Skip to content
Home » [NEW] 4 ทักษะสู่การเป็นนักคาดการณ์ขั้นเทพ | crowded ขั้นกว่า – NATAVIGUIDES

[NEW] 4 ทักษะสู่การเป็นนักคาดการณ์ขั้นเทพ | crowded ขั้นกว่า – NATAVIGUIDES

crowded ขั้นกว่า: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

จรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab บริษัท เซอร์ทิส จำกัด

หากสังเกตให้ดี ชีวิตประจำวันของเราทุกคนมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล การทำนาย และการคาดการณ์ (prediction & forecasting) อยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวตลอดจนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา เช่น การคาดการณ์ว่าควรซื้อบ้านไหม ส่งลูกไปเรียนโรงเรียนไหนดี การคาดการณ์งบประมาณโครงการต่างๆ การประเมินความสามารถของผู้ที่เราจะจ้างงาน หมอวินิจฉัยโรคให้กับผู้ป่วย ตลอดจนการทำนายผู้มีโอกาสชนะการเลือกตั้งของสถาบันต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนสามารถคาดการณ์เรื่องต่างๆ ได้ แต่ทำอย่างไรจึงจะคาดการณ์ได้อย่างมีหลักการและได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ซึ่งคำตอบจะอยู่ในบทความนี้ครับ

เริ่มด้วย Wharton Professor Philip Tetlock จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้จัดทำ Good Judgement Project เพื่อศึกษาเรื่องการคาดการณ์เป็นระยะเวลา 4 ปี โดยมีการเปิดรับอาสาสมัครนักคาดการณ์กว่า 5,000 คน ให้มาร่วมคาดการณ์เรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่สงครามกลางเมืองของซีเรียไปจนถึงการเมืองของเกาหลีเหนือ ซึ่งผลปรากฏว่ากลุ่มคน 2% ที่ทำนายได้แม่นยำที่สุดสามารถคาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้แม่นยำกว่าบุคคลทั่วไปโดยเฉลี่ยถึง 65% และมากกว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกา 30%

สิ่งที่สังเกตได้จากกลุ่มคนจำนวน 2% นั้นหรือเราอาจเรียกว่าเป็นนักคาดการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญสูง (superforecaster) คือ พวกเขาไม่ได้จบปริญญาเอกหรือมีไอคิวสูงมาก และไม่ได้คาดการณ์จากการใช้ดวงเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขามีทัศนคติและความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เปิดกว้าง มีความถ่อมตน และรู้ว่าโลกที่เราอยู่นั้นซับซ้อน มีความระมัดระวังเพราะไม่มีอะไรแน่นอน มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบแก้ปัญหา มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา และเป็นคนที่ชอบตัวเลข

จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่านักคาดการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงที่อยู่ในสังคมนั้นจริงๆ มีความสำคัญมากกว่ากลุ่มคนที่ถูกคัดเลือกให้มาทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า กลุ่มปัญญาของฝูงชน (Wisdom of the Crowd)

Bill Flack นักคาดการณ์ระดับเทพ เขาเรียนจบด้านฟิสิกส์ และเคยเป็นนักดูนกที่ USDA (ทำหน้าที่คล้ายๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของเรา) เขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน Superforcasting Tournament ที่จัดโดยหน่วยงานวิจัยข่าวกรองของอเมริกา IARPA — The Intelligence Advanced Research Projects Activity ซึ่งใช้เวลาแข่งขันกันเป็นปี โดยมีโจทย์ให้คาดการณ์สถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมือง เช่น จะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นในญี่ปุ่น ใครจะชนะการเลือกตั้งในประเทศชิลี สงครามครั้งต่อไปในแอฟริกาจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งความเป็นจริงแล้ว Bill ไม่ได้รู้รอบทุกเรื่อง เขาเพียงรู้สึกสนุกที่จะได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ Bill เคยคาดการณ์ไว้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในชิลี แน่นอนว่าเขาไม่ได้มีความรู้ทางด้านนี้นัก เขาจึงต้องหาข้อมูลอย่างหนักเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ และนี่เองเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นนักคาดการณ์ที่เก่งเป็นอันดับต้นๆ

ผมขอยกตัวอย่างเทคนิคหลักๆ 4 ข้อ ที่นักคาดการณ์เก่งๆ หลายท่านใช้กัน ดังนี้

1.อย่าคิดฉาบฉวย เอาง่ายไว้ก่อน (Avoid System 1 Thinking Trap)

Daniel Kahneman นักจิตวิทยาที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และผู้แต่งหนังสือ “Thinking, Fast and Slow” แบ่งวิธีคิดและตัดสินใจของคนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ System 1 คือ การคิดเร็วโดยสัญชาตญาณอัตโนมัติ ในขณะที่ System 2 คือการค่อยๆ คิดไตร่ตรองและคิดวิเคราะห์ ยกตัวอย่างคำถามที่คนมักจะตอบผิดคือ “ไม้เทนนิสกับลูกเทนนิสทั้งสองอย่างมีราคารวม 1,100 บาท ถ้าไม้เทนนิสแพงกว่าลูกเทนนิส 1,000 บาท ลูกเทนนิสจะมีราคา 100 บาทใช่หรือไม่” หลายๆ คนอาจคิดว่าใช่ แต่ลองคิดดูให้ดีนะครับ (คำตอบคือไม่ใช่ 100 บาท แต่ผมขอไม่เฉลยวิธีคิดและลองให้ทุกท่านไปหาคำตอบกันดูนะครับ) นี่คือตัวอย่างของการที่เราใช้ System 1 หรือการคิดเร็ว ซึ่งอาจจะทำให้คำตอบผิดพลาดได้

คนส่วนมากพอเจอโจทย์ยากก็จะแทนสิ่งนั้นด้วยวิธีการง่ายๆ ทันที แต่คนที่เป็นนักคาดการณ์ระดับเทพจะมีความระมัดระวังและคิดรอบคอบ ไม่ให้เกิดการคิดแบบ System 1 Thinking ที่มากจนเกินไป เพื่อเป็นการลดคำตอบที่ผิดพลาดจากการคิดเร็วหรือคิดชั้นเดียว

2.เริ่มด้วยการตั้งคำถามให้ถูก (Asking the Right Question)

Bill Flack เคยคาดการณ์สถานการณ์พลาด เขาตั้งคำถามว่า “Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะเดินทางไปที่ศาลเจ้ายาสุคุนิในปี 2013 หรือไม่” โดยศาลเจ้านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้สูญเสีย 2.5 ล้านคนจากสงครามต่างๆ ของคนญี่ปุ่น ซึ่งกว่า 1,000 คนในนั้นเป็นอาชญากร การมีเจ้าหน้าระดับสูงอย่างนายกรัฐมนตรีไปแสดงความเคารพที่ศาลเจ้าอาจสร้างความความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนหรือเกาหลี ซึ่งเคยมีประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นกับประเทศญี่ปุ่นมาก่อนได้ ดังนั้น การไม่เดินทางไปที่นั่นอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด Bill จึงคาดการณ์ว่านายกฯ Abe จะไม่เดินทางไปที่นั่น แต่ผลกลับกลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์ไว้

Bill จึงกลับมาทบทวนอีกครั้ง ทำให้พบว่าการที่เขาคาดการณ์ผิดในครั้งนี้นั้นเกิดจากการที่เขาตั้งคำถามผิด เพื่อให้คำตอบที่ว่า “ไม่ไป” จะได้เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือมีความน่าจะเป็นสูง เขาควรจะตั้งคำถามว่า “หากเขาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะเดินทางไปที่ศาลเจ้ายาสุคุนิหรือไม่” เพราะการตั้งคำถามว่า “Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะเดินทางไปที่ศาลเจ้ายาสุคุนิหรือไม่” Bill ไม่ได้คิดถึงปัจจัยภายในว่า แท้จริงแล้ว นายกฯ Abe เดิมมีนิสัยแบบไหน มีทัศนคติและความคิดอย่างไร

3.คิดนอกแล้วคิดใน (Outside View → Inside View)

นักทำนายขั้นเทพมักจะเริ่มหาข้อมูลจากวงนอก ข้อมูลสถิติหรือหาข้อมูลที่เป็นฐาน (baseline) หรืออัตราพื้นฐาน (base rate) ที่จะช่วยให้เห็นความเป็นไปได้ก่อน สมมติว่า Tommy เด็กอเมริกันวัย 4 ปี อาศัยอยู่ในบ้านเล็กๆ กับพ่อ Frank และแม่ Mary คุณคิดว่า Tommy มีสุนัขอยู่ที่บ้านหรือไม่ สิ่งที่นักทำนายเริ่มทำก็คือค้นคว้าว่า ประชากรของอเมริกาที่มีสุนัขมีสัดส่วนเท่าใด หลังจากหาข้อมูลที่เป็น baseline (เป็นเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็น) แล้ว จึงเข้าไปคิดหาข้อมูลที่ใกล้ตัวจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ดูว่า Tommy เด็กเกินไปสำหรับที่จะดูแลสุนัขด้วยตัวเองไหม ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะช่วยปรับการทำนายให้ดีขึ้น

อีกตัวอย่างคือการทำนายว่า โอกาสที่คู่สมรสจะอยู่ด้วยกันมีมากน้อยแค่ไหน วิธีการเริ่มต้นด้วย outside view โดยดูว่าสัดส่วนช่วงวัยของคู่สมรสที่หย่าร้างเป็นอย่างไร แล้วจึงใช้ inside view ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคู่สมรสที่เราจะคาดการณ์ ถ้าสามีเป็นโรคจิต นักทำนายก็จะปรับความน่าจะเป็นว่าคู่นี้คงอยู่กันไม่นาน

โจทย์บางอย่างอาจจะไม่สามารถหาข้อมูล outside view ได้ เราอาจจะต้องประเมินจากตัวเลขโดยใช้เทคนิค Fermi method (ดูจากบทความ data literacy)

4.ผลคาดการณ์สามารถปรับเปลี่ยนได้

บางครั้งการคาดการณ์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ สิ่งที่คาดการณ์ไว้สามารถปรับเปลี่ยนได้ หากมีข้อมูลใหม่ที่มีประโยชน์เข้ามาเพิ่มเติม อย่างที่ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เคยพูดว่า คนที่ทำอะไรได้ถูกต้องมักจะเปลี่ยนใจและปรับความคิดบ่อย รวมถึงงานวิจัย “Small Steps to Prediction Accuracy” ของ Atanasov ที่ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ผลวิจัยพบว่านักคาดการณ์ที่แม่นยำจะปรับการคาดการณ์บ่อยครั้ง แต่จะปรับทีละนิดตามข้อมูลใหม่ที่ได้มา

หลักการพื้นฐานเหล่านี้บวกกับการพัฒนาโดยเอาข้อมูลที่เชื่อถือได้หลากหลายแหล่งมาประกอบการพิจารณาและปรับความเชื่อ ประเมินเป็นตัวเลขความน่าจะเป็น เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดี รวมถึงนำความรู้ทางประวัติศาสตร์และข้อมูลในอดีตเพื่อมาเป็นฐานในการตัดสินใจ จะทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้อย่างมีหลักการและผิดพลาดน้อย

ทั้งนี้ เรายังต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาฝีมือด้วย สุดท้ายนี้ ผมอยากให้ทุกท่านลองนำแนวคิดที่ผมได้แนะนำไปใช้กับการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามที่ดี แล้วมาแชร์ให้ผมฟังว่าเป็นอย่างไรกันบ้างนะครับ

References:

  • https://ar.casact.org/are-actuaries-superforecasting-material/
  • https://www.agriculture.com/news/technology/superforecasting-for-the-farm
  • https://www.omaha.com/columnists/hansen/hansen-superforecaster-s-success-begs-the-question-why-are-most/article_4f8a85ad-690f-520d-a688-4bbdb51f7cce.html
  • https://www.theguardian.com/global-development-professionals-network/2017/mar/06/forewarned-is-forearmed-learning-how-to-predict-the-future
  • https://goodjudgment.com/about/the-science-of-superforecasting/

  • https://www.researchgate.net/publication/330466683_Small_Steps_to_Prediction_Accuracy
  • https://www.cnas.org/publications/reports/getting-it-righter-faster
  • https://medium.com/west-stringfellow/superforecasting-the-art-and-science-of-prediction-review-and-summary-e075be35a936
  • https://www.gjopen.com/
  • https://pdfs.semanticscholar.org/4ec3/d7c9c7280604793e3477b70fbf342800c6ca.pdf
  • [NEW] 4 ทักษะสู่การเป็นนักคาดการณ์ขั้นเทพ | crowded ขั้นกว่า – NATAVIGUIDES

    จรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab บริษัท เซอร์ทิส จำกัด

    หากสังเกตให้ดี ชีวิตประจำวันของเราทุกคนมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล การทำนาย และการคาดการณ์ (prediction & forecasting) อยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวตลอดจนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา เช่น การคาดการณ์ว่าควรซื้อบ้านไหม ส่งลูกไปเรียนโรงเรียนไหนดี การคาดการณ์งบประมาณโครงการต่างๆ การประเมินความสามารถของผู้ที่เราจะจ้างงาน หมอวินิจฉัยโรคให้กับผู้ป่วย ตลอดจนการทำนายผู้มีโอกาสชนะการเลือกตั้งของสถาบันต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนสามารถคาดการณ์เรื่องต่างๆ ได้ แต่ทำอย่างไรจึงจะคาดการณ์ได้อย่างมีหลักการและได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ซึ่งคำตอบจะอยู่ในบทความนี้ครับ

    เริ่มด้วย Wharton Professor Philip Tetlock จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้จัดทำ Good Judgement Project เพื่อศึกษาเรื่องการคาดการณ์เป็นระยะเวลา 4 ปี โดยมีการเปิดรับอาสาสมัครนักคาดการณ์กว่า 5,000 คน ให้มาร่วมคาดการณ์เรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่สงครามกลางเมืองของซีเรียไปจนถึงการเมืองของเกาหลีเหนือ ซึ่งผลปรากฏว่ากลุ่มคน 2% ที่ทำนายได้แม่นยำที่สุดสามารถคาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้แม่นยำกว่าบุคคลทั่วไปโดยเฉลี่ยถึง 65% และมากกว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกา 30%

    สิ่งที่สังเกตได้จากกลุ่มคนจำนวน 2% นั้นหรือเราอาจเรียกว่าเป็นนักคาดการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญสูง (superforecaster) คือ พวกเขาไม่ได้จบปริญญาเอกหรือมีไอคิวสูงมาก และไม่ได้คาดการณ์จากการใช้ดวงเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขามีทัศนคติและความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เปิดกว้าง มีความถ่อมตน และรู้ว่าโลกที่เราอยู่นั้นซับซ้อน มีความระมัดระวังเพราะไม่มีอะไรแน่นอน มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบแก้ปัญหา มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา และเป็นคนที่ชอบตัวเลข

    จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่านักคาดการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงที่อยู่ในสังคมนั้นจริงๆ มีความสำคัญมากกว่ากลุ่มคนที่ถูกคัดเลือกให้มาทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า กลุ่มปัญญาของฝูงชน (Wisdom of the Crowd)

    Bill Flack นักคาดการณ์ระดับเทพ เขาเรียนจบด้านฟิสิกส์ และเคยเป็นนักดูนกที่ USDA (ทำหน้าที่คล้ายๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของเรา) เขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน Superforcasting Tournament ที่จัดโดยหน่วยงานวิจัยข่าวกรองของอเมริกา IARPA — The Intelligence Advanced Research Projects Activity ซึ่งใช้เวลาแข่งขันกันเป็นปี โดยมีโจทย์ให้คาดการณ์สถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมือง เช่น จะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นในญี่ปุ่น ใครจะชนะการเลือกตั้งในประเทศชิลี สงครามครั้งต่อไปในแอฟริกาจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งความเป็นจริงแล้ว Bill ไม่ได้รู้รอบทุกเรื่อง เขาเพียงรู้สึกสนุกที่จะได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ Bill เคยคาดการณ์ไว้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในชิลี แน่นอนว่าเขาไม่ได้มีความรู้ทางด้านนี้นัก เขาจึงต้องหาข้อมูลอย่างหนักเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ และนี่เองเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นนักคาดการณ์ที่เก่งเป็นอันดับต้นๆ

    ผมขอยกตัวอย่างเทคนิคหลักๆ 4 ข้อ ที่นักคาดการณ์เก่งๆ หลายท่านใช้กัน ดังนี้

    1.อย่าคิดฉาบฉวย เอาง่ายไว้ก่อน (Avoid System 1 Thinking Trap)

    Daniel Kahneman นักจิตวิทยาที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และผู้แต่งหนังสือ “Thinking, Fast and Slow” แบ่งวิธีคิดและตัดสินใจของคนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ System 1 คือ การคิดเร็วโดยสัญชาตญาณอัตโนมัติ ในขณะที่ System 2 คือการค่อยๆ คิดไตร่ตรองและคิดวิเคราะห์ ยกตัวอย่างคำถามที่คนมักจะตอบผิดคือ “ไม้เทนนิสกับลูกเทนนิสทั้งสองอย่างมีราคารวม 1,100 บาท ถ้าไม้เทนนิสแพงกว่าลูกเทนนิส 1,000 บาท ลูกเทนนิสจะมีราคา 100 บาทใช่หรือไม่” หลายๆ คนอาจคิดว่าใช่ แต่ลองคิดดูให้ดีนะครับ (คำตอบคือไม่ใช่ 100 บาท แต่ผมขอไม่เฉลยวิธีคิดและลองให้ทุกท่านไปหาคำตอบกันดูนะครับ) นี่คือตัวอย่างของการที่เราใช้ System 1 หรือการคิดเร็ว ซึ่งอาจจะทำให้คำตอบผิดพลาดได้

    คนส่วนมากพอเจอโจทย์ยากก็จะแทนสิ่งนั้นด้วยวิธีการง่ายๆ ทันที แต่คนที่เป็นนักคาดการณ์ระดับเทพจะมีความระมัดระวังและคิดรอบคอบ ไม่ให้เกิดการคิดแบบ System 1 Thinking ที่มากจนเกินไป เพื่อเป็นการลดคำตอบที่ผิดพลาดจากการคิดเร็วหรือคิดชั้นเดียว

    2.เริ่มด้วยการตั้งคำถามให้ถูก (Asking the Right Question)

    Bill Flack เคยคาดการณ์สถานการณ์พลาด เขาตั้งคำถามว่า “Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะเดินทางไปที่ศาลเจ้ายาสุคุนิในปี 2013 หรือไม่” โดยศาลเจ้านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้สูญเสีย 2.5 ล้านคนจากสงครามต่างๆ ของคนญี่ปุ่น ซึ่งกว่า 1,000 คนในนั้นเป็นอาชญากร การมีเจ้าหน้าระดับสูงอย่างนายกรัฐมนตรีไปแสดงความเคารพที่ศาลเจ้าอาจสร้างความความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนหรือเกาหลี ซึ่งเคยมีประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นกับประเทศญี่ปุ่นมาก่อนได้ ดังนั้น การไม่เดินทางไปที่นั่นอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด Bill จึงคาดการณ์ว่านายกฯ Abe จะไม่เดินทางไปที่นั่น แต่ผลกลับกลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์ไว้

    Bill จึงกลับมาทบทวนอีกครั้ง ทำให้พบว่าการที่เขาคาดการณ์ผิดในครั้งนี้นั้นเกิดจากการที่เขาตั้งคำถามผิด เพื่อให้คำตอบที่ว่า “ไม่ไป” จะได้เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือมีความน่าจะเป็นสูง เขาควรจะตั้งคำถามว่า “หากเขาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะเดินทางไปที่ศาลเจ้ายาสุคุนิหรือไม่” เพราะการตั้งคำถามว่า “Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะเดินทางไปที่ศาลเจ้ายาสุคุนิหรือไม่” Bill ไม่ได้คิดถึงปัจจัยภายในว่า แท้จริงแล้ว นายกฯ Abe เดิมมีนิสัยแบบไหน มีทัศนคติและความคิดอย่างไร

    3.คิดนอกแล้วคิดใน (Outside View → Inside View)

    นักทำนายขั้นเทพมักจะเริ่มหาข้อมูลจากวงนอก ข้อมูลสถิติหรือหาข้อมูลที่เป็นฐาน (baseline) หรืออัตราพื้นฐาน (base rate) ที่จะช่วยให้เห็นความเป็นไปได้ก่อน สมมติว่า Tommy เด็กอเมริกันวัย 4 ปี อาศัยอยู่ในบ้านเล็กๆ กับพ่อ Frank และแม่ Mary คุณคิดว่า Tommy มีสุนัขอยู่ที่บ้านหรือไม่ สิ่งที่นักทำนายเริ่มทำก็คือค้นคว้าว่า ประชากรของอเมริกาที่มีสุนัขมีสัดส่วนเท่าใด หลังจากหาข้อมูลที่เป็น baseline (เป็นเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็น) แล้ว จึงเข้าไปคิดหาข้อมูลที่ใกล้ตัวจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ดูว่า Tommy เด็กเกินไปสำหรับที่จะดูแลสุนัขด้วยตัวเองไหม ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะช่วยปรับการทำนายให้ดีขึ้น

    อีกตัวอย่างคือการทำนายว่า โอกาสที่คู่สมรสจะอยู่ด้วยกันมีมากน้อยแค่ไหน วิธีการเริ่มต้นด้วย outside view โดยดูว่าสัดส่วนช่วงวัยของคู่สมรสที่หย่าร้างเป็นอย่างไร แล้วจึงใช้ inside view ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคู่สมรสที่เราจะคาดการณ์ ถ้าสามีเป็นโรคจิต นักทำนายก็จะปรับความน่าจะเป็นว่าคู่นี้คงอยู่กันไม่นาน

    โจทย์บางอย่างอาจจะไม่สามารถหาข้อมูล outside view ได้ เราอาจจะต้องประเมินจากตัวเลขโดยใช้เทคนิค Fermi method (ดูจากบทความ data literacy)

    4.ผลคาดการณ์สามารถปรับเปลี่ยนได้

    บางครั้งการคาดการณ์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ สิ่งที่คาดการณ์ไว้สามารถปรับเปลี่ยนได้ หากมีข้อมูลใหม่ที่มีประโยชน์เข้ามาเพิ่มเติม อย่างที่ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เคยพูดว่า คนที่ทำอะไรได้ถูกต้องมักจะเปลี่ยนใจและปรับความคิดบ่อย รวมถึงงานวิจัย “Small Steps to Prediction Accuracy” ของ Atanasov ที่ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ผลวิจัยพบว่านักคาดการณ์ที่แม่นยำจะปรับการคาดการณ์บ่อยครั้ง แต่จะปรับทีละนิดตามข้อมูลใหม่ที่ได้มา

    หลักการพื้นฐานเหล่านี้บวกกับการพัฒนาโดยเอาข้อมูลที่เชื่อถือได้หลากหลายแหล่งมาประกอบการพิจารณาและปรับความเชื่อ ประเมินเป็นตัวเลขความน่าจะเป็น เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดี รวมถึงนำความรู้ทางประวัติศาสตร์และข้อมูลในอดีตเพื่อมาเป็นฐานในการตัดสินใจ จะทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้อย่างมีหลักการและผิดพลาดน้อย

    ทั้งนี้ เรายังต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาฝีมือด้วย สุดท้ายนี้ ผมอยากให้ทุกท่านลองนำแนวคิดที่ผมได้แนะนำไปใช้กับการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามที่ดี แล้วมาแชร์ให้ผมฟังว่าเป็นอย่างไรกันบ้างนะครับ

    References:

  • https://ar.casact.org/are-actuaries-superforecasting-material/
  • https://www.agriculture.com/news/technology/superforecasting-for-the-farm
  • https://www.omaha.com/columnists/hansen/hansen-superforecaster-s-success-begs-the-question-why-are-most/article_4f8a85ad-690f-520d-a688-4bbdb51f7cce.html
  • https://www.theguardian.com/global-development-professionals-network/2017/mar/06/forewarned-is-forearmed-learning-how-to-predict-the-future
  • https://goodjudgment.com/about/the-science-of-superforecasting/

  • https://www.researchgate.net/publication/330466683_Small_Steps_to_Prediction_Accuracy
  • https://www.cnas.org/publications/reports/getting-it-righter-faster
  • https://medium.com/west-stringfellow/superforecasting-the-art-and-science-of-prediction-review-and-summary-e075be35a936
  • https://www.gjopen.com/
  • https://pdfs.semanticscholar.org/4ec3/d7c9c7280604793e3477b70fbf342800c6ca.pdf

  • NuNew【Live Session】| Secret Base ~Kimi ga Kureta Mono~


    ฝาก Comment และ Share เพื่อกำลังใจด้วยน้าครับ : )
    Produced , Mixed , Mastered : Pinpin
    Exclusive Producer : Aoftionz

    Follow Us
    Twitter https://twitter.com/DomundiTV
    Facebook http://www.facebook.com/DoMunDiTv
    Instagram http://instagram.com/domunditv
    contact us และติดต่องาน
    [email protected]
    หรือ 0959199666
    ฝากพวกเราด้วยนะคร้าบ
    nunew secretbase dmdcover

    นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

    NuNew【Live Session】| Secret Base ~Kimi ga Kureta Mono~

    Chợ Chó Mèo Giá Bình Dân, Tha Hồ Lựa chọn Thú Cưng Yêu Thích | Chợ Quê Việt Nam


    Chợ quê Việt Nam xin giới thiệu các bạn địa chỉ Chợ Chó Mèo Giá Bình Dân để các bạn yêu thích thú cưng biết địa chỉ tham quan.
    Về lịch họp của phiên cho mèo chợ Bưởi thì một tháng có sáu phiên, ngày sáng ngày mồng 4 và ngày mồng 9 âm lịch là những ngày họp đông nhất, ngoài hai ngày này còn 4 ngày nữa là 14, 19, 24, 29 âm lịch.
    choquevietnam chochomeo

    Chợ Chó Mèo Giá Bình Dân, Tha Hồ Lựa chọn Thú Cưng Yêu Thích | Chợ Quê Việt Nam

    การเปรียบเทียบขั้นกว่า Comparative degree l ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ป.4-6


    แนะนำหลักการเปรียบเทียบขั้นกว่า ภาษาอังกฤษ Comparative degree เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ไวยากรณ์พื้นฐานที่ถูกต้อง
    เยี่ยมชม Blog ของเรา: https://goo.gl/JthDFX
    ติดตามช่องของเราได้ที่: https://goo.gl/Svd65u
    ============================================
    แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับเด็กๆ เพิ่มเติม
    ============================================
    ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ: https://goo.gl/EUg17d
    ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน: https://goo.gl/cFosez
    เพลงภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล: https://goo.gl/pv6srr
    วิธีนับเลขภาษาอังกฤษ: http://bit.ly/2nYNBAx
    คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล: http://bit.ly/2nYJBA2
    เกมส์ผ่อนคลายสมอง: https://goo.gl/TE4kJS
    คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สัตว์ต่างๆ: https://goo.gl/o7LmPY
    เพลงภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล: https://goo.gl/nxPQEj
    คำศัพท์ภาษาอังกฤษ รูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต: https://goo.gl/qpbF3q
    คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สี color: https://goo.gl/ZuE2YB
    เกมส์ฝึกภาษาอังกฤษ: https://gooXgl/Z7uE8G
    แอพเรียนภาษาอังกฤษ: http://bit.ly/2nsZE7Y

    การเปรียบเทียบขั้นกว่า Comparative degree l ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ป.4-6

    Common Mistakes with English Comparatives and Superlatives – English Grammar Lesson


    This English lesson will be a review of comparative and superlative adjectives and adverbs. We will take a look at exceptions and common mistakes. Then we will end with a quiz to test your understanding.
    DOWNLOAD my FREE guide and learn 6 ways to become a confident English speaker with my ‘Focused Listening’ method:
    https://start.anglolink.com/
    Join my Focused Listening Bootcamp today:
    https://bit.ly/2TmyCSg
    Our website:
    https://anglolink.com
    Support us on Patreon: https://www.patreon.com/anglolink
    Social Media:
    Facebook: http://facebook.com/AngloLink
    Twitter: http://twitter.com/AngloLink
    Enjoy!

    Common Mistakes with English Comparatives and Superlatives - English Grammar Lesson

    แก๊งตัวจิ๋วสู้แมงมุมยักษ์ #2 | Grounded


    grounded
    LINE STICKER \”zbing z. friend\” เวอร์ชั่นใหม่มาพร้อมเจ้านาซ่าและซิมบ้าสุดป่วน\r
    สติกเกอร์ดุ๊กดิ๊ก+เสียงพากษ์สุดน่ารักของพี่แป้ง ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลย http://lin.ee/r9gSHl9/sknj/ow\r
    \r
    สติกเกอร์เวอร์ชั่นแรก https://store.line.me/stickershop/product/1480015\r
    \r
    ขอบคุณเพื่อนๆ น้องๆ ทุกคนที่ช่วยอุดหนุนพี่แป้งนะคะ\r
    \r
    ช่วยกด like \u0026 share + Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่แป้งกันด้วยนะคะ\r
    contact me :: [email protected]\r
    \r
    ขอให้สนุกกับคลิปนะคะ :3\r
    \r
    ซื้อสินค้าของพี่แป้ง zbing z. มีทั้งเสื้อ หมวก กระเป๋า และของอื่นๆ ได้ที่นี่ https://goo.gl/R4XXeY\r
    \r
    \r
    ติดตามแป้งได้ที่\r
    ♥ Facebook http://www.facebook.com/zbingzee\r
    ♥ Fan page http://www.facebook.com/zbingch\r
    ♥ Instagram http://www.instagram.com/zbingz\r
    ♥ Youtube http://www.youtube.com/zbingzbin­g\r
    \r
    ด้วยรัก ♥\r
    zbing z\r
    \r
    สมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับ Online Station เพื่อช่วยพัฒนาให้ช่อง Youtube ของคุณเติบโตขึ้น http://caster.onlinestation.net\r
    ­­\r
    ::: สนใจติดต่อโฆษณาหรือสปอนเซอร์ :::\r
    ติดต่อทีมงาน Online Station (เฉพาะเรื่องงานเท่านั้น)\r
    โทร : 028595171\r
    อีเมล์ : [email protected]\r
    \r
    INTRO SONG\r
    Sparks (feat. Corey Saxon)\r
    Music by Epidemic Sound (http://www.epidemicsound.com)\r
    \r
    zbingz

    แก๊งตัวจิ๋วสู้แมงมุมยักษ์ #2 | Grounded

    นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

    ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ crowded ขั้นกว่า

    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *