบบของแบบสอบถาม  คือ  ชนิดปลายปิดและชนิดปลายเปิด  (closed /  open  form  questionnaire)

ซึ่ง มีหลักการในการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 1)  นักวิจัยต้องมีการเตรียมการอย่างดี  ตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย  การวางแผนการดำเนินงานการสร้างแบบสอบถาม  และการรวบรวมข้อมูล 2)  การรับรองว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับเพื่อให้ผู้ตอบมีความมั่นใจที่จะให้ ข้อมูล

3)  เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว  ให้ตรวจสอบดูความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด  และการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามตามปกติผู้ตอบไม่ต้องลงชื่อ ผู้วิจัยจะต้องยึดหลักในการสร้างแบบสอบถามที่สำคัญ  มีดังต่อไปนี้ 1) คำถามต้องถามเรื่องที่สำคัญ  ตรงตามปัญหาวิจัย 2) คำถามสั้น  กะทัดรัด  ชัดเจน   และสมบูรณ์  แต่ละคำถามควรถามประเด็นเดียว 3) คำถามมีการเรียงลำดับ  เช่น เรียงจากคำถามง่ายไปยาก เรียงจากคำถามเรื่องทั่ว ๆ ไป ไปหาเรื่องเฉพาะ ตามความเหมาะสม 4)  รูปแบบการตอบง่าย และสะดวก ไม่ทำให้ผู้ตอบเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

5)  มีคำแนะนำชัดเจน รวมทั้งคำอธิบายศัพท์ที่ต้องการให้เข้าใจตรงกัน 6)  แบบสอบถามมีรูปเล่มน่าตอบ สะอาดเรียบร้อย อ่านง่ายและไม่ยาวเกินไป 7)  ระบุวิธีการและอำนวยความสะดวกในการส่งคืน สำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชุมชนนั้นต้องระมัดระวังในการใช้แบบสอบถามในการ รวบรวมข้อมูล เพราะไม่อาจรับประกันได้ว่า ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นคำตอบจากใจจริงของผู้ตอบ  เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในชุมชนจำนวนไม่มาก และรู้จักกัน ทำให้อาจมีความรู้สึกเกรงใจกันอยู่  หรือไม่กล้าตอบตามความจริงทั้งหมด ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

 

            5.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดหรือมาตรวัด (Scales)

               การรวบรวมข้อมูลด้วยมาตรวัดเหมาะสมกับข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่ เป็นนามธรรม  มาตรวัดประกอบด้วยชุดของข้อคำถามหรือสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้ให้ ข้อมูล  แสดงการตอบสนองตามความเป็นจริง  นักวิจัยกำหนดช่วงของการตอบสนอง  และกำหนดค่าตัวเลขตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ให้ค่าตัวเลขแทนระดับของคุณลักษณะที่ต้องการ       ประเภทของมาตรประมาณค่าที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติ การในโรงเรียน จำแนกตามประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ มาตรจัดประเภท  มาตรเรียงลำดับ และมาตรอันตรภาค  แต่ละประเภทแยกย่อยได้อีกดังนี้ 1)  มาตรจัดประเภท (categorical  scales)มาตรประเภทนี้มีการเสนอสิ่งเร้าให้ผู้ตอบสนองโดยการจัดประเภทคำตอบ  เช่น ให้ตอบว่า ถูก / ผิด  เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย มาก / ปานกลาง / น้อย  เป็นต้น  มาตรวัดจัดประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้สำรวจข้อมูลทั่ว ๆ ไป 2)  มาตรเรียงอันดับ  (ordinal  scales) มาตรเรียงอันดับมีการเสนอสิ่งเร้าในรูปข้อความ สถานการณ์ หรือคำถาม  แล้วให้ผู้ตอบตอบสนองสิ่งเร้าโดยการจัดเรียงลำดับการตอบสนอง  มาตรที่เป็นที่รู้สึกกันดีได้แก่ 1) มาตรวัดความต้องการในกรณีที่นักวิจัยวัดความต้องการในการประกอบอาชีพ  ความต้องการในการศึกษาต่อ และอื่น ๆ อาจใช้รายการทางเลือกที่คาดว่าจะเป็นไปได้ทั้งหมดเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบจัด เรียงอันดับว่าต้องการสิ่งใดจากมากไปหาน้อย

2) สังคมมิติ  (Sociometry) สังคมมิติเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งที่อาจจัดเป็นมาตรเรียงอันดับ วิธีการที่สำคัญคือการให้สิ่งเร้าในรูปคำสั่งให้บุคคลระบุชื่อบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ทางสังคมตามลักษณะที่นักวิจัยต้องการศึกษา เช่น ให้ระบุชื่อเพื่อนสนิทที่สุด 2 คน ให้ระบุชื่อเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้นำดีที่สุด 3 คน เป็นต้น แล้วนำข้อมูลจากบุคคลทั้งกลุ่มมาเสนอในรูปตาราง หรือแผนภูมิสังคม  (Sociogram) ให้เห็นว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวเสนอชื่อบุคคลใด มีการรวมตัว และการกระจายของสมาชิกในกลุ่มอย่างไร 3)  มาตรอันตรภาค  (interval  scales) มาตรประเภทอันตรภาพมีการจัดสิ่งเร้าให้ผู้ตอบตอบสนองมีระดับแตกต่างกันโดย แต่ละระดับมีช่วงความแตกต่างเท่ากัน เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทคุณลักษณะทางจิต เช่น  ทัศนคติ ความรู้สึก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  เป็นต้น 4)  มาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท  (Likert’s  summated  rating  scales) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติประเภทหนึ่ง  มาตรวัดประกอบด้วยข้อคำถาม  หรือข้อความชุดหนึ่ง  ซึ่งครอบคลุมทัศนคติทุกมิติที่ต้องการวัด น้ำหนักความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อเท่าเทียมกัน  ผู้ตอบประเมินความเข้มตามความรู้สึกของตนที่มีต่อข้อคำถามเหล่านั้นเรียงจาก มากไปน้อย โดยมีการประเมินค่าได้ตั้งแต่ 3 – 12 ระดับ ผลการวัดได้จากการรวมคะแนนผลการประเมินแต่ละข้อที่มีทิศทางเดียวกันเป็นค่า บอกระดับทัศนคติของผู้ตอบแต่ละคน  มีข้อดีคือสร้างง่าย  ใช้สะดวก

ลักษณะ ของมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยข้อคำถาม หรือข้อความที่มีตัวเลือกให้ผู้ตอบได้เลือกตอบโดยการประเมินตามระดับความ เข้มของพฤติกรรมที่ตรงกับตัวเลือก มีการกำหนดคะแนนแทนตัวเลือกแต่ละตัว มาตรประมาณค่าแบบนี้แบ่งย่อยออกได้เป็น 3 แบบ ต่อไปนี้ 1)มาตรประมาณค่าใช้กราฟ 2)  มาตรประมาณค่าใช้คำ  3)  มาตรประมาณค่ารายข้อ 4)  มาตรประมาณค่าเปรียบเทียบ  หรือมาตรประมาณค่าจัดลำดับ ลักษณะมาตรประมาณค่ามีตัวเลือกให้เลือกตอบโดยที่ผู้ตอบต้องจัดลำดับความ สำคัญ  เช่น ในมาตรประมาณค่าประโยชน์ของกิจกรรม ผู้ตอบต้องจัดลำดับว่าตามความคิดเห็นของตนกิจกรรมใดให้ประโยชน์มากกว่า กิจกรรมใด 5)  มาตรประมาณค่าแบบออสกูด  (Osgood  scale) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติแบบหนึ่งมีพื้นฐานว่าทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งอธิบายได้โดยการใช้ภาษา หรือให้นัยได้เป็นหลายมิติ โดยที่แต่ละบุคคลจะให้ความหมายมีระดับแตกต่างกัน  ในแต่ละมิติจึงกำหนดนัยโดยใช้คุณศัพท์สองคำที่มีความหมายตรงกันข้ามให้ผู้ ตอบเลือกตอบว่าจำแนกนัยตรงจุดไหน  การกำหนดนัยให้ผู้ตอบจำแนกทำเป็นสามด้าน  คือ 1) การจำแนกนัยด้านประเมินคุณค่า (evaluation) เช่น  ดี – เลว เป็นคุณ-ให้โทษ 2) การจำแนกนัยด้านพลังหรืออำนาจ (potency) เช่นหนัก – เบา  แข็งแรง – อ่อนแอ 3)  การจำแนกนัยด้านกิจกรรม  (activity) เช่น คล่องแคล่ว – อืดอาด  ขยัน – เกียจคร้าน

               หลักการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด  หรือมาตรวัด เนื่องจากแบบวัด หรือมาตรวัด เป็นเครื่องมือวิจัยประเภทที่ผู้ตอบต้องให้การตอบสนองโดยการเขียนเช่นเดียว กับแบบสอบถาม วิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดจึงมีหลักการคล้ายคลึงกับการรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม หลักการเขียนข้อความที่เป็นสิ่งเร้าก็คล้ายคลึงกัน  เช่น  ควรเป็นข้อความที่มีความหมายเพียงประเด็นเดียว  เป็นประโยคเดี่ยว ใช้ภาษาง่าย ไม่ซับซ้อน  เป็นต้น

 

 2.  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

 

                ตัวนักวิจัย ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการ เพราะนักวิจัยมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ  (Practitioner) ที่สัมผัสและรับรู้ปัญหา วางแผนแก้ไข ลงมือปฏิบัติ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวนักวิจัยจึงสามารถสะท้อนสิ่งที่ปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลการวิจัย ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัยโดยนักวิจัยเอง  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบนี้  อาศัยการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติที่นักวิจัยได้ลงมือปฏิบัติ สามารถออกแบบวิธีการได้หลากหลาย ซึ่งในที่นี้จะเสนอให้เห็นเป็นตัวอย่าง  3  วิธีคือ 1)  การทำตารางบันทึกการปฏิบัติงานส่วนบุคคล 2)  การบันทึกประจำวันหรือเขียนอนุทิน  และ 3)  การบันทึกเวลาปฏิบัติกิจกรรม

ที่มา : http://www.thaiblogonline.com/sodpichai.blog?PostID=42956

แนวคิดและความเป็นมาของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ความเป็นมาของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

        การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นระดับหนึ่งของการวิจัยเชิงประฏิบัติการ (Carr & Kemmis 1986) ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันทั้งผู้วิจัยและ ผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผล การ ใช้วิธีวิจัยหลักที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยกึ่งทดลองและเชิงทดลองทั้งหมดเป็นวิธีวิทยาศาสตร์ของการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) สำหรับการวิจัยที่ต้องการหาความหมาย และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามมุมมองของผู้ถูกวิจัย จะเป็นวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีวิจัยเหล่านี้มีข้อจำกัดคือ การแก้ปัญหาไม่สามารถกระทำได้ทันท่วงทีในระหว่างกระบวนการทำวิจัย แต่ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ได้ออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการปฏิบัติการแก้ปัญหาผนวกรวมเข้าไป ด้วย ทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาอันเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวิธีวิจัยแบบอื่น ๆ (จำเริญ จิตรหลัง. 2555)

           Kurt Lewin  นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันได้เขียนบทความชื่อ  “Action  research   and  minority  problems” ในวารสาร “Journal  of  Social  lssues” ตีพิมพ์ในปี 1946  ทำให้แนวคิดการทำวิจัย (Research) ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงาน (Action) โดยผู้ปฏิบัติงานเป็นนักวิจัยเองที่เรียกว่า  “Action  Research”  ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเริกา  อังกฤษ ออสเตรเลีย  แคนาดา รวมทั้งประเทศในทวีปยุโรปได้นำวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปใช้ในการปรับ ปรุงพัฒนางานในบริบทต่าง ๆ  ทั้งงานพัฒนาชุมชน องค์กรธุรกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข  หรือการศึกษาในช่วงเวลาร่วม  50  ปีที่ผ่านมา (จำเริญ จิตรหลัง.2555)

           Corey  (1953) ได้ยืนยันว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เกิดจากการเสนอแนวคิดของ  Collier  ต่อคณะกรรมาธิการของ Indian Affairs ระหว่างปี  ค.ศ. 1933 –1945 ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมาธิการว่า  ความสำคัญของงานวิจัยเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคม  นอกจากจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโครงการวิจัยหรือเป้าหมายการวิจัยแล้ว ผลวิจัยก็ควรนำไปปฏิบัติได้โดยผู้ร่วมงานวิจัย และจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้ รับมา ผู้บริหารหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานต้องร่วมกันวิจัยในสิ่งที่เป็นความต้อง การในหน่วยงานของตนเองด้วย Kurt  Lewin (1940)  ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยอาศัยแนวคิดสำคัญ  2 ประการ คือ การตัดสินใจของกลุ่ม  และความตั้งใจร่วมกันที่จะทำการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งแนวคิดเริ่มต้นเกิดจากการพยายามเชื่อมโยงทฤษฎีที่นักวิจัยได้วิจัยไว้ไป สู่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาทางสังคมที่มีความแตกต่างของ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการแบ่งชนชั้น ความมีอคติ และการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย  (Ebbutt.1983) ความคิดของคนที่กำลังเผชิญสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หรือที่มีความคลุมเครือไม่กระจ่างชัด  มักจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจ 3 ข้อ คือ สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ? มีอันตรายอะไรบ้าง ? และที่สำคัญที่สุดคือ แล้วเราจะทำอย่างไร ? (Kurt  Lewin 1946)

ต่อมาได้มีการนำแนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้กับวงการอุตสาหกรรม ที่สถาบัน Tavistock ที่ประเทศอังกฤษ

          Stephen  M.Corey  (1953) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้นำการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้กับการจัดการศึกษาในอเมริกา  โดยนำมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียน (Corey,1953) ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในวงการศึกษาของอังกฤษและออสเตรเลียในช่วงทศวรรษ 1970 โดยในอังกฤษได้พยายามส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียน  (Classroom  Action  Research)  เพื่อให้ครูปรับปรุงการเรียนการสอนและเปลี่ยนแปลงบทบาทเรียกว่า  ครูนักวิจัย  (Teacher  as  a  Researcher) โดยสอนคู่ไปกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  (Elliott,1987)

          ออสเตรเลีย ได้มีการขยายแนวคิดเรื่อง  การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง ถึงกับจัดให้การวิจัยปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียนและการ ศึกษาของออสเตรเลีย โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของโรงเรียนและการพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน และสร้างความตระหนักให้กับครูในการแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ  โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย  Deakin ได้พัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งประยุกต์แนวคิดพื้นฐานของ  Kurt  Lewin  มาใช้  โดยกำหนดขั้นตอนของการวิจัยในลักษณะ “บันไดเวียน” (Spiral)  ประกอบด้วย การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ  (Act) การสังเกต (Observe) และการสะท้อนผล  (Reflect)  (Ebbutt, 1983 : Kemmis  and  McTaggart.1988)

ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          คำว่า  “Action  Research”  ในตำราภาษาไทยหลายคำ เช่น  “การวิจัยปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติ” “การวิจัยดำเนินการ” หรือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งน่าจะทำความเข้าใจในความหมายและมโนทัศน์ของคำนี้ให้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายพื้นฐานของการวิจัยปฏิบัติการไว้  หลายคน อาทิเช่น Kurt  Lewin  (1946) Dezin  and  Lincoin  (1994) และ Stringer  (1996) 

การ วิจัยปฏิบัติการเป็นการเชื่อมโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ  แนวคิด ซึ่งเป็นการนำทฤษฎี  ไปสู่การปฏิบัติได้จริง จากบนไปสู่ล่าง ระดับรากหญ้า ผู้ปฏิบัติงานคือนักวิจัย (Practitioners  as  a  Researcher)  ซึ่งอยู่ในองค์กรหรือชุมชนที่กำลังเผชิญสภาพการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา หรือข้อสงสัยที่คลุมเครือไม่กระจ่าง เป้าหมายคือ 1) เพื่อแก้ปัญหา และ 2) เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ หัวใจสำคัญที่แฝงอยู่ในกระบวนการของการวิจัยปฏิบัติการคือการมีส่วนร่วม  (Participation) และความร่วมมือกัน (Collaboration) เพื่อนำไปสู่ความเกี่ยวพันกัน (Involvement)  ของผู้เกี่ยวข้อง  (Participants) ในองค์กรหรือชุมชนที่ดำเนินการวิจัย การมีส่วนร่วมในการวิจัยปฏิบัติการคือ การร่วมกันตระหนักในปัญหา วางแผน ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ส่องสะท้อนตัวเอง และรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าแบบวิวัฒน์ ที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจากจุดเล็ก ๆ ของคนกลุ่มหนึ่งในประเด็นปัญหาที่ไม่ใหญ่โตซับซ้อนเกินไปจุดเด่นข้อหนึ่งของ การวิจัยปฏิบัติการคือ  ผู้ปฏิบัติงานในฐานะนักวิจัยเมื่อได้ทำวิจัยแล้ว  ผลวิจัยจะตอบสนองความต้องการของตนเองทำให้อยากศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงพัฒนา งานต่อไป  Carr & Kemmis (1986) จำแนกการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ออกเป็น 3 ระดับ 1) Technical Action Research ผู้วิจัยทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ 2) Practical Action Research   ผู้วิจัยมีส่วนร่วมกับผู้ร่วมวิจัยมากขึ้น 3) Participatory Action Research   ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ต่างร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมิน

แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทย 

ประเทศ ไทยนั้นแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการแพร่หลายมากพอสมควรในช่วง  10  ปีที่ผ่านมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการศึกษา แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการที่มีอิทธิพลมาก คือ แนวคิดจากมหาวิทยาลัย  Deakin โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแปลหนังสือชื่อ The  Action Research Planner ของ Kemmis and McTaggart (1988) เป็นภาษาไทยชื่อ “นักวางแผนวิจัยปฏิบัติการ”  เมื่อปี  2538  อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางเมื่อมีพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ระบุไว้ในมาตรา 30 ว่าให้สถานศึกษาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการพัฒนางานในโรงเรียนโดยใช้การวิจัย  จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาสนใจแนวคิดเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำการวิจัยปฏิบัติการไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ เรียกว่า  Classroom  Action  Research : CAR

สม โภชน์ อเนกสุข (2548) เขียนบทความไว้ในวารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2548 กล่าวถึง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มี คุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงาน กำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนถึงแม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่นในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษามีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม ระบบอุตสาหกรรม และองค์การต่าง ๆ แต่มีน้อยมากในงานด้านการศึกษา ซึ่งมีอยู่บ้างเมื่อครูแต่ละคนทำการแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนของตนเอง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต้องมีการทำความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกับ ชุมชนและสังคม และมีจุดเน้นของการวิจัยที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเป็นอิสระหรือมีส่วน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม การวิจัยในลักษณะนี้มักจะเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และอาจจะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมด้วยก็ได้ (Creswell, 2002 : 609) จะเห็นได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้นำแนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพมาประยุกต์ใช้ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัยมีส่วนร่วมกันแสวงหารูปแบบหรือ วิธีการแก้ปัญหาของตน เน้นการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่และชีวิต ตลอดจนเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนให้ดี ขึ้น และเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจให้กับประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์การจากภายนอกทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาหรือเป็น ผู้ประสานงานเพื่อให้

 

ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มีคุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงานกำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า   มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ถึง แม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่น ในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษา มีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหา วิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง (สมโภชน์ อเนกสุข.2548)

สรุป การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึงผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันที่ทั้ง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผลมีรูปแบบล่างขึ้นบน จึงมีความเป็นประชาธิปไตยสูงเปรียบได้กับการใช้ทฤษฎี Y  ทฤษฎี  Maturity Organization (Selena Rezvani, M.S.W) ทฤษฎี System 4 (R. Likert and Likert 1976) เปรียบได้กับการใช้ภาวะผู้นำแบบยึดผู้ปฏิบัติเป็นศูนย์กลาง แบบมีส่วนร่วม แบบมอบอำนาจ แบบความเป็นเพื่อนหรือมุ่งคน นำเอาหลักการบริหารแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน (Site Based Management : SBM) เป็น การนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา กระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหาวิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง

จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพองค์การ ประชาชนชุมชน และชีวิตครอบครัว (Stringer, 1999, Cited in Creswell, 2002 : 609) โดยมีสาระที่สำคัญ คือการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมจุดมุ่งหมายของความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยเกิดความร่วมมือ ในการตัดสินใจ มีความเห็นร่วมกันทั้งในฐานะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การและเป็นผู้ ร่วมกระทำกิจกรรมการวิจัยบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในทางการเมือง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยังมีจุดเน้นที่การกระจายอำนาจทางการเมือง ไปสู่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบ และกำหนดวิธีการปฏิบัติในโครงการวิจัยนั้น การร่วมกันปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการวิจัย รูปแบบนี้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคลในการวิจัย จะทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจ ที่ดีในรายละเอียดและทำให้เกิดข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมวิถีชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนวิธีการที่จะต้อง ปฏิบัติทั้งหมด (Merriam, 2002 : 138-139) เมื่อพิจารณาบทบาทของนักวิจัยจะพบว่า นักวิจัยมีบทบาทเป็นสมาชิกในบางด้านขององค์การ เป็นผู้มีส่วนร่วมตลอดกระบวนการของวิจัยในองค์การนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ นักวิจัยจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ทั้งในสถานะภาพของสมาชิกในองค์การและการเป็นนักวิจัย บทบาทเหล่านี้จะกำหนดให้นักวิจัยต้องพัฒนาข้อสรุปที่ถูกต้องตรงตามความเป็น จริง (Valid Conclusions) เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนในองค์การ และเกิดความพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น (Schutt, 1996 : 432, 584)

ลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีรูปแบบที่แตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน

เช่น การวิจัยโดยมีชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Inquiry) การวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือ(Collaborative Action Research) การวิจัยปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Critical Action Research) เป็นต้น คุณค่าของการวิจัยแบบนี้คือ กระบวนการของความร่วมมือ (Stringer, 1999 : 9 ; Kemmis & McTaggart, 2000 : 567 ; Mills, 2000 : 7, Cited in Creswell, 2002 : 609)ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการสังเกต การสะท้อนการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่พึงพอใจ ซึ่งต้องมีความยืดหยุ่นสูงและไม่ควรกำหนดเวลาในการวิจัยหรือกิจกรรมไว้ล่วง หน้า รวมทั้งตระหนักถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ภูมิปัญญาของนักวิชาการ (สมอาจ วงศ์ขมทอง, 2536 : 5 อ้างถึงใน ประพิณ วัฒนกิจ,2542 : 140)

เคมมิส และวิลคินสัน (Kemmis.& Wilkinson, 1988 cited in Creswell, 2002 : 609-610)ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ไว้ 6 ประการ คือ 1) เป็นกระบวนการทางสังคมที่นักวิจัยมีเจตนาขยายความสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละ บุคคลกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลสร้างความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมผ่านปฏิ สัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร 2) รูปแบบของการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วม หมายความว่า แต่ละคนจะเกิดความเข้าใจใน

สิ่งที่ตนทำ แล้วเสนอความรู้และความคิดเห็นสู่บุคคลอื่น รวมทั้งผลักดันให้เกิดการกระทำร่วมกัน 3) เป็นความร่วมมือในการปฏิบัติร่วมกัน เพราะการวิจัยจะมีความสมบูรณ์ต้องเกิดจากการกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการปฏิบัติเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชน หรือสร้างความรู้ให้กับองค์การทางสังคม เพื่อลดความไม่สมเหตุสมผล ความล้มเหลว และความไม่ยุติธรรม ในการปฏิบัติ หรือจากปฏิสัมพันธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ 4) การดำเนินงานไม่มีการบังคับ ทุกคนมีอิสระจากกฎเกณฑ์ที่ไม่มีเหตุผลและโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาตนเอง 5) ช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีความเป็นอิสระในตัวเอง จากข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น สื่อ ภาษาและกระบวนการทำงาน เป็นต้น 6) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันได้อีก โดยการพิจารณาผลที่สะท้อนกลับและเหตุผลที่เหมาะสม เพราะเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ

 

วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

วิธีดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีลักษณะร่วมกันกับการวิจัยปฏิบัติการ

หลายประการ จึงขอสร้างความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ ดังนี้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เป็นรูปแบบของการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบโดยผู้ที่ปฏิบัติมีส่วน เกี่ยวข้องในการใช้เทคนิคกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ของตน (Gall & Others, 1999 : 468) ลักษณะของการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบของปัญหาทั่ว ๆ ไปในระดับย่อยหรือเฉพาะท้องถิ่น โดยอาจศึกษาจากกลุ่มเฉพาะเล็ก ๆ ซึ่งการวิจัยลักษณะนี้ไม่เคร่งครัดในกฏเกณฑ์และรูปแบบเหมือนกับวิธีการวิจัย ตามปกติการวิจัยปฏิบัติการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ดีจากข้อค้นพบที่มีคุณภาพ จากข้อมูลในการวิจัยเข้ากับประสิทธิผลของระบบที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัย นั้น (Fryer & Feather, 1994 : 230) และใช้ข้อค้นพบนั้นไปปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณากระบวน การวิจัยปฏิบัติการจะพบว่า มีลักษณะเป็นเกลียวของการคิดการพิจารณา และการกระทำ ซึ่งเรียกว่า “เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)” ซึ่งเสนอไว้โดย สตริงเกอร์ (Stringer, 2007:9) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ดูว่ามีปัญหาอะไร (Look) คิดพิจารณา (Think) และลงมือปฏิบัติ (Act) ซึ่งรูปแบบลักษณะนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวเส้นตรง กระบวนการทั้งหลายสามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำอีกและจะมีการปรับปรุงกระบวนการและ การให้ความหมายในขั้นตอนต่อไป

 

 

ภาพที่ 2.1 เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)

แหล่งที่มา : Stringer, E.T. Action research. 2007: 9

 

เครสเวลล์ (Creswell, 2002 : 614) ได้สรุปลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) มีจุดเน้นไปสู่การนำไปปฏิบัติ 2) การดำเนินการวิจัยมีการปฏิบัติร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัย 4) เป็นกระบวนการที่เป็นพลวัติ (Dynamic Process) ของเกลียวปฏิสัมพันธ์ ที่มีกระบวนการย้อนกลับและนำไปสู่การพัฒนาขั้นต่อไป (Back and Forth) จากผลสะท้อนของสิ่งที่เป็นปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติ 5) การพัฒนาแผนการดำเนินงานต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ 6) มีการนำเสนอผลการวิจัยต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนในท้องถิ่น ชุมชน และบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่าการวิจัยปฏิบัติการและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะมีลักษณะร่วม กันหลาย ประการแต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ การวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อนำความรู้ไปใช้ ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการดำรงชีวิตประจำวัน (Reason & Bradbury, 2001 : 2 cited in Donna, 2004 : 536) ดังนั้นระเบียบวิธีการวิจัยจึงต้องการมาตรฐานทางทฤษฎีที่มากเพียงพอต่อการนำ ไปใช้และการนำไปปฏิบัติ (Donna, 2004 : 536) ส่วนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อสร้างความรู้และกระตุ้นประชาชนธรรมดา (Borda & Rahman, 1999 cited in Donna, 2004 : 538) ซึ่งกระบวนการนี้มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีอำนาจและการไร้อำนาจของบุคคลในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายหรือมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยเน้นความร่วมมือที่ทุกคนมีอำนาจอย่างเท่าเทียมกันทั้งตัวผู้วิจัย ผู้ให้ข้อมูล และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนที่มี ลักษณะเป็นพลวัติ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการสูง และเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องซึ่ง พันธุ์ทิพย์ รามสูต (มปป. : 42-43) ได้เสนอกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1) การเตรียมชุมชน เพื่อที่จะให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามีส่วนร่วมในการวิจัยในระดับที่เสมอ ภาคกัน 2) อบรมนักวิจัยร่วมจากชุมชน เพื่อเตรียมนักวิจัยในท้องถิ่นให้มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในท้องถิ่น บทบาทของผู้ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยท้องถิ่น การจัดองค์การชุมชน รูปแบบของผู้นำการสนับสนุนและมนุษยสัมพันธ์ 3) กำหนดรูปแบบการวิจัย โดยกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันกำหนดรูปแบบการวิจัย เช่น การพิจารณารายละเอียดปัญหาทั่วไปที่ชุมชนได้เลือกขึ้นมา การจำแนกออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อที่จะสามารถทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาได้ทีละส่วน กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเครื่องมือที่จะใช้ รูปแบบคำถาม วิธีการถาม กลุ่มและขนาดของตัวอย่าง เป็นต้น 4) ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล 5) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันประมวลผลและสรุปข้อมูลให้ข้อสังเกตหรือข้อ วิจารณ์สิ่งที่พบ วิเคราะห์ว่าเหตุใดจึงได้ข้อมูลเช่นนั้น เขียนสรุปสิ่งที่พบออกอย่างกว้าง ๆ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะประกอบ 6) หารือข้อค้นพบกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเสนอคืนต่อชุมชน ให้มีโอกาสตรวจสอบและแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง ตลอดจนทำการวิเคราะห์ สรุปประเด็น หรือชี้แนะประเด็นสำคัญให้แก่กลุ่มนักวิจัย 7) วางแผนชุมชน โดยการอบรม กลุ่มที่ทำหน้าที่วางแผนให้สามารถเขียนโครงการได้รวมทั้งมีความสามารถในการ จัดองค์การชุมชนด้วย โครงการที่กลุ่มวางแผนเขียนขึ้นนี้จะต้องนำมาปรึกษาหารือกับชุมชน ให้ชุมชนตรวจสอบแก้ไขและรับรองก่อนนำไปเสนอขอรับการสนับสนุนจากองค์การที่ เกี่ยวข้องต่อไป 8) นำแผนไปปฏิบัติ โดยการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ตลอดจนองค์การประชาชนต่าง ๆ ใน ชุมชนมาร่วมปฏิบัติตามแผนที่จัดวางขึ้น จากพื้นฐานข้อมูลที่เป็นผลมาจากการศึกษาร่วมกัน 9) ติดตามกำกับและประเมินผลในชุมชน โดยกลุ่มนักวิจัยร่วมกับชุมชนข้อควรพิจารณา ในการเลือกชุมชนเป้าหมายควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือก มีการพิจารณาศักยภาพของชุมชน และศึกษาข้อมูลที่สำคัญของชุมชนนั้นมาก่อน การเข้าสู่ชุมชนต้องทำความรู้จักชุมชน หาความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความคุ้นเคยกับบุคคลผู้นำชุมชน และกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน การเลือกทีมนักวิจัยท้องถิ่นที่สามารถเข้าร่วมกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมได้ตลอดโครงการ จากนั้นนักวิจัยร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นจะทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น หลังจากทำการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลเสร็จแล้ว ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นเสนอให้ชุมชนรับทราบ มีการแนะนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนทำการพัฒนา ทัศนคติของประชาชนให้รู้จักการทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องการทำการวิจัย จัดกิจกรรมการวิจัยขนาดเล็กเพื่อทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะในการทำการ วิจัยซึ่งทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องตลอดกระบวนการในการพัฒนา เลือกปัญหาที่จะทำการวิจัยซึ่งปัญหานั้นต้องสามารถจะหาคำตอบมาแก้ปัญหาได้ จากนั้นจึงหาทางเลือก และวิธีการต่าง ๆ มาใช้ ในขั้นตอนต่อไปจะมีการวางแผนการวิจัย การวางแผนการปฏิบัติ การกำกับดูแล ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผล การเขียนรายงานการวิจัย ถ้าการดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนนั้นสามารถนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกลับมาใช้ ใหม่ โดยไม่ต้องมีนักวิจัยจากภายนอกมาช่วยดำเนินการ และเป็นการเริ่มต้นวงจรต่อไปของกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของชุมชนนั้น เอง

 

คุณลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

          Mckernan (1996) ได้อธิบายลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไว้  9 ประการ โดยอาศัยแนวคิดของ  Elliott (1978)  ดังนี้ 1) ปัญหาที่นำมาวิจัย  ต้องเป็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงาน 2) ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ 3) ปัญหานั้นเป็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ  ไม่ใช่ปัญหาเชิงทฤษฎีหรือเชิงหลักการ 4) มีการเสนอทางออกของปัญหาและปรับเปลี่ยนไปจนกว่าการวิจัยจะเสร็จสิ้น 5) เป้าหมายคือต้องการให้ผู้วิจัยเข้าใจปัญหา 6) ใช้วิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study)  เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยและสถานการณ์ปัญหาที่เกาะ ติดเพื่อศึกษา 7) ใช้การบรรยายข้อมูลจากสัญลักษณ์ทางภาษาที่แสดงออกมาในชีวิตประจำวัน 8) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลได้อย่างอิสระ 9) เปิดรับหรือรวบรวมข้อมูลได้อย่างอิสระภายในกลุ่มหรือในระหว่างการปฏิบัติ

 

หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

          Mckernan (1996)  กล่าวว่า  การวิจัยปฏิบัติการมีหลักการสำคัญอยู่  16  ประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1)  เพิ่มพูนความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ  2)  มุ่งปรับปรุงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของบุคคล 3)  เน้นที่ปัญหาเร่งด่วนของผู้ปฏิบัติงาน 4)  ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5)  ดำเนินการวิจัยภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา 6)  ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรมชาติ 7)  เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือศึกษาเพียงหน่วยเดียว 8)  ไม่มีการควบคุมหรือจัดกระทำต่อตัวแปร 9) ปัญหา วัตถุประสงค์ และระเบียบวิธีมีลักษณะเป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ความจริง 10)  มีการประเมินหรือส่องสะท้อนผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวน 11)  ระเบียบวิธีวิจัยมีลักษณะเป็นนวัตกรรม  สามารถคิดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาได้ 12)  กระบวนการศึกษามีความเป็นระบบหรือเป็นวิทยาศาสตร์ 13)  มีการแลกเปลี่ยนผลวิจัยและมีการนำไปใช้จริง 14)  ใช้วิธีการแบบบรรยายข้อมูล  หรือการอภิปรายร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ 15)  คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องมาจากการทำความเข้าใจ  การตีความหมายและการคิดอย่างอิสระ 16)  เป็นการวิจัยที่ปลดปล่อยความคิดอย่างอิสระ และเป็นการเสริมสร้างพลังร่วมในการทำงาน (Empowerment) ให้ผู้เกี่ยวข้อง

 

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

            

 Mckernan. (1996) กล่าวว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการนำมาซึ่งสิ่งสำคัญ  3  ประการ คือ 1)  ปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์  ปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบ 2)  ส่งเสริมให้คนเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างนักวิจัย 3)  สร้างความกระจ่างในสังคมอย่างรอบด้าน

         กระบวนการหรือขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่สำคัญและมีผู้นำมา ประยุกต์ใช้ มีอยู่  5  กระบวนการ คือ กระบวนการของ  Kurt Lewin,  John  Elliott, มหาวิทยาลัย Deakin,David Ebbutt  และ James Mckernan อย่างไรก็ดีแม้ว่ากระบวนการวิจัยปฏิบัติการจะมีหลายรูปแบบแต่หลักการสำคัญ หรือวิธีการก็ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน  สำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของะกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัย  Deakin  ในประเทศออสเตรเลีย  Stephen Kemmis และคณะได้นำแนวคิดของ Lewin  มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาของ ออสเตรเลียจนได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปกว้างขวาง  ซึ่งในความคิดของ  Kemmis  และคณะนั้นการวิจัยปฏิบัติการ คือ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันเป็นหมู่คณะจะกระทำคนเดียวไม่ได้  เพราะการกระทำเพียงคนเดียวถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ก็จะทำลายพลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกลุ่ม ดังนั้นในขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการจึงต้องกำหนดจุดสนใจร่วมกัน  (thematic concern)  เช่น สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมตลาดพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน  หรือพัฒนาให้ชุมชนตลาดเข้าใจวิธีการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมให้ลึกซึ้ง  เป็นต้น  เมื่อได้จุดสนใจร่วมกันแล้วก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ 4 ประการที่เกี่ยวข้องกันเป็นวงจร  คือ

  1. การพัฒนาแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสิ่งที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่มี

โครง สร้างและแนวทาง  การวางแผนต้องมีความยืดหยุ่น  และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อ แผนที่กำหนดไว้ได้

  1. การปฏิบัติตามแผน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างละเอียด

รอบคอบ  และมีการควบคุมอย่างสมบูรณ์

  1. การสังเกตผลการปฏิบัติ เป็นการบันทึกข้อมูล หลักฐาน หรือร่องรอยต่าง ๆ อย่างมี

วิจารณญาณ เกี่ยวกับผลที่ได้จากการปฏิบัติ โดยอาจใช้วิธีการวัดแบบต่าง ๆ  เข้ามาช่วย  ซึ่งสารสนเทศจากการสังเกตนี้จะนำไปสู่การส่องสะท้อนและปรับปรุงการปฏิบัติ อย่างเข้าใจและถูกทิศทาง

  1. การส่องสะท้อนผลการปฏิบัติ  เป็นกระบวนการทบทวนการปฏิบัติจากบันทึกที่ได้

จากการสังเกตว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานการวางแผนในวงจรต่อไป

          ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย Deakin  จึงประกอบด้วยจุดสำคัญทั้ง  4 จุดดังที่กล่าวมาคือ การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตผล  (Observation)  และการสะท้อนผล  (Reflection) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวลักษณะ “เกลียวสว่าน” ไปในจุดทั้ง  4 จุด ไม่อยู่นิ่ง และไม่จบลงด้วยตัวเอง

 

 

ภาพที่ 2.2  กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของมหาวิทยาลัย  Deakin

(McKernan, 1996)

 

 

                McKernan (1996) ได้เสนอวงจรการวิจัยปฏิบัติการที่ยึดเอาระยะเวลาในการปฏิบัติงานและกิจกรรม เป็นหลัก โดยวงจรปฏิบัติที่ 1 เริ่มจากการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติและมีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน นั้น  เมื่อปฏิบัติจนครบวงจรแล้ว  ก็เริ่มระบุปัญหาในการปฏิบัติงานและกิจกรรมใหม่ในวงจรปฏิบัติที่  2  และต่อไปเรื่อย ๆ ดังที่นำเสนอในภาพประกอบที่  2.2

               กิจกรรมในแต่ละวงจร  ประกอบด้วย

  1. การนิยามปัญหา ในสถานการณ์ที่นักวิจัยประสบอยู่ในการปฏิบัติงาน
  2. การประเมินความต้องการจำเป็นที่จะปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน
  3. การกำหนดสมมุติฐาน  เป็นการกำหนดผลที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติแล้ว
  4. พัฒนาแผนปฏิบัติ  ซึ่งต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ
  5. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้  ซึ่งต้องมีการบันทึกข้อมูลไว้
  6. ประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
  7. สะท้อนผลปฏิบัติ  อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและทำความเข้าใจ
  8. ตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาต่อไป

         

 

จากกระบวน การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่กล่าวมาทั้งหมด นั้น จะเห็นว่า  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหาหรือจุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปสู่ขั้นตอนใหญ่ ๆ 3  ขั้น คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการปฎิบัติ  ซึ่งก็คือการปฏิบัติงานที่เป็นระบบนั่นเอง  แต่จุดเด่นของการวิจัยปฏิบัติการนอกเหนือจากความเป็นระบบแล้วคือการดำเนิน การนั้นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม  รวมทั้งต้องมีการส่องสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงสิ่งที่กำลังดำเนินการให้เกิด การเปลี่ยนแปลงหรือให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่ง  Kemmis  และ  McTaggart (1988) ได้กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าเป็นกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  4  ประการคือ 1)  เป็นการปฏิบัติที่ไม่ใช่สิ่งที่ทำตามปกติ  แต่ต้องทำเป็นระบบและได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม 2)  ไม่เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่เท่านั้น  แต่ต้องเกิดมาจากแรงกระตุ้นที่ต้องการปรับปรุงพัฒนางานที่ตนเองปฏิบัติอยู่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3)  ไม่ใช่การปรับปรุงพัฒนางานของผู้อื่น แต่เป็นงานของกลุ่มตนเองที่มีบทบาทหน้าที่อยู่ 4)  การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะมองในแง่การทดสอบ สมมุติฐานเพื่ออธิบายสภาพการณ์อย่างเดียว  แต่ต้องเป็นระบบที่หมุนวนไปเรื่อย ๆ  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวนักวิจัย  และสถานการณ์แวดล้อม

          ดังนั้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักวิจัย  ก็ควรต้องคำนึงถึงและพิจารณากระบวนการที่ได้ลงมือปฏิบัติว่าสอดคล้องเป็นไป ตามหลักการดังที่กล่าวมานี้หรือไม่  เพื่อให้เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

 

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

          การรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะข้อมูล  ขั้นตอนการวิจัย  และกลุ่มเป้าหมายที่จะรวบรวมข้อมูล ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงเทคนิค วิธีการรวบรวมข้อมูลตามลักษณะของแหล่งข้อมูลที่จะทำการรวบรวมทั้งที่เป็นการ วิจัยปฏิบัติการที่ทำในชุมชน  ดังนี้ คือ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป และ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

 

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป

 

            1.  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐาน

 

               วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอน นักวิจัยต้องกำหนดขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการสำรวจแหล่งข้อมูล สืบค้น และรวบรวมเอกสารและหลักฐาน ก่อนที่จะบันทึกข้อมูล นักวิจัยต้องศึกษาประเมิน คัดเลือกเอกสารและหลักฐานคัดเอาไว้เฉพาะส่วนนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ แล้วจึงบันทึกข้อมูล หลักการในการดำเนินงานทุกขั้นตอนก็คือ  การทำใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ  ทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบ  ศึกษาเอกสารหลักฐานอย่างละเอียด  และต้องมีความชำนาญในการหาความหมาย  หรือข้อเท็จจริงที่แฝงอยู่ในเอกสารหลักฐานเหล่านั้นด้วย  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                1)  สำรวจ  สืบค้น และรวบรวมเอกสารหลักฐาน

                    เมื่อได้สืบค้นทราบแหล่งของเอกสารหลักฐานแล้ว  นักวิจัยควรจัดทำรายการเอกสารหลักฐานให้เป็นระบบเพื่อความสะดวกในการศึกษา  และใช้ประโยชน์ต่อไป

                2)  ประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐาน

                    นักวิจัยต้องประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐานก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพ  วิธีการประเมินต้องพิจารณาประเมินทั้งแบบภายนอกและภายใน การประเมินภายนอกเป็นการประเมินลักษณะภายนอกทั่ว ๆ  ไปของเอกสารหลักฐานว่าเป็นเอกสารอะไร ผลิตที่ไหน  เมื่อไร ใครผลิต  มีการดัดแปลงหรือไม่  สาระยังคงถูกต้องคงเดิมหรือไม่  มีการตรวจสอบได้อย่างไร ส่วนการประเมินภายในเป็นการประเมินเนื้อหาสาระว่าเอกสารหลักฐานนั้นมีข้อมูล ครบถ้วน  มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่

                3)  บันทึกข้อมูล

                    การบันทึกข้อมูลจากเอกสารอาจจดบันทึกอย่างละเอียด หรือเลือกบันทึกเฉพาะประเด็นที่สนใจ โดยทำรายการประเด็นที่ต้องการศึกษาไว้ในแบบบันทึก  แล้วบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์  หรือพฤติกรรมในแต่ละประเด็น  ลักษณะแบบบันทึกในการวิจัยนิยมใช้บัตรขนาด  4 ´6  นิ้ว  บันทึกข้อมูลแยกบัตรละประเด็น  เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยยึดหลักการบันทึกข้อมูลให้ตรงตามวัตถุ ประสงค์  และถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

 

            2.  การสังเกต  (Observation)

 

                การสังเกตเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้มากสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ เหมาะกับการกระทำ กิริยาอาการหรือพฤติกรรมที่สามารถใช้ประสาทสัมผัส และ / หรือ เครื่องมือช่วยในการรับรู้  ทำความเข้าใจ และจดบันทึกเป็นข้อมูลได้เหมาะสมที่จะใช้ในการรวบรวมข้อมูลทั้งจากบุคคล  สถานที่  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ

                2.1  ประเภทของการสังเกต

                    2.1.1  การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัว / ไม่รู้ตัว  (Know / unknown   observation) การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัวนั้น นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์  และใกล้ชิดกับผู้ถูกสังเกต ข้อดีคือนักวิจัยสังเกตพฤติกรรมได้ครบถ้วน แต่มีข้อเสียคือการที่ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวอาจมีผลทำให้การแสดงพฤติกรรมไม่ เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนการสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวนั้น  นักวิจัยอาจไม่ได้เห็นพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตอย่างใกล้ชิด แต่จะได้พฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติแท้จริง

                    2.1.2  การสังเกตแบบมี /ไม่มีส่วนร่วม  (participant / non – participant  observation)การสังเกตแบบมีส่วนร่วมนั้นนักวิจัยต้องทำตัวเสมือนเป็นสมาชิก ของกลุ่ม  และต้องร่วมทำกิจกรรมไปกับกลุ่มด้วย โดยอาจมีการบันทึกข้อมูลโดยผู้ถูกสังเกตรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้  วิธีนี้จะได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ และได้ข้อมูลครบถ้วน ส่วนการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเป็นการสังเกตที่นักวิจัยทำตัวเป็นผู้ดู หรือผู้สังเกตการณ์อยู่นอกกลุ่ม และไม่เข้าร่วมกิจกรรม วิธีนี้จึงอาจไม่ได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติ  และอาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเมื่อผู้ถูกสังเกตมีปฏิกิริยาต่อนักวิจัย

                    2.1.3  การสังเกตแบบมี / ไม่มีระบบ  (structured / unstructured  observation)

ใน กรณีที่นักวิจัยทราบแน่ชัดว่าพฤติกรรมที่จะสังเกตเกิดขึ้นช่วงเวลาใด  อย่างไร ก็อาจกำหนดแนวทาง รูปแบบของการสังเกตให้เป็นระบบไว้ล่วงหน้าได้ โดยการนิยามพฤติกรรมการกำหนดหน่วยพฤติกรรม  และตัวผู้ถูกสังเกต การกำหนดช่วงเวลาการสังเกต การสร้างเครื่องมือบันทึกผลการสังเกต  และการซ้อมก่อนที่จะทำการสังเกตจริง การเตรียมระบบการสังเกตล่วงหน้าทำให้ได้ข้อมูลมีความเป็นปรนัย  ครบถ้วนและมีความสอดคล้องกรณีที่มีผู้สังเกตหลายคน  สำหรับการสังเกตแบบไม่มีระบบเหมาะสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า  หรืออาจต้องการได้ข้อมูลที่เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป หรืออาจต้องการรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดจนไม่อาจวาง ระบบการสังเกตได้

                    2.1.4  การสังเกตโดยตรง / อ้อม  (direct / indirect  observation)การสังเกตโดยตรงเป็นวิธีการที่นักวิจัยได้สัมผัสสิ่งที่ต้องการ สังเกตด้วยตนเอง  ส่วนการสังเกตโดยอ้อมนั้น นักวิจัยไม่สามารถสังเกตสัมผัสด้วยตนเอง แต่ใช้เครื่องมือ  เช่น  การบันทึกเทปโทรทัศน์  แล้วนำมาสังเกต และบันทึกข้อมูล วิธีนี้ได้ข้อมูลที่มีข้อจำกัด และคุณภาพต่ำกว่าการสังเกตโดยตรง

               2.2  หลักการสังเกต

                    1)  นักวิจัยต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่าจะสังเกตอะไร ควรให้นิยามของสิ่งที่จะสังเกตและกำหนดรายละเอียดของสิ่งที่จะสังเกตเป็น หน่วยย่อย ๆ

                    2)  นักวิจัยควรเตรียมการสังเกต วางระบบการสังเกตไว้ล่วงหน้าถ้าสามารถทำได้กรณีมีผู้สังเกตหลายคนควรมีการ ฝึกซ้อมให้การสังเกตมีมาตรฐานเดียวกัน

                    3)  ระหว่างการสังเกต นักวิจัยควรมีสมาธิจดจ่อกับผู้ถูกสังเกต เตรียมประสาทสัมผัสให้ตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้รายละเอียด โดยพยายามรบกวนผู้ถูกสังเกตให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่เป็น ธรรมชาติ

                    4)  การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยในการสังเกตต้องระมัดระวังให้กระทบกระเทือนผู้ถูกสังเกตน้อยที่ สุด ควรขออนุญาตก่อนใช้ และควรมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลืม  การบันทึกข้อมูลต้องทำด้วยความรอบคอบให้ข้อมูลตรงตามสภาพความเป็นจริงมากที่ สุด

               2.3  เครื่องมือบันทึกการสังเกต

          เครื่องมือสำหรับการสังเกต ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต และเครื่องมือช่วยการสังเกตประเภทโสตทัศนูปกรณ์  เช่น เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพยนต์ เป็นต้นในที่นี้จะเสนอเฉพาะแบบบันทึกการสังเกตเท่านั้น  แบบบันทึกการสังเกตเป็นเครื่องมือวิจัยที่นักวิจัยต้องสร้างขึ้นให้เหมาะสม กับจุดมุ่งหมายของการสังเกต และลักษณะข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเพื่อใช้บันทึกสิ่งที่สังเกตได้  การบันทึกอาจจะบันทึกในขณะทำการสังเกต  หรือบันทึกหลังจากเสร็จสิ้นการสังเกตโดยบันทึกจากความทรงจำ  หรือบันทึกจากการดูภาพ หรือวิดิทัศน์ก็ได้  ลักษณะของแบบบันทึกการสังเกตที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น  4 แบบ คือ แบบรายการตรวจสอบ (checklists) แผนภูมิการมีส่วนร่วม (participation charts) มาตรประมาณค่า (rating scales) และแบบบันทึกพฤติกรรม  (anecdotal  records) 

 

            3.  การสัมภาษณ์  (Interviews)

 

               การสัมภาษณ์เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการสนทนา ซักถามและโต้ตอบระหว่างนักวิจัยกับผู้ให้ข้อมูล วิธีนี้นักวิจัยมีโอกาสสังเกตบุคลิกภาพ อากัปกิริยา ตลอดจนพฤติกรรมทางกายและวาจา  ขณะสัมภาษณ์ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลประกอบได้ด้วย

               3.1  ประเภทของการสัมภาษณ์

                    3.1.1  การสัมภาษณ์แบบมี / ไม่มีระบบ  (Structured / unstructured  interviews) การสัมภาษณ์แบบมีระบบเป็นวิธีการที่นักวิจัยกำหนดรูปแบบการสัมภาษณ์  รายการคำถาม  เวลาและสถานที่สัมภาษณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว  ขณะสัมภาษณ์นักวิจัยจะดำเนินการตามระบบที่วางไว้ให้บรรยากาศ  และวิธีการคล้ายคลึงและมีมาตรฐานเป็นแบบเดียวกันทุกครั้ง วิธีนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่เบี่ยงเบนเนื่องจากความแตกต่างในการ สัมภาษณ์ แต่มีข้อเสียตรงที่ทำให้ได้ข้อมูลไม่ลึกซึ้งเพียงพอในบางประเด็น ตรงข้ามกับการสัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ ซึ่งนักวิจัยอาจตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อดึงข้อเท็จจริงจากผู้ให้ข้อมูลให้ มากที่สุด  ทั้งนี้นักวิจัยอาจทำการสัมภาษณ์แบบลึก  หรือตั้งคำถามตะล่อมให้ผู้ให้ข้อมูลเพ่งความสนใจไปที่เรื่องเฉพาะเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เป็นการสัมภาษณ์แบบรวมจุดสนใจ  (focused  interviews) ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลละเอียดลึกซึ้ง แต่ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนมีรูปแบบต่างกันไม่เป็นมาตรฐานเดียว กัน

                    3.1.2  การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม / รายบุคคล  (group / individual  interviews)

การ สัมภาษณ์แบบนี้เป็นการแยกตามจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นกลุ่มใช้เมื่อผู้สัมภาษณ์ต้องการข้อเท็จจริงจากสมาชิกทั้ง กลุ่ม อาจจะต้องการข้อมูลจากสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลด้วย  แต่ความสนใจอยู่ที่ข้อมูลจากสมาชิกทั้งกลุ่ม วิธีนี้ช่วยประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์  และถ้าจัดกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ให้มีลักษณะประสบการณ์คล้ายคลึงกันในบางเรื่อง จะยิ่งทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์มีอารมณ์ร่วม  และเต็มใจตอบคำถามมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสมาชิกมีโอกาสแสดงความคิดเห็นก่อนสรุปเป็นความคิดเห็นของ กลุ่ม  ทำให้ได้ความคิดเห็นจากกลุ่มที่เที่ยงตรงขึ้น

                    3.1.3  การสัมภาษณ์แบบลึก  (in – depth  interviews) วิธีการสัมภาษณ์แบบลึกเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่นักวิจัยต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ตะล่อมถาม  (probe)  เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์มากที่สุด  การสัมภาษณ์แบบนี้นักวิจัยเตรียมแนวทางการสัมภาษณ์ได้ล่วงหน้า  เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์แบบอื่น ๆ แต่คำถามที่จะใช้ตะล่อมถามเป็นความสามารถเฉพาะตัวนักวิจัยซึ่งต้องอาศัยความ รู้ความชำนาญ ลักษณะของการสัมภาษณ์แบบลึกจึงมีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มีรูปแบบเป็น ระบบมาตรฐาน เพราะการตะล่อมถามอาจแตกต่างกันตามลักษณะผู้ให้สัมภาษณ์  แม้ว่าผู้สัมภาษณ์จะเป็นคนเดียวกันก็ตาม

               3.2  หลักการสัมภาษณ์

                    ในการสัมภาษณ์  นักวิจัยควรดำเนินการดังนี้

                    1)  นักวิจัยควรกำหนดจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน  เตรียมแบบสัมภาษณ์  (interview  schedule)  แบบบันทึก ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะต้องใช้ในการสัมภาษณ์ให้พร้อม ถ้าเป็นไปได้ควรมีการทดลองใช้ก่อนการสัมภาษณ์จริง

                    2)  ควรมีการติดต่อนัดหมาย กำหนดเวลา สถานที่ และวิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ให้เรียบร้อย

                    3)  สัมภาษณ์ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดี ให้ความเป็นกันเอง และชี้แจงให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่าจะนำผลการสัมภาษณ์ไปใช้อย่างไร ให้คำรับรองว่าจะไม่ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์เสื่อมเสียเดือดร้อน  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์เต็มใจให้ความร่วมมือ

                    4)  ในขณะสัมภาษณ์นักวิจัยควรตั้งคำถามทีละคำถาม ใช้เวลารอคำตอบไม่เร่งเร้า  และไม่ใช้คำถามนำหรือชี้แนะ  ต้องแน่ใจว่าผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจคำถามทุกคำถามก่อนตอบ คำถามต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับปัญหาวิจัย  ภาษาง่าย  สื่อความหมายชัดเจน  และเป็นคำถามที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อมูล  เมื่อได้ฟังคำตอบไม่ควรแสดงอารมณ์ หรือปฏิกริยาใด ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการตอบคำถามต่อไป  ถ้าจำเป็นต้องตั้งคำถามเพื่อล้วงหาความจริง  หรือถามลึกลงไปควรชี้แจง  และกระทำด้วยความสุภาพ

                    5)  นักวิจัยควรจดบันทึกผลการสัมภาษณ์ทันทีตามที่เป็นจริง ไม่ควรเว้นเพราะอาจลืมได้  พยายามจดบันทึกให้เร็วเพื่อมิให้ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องรอนาน ในกรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยินยอมอาจใช้เครื่องบันทึกเสียงหรืออุปกรณ์อย่าง อื่นช่วยได้

               3.3  เครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รูปแบบของแบบรายการสัมภาษณ์ที่ ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามลักษณะคำถาม  คือ  คำถามกำหนดตัวเลือก  (fixed – alternative  questions)  คำถามปลายเปิด  (open  end  questions)  และคำถามแบบมาตรประมาณค่า  (scale  questions)

         

4.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  (Questionnaire)

การ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นวิธีที่เหมาะสมมากสำหรับการสำรวจซึ่งต้องรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก  หรืออยู่อย่างกระจัดกระจาย ข้อมูลที่เหมาะสมกับการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิดเห็นความเชื่อ  ทัศนคติ  และความสนใจ โดยแบบสอบถาม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  ตามรูปแบบของแบบสอบถาม  คือ  ชนิดปลายปิดและชนิดปลายเปิด  (closed /  open  form  questionnaire)

ซึ่ง มีหลักการในการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 1)  นักวิจัยต้องมีการเตรียมการอย่างดี  ตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย  การวางแผนการดำเนินงานการสร้างแบบสอบถาม  และการรวบรวมข้อมูล 2)  การรับรองว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับเพื่อให้ผู้ตอบมีความมั่นใจที่จะให้ ข้อมูล

3)  เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว  ให้ตรวจสอบดูความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด  และการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามตามปกติผู้ตอบไม่ต้องลงชื่อ ผู้วิจัยจะต้องยึดหลักในการสร้างแบบสอบถามที่สำคัญ  มีดังต่อไปนี้ 1) คำถามต้องถามเรื่องที่สำคัญ  ตรงตามปัญหาวิจัย 2) คำถามสั้น  กะทัดรัด  ชัดเจน   และสมบูรณ์  แต่ละคำถามควรถามประเด็นเดียว 3) คำถามมีการเรียงลำดับ  เช่น เรียงจากคำถามง่ายไปยาก เรียงจากคำถามเรื่องทั่ว ๆ ไป ไปหาเรื่องเฉพาะ ตามความเหมาะสม 4)  รูปแบบการตอบง่าย และสะดวก ไม่ทำให้ผู้ตอบเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

5)  มีคำแนะนำชัดเจน รวมทั้งคำอธิบายศัพท์ที่ต้องการให้เข้าใจตรงกัน 6)  แบบสอบถามมีรูปเล่มน่าตอบ สะอาดเรียบร้อย อ่านง่ายและไม่ยาวเกินไป 7)  ระบุวิธีการและอำนวยความสะดวกในการส่งคืน สำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชุมชนนั้นต้องระมัดระวังในการใช้แบบสอบถามในการ รวบรวมข้อมูล เพราะไม่อาจรับประกันได้ว่า ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นคำตอบจากใจจริงของผู้ตอบ  เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในชุมชนจำนวนไม่มาก และรู้จักกัน ทำให้อาจมีความรู้สึกเกรงใจกันอยู่  หรือไม่กล้าตอบตามความจริงทั้งหมด ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

 

            5.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดหรือมาตรวัด (Scales)

               การรวบรวมข้อมูลด้วยมาตรวัดเหมาะสมกับข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่ เป็นนามธรรม  มาตรวัดประกอบด้วยชุดของข้อคำถามหรือสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้ให้ ข้อมูล  แสดงการตอบสนองตามความเป็นจริง  นักวิจัยกำหนดช่วงของการตอบสนอง  และกำหนดค่าตัวเลขตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ให้ค่าตัวเลขแทนระดับของคุณลักษณะที่ต้องการ       ประเภทของมาตรประมาณค่าที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติ การในโรงเรียน จำแนกตามประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ มาตรจัดประเภท  มาตรเรียงลำดับ และมาตรอันตรภาค  แต่ละประเภทแยกย่อยได้อีกดังนี้ 1)  มาตรจัดประเภท (categorical  scales)มาตรประเภทนี้มีการเสนอสิ่งเร้าให้ผู้ตอบสนองโดยการจัดประเภทคำตอบ  เช่น ให้ตอบว่า ถูก / ผิด  เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย มาก / ปานกลาง / น้อย  เป็นต้น  มาตรวัดจัดประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้สำรวจข้อมูลทั่ว ๆ ไป 2)  มาตรเรียงอันดับ  (ordinal  scales) มาตรเรียงอันดับมีการเสนอสิ่งเร้าในรูปข้อความ สถานการณ์ หรือคำถาม  แล้วให้ผู้ตอบตอบสนองสิ่งเร้าโดยการจัดเรียงลำดับการตอบสนอง  มาตรที่เป็นที่รู้สึกกันดีได้แก่ 1) มาตรวัดความต้องการในกรณีที่นักวิจัยวัดความต้องการในการประกอบอาชีพ  ความต้องการในการศึกษาต่อ และอื่น ๆ อาจใช้รายการทางเลือกที่คาดว่าจะเป็นไปได้ทั้งหมดเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบจัด เรียงอันดับว่าต้องการสิ่งใดจากมากไปหาน้อย

2) สังคมมิติ  (Sociometry) สังคมมิติเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งที่อาจจัดเป็นมาตรเรียงอันดับ วิธีการที่สำคัญคือการให้สิ่งเร้าในรูปคำสั่งให้บุคคลระบุชื่อบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ทางสังคมตามลักษณะที่นักวิจัยต้องการศึกษา เช่น ให้ระบุชื่อเพื่อนสนิทที่สุด 2 คน ให้ระบุชื่อเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้นำดีที่สุด 3 คน เป็นต้น แล้วนำข้อมูลจากบุคคลทั้งกลุ่มมาเสนอในรูปตาราง หรือแผนภูมิสังคม  (Sociogram) ให้เห็นว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวเสนอชื่อบุคคลใด มีการรวมตัว และการกระจายของสมาชิกในกลุ่มอย่างไร 3)  มาตรอันตรภาค  (interval  scales) มาตรประเภทอันตรภาพมีการจัดสิ่งเร้าให้ผู้ตอบตอบสนองมีระดับแตกต่างกันโดย แต่ละระดับมีช่วงความแตกต่างเท่ากัน เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทคุณลักษณะทางจิต เช่น  ทัศนคติ ความรู้สึก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  เป็นต้น 4)  มาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท  (Likert’s  summated  rating  scales) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติประเภทหนึ่ง  มาตรวัดประกอบด้วยข้อคำถาม  หรือข้อความชุดหนึ่ง  ซึ่งครอบคลุมทัศนคติทุกมิติที่ต้องการวัด น้ำหนักความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อเท่าเทียมกัน  ผู้ตอบประเมินความเข้มตามความรู้สึกของตนที่มีต่อข้อคำถามเหล่านั้นเรียงจาก มากไปน้อย โดยมีการประเมินค่าได้ตั้งแต่ 3 – 12 ระดับ ผลการวัดได้จากการรวมคะแนนผลการประเมินแต่ละข้อที่มีทิศทางเดียวกันเป็นค่า บอกระดับทัศนคติของผู้ตอบแต่ละคน  มีข้อดีคือสร้างง่าย  ใช้สะดวก

ลักษณะ ของมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยข้อคำถาม หรือข้อความที่มีตัวเลือกให้ผู้ตอบได้เลือกตอบโดยการประเมินตามระดับความ เข้มของพฤติกรรมที่ตรงกับตัวเลือก มีการกำหนดคะแนนแทนตัวเลือกแต่ละตัว มาตรประมาณค่าแบบนี้แบ่งย่อยออกได้เป็น 3 แบบ ต่อไปนี้ 1)มาตรประมาณค่าใช้กราฟ 2)  มาตรประมาณค่าใช้คำ  3)  มาตรประมาณค่ารายข้อ 4)  มาตรประมาณค่าเปรียบเทียบ  หรือมาตรประมาณค่าจัดลำดับ ลักษณะมาตรประมาณค่ามีตัวเลือกให้เลือกตอบโดยที่ผู้ตอบต้องจัดลำดับความ สำคัญ  เช่น ในมาตรประมาณค่าประโยชน์ของกิจกรรม ผู้ตอบต้องจัดลำดับว่าตามความคิดเห็นของตนกิจกรรมใดให้ประโยชน์มากกว่า กิจกรรมใด 5)  มาตรประมาณค่าแบบออสกูด  (Osgood  scale) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติแบบหนึ่งมีพื้นฐานว่าทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งอธิบายได้โดยการใช้ภาษา หรือให้นัยได้เป็นหลายมิติ โดยที่แต่ละบุคคลจะให้ความหมายมีระดับแตกต่างกัน  ในแต่ละมิติจึงกำหนดนัยโดยใช้คุณศัพท์สองคำที่มีความหมายตรงกันข้ามให้ผู้ ตอบเลือกตอบว่าจำแนกนัยตรงจุดไหน  การกำหนดนัยให้ผู้ตอบจำแนกทำเป็นสามด้าน  คือ 1) การจำแนกนัยด้านประเมินคุณค่า (evaluation) เช่น  ดี – เลว เป็นคุณ-ให้โทษ 2) การจำแนกนัยด้านพลังหรืออำนาจ (potency) เช่นหนัก – เบา  แข็งแรง – อ่อนแอ 3)  การจำแนกนัยด้านกิจกรรม  (activity) เช่น คล่องแคล่ว – อืดอาด  ขยัน – เกียจคร้าน

               หลักการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด  หรือมาตรวัด เนื่องจากแบบวัด หรือมาตรวัด เป็นเครื่องมือวิจัยประเภทที่ผู้ตอบต้องให้การตอบสนองโดยการเขียนเช่นเดียว กับแบบสอบถาม วิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดจึงมีหลักการคล้ายคลึงกับการรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม หลักการเขียนข้อความที่เป็นสิ่งเร้าก็คล้ายคลึงกัน  เช่น  ควรเป็นข้อความที่มีความหมายเพียงประเด็นเดียว  เป็นประโยคเดี่ยว ใช้ภาษาง่าย ไม่ซับซ้อน  เป็นต้น

 

 2.  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

 

                ตัวนักวิจัย ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการ เพราะนักวิจัยมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ  (Practitioner) ที่สัมผัสและรับรู้ปัญหา วางแผนแก้ไข ลงมือปฏิบัติ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวนักวิจัยจึงสามารถสะท้อนสิ่งที่ปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลการวิจัย ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัยโดยนักวิจัยเอง  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบนี้  อาศัยการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติที่นักวิจัยได้ลงมือปฏิบัติ สามารถออกแบบวิธีการได้หลากหลาย ซึ่งในที่นี้จะเสนอให้เห็นเป็นตัวอย่าง  3  วิธีคือ 1)  การทำตารางบันทึกการปฏิบัติงานส่วนบุคคล 2)  การบันทึกประจำวันหรือเขียนอนุทิน  และ 3)  การบันทึกเวลาปฏิบัติกิจกรรม

แบ่งปันไป : Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[Update] tea2551: แบบทดสอบ ภาวะโลกร้อน… | ความ รู้ เกี่ยว กับ ประกัน สังคม – NATAVIGUIDES

Warm-up
How green are you?
Do the following quiz to find out how ‘green’ you are. Check the answers with your teacher afterwards. One point for every correct answer.
1) You are busy in your house tidying up going from room to room spending 5 to 10 minutes in each.
Which is the best way to save energy?
a) Switch the lights on and off every time you move from room to room
b) Keep the lights on as you move about the house
2) You are hungry and want to bake a potato. Which method is ‘greener’?
a) Put it in an electric oven for an hour
b) Quickly zap it in the microwave
3) You are thirsty so you go to a café้ to buy a drink. What do you choose?
a) A bottle of mineral water
b) A cup of coffee in a polystyrene cup
4) You need a new shirt / blouse and there are two that you like in the shop. You look at the label and see that one is made of 100% pure natural cotton and the other is 50% polyester. You want to be as environmentally friendly as you can. Which one do you choose?
a) The 100% cotton shirt
b) The 50% polyester shirt
5) Do you leave the tap on when you brush your teeth?
a) Yes b) No
6) As well as putting their health and the health of those around them in danger, smokers also put the environment in danger.
a) True b) False
7) Which is the ‘greenest’ way to wash your clothes?
a) Machine wash in cold water
b) Hand wash in hot water
8) Which form of transport is better for the environment?
a) Driving by car
b) Flying by plane
9) When you go to the supermarket how do you take your shopping home?
a) In plastic carrier bags from the supermarket
b) In your own bag or basket
10) If you have the choice, how do you prefer to buy a cold drink in a caf้?
a) In a can b) In a glass bottle
How many did you get right?

1-3 You have a lot of changes to
make if you want to be
greener.
4-6
Not bad! You know about how
you can help the planet. You
are quite green.
7-10
Well done – you have a very
green head on your shoulders!

Target Vocabulary
I : SYNONYM MATCH:
Match the following synonyms from the article:
a. speed vanished
b. completely beginning
c. images turn around
d. disappeared pictures
e. worrying present
f. recover rate
g.reverse disturbing
h. current drop
i. decline bounce back
j. underway totally
II: Guess and write the best meaning.
Words Meaning Thaimeaning
1.expert someone with
special skills or
knowledge of a
subject, gained as
a result of training
or experience:
2. satellite a machine that has
been sent into space
and goes around the
Earth in order to send
and receive electronic
information:
3.melt to change something from
solid to liquid by heating
4. reflect if a surface reflects light,
heat, or sound, it sends
back the light, etc. that
hits it:
5. estimate to judge the value,
size, etc. of something:
6.increase to become larger in number,
amount, or degree or make
something do this
7. decade a period of ten years
Reading
Put the words in the column on the right into the gaps in the text.
Global warming
Threatens Arctic
BNE: The Arctic ice is ________ at a dangerous speed and may completely ________ by the end of this century. This is________ to scientists at
America’s National Snow and Ice Data Centre (NSIDC).Experts said recent satellite images showed the______ of sea ice was the lowest it has________ been. An area five ________ larger than the UK has disappeared since 1978 and the melting is getting faster.
This year was the warmest ________ summer in 400 years. Dr. Mark Serreze from the NSIDC said the worrying ________ of melting ice caps is because of global warming.
The NSIDC’s ________ Dr. Ted Scambos said the Arctic Circle is melting so quickly that it may never ________. He said the Arctic is caught in a dangerous ________ that man cannot
reverse. Less sea ice means the Earth cannot reflect the suns rays and ________ itself. Warmer seas then melt more ice. The ________ of sea ice in one year increases the loss in the next year. Current ice loss is ________ at eight percent per decade. This means there may be no ice at all ________ the Arctic summer of 2060. Dr. Scambos warned: “It is _______certain a long-term decline is underway.”
– volume – according – disappear
– trend – melting – ever
– times – Arctic – estimated
– pretty – cool – recover
– during – leader – loss
– process
Discussion
Student A’s Questions (Do not show these to student B)
Questions You Your Partner
1. What did you think
when you first
reading this headline?
2. Are you worried
about the ice melting?
3.Do you think melting
ice caps will affect your
life?
4.Do you think the
melting of the Arctic
is the beginning of the
end of the world?
5.What things are you
pretty certain will
happen because of
global warming?
6.Who is responsible
for reversing global
warming, our governments
or us?
7.Do you think governments
are prepared for the more
violent weather created by
global warming?
8.What can we do everyday
to reverse global warming?
How to Write a Slogan that Sticks
Here’s some good advice from
When you think of slogans, what comes to mind? What brand can you recite a slogan for immediately?
Take for example the following slogans that have made their way into the memory of thousands:
· Just Do It – Nike
· This Buds for You – Budweiser
· Have it Your Way! – Burger King
· We Bring Good Things to Light – GE
· We’ll Leave the Light on For Ya! – Motel 6
Zoom! Zoom! – Mazda
Use the six components below to test your slogan and make sure it has what it takes to make it stick.
Here’s How:
1. Make it Memorable – Your slogan must be memorable. Make it easy to remember, something they want to brand in their memory and possibly even repeat to others. Take for example the above slogans, when you first heard them what was it that made them stick with you?
2. Key Benefits – Your slogan must contain a key benefit of the product or service. Give them a reason to remember it.
3. Differentiate Your Brand – It must differentiate your brand. Does it bring out the character of the product or services that sets it apart from your competitors?
4. Solidify the Brand – It must recall the brand name otherwise who cares who remembers it. The brand can be depicted in the words you use or in the image of your logo.
5. Rhythm and Rhyme – Create rhythm and rhyme. Does it rhyme? Does it have a ring to it? The rhythm of the tagline will help to stick in the memories of those that read it or hear it.
6. Warm and Fuzzy Effect – Make it warm and fuzzy. Does your slogan leave people feeling warm and fuzzy? Does it bring a smile to their face or perhaps even a little chuckle? A slogan is more likely to stick in the minds of others if it imparts a positive feeling or emotion.

Global WarmingWarm-upHow green are you?Do the following quiz to find out how ‘green’ you are. Check the answers with your teacher afterwards. One point for every correct answer.1) You are busy in your house tidying up going from room to room spending 5 to 10 minutes in each.Which is the best way to save energy?a) Switch the lights on and off every time you move from room to roomb) Keep the lights on as you move about the house2) You are hungry and want to bake a potato. Which method is ‘greener’?a) Put it in an electric oven for an hourb) Quickly zap it in the microwave3) You are thirsty so you go to a café้ to buy a drink. What do you choose?a) A bottle of mineral waterb) A cup of coffee in a polystyrene cup4) You need a new shirt / blouse and there are two that you like in the shop. You look at the label and see that one is made of 100% pure natural cotton and the other is 50% polyester. You want to be as environmentally friendly as you can. Which one do you choose?a) The 100% cotton shirtb) The 50% polyester shirt5) Do you leave the tap on when you brush your teeth?a) Yes b) No6) As well as putting their health and the health of those around them in danger, smokers also put the environment in danger.a) True b) False7) Which is the ‘greenest’ way to wash your clothes?a) Machine wash in cold waterb) Hand wash in hot water8) Which form of transport is better for the environment?a) Driving by carb) Flying by plane9) When you go to the supermarket how do you take your shopping home?a) In plastic carrier bags from the supermarketb) In your own bag or basket10) If you have the choice, how do you prefer to buy a cold drink in a caf้?a) In a can b) In a glass bottleHow many did you get right?1-3 You have a lot of changes tomake if you want to begreener.4-6Not bad! You know about howyou can help the planet. Youare quite green.7-10Well done – you have a verygreen head on your shoulders! Target VocabularyI : SYNONYM MATCH:Match the following synonyms from the article:a. speed vanishedb. completely beginningc. images turn aroundd. disappeared picturese. worrying presentf. recover rateg.reverse disturbingh. current dropi. decline bounce backj. underway totallyII: Guess and write the best meaning.Words Meaning Thaimeaning1.expert someone withspecial skills orknowledge of asubject, gained asa result of trainingor experience:2. satellite a machine that hasbeen sent into spaceand goes around theEarth in order to sendand receive electronicinformation:3.melt to change something fromsolid to liquid by heating4. reflect if a surface reflects light,heat, or sound, it sendsback the light, etc. thathits it:5. estimate to judge the value,size, etc. of something:6.increase to become larger in number,amount, or degree or makesomething do this7. decade a period of ten yearsReadingPut the words in the column on the right into the gaps in the text.Global warmingThreatens ArcticBNE: The Arctic ice is ________ at a dangerous speed and may completely ________ by the end of this century. This is________ to scientists atAmerica’s National Snow and Ice Data Centre (NSIDC).Experts said recent satellite images showed the______ of sea ice was the lowest it has________ been. An area five ________ larger than the UK has disappeared since 1978 and the melting is getting faster.This year was the warmest ________ summer in 400 years. Dr. Mark Serreze from the NSIDC said the worrying ________ of melting ice caps is because of global warming.The NSIDC’s ________ Dr. Ted Scambos said the Arctic Circle is melting so quickly that it may never ________. He said the Arctic is caught in a dangerous ________ that man cannotreverse. Less sea ice means the Earth cannot reflect the suns rays and ________ itself. Warmer seas then melt more ice. The ________ of sea ice in one year increases the loss in the next year. Current ice loss is ________ at eight percent per decade. This means there may be no ice at all ________ the Arctic summer of 2060. Dr. Scambos warned: “It is _______certain a long-term decline is underway.”- volume – according – disappear- trend – melting – ever- times – Arctic – estimated- pretty – cool – recover- during – leader – loss- processDiscussionStudent A’s Questions (Do not show these to student B)Questions You Your Partner1. What did you thinkwhen you firstreading this headline?2. Are you worriedabout the ice melting?3.Do you think meltingice caps will affect yourlife?4.Do you think themelting of the Arcticis the beginning of theend of the world?5.What things are youpretty certain willhappen because ofglobal warming?6.Who is responsiblefor reversing globalwarming, our governmentsor us?7.Do you think governmentsare prepared for the moreviolent weather created byglobal warming?8.What can we do everydayto reverse global warming?Here’s some good advice from Laura Lake, When you think of slogans, what comes to mind? What brand can you recite a slogan for immediately?Take for example the following slogans that have made their way into the memory of thousands:· Just Do It – Nike· This Buds for You – Budweiser· Have it Your Way! – Burger King· We Bring Good Things to Light – GE· We’ll Leave the Light on For Ya! – Motel 6Zoom! Zoom! – MazdaUse the six components below to test your slogan and make sure it has what it takes to make it stick.Here’s How:1. Make it Memorable – Your slogan must be memorable. Make it easy to remember, something they want to brand in their memory and possibly even repeat to others. Take for example the above slogans, when you first heard them what was it that made them stick with you?2. Key Benefits – Your slogan must contain a key benefit of the product or service. Give them a reason to remember it.3. Differentiate Your Brand – It must differentiate your brand. Does it bring out the character of the product or services that sets it apart from your competitors?4. Solidify the Brand – It must recall the brand name otherwise who cares who remembers it. The brand can be depicted in the words you use or in the image of your logo.5. Rhythm and Rhyme – Create rhythm and rhyme. Does it rhyme? Does it have a ring to it? The rhythm of the tagline will help to stick in the memories of those that read it or hear it.6. Warm and Fuzzy Effect – Make it warm and fuzzy. Does your slogan leave people feeling warm and fuzzy? Does it bring a smile to their face or perhaps even a little chuckle? A slogan is more likely to stick in the minds of others if it imparts a positive feeling or emotion.


มนุษย์เงินเดือนควรรู้!! \”14 โรค\” ยกว้น ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ศึกษาให้ดีก่อนใช้สิทธิ์!!


มนุษย์เงินเดือนควรรู้!! \”14 โรค\” ยกว้น ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ศึกษาให้ดีก่อนใช้สิทธิ์!!
ถ้าพูดถึง \”ประกันสังคม\” หลายคนที่ทำงานออฟฟิตคงรู้จักกันเป็นอย่างดีและหลายคนคงกำลังคิดว่า การมีเพียงประกันสังคมก็เกินพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีประกันอื่นๆ อย่าง ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุแล้วก็ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า สิทธิประกันสังคมนั้นไม่ได้ครอบคลุมอย่างไปทุกอย่างและยังมีโรคบางชนิดที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองของประกันสังคม วันนี้เราได้รวบรวม 14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง มาฝากทุกคน จะมีโรคอะไรบ้าง หรืออาการอะไรบ้าง ตามมาเช็คกันได้เลย!
1. โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. การรักษาโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ เกิน 180 วัน ใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต ในกรณี ไตวายเรื้อรัง ยกเว้น

– กรณีไตวายเฉียบพลัน ที่มีระยะเวลารักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์

– กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปลูกถ่ายไต และอัตราที่กำหนดในประกาศจากสำนักประกันสังคม
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ (ศัลยกรรม)
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตน ให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรค
9. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น
– การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการแพทย์รับรอง และได้ทำข้อตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีการปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
– การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาตไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ
11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อครั้งและต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่หากเป็นกรณีใส่ฟันเทียมที่ถอดได้ทั้งปาก จะมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. การทำแว่นตา

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสิทธิประกันสังคมจะครอบคลุมการรักษาหลากหลายมากมาย แต่ก็ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้คุ้มครองบางส่วน เพื่อความไม่ประมาทควรทำประกันรูปแบบอื่นๆ เพื่อความอุ่นใจในการใช้ชีวิตกันด้วยนะครับ เพราะของบางอย่าง \”มีแล้วอาจไม่ค่อยได้ใช้ ดีกว่าถึงเวลาที่ต้องใช้แต่กลับไม่มี\”

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

มนุษย์เงินเดือนควรรู้!! \

ข่าวดี!! วันที่ 18 พ.ย.นี้ รัฐแจกเงินเยียวยา ให้อีกคนละ 5,000 บาท กดเงินสดได้ เงินอะไร?? ฟังด่วน!!


ข่าวดี!! วันที่ 18 พ.ย.นี้ รัฐแจกเงินเยียวยา ให้อีกคนละ 5,000 บาท กดเงินสดได้ เงินอะไร?? ฟังด่วน!!

ข่าวดี!! วันที่ 18 พ.ย.นี้ รัฐแจกเงินเยียวยา ให้อีกคนละ 5,000 บาท กดเงินสดได้ เงินอะไร?? ฟังด่วน!!

#วิทยากรอย่างฮา เรื่อง #ประกันสังคม


ได้ทั้งความรู้ และเสียงหัวเราะ
FB:คนสุราษฎร์

#วิทยากรอย่างฮา เรื่อง #ประกันสังคม

พรบ.ประกันสังคม


พรบ.ประกันสังคม

ประมวลภาพ การประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน


การประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562
ณ ห้องประชุมกรมหลวง ชั้น6 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ประมวลภาพ การประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ความ รู้ เกี่ยว กับ ประกัน สังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *