Skip to content
Home » [NEW] Bootstrapping วิธีสร้าง startup ที่โตแบบเต่าคลาน | นัก ธุรกิจ ที่ ประสบ ความ สํา เร็ จ ใน ไทย – NATAVIGUIDES

[NEW] Bootstrapping วิธีสร้าง startup ที่โตแบบเต่าคลาน | นัก ธุรกิจ ที่ ประสบ ความ สํา เร็ จ ใน ไทย – NATAVIGUIDES

นัก ธุรกิจ ที่ ประสบ ความ สํา เร็ จ ใน ไทย: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ตุลาคม 1, 2019 | By Channarong Jansoe

การสร้าง startup ก็เหมือนกับการขี่จักรยาน คุณต้องใช้ความเร็วระดับหนึ่งเพื่อทำให้มันไปข้างหน้า แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณรับเงินทุนจากนักลงทุน เมื่อนั้นจะมีนาฬิกามาคอยกดดันคุณ

Venture Capital เป็นหนึ่งในกลุ่มทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ ธุรกิจของพวกเขาคือนำเงินของนักลงทุนมาทำให้เติบโตโดยการลงทุนในธุรกิจตั้งใหม่ที่มีแนวโน้มไปได้สวย

Productivity ของพวกเขาคือการตัดสินใจ พวกเขาต้องทำทุกวิธีเพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนของเขาไม่ใช่สิ่งผิดพลาด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่บางครั้ง VC จะคอยกดดันเหล่าผู้ก่อตั้งให้ทำตามที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ เร่งขยายทีม เร่งขยายกิจการ นั่นก็เพราะพวกเขาเองก็โดนกดดันจากนักลงทุนเช่นกัน

โดยปกติสตาร์ทอัพจะยอมรับความกดดันเหล่านั้นเพื่อให้เข้าถึงเงินทุน คำแนะนำดีๆในการทำธุรกิจ คอนเนคชั่นเจ๋งๆที่สามารถต่อยอด แต่ก็มีผู้ก่อตั้งบางพวกที่ไม่สนใจจะขอทุนจาก VC

เราจะเรียกพวกนี้ว่า Bootstrapper 

Bootstrapper คือผู้ก่อตั้งที่สร้างสตาร์ทอัพโดยไม่อาศัยเงินทุนภายนอก (หรือใช้นิดเดียว) พวกเขาใช้ทุนตัวเองสร้างธุรกิจขึ้นมาและบริหารมัน การหาโมเดลธุรกิจที่ได้ผลเป็นงานแรกๆที่ต้องทำเพราะมันคือหนทางที่ทำให้มีกระแสเงินสดไหลเข้ามา นั่นหมายความว่าแหล่งเงินทุนหลักของพวกเขามาจาก “ลูกค้า”

ดังนั้นสำหรับ Bootstrapper ลูกค้าก็คือนักลงทุน

———-

ทุกคนสามารถใช้แนวทาง Bootstrapping ในการสร้างสตาร์ทอัพ แต่ Gennaro Cuofano ผู้สร้าง FourweekMBA บอกว่าไม่ใช่ทุกตลาดที่เหมาะกับ Bootstrapper 

ข้อจำกัดของพวกเขาคือเงินทุน พวกเขาจึงต้องโฟกัสไปยังตลาดที่เห็นชัดว่ามีลูกค้า การสร้างเทคโนโลยีขึ้นใหม่แล้วพยายามสร้างตลาดขึ้นมาเองอาจจะเหมาะกับสตาร์ทอัพที่ VC หนุนหลัง แต่ไม่ใช่กับ Bootstrapper

Cuofano แนะนำให้ใช้ตลาด 4 ประเภทของ Steve Blank เพื่อให้รู้ว่าตนเองควรโฟกัสไปที่ไหน

ตลาดแรกคือ Existing market ตลาดนี้มีลูกค้าที่ชัดเจนแต่ก็มีคู่แข่งมากมาย ลักษณะของตลาดนี้จะไม่มีเล่นรายใดที่โดดเด่นกว่าคนอื่นและไม่มีผู้ผูกขาด

Re-segmented market คือตลาดที่มีผู้เล่นรายใหญ่ผูกขาดอยู่ อาจจะ 1-2 ราย แต่ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่พอใจกับบริการของรายใหญ่ ดังนั้นจึงมีช่องว่างให้เจาะ อย่างเช่น DuckDuckGo ที่ลงเล่นในตลาด Search Engine ที่มี Google คุมอยู่ พวกเขาสร้างจุดเด่นที่ Google ไม่มี โดยการเสนอ search engine ที่รักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) 

Clone market คือการก็อปปี้โมเดลธุรกิจที่ใช้ในตลาดหนึ่งไปใช้กับอีกตลาดหนึ่ง อย่างเช่นการก็อปปี้โมเดลของ Uber ไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น

New market จะเรียกว่า Blue Ocean ก็ได้เช่นกัน คุณอาจจะมีทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหา คุณอาจจะไม่มีคู่แข่งในตลาดนี้ แต่ขณะเดียวกันคุณก็มีปัญหาในการหาลูกค้า (นักลงทุน) ที่จะจ่ายเงินให้คุณอยู่รอด

Cuofano เห็นว่า New market และ Clone market ไม่เหมาะกับ Bootstrapper เพราะใน New market ลูกค้าอาจจะยังไม่มากพอที่จะจ่ายเงินให้คุณ ส่วน Clone market คุณอาจจะเจอกฎระเบียบในอีกอุตสาหกรรมเป็นอุปสรรคทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมากในการแก้ปัญหา

เมื่อตัดสองตลาดนี้ไป โอกาสของ Bootstrapper จึงอยู่ใน Existing market และ Re-segmented market 

———-

-เรื่องราวการโตช้าๆของ JotForm-

สมมติว่าคุณจะเดินมาทางสาย Bootrapping สิ่งที่คุณต้องลืมไปเลยก็คือ “การโตอย่างรวดเร็ว” สตาร์ทอัพที่มี VC สนับสนุนสามารถที่จะพูดถึงการโตแบบ Hockey Stick Growth (คือการที่มีรายได้คงที่มาตลอดแล้วจู่ๆมันก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว)

แต่การโตของ Bootstrapper จะทำให้รู้สึกเหมือนเต่าคลาน

อย่างไรก็ตาม Aytekin Tank ผู้ก่อตั้ง JotForm บอกว่าตรงนี้แหละที่เป็นข้อดี 

JotForm เป็นสตาร์ทอัพสาย Bootstrapping ที่ให้บริการสร้างแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ มีเทมเพลตให้เลือกเป็นร้อยแบบและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา จุดเด่นที่ใครๆก็พูดถึงคือ ใช้งานง่ายสุดๆ

การบริการสร้างแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ไม่ใช่ธุรกิจที่ต้องใช้ทุนเยอะ คู่แข่งสามารถเข้ามาในตลาดนี้ได้ง่าย ยักษ์ใหญ่อย่าง Google เองก็อยู่ในตลาดนี้ อย่างไรก็ตาม JotForm ก็ยังเติบโตมาตลอด

Tank ใช้แนวทาง Bootstrapping ก่อตั้ง JotForm มาตั้งแต่ปี 2006 มีจำนวนผู้ใช้โตขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2018 มีผู้ใช้ถึง 4.2 ล้านคน มีพนักงานทั้งหมด 130 คน 

และเป็นสตาร์ทอัพที่มีกำไร 

นี่คือข้อดีข้อแรกของการโตแบบค่อยเป็นค่อยไป สตาร์ทอัพที่มี VC หนุนจะไม่สามารถวางแผนโตช้าได้ พวกเขาต้องลืมเรื่องการทำกำไรไปก่อนแล้วหันมาโฟกัสที่การขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ชาว Bootstrapper ยังใช้หลักการธรรมดาๆ คือ “ใช้จ่ายให้น้อยกว่าที่หาได้” ด้วยวิธีนี้สตาร์ทอัพจะสามารถโตไปตามความเร็วที่ต้องการและผู้ก่อตั้งรวมถึงทีมงานก็นอนหลับสบาย

ความรู้สึกว่ามีเงินเหลือในมือทำให้ Tank ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน แม้แต่เรื่องการจ้างคนเข้ามาทำงาน Tank บอกว่าเขาจะจ้างคนเพิ่มต่อเมื่อบริษัทมีเงินในธนาคารพอจ่ายเป็นเงินเดือนทั้งปีให้กับพนักงานใหม่ การได้เงินจาก VC แล้วเร่งขยายทีมมีโอกาสที่จะเลือกคนผิดเข้ามาทำงานจนสุดท้ายต้องไล่ออกไป วงการสตาร์ทอัพถึงมีคำกล่าวที่ว่า “จ้างเร็ว ไล่ออกเร็วกว่า” สิ่งที่เขาต้องการคือ Right team ไม่ใช่ Right now team เขาต้องแน่ใจว่าคนที่เลือกเข้ามาต้องมีใจบริการลูกค้าและเป็นคนเก่ง

การบริหารคนเป็นงานที่ยาก ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะค่อยๆขยายทีม Tank บอกว่าการโตแบบช้าๆจะทำให้คุณรู้จักพนักงานทุกคน คุณจะเรียนรู้การจัดการและการกระตุ้นคนไปพร้อมพวกเขา

และสิ่งที่ชาว Bootstrapper ต้องการที่จะโตช้าคือ มันทำให้ลูกค้ามีความสุข การมี VC เข้ามาทำให้สตาร์ทอัพมีความรู้เชิงลึกต่อตัวลูกค้า แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาอาจจะสับสนว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นความต้องการของลูกค้าหรือนักลงทุนกันแน่ แต่สำหรับ Bootstrapper แล้ว ลูกค้ากับนักลงทุนก็คือคนๆเดียวกัน การโฟกัสของพวกเขาจึงไม่เบี่ยงเบน

———-

ก่อนสร้างสตาร์ทอัพ Tank ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ 5 ปีในบริษัทสื่อแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก เขาได้เรียนรู้มากมายจากที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นการทำตามเป้า การทำงานร่วมกับผู้อื่น และยังเห็นปัญหาของการบริหารแบบจุกจิก (Micromanagement) เขานำประสบการณ์ทำงานทั้งหมดมาใช้ในการสร้าง JotForm

และนี่คือคำแนะนำของเขา

1) ทำงานประจำของคุณไปก่อน 

Tank บอกว่าอย่าประเมินประโยชน์ของการทำงานประจำต่ำไป คุณสามารถพัฒนาความสามารถและยังได้รับค่าตอบแทนจากงานนี้ มันจะสร้างประโยชน์ให้กับคุณเมื่อถึงเวลาที่คุณสร้างธุรกิจ Bootstrapper ส่วนมากก็ทดลองไอเดียของตัวเองระหว่างที่ทำงานประจำ พวกเขาจะออกจากงานเมื่อแน่ใจว่าไอเดียของพวกเขาใช้ได้ผลและไปได้ในระยะยาว

บิ๊กเนมอย่าง SpaceX, Apple, Product Hunt, Trello, WeWork, Craigslist และ Twitter ต่างก็ใช้แนวทางนี้เช่นกัน

2) เริ่มโปรเจ็คเล็กๆ 

Google มีนโยบายให้พนักงานใช้เวลาทำงาน 20% ไปกับการค้นหาและพัฒนาไอเดียใหม่ๆ นโยบายแบบนี้เราก็ควรเอามาปรับใช้เช่นกัน

Tank บอกว่าการทำโปรเจ็คเล็กๆสามารถช่วยเร่งจินตนาการของเรา เราจะไม่รู้สึกถึงแรงกดดันเพราะมันไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง เรามีอิสระเต็มที่ในการที่จะเล่น ค้นหา และเรียนรู้ สิ่งที่เราทำมันอาจจะดูบ้าๆ แต่บางครั้งความบ้าก็สามารถกลายเป็นธุรกิจได้

เราไม่ควรกลัวที่จะลงทุนเวลาและพลังงานกับสิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้น เดินตามความอยากรู้อยากเห็นไปเรื่อยๆ และดูว่ามันจะพาไปจุดไหน อย่าเพิ่งไปโฟกัสถึงผลลัพธ์หรือว่าเราจะได้อะไรจากการทำสิ่งนี้ 

แค่เริ่มทำก็พอ

3) แบ่งปันสิ่งที่คุณสร้างให้คนอื่นได้เห็น

แม้สิ่งนั้นยังไม่เสร็จหรือยังอีกนานกว่าจะพร้อมเปิดตัว คุณก็ยังจำเป็นต้องแชร์ไอเดียของคุณ ทำให้ผู้คนเห็นว่ามันทำงานยังไง พาพวกเขาให้เข้ามาเห็นการเบื้องหลังการทำงานของคุณ นี่เป็นกลยุทธ์ที่ Tank ใช้ในการหาลูกค้า 1,000 คนแรก

มีวิธีแบ่งปันไอเดียหลายแบบที่ไม่แพง ลองเลือกแพลตฟอร์มที่คุณชอบ มันอาจจะเป็น Youtube, Instragram, Podcast ส่วน Tank ใช้วิธีเขียนบล็อกใน Medium

การแบ่งปันจะช่วยให้คุณมี “ผู้ชม” มันเป็นวิธีที่ทำให้คนเดินเข้ามาหาคุณเอง นี่คือกลุ่มลูกค้าที่เปิดรับคุณอย่างเต็มที่ รวมทั้งเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพที่สุดของคุณด้วย การแบ่งปันยังช่วยให้คุณกลั่นกรองไอเดียของคุณ การอธิบายสิ่งที่ทำเป็นเหมือนการทบทวนไปในตัว มันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอุดช่องว่างความรู้ของคุณ และการแบ่งปันยังทำให้เกิดความเชื่อใจ เมื่อคุณพาผู้คนไปเห็นสิ่งที่คุณทำ พวกเขาจะรู้จักคุณ พวกเขาจะรู้สึกว่าได้ลงทุนลงแรงไปกับคุณ พวกเขาจะเห็นประโยชน์ที่คุณสร้างและติดตามคุณไปเรื่อยๆ

4) โฟกัสที่ปัญหา ไม่ใช่ Passion 

Tank เห็นตรงข้ามกับคำพูดส่วนใหญ่ที่ว่า Passion สำคัญที่สุด เขาเห็นว่าสิ่งที่ผลักดันสตาร์ทอัพคือ การแก้ปัญหาต่างหาก

Paul Graham กล่าวว่า ไอเดียธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดมี 3 องค์ประกอบคือ “มันเป็นสิ่งที่ผู้ก่อตั้งต้องการสร้าง” “มันเป็นสิ่งที่ผู้ก่อตั้งสามารถสร้างได้” และ “มีคนไม่กี่คนที่เห็นว่ามันมีค่าที่จะทำ”

Tank สร้าง JotForm เพื่อกำจัดปัญหาจุกจิกในช่วงที่ทำงานในบริษัทสื่อ ย้อนกลับไปช่วงปลายปี 90 การสร้างฟอร์มบนเว็บไซต์เป็นเรื่องน่ารำคาญและใช้เวลานาน ดังนั้นเขาเลยนึกเครื่องมือที่สามารถ “ลากแล้ววาง” ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ เขารู้ว่าผู้คนต้องการสิ่งๆนั้น เพราะมันแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ทุกวันได้

5) ดูแลผลิตภัณฑ์อย่างใกล้ชิด 

การใช้สิ่งที่คุณสร้างสามารถที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมการแข่งขัน เมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการถูกส่งออกไป มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่แค่ให้ลูกค้าใช้เท่านั้น คุณเองก็ต้องใช้มัน บริโภคมัน สั่งมัน และขุดลงไปให้ลึกถึงรายละเอียด

เมื่อคุณใช้ของที่คุณสร้าง คุณก็จะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกับที่ลูกค้าได้รับ มีปัญหาไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ได้รับการแก้ปัญหาครั้งเดียวแล้วหายเป็นปลิดทิ้ง สตาร์ทอัพจึงไม่สามารถอยู่เฉยๆ ได้ พวกเขาต้องพัฒนาตัวเองไปตามความต้องการ วัฒนธรรม และตลาด

การที่คุณลงลึกถึงปัญหาตลอดเวลาจะทำให้ธุรกิจของคุณดูสดใหม่และมีชีวิตชีวาเสมอ

———-

แม้เรื่องราวของ JotForm จะทำให้รู้สึกว่าสตาร์ทอัพสายนี้ไม่จำเป็นต้องรับเงินทุนจาก VC แต่ใช่ว่า Bootstrapper จะไม่รับเงินจาก VC เด็ดขาด

ข้อจำกัดของ Bootstrapper คือไม่สามารถโตแบบก้าวกระโดด (Scale) แต่เงินและเครือข่ายของ VC สามารถทำได้ 

และจุดที่เหมาะที่สุดที่จะร่วมมือกับ VC ก็คือตอนที่ต้องการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี่แหละ 

แน่นอนว่าการรับเงินทุนจาก VC ต้องยอมเสียอำนาจบริหารไปบางส่วน แต่การที่คุณใช้แนวทาง Bootstrapping มาถึงจุดที่เรียกว่ามีสินค้าตอบโจทย์และมีตลาดรองรับ (Product/Market Fit) ก็ถือว่าผ่านบททดสอบที่ยากที่สุดในฐานะผู้ประกอบการมาแล้ว ดังนั้นคุณจึงมีโอกาสที่จะได้รับข้อเสนอที่ดี่ที่สุดที่สามารถรักษาทุนและอำนาจบริหารในแบบที่คุณต้องการได้

มันขึ้นอยูกับการประเมินสถานการณ์ของคุณว่าคุณมองตลาดแบบไหน ถ้าการแข่งขันยังเป็นแบบเดิม คุณก็ยังใช้แนวทาง Bootstrapping ต่อไปได้

แต่ถ้าตลาดเปลี่ยนไป มันก็อาจจะถึงเวลาที่จะต้องร่วมมือกับ VC เพื่อรักษาตำแหน่งและฉีกหนีคู่แข่ง

หรือ

คุณก็ยังไม่สนใจ VC เหมือนเดิมแล้วมองหาตลาดใหม่ที่มีความเฉพาะทางที่ยังไม่มีใครสนใจต่อไป

———-

ข้อมูลอ้างอิง

https://fourweekmba.com/bootstrapping-business/

https://www.jotform.com/bootstrapping/

Table of Contents

[Update] เพราะใฝ่ฝันหรือจำเป็น? เยาวชนไทยกับการเป็นผู้ประกอบการ | นัก ธุรกิจ ที่ ประสบ ความ สํา เร็ จ ใน ไทย – NATAVIGUIDES

สันติธาร เสถียรไทย เรื่อง

ภาพิมล หล่อตระกูล ภาพประกอบ

 

“น่าอิจฉาที่คนไทยมีจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการสูงมาก”

นี่คือสิ่งที่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในวงการนโยบายของสิงคโปร์บอกผมในงานเลี้ยงเล็กๆ ที่รวบรวมคนรุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชนของสิงคโปร์

หนึ่งในประเด็นที่ถกกันวันนั้นก็คือการที่รัฐบาลสิงคโปร์ อยากสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นอยากจะเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) มากขึ้น แทนที่จะใฝ่ฝันอยากจะเป็นข้าราชการและพนักงานบริษัทข้ามชาติอย่างที่เป็นกันอยู่

ผมฟังแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าจุดนี้ช่างแตกต่างจากเยาวชนไทยที่ผมเคยสัมผัส ที่คุยกับใครก็มักจะได้ว่าเขาอยากทำธุรกิจส่วนตัว แม้คนที่ทำงานบริษัทใหญ่ก็มองว่าเป็นสะพานเพื่อวันนึ่งจะออกมาทำของตนเอง

ไม่นานมานี้ในการสำรวจเยาวชนอายุต่ำกว่า 36 ปีในอาเซียน 40,000 กว่าคน ผ่านทางแพลตฟอร์มการีนา (Garena) และ ช็อปปี้ (Shopee) โดยมีคนไทยถึง 10,000 คน ทีมเราพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนคนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ประกอบการสูงที่สุดในภูมิภาค อยู่ที่ร้อยละ 36 เทียบกับร้อยละ 25 ในอาเซียน

แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าอิจฉาจริงหรือไม่ มันเป็นจุดแข็งหรือความเสี่ยงของประเทศเรากันแน่? ก่อนอื่นเราคงต้องพยายามดูกันว่า ทำไมเยาวชนของเราถึงใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ประกอบการมากกว่าประเทศอื่น

จากการศึกษาและพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ เหตุผลน่าจะแบ่งได้เป็นสามกลุ่มหลักคือ ความจำเป็น ความเชื่อ และความเป็นอิสระ

 

ความจำเป็น

 

ในการสำรวจของเราพบว่า เหตุผลหนึ่งที่สัดส่วนคนไทยที่อยากเป็นผู้ประกอบการสูงมาก มาจากกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี โดยร้อยละ 42 ของกลุ่มนี้ ใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจตนเอง ทิ้งห่างอาชีพอื่นๆ อย่างชัดเจน ในขณะที่ในกลุ่มพวกที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีความต้องการที่ค่อนข้างหลากหลาย มีทั้งอยากเป็นผู้ประกอบการ พนักงานบริษัทต่างประเทศ ภาครัฐ ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

จึงเกิดคำถามขึ้นว่า การที่คนเลือกจะเป็นผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งมาจากความจำเป็นเพราะตัวเลือกมีจำกัด มากกว่าความต้องการที่แท้จริงหรือไม่? อาจเป็นไปได้ว่า เขาคิดว่าอาจหางานดีเงินเดือนสูงยากหากไม่ได้จบปริญญาตรี จึงเลือกที่จะไปทำธุรกิจของตนเอง

คำพังเพยที่ว่า ความจำเป็นคือจุดกำเนิดของการประดิษฐ์สิ่งใหม่ (Necessity is the mother of invention) อาจต้องนำมาใช้กับการเป็นผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน

 

ความเชื่อ (ที่อาจจะผิด?)

 

อีกความเป็นไปได้ คือคนรุ่นใหม่ของไทยมีภาพของการเป็นผู้ประกอบการที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น อาจประเมินความเสี่ยงของการทำธุรกิจต่ำไป

จากบทสำรวจเยาวชนไทย ส่วนใหญ่ตอบว่าปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกอาชีพคือความมั่นคงทางรายได้ (42%) ตามมาด้วย work-life balance (30%)

โดยมีส่วนน้อย (17%) ที่ตอบว่าการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ และเพียง 2% ตอบว่าการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม ซึ่งต่ำที่สุดในอาเซียน

ผลการสำรวจส่วนนี้เปิดประเด็นน่าคิดหลายข้อ ประการแรกคือน้อยคนมากที่ตอบว่าอยากทำงานเพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้งๆ ที่หากไปสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลายคน มักจะตอบว่าความฝันที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกทำธุรกิจของตนเอง

นอกจากนี้ผลที่ว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางรายได้มากที่สุด ดูจะย้อนแย้งกันกับการที่คนส่วนใหญ่เลือกอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจตนเองที่มีความเสี่ยงทางรายได้สูง

จริงอยู่ว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ สามารถนำรายได้มาให้เจ้าของมากมายมหาศาลพร้อมกับชื่อเสียงและการยอมรับจากสังคม เช่นที่เราเห็นในโลกของสตาร์ทอัพที่สร้างบริษัทยูนิคอร์น (บริษัทมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ขึ้นมาได้ แต่ในความเป็นจริงนั้น อย่าว่าแต่เป็นยูนิคอร์นเลย การศึกษาใน Harvard Business Review (HBR) พบว่า 3 ใน 4 ของสตาร์ทอัพในอเมริกา ที่แม้จะได้รับเงินจากกองทุน venture capital แล้ว ก็มักไม่ประสบความสำเร็จ

จึงอาจต้องถามต่อว่า คนรุ่นใหม่ที่อยากจะเป็นผู้ประกอบการนั้นเข้าใจถึงความเสี่ยงเหล่านี้ดีพอหรือยัง และพร้อมหรือไม่กับการที่จะเผชิญต่อความล้มเหลวทางธุรกิจที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้

หรืออันที่จริงพวกเขาเข้าใจทุกอย่างแล้ว เพียงแต่มีทางเลือกที่จำกัด?

 

ความเป็นอิสระ

 

ข้อสุดท้ายอาจเป็นประเด็นสำคัญที่สุด เยาวชนอาจอยากทำธุรกิจของตนเอง เพราะความเป็นอิสระที่มีหลายมิติ

ความอิสระในมุมที่ทำให้รู้สึกว่า ‘ไม่มีเจ้านาย’ ที่อาจสะท้อนวัฒนธรรมไทยที่อยากเป็น ‘เจ้าคนนายคน’ มากกว่าเป็นลูกน้องใคร

ความอิสระในมิติที่สามารถทดลองไอเดียและแนวทางธุรกิจอย่างที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องติดกรอบหรือให้ผู้ใหญ่ตัดสินใจให้

ความเป็นอิสระในแง่ความยืดหยุ่นด้านเวลาการทำงาน โดยบางคนที่ตอบว่า work-life balance เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกงาน อาจหมายถึงอยากทำงานที่ตัวเองสามารถบริหารเวลาตนเองได้

นอกจากเหตุผลเหล่านี้แล้ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอาจมีผลส่งเสริมให้การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ของตนเองนั้นเป็นเรื่องง่ายขึ้น และต้นทุนต่ำลง

จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการที่ขายของบนแพลตฟอร์มอย่างช้อปปี้ (Shopee) พบว่ามีไม่น้อยที่เป็นแม่บ้าน ที่เดิมต้องออกจากตลาดแรงงานไปเลี้ยงดูลูก หรือคนที่ไม่สามารถทำงานประจำได้เพราะต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ยกตัวอย่างผู้ประกอบการคนหนึ่งที่เราได้คุยด้วย เล่าให้ฟังว่า เริ่มธุรกิจจากสมัยยังเป็นแม่บ้าน ลองทำสบู่สำหรับคนผิวแพ้ง่ายเหมือนตนเอง โดยใช้สูตรธรรมชาติ ช่วงแรกก็ขายให้ญาติๆ เพื่อนๆ ที่รู้จักกันเอง ต่อมาลองขายในอีคอมเมิร์ซ และพบว่ามีตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์แบบนี้มากกว่าที่ตัวเองเคยคิดไว้ จึงกลายมาเป็นธุรกิจสำคัญของที่บ้านที่แม้แต่สามีก็มาช่วยด้วย

 

เหตุผลของการเป็น ‘ผู้ประกอบการ’ สำคัญไฉน

 

ในความเป็นจริง ปัจจัยทั้งสามกลุ่มคงมีบทบาทในการผลักดันให้คนรุ่นใหม่ของไทยใฝ่ฝันจะเป็นผู้ประกอบการ แต่การแยกแยะระหว่างแต่ละสาเหตุก็มีความสำคัญ เพราะมันบ่งชี้ถึงโจทย์ที่ไม่เหมือนกันสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน

หากเยาวชนต้องมาเปิดธุรกิจเองด้วยความจำเป็น เพราะไม่สามารถหางานบริษัทหรือในระบบราชการได้ เราคงต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างโอกาสหางานให้ผู้ที่เรียนไม่ถึงปริญญาตรี

หากเหตุผลคือความเชื่อที่ผิด การส่งเสริมให้คนทำสตาร์ทอัพมากขึ้นอาจไม่ใช่ทางที่ถูก แต่ควรเน้นที่คุณภาพ คือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสของการทำสตาร์ทอัพ พร้อมกับการเน้นสร้างระบบช่วย ‘ซ่อมและฟื้นฟู’ เพื่อช่วยเจ้าของสตาร์ทอัพที่มีปัญหาหรือล้มเหลวให้สามารถลุกขึ้นใหม่ได้

ตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะการสร้างเจ้าของธุรกิจที่มีประสบการณ์ แม้จะเริ่มจากความล้มเหลวนั้น มีส่วนสำคัญในการสร้างธุรกิจที่สำเร็จในอนาคต การศึกษาชิ้นหนึ่งจาก HBR พบว่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ (ในแง่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก) มักจะมีเจ้าของที่อายุเฉลี่ย 45 ปี ไม่ได้เด็กอย่างที่หลายคนคิด

สุดท้ายหากเยาวชนไทยเลือกเป็นผู้ประกอบการ เพราะต้องการอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงาน นายจ้างทั้งหลายที่อยากดึงดูดคนรุ่นใหม่เก่งๆ มาทำงานในองค์กร อาจต้องถามตัวเองว่าเราจะปรับวัฒนธรรมการทำงานอย่างไร ที่จะให้อิสระทางความคิด ไม่ใช่ต้องพยักหน้าตามนายทุกอย่าง รวมถึงมีความยืดหยุ่นสำหรับพนักงานที่ไม่อยากทำงาน 9 โมงถึง 5 โมงในออฟฟิศ

สรุปว่าประเทศไทยน่าอิจฉาจริงไหมที่มีคนอยากเป็นเจ้าของกิจการมากกว่าที่อื่น?

วันนั้นผมตอบผู้ใหญ่ท่านนั้นด้วยรอยยิ้ม

“จริงครับ คนไทยมีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการสูงจริงๆ”

แต่ในใจก็พลางคิดว่า เรื่องนี้อาจเป็นคำบอกใบ้สำคัญที่ชี้ทั้งโอกาสและปัญหา ซึ่งเราไม่ควรประมาทและรีบแก้ไข


Group Chief Economist ของ Sea Limited ซึ่งมีกิจการในเครืออย่าง AirPay, Shopee และ Garena | อดีต Head of Emerging Asia Economics Research ของ Credit Suisse


เด็กสาววัย 22 ปี ต่อสู้ล้างหนี้เพื่อครอบครัว พลิกผันสู่เจ้าของ ROSEGOLD


“ เงินคือสิ่งสำคัญ !!! ” กลายเป็นพลังในการขับเคลื่อนปากท้อง
พบแรงบันดาลใจดีๆ จากน้องวาวน้ำ CEO โรสโกลด์ ที่อายุน้อยที่สุดในวงการความงามและอาหารเสริม ฝ่าฟันทุกวิกฤติที่ถาโถม พลิกให้กลายเป็นโอกาสจนเติบโตในช่วงยุคมืดตลาดครีมอาหารเสริมออนไลน์ เปลี่ยนความชอบเป็นธุรกิจ ทุ่มทุกแรงกายแรงใจดันโรสโกลด์จนติดตลาด เธอเชื่อว่า … แรงกดดัน คือ แรงผลักดันที่ดีที่สุด … เพราะหนี้กว่า 50 ล้านที่ทางบ้านประสบอยู่ ทำให้สาวน้อยคนนี้ถีบตัวเองสู้ทุกวิถีทาง ทำมาหมดทุกอย่างตั้งแต่วัย 14 ปี เรียนไม่จบ พัวพันธุรกิจเครือข่าย ล้มมานับไม่ถ้วน
สาวน้อยวัย 21 ปี ผ่านน้ำร้อนจัด เย็นจัดมานักต่อนัก เธอก็ยังสู้ต่อไปและไม่หยุดพัฒนา กระจายอาชีพให้ผู้คน ออกตามหาวัตถุดิบที่ดีที่สุด มาทำสินค้าที่จับต้องได้
​… 21 ปีที่ผ่านมา อุปสรรค ปัญหา ประดังประเดเข้ามาแทบล้มทั้งยืน เธอคนนี้ผ่านมาได้อย่างไร ต้องห้ามพลาด !!! …

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่
Website : ryounoi100lan.com
Facbook : อายุน้อยร้อยล้าน http://bit.ly/2zvF8c1
Youtube : อายุน้อยร้อยล้าน http://bit.ly/2YnwtmG
IG IGTV : ryounoi100lan http://bit.ly/2UFdwKK
Line : @ryounoi100lan http://bit.ly/2Tq0oMH
Soundcloud : http://bit.ly/2zrtuyP

สนใจติดต่อโฆษณา
คุณรัตน์ : 0840777008
Email : [email protected]
อายุน้อยร้อยล้าน แรงบันดาลใจ rosegold sakanax10
Copyright© MUSHROOM GROUP CO.,LTD

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เด็กสาววัย 22 ปี ต่อสู้ล้างหนี้เพื่อครอบครัว พลิกผันสู่เจ้าของ ROSEGOLD

10 อันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทย ปี 2020


10 อันดับเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทย ปี 2020
Top 10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทย
ความร่ำรวยคือยอดปรารถนาของใครหลายคน เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่ใครหลาย ๆ คนต้องการ ยิ่งร่ำรวยจนมีทรัพย์สินมากติอันดับประเทศยิ่งดูเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดได้จริง วันนี้เลยอยากจะขอนำเสนอเศรษฐีที่ร่ำรวยจนติดอันดับของประเทศไทย พวกเขาประกอบธุรกิจ หรือมีทรัพย์สินใดบ้างที่ทำให้ความร่ำรวยของพวกเขาเป็นที่สุดในประเทศไทย มาเริ่มกันเลยดีกว่า
อันดับ 1. พี่น้องเจียรวนนท์ คงปฏิเสธถึงความยิ่งใหญ่ของอณาจักรซีพีหรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มีต่อประเทศไทยไปไม่ได้ ธุรกิจในเครือนี้มีหลากหลายทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ไปจนถึงห้างสรรพสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าประเภทต่าง ๆ และด้วยการบริหารในระบบเครือญาติทำให้ทรัพย์สินค้าของเศรษฐีอันดับหนึ่งของไทยนั้นแตะสูงถึง 8.92 แสนล้านบาท
อันดับ 2. นายเฉลิม อยู่วิทยา เมื่อเอ่ยชื่อถึงตระกูลอยู่วิทยา หลายคนคงนึกถึงเครื่องดื่มชูกำลังนี่ห้อกระทิงแดง แต่นอกจากเครื่องดื่มชูกำลังแล้วตระกูลนี่ยังมีกิจการให้ดูแลอีกหลายอย่างทั้งเครื่องดื่มประเภทชา เครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ และขนมขบเคี้ยวอีกด้วยจนมีทรัพย์สินที่ 6.6 แสนล้านบาทและได้รับตำแหน่งเศรษฐีลำดับที่ 2 ไปครอง
อันดับ 3. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เศรษฐีในลำดับที่ 3 ผู้นี้คือผู้ที่กุมอณาจักรเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่อย่างบริษัท ไทย เบฟ ซึ่งสินค้าหลักจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ช้าง และเหล้าแสงโสม ซึ่งนอกจากไทยเบฟแล้ว นายเจริญยังมีธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และห้างค้าปลีกอีกด้วย จึงไม่แปลกใจที่เขาจะมีทรัพย์สินรวมมากถึง 3.43 แสนล้านบาท
อันดับ 4. ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลที่กุมบังเหียนธุรกิจในเครือเซ็นทรัลทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำในประเทศไทยแล้ว ยังมีเครือโรงแรมในสังกัดอีกมากมายทั้งภายในและภายนอกประเทศ แต่ก็ยังมีการขยายกิจการด้านเสื้อผ้า รวมถึงเข้าร่วมประมูลแข่งขันในอณาจักร Duty Free มีทรัพย์สินรวมที่ 3.1 แสนล้านบาท
อันดับ 5. นายสารัชถ์ รัตนาวะดี นับเป็นเศรษฐีที่น่าจับตามองมากของประเทศไทย ยิ่งตั้งแต่ที่เข้าบริหารและนำบริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2560 ก็สามารถนำบริษัทให้มีมูลค้าหุ้นไอพีโอสูงกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีบริษัทในเครือข่ายอีกหลายบริษัท ซึ่งล้วนเน้นการนำพลังงานสะอาดมาใช้งานอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ และก๊าซธรรมชาติอีกด้วย โดยเขามีทรัพย์สินรวมถึง 2.22 แสนล้านบาท
อันดับ 6. นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ผู้รับบังเหียนบริการธุรกิจภายใต้แบรนด์ King power ต่อจากนายวิชัย ผู้เป็นพ่อที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ซึ่งธุรกิจในเครือข่าย King power นั้นคือธุรกิจปลอดภาษีที่ปัจจุบันอยู่ที่อันดับที่ 7 ของโลก ทำให้เขามีมูลค่าทรัพย์สินรวมอยู่ที่ 1.24 แสนล้านบาท
อันดับ 7. นายประจักษ์ ตั้งคารวคุณ หนึ่งในสามพี่น้องที่รวมกันสร้างอาณาจักรสีที่ TOA ให้ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักของคนไทย ซึ่งนอกจากธุรกิจสีของครอบครัวจะขยายออกไปยังต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว นายประจักษ์ยังมีธุรกิจของตัวเองที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างสายไฟอละสายเคเบิล จนเขามีทรัพย์สินรวมอยู่ที่ 1.01 แสนล้านบาท
อันดับ 8. ตระกูลโอสถานุเคราะห์ นับเป็นตระกูลที่มีประวัติการทำธุรกิจมาอย่างยางนานกว่า 100 ปีในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันคือธุรกิจในกลุ่มโอสถสภามีธุรกิจประเภทอุปโภคและบริโภคที่หลากหลายที่คนไทยสามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ทำให้ตระกูลนี้ถูกจัดอันดับให้ติด Top ten ของประเทศไทยโดยมีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 9.8 หมื่นล้านบาท
อันดับ 9. นายวานิช ไชยวรรณ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจประกันภัยอย่างไทยประกันชีวิตเป็นอย่างสูง ซึ่งในปัจจุบันบริษัทสามารถให้การประกันภัยที่หลากหลายทั้งประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ จนนายวานิชมีทรัย์สินรวมอยู่ที่ 9.15 หมื่นล้านบาท
อันดับ 10. นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ และนางดาวนภา เพชรอำไพ คู่สามีภรรยาที่ร่วมกันประกอบธุรกิจจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยทั้งคู่คือผู้กุมบังเหียนในธุรกิจเมืองไทย ลิซซิ่ง ซึ่งให้บริการด้านสินเชื่อที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีสาขามากกว่า 3,000 สาขาในทั่วประเทศไทย โดยทั้งคู่มีทรัพย์สินมากถึง 8.66 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว
อาจกล่าวได้ว่าโอกาสแห่งความสำเร็จของเศรษฐีแต่ละคนล้วนต้องอาศัยความมุ่งมั่น บางธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาหลายปีกว่าที่จะเข้ามาติดอันดับ Top ten ของประเทศไทยได้สำเร็จ ก็หวังว่าเรื่องราวความสำเร็จเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มีเป้าหมายของชีวิตที่ชัดเจน แล้วโอกาสแห่งความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นได้จริง
ที่มาของข้อมูล www.forbesthailand.com/forbeslists/thailandrichest
เศรษฐี มหาเศรษฐี มหาเศรษฐีไทย รวยที่สุด 10อันดับ 2020

เนื้อหาในคลิปจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางช่องต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ทีแลม โซเซียลคอลเลจ
TRAM Social College

10 อันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทย ปี 2020

Overview-ทหารคุมพม่าไม่ได้ โดนถล่มทุกพื้นที่ กะเหรี่ยง-คะฉินตีหลายฐานทัพแตก สื่อพม่าแฉไทยดอดพบอองลาย


สมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษ (Membership)
https://www.youtube.com/channel/UCpHTAE2EOwWkWGnW2HY8gRw/join
ติดตาม VoiceTV
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpHTAE2EOwWkWGnW2HY8gRw
Facebook : https://www.facebook.com/VoiceOnlineTH/
Instagram : https://www.instagram.com/voicetv/
Twitter : https://twitter.com/VoiceTVOfficial
Website : https://www.voicetv.co.th/
VoiceTV

Overview-ทหารคุมพม่าไม่ได้ โดนถล่มทุกพื้นที่ กะเหรี่ยง-คะฉินตีหลายฐานทัพแตก สื่อพม่าแฉไทยดอดพบอองลาย

Ep.20 |พระพุทธเจ้าแนะนำสิ่งนี้ | ถ้าเป็นนักธุรกิจที่อยากประสบความสำเร็จ | Capt.Benz-ผู้กองเบนซ์


Ep.20 พระพุทธเจ้าทรงแนะนำนักธุรกิจที่อยากประสบความสำเร็จ ให้ตั้งใจทำ 3 สิ่งนี้
.
จกฺขุมา ตาดี
วิธูโร งานดี
นิสฺสยสมฺปณฺโณ connection ดี
.
ผู้กองเบนซ์
ปล. คำแปลอยู่ในคลิป
ปล.2 มันจะแรพๆ นิดนึง
คนที่มา consult ผมวันนั้น เค้าพูดเร็วครับ
ปล.3 ใครอยากเข้าร่วม BNI กลุ่ม Everest ติดต่อคุณป๊อป https://www.facebook.com/popzeeDD.SU

ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 0944499464 (คุณจี้)
IG : capt.benz
FB : http://www.facebook.com/polcaptbenz
Line@ : captbenz
อ่านบทความ : https://www.blockdit.com/captbenz

Ep.20 |พระพุทธเจ้าแนะนำสิ่งนี้ | ถ้าเป็นนักธุรกิจที่อยากประสบความสำเร็จ | Capt.Benz-ผู้กองเบนซ์

ทักษะที่คนประสบความสำเร็จ ต้องฝึกทุกวัน | ข้อคิดจาก CEO Starbucks ญี่ปุ่น | EP.96


ทักษะที่คนประสบความสำเร็จ ต้องฝึกทุกวัน | ข้อคิดจาก CEO Starbucks ญี่ปุ่น
Starbucks (สตาร์บัค) ถือเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เวลาเราอยากเริ่มทำธุรกิจต่างคนก็อยากจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ วันนี้เราเลยจะมาถอดบทเรียนธุรกิจจากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จว่าในโรงเรียนสอนธุรกิจนั้นมีประวัติธุรกิจให้เรียนมากมายซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เรา ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจหรือทำการตลาด ให้ประสบความสำเร็จเหมือน Starbucks (สตาร์บัค)
เพราะหลายคนคิดว่า Starbucks (สตาร์บัค) ทำธุรกิจได้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่เรื่องกาแฟ แต่เป็นเรื่องการบริหารด้วย ทำธุรกิจอะไรดี หรือทำธุรกิจอย่างไรให้รวย และแน่นอนว่าคนที่ต้องการจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จหรือทำธุรกิจอะไรได้เงินดีต่างก็อยากจะทำธุรกิจ โดยเริ่มต้นจากการทำธุรกิจที่เป็นไอเดียธุรกิจของตัวเองจนสามารถสร้างธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ เพราะปัจจุบันนี้ทุกคนสามารถหารายได้เสริมได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ไม่ว่าจะเป็นการหารายได้เสริมออนไลน์ หรือหาเงินออนไลน์ซึ่งทุกวันนี้ก็มีเครื่องมือทางการตลาดให้เลือกอยู่หลากหลาย
แต่สิ่งที่เราจะมาศึกษาวันนี้ไม่ใช่ เครื่องมือทางการตลาดที่เป็นแคมเปญทางการตลาด สร้างความฮือฮาให้กับคนทั่วโลกได้จำนวนมาก หรือเป็นการใช้เทคนิคทางการตลาดที่แบรนด์ระดับโลกใช้กัน แต่เป็นแนวคิดการพัฒนาตัวเองของ Starbucks (สตาร์บัค) ญี่ปุ่น
Starbucks
พัฒนาตัวเอง
ข้อคิด
reference:
https://th.wikipedia.org/wiki/สตาร์บัคส์
https://www.blueoclock.com/howardschultzstarbucks/
http://www.cookiecoffee.com/mobile/68656/starbucksginzafisrtstorebranchjapanreviewmap
https://www.ceochannels.com/ceoprofilehowardschultz/
https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/starbuckcoffee/prawatiswn/khwampenmakhxngstarbuck
===============
อย่าลืมกด Subscribe จะได้ไม่พลาด ความรู้เรื่องธุรกิจ นอกห้องเรียน ได้ที่ http://bit.ly/youtubenop
วิดีโอแนะนำ
ปี 2020 ธุรกิจอะไรมาแรง + คนไทย กำลังอยากซื้ออะไร ?
https://youtu.be/rxx2_QomZ3A
เคสการตลาดที่สนุกที่สุดในโลก McDonald’s vs BurgerKing
https://youtu.be/bgi1vPlOk4o
Starbucks มีกลยุทธ์อะไรเปลี่ยนคุณ เป็นลูกค้าประจำ
https://youtu.be/K1Ay8Ccoy8k
ร้านอาหาร กำไร 5,000 บาท แต่คนมาขอซื้อกิจการ 10 ล้านบาท เค้าทำได้ยังไง ?
https://youtu.be/s3mVuXHyXps
ขายของออนไลน์ รับเงินเข้าบัญชีส่วนตัว จะโดนปรับไหม ผิดกฎหมายหรือเปล่า ?
https://youtu.be/zDSetS9P3fc

ทักษะที่คนประสบความสำเร็จ ต้องฝึกทุกวัน | ข้อคิดจาก CEO Starbucks ญี่ปุ่น | EP.96

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ นัก ธุรกิจ ที่ ประสบ ความ สํา เร็ จ ใน ไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *