Skip to content
Home » [NEW] Nouns – เอกพจน์/พหูพจน์ | พหูพจน์ เอกพจน์ คือ – NATAVIGUIDES

[NEW] Nouns – เอกพจน์/พหูพจน์ | พหูพจน์ เอกพจน์ คือ – NATAVIGUIDES

พหูพจน์ เอกพจน์ คือ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Nouns เอกพจน์/พหูพจน์ (Singular/Plural)

 

 

คำนามในภาษาอังกฤษที่เกียวกับการนับมี 2 ชนิดคือ

นามนับได้ ( countable nouns ) สามารถเป็นเอกพจน์ ( Singular ) หรือ พหูพจน์ ( Plural ) ได้

นามนับไม่ได้ ( uncountable nouns ) โดยทั่วไปเป็นเอกพจน์ ( Singular ) แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบางคำสามารถทำให้เป็นพหูพจน์ ได้

นามนับได้ ส่วนใหญ่ทำให้เป็นพหูพจน์โดยการเติม – s ที่ท้ายคำ

นามนับไม่ได้โดยทั่วไป ทำเป็นพหูพจน์ไม่ได้ ( แต่มีข้อยกเว้น ซึ่งทำให้กลายเป็นคำนามที่ใช้อย่างนามนับได้ เช่น wine ปกติเป็นนามนับไม่ได้ แต่สามารถนำมาใช้แบบนับได้คือ wines หมายถึง เหล้าองุ่นชนิดต่างๆ )

หลักโดยทั่วไปของการทำให้เป็นพหูพจน์ มีดังนี้

1. โดยทั่วไปเติม s หลังนามเอกพจน์ เช่น

Singular/Plural

apple ( แอปเปิล ) apples

comb ( หวี ) combs

computer ( คอมพิวเตอร์ ) computers

stamp ( แสตมป์ ) stamps

face (หน้า ) faces

2. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x, z ให้เติม es เช่น

Singular/Plural

glass ( แก้ว ) glasses

bus ( รถประจำทาง ) buses

church ( โบสถ์ ) churches

dish ( จาน ) dishes

box ( กล่อง ) boxes

quiz ( การสอบสั้นๆ ) quizes

3. คำนามที่ลงท้ายด้วย o และหน้า o เป็นพยัญชนะ เติม es เช่น

Singular/Plural

tomato ( มันฝรั่ง ) tomatoes

potato ( มันฝรั่ง ) potatoes

torpedo ( ตอร์ปิโด ) torpedoes

hero ( วีรบุรุษ ) heroes

echo ( เสียงก้อง ) echoes

ข้อยกเว้น คำนามที่ลงท้ายด้วย o บางคำที่ข้างหน้าเป็นสระหรือพยัญชนะ เติม s เช่น

Singular/Plural

auto (รถยนต์ ) autos

bamboo ( ไม้ไผ่ ) bamboos

studio (ห้องสตูดิโอ ) studios

kangaroo ( จิงโจ้ ) kangaroos

casino ( บ่อนการพนัน ) casinos

piano ( เปียโน ) pianos

tobacco ( ยาสูบ ) tobaccos

kilo ( กิโล ) kilos

ข้อยกเว้น นามที่ลงท้ายด้วย o บางคำจะเติม s หรือ es ได้ทั้งสองอย่าง

Singular/Plural

cargo ( สินค้า ) cargos,cargoes

mango ( มะม่วง) mangos,mangoes

mosquito ( ยุง ) mosquitos, mosquitoes

buffalo ( ควาย ) buffalos, buffaloes

motto ( ภาษิตประจำใจ ) mottos,mottoes

zero ( เลขศูนย์ ) zeros, zeroes

4. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น

Singular/Plural

army ( กองทัพ ) armies

lady ( สุภาพสตรี ) ladies

family ( ครอบครัว ) families

library ( ห้องสมุด ) libraries

baby ( เด็ก ) babies

ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้เติมเพียง s

Singular/Plural

toy ( ของเล่น )toys

boy ( เด็กชาย )boys v

key ( กุญแจ )keys

day ( วัน ) days

monkey ( ลิง )monkeys

storey ( ชั้น )storeys

valley ( หุบเขา ) valleys

5. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เปลี่ยนให้เป็น v แล้วเติม es เช่น

Singular/Plural

calf ( ลูกวัว) calves

wolf ( หมาป่า ) wolves

thief ( ขโมย ) thieves

life ( ชีวิต ) lives

knife ( มีด ) knives

wife ( ภรรยา ) wives

half ( ครึ่ง ) halves

ยกเว้นคำต่อไปนี้เติม s เท่านั้น

Singular/Plural

belief ( ความเชื่อถือ) beliefs

dwarf ( คนแคระ ) dwarfs

brief ( สำนวนคดีความ ) briefs

grief ( ความเศร้าโศก ) griefs

chef ( หัวหน้าพ่อครัว ) chefs

gulf ( อ่าว ) gulfs

chief ( หัวหน้า) chiefs

reef (หินโสโครก ) reefs

cliff ( หน้าผา ) cliffs

safe ( ตุ้นิรภัย) safes

คำต่อไปนี้ทำได้ 2 แบบคือ

Singular/Plural

scarf ( ผ้าพันคอ ) scarfs,scarves

roof ( หลังคา ) roofs,rooves

staff (คณะบุคคล ) staffs,staves

wharf (ท่าเรือ ) wharfs ,wharves

ุ6. ทำเป็นนามพหุพจน์โดยเปลี่ยนภายในคำ

Singular/Plural

goose ( ห่าน ) geese

man ( ผู้ชาย ) men

louse ( เหา,หมัด ) lice

woman (ผู้หญิง ) women

mouse ( หนู ) mice

ox ( วัว ) oxen

foot ( เท้า ) feet

child ( เด็ก ) children

tooth ( ฟัน ) teeth

7. คำต่อไปนี้เหมือนกันทั้งรูปพหูพจน์ และ เอกพจน์

Singular & Plural

aircraft ( เครื่องบิน )

herring ( ปลาเฮอริง )

deer ( กวาง )

species ( ชนิด )

carp ( ปลาคาร์พ )

salmon ( ปลาซาลมอน )

bison ( วัวกระทิง )

corps ( กองร้อย )

fish ( ปลา )

mackerel ( ปลาแมคเคอเรล )

shellfish( สัตว์น้ำที่มีเปลือก )

series ( ชุด )

sheep ( แกะ )

trout ( ปลาเทร้า )

barracks ( โรงเรือนทหาร )

8. คำนามต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์แต่ใช้อย่างเอกพจน์

economics (วิชา เศรษฐศาสตร์ )

civics ( วิชาหน้าที่พลเมือง )

works ( โรงงาน ผลงาน )

ethics (วิชาศีลธรรม)

mumps ( คางทูม)

news ( ข่าว )

mathematics ( คณิตศาสตร์ )

teens ( คนวัย 13 – 19 ปี )

ashes ( ขี้เถ้า )

mechanics ( กลสาสตร์ )

twenties ( คนวัย 20-29 )

measles ( หัด )

politics ( การเมือง )

thirties ( คนวัย 30 – 39 )

tactics ( กลยุทธ )

sciences ( วิทยาศาสตร์ )

headquarters ( สำนักงานใหญ่)

means ( วิธี )

statistics (วิชาสถิติ )

whereabouts ( ที่อยู่ )

เช่น Mathematics is my favorite subject.

Measles is still a fairly serious childhood disease in some countries.

9. คำนามต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์และใช้อย่างความหมายพหูพจน์ เช่น

arms ( อาวุธ )

pajamas ( ชุดนอน )

thanks ( ความขอบคุณ )

assets (ทรัพย์สิน )

scissors ( กรรไกร )

shorts ( กางเกงขาสั้น )

auspices ( ฤกษ์ )

drawers ( ลิ้นชัก )

wages ( ค่าจ้าง )

biceps ( กล้ามเนื้อแขน )

sheers ( กรรไกรยาว )

intestines ( ลำใส้ใหญ่ )

clothes ( เสื้อผ้า )

suds ( ฟองสบู่ )

goods ( สินค้า )

contents ( สารบัญ )

spectacles ( แว่นตา )

eyeglasses ( แว่นตา )

customs ( ภาษีศุลกากร )

earnings ( รายได้ )

trousers,pants ( กางเกง )

jeans ( กางเกงจีนส์ )

binoculars ( กล้องส่องทางไกล )

sandals ( รองเท้าแตะ )

remains ( ซากที่เหลืออยู่ )

credentials ( หนังสือรับรอง )

เช่น My trousers are too long.

The company’s earings have increased for the last five years.

10. นามต่อไปนี้มีรูปเป็นเอกพจน์ แต่ใช้ในความหมายพหูพจน์

people( ประชาชน )

cattle ( ปศุสัตว์ )

youth ( คนหนุ่มสาว )

police ( ตำรวจ )

majority ( คนส่วนมาก )

swine ( สัตว์พันธุ์หมู รวมทั้งหมูป่า)

poultry ( สัตว์ปีก )

minority ( คนส่วนน้อย )

clergy ( พระฝรั่ง )

offspring ( ลูก )

เช่น They are nice people.

The police are looking for the Olympic Park bomber.

11. นามต่อไปนี้ เมื่อเป็นเอกพจน์มีความหมายอย่างหนึ่ง และเมื่อเป็นพหูพจน์มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง

Singular/Plural

advice ( คำแนะนำ ) advices ( รายงาน )

air ( อากาศ ) airs (การวางท่าหยิ่ง )

color ( สี ) colors ( ธงประจำกองทหาร ธงชาติ )

compass ( เข็มทิศ ) compasses ( วงเวียน )

content ( ความพอใจ ) contents ( สารบัญ )

copper ( ทองแดง ) coppers ( เหรียญทองแดง )

custom ( ธรรมเนียม ประเพณี ) customs ( ศุลกากร )

draught ( กระแสลม ) draughts ( หมากรุกฝรั่ง )

dump (ที่ทิ้งขยะ ) dumps ( ความหดหู่ )

effect ( ผลกระทบ ) effects ( ทรัพย์สิน )

force ( อิทธิพล ) forces ( กองทัพ )

good ( ดี ) goods ( สินค้า )

ground ( ดิน ) grounds ( เหตุผล )

iron ( เหล็ก ) irons ( โซ่ตรวน )

manner ( วิธี อาการ) manners ( มารยาท )

minute ( นาที ) minutes ( รายงานการประชุม )

physic ( ยา ) physics ( วิชาฟิสิกส์ )

quarter ( หนึ่งในสี่ ) quarters ( ที่อยู่อาศัย )

return ( การกลับ ) returns ( ผลกำไร ผลตอบแทน )

sand ( ทราย ) sands ( หาดทราย )

spirit ( น้ำใจนักกีฬา,วิญญาณ ) spirits ( เหล้า ปีศาจ )

water ( น้ำ ) waters ( แหล่งน้ำ น่านน้ำ )

work ( งาน ผลงาน ) works ( โรงงาน )

Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[Update] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | พหูพจน์ เอกพจน์ คือ – NATAVIGUIDES

ในภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น boy เป็น boys, cat เป็น cats, dish เป็น dishes

แต่ก็มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนตัวอักษรก่อนแล้วค่อยเติม es อย่างเช่น candy เป็น candies, fly เป็น flies หรือบางคำก็เปลี่ยนตัวอักษรอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es อย่างเช่น foot เป็น feet, man เป็น men

จากที่เขียนมานี้ หลายๆคนก็คงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนต้องใช้รูปพหูพจน์แบบไหน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ขอให้วางใจได้ เพราะในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับกฏการเติม s และ es หลังคำนาม มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

ทบทวนความรู้
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น friend, pen, bus, foot, ox
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป มักจะเป็นคำนามรูปที่เติม s หรือ es ต่อท้าย เช่น friends, pens, buses แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรอื่นแทน เช่น feet, oxen

หลักการเติม s และ es หลังคำนาม

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ หลักๆแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ

  1. เติม s ได้เลย เช่น cat เป็น cats, girl เป็น girls
  2. เติม es ได้เลย เช่น dish เป็น dishes, potato เป็น potatoes
  3. เปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำแล้วค่อยเติม es เช่น wolf เป็น wolves, enemy เป็น enemies
  4. เปลี่ยนหรือเพิ่มตัวอักษรบางตัวหรือเปลี่ยนทั้งคำ เช่น tooth เป็น teeth, ox เป็น oxen, person เป็น people
  5. บางคำก็ใช้รูปพหูพจน์เหมือนเอกพจน์ เช่น deer, sheep

ซึ่งถ้าเจาะรายละเอียด จะแบ่งได้เป็นหลักการ 10 ข้อดังนี้

1. คำนามทั่วไปเติม s ต่อท้ายได้เลย

คำนามที่ไม่เข้าข่ายหลักการข้ออื่น เราสามารถเติม s ต่อท้ายตรงๆได้เลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAntAntsมดBookBooksหนังสือGirlGirlsเด็กผู้หญิงHouseHousesบ้านTableTablesโต๊ะ, ตารางTreeTreesต้นไม้

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย

คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBusBusesรถโดยสารประจำทางLensLensesเลนส์ClassClassesชั้นเรียน, คาบเรียนDressDressesชุดเดรสBrushBrushesแปรงDishDishesจานBeachBeachesชายหาดWatchWatchesนาฬิกาBoxBoxesกล่องFoxFoxesสุนัขจิ้งจอกBlitzBlitzesการโจมตีแบบสายฟ้าแลบBuzzBuzzesความรู้สึกตื่นเต้น, เสียงหึ่ง เช่น เสียงผึ้ง

3. คำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ต้องซ้ำ s หรือ z แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ปกติแล้วจะเติม es ได้เลย แต่ก็มีบางคำที่เราจะต้องซ้ำ s หรือ z ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายGasGassesแก๊สQuizQuizzesแบบทดสอบWhizWhizzesผู้มากความสามารถในบางด้าน

4. คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เราจะเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายLeafLeavesใบไม้ShelfShelvesชั้นวางของWolfWolvesหมาป่าKnifeKnivesมีดLifeLivesชีวิตWifeWivesภรรยา

แต่บางคำที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ก็จะเติม s โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v

คำพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่หน้า f เป็นสระ 2 ตัวติดกัน (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น chef, safe

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBeliefBeliefsความเชื่อChefChefsเชฟทำอาหารProofProofsหลักฐานReefReefsแนวหินโสโครกใต้ทะเลRoofRoofsหลังคาSafeSafesตู้เซฟ

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ยกเว้นถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย

คำนามที่ลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBabyBabiesเด็กทารกCityCitiesเมืองขนาดใหญ่EnemyEnemiesศัตรูFlyFliesแมลงวันLibraryLibrariesห้องสมุดPuppyPuppiesลูกสุนัข

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เราจะเติม s ได้เลย

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBoyBoysเด็กผู้ชายDayDaysวันMonkeyMonkeysลิงToyToysของเล่นTrayTraysถาดWayWaysหนทาง, วิธี

6. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย o เราจะเติม es ต่อท้าย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายDominoDominoesโดมิโน่EchoEchoesเสียงสะท้อนHeroHeroesฮีโร่MosquitoMosquitoesยุงPotatoPotatoesมันฝรั่งTomatoTomatoesมะเขือเทศ

แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเติม s แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำที่หน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น piano

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAudioAudiosเสียงBambooBamboosต้นไผ่, ไม้ไผ่PianoPianosเปียโนStudioStudiosสตูดิโอVideoVideosวิดีโอZooZoosสวนสัตว์

นอกจากนี้ ยังมีบางคำที่สามารถเติมได้ทั้ง s และ es คือใช้ได้ทั้ง 2 แบบเลย อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBuffalo*Buffalos
BuffaloesควายCargoCargos
Cargoesสินค้าที่บรรทุกโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เรือ เครื่องบินMangoMangos
Mangoesมะม่วงMottoMottos
Mottoesคติพจน์TornadoTornados
Tornadoesพายุทอร์นาโดVolcanoVolcanos
Volcanoesภูเขาไฟ

*คำว่า buffalo สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ ทั้ง buffalos (แบบเติม s), buffaloes (แบบเติม es) และ buffalo (เหมือนรูปเอกพจน์)

7. คำนามที่มาจากภาษาอื่น บางคำจะมีรูปพหูพจน์เฉพาะ

คำนามที่มาจากภาษากรีกที่ลงท้ายด้วย sis เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ เราจะเปลี่ยนให้เป็น ses ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAnalysisAnalysesการวิเคราะห์, ผลวิเคราะห์BasisBasesหลักสำคัญ, ส่วนประกอบหลักCrisisCrisesช่วงวิกฤติNeurosisNeurosesโรคประสาทOasisOasesโอเอซิส, แหล่งน้ำกลางทะเลทรายThesisThesesวิทยานิพนธ์

คำนามที่มาจากภาษาลาตินที่ลงท้ายด้วย us เราจะเปลี่ยนให้เป็น i ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAlumnusAlumniศิษย์เก่าCactusCacti (หรือ cactuses)ต้นกระบองเพชรFungusFungiเห็ด, เชื้อรา

แต่คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำก็ใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAppendixAppendices
AppendixesภาคผนวกCactusCacti
Cactusesต้นกระบองเพชรCurriculumCurricula
CurriculumsหลักสูตรFormulaFormulae
Formulasสูตร เช่น สูตรคณิตฯStadiumStadia
Stadiumsสนามกีฬาขนาดใหญ่ThesaurusThesauri
Thesaurusesพจนานุกรมคำพ้อง

นอกจากตัวอย่างเหล่านี้แล้ว ยังมีคำต่างประเทศลักษณะอื่นอีก ที่มีรูปพหูพจน์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่พบเจอได้ไม่บ่อย หรือไม่ก็เป็นคำที่มักจะใช้รูปพหูพจน์เป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น data, criteria ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของ datum และ criterion ตามลำดับ)

8. คำนามบางคำใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรบางตัว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es

คำนามบางคำจะใช้การเปลี่ยนตัวอักษรที่เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น เปลี่ยนจาก o เป็น e หรือเปลี่ยนจาก a เป็น e ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายFiremanFiremenพนักงานดับเพลิงFootFeetเท้าGooseGeeseห่านManMenผู้ชายToothTeethฟันWomanWomenผู้หญิง

และบางคำก็ใช้การเติมตัวอักษรอื่นที่ไม่ใช่ s หรือ es อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายChildChildrenเด็กOxOxenวัว

9. คำนามบางคำจะเปลี่ยนแทบทั้งคำ โดยที่ไม่ได้เติม s หรือ es

คำนามบางคำจะมีรูปพหูพจน์ที่แตกต่างจากเดิมมาก เหมือนเป็นคนละคำกันเลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายMouseMiceหนูPersonPeopleคน

10. คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน

คำนามบางคำจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAircraftAircraftอากาศยานDeerDeerกวางDiceDiceลูกเต๋าFish*FishปลาSheepSheepแกะSpeciesSpeciesสายพันธุ์

*คำว่า fish จริงๆแล้วมีรูปพหูพจน์ 2 แบบ คือ fish และ fishes แต่ในกรณีทั่วไป เช่นการบอกว่ามีปลาหลายตัว เราจะนิยมใช้ fish มากกว่า ส่วน fishes นั้นมักจะใช้เมื่อพูดถึงปลาหลายๆสายพันธุ์

เป็นยังไงบ้างครับกับกฏการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถเปลี่ยนพจน์ของคำนามได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


EP.2 ว่าด้วยเรื่อง เอกพจน์ และพหูพจน์คืออะไร (Singular and Plural) มีอะไรบ้าง มาดูกัน


คลิบนี้ จะมาทบทวนไปพร้อมกันกับเพื่อนๆ น้องๆ เกี่ยวกับเรื่อง เอกพจน์ และพหูพจน์คืออะไร (Singular and Plural)
กดติดตาม กดถูกใจ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะค่ะ
FB: Grammi Around

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

EP.2 ว่าด้วยเรื่อง เอกพจน์ และพหูพจน์คืออะไร (Singular and Plural) มีอะไรบ้าง มาดูกัน

P 2 3 4 คำนามเอกพจน์ พหูพจน์


P 2 3 4 คำนามเอกพจน์ พหูพจน์

การผันคำนามเอกพจน์ พหูพจน์ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE


การผันคำนามเอกพจน์ พหูพจน์ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
ในวีดีโอนี้เราจะมาดูการผันคำนามจากรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์กัน ไม่ว่าจะเป็น การ เติม s หรือ es รวมไปถึงคำนามที่คงรูป และ เปลี่ยนรูป แบบในคลิปเดียวรู้ละเอียดเลย
คำนามคืออะไร กดลิงก์นี้ได้เลย
https://www.youtube.com/watch?v=exx4VjSn6W0
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ครบทุกหลักการใช้งานในคลิปเดียวแบบเต็มสูบทั้งหมด
หากสนใจมาเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว กับทางESE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางเหล่านี้นะครับ
อย่าลืมกดติดตามเราทางช่องทางอื่นๆด้วยนะครับ
Follow us on Facebook: https://www.facebook.com/easyandsimpleenglish/
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/ese_stagram_th/
Visit our website: http://easysimpleenglish.com/
Contact: Tel: 0863537300

การผันคำนามเอกพจน์ พหูพจน์  เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE

Grammar ไม่น่าเบื่อ EP06 : คำนามเอกพจน์และพหูพจน์


เล่า Grammar แบบเข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ ได้ฝึกฝนจริงจัง
ติดตามผลงานอื่นๆ ของทีมเราได้ที่
http://www.proudbookshop.com
IG : https://www.instagram.com/proudbook
Facebook : https://www.facebook.com/proudbook
twitter : https://www.twitter.com/proudbook

Grammar ไม่น่าเบื่อ EP06 : คำนามเอกพจน์และพหูพจน์

EP.1 Plural Noun เปลี่ยนคำนามนับได้เอกพจน์ ให้เป็นพหูพจน์


EP.1 Plural Noun เปลี่ยนคำนามนับได้เอกพจน์ ให้เป็นพหูพจน์

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ พหูพจน์ เอกพจน์ คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *