Skip to content
Home » [NEW] 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งร้องว้าว | ตรงประเด็น ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[NEW] 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งร้องว้าว | ตรงประเด็น ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

ตรงประเด็น ภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

วิธีเขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจแบบมืออาชีพ

          การติดต่อประสานงาน และการเจรจาทางธุรกิจในปัจจุบันแทบจะหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้เลย โดยเฉพาะทักษะการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจ อันกล่าวกันว่าเป็นหนึ่งใน Skill ปราบเซียนที่อาจทำให้กำแพงภาษาเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ แต่ท่านไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะบทความนี้มีตัวช่วย

          การเขียนอีเมล์ (email) ไม่ว่า Gmail หรือ Hotmail ในภาษาไทยเพียงลำพังก็ยากอยู่แล้วที่จะเรียบเรียงถ้อยคำให้กระชับ สวยงาม และเป็นทางการ ยิ่งต้อง เขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ แล้วเป็น ภาษาอังกฤษธุรกิจ ด้วย อาจทำให้หลายคนอกสั่นขวัญผวากันไปตาม ๆ กัน กระนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบ (pattern) ที่หากเราเข้าใจเทคนิคหรือเคล็ดลับแล้ว ก็จะสามารถช่วยเพิ่มพูนความมั่นใจใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มากขึ้นเป็นทบทวี หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น กลเม็ดมัดใจ (wow factor) ในการเขียน อีเมล์ ของเรา

          วันนี้ เราจึงขอเสนอ 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ (Email) ภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นเซียน ที่ทำให้ฝรั่งผู้รับอีเมล์ของเราต้องร้องว้าวด้วยความชื่นชม แล้วเข้าใจผิดนึกว่าฝรั่งเป็นคนเขียนเลยทีเดียว พร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย

 

Table of Contents

สารบัญ 

  1. เขียนอีเมล์ให้สั้นกระชับ (Always be brief)
  2. ใส่ข้อมูลติดต่อในอีเมล์ Signature ให้ครบถ้วน
  3. ตั้งหัวข้ออีเมล์อย่างเป็นมืออาชีพ
  4. ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวใจผู้รับอีเมล์
  5. ใช้ชั้นเชิงของภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเขียนอีเมล์
  6. ใช้ภาษาเป็นทางการเท่าที่จำเป็นในอีเมล์
  7. ก่อนส่งอีเมล์ ให้ตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำเสมอ
  8. สรุป

 

1.เขียนอีเมล์ ให้สั้นกระชับ (Always Be Brief)

          ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเขียนอีเมล์ ไม่ใช่เรียงความหรือบทความที่เราจะต้องใส่เนื้อหาทั้งหมดลงไป เนื่องจากความสนใจและเวลาของผู้อ่านอีเมล์ของเรามีข้อจำกัด ฉะนั้น เราจึงต้องวางแผนให้ดีว่าต้องการให้คนที่อยู่ปลายทางรับรู้ เข้าใจ หรือทำอะไร ด้วยข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ก่อนอื่นให้เราถามตนเองก่อนว่าเราเขียนอีเมล์นี้ขึ้นมาเพื่ออะไร โดยอาจทำ Bullet point ง่าย ๆ ขึ้นมาบนกระดาษ เช่น

  • เราต้องการให้เขาทำอะไร
  • เราต้องการให้เขารับรู้หรือเข้าใจอะไร
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราต้องการอะไรจากอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการอ่านอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน ทำไมเราต้องหยุดอ่านอีเมล์ฉบับนี้ทันที

 

           พอเราทำ Bullet Point เสร็จแล้ว ก็ให้เราเขียนคำตอบสั้น ๆ กำกับลงไป เช่น เราต้องการให้เขาทำอะไร ถ้าเป็นจดหมายสมัครงาน ก็ต้องการให้ผู้อ่านพิจารณารับเราเข้าทำงาน หรือหากเป็นอีเมล์เสนอสินค้า เราก็ต้องการให้เขาเกิดความสนใจในสินค้าของเรา หรือ ถ้าเราเป็นคนอ่าน ทำไมเราต้องการอะไรจากอีเมล์ฉบับนี้ ในกรณีที่มีคนอีเมล์มาเสนอสินค้า เราก็ต้องการสรรพคุณ ข้อมูลโดยสังเขป และลิงก์ที่สามารถนำเราไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า รีวิว และรายละเอียดอื่น ๆ ได้ เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นลงมือเขียน

          หลักง่าย ๆ ของ การเขียนอีเมล์ ให้กระชับ คือ การจัดวางย่อหน้าให้มีความสำคัญลดหลั่นกันลงไป ย่อหน้าแรก ในกรณีที่เราไม่รู้จักผู้รับอีเมล์ ควรเป็นการแนะนำตัว ตำแหน่ง และจุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์ดังกล่าว ย่อหน้าต่อมา ควรเป็นเนื้อหาหรือสารที่เราต้องการนำเสนอให้กับผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้า/บริการ สิ่งที่เราต้องการให้ผู้รับอีเมล์กระทำหรือช่วยเหลือ และจบย่อหน้าสุดท้ายด้วยข้อความแสดงความขอบคุณ ช่องทางในการติดต่อ และลิงก์หรือช่องทางในการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพียงแค่ 3 ย่อหน้า ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ก็จะทำให้เราเขียนอีเมล์คุณภาพขึ้นมาได้โดยใช้เวลาไม่นาน แถมยังสั้น กระชับ และตรงประเด็นอีกด้วย

 

เทคนิคการเขียนอีเมล์ สั้นกระชับ ตรงประเด็น ด้วย 3 ย่อหน้า

  • ย่อหน้าที่ 1 : แนะนำตัว จุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์
  • ย่อหน้าที่ 2 : เนื้อหาสาระที่เราต้องการให้ผู้รับอีเมล์รับทราบ กระทำ หรือเกิดความสนใจ
  • ย่อหน้าที่ 3 : ข้อความแสดงความขอบคุณ ช่องทางในการติดต่อ และหาข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่าง การเขียนแนะนำตัวใน อีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ

          – Just a couple of lines to introduce myself. My name is Somchai and I am responsible for marketing for Srinak cooperation. I’m based in Chiang Mai.

          – Just a quick introduction: my name is Wittaya, I head up marketing business here in Lampang.

ตัวอย่าง การเขียนเนื้อหาสาระให้ผู้รับอีเมล์ทราบ

          – I am contracting you because we need to recruit some HR staffs for our office in Rayong.

          – I am now collecting information on what is currently in place and our customers would love to have. Given your role, I would love to pick your brains on this process.

ตัวอย่าง การเขียนแสดงความขอบคุณ และช่องทางในการติดต่อ

          – I look forward to hearing from you, please feel free to contact me via …[email protected] or simply call me at xxx-xxxx-xxxx

          – Thanks in advance, for more details, please call me xxx-xxxx-xxxx

 

2.ใส่ข้อมูลติดต่อใน Signature ให้ครบถ้วน

          ปัจจุบัน อีเมล์ ไม่ว่าจะเป็น Gmail หรือ Hotmail เราสามารถเพิ่มข้อมูลติดต่อ (contact information) ในส่วนของลายเซ็น (Signature) ได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในอีเมล์ของเราตลอดโดยไม่ต้องเพิ่มใหม่ทุกครั้งที่ส่งอีเมล์ โดยหลัก ๆ แล้ว ข้อมูลติดต่อที่เราควรใส่ลงใน Signature ควรประกอบด้วย

  • ชื่อ – สกุล (Name)
  • ตำแหน่ง (Position)
  • บริษัท/สังกัด (Company
  • แผนก (Department/Division/Branch)
  • หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ทั้งมือถือและเบอร์ที่ทำงาน (Phone Number)
  • อีเมล์สำหรับติดต่อ (Email Address)
  • Line, Facebook, เว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียที่ติดต่อได้

          ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใส่ในลายเซ็นอีเมล์ ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          ตัวอย่าง ข้อมูลติดต่อใน Signature อีเมล์

                    วิรัช ธานี (Wirat Thani)

                    หัวหน้าแผนกครีเอทีฟ (Head of Creative Department)

                    บริษัท เพลินตาเพลินใจ มาร์เกตติ้ง (Pleon Ta Ploen Jai Marketing)

                    xxx-xxxx-xxxx   [email protected]

 

3.ตั้งหัวข้ออีเมล์อย่างเป็นมืออาชีพ

          หัวข้ออีเมล์เปรียบได้ดั่งประตูบานแรกสู่เนื้อหาที่เราต้องการเสนอแก่ผู้รับ หากเราตั้งใจเขียนอีเมล์อย่างถูกตั้งตามหลักการเป๊ะๆ แต่มาตกม้าตายที่ผู้รับไม่เปิดอ่านอีเมล์เพราะคิดว่าเป็นสแปมล่ะ เป็นความรู้สึกที่แย่มากเลยใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องพิถีพิถันกับการตั้งหัวข้ออีเมล์สักหน่อย อาจจะดูหยุมหยิมไปบ้าง แต่การตั้งหัวข้ออีเมล์ที่ดี เป็นมืออาชีพ และตรงประเด็นจะช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารกับผู้รับในระยะยาวไปได้ไม่น้อย โดยหลักแล้ว หัวข้ออีเมล์ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

  • ตรงประเด็นต่อผู้รับ
  • กระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดอีเมล์เราอ่าน
  • เตือนผู้รับว่าควรอ่านอีเมล์โดยเร็วหรือทันที่ได้รับ
  • ค้นหาง่ายในกล่องอีเมล์ขาเข้า (Mailbox)
  • สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านแล้วรู้ทันทีว่าเกี่ยวกับอะไร

 

          ตรงประเด็นต่อผู้รับ: หัวข้ออีเมล์ของเราควรมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหรือหน้าที่การงานของผู้รับ เช่น หากเราต้องการส่งอีเมล์สมัครงาน เราก็ควรต้องใส่คีย์เวิร์ด ‘สมัครงาน’ ลงไปในอีเมล์ของเราด้วย เพื่อสร้างความเกี่ยวข้องกับผู้รับ เมื่อเขาได้รับแล้วก็ต้องเปิดเพราะเป็นส่วนหนึ่งของงาน ไม่ใช่อีเมล์สแปมที่ไหน

          กระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดอีเมล์เราอ่าน: การตั้งหัวข้ออีเมล์ก็ไม่ต่างจากการตั้งชื่อบทความหรือชื่อคลิปวิดีโอที่เราต้องการให้คนเข้ามาอ่านหรือดูเยอะ ๆ แต่การกระตุ้นในที่นี่ไม่ได้หมายความจะต้องเรียกร้องความสนใจแบบ Click bait อะไรกันขนาดนั้น โดยเราอาจใส่ข้อความเชิงข้อร้อง please หรือ quick favor ให้ผู้รับเห็นว่าเราต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรืออยากให้เปิดอ่านอีเมล์ของเราจริง ๆ

          เตือนผู้รับว่าควรอ่านอีเมล์โดยเร็วหรือทันที่ได้รับ: เทคนิคนี้ขอเตือนไว้ก่อนว่าใช้ได้ แต่อย่าใช้บ่อย มิฉะนั้น จะสร้างความรำคาญต่อผู้รับอีเมล์มากกว่าการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ กรณีนี้เราอาจจะใส่คำว่า ‘Urgent!’ ไว้ข้างหน้าหัวข้ออีเมล์เพื่อแสดงความเร่งด่วนให้ผู้รับอีเมล์ร้อนใจอยากเปิดเข้ามาอ่านทันทีที่ได้รับ ทั้งนี้ เนื้อหาอีเมล์ของเราควรมีความสัมพันธ์กับหัวข้อด้วย ไม่ใช่ตั้งชื่อหัวข้อว่า ด่วน! แต่เปิดเข้ามาเป็นอีเมล์ขายถั่งเช่าก็คงไม่ใช่นะ

          ค้นหาง่ายในการกล่องอีเมล์ขาเข้า: การที่อีเมล์ของเราจะค้นหายากหรือง่ายใน Mailbox ของผู้รับนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงในหัวข้อของเรา เพราะฉะนั้น หัวข้อของอีเมล์เราควรมีคีย์เวิร์ดที่จัดประเภทหมวดหมู่ได้ง่าย เช่น [สมัครงาน] หรือ [เทคนิค SEO] ซึ่งช่วยให้ผู้รับที่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดดังกล่าวสามารถ Search หาอีเมล์ของเราได้ง่าย โดยไม่จมหายไปในกองอีเมล์ Spam ต่าง ๆ นั่นเอง

          สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านแล้วรู้ทันทีว่าเกี่ยวกับอะไร: เช่นเดียวกับเนื้อหาอีเมล์ หัวข้ออีเมล์ของเราก็ควรที่จะมีความสั้น กระชับ ตรงไปตรงมา กวาดตาดูรวดเดียวก็รู้ได้เลยว่าเป็นอีเมล์เกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร และมีความเร่งด่วนขนาดไหน เช่น ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไปสมัครงานในตำแหน่งหนึ่งเราก็ควรระบุให้ชัดไปเลยในหัวข้อว่าอีเมล์ของเราเกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร เช่น Wichai Pisut. Request for interview for position as SEO specialist เป็นต้น

        

4.ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวใจ

          นอกเหนือจากสไตล์ การเขียนอีเมล์ ให้อ่านง่าย กระชับ ได้ใจความ การใช้ระดับของสำนวนภาษาอังกฤษ และจิตวิทยาในการโน้มน้าวให้ผู้รับอีเมล์ยอมทำในสิ่งที่เราต้องการก็มีความสำคัญมากเช่นกัน แน่นอนว่า ชั้นเชิงการใช้ภาษาหรือทักษะความสามารถทางวรรณศิลป์ของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มักจะมีรูปแบบการใช้ระดับของภาษาที่เป็นแบบแผน (pattern) อยู่พอสมควร ฉะนั้น เราสามารถนำแบบแผนดังกล่าวมาปรับใช้กับ การเขียนอีเมล์ ของเราได้ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การใช้ภาษาสำหรับการขอร้อง

          – I know that you are very busy but…

          – I really need your help to

          – Sorry to bother you but…

          – Any comments you may have, would be very much appreciated

          – I cannot sort this out by myself

 

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

          – We would like to point out that

          – As far as we know

          – Please note that

          – May We take opportunity to

          – We also like to take this opportunity to bring to your attention…

ตัวอย่าง การใช้ภาษาสำหรับการนัดหมาย

          – Can we arrange a meeting on…

          – Would it be possible for us to meet on…

          – Let’s arrange to meet and we an discuss about this

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเพื่อสอบถามรายละเอียดกับสินค้าและบริการ

          – We are considering buying

          – We urgently need

          – Could you also let us know if you are prepared to…

          – Will you please let us know whether you could supply…

          – Please send up price list for…

          – Could you send us further details of…

 

5.ใช้ชั้นเชิงภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเขียนอีเมล์

          การใช้ชั้นเชิงของภาษาให้เป็น คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนเพื่อประสานงานทุกชนิด ใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ บางครั้งเราต้องการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ซึ่งในบางครั้งเราก็ต้องลองประมาณการความรู้สึกของผู้รับอีเมล์ด้วยเช่นกัน หากเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไรขณะที่อ่านข้อความที่เราเขียนขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในบางครั้งเราอาจต้องใช้ชั้นเชิงของภาษาในการสื่อความให้สละสลวยและมีความสุภาพมากขึ้น ถือว่าเป็นการถนอมน้ำใจและจูงใจให้ผู้รับอีเมล์เกิดความรู้สึกต่อเรา ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การใช้ชั้นเชิงภาษาในการแสดงความคิดเห็น

          แทนที่เราจะคอมเมนต์ว่า ‘Your assignment is okay’ เราอาจเขียนไปว่า ‘It’s looking really good and I like the way you’ve used statistics’

          หรือแทนที่จะเขียนตอบไปแบบสั้น ๆ ห้วน ๆ ว่า ‘It looks fine’ เราอาจลองเพิ่มถ้อยคำไปว่า ‘Overall it looks satisfying and the conclusions are quite obvious’

          เพียงเท่านี้เราก็สามารถซื้อใจผู้รับอีเมล์ของเราได้แล้ว เพียงแค่การเปลี่ยนหรือเพิ่มถ้อยคำอีกไม่กี่คำ เพราะการเขียนอีเมล์เป็นการสื่อสารทางเดียวโดยที่อีกฝ่ายไม่มีโอกาสได้เห็นสีหน้าท่าทางของเรา เพราะฉะนั้น เขาย่อมต้องมีการตีความถ้อยคำที่เราเขียน ในแง่ร้ายที่สุด อาจตีความผิดไปเลยก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ขอให้เราลองคิดถึงความรู้สึกของผู้รับอีเมล์ แล้วลองใช้เทคนิคชั้นเชิงภาษาปรับการเขียนอีเมล์ของเราให้ Soft มากขึ้น

 

6.ในอีเมล์ ให้ใช้ภาษาเป็นทางการเท่าที่จำเป็น

          แน่นอนว่าการใช้ภาษาทางการใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากเราได้รู้จักมักคุ้นกับผู้รับอีเมล์ของเรามาระดับหนึ่งแล้ว การใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นมิตรและสนิทใจมากกว่า ซึ่งช่วยให้การประสานงานราบรื่นและผ่อนคลายเหมือนเราคุยกับเพื่อนนั่นเอง ตัวอย่างการแปลงภาษาทางการ ให้อยู่ในรูปแบบไม่เป็นทางการก็มีอยู่ไม่น้อย ที่เราใช้ในการเขียนอีเมลหลักๆ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การเปลี่ยน ภาษาทางการ เป็น ภาษาไม่เป็นทางการ ในการเขียนอีเมล์

          – We have pleasure in confirming the acceptance of your order (เป็นทางการ)

            This is to confirm that your order has been accepted (ไม่เป็นทางการ)

          – It is necessary that I have the assignment by Monday (เป็นทางการ)

            Please could I have the assignment by Monday (ไม่เป็นทางการ)

          – You are requested to acknowledge this email (เป็นทางการ)

            Please acknowledge this email (ไม่เป็นทางการ)

ข้อสังเกต: จะเห็นได้ว่า การเขียนอีเมล์ ด้วยรูปแบบไม่เป็นทางการ นอกจากจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นมิตรและเป็นกันเองแล้ว ยังช่วยให้อีเมล์ของเราสั้นลง น่าอ่านมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

7.ก่อนส่งอีเมล์ ให้ตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำเสมอ

          สิ่งที่สำคัญที่สุดของ การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ คือ การตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำต่าง ๆ เพราะการพิมพ์ผิดนอกจากจะแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่สร้างความเสียหายมหาศาลได้อีกด้วย โดยหลักแล้ว ก่อนที่เราจะส่งอีเมล์ ควรที่จะหยุดพักไว้ก่อนสักสองสามนาที เดินไปชงกาแฟหรือไปเข้าห้องน้ำ อย่าส่งหลังจากพิมพ์เสร็จทันที เพราะเราจะอยู่ใกล้กับตัวงานมากจนมองไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังเขียนอีเมล์เสร็จให้เราทิ้งไว้สักพัก แล้วกลับมานั่งอ่านทวนทั้งหมดอีกครั้ง โดยมีจุดที่เราต้องให้ความสำคัญในการ รีวิวอีเมล์ของเราเราก่อนกดส่ง สรุปได้ดังนี้

  • ตรวจเช็คไวยากรณ์ว่าถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษหรือไม่
  • ตรวจเช็คคำผิด และการสะกดคำจาก Dictionary
  • คัดเกลาภาษาให้อ่านลื่นไหลมากขึ้น
  • เนื้อหาที่เราเขียนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์หรือไม่
  • หากเราเป็นผู้รับอีเมล์จะรู้สึกอย่างไรกับอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าไม่รีบมาก ลองให้เพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักลองอ่านและให้ความเห็นดู

          หลังจากเราตรวจเช็คและรีวิวอีเมล์ของเราเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมตรวจเช็คว่าเราได้ใส่ข้อมูลติดต่อกลับลงใน Signature ครบถ้วนดีแล้วหรือยัง จากนั้นก็คลิก Send เพื่อส่งก็เป็นอันเสร็จภารกิจ ทางทีดี เราควร copy email ของเราหรือทำโฟลเดอร์แบบฟอร์มอีเมลที่เราเขียนขึ้นให้เป็นหมวดหมู่ คราวหน้าจะได้หยิบฟอร์มเก่ามาแก้ไขรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและความสะดวกสบายใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ เพื่อการติดต่อประสานงานมากขึ้นในอนาคต

 

สรุป

                     การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งที่เป็นผู้รับอีเมล์รู้สึกประทับใจในความเป็นมืออาชีพและทักษะชั้นเชิงการใช้ภาษาของเราไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย หากเราจับจุดและแบบแผนการเขียนอีเมล์ในแบบของเราได้ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำ เทคนิคการเขียนอีเมล์ 7 ประการข้างต้นไปปรับใช้กับหน้าที่การงานและการติดต่อประสานงานได้ไม่มากก็น้อย การเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษ อาจเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัวสำหรับใครหลายคน แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อเราตั้งใจและทุ่มเทเวลาให้กับมันแล้ว ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้อย่างแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

          หากท่านใดยังไม่มี อีเมล์สำหรับใช้งาน ก็สามารถ สมัครอีเมล์ใหม่ Gmail และ สมัครอีเมล์ใหม่ Hotmail ได้แบบง่ายๆ ด้วยการทำตามขั้นตอนที่เราได้เรียบเรียงไว้ ใช้เวลาไม่เกิน [2 นาที] ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

 

แถมเพิ่มเติม

คำลงท้าย สำหรับการเขียน อีเมล์ ภาษาอังกฤษธุรกิจ

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ แบบมาตรฐาน

– Best regards

– Kind regards

– Regards

– With Best regards

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ แบบไม่เป็นทางการ

– Cheers

– Have a nice weekend

– Hope to hear from you soon

-All the best

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ สำหรับการติดต่อธุรกิจ

– Yours truly

– Yours faithfully

– Sincerely yours

– Yours sincerely

                   

ข้อมูลอ้างอิง: Email and Commercial Correspondence – Adrian Wallwork

Tag: การเขียนอีเมล์, การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ, การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ, สมัครอีเมล์ใหม่, สมัครอีเมล์ใหม่ Gmail, สมัครอีเมล์ใหม่ Hotmail, คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ 

[Update] สำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยๆ พร้อมคำแปล | ตรงประเด็น ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

สำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยๆ พร้อมคำแปล เช่น Chill out : ใจเย็น., สงบสติอารมณ์หน่อย , Keep going : พยายามต่อไปเรื่อยๆ , เดินหน้าต่อ, Come on : ไม่เอาน่า , มานี่มา , เถอะน่า

สำหรับคนที่หัดพูด ฝึกฝนภาษาอังกฤษกันใหม่ๆ เพื่อไม่ให้น่าเบื่อเกินไป เรามีสำนวนภาษาอังกฤษเก๋ๆ แต่ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ มาฝากค่ะ จะเอาไปตั้งสถานะในเฟซบุ๊ก เวิ่นเว้อในสถานะของ Line หรือจะเอาไปโพสต์ไว้ใน Instagram ก็ไม่ว่ากัน ลองมาดูกันเลยว่ามีอะไรน่าสนใจกันบ้าง

สำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยๆ พร้อมคำแปล

บอกให้ใจเย็นๆ ภาษาอังกฤษ

Chill out : ใจเย็น, สงบสติอารมณ์หน่อย
Don’t get me wrong : อย่าเข้าใจผิด
Keep going : พยายามต่อไปเรื่อยๆ , เดินหน้าต่อ

To be honest, honestly : พูดตรงๆเลยนะ , บอกตรงๆ
Come to the point : พูดตรงๆ เลยดีกว่า , พูดให้ตรงประเด็น

I’m going either way : ชั้นจะทำทุกอย่าง , ยอมทำทุกทาง , ทำทุกทางไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

be my guest : ตามสบาย , ตามใจ , ได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ
fall asleep : เผลอหลับ , ผลอยหลับ

Go ahead : ทำต่อไป , ต่อเลย , เชิญ.. (ตัวอย่าง A : I’ve got something to tell you (เอบอกชั้นมีอะไรจะบอก) B : Alright go ahead  (บีตอบ เอาสิพูดไปเลย))

9 สำนวนชวนเที่ยว

ดูเพิ่มเติม EnglishAfternoonz @TutorMe

Take ..

Take a chance : เสี่ยงดู , ลองซักครั้ง
Take your time : ไม่ต้องรีบร้อน
Take it easy : อย่าไปคิดมาก, ใจร่มๆ

I’m done : ชั้นพอแล้ว ( Enough )
Give up : เลิกแล้ว , ไม่ทำแล้ว, ถอยดีกว่า
Messed up : พลาด , เละเทะ , ทำพัง
Count me in : ขอแจมด้วย , ไปด้วยคน , ชั้นเอาด้วย

Hang in there : สู้ๆ , อย่ายอมแพ้
Get over it : ทำใจ , ลืมมันไปซะ
Never mind : ช่างมันเหอะ
No sweat , Not a big deal : ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต, อย่าไปสนใจ
Freak out : กลัวเว่อร์ๆ

ฉันเศร้า..

I’m so blue : ฉันเศร้าอยู่นะ , วันนี้โคตรมืดมนเลย
Why not? : ไหงงั้นอ่ะ ? ทำไมจะไม่ได้?
What going on  : อันนี้ใช้เหมือน What happened เกิดอะไรขึ้นเหรอ เป็นอะไรไปเหรอ

Have a blast : อันนี้ใช้อวยพรวันเกิดประมาณว่า สนุกให้มันระเบิดเถิดเทิงไปเลย

Hang on : รอแป๊บ (ใช้เหมือน Hold on)
Come on : ไม่เอาน่า , มานี่มา , เถอะน่า
It’s up to you : แล้วแต่คุณ

Whatever : อันนี้ใช้ตอบตอนเซ็งๆ แบบขี้เกียจจะเถียงจะคุยด้วยแล้ว ก็ whatever แปลว่า เออก็แล้วแต่ , ช่าง….

What a nice dress : ชุดสวยเริ่ด
What a good story : ช่างเป็นเรื่องราวที่ดีจริงๆ

What in the world : แปลห่ามๆ หน่อย ว่า “อะไรของมันวะ” , “มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย” , ใช้เหมือน WTF แล้วก็ what the hell.

Get spoiled : ของเสียหมด , เสียหาย , พัง
Eat up : กินๆ เข้าไป
Can’t imagine : นึกไม่ออกเลย
Got it : เข้าใจแล้ว

Don’t fool me : อย่ามาหลอกกัน
Better than nothing : ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
Catch you later : ไว้ค่อยคุยกันใหม่ , ไว้เจอกันคราวหน้า
Don’t cross the line : อย่าล้ำเส้น

Figure out : คิดออกแล้ว , คิดให้ออก , คิดได้ (ตัวอย่าง: He talked so much but still I can’t figure it out what was his point เขาพูดมากเหลือเกิน แต่ชั้นก็ยังคิดไม่ออก จับใจความไม่ได้เลยว่าเค้าต้องการสื่ออะไร)

I’m all in : ทุ่มสุดตัว , ทุ่มหมดตัว ประโยคนี้ใช้เวลาที่อยากบอกใคร ประมาณว่าความรัก ครั้งนี้เราทุ่มสุดตัวเลยนะ

ข้อคิดดีๆ บางสิ่งเกี่ยวกับชีวิตเรา : ) เหนือสิ่งอื่นใด จงเป็นตัวของตัวเอง

สำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยๆ

Keep in touch , Be in touch : ติดต่อกันไว้ อย่าหายไปไหน

I’ll keep eyes on you : ฉันจะจับตาดูคุณไว้เลย (ตัวอย่าง Don’t flirt with another girls, I’ll keep eyes on you อย่าไปจีบคนอื่นนะ ชั้นจะจับตาดูคุณไว้เลย)

Keep in mind : จำใส่ใจไว้เลย

Behave! : ทำตัวให้มันดีๆหน่อย , เลิกทำตัวงี่เง่าซะที

You really piss me off : คุณทำให้ฉันโมโหสุดๆ เลย

I’m doing alright so far : จนถึงตอนนี้ฉันยังสุขสบายดีอยู่ (เอาไว้ตอบตอนที่คนถามทำนองว่า how have you been lately ? คุณเป็นยังไงบ้าง บางครั้งกับคนที่เพิ่งหักอกเราแล้วนานๆ จะส่งข้อความมาแนวถามไถ่ห่วงใย ว่าหลังจากที่ผมทิ้งคุณไปแล้ว คุณเป็นยังไงบ้าง )

Never better : ดีสุดๆ (เอาไว้ตอบเวลาคนถามว่า how you doing ? Are you alright ? ความหมายประมาณว่า ไม่เคยรู้สึกดีอย่างงี้มาก่อนเลย

Don’t be upset : อย่าหัวเสีย , อย่าอารมณ์เสีย

Fed up : สุดจะทนแล้ว , เบื่อ , เอือมระอา

Get the hell out of my life : ออกไปจากชีวิตชั้นเลย

As ever : เหมือนเคยๆ (เวลาคนถามว่าเป็นยังไงบ้าง how are u เราตอบได้ว่า as ever ก็เดิมๆ อ่ะแหล่ะ )

Of cause not : แน่นอนว่าไม่่ใช่อย่างงั้น ( A: Do you think I’m ugly? B: Of cause not! เอถาม คุณคิดว่าชั้นน่าเกลียดหรือเปล่า บี ก็ ตอบว่า เฮ้ย แน่นอนว่าผมไม่ได้คิดอย่างงั้นเลยจริงๆ )

Definitely : ใช้เหมือน yes , sure , แปลว่าใช่ , แน่นอน , จริงๆเชียว ใช้เมื่อเราเห็นด้วยกับคำพูดของอีกฝ่าย

Indeed : ใช้เล่ย, จริงแท้ , ( A : ​I think you are very beautiful B : Indeed !!!! เอบอกผมว่าคุณสวยมากๆ บีบอก อ่ะ แน่นอนชั้นสวยอยู่แล้ว )

Seriously ? : พูดจริงดิ่ , เอาจริงป่ะเนี่ย ?

Do you mind ? : รังเกียจไม๊ (ตัวอย่าง Do you mind telling me how old are you ? รังเกียจไม๊ถ้าจะถามว่าคุณอายุเท่าไหร่ ) และถ้าอีกคนอยากจะบอกอายุเค้าให้ตอบว่า no i do not mind , ถ้าไม่อยากบอกก็ตอบว่า yes I mind ประมาณว่าเอ่อชั้นไม่อยากบอกอ่ะ)

Age ago : นานมากๆแล้ว , เป็นชาติแล้ว (I’ve been waiting for you age ago ฉันรอคุณมาเป็นชาติแล้ว)

You are mean : คุณใจแคบจัง ใช้ได้ทั้งแนวหยอกล้อและด่าจริงจัง

I won’t let you down : ฉันจะไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่

Don’t let me down : อย่าทำให้ฉันผิดหวังล่ะ

Not much to talk : ไม่มีอะไรจะคุยมากนัก

Don’t be bothered : อย่าใส่ใจ , ไม่ต้องสนใจหรอก , ไม่ต้องคิดให้ยุ่งยากไป

Sorry to bother you : ขอโทษที่รบกวน

You never give me credit : คุณไม่เคยเชื่อใจฉันเลย

ช่างมันเหอะ

Let it be : ช่างมัน , ปล่อยมันไป
Deal with it : จัดการมันให้ได้, ทำใจซะแล้วอยู่กับมันให้ได้
Look ! : ฟังนะ , ฟังให้ดี

Watch your mouth, Mind your language : ระวังปากหน่อย , ระวังคำพูด

I have a crush on you : ฉันหลงรักคุณเข้าแล้ว
Do me a favor : ขอร้อง , ทำอะไรให้อย่างสิ
Sick of : เบื่่อเต็มทีแล้ว

Are we good now ? : เราดีกันแล้วนะ ? เราไม่มีปัญหาต่อกันใช่ไม๊?

Head over heels : หลงหัวปักหัวปำ
The night still young : ราตรีนี้ยังอีกยาว

Put yourself in other’s shoes : เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา

Can’t believe it : เหลือเชื่อจริงๆ

Love takes time : ความรักต้องใช้เวลา
Get used to : ทำตัวให้ชินซะ
For good = Forever ตลอดกาล
Cut it out = Stop (ใช้เมื่อมีการโต้เถียงกัน เป็นการสั่งว่าให้พอได้แล้ว หรือ เลิกทำแบบนี้ซะที)

No wonder : อย่างไม่ต้องสงสัย , ไม่สงสัยเลย

Don’t wanna get involved : ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย หรือ I don’t get involved ฉันไม่ขอยุ่งเกี่ยว, ไม่ยุ่ง

Blame on me : โทษฉันคนเดียว

There’s nothing to do with me : ชั้นไม่เกี่ยวด้วยเลย = I’m not a part of it ชั้นไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย

แชร์ไว้อ่านได้ใช้แน่นอน..

บทความแนะนำ


💡Think English You can do it every day, anywhere


สาธิตเรียนแต่งประโยคเทคนิคครูส้ม
พื้นฐานน้อยมาก อยากพูดเป็น ฝึกที่นี่ !
____________
➟ 🇬🇧 คอร์สภาษาอังกฤษ 🇬🇧 www.englishfitandfirm.net
➟ ตัวอย่างคอร์ส Crush Your Goals 56 Days! ใหม่และปังมาก!!
https://www.youtube.com/watch?v=BMK190mPXc8
➟ คลิปบทเรียนสั้นๆสไตล์ครูส้ม
⟿ ✨Facebook:
https://www.facebook.com/EnglishFitandFirm/
⟿ ✨IG:
https://www.instagram.com/eng_som_o/?hl=en
⟿ ✨YouTube:
https://www.youtube.com/channel/UCKoHHFMpTvk84IdG3GoNnfQ

ฝึกแต่งประโยค คิดภาษาอังกฤษ เรียนเพื่อสื่อสาร

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

💡Think English You can do it every day, anywhere

สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง20พ.ค.56


สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง กับ พลวัชร ภู่พิพัฒน์ ออกอากาศ 20 พ.ค.56

สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง20พ.ค.56

สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง 3 ก.ค.56


สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง กับ เชาวรัตน์ ยงจิระนนท์ ออกอากาศ 3 ก.ค.56

สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง 3 ก.ค.56

สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง 15 ส.ค.56


สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง กับ เชาวรัตน์ ยงจิระนนท์ ออกอากาศ 15 ส.ค.56

สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง 15 ส.ค.56

สรุปข่าวภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง12ก.ค.56


สรุปข่าวภาคภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง กับ เชาวรัตน์ ยงจิระนนท์ ออกอากาศ 12 ก.ค.56

สรุปข่าวภาษาอังกฤษตรงประเด็นเที่ยง12ก.ค.56

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ตรงประเด็น ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *