Skip to content
Home » [NEW] 48 เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ | blue day แปลว่า – NATAVIGUIDES

[NEW] 48 เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ | blue day แปลว่า – NATAVIGUIDES

blue day แปลว่า: คุณกำลังดูกระทู้

Quick Read Snacks

Table of Contents

48 เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

  • Writer: Montipa Virojpan

เพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทุกเพลงพระราชนิพนธ์นี้เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ทรงประพันธ์ทำนองโดยยืนพื้นจากดนตรีแจ๊ส จากนั้นจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระวโรกาสให้พระสหายหรือนักแต่งเพลงคู่บุญหลายท่านได้ร่วมสร้างสรรค์คำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งมี เพลงพระราชนิพนธ์  จำนวนหนึ่งที่พระองค์ทรงประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองด้วยพระองค์เอง

1. แสงเทียน หรือ Candle Light Blue

“ทำบุญทำทานกันไว้เถิดเกิดเป็นคน ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่”

เพลงบลูส์พระราชนิพนธ์ เพลงแรกครั้งเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ที่ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่ยังไม่โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้เผยแพร่ในเวลานั้นเพราะจะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอน จึงเผยแพร่ได้ในเวลาต่อมา โดยได้รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ

2. ยามเย็น หรือ Love at Sundown

“แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน ทุกวันคืนชื่นอุรา ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์ เหมือนดังนภาไร้ทินกร”

แม้จะเป็น เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงที่สอง แต่ก็เป็นเพลงแรกที่แผยแพร่สู่ประชาชน เพลงในจังหวะฟ็อกซ์ทร็อตที่ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน บรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ในปี 2489

3. สายฝน หรือ Falling Rain

“เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว ต้นไม้พลิ้วลู่กิ่งใบ”

เพลงที่สามนี้ทรงทดลองในจังหวะวอลท์ซ นิพนธ์คำร้องไทยโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และยังทรงแต่งเนื้อภาษาอังกฤษร่วมกับท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีรับสั่งถึงความลับของเพลงนี้ว่า “…เมื่อแต่งเป็นเวลา 6 เดือน ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้เขียนจดหมายถึง บอกว่ามีความปลาบปลื้มอย่างหนึ่ง เพราะไปเชียงใหม่ เดินไปตามถนนได้ยินเสียงคนผิวปากเพลงสายฝน ก็เดินตามเสียงไปเข้าไปในตรอกซอยแห่งหนึ่ง ก็เห็นคนกำลังซักผ้าแล้วก็มีความร่าเริงใจ ผิวปากเพลงสายฝนและก็ซักผ้าไปด้วย ก็นับว่าสายฝนนี้มีประสิทธิภาพสูงซักผ้าได้สะอาด…ที่จริงความลับของเพลงมีอย่างหนึ่ง คือเขียนไป 4 ช่วง แล้วก็ช่วงที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เสร็จแล้วเอาช่วงที่ 3 มาแลกช่วงที่ 2 กลับไป ทำให้เพลงมีลีลาต่างกันไป…เป็น 1 3 2 4…”

4. ใกล้รุ่ง หรือ Near Dawn

“ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง ฉันคอยมองจ้องฟ้าเรืองรำไร”

เพลงที่สี่ที่ได้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร มาประพันธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์เนื้อร้องภาษาอังกฤษเช่นเคย โดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลงครั้งแรกในวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ในปี 2489

5. ชะตาชีวิต หรือ H.M.Blues

“We’ve got the Hungry Men’s Blues. You’ll be hungry too, if you’re in this band.”

เพลงแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์หลังเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ และได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงพระนิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ

สำหรับเพลงนี้มีคนพยายามจะทายว่า H.M. ในชื่อเพลง แปลว่าอะไร ส่วนใหญ่จะคิดว่าย่อมาจาก His Majesty ‘s Blues ที่แปลว่าเพลงบลูส์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่จริง ๆ แล้ว H.M.Blues คือ Hungry Men’s Blues คือเพลงบลูส์ของผู้หิวโหยต่างหาก

ส่วนคำร้องภาษาไทย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์ต่างจากความหมายดั้งเดิมเพราะต้นฉบับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ และคำร้องภาษาฝรั่งเศส น.ส.เปรมิกา สุจริตกุล เป็นการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศสอีกที โดยใช้ชื่อเพลงว่า Pauvre Destin

6. ดวงใจกับความรัก หรือ Never Mind The Hungry Men’s Blues

“เปรียบดวงดาวและดวงเดือน ก็เหมือนแม้แววมโนรมย์ เปล่งแววไปเปลี่ยนใจชม ด้วยจินตนาอารมณ์นานาประการ”

ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษเป็นการตอบปริศนาคำทายที่ว่า H.M. แปลว่าอะไร ของเพลง H.M. Blues ส่วนคำร้องภาษาฝรั่งเศส ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ น.ส.เปรมิกา สุจริตกุล แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยใช้ชื่อเพลงว่า Soleil d’Amour

7. มาร์ชราชวัลลภ หรือ Royal Guards March 

“เราทหารราชวัลลภ รักษาองค์พระมหากษัตริย์สูงส่ง”

พระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม โดยมีพันตรี ศรีโพธิ์ ทศนุต แต่งคำร้องภาษาไทย แต่ต้องขอพระราชทานทำนองเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับคำร้องที่มีห้องเพลงยาวกว่าเดิม ซึ่งก็ได้พระเจนดุริยางค์มาช่วยตรวจทาน

8. อาทิตย์อับแสง หรือ Blue Day และ

“เคยชม ร่วมภิรมย์ใจ ด้วยความรักจริงยิ่งใหญ่ รักพันหัวใจเรามั่น”

9. เทวาพาคู่ฝัน หรือ Dream of Love Dream of You

“In Wonderland of love with you. The rainbow gleams and roses bloom.”

ทรงพระราชนิพนธ์ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย

ในงานเลี้ยง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงขับร้อง เพลงพระราชนิพนธ์ Blue Day และ Dream of Love Dream of You หลังพระกระยาหารค่ำ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระธำมรงค์หมั้นในวันนั้น

10. คำหวาน หรือ Sweet Words

“ชื่นอารมณ์สมปอง แว่วเพลงร้องคมคำ พลอดความรักเพ้อพร่ำ ด้วยถ้อยคำงามสม”

เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในระยะแรกที่เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนครทีได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ มานิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เป็นเพลงจังหวะเร็วกว่า เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับก่อน ๆ โดยมีความพิเศษในเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่มี verse 20 ห้อง แล้วนำเข้าสู่ท่อน refrain ที่มีเฉพาะในเพลงนี้เท่านั้น

11. มหาจุฬาลงกรณ์

“นิสิตพร้อมหน้า สัญญาประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง ผยองพระเกียรติเกริกไกร”



เพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ สุภร ผลชีวิน เป็นผู้ประพันธ์เนื้อเพลง เป็นเพลงแรกที่ใช้ทำนองแบบ pentatonic scale ต่อมา นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นำทำนองเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีทำนองเพลงสากลมาปรับปรุงให้มีทำนองไทยเดิมเพื่อใช้สำหรับเป็นเพลงโหมโรงก่อนการบรรเลงดนตรีไทย และบรรเลงถวายด้วยวงปี่พาทย์สองครั้ง นับเป็นเพลงไทยเพลงแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากเพลงไทยสากล ต่อมา เมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำ “เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์” มาสอนนิสิตชมรมดนตรีไทย และใช้เป็นเพลงโหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรม ฯ ตลอดมา

12. แก้วตาขวัญใจ

“If you love me as much as I love you, The whole world, dear, will be so fair”

เพลงนี้เป็นเพลงที่พระองค์ทรงนำเสียงหลายระดับในสเกลที่ต่างกันมาจัดวางได้อย่างไพเราะ และยังท้าทายผู้ร้องพอสมควร คือต้องเป็นคนหูไม่เพี้ยนเพราะมีการใช้ครึ่งเสียงอยู่หลายจุดในเพลงและต้องอาศัยความแม่นยำในการจำท่อนคำต่าง ๆ ด้วยโดยเพลงนี้ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

13. พรปีใหม่

“ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย”

ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรด้วยบทเพลง และได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานวงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ปี 2495

14. รักคืนเรือน หรือ Love Over Again

“สายลมแปรปรวนไปได้ ใฝ่พัดมาฝ่าพัดไป เปลี่ยนเหมือนใจคนเรา”

 

ประพันธ์คำร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อปี 2495

15. ยามค่ำ หรือ Twilights 

“When the day is blending with the night, life is so serene, a dusky screen covers the world.”

เพลง standard jazz นี้ยังคงได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แล้วได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สโมสรสราญรมย์ ปี 2495 เป็นเพลงที่เปลี่ยนคอร์ดและไล่โน้ตได้อย่างสง่างาม และอบอุ่น

16. ยิ้มสู้ หรือ Smiles

“ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้”

เพลงนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระประสงค์ที่จะให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทยเพื่อเป็นการปลอบขวัญและให้กำลังใจคนตาบอด โดยพระราชทานให้บรรเลงในงานสมาคมช่วยคนตาบอดในพระบรมชูปถัมภ์ ปี 2495 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นำบทกลอนชื่อ Smiles ในหนังสือ Bed Time Stories มาแปล และเรียบเรียงใหม่

17. มาร์ชธงไชยเฉลิมพล หรือ The Colours March

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแก่กองทัพไทย เพื่อใช้ในการเชิญธงไชยเฉลิมพลในพิธีการของกองทัพ

18. เมื่อโสมส่อง หรือ I Never Dream

“My life was like an endless journey night and day, like travelling through the night without the moon above”

เพลงนี้ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้บรรเลงในงานรื่นเริงประจำปี ของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สโมสรสวนสราญรมย์ เมื่อปี 2497 ต่อมาจึงได้ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาไทย

19. ลมหนาว หรือ Love in Spring

“อันความรักมักจะพาใจฝัน เมื่อรักนั้นสุขสมจิตปอง”

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เป็นผู้นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้บรรเลงครั้งแรกในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี ในปี 2497 ต่อมา ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยาแต่งคำร้องภาษาไทย

20. ศุกร์สัญลักษณ์ หรือ Friday Night Rag

“Friday night rag rag rag rag getty rag. One, two, three, four-miss a beat, One, two, three, four-play it neat”

ทรงพระราชนิพนธ์ใน 2497 เพื่อเป็นเพลงประจำวงลายคราม วงดนตรีแจ๊สส่วนพระองค์ ที่ทรงตั้งขึ้นหลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทย บรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส. (อัมพรสถาน) โดยคำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประพันธ์โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

21. Oh I Say

“Oh let me say, Just to say, What I’ll say”

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ บรรเลงครั้งแรกในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สโมสรสวนสราญรมย์ ในปี 2498

22. Can’t You Ever See

“Life is meaningless. I’d never find my happiness, Without you I would die”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เป็นผู้นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ บรรเลงครั้งแรกในงานรื่นเริงประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี ในปี 2498

23. Lay Kram Goes Dixie

เพลงพระราชทานแก่ วงลายคราม ซึ่งเป็นวงดนตรีแจ๊สส่วนพระองค์ บรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส.

24. ค่ำแล้ว หรือ Lullaby

“Evening’s nigh, soon the moon will sail across the sky. Time goes by, tiny stars will glimmer up on high”

เพลงนี้เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอิเล็กโทนเพลง Lullaby ขณะที่อ้อมพระกรข้างหนึ่งอุ้มสมเด็จพระเทพ ฯ อยู่ จนสมเด็จพระเทพ ฯ ทรงหลับไป ซึ่งเพลงนี้ก็ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษร่วมกับ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา โดยมีท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาไทย

25. สายลม หรือ I Think Of You

“โอ้ลมหนอลมพัดคืนวัน โบกโบยเพียงไหนกันพัดจนไม่รู้วันสงบเอย”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย บรรเลงครั้งแรกในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ในปี 2500

26. ไกลกังวล หรือ When หรือ เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย

“อยู่ไกลกังวลชนม์ชื่นฉ่ำ หาดทรายและน้ำนำไกลเศร้า”

 

เพลงนี้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับอยู่ที่วังไกลกังวล เพื่อพระราชทานให้เป็นเพลงประจำวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ได้ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายก่อนเลิกเล่นดนตรี บรรเลงครั้งแรกในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ในปี 2500 นายวิชัย โกกิลกนิษฐเป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทย ต่อมาจึงให้ Rual Maglapus อดีตสมาชิกวุฒิสภาของฟิลิปปินส์ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ จนปี 2514 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้องภาษาไทยในเพลงชื่อ เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนแผ่นดินไทยจากสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่น่าไว้วางใจ

27. แสงเดือน หรือ Magic Beams

“ชมแล้วชมเล่า เฝ้าชะแง้แลดู เพลินพิศเพลินอยู่ ไม่รู้ลืมเลือน”

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และได้อัญเชิญไปประกอบการแสดงบัลเล่ต์ในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อปี 2501 ต่อมาได้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ในปีเดียวกัน

28. ฝัน หรือ Somewhere Somehow หรือ เพลินภูพิงค์

“Somewhere within the lonely wide world. There must be a place that’s cozy, my little world.”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และนายศรีศักดิ์ พิจิตรวรการ ประพันธ์คำร้องเพลง ฝัน บรรเลงครั้งแรกในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาและสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อปี 2502 จนเมื่อปี 2509 เมื่อสมเด็จ พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถเริ่มเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ทรงประทับพระราชหฤทัยในความงามของภูมิทัศน์ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานทำนองเพลงนี้ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้อง เพลินภูพิงค์ ขึ้น

29. มาร์ชราชนาวิกโยธิน หรือ Royal Marines March

“รบรันฟันฟาดไม่ขลาดหวั่นไหว มีศึกมาใกล้ไม่หวั่นครั่นคร้ามริปู”

พล.ร.ต.สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธินในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำกรมนาวิกโยธิน ซึ่งได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทาน ประพันธ์คำร้องโดย พลเรือโทจตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และ พลเรือโทสุมิตร ชื่นมนุษย์ และบรรเลงครั้งแรกในปี 2502 โดยวงดนตรีประจำกองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกัน ประจำกองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนประเทศไทย

30. ภิรมย์รัก หรือ A Love Story

“With your love song, you taught me, dear. How to live, to feel, to see, to hear.”

เพลงนี้เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เอง โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ A Love Story และพลเรือตรี ปรีชา ดิษยนันทน์ ประพันธ์คำร้อง ภาษาไทย ภิรมย์รัก โดย A Love Story เป็นส่วนหนึ่งของ เพลงพระราชนิพนธ์ ชุด กินรี หรือ Kinari Suite ที่ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกอบการแสดงระบำบัลเล่ต์ชุด มโนห์รา มีวงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลงประกอบการแสดง ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร โดยทรงควบคุมการฝึกซ้อมด้วยพระองค์เอง

เพลงพระราชนิพนธ์ ชุดนี้ประกอบด้วย A Love Story, Nature Waltz, The Hunter และ Kinari Waltz

34. แผ่นดินของเรา หรือ Alexandra

“ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ เหมือนอยู่บ้านเรา ชื่นฉ่ำค่ำเช้าสุขทวี”

ทรงพระราชนิพนธ์โอกาสที่เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนท์ สหราชอาณาจักรเสด็จเยือนประเทศไทยในปี ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปรับด้วยพระองค์เองที่สนามบินดอนเมือง พระองค์ทรงประพันธ์ทำนองเพลงระหว่างที่รอเครื่องบินลงจอดภายในเวลาไม่กี่นาที จากนั้นก็ทรงส่งโน้ตให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประพันธ์เนื้อร้องให้ทันที และออกบรรเลงครั้งแรก ณ ศาลาผกาภิรมย์ สวนจิตรลดา ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถมีพระราชดำริว่าน่าจะใส่คำร้องภาษาไทยได้ จึงให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ประพันธ์คำร้องภาษาไทย แผ่นดินของเรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่า เพลง Alexandra นี้มีเพียง 16 ห้องเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมจนครบ 32 ห้องเพลง

35. พระมหามงคล

เพลงที่ผสมผสานสามจังหวะดนตรีทั้งฟอกซ์ทร็อต แท็งโก้ และแมมโบ้นี้ ทรงพระราชนิพนธ์ในปี 2502 พระราชทานแก่นายเอื้อ สุนทรสนาน ให้เป็นเพลงประจำวงสุนทราภรณ์เนื่องในวาระครบ 20 ปี นายเอื้อ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อเพลงว่า พระมหามงคล และได้อัญเชิญมาบรรเลงนำประจำวงสุนทราภรณ์มาจนทุกวันนี้

36. ยูงทอง

“ทรงธรรมปานดังตราชูเด่น ทรงเป็นดวงธรรมนำทางให้”

เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่แต่เดิมเป็นเพลงทำนองมอญดูดาว ที่ประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา จนปี 2504 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระองค์รับสั่งว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยพระราชทานให้แก่นักศึกษาธรรมศาสตร์ และทรงบรรเลงทำนองเพลงที่จะพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยนายจำนงราชกิจประพันธ์เนื้อร้องขึ้นตามที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ร่างไว้ ซึ่งชื่อ ยูงทอง มาจากหางนกยูงฝรั่งที่พระองค์ทรงปลูกไว้ห้าต้นที่หน้าหอประชุมใหญ่ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

37. ในดวงใจนิรันดร์ หรือ Still on My Mind

“When night’s curtain starts to fall and light fades away, my thoughts fly back to that day, you were so near.”

เพลงนี้เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองเป็นเพลงแรก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย

38. เตือนใจ หรือ Old-Fashioned Melody

“Now there’s no word that can say, I can’t tell you in anyway. Let me tell you with this Old-fashioned melody.”

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษในปี 2508 แล้วจึงให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทย

39. ไร้เดือน หรือ ไร้จันทร์ หรือ No Moon

“What do I care’ bout moonlight, I have your smile, love, that’s shining just as bright.”

อีกเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทย ไร้จันทร์ ส่วน ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยชื่อ ไร้เดือน

40. เกาะในฝัน หรือ Dream Island

“Like old time, we’d listen to the sea which is like music leading to ecstasy.”

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทย

41. แว่ว หรือ Echo

“Soft lights – Gliding through empty space ‘yond cloudy skies, remind me of your dear face and lovelight in your eyes.”

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย บรรเลงเป็นครั้งแรกโดยวงสุนทราภรณ์ในงานสังคีตมงคล ครั้งที่ 1 ณ บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในปี 2509

42. เกษตรศาสตร์

“เขียวนาป่าไพร แผ่นดินถิ่นไทย ไพบูลย์หนักหนา”

เพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้ประพันธ์คำร้องกล่าวไว้ว่า ท่านใช้เวลาแต่งเพลง ใกล้รุ่ง เพียงชั่วโมงครึ่ง แต่เพลงเกษตรศาสตร์นั้น เวลาผ่านไปเกือบปีหนึ่งยังไม่สามารถขึ้นต้นได้ เพราะเป็น เพลงพระราชนิพนธ์, เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเนื้อเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ดีเยี่ยม ผู้เขียนกลัวว่าจะไม่สามารถประพันธ์ได้ไพเราะใกล้เคียงกับเพลงดังกล่าว จนมีพระราชดำรัสถามถึง ทำให้ผู้เขียนต้องรีบประพันธ์ขึ้นมาให้ได้ เพลงนี้บรรเลงครั้งแรกในวันทรงดนตรีร่วมกับ KU Band เมื่อปี 2509 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

43. ความฝันอันสูงสุด หรือ The Impossible Dream

“จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง”

ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้รับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงาน เพื่ออุดมคติ เพื่อประเทศชาติ พระราชทานกลอนที่พิมพ์ใส่การ์ดใบเล็กแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี และกราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน ความฝันอันสูงสุด

44. เราสู้

“บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า”

นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ 4 บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้า ฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลง เราสู้ พระราชทานให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดน ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด 5 เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เสร็จแล้วพระราชทานให้ วง อ.ส.วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ ปี 2517 นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอิน และทรงแก้ไขอีกสองครั้งจนพอพระราชหฤทัย

45. เรา-เหล่าราบ 21 หรือ We-Infantry Regiment 21

“หลั่งเลือดโลมพสุธาปฏิญาณ แม้นภัยพาลรุกถิ่นแผ่นดินไทย”

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ให้ร้อยตำรวจโทวัลลภ จันทร์แสงศรี แต่งเนื้อเพลงให้แก่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ทหารเสือพระราชินี) แล้วนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพระราชทาน

46. Blues for Uthit

ทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายอุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา นักดนตรี วง อ.ส.วันศุกร์ ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2522 และได้พระราชทานให้วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ บรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส. ในสี่วันให้หลัง

47. รัก

“รักดาราส่องแสงสุกสว่าง รักน้ำค้างอย่างมณี มีโภคผล รักทั้งหมดทั้งสิ้นที่ได้ยล รักนวลนางรักจนหมดสิ้นใจ”

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถกราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงสำหรับกลอนสุภาพ 3 บท ที่สมเด็จพระเทพ ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา และให้วง อ.ส. วันศุกร์ บรรเลงทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ตลอดเดือนธันวาคม 2537 ต่อมาให้นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นำไปเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อทรงดนตรีร่วมกับวง อ.ส.วันศุกร์ในงานพระราชทานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ปี 2538 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และแจกคำร้องเพลง รัก แก่แขกผู้ได้รับเชิญทุกโต๊ะไว้ล่วงหน้า และเชิญแขกชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปร้อง เพลงพระราชนิพนธ์ บนเวที โดยทรงบรรเลงดนตรีนำด้วยพระองค์เอง และออกอากาศทาง จ.ส.100 เมื่อต้นปี 2538

48. เมนูไข่

“เมนูไข่เมนูไข่ อร่อยแท้อยากกิน”

ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อพระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ด้วยทรงรำลึกได้ว่า สมเด็จพระเชษฐภคินีโปรดเสวยพระกระยาหารที่ทำจากไข่ และทรงพบโคลงสี่ เมนูไข่ ที่สมเด็จพระเทพรัตน ฯ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ต่อมาพระราชทานให้พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช นำไปเรียบเรียงเสียงประสาน เพื่อให้วง อ.ส.วันศุกร์นำออกบรรเลงและขับร้องในงานพระราชทานเลี้ยงฉลองสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ ณ ศาลาดุสิตาลัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2538

บทความอ้างอิง
https://web.ku.ac.th/king72/2530/
http://www.oknation.net/blog/coma/2011/07/15/entry-2

สามารถรับฟังเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบนฟังใจได้แล้ววันนี้

[NEW] บทเพลงพระราชนิพนธ์ 5 ลำดับแรกของในหลวง ร.๙ องค์อัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่/บอน บอระเพ็ด | blue day แปลว่า – NATAVIGUIDES

อัครศิลปิน” แปลว่า “ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ” หรือ “ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน” เป็นพระราชสมัญญานามที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม หัตถศิลป์ วรรณศิลป์ ถ่ายภาพ และโดยเฉพาะด้านดนตรี ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น ทั้งแซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต เปียโน กีตาร์ เป็นต้น ทรงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่มีพระชนมายุ 13 พรรษา และทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงเมื่อมีพระชนมายุ 18 พรรษา

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีความรู้แตกฉานในทฤษฎีการประพันธ์ ทรงเป็นผู้นำการประพันธ์เพลงในเมืองไทยด้วยระบบแบบสากลสิบสองเสียง(Chromatic Scale) ที่มีตัว 7 โน้ตหลักกับ 5 ตัวโน้ตครึ่งเสียง(แฟลช-b,ชาร์ป #) ซึ่งเดิมนักประพันธ์เพลงบ้านเราส่วนใหญ่จะนิยมประพันธ์เพลงด้วยระบบตัวโน้ตห้าเสียง(Pentatonic Scale)ที่เป็นซุ่มเสียงสำเนียงแบบไทยๆดั้งเดิม(ไม่มีตัวโน้ตครึ่งเสียง)

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยท่วงทำนองที่แปลกใหม่ มีทางคอร์ดที่แปลกใหม่ซับซ้อน แต่สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างไพเราะประทับใจ

เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีทั้งเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง แล้วจึงใส่คำร้องด้วยพระองค์เอง ได้แก่ เพลง ”Still on My mind”(ในดวงใจนิรันดร์), “Old-Fashioned Melody”(เตือนใจ),“No Moon”(ไร้เดือน, ไร้จันทร์),“เกาะในฝัน”(Dream Island) และ “Echo”(แว่ว) เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากคำร้องภาษาไทยคือ “ความฝันอันสูงสุด”(คำร้อง : ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค) และ “เราสู้”(คำร้อง: นายสมภพ จันทรประภา) นอกจากนั้นก็เป็นเพลงที่พระองค์ท่านพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นมา แล้วโปรดเกล้าฯให้มีผู้แต่งคำร้องประกอบ

สำหรับบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีทั้งหมด 48 เพลง(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489-2538) และนี่ก็คือ 5 ลำดับแรกของบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ซึ่งไล่เรียงตามลำดับไป ได้แก่

แสงเทียน

แสงเทียน” หรือ “Candlelight Blues” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ขณะทรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ(ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย

แสงเทียน เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในท่วงทำนองบลูส์ แม้จะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก แต่เนื่องจากพระองค์ท่านทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอนให้ดีกว่าเดิม จึงยังไม่ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานให้นำออกบรรเลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานให้นำออกบรรเลงเป็นครั้งแรก จากนั้นในปี พ.ศ. 2496 นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ได้ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย

ยามเย็น

ยามเย็น” หรือ “Love at Sundown” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ

ยามเย็น เป็นงานทดลองในจังหวะฟ็อกซ์ทร็อต(จังหวะเต้นรำ)ที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น

ยามเย็น แม้จะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงที่ 2 แต่เป็นเพลงแรกที่ออกนำบรรเลงสู่ประชาชน โดยพระองค์ท่านทรงพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็นที่มีคำร้องสมบูรณ์ให้นายเอื้อ สุนทรสนาน นำออกบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

สายฝน

สายฝน” หรือ “Falling Rain” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ

สายฝน เป็นเพลงทดลองในจังหวะวอลซ์(3/4) เพลงนี้มีลีลานุ่มนวลอ่อนหวาน ไพเราะสวยงาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรเลงครั้งแรกโดยวงสุนทราภรณ์ ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เวทีลีลาศสวนอัมพร ในงานรื่นเริงของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย

เพลงสายฝนได้รับความนิยมอย่างสูงติดอันดับเพลงลีลาศยอดนิยมในสมัยนั้น(และเป็นหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ยอดนิยมต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน) ซึ่งมีพระราชกระแสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล่าถึงความลับของเพลงนี้ว่า

“…เมื่อแต่งเป็นเวลา 6 เดือน หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้เขียนจดหมายถึง บอกว่ามีความปลาบปลื้มอย่างหนึ่ง เพราะท่านไปเชียงใหม่ เดินไปตามถนนได้ยินเสียงคนผิวปากเพลงสายฝน ก็เดินตามเสียงไป เข้าไปในตรอกซอยแห่งหนึ่งก็เห็นคนกำลังซักผ้าแล้วก็มีความร่าเริงใจ ผิวปากเพลงสายฝนและก็ซักผ้าไปด้วย ก็นับว่าสายฝนนี้มีประสิทธิภาพสูงซักผ้าได้สะอาด…ที่จริงความลับของเพลงมีอย่างหนึ่ง คือเขียนไป 4 ช่วง แล้วก็ช่วงที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เสร็จแล้วเอาช่วงที่ 3 มาแลกช่วงที่ 2 กลับไป ทำให้เพลงมีลีลาต่างกันไป…เป็น 1 3 2 4…”

ใกล้รุ่ง

ใกล้รุ่ง” หรือ “Near Dawn” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงช่วยแก้ไข

เพลงใกล้รุ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลงครั้งแรก ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489

ชะตาชีวิต

ชะตาชีวิต” หรือ “H.M. Blues” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครบ 20 พรรษา ในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งนักเรียน ข้าราชการ และคนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองติดต่อกันหลายวัน

โดยในวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มีการตั้งวงเล่นดนตรีที่พระตำหนักวิลล่าวัฒนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงดนตรีด้วย ในงานมีการให้ทายชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่ H.M.Blues ว่า H.M. แปลว่าอะไร ผู้ที่จะทาย ต้องซื้อกระดาษสำหรับเขียนคำทายใบละครึ่งฟรังซ์ จุดประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับช่วยเหลือคนจน โดยวงดนตรีบรรเลงเพลงให้ผู้ร่วมงานเต้นรำโดยไม่หยุดพัก

ระหว่างเลี้ยงอาหารว่างตอนดึก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริร้องเพลงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ H.M. Blues เนื้อเพลงมีใจความว่า “คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เล่นดนตรี ต่างก็อิ่มหนำสำราญกัน แต่พวกเราที่กำลังเล่นดนตรีต่างก็หิวโหย และไม่มีแรงจะเล่นต่อไปอีกแล้ว”

ทั้งนี้ในงานไม่มีผู้ใดทายชื่อถูกเลยสักคนเดียว เพราะทุกคนต่างคิดว่า H.M. Blues ย่อมาจาก His Majesty ‘s Blues ซึ่งแปลว่าเพลงบลูส์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่แท้ที่จริงแล้ว H.M.Blues ย่อมาจาก Hungry Men’s Blues แปลว่าเพลงบลูส์ของผู้ที่หิวโหยต่างหาก

สำหรับเนื้อร้อง H.M.Blues ในภาษาไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้ประพันธ์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นคำร้องภาษาอังกฤษ ยังไม่ได้พระราชทานลงมา และเพราะต้นฉบับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ดร.ประเสริฐ จึงใส่คำร้องภาษาไทย ที่มีความหมายออกมาคนละอย่าง เป็นหนึ่งในเพลงที่มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจมาก

เพลงชะตาชีวิต หรือ H.M. Blues เป็นเพลงบลูส์ 12 ห้อง มีท่วงทำนองเรียบง่าย แต่จับอารมณ์ ถือเป็นหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกยกย่างว่ายอดเยี่ยมมากทั้งทำนอง-เนื้อร้อง โดย “Howard Robert” มือกีตาร์แจ๊ซระดับโลกได้กล่าวยกย่องเพลงนี้ว่า

…ครั้งแรกที่ได้ยินเพลงนี้ เขาไม่เชื่อว่านี่คือผลงานการพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยหรือชาวเอเชีย เพราะเพลงนี้คือเพลงบลูส์ ของคนผิวดำอย่างแท้จริง คนที่ทำได้ถึงขนาดนี้น่าจะเป็นคนผิวดำ เจ้าตำรับบลูส์เท่านั้น…

และนี่ก็คือบทเพลงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ 5 อันดับแรก ซึ่งนอกเหนือไปจาก 5 บทเพลงตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่น่าสนใจ อาทิ “ดวงใจกับความรัก” (Never Mind the Hungry Men’s Blues), “อาทิตย์อับแสง” (Blue Day), “เทวาพาคู่ฝัน” (Dream of Love Dream of You), “แก้วตาขวัญใจ” (Lovelight in My Heart), “แสงเดือน” (Magic Beams) และ “ความฝันอันสูงสุด” (The Impossible Dream) เป็นต้น

สำหรับบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้ง 48 เพลง หลายๆบทเพลงนอกจากจะมีความไพเราะสวยงาม มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจแล้ว ยังเป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี และคงเป็นความอมตะมาจนทุกวันนี้

รายบทเพลงพระราชนิพนธ์ ทั้ง 48 บทเพลง ไล่เรียงตามลำดับ มีดังนี้

1.แสงเทียน (Candlelight Blues) ปี พ.ศ. 2489

2. ยามเย็น (Love at Sundown) ปี พ.ศ. 2489

3. สายฝน (Falling Rain) ปี พ.ศ. 2489

4. ใกล้รุ่ง (Near Dawn) ปี พ.ศ. 2489

5. ชะตาชีวิต (H.M. Blues) ปี พ.ศ. 2490

6. ดวงใจกับความรัก (Never Mind the Hungry Men’s Blues) ปี พ.ศ. 2490

7. มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March) ปี พ.ศ. 2491

8. อาทิตย์อับแสง (Blue Day) ปี พ.ศ. 2492

9. เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You) ปี พ.ศ. 2492

10. คำหวาน (Sweet Words) ปี พ.ศ. 2492

11. มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn) ปี พ.ศ. 2492

12. แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart) ปี พ.ศ. 2492

13. พรปีใหม่ ปี พ.ศ. 2494

14. รักคืนเรือน (Love Over Again) ปี พ.ศ. 2495

15. ยามค่ำ (Twilight) ปี พ.ศ. 2495

16. ยิ้มสู้ (Smiles) ปี พ.ศ. 2495

17. มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March) ปี พ.ศ. 2495

18. เมื่อโสมส่อง (I Never Dream) ปี พ.ศ. 2495

19. ลมหนาว (Love in Spring) ปี พ.ศ. 2497

20. ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag) ปี พ.ศ. 2497

21. Oh I say ปี พ.ศ. 2498

22. Can’t You Ever See ปี พ.ศ. 2498

23. Lay Kram Goes Dixie ปี พ.ศ. 2498

24. ค่ำแล้ว (Lullaby) ปี พ.ศ. 2498

25. สายลม (I Think of You) ปี พ.ศ. 2500

26. ไกลกังวล,เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย(When) ปี พ.ศ. 2500

27. แสงเดือน (Magic Beams) ปี พ.ศ. 2501

28. ฝัน,เพลินภูพิงค์(Somewhere Somehow) ปี พ.ศ. 2502

29. มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March) ปี พ.ศ. 2502

30. ภิรมย์รัก (A Love Story) ปี พ.ศ. 2502

31. Nature Waltz ปี พ.ศ. 2502

32. The Hunter ปี พ.ศ. 2502

33. Kinari Waltz ปี พ.ศ. 2502

34. แผ่นดินของเรา (Alexandra) ปี พ.ศ. 2502

35. พระมหามงคล ปี พ.ศ. 2502

36. ยูงทอง ปี พ.ศ. 2506

37. ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind) ปี พ.ศ. 2508

38. เตือนใจ (Old-Fashioned Melody) ปี พ.ศ. 2508

39. ไร้เดือน,ไร้จันทร์(No Moon) ปี พ.ศ. 2508

40. เกาะในฝัน (Dream Island) ปี พ.ศ. 2508

41. แว่ว (Echo) ปี พ.ศ. 2508

42. เกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2509

43. ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream) ปี พ.ศ. 2514

44. เราสู้ ปี พ.ศ. 2516

45. เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21) ปี พ.ศ. 2519

46. Blues for Uthit ปี พ.ศ. 2522

47. รัก ปี พ.ศ. 2537

48. เมนูไข่ ปี พ.ศ. 2538

หมายเหตุ : -ข้อมูลบทเพลงพระราชนิพนธ์ 5 อันดับแรก อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย
-ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

” แปลว่า “” หรือ “” เป็นพระราชสมัญญานามที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม หัตถศิลป์ วรรณศิลป์ ถ่ายภาพ และโดยเฉพาะด้านดนตรี ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น ทั้งแซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต เปียโน กีตาร์ เป็นต้น ทรงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่มีพระชนมายุ 13 พรรษา และทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงเมื่อมีพระชนมายุ 18 พรรษาในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีความรู้แตกฉานในทฤษฎีการประพันธ์ ทรงเป็นผู้นำการประพันธ์เพลงในเมืองไทยด้วยระบบแบบสากลสิบสองเสียง(Chromatic Scale) ที่มีตัว 7 โน้ตหลักกับ 5 ตัวโน้ตครึ่งเสียง(แฟลช-b,ชาร์ป #) ซึ่งเดิมนักประพันธ์เพลงบ้านเราส่วนใหญ่จะนิยมประพันธ์เพลงด้วยระบบตัวโน้ตห้าเสียง(Pentatonic Scale)ที่เป็นซุ่มเสียงสำเนียงแบบไทยๆดั้งเดิม(ไม่มีตัวโน้ตครึ่งเสียง)นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยท่วงทำนองที่แปลกใหม่ มีทางคอร์ดที่แปลกใหม่ซับซ้อน แต่สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างไพเราะประทับใจเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีทั้งเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง แล้วจึงใส่คำร้องด้วยพระองค์เอง ได้แก่ เพลง ””(ในดวงใจนิรันดร์), “”(เตือนใจ),“”(ไร้เดือน, ไร้จันทร์),“”(Dream Island) และ “”(แว่ว) เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากคำร้องภาษาไทยคือ “”(คำร้อง : ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค) และ “”(คำร้อง: นายสมภพ จันทรประภา) นอกจากนั้นก็เป็นเพลงที่พระองค์ท่านพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นมา แล้วโปรดเกล้าฯให้มีผู้แต่งคำร้องประกอบสำหรับบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีทั้งหมด 48 เพลง(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489-2538) และนี่ก็คือ 5 ลำดับแรกของบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ซึ่งไล่เรียงตามลำดับไป ได้แก่” หรือ “” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ขณะทรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ(ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทยแสงเทียน เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในท่วงทำนองบลูส์ แม้จะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก แต่เนื่องจากพระองค์ท่านทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอนให้ดีกว่าเดิม จึงยังไม่ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานให้นำออกบรรเลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานให้นำออกบรรเลงเป็นครั้งแรก จากนั้นในปี พ.ศ. 2496 นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ได้ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย” หรือ “” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษยามเย็น เป็นงานทดลองในจังหวะฟ็อกซ์ทร็อต(จังหวะเต้นรำ)ที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้นยามเย็น แม้จะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงที่ 2 แต่เป็นเพลงแรกที่ออกนำบรรเลงสู่ประชาชน โดยพระองค์ท่านทรงพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็นที่มีคำร้องสมบูรณ์ให้นายเอื้อ สุนทรสนาน นำออกบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489” หรือ “” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษสายฝน เป็นเพลงทดลองในจังหวะวอลซ์(3/4) เพลงนี้มีลีลานุ่มนวลอ่อนหวาน ไพเราะสวยงาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรเลงครั้งแรกโดยวงสุนทราภรณ์ ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เวทีลีลาศสวนอัมพร ในงานรื่นเริงของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยเพลงสายฝนได้รับความนิยมอย่างสูงติดอันดับเพลงลีลาศยอดนิยมในสมัยนั้น(และเป็นหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ยอดนิยมต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน) ซึ่งมีพระราชกระแสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล่าถึงความลับของเพลงนี้ว่า“…เมื่อแต่งเป็นเวลา 6 เดือน หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้เขียนจดหมายถึง บอกว่ามีความปลาบปลื้มอย่างหนึ่ง เพราะท่านไปเชียงใหม่ เดินไปตามถนนได้ยินเสียงคนผิวปากเพลงสายฝน ก็เดินตามเสียงไป เข้าไปในตรอกซอยแห่งหนึ่งก็เห็นคนกำลังซักผ้าแล้วก็มีความร่าเริงใจ ผิวปากเพลงสายฝนและก็ซักผ้าไปด้วย ก็นับว่าสายฝนนี้มีประสิทธิภาพสูงซักผ้าได้สะอาด…ที่จริงความลับของเพลงมีอย่างหนึ่ง คือเขียนไป 4 ช่วง แล้วก็ช่วงที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เสร็จแล้วเอาช่วงที่ 3 มาแลกช่วงที่ 2 กลับไป ทำให้เพลงมีลีลาต่างกันไป…เป็น 1 3 2 4…”” หรือ “” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงช่วยแก้ไขเพลงใกล้รุ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลงครั้งแรก ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489” หรือ “” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครบ 20 พรรษา ในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งนักเรียน ข้าราชการ และคนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองติดต่อกันหลายวันโดยในวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มีการตั้งวงเล่นดนตรีที่พระตำหนักวิลล่าวัฒนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงดนตรีด้วย ในงานมีการให้ทายชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่ H.M.Blues ว่า H.M. แปลว่าอะไร ผู้ที่จะทาย ต้องซื้อกระดาษสำหรับเขียนคำทายใบละครึ่งฟรังซ์ จุดประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับช่วยเหลือคนจน โดยวงดนตรีบรรเลงเพลงให้ผู้ร่วมงานเต้นรำโดยไม่หยุดพักระหว่างเลี้ยงอาหารว่างตอนดึก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริร้องเพลงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ H.M. Blues เนื้อเพลงมีใจความว่า “คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เล่นดนตรี ต่างก็อิ่มหนำสำราญกัน แต่พวกเราที่กำลังเล่นดนตรีต่างก็หิวโหย และไม่มีแรงจะเล่นต่อไปอีกแล้ว”ทั้งนี้ในงานไม่มีผู้ใดทายชื่อถูกเลยสักคนเดียว เพราะทุกคนต่างคิดว่า H.M. Blues ย่อมาจาก His Majesty ‘s Blues ซึ่งแปลว่าเพลงบลูส์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่แท้ที่จริงแล้ว H.M.Blues ย่อมาจาก Hungry Men’s Blues แปลว่าเพลงบลูส์ของผู้ที่หิวโหยต่างหากสำหรับเนื้อร้อง H.M.Blues ในภาษาไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้ประพันธ์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นคำร้องภาษาอังกฤษ ยังไม่ได้พระราชทานลงมา และเพราะต้นฉบับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ดร.ประเสริฐ จึงใส่คำร้องภาษาไทย ที่มีความหมายออกมาคนละอย่าง เป็นหนึ่งในเพลงที่มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจมากเพลงชะตาชีวิต หรือ H.M. Blues เป็นเพลงบลูส์ 12 ห้อง มีท่วงทำนองเรียบง่าย แต่จับอารมณ์ ถือเป็นหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกยกย่างว่ายอดเยี่ยมมากทั้งทำนอง-เนื้อร้อง โดย “Howard Robert” มือกีตาร์แจ๊ซระดับโลกได้กล่าวยกย่องเพลงนี้ว่า…ครั้งแรกที่ได้ยินเพลงนี้ เขาไม่เชื่อว่านี่คือผลงานการพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยหรือชาวเอเชีย เพราะเพลงนี้คือเพลงบลูส์ ของคนผิวดำอย่างแท้จริง คนที่ทำได้ถึงขนาดนี้น่าจะเป็นคนผิวดำ เจ้าตำรับบลูส์เท่านั้น…และนี่ก็คือบทเพลงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ 5 อันดับแรก ซึ่งนอกเหนือไปจาก 5 บทเพลงตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่น่าสนใจ อาทิ “ดวงใจกับความรัก” (Never Mind the Hungry Men’s Blues), “อาทิตย์อับแสง” (Blue Day), “เทวาพาคู่ฝัน” (Dream of Love Dream of You), “แก้วตาขวัญใจ” (Lovelight in My Heart), “แสงเดือน” (Magic Beams) และ “ความฝันอันสูงสุด” (The Impossible Dream) เป็นต้นสำหรับบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้ง 48 เพลง หลายๆบทเพลงนอกจากจะมีความไพเราะสวยงาม มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจแล้ว ยังเป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี และคงเป็นความอมตะมาจนทุกวันนี้รายบทเพลงพระราชนิพนธ์ ทั้ง 48 บทเพลง ไล่เรียงตามลำดับ มีดังนี้หมายเหตุ : -ข้อมูลบทเพลงพระราชนิพนธ์ 5 อันดับแรก อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย-ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


อาทิตย์อับแสง (Blue Day) โดย วิตดิวัต พันธุรักษ์【เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8】


เพลงอาทิตย์อับแสง หรือ Blue Day ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาฟอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขณะยังทรงเป็นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ Blue Day พร้อมด้วย เพลงพระราชนิพนธ์ Dream of Love Dream of You หลังพระกระยาหารค่ำในงานเลี้ยง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระธำมรงค์หมั้นในวันนั้น
วิตดิวัต พันธุรักษ์ ขออัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์นี้มาขับร้อง เพื่อแสดงให้ทุกคนได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระองค์ท่าน
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม
http://www.facebook.com/warnermusicthailand
เพลงพระราชนิพนธ์ อาทิตย์อับแสง BlueDay

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

อาทิตย์อับแสง (Blue Day) โดย วิตดิวัต พันธุรักษ์【เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8】

BLUE DAY ขับร้องโดย จินตนา สุขสถิตย์


The Musical Compositions of His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand
บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
Sing by Jintana Suksathit
Arranged by Roger Herrera Jr.
\”His Majesty’s Songs, of course, have long been \”standards\” in the modern music of Thailand. They are sung and played on television, in nightclubs, and at local fairs; even little children hum them as lullabies for their dolls. And outside Thailand, His Majesty’s reputation as a musician is known far and wide, his admirers include some of the world’s greatest jazzmen; and on state and private visits abroad, his mere presence in a city has been known to cause ordinary jazz enthusiasts to spend hours standing in the street hoping to catch a glimpse of him.\”

BLUE DAY ขับร้องโดย จินตนา สุขสถิตย์

Waves- Fiji Blue [Lyrics+Vietsub]


“It’s a beautiful morning, don’t throw it away
If I gave you the sunset, you’d wish for the rain
Do you even notice what I’m tryna say?
If I gave you the ocean, you’d complain ’bout the waves”
Bản quyền về GIF và âm nhạc không thuộc về kênh. Mọi quyền thuộc về tác giả sở hữu.
I do not own the copyright of the GIF or the music. Contact [email protected] if you want me to take this off.
GIF: https://preview.redd.it/mucz66khxqc01.gif?format=mp4\u0026s=b4e9e2e789c4c1c43eb5527d0f4474dd82439b02
Waves Blue Fiji (Official Video): https://youtu.be/JCLPMoT8FRY

Waves- Fiji Blue [Lyrics+Vietsub]

อาทิตย์อับแสง : Blue Day : บทเพลงพระราชนิพนธ์


อาทิตย์อับแสง : Blue Day เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ในขณะที่ทรงประทับแรมอยู่บนภูเขา Davos ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงที่พระองค์ทรงเริ่มรู้จักชอบพอกับสม­เด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งยังทรงเป็น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และประทับอยู่เมืองโลซานน์ ซึ่งห่างไกลกัน เมื่อต้องทรงจากกันก็เปรียบเหมือนดัง \”อาทิตย์อับแสง\”
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยซึ่ง­มีความหมายใกล้เคียงกัน
เนื้อหาของเพลงกล่าวถึงความรัก โดยเปรียบเทียบกับธรรมชาติ ในยามที่ได้อยู่เคียงคู่กัน ท้องฟ้าดูสดใส ยามไกลกันดังอาทิตย์อับแสง แต่ก็ยังแฝงความหวังไว้ในตอนท้าย…. \”จวบจนทิวาเรืองงาม สบความรักยามคืนคง\” \”Again the sun will shine.That day I’ll make you mine\”
อาทิตย์อับแสง ถูกกล่าวขวัญถึงมาก เมื่อครั้งได้อัญ­เชิญให้เป็นเพลงประกอบละคร \”คุณชายรณพ­ีร์\” ซึ่งเป็นตอนหนึ่งจากละครเรื่อง \”สุภาพบุรุ­ษจุฑาเทพ\” ที่สร้างขึ้นมาในโอกาสครบรอ­บ 42 ปี ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

อาทิตย์อับแสง : Blue Day : บทเพลงพระราชนิพนธ์

บทเพลงพระราชนิพนธ์ \”อาทิตย์อับแสง (Blue Day)\”


\”อาทิตย์อับแสง (Blue Day)\”
บทเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 8
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรรเลงเปียโน พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ
บรรเลงไวโอลิน ณัฐพร ผกาหลง

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า
ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด

บทเพลงพระราชนิพนธ์ \

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ blue day แปลว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *