Skip to content
Home » [Update] การที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย กับกรณีข้อ 2 (9) ของประกาศอธิ | ใบกำกับภาษีขาย – NATAVIGUIDES

[Update] การที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย กับกรณีข้อ 2 (9) ของประกาศอธิ | ใบกำกับภาษีขาย – NATAVIGUIDES

ใบกำกับภาษีขาย: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

การที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย 

กับกรณีข้อ 2 (9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 

         “เบี้ยปรับ” ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1 เท่า หรือ 2 เท่า หรือร้อยละ 2 ของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นบทลงโทษทางแพ่ง กรณีผู้ประกอบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มขาดจำนวน หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม เกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ การใช้ใบกำกับภาษีปลอม การไม่เก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี รวมทั้ง การไม่จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม และการมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในทำนองเดียวกัน เป็นอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะป้องปรามการกระทำความผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่ม

         ในขณะที่ “เงินเพิ่ม” ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือนำส่ง ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นบทลงโทษทางแพ่ง กรณีผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่นำส่ง ได้ชำระหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี ล่าช้า เกินกว่ากำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด คล้ายกับดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารพาณิชย์

         กล่าวเฉพาะ “เบี้ยปรับ” ตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย อาทิ การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือกรณีตามมาตรา 86/1 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจกรรมดังต่อไปนี้ เช่น
         – กิจการที่ไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี (Non VAT Base) ตามมาตรา 79 (1) – (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
         – กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of VAT Scope) รวมทั้งกิจการที่อยู่ในบับคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
         – กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
         – การออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจกรรมที่ไม่เกิดขึ้นจริง
         – การออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ที่มิได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากตนเองอย่างแท้จริง
         – การออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าหรือบริการคนละชนิดกับที่ตนเองได้ขายหรือให้บริการ
         – การออกใบกำกับภาษีปลอมเพื่อการทุจริต หรือโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม
         ผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย นั้น นอกจากต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ตนได้ออกตามนัยมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ยังต้องระวางโทษอาญาตามมาตรา 90/4 (3) และมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร ในโทษจำคุกตั้งแต่ 2 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท อีกด้วย ซึ่งเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญาดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
         ทางด้านตรงกันข้าม ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่มีสิทธิที่จะออกดังกล่าว ย่อมไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (5) แห่งประมวลรัษฎากร

         เกี่ยวกับประเด็นไม่รวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายต้องการที่จะขจัดความซ้ำซ้อนของการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการขายสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขานสินค้า ได้โอนสิทธิการนำเข้าสินค้าของตนให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ซึ่งก่อให้เกิดการภาระภาษีมูลค่าเพิ่มอันเนื่องจากการนำเข้าสินค้าตามกฎหมายศุลกากร ตามมาตรา 77/1 (2) ประกอบกับมาตรา 78/2 และมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีการขายสินค้าในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 (1) ประกอบกับมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร จึงออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 2 (9) เพื่อทอนภาระความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งที่สองที่อยู่ในอำนาจการจัดเก็บของกรมสรรพากรลง โดยให้ถือเป็นกิจการที่ไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายสินค้านั้นในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่นำเข้าซึ่งได้โอนสิทธิการนำเข้าไปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าแล้วดังกล่าว

         แต่อนิจจา!!! ความปรารถนาดีของอธิบดีกรมสรรพากร กลับกลายมาเป็นแส้ที่หวดลงบนหลังของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายสินค้านั้นในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่นำเข้าซึ่งได้โอนสิทธิการนำเข้าไปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าแล้ว เพราะเหตุของการไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ด้วยปรารถนาที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามหน้าที่แห่งตน ซึ่งหาได้เกิดจากการจงใจเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีอากรดังกรณีอื่นของการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย
….เบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายเท่านั้น จะพิจารณาลดหรืองดให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ลำพังเจ้าพนักางานประเมินที่ทำการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีอำนาจที่ลดหรืองดให้แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นผู้เสนอความเห็นเบื้องต้นต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายเท่านั้น (ซึ่งถือว่าสำคัญมากประการหนึ่ง!!!)
         ความผิดในกรณีนี้ หากพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายพึงต้องพิจารณา “งดเบี้ยปรับ” ให้แก่ผู้ประกอบการแต่เพียงสถานเดียวเท่านั้น เนื่องจากด้วยเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับบริษัทฯ ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลคาเพิ่ม ข้อผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ไม่มีความรู้และขาดความเข้าใจในทางปฏิบัติ และได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดีในทุกกรณี
ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้ทำคำร้องของดหรือลดเบี้ยปรับต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว จึงพึงต้องรอผลการพิจารณาของท่าน ไม่พึงต้องแสดงความจริงใจที่จะชำระเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนเบี้ยปรับ เพราะเจ้าพนักงานรับแบบแสดงรายการไม่มีอำนาจพิจารณาลดเบี้บปรับกรณีดังกล่าวตามมาตรา 89 วรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

         อย่างไรก็ตาม กรณีการโอนสิทธิให้ผู้ซื้อนำเข้า จะถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 101/2543 เรื่อง ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

        ”ข้อ 1 การขายสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็น มูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

             (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็น ผู้ขายต้องเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

             (

2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าที่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศ

             (

3) ผู้ซื้อซึ่งนำเข้าสินค้าได้มีการชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

             (

4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จะต้องมีหลักฐานสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ

             ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่ต้องออก ใบกำกับภาษีเพื่อเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 หรือใบส่งของ ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี”ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายจะต้องมีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ผู้ซื้อได้เสียภาษีตอนนำเข้าไว้แล้ว

         ดังนั้น ถ้าสำเนาใบเสร็จนั้น “หาย” หรือผู้ซื้อไม่ยอมส่งมอบให้บริษัทฯ ก็ยังคงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บในอัตรา 7.0 ตามปกติ ของการขายสินค้าในราชอาณาจักร จึงต้องกลับไปพิจารณาปรเด็นนี้อีกครั้งหนึ่งว่า มีหลักฐานสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบอยู่หรือไม่ หากไม่มีการออกใบกำกับภาษีก็ถือเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นกรณีตามสุภาษิต ตกกระไดพลอยโจนไปเสียเลย จะได้พ้นผิดจากข้อกล่าวหาว่า ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย 

        การปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในอนาคตค่อยว่ากันใหม่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อไป 

[NEW] ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 199) | ใบกำกับภาษีขาย – NATAVIGUIDES

Untitled Document

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199)
เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
———————-

                     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้

                     ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                             “ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกำกับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
                              ข้อ 8 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการ
จดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
                                 (1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความ
คำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
                              ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
                                 (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏ
ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการใน
ใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏใน
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้”

                     ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556


#การขายสินค้าออนไลน์จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเมื่อไร? #และลงบันทึกบัญชีอย่างไร?


การขายสินค้าออนไลน์จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเมื่อไร? และลงบันทึกบัญชีอย่างไร?
กรณีศึกษา เนื่องจากกระแสการขายสินค้าออนไลน์เพิ่มจำนวนมากขึ้น รูปแบบการขายเปลี่ยนไปเป็นแบบออนไลน์ผ่าน Facebook, IG, ผู้ให้บริการ เช่น Lazada, Shopee หรือ ช่องทางสื่อออนไลน์อื่นๆ จะมีแนวทางออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเมื่อไร? และลงบันทึกบัญชีอย่างไร? รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมได้จากคลิปนี้ได้เลย
ให้ความรู้โดยพี่เก่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี, ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา!
ปรึกษาเรื่องภาษีบัญชีทั่วไป
แอดที่ไลน์ id: @kengbunchee

ปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี
โทรศัพท์: 3,000 บาท/ชม.
…………….กรณีเป็นเคสภาษีซับซ้อน ของแจ้งราคาเป็นเคสๆ ค่ะ
แอดที่ไลน์ id: @kengbunchee_vip
โทรศัพท์: 0838595597

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCpsA7YXp8SlteplIJgFgvGw
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao
เว็บไซต์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com

การขายสินค้าออนไลน์จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเมื่อไร?
และลงบันทึกบัญชีอย่างไร?
ออกใบเสร็จขายสินค้าออนไลน์
บันทึกบัญชีขายสิค้าออนไลน์
จุดรับผิดชอบภาษีขายสินค้าออนไลน์

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

#การขายสินค้าออนไลน์จะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเมื่อไร? #และลงบันทึกบัญชีอย่างไร?

ภาษีป้าย คืออะไรและต้องจ่ายอย่างไร? ดูคลิปนี้ก่อนทำป้าย


ถ้าคุณกำลังจะทำป้ายร้าน อย่าเพิ่งทำถ้ายังไม่ได้ดูคลิปนี้
เพราะจะช่วยให้คุณประหยัดเงินไปได้อีก
ความหมายของภาษีป้ายมีดังนี้
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
https://owiwat.com/2020/index.php/pages/signagetax

ภาษีป้าย คืออะไรและต้องจ่ายอย่างไร? ดูคลิปนี้ก่อนทำป้าย

สำเนาใบกำกับภาษีซื้อสามารถนำไปหักกับภาษีขายได้หรือไม่


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 539 Yellowการบัญชี www.yellowaccounting.com โดย อ.มานพ สีเหลือง และ อ.เจี๊ยบ

สำเนาใบกำกับภาษีซื้อสามารถนำไปหักกับภาษีขายได้หรือไม่

ขายของออนไลน์ ออเดอร์ ขายดี ออกใบกำกับภาษีอย่างไร ให้ง่าย และประหยัด


ขายของออนไลน์ ออเดอร์ ขายดี ออกใบกำกับภาษีอย่างไร ให้ง่าย และประหยัด
กิจการจะสามารถสรุปยอดขายทั้งวัน แล้วออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ 1 ใบต่อวัน
.
โดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีดกทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการ และในใบกำกับภาษี ระบุแค่ สรุปแค่ยอดขายใน 1 วัน โดยไม่ต้องใส่รายละเอียดสินค้าที่ขายไปได้
.
เงื่อนไข ที่ต้องมี:
ก็ต่อเมื่อมียอดขายต่อเดือนไม่เคยเกิน 300,000 บาท
และเฉพาะสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท
จุดนี้ต้องระวังในการออกใบกำกับภาษีรวมยอด
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
⭐คอร์สออนไลน์⭐
1. บัญชีภาษีขายของออนไลน์ LAZADA SHOPEE FACEBOOK
2. วางแผนภาษี เลิกกิจการ บริษัท ห้างหุ้นส่น บุคคลธรรมดา
3. เปิดบริษัทใหม่ ต้องทำอะไรบ้าง
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
สมัครเรียน:
📌 อินบ้อค: https://m.me/aomsinleader
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
บัญชีภาษีขายของออนไลน์ บัญชีภาษีวันละคลิป ขายของออนไลน์ แม่ค้า แม่ค้าออนไลน์ พ่อค้าออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ หาเงินออนไลน์

ขายของออนไลน์ ออเดอร์ ขายดี ออกใบกำกับภาษีอย่างไร ให้ง่าย และประหยัด

ขายแบบไหนไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย


ขายแบบไหนไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย ถ้ามีคำถามเรื่องบัญชีและภาษีถามพี่นัดเข้ามาได้ทาง Line@/@pnut_account_tax หรือโพสถามไว้ได้ที่ comment ด้านล่าง พี่นัดจะเข้ามาตอบให้ทุกคำถามครับ
Facebook : https://www.facebook.com/PNUTAccountTax114877353212653/?modal=admin_todo_tour
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UClAyTkvajTzMJ5arXgWJSTg?view_as=subscriber
Line@ : @pnut_account_tax

ขายแบบไหนไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ใบกำกับภาษีขาย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *