Skip to content
Home » [NEW] 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 2) | คํา ไทย อ่าน ยาก – NATAVIGUIDES

[NEW] 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 2) | คํา ไทย อ่าน ยาก – NATAVIGUIDES

คํา ไทย อ่าน ยาก: คุณกำลังดูกระทู้

          เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พี่มิ้นท์ได้นำคำไทยที่เขียนผิดบ่อยๆ 25 คำแรกมาฝากน้องๆ ในบทความ 50 คำไทยใช้บ่อยที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1) ผลตอบรับค่อนข้างดีทีเดียว บางคนเพิ่งรู้ตัวด้วยว่าเขียนผิดมาตลอด ฮ่าๆ ไม่เป็นไรค่ะ รู้วันนี้ก็ยังไม่สาย รีบแก้ตัวแล้วกันนะ… วันนี้ก็ได้เวลามาต่อกันตอนที่ 2 มาดูกันว่าอีก 25 คำที่เหลือ น้องๆ เขียนผิดกันอยู่หรือเปล่า

           และกติกายังเหมือนเดิม เมื่อรู้วิธีเขียนที่ถูกต้องแล้ว ขอให้น้องๆ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องด้วยนะคะ แค่นี้ก็ถือว่าช่วยอนุรักษ์ภาษาไทยได้แล้วววว

 
  26) ตำรับ VS ตำหรับ
         คำที่ถูก >> ตำรับ
           ภาษาไทยขึ้นชื่อว่าเป็นภาษาที่ยากติดอันดับโลก เพราะมีเสียงวรรณยุกต์และการสะกดที่หลากหลาย อย่าว่าแต่ฝรั่งเลย คนไทยเองก็สับสนเหมือนกัน อย่างคำที่ 26 นี้ ต้องมีน้องๆ เคยสงสัยแน่นอนว่า เขียน “ตำรับ” ทำไมอ่าน “ตำ-หรับ” ทั้งๆ ที่ไม่มีอักษรนำเลย

          พี่มิ้นท์ขออธิบายถึงที่มาของคำนี้ก่อนว่า คำว่า “ตำรับ” เป็นคำแผลงที่มาจากคำว่า “ตรับ” ค่ะ คล้ายๆ กับ ตำรวจที่แผลงมาจากตรวจ ซึ่งการแผลงคำเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการสร้างคำขึ้นในภาษาไทย อย่างตัวอย่างนี้ก็แผลงพยัญชนะจากพยางค์เดียวให้มาเป็น 2 พยางค์ โดยหลักการอ่านออกเสียงคำแผลงประเภทนี้มีอยู่ว่า ถ้าคำเดิมเป็นพยัญชนะควบกล้ำ เวลาอ่านออกเสียงในพยางค์หลังต้องมีเสียงวรรณยุกต์เท่าคำเดิม ดังนั้น จาก “ตรับ” จึงอ่านออกเสียงเป็น “ตำ-หรับ” (แม้จะเขียนว่า ตำรับ ก็ตาม)

    27) โอกาศ VS โอกาส
         คำที่ถูก >> โอกาส
         คำนี้มีน้องๆ ชาว Dek-D.com แนะนำมาว่าเจอคนเขียนผิดบ่อยมาก มักจะใช้ ศ สะกดเหมือนกับคำว่า อากาศ แต่ที่ถูกต้องจริงๆ จะต้องใช้ “ส” ในการสะกดค่ะ เนื่องจาก”โอกาส” เป็นคำภาษาบาลี ซึ่งภาษาบาลี ไม่มี “ศ” “ษ” นะคะ จำไว้ให้แม่นเลย

    28) ทะเลสาบ VS ทะเลสาป
           คำที่ถูก >> ทะเลสาบ
           คำว่า “สาบ” กับ “สาป” เป็นอีกคู่ที่น้องๆ มักสับสน นอกจากไม่รู้ว่าต้องใช้ตัวไหนแล้วยังไม่รู้ด้วยว่าสองคำนี้ต่างกันอย่างไร
           คำว่า “สาป” ในภาษาไทยมีเพียงความหมายเดียว หมายถึง คำแช่งให้เป็นไปต่างๆ มาจากภาษาบาลีค่ะ
           ส่วน “สาบ” มีหลายความหมายเลย เช่น กลิ่นเหม็นสาบ, แมลงสาบ, สาบเสื้อสำหรับเจาะรังดุม และใช้เรียกห้วงน้ำใหญ่คล้ายบึง หรือ ทะเลสาบนั่นเอง ดังนั้นถ้าไม่ได้คิดแช่งใคร เมื่อสะกดคำว่า “สาบ” ให้ใช้ “บ” สะกดเสมอนะคะ

    29) เครื่องสำอางค์ VS เครื่องสำอาง
         คำที่ถูก >> เครื่องสำอาง
         อีกหนึ่งคำที่มองไปทางไหนก็เจอแต่คนเขียนผิดและใช้ผิดต่อๆ กันไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เครื่องสำอางค์ ที่เขียนแบบนี้ไม่มีความหมายในภาษาไทยเลย ที่ถูกต้องจริงๆ ต้องเขียนว่า “เครื่องสำอาง” แบบไม่มี “ค์” ค่ะ (บางทีคนไทยก็ชอบเขียนคำง่ายๆ ให้เป็นคำยากๆ เสมอ)

         โดยคำว่า “สำอาง” มีความหมายว่า สิ่งเสริมแต่ง บำรุงใบหน้า, งามสะอาดหมดจด เป็นต้น

    
     30) นะค่ะ  VS นะคะ VS น๊ะค๊ะ
           คำที่ถูก >> นะคะ
          สำหรับสาวๆ ที่ต้องใช้คำนี้เพื่อลงท้ายให้สุภาพ ควรเขียนคำนี้ให้ถูกต้องนะคะ เพราะต้องใช้ไปจนแก่เลย
           /น/ และ /ค/ เป็นอักษรต่ำ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ก็ออกเสียงวรรณยุกต์ตรีอยู่แล้ว ดังนั้น น๊ะค๊ะ ผิดเต็มๆ ส่วนนะค่ะ ไม่มีความหมายในภาษาไทยค่ะ

     31) บังสุกุล VS บังสกุล
           คำที่ถูก >> บังสุกุล
           บังสุกุล เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าที่พระสงฆ์ชักจากศพหรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ คำนี้เมื่อพูดเร็วๆ รัวๆ อาจฟังเป็น บังสกุล ซึ่งเป็นการสะกดที่ผิดค่ะ(สกุล หมายถึง วงศ์ตระกูล) ก่อนสตาร์ทเขียนคำนี้ ตั้งสติดีๆ และอย่าลืมเติม “สระอุ” สองตัวนะคะ

     32) บัญญัติไตรยางค์ VS บัญญัติไตรยางศ์
           คำที่ถูก >> บัญญัติไตรยางศ์
           บัญญัติไตรยางศ์ เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์วิธีนึงใช้สำหรับการเปรียบเทียบ สะกดเหมือนคำว่า “ไตรยางศ์” ที่แปลว่า 3 ส่วน ใช้ “ศ์” เสมอ ส่วน “ไตรยางค์” คำนี้ไม่มีความหมายนะคะ

     33) บิดพลิ้ว VS บิดพริ้ว
           คำที่ถูก >> บิดพลิ้ว
           สำหรับคำนี้จุดที่ผิดบ่อยๆ คือ คำว่า “พลิ้ว” หลายคนใช้ควบกล้ำ “พร” เพราะดูคุ้นกว่า แต่หารู้ไม่ว่าในภาษาไทยคำว่าพริ้ว ไม่มีความหมายนะคะ ท่องไว้ “พลิ้ว” คือ อาการบิดเบี้ยว หรือสะบัดไปตามลม ดังนั้นเมื่อเจอ “ลม” ก็ใช้ “ล” สะกดนะ

     34) บูชายันต์ VS บูชายัญ
           คำที่ถูก >> บูชายัญ
           การบูชายัญ เป็นการบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่งด้วยวิธีการฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา ซึ่งคำว่า “ยัญ” ใน บูชายัญมีความหมายในตัวของมันอยู่แล้วคือ การเซ่น, การบูชา ดังนั้นก่อนเขียนให้ระลึกเสมอว่าบูชายัญเป็นการฆ่าคน ไม่ใช่การบูชาผ้ายันต์ นะคะ 🙂

     35) ปฐมนิเทศ VS ปฐมนิเทศก์
           คำที่ถูก >> ปฐมนิเทศ
           น้องๆ ที่เข้า ม.1 ม.4 หรือเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องผ่านการปฐมนิเทศเพื่อฟังคำแนะนำต่างๆ ก่อน ถ้ามองความหมายทีละคำ จะเข้าใจความหมายมากขึ้น คือ ปฐมหมายถึงลำดับแรก ส่วนนิเทศ หมายถึงการชี้แจง, การแสดง โดย “นิเทศ” คำนี้ไม่ต้องมีตัวการันต์นะคะ ปล่อยโล่งๆ แบบนี้นี่แหละ

     36) เปอร์เซนต์ VS เปอร์เซ็นต์
          คำที่ถูก >> เปอร์เซ็นต์
          ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุวิธีเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้หลายคำ รวมถึงคำว่า percent ด้วย ซึ่งวิธีเขียนที่ถูกต้องจะต้องใส่ไม้ไต่คู้ในพยางค์หลังว่า “เปอร์เซ็นต์” ค่ะ

      37) ผีซ้ำด้ามพลอย VS ผีซ้ำด้ำพลอย
             คำที่ถูก >> ผีซ้ำด้ำพลอย
           เป็นอีกสำนวนหนึ่งที่เขียนผิดกันบ่อยๆ สาเหตุที่คนส่วนใหญ่เขียนคำนี้ผิดเป็น “ผีซ้ำด้ามพลอย” คงเป็นเพราะไม่รู้ความหมายของคำว่า “ด้ำ” ฟังไปฟังมาเลยเพี้ยนกลายเป็น “ด้าม” ไปซะอย่างนั้น

           คำว่า “ด้ำ” เป็นภาษาถิ่นในภาคอีสาน หมายถึง ผีเรือน ค่ะ ผีซ้ำด้ำพลอยก็หมายถึง เราถูกผีอื่นกระทำแล้วยังถูกผีเรือนของตัวเองซ้ำเติมอีก ดังนั้นสำนวนนี้จึงหมายถึง ถูกซ้ำเติมอีกเมื่อพลาดพลั้ง ประมาณซวยซ้ำซวยซ้อนก็ได้ค่ะ

           เมื่อรู้ความหมายไปแล้ว ขอเพิ่มเติมวิธีจำอีกนิด ให้น้องๆ จำไว้ว่าสำนวนไทยส่วนใหญ่จะใช้คำคล้องจอง มีสัมผัสค่ะ ดังนั้นพยางค์ก่อนหน้าเป็นสระอำ คำต่อมาก็จัดสระอำตามไปเลยค่ะ


      38) พิธีรีตอง VS พิธีรีตรอง
            คำที่ถูก >> พิธีรีตอง
            พิธีรีตอง หมายถึง งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม เวลาเขียนคำนี้ไม่ต้องเติม “ร” ในคำว่า “ตอง” นะคะ ท่องเลยๆ

      39) แพทยศาสตร์ VS แพทย์ศาสตร์
            คำที่ถูก >> แพทยศาสตร์
            ใครอยากเป็นหมอจำคำนี้ไว้ดีๆ นะคะ คำว่า “แพทยศาสตร์” เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า “แพทย์” + “ศาสตร์” เมื่อเอามารวมกัน คำก่อนหน้าที่มีการันต์ให้ตัดทิ้งได้เลย ดังนั้นเวลาออกเสียงคำนี้ให้อ่านว่า “แพด-ทะ-ยะ-สาด”

      40) มัสหมั่น VS มัสมั่น
           คำที่ถูก >> มัสมั่น
           มัสมั่นเป็นชื่อแกงชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นแกงข้น ปรุงด้วยเครื่องเทศ ใส่ไก่หรือเนื้อลงไป(อร่อยมาก) น้องๆ หลายคนท่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกันได้ แต่จะมีซักกี่คนที่เขียน “มัสมั่น” ถูก แม้ว่าพยางค์หลังของคำนี้ออกเสียงเหมือนมีอักษรนำตามหลัง แต่วิธีการเขียนที่ถูกต้องในภาษาไทย ต้องไม่มี “ห” นะคะ

      41) มาตรฐาน VS มาตราฐาน
           คำที่ถูก >> มาตรฐาน
           คำง่ายๆ ที่บางคนก็เขียนผิด คำว่า “มาตรฐาน” เป็นคำสมาสอีกแล้วค่ะ เป็นการสมาสกันระหว่างคำ มาตร(สันสกฤต) + ฐาน(บาลี) ซึ่งเวลาอ่านคำสมาสเราก็ต้องออกเสียงสระอะ ของพยางค์ท้ายในคำหน้าด้วย การออกเสียงบ่อยๆ ทำให้รู้ว่าคำนี้เป็นเสียงสั้น อ่านว่า “มาด-ตระ-ถาน” ไม่ใช่ “มาด-ตรา-ถาน” ดังนั้นไม่ต้องเติม “สระอา” ตรงกลางนะจ๊ะ

      42) เวทมนต์ VS เวทย์มนตร์ VS เวทมนตร์
           คำที่ถูก >> เวทมนตร์
           “เวทมนตร์” หมายถึง คำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สำเร็จตามสิ่งที่้ต้องการ คำนี้เขียนผิดกันหลายแบบเลยค่ะ โดยจะสับสนว่าต้องใส่ตัวการันต์หรือไม่ ใส่กี่คำ และใช้ตัวการันต์ตัวไหน

           สรุปง่ายๆ ว่า คำว่า “เวท” ไม่ต้องมีการันต์ค่ะ โดยจะหมายถึงความรู้, ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นคาถาอาคม เป็น “เวท” ตัวเดียวกับคำว่า “ร่ายเวท” “สามเวท” ค่ะ ส่วนคำว่า “มนตร์” นั้น ใช้ “ตร์” เป็นคำสันสกฤตค่ะ

       43) แมลงสาป VS แมลงสาบ
             คำที่ถูก >> แมลงสาบ
             หลักการเขียนคำว่า “สาบ” พี่มิ้นท์ได้อธิบายไว้ในข้อ 28) แล้ว ดังนั้นการเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง ต้องใช้ “บ” ถึงจะถูกต้องนะคะ

      44) ไยแมงมุม VS ใยแมงมุม
            คำที่ถูก >> ใยแมงมุม
      45) หยากใย่ VS หยากไย่
           คำที่ถูก >> หยากไย่
      46) ลำไย VS ลำใย
           คำที่ถูก >> ลำไย
           ขอพูดรวบยอดคำที่ 44 – 46 พูดถึงการใช้สระ “ไ-” และ “ใ-” ในภาษาไทยสับสนกันพอสมควร วิธีจำการเขียนที่ถูกต้องคำในกลุ่มนี้ก็ไม่ยากค่ะ เชื่อว่าน้องๆ เคยท่องกลอน “คำไทยที่ใช้ไม้ม้วน” กันมาแล้ว ซึ่งกลอนบทนั้นได้รวบรวมคำไทยที่ใช้ไม้ม้วนทั้งหมด 20 คำไว้ ดังนั้นไม่มั่นใจคำไหน เสียเวลาท่องในใจกันซักนิด ถ้าไม่เห็นว่าอยู่ในกลอนนี้ใช้ “ไ-” โลดค่ะ ทบทวนกลอนกันซักนิด

                      ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                             ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
            ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                                          มิหลงใหลใครขอดู
            จะใคร่ลงเรือใบ                                          ดูน้ำใสและปลาปู
            สิ่งใดอยู่ในตู้                                             มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
            บ้าใบ้ถือใยบัว                                           หูตามัวมาใกล้เคียง
            เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                                    ยี่สิบม้วนจำจงดี
        
         สรุปแล้ว ใยแมงมุม ต้องใช้ ไม้ม้วน “ใ-” เหมือนห่วงใย
         ส่วน “หยากไย่” และ “ลำไย” ใช้ไม้มลาย “ไ-” ค่ะ

      47) ริดรอน VS ลิดรอน
            คำที่ถูก >> ลิดรอน
            จำได้ว่าสมัยเรียนเจอคำนี้ออกข้อสอบบ่อยเหลือเกิน(แต่ก็ไม่เคยจำวิธีเขียนที่ถูกซะที) ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้อาจารย์ยังเอามาออกข้อสอบอยู่หรือเปล่า สำหรับคำนี้จะมึนๆ เรื่องการใช้พยัญชนะ เพราะไม่รู้ว่าพยางค์ไหนใช้ “ร” “ล” บางทีก็เขียนผิดไปใช้พยัญชนะตัวเดียวกันทั้งพยางค์หน้าและหลัง

           วิธีการเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง ต้องเขียนว่า “ลิดรอน” พยางค์หน้าใช้ “ล” พยางค์หลังใช้ “ร” อยากเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง น้องๆ ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ ค่ะเพื่อให้ชินมือ นอกจากนี้การอ่านออกเสียงควบกล้ำให้ตัวเองฟังบ่อยๆ ก็ช่วยจำวิธีเขียนคำนี้ได้เหมือนกัน

      48) ลูกเกด VS ลูกเกตุ
           คำที่ถูก >> ลูกเกด
           ลูกเกด คือ ลูกองุ่นแห้งที่เป็นของกินเล่น หรือใช้ใส่ในข้าวผัดอเมริกันนั่นเอง “ลูกเกด” สะกดตรงๆ ใช้ “ด” สะกดได้เลยค่ะ ซึ่งคำว่า “เกด” ก็หมายถึงลูกองุ่นแห้งอยู่แล้ว ส่วนคำว่า “เกตุ” จะหมายถึง ธง ค่ะ ความหมายคนละเรื่องเลย

           นอกจากนี้คำที่อ่านว่า “เกด” ที่มีปัญหาอีกคำ คือ “สังเกต” คำนี้ใช้ “ต” สะกด โดยไม่ต้องเติมสระอุ ค่ะ

       49) ไล่เรียง-ไล่เลียง
             คำที่ถูก >> ไล่เลียง
            “ไล่เลียง” คือ การซักไซ้, ไต่ถาม มักจะใช้คู่กับคำว่า ซักไซ้ไล่เลียง คำนี้ใช้ “ล” สะกดทั้งสองตัวเลยนะคะ เพราะถ้าแยกความหมายของคำทั้งสองออกจากกัน จะพบว่า “ไล่” หมายถึง การขับออก, บังคับให้ไป ส่วน “เลียง” ก็หมายถึง การไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก ดังนั้นคำนี้จึงเป็นคำซ้อน ประเภทซ้อนความหมายค่ะ จำไว้เลยว่า คำนี้ คำหน้าและหลังมีความหมายเหมือนกัน และใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกันด้วย

      50) วิ่งเปี้ยว VS วิ่งเปรี้ยว
            คำที่ถูก >> วิ่งเปี้ยว
            เชื่อว่าเด็กไทยเกินร้อยละ 80 โตขึ้นมากับการเล่นวิ่งเปี้ยว โดยเฉพาะในงานกีฬาสี ปกติคำนี้เราใช้แต่วิธีพูด ไม่ค่อยได้ลงมือเขียนกันเท่าไหร่ ฉะนั้นเวลาต้องมาเขียนจริงๆ ก็นึกไปเองว่าใช้ “เปรี้ยว” เหมือนรสเปรี้ยว แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เขียน “เปี้ยว” ธรรมดา ไม่ต้องเติม “ร” นะคะ อเมซิ่งสุดๆ

            ภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีเป็นหมื่นเป็นแสนคำ เขียนผิดบ้างก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ถ้าน้องๆ มีโอกาสได้รู้วิธีเขียนที่ถูกต้องก็ควรฝึกเขียนให้ถูก เพราะบนโลกใบนี้ก็มีแต่คนไทยที่เป็นเจ้าของภาษาไทย ถ้าคนไทยยังเขียนผิดแล้วใครจะเขียนถูกล่ะคะ 🙂 และ 50 คำที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้น มีเวลาว่างลองหาหนังสือดีๆ อ่านดูวิธีการเขียน-เลือกใช้คำ หรือสงสัยการสะกดคำไหนก็เปิดพจนานุกรมให้หายสงสัยกันไปเลย รับรองว่าอีกหน่อยน้องๆ จะเป็นกูรูภาษาไทยเลยทีเดียว

           โดยเฉพาะน้องๆ ที่อยากเป็นนักเขียน(น้องๆ Dek-D.com อยากเป็นนักเขียนเยอะเลย) ผลงานของน้องๆ ต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อความออกมา การที่มีคนอ่านงานเขียนของเราก็เท่ากับมองเห็นทักษะการเขียนของเราด้วย ใช้ภาษาไทยถูกต้องคนก็ชื่นชม แต่ถ้าใช้ภาษาไทยผิดบ่อยๆ ก็ลดความน่าเชื่อถือของงานเราด้วยนะคะ พี่มิ้นท์ฝากทิ้งท้ายไว้เท่านี้ค่ะ^^

กลับไปอ่าน 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1 ) คลิก

เด็กดีดอทคอม :: ว้าว!! เครื่องตรวจจับรอยยิ้ม...แบบนี้ก็มีด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

  บทความอื่นๆ ในหมวดเคล็ดลับการเรียน

[NEW] คำศัพท์ ”คำยาก” แปลว่าอะไร? | คํา ไทย อ่าน ยาก – NATAVIGUIDES

บริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ ติดโพย (PopThai)

บริการ ติดโพย (PopThai)
เป็นบริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อความ ทีละประโยค หรือ เป็นหน้าเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละคำสองคำ
ระบบจะทำการแนบความหมายของคำหรือวลีภาษาต่างประเทศ
(ปัจจุบันสนับสนุน ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่นและเยอรมัน)
ติดกับเนื้อหานั้นๆ และจะแสดงผลความหมายเมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือคำหนึ่งๆ
ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของเวบภาษาต่างประเทศได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความหมายของคำจะปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านเอาเมาส์ไปวางบนคำหรือวลีที่มีอยู่ในพจนานุกรม
โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ

ดังตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

คุณสมบัติ / Features

  • แสดงความหมายของคำโดยอัตโนมัติ เพียงวางเมาส์ไว้บนคำที่ต้องการทราบความหมาย
  • สนับสนุนเวบหลากภาษา (ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน)
  • ค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหลายชุดพร้อมๆกัน ในฐานข้อมูลของ Longdo ได้แก่
    Lexitron2, Hope, Nontri, Longdo อังกฤษ-ไทย, Longdo เยอรมัน-ไทย เป็นต้น
  • แสดงได้ทั้งความหมายของคำเดี่ยว และคำผสม ได้อย่างถูกต้อง
    เช่น Secretary of State=รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ (ในภาพตัวอย่าง),
    High school=โรงเรียนมัธยมปลาย

  • แสดงความหมายของคำที่แปรรูปจากคำในพจนานุกรมได้ เช่น
    เมื่อวางเมาส์ไว้บนคำว่า executed/abusing ซึ่งไม่มีในพจนานุกรม
    เครื่องจะแสดงความหมายของคำว่า execute/abuse ให้โดยอัตโนมัติ
  • เรียกใช้งานได้ง่ายเพียงกดปุ่ม PopThai บน

    Longdo Toolbar

    เพื่อแนบความหมายหน้าจอที่เปิดชมอยู่ในขณะนั้น
  • แก้ไข Link ในหน้าที่แสดง เพื่อให้สามารถเปิดชม Link เหล่านั้นผ่านบริการ PopThai
    ได้ทันทีเช่นเดียวกัน
  • สนับสนุนบราวเซอร์ชั้นนำทั่วไป เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome, Safari, Konqueror, etc.
  • แสดง Link ให้ผู้ใช้ช่วยป้อนความหมายสำหรับคำที่ยังไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ใหม่: บริการ Vocabulary แสดงสรุปรายการคำศัพท์พร้อมความหมาย สำหรับพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก
    วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Vocabulary แทน PopThai. (PopThai ในโหมดปกติ จะเหมาะกับการใช้งาน on-line
    หน้าจอคอมพิวเตอร็ ส่วนบริการ Vocabulary เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพิมพ์รายการคำศัพท์และความหมายออกมาบนกระดาษไว้อ่าน off-line)
  • ใหม่: บริการ Pronunciation Guide แสดงคำอ่านของคำใน เว็บ หรือ text ที่ป้อนให้ ข้างบนคำนั้นๆ, นอกเหนือไป
    จากการแสดง pop-up ความหมาย. วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Pronunciation.
    ขณะนี้ใช้ได้กับภาษาอังกฤษ (แสดงคำอ่านภาษาอังกฤษ) และภาษาญี่ปุ่น (แสดง hiragana เหนือคันจิ). บริการนี้
    ใช้ extension ของ browser ที่ชื่อ Ruby ปัจจุบันมีแค่ IE browser ที่สนับสนุน ถ้าเป็น browser อื่นๆ จะเห็นคำอ่านปรากฎในวงเล็บแทน

วิธีใช้

ท่านสามารถป้อนเนื้อหาหรือ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แนบความหมายนี้ ในช่องใส่ข้อความค้นหาปกติ

หลังจากนั้นเลือกบริการที่ต้องการ (เช่น ถ้าป้อนข้อความ ให้เลือก PopThai (text) ถ้าป้อน URL ให้เลือก PopThai (URL)) ถ้าท่านไม่เลือกบริการ
ระบบจะเดาบริการที่ท่านต้องการ จากข้อความที่ท่านใส่เข้ามา (ว่าเป็นข้อความหรือเป็น URL) โดยอัตโนมัติ,
จากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จ

ในกรณีที่ท่านใส่ URL ระบบจะไปทำการดาวน์โหลดเนื้อหาของหน้านั้นๆ มาและแนบความหมาย พร้อมแก้ไขลิงค์ต่างๆ ให้เป็นผ่านบริการ PopThai เ
พื่อที่ว่าเมื่อท่านกดที่ลิงค์ใดๆ ต่อไปจากเพจนั้นๆ ก็จะมีการแนบความหมายมาให้ด้วยในทันที

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ท่านสามารถใช้ PopThai ผ่าน Longdo Toolbar โดยเมื่อท่านเปิดดูเว็บไซต์ใดๆ อยู่ตามปกติ และต้องการใช้บริการ PopThai สำหรับ
หน้านั้นๆ สามารถทำได้ทันที โดยคลิกที่ปุ่ม PopThai บน Toolbar รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านที่ Longdo Toolbar

คำเตือน ในกรณีของ URL นี้ ถึงแม้ทางผู้ดูแลระบบลองดูจะได้ทำการทดสอบกับหลายเว็บไซต์
แล้วก็ตาม ยังมีบางเว็บไซต์ที่ข้อมูลเวลาที่ระบบไปโหลดมาจะแตกต่างจากที่ท่านเปิดดูโดยใช้ browser โดยตรง โปรดระวังด้วย และไม่ควรใช้กับหน้าเว็บไซต์ที่
ต้องการความถูกต้องสูง)

Problems & TODO

  • inflected word support (German)
  • support HTTP POST
  • other foreign language support (Japanese, French)


ฝึกอ่านคำยาก ๙


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ฝึกอ่านคำยาก ๙

ข่าววันศุกร์ | ภาษาไทยไม่ยาก แต่ระวังใช้ผิด | ข่าวช่องวัน | one31


รวมคำผิดสุดฮาที่ถูกบันทึกไว้ในโลกโซเชียล แต่ละอันแล้วฮาท้องแข็ง…
รับชมข่าววันศุกร์ ที่ ช่องวัน31 ทุกวันศุกร์ 19.00 น.
———————————————
ดูฟรี คมชัด ทั่วไทย กับ
one31 ช่องวันของคุณ ทั้งวัน ทุกวัน
รับชมทางทีวี กด หมายเลข 31
ดูออนไลน์สดด้วย Live 24 ชั่วโมง ที่ www.one31.net/live
ดูย้อนหลัง ผ่าน youtube https://www.youtube.com/gmmonetv
อ่านข่าวสารเพิ่มเติม ที่ website http://www.one31.net/news
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “one31” ที่ : http://www.bit.ly/one31app

ข่าววันศุกร์ | ภาษาไทยไม่ยาก แต่ระวังใช้ผิด | ข่าวช่องวัน | one31

รวมประโยคเด็ด ๆ พูดแล้วลิ้นพันกัน


รวมประโยคเด็ด ๆ พูดแล้วลิ้นพันกัน

รวมประโยคเด็ด ๆ พูดแล้วลิ้นพันกัน

ชื่อไทยเริ่มยาก คนพากย์เริ่มฉิบหาย!


เชื่อว่าทุกคนต้องมีเพื่อนที่ \”ชื่อจริง\” ประหลาดๆ อ่านยากๆ
มันจะคิดมั้ย ว่ากำลังสร้างความฉิบหาย ให้ทุกวงการ!!!
Credit
เพลง \”ชื่อของเธอ\” จากอัลบั้ม \”สอนหนูครูโอเกะ\”
(หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม) รางวัลยอดเยี่ยมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปีการศึกษา 2550 ณ จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนวัดเกาะแก้ว บ้านแหลม
ดูแล้วชอบ อย่าลืม! กด subscribe \u0026 ติดตาม \u0026 ติดดาว เป็นกำลังใจให้ช่องเรา คลิกลิงค์นี้
YOUTUBE https://www.youtube.com/TypeThaibyTheBarn?sub_confirmation=1
FB https://fb.me/TypeThaiByTheBarn/
IGTV https://www.instagram.com/TypeThaiByTheBarn/
ดูคลิปสนุก ฮาๆ อื่นๆ ของช่องไท้ ไทย
รีบมาโกย! สุขแท้ๆ กับ \”ตู้ปันสุข\”
https://www.youtube.com/watch?v=FGoUqko_zxY
ถ้าเราพูดความจริง 1 วัน คนไทยจะได้ยินอะไรบ้าง
https://youtu.be/cssyOWCffqQ
\”ผู้นำ\”เจ๋ง เราจะรอดกันหมด!
https://www.youtube.com/watch?v=grKNu9US7qQ
คนเก่งๆในประเทศนี้ \”ที่ยืน\”เขาอยู่ตรงไหน?
https://www.youtube.com/watch?v=snkuhg4kEDc

ชื่อไทยเริ่มยาก คนพากย์เริ่มฉิบหาย!

คำว่าฮักกัน มันเหี่ยถิ่มไส – มนต์แคน แก่นคูน【OFFICIAL MV】


เพลง : คำว่าฮักกัน มันเหี่ยถิ่มไส
ศิลปิน : มนต์แคน แก่นคูน
อัลบั้ม : ชุดที่ 7 ให้เขารักเธอ เหมือนเธอรักเขา

Digital Download : 123 1043480 3
iTunes : https://itun.es/th/z0zpfb

สั่งซื้ออัลบั้มนี้จาก GMMShops ได้ที่ 4 ทางดังต่อไปนี้
1. Website : http://www.gmmshops.com หรือ http://bit.ly/moncanNum7
2. Line : @gmmshops
3. Inbox FB : m.me/gmmshops
4. Call Center : 026699999 10.0020.00 ทุกวัน

คำร้อง/ทำนอง สลา คุณวุฒิ
เรียบเรียง ปิยะวุฒิ ณ บางช้าง
อ้ายบ่อยากเซื่อสายตา
ว่าภาพตรงหน้าสิเป็นความจริง
ก็คนที่เคยสัญญา
คนบอกกันว่าบ่ตายสิบ่ทอดทิ้ง
กำลังกอดกันอิ้งติ้ง
กอดอิ้งติ้งอยู่กับ..ผู้อื่น
กะยกให้เพิ่นเบิดใจ
เมื่อคราวเคียงใกล้ร่วมใช้วันคืน
สิหยุดที่กันและกัน
หนักร่วมฝ่าฟันยากสิส่อยกันบืน
จังใด๋มากลายเป็นอื่น
มาเฮ็ดกันได้แท้น้อใจคน
แล้วคำว่า..ฮักกัน
มื้อนั่นมันเหี่ยถิ่มไส
แล้วคนที่ว่า..ฮักหลาย
มื้อนี่หัวใจเอาไผมาปน
แทบบ่มีแฮงหายใจ
ล้าหล่อยไปทั้งตัวตน
กลั้นใจฟังเหตุผล
ของคน..ที่เซาฮักกัน
อ้ายเคยโทษเขาเบิดแฮง
ว่าเขามาแย่งว่าเขาเป็นมาร
แต่เมื่อได้เห็นตำตา
จังได้ฮู้ว่า อ้ายโง่มาตั้งนาน
ที่แท้กะเป็นนำกัน
ถิ่มกันง่ายแท้หนอ..ใจคน
แล้วคำว่า..ฮักกัน
มื้อนั่นมันเหี่ยถิ่มไส
แล้วคนที่ว่า..ฮักหลาย
มื้อนี่หัวใจเอาไผมาปน
แทบบ่มีแฮงหายใจ
ล้าหล่อยไปทั้งตัวตน
กลั้นใจฟังเหตุผล
ของคน..ที่เซาฮักกัน
อ้ายบ่อยากฟังเหตุผล
ของคนที่เซาฮักกัน

❤︎ ติดตามอัพเดทผลงานศิลปิน ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/GrammyGoldpage
Instagram: https://www.instagram.com/grammygold_official
Youtube : https://goo.gl/6ysF5I
☎ ติดต่องานจ้างศิลปิน แกรมมี่โกลด์ โทร.0854847345

คำว่าฮักกัน มันเหี่ยถิ่มไส - มนต์แคน แก่นคูน【OFFICIAL MV】

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คํา ไทย อ่าน ยาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *