Skip to content
Home » [NEW] ไทยมี TCAS ระบบแซดๆ ที่เด็กหลั่งน้ำตา มาดูกันว่าประเทศอื่นเขาใช้ระบบไหนคัดเด็กเข้ามหา’ลัย | มหา ลัย ที่ เกาหลี – NATAVIGUIDES

[NEW] ไทยมี TCAS ระบบแซดๆ ที่เด็กหลั่งน้ำตา มาดูกันว่าประเทศอื่นเขาใช้ระบบไหนคัดเด็กเข้ามหา’ลัย | มหา ลัย ที่ เกาหลี – NATAVIGUIDES

มหา ลัย ที่ เกาหลี: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Table of Contents

งวดเข้ามาแล้วกับการประกาศผล TCAS รอบที่ 4 ที่เด็กเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2561 รอคอย หลังจากผ่าน TCAS รอบ 3 ซึ่งกลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องความล้มเหลวของระบบคัดเลือก เพราะมีเด็กจำนวนมากที่เคว้งคว้างยังไม่มีที่เรียนในการยื่นคะแนนรอบที่ผ่านมา และแม้ว่าระบบใหม่อย่าง TCAS เกิดขึ้นเพราะเจตนาดีที่อยากจะช่วยให้ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเอื้อกับเด็กไทยมากขึ้น แต่ไปๆ มาๆ ก็ดูจะเป็นปัญหากว่าเดิม

 

Young MATTER อยากชวนไปดูระบบแอดมิชชั่นของต่างประเทศ ว่าเขามีวิธีการที่เหมือนหรือต่างจากเรายังไง ปัญหาอะไรบ้างที่เด็กเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยบ้านเขาต้องเผชิญ รวมทั้งระบบคัดเลือกมหาวิทยาลัยมีผลกระทบกับเด็กขนาดไหน เมื่อโอกาสของชีวิตขึ้นอยู่กับเดิมพันครั้งนี้

 

ฟินแลนด์ การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก แต่ละมหาวิทยาลัยเลือกเด็กจากคะแนนข้อสอบกลาง

ฟินแลนด์มีระบบ University Admissions Finland (UAF) ที่เปิดให้เด็กยื่นสมัครเพื่อเลือกคณะที่ต้องการ 6 อันดับ แล้วให้แต่ละมหาวิทยาลัยคัดเลือกจากคะแนนสอบ The Finnish Matriculation Examination ที่บังคับให้เด็กฟินแลนด์สอบแค่ 4 วิชา และนักเรียนสามารถสอบวิชาอื่นเพิ่มตามคณะที่ตัวเองสนใจ โดยเกรดเฉลี่ยรวมตอนมัธยมจะไม่ถูกนำมาใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

ข้อสอบ The Finnish Matriculation Examination มีความพิเศษคือ ไม่ได้แค่วัดความรู้ทางวิชาการ แต่วัดผลความสามารถในด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาในต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น อย่างเช่นทักษะการอ่าน อีกทั้งยังมีการทดสอบความสามารถของเด็กในการรับมือกับประเด็นต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การเมือง สงคราม หรือโภชนาการอาหาร เป็นต้น

ตัวอย่างข้อสอบ

การศึกษาของฟินแลนด์ขึ้นชื่อว่าเป็นระบบศึกษาที่ดีที่สุดของโลก จากการจัดอันดับของ The World Economic Forum ช่วงห่างของคะแนนต่ำสุดสูงสุดของนักเรียนห่างกันน้อยมาก และนักเรียนมีระดับความเครียดต่ำ ทั้งหมดนี้สำเร็จได้เพราะระบบการศึกษาของฟินแลนด์ที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรครู ครูที่ฟินแลนด์มีรายได้สูง มีอัตราครูหนึ่งคนต่อนักเรียนแค่ 17 คน และครูมีชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่ำ ทำให้มีเวลาวางแผนการสอนที่เหมาะสมต่อนักเรียนแต่ละคนได้ จึงทำให้การพัฒนานักเรียนของฟินแลนด์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สหราชอาณาจักร แต่ละมหาวิทยาลัยคัดเลือกเด็กจากเกรด A-Level

ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของอังกฤษไม่มีการคัดเลือกจากส่วนกลาง แต่มหาวิทยาลัยจะคัดเด็กเอง ซึ่งเด็กอังกฤษจะต้องยื่นสมัครคณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการ 5 อันดับในระบบ UCAS โดยสิ่งที่ต้องยื่นในการสมัครคือ เกรดจากการวัดผลความรู้พื้นฐานส่วนกลาง (A-Level) จดหมายแนะนำตัว และหนังสือรับรองจากโรงเรียน จากนั้นมหาวิทยาลัยจะพิจารณารับตามความเหมาะสม โดยนักเรียนหนึ่งคนมีโอกาสผ่านคัดเลือกจากทั้ง 5 มหาวิทยาลัย และเด็กคนนั้นสามารถเลือกได้อีกครั้งว่าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยไหนมากที่สุด

การคัดเลือกด้วยวิธีนี้ เด็กอังกฤษจะต้องยื่นใบสมัครพร้อมเกรดภายในช่วงมกราคมของทุกปี ส่งผลให้เด็กบางส่วนที่ยังไม่มีเกรด A-Level ต้องขอใช้เกรด ที่มาจากการคาดคะเนล่วงหน้า ซึ่งมีแค่ 45% เท่านั้นที่เกรดล่วงหน้าจะตรงกับเกรด A-Level จริง กรณีนี้จึงเป็นปัญหาเพราะว่าเกรด A-Level มีผลอย่างมากในการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย

 

ฝรั่งเศส ยกเลิกระบบจับสลากเข้ามหาวิทยาลัย

ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแต่เดิมของฝรั่งเศสนั้น ‘ไม่มีการคัดเลือก’ เพราะตามกฎหมายของฝรั่งเศสนักเรียนทุกคนที่เรียนจบและได้ใบรับรองการศึกษาจะมีสิทธิ์เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศสได้เลย ยกเว้นบางคณะที่มีความต้องการเรียนสูงและรับเด็กได้จำกัด ก็จะคัดนักเรียนด้วยวิธีการจับสลากโดยไม่อิงคะแนนเกรด (Lottery System) อย่างเช่น คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตว์แพทย์

มีสถิติที่น่าตกใจจากระบบคัดเลือกเดิมของฝรั่งเศสที่ว่า 60% ของนักศึกษาปีหนึ่งในมหาวิทยาลัยทั่วฝรั่งเศส ไม่สามารถที่จะเรียนต่อในชั้นปีถัดไปได้ ซึ่งไม่นานมานี้รัฐบาลของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงได้ยกเลิกระบบจับสลากและอนุญาตให้บางคณะจำกัดจำนวนนักศึกษา และใช้ระบบคัดเลือกนักศึกษาได้

ซึ่งการยกเลิกระบบเดิมทำให้นักศึกษาฝรั่งเศสบางส่วนออกมาต่อต้านว่าการคัดเลือกนี้ขัดกับกฎหมายและริดรอนสิทธิของพวกเขา เพราะการคัดเลือกผู้เข้าเรียนจากเกรดหมายถึงการไม่เคารพในความเท่าเทียมในการคัดเลือก

 

สหรัฐอเมริกา บางครั้งการศึกษาก็มาในรูปแบบของหนี้ก้อนโต

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอเมริกานั้นใช้ระบบการรับตรง ซึ่งผู้สมัครจะต้องยื่นประวัติผลการเรียน และผลสอบของข้อสอบกลางหรือ Standardized Test ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็น SAT และ ACT ตามแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด โดยข้อสอบ SAT จะเป็นการสอบวัดการอ่านการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถทางคณิตศาสตร์ ส่วนข้อสอบ ACT นั้น จะเป็นการสอบที่ประเมินความรู้จากหลักสูตรพื้นฐาน ซึ่งข้อสอบจะเป็นปรนัย ที่วัดทั้ง การอ่าน ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการเขียนเรียงความ

มากกว่า 70% ของนักศึกษาอเมริกานอกจากได้ใบปริญญาแล้ว ยังได้หนี้ก้อนโตมาด้วย นักศึกษาจบใหม่จะมีหนี้เฉลี่ยทางการศึกษาต่อคนมากถึง 37,172 ดอลลาร์ (1.2 ล้านบาท) อีกทั้งยังพบว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 44 ล้านคนเป็นหนี้การศึกษารวมกันถึงเกือบ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งนั่นหมายความว่า 1 ใน 4 ของชาวอเมริกันกำลังจ่ายหนี้จากการศึกษาอยู่

 

จีน ระบบโควต้าสร้างความไม่เท่าเทียมระหว่างจังหวัด

ปีหนึ่งๆ ประเทศจีนมีเด็กเกือบ 10 ล้านคนที่เข้าสอบ Gaokao ข้อสอบกลางเพื่อคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของจีน ซึ่งการสอบนี้เป็นการสอบที่มีความหมายกับเด็กจีนทุกคน รวมถึงพ่อแม่ที่คาดหวังอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดชีวิตของเด็ก ทั้งอาชีพการงาน ฐานะทางสังคม และสถานะทางการเงิน

Gaokao จัดสอบขึ้นสามวันในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี มีการสอบวิชาพื้นฐานและวิชาเลือก เมื่อสอบเสร็จและประกาศผลคะแนนแล้ว เด็กจีนจะพิจารณาคะแนนที่ได้กับคณะที่ต้องการเรียน 4-6 อันดับ เพื่อยื่นกับหน่วยงานคัดเลือกกลางของจีน

กฎหนึ่งของ Gaokao ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ คือ ความเสียเปรียบของระบบโควต้ามหาวิทยาลัย ที่มีให้เด็กแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน เด็กที่จะสอบ Gaokao ต้องสอบในจังหวัดภูมิลำเนาของตัวเองเท่านั้น ทำให้จังหวัดที่มีเด็กเข้าสอบจำนวนมากแต่โควต้าน้อยกว่าเสียเปรียบ อีกทั้งในแต่ละจังหวัดข้อสอบก็ไม่ได้เป็นชุดเดียวกัน ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยก็มีคะแนนพิเศษให้กับเด็กชนบท เด็กในเมืองจึงต้องใช้คะแนนที่สูงมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมระหว่างเด็กในแต่ละพื้นที่ โดยในปี 2012 จีนก็ได้มีการเพิ่มโควต้าให้เด็กในชนบทเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมนี้

 

อินเดีย สอบเยอะ แข่งขันสูง นำไปสู่ความเครียดและตัดสินใจฆ่าตัวตาย

การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของอินเดียมีหลากหลายวิธี หลากหลายข้อสอบ และแตกต่างกันในแต่ละคณะ เช่น หากต้องการเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องสอบถึง 5 ข้อสอบ

อินเดียยังมีระบบโควต้ารับนักเรียนในแต่ละเขตไม่เท่ากัน ทำให้เด็กอินเดียบางส่วนที่แม้จะสอบได้คะแนนสูงก็ไม่สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ ซึ่งเด็กอินเดียก็เรียกร้องให้รัฐเข้ามาจัดการกับปัญหานี้ โดยให้รัฐกดดันมหาวิทยาลัยให้เปิดที่นั่งเพิ่มเพื่อรับเด็กเหล่านี้

อินเดียมีสถิตินักเรียนฆ่าตัวตายที่สูงมาก ในปี 2014-2016 มีนักเรียนอินเดียฆ่าตัวตายถึง 26,000 คน (สถิติจากกระทรวงต่างประเทศของสภาล่างอินเดีย) เนื่องมาจากบรรยากาศการเรียนที่มีการแข่งขันสูง รวมถึงสภาพสังคมที่กดดันให้เด็กต้องประสบความสำเร็จด้านการศึกษา ส่งผลให้เด็กอินเดียมีความเครียดสูงและกลัวสอบตก ทำให้นำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตายของเด็กอินเดียจำนวนมาก

 

เกาหลีใต้ อ่านหนังสือกันจนไม่ได้นอนแต่ก็ยังไม่มีที่เรียน

ขั้นตอนการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของเด็กเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ ระบบรับตรง และ ระบบรับกลาง ในส่วนของระบบรับตรงมีอยู่ 3 วิธีการด้วยกันคือ การยื่นเกรดของโรงเรียน การยื่นพอร์ตกิจกรรม และการสอบเขียนเรียงความ ส่วนระบบรับกลางที่เรียกว่า Suneung หรือ CSAT (The College Scholastic Ability Test) เป็นการสอบที่มีการจัดขึ้นแค่ปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งรอบรับตรง เด็กจะสามารถเลือกยื่นได้ถึง 6 มหาวิทยาลัย ส่วนการสอบกลาง สามารถยื่นได้ 3 มหาวิทยาลัย

มีผลการสำรวจเมื่อปี 2011 จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีออกมาว่า เฉลี่ยแล้วเด็กมัธยมปลายในเกาหลีใต้ได้นอนแค่ประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่งต่อคืน และมีแนวโน้มจะได้นอนน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงการสอบ เพราะเชื่อว่าชั่วโมงการอ่านที่มากขึ้นหมายถึงโอกาสผิดพลาดที่น้อยลง มีการรายงานว่า ช่วงสอบเด็กเกาหลีมีการติวลากยาวกันถึงเที่ยงคืน ซึ่งภายหลังรัฐบาลเกาหลีถึงกับต้องออกกฎว่า ให้เปิดสอนพิเศษได้ถึงแค่ 4 ทุ่มเท่านั้น นั่นก็หมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่จะหายไปจากตลาด แน่นอนว่ามีผู้ฝ่าฝืนมากมาย เพราะไม่ใช่แค่ตัวสถาบันติวเท่านั้น ตัวเด็กเองก็ดูเต็มใจที่จะเสียทั้งเงินและเวลา(นอน) เรียนพิเศษเพื่ออนาคตที่สดใส

การสอบ Suneung แทบจะเป็นตัวกำหนดชีวิตในอนาคตของเด็กในสังคมเกาหลี  ผลสอบที่ออกมาเปรียบได้ดังกุญแจที่สามารถกำหนดทั้งมหาวิทยาลัย และหน้าที่การงานในอนาคต ดังนั้นการสอบจึงเป็นเดิมพันที่สูงมากสำหรับเด็กคนหนึ่ง เพราะครอบครัวและสังคมที่แข่งขันสูง ความเครียดและความกดดันจากการสอบนี้เองดูจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อการฆ่าตัวตายของเยาวชนเกาหลี

ในปี 2016 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีรายงานว่า การฆ่าตัวตายได้กลายเป็นสาเหตุการตายหลักของเยาวชนเกาหลี  ซึ่งความเคร่งเครียดจากระบบการศึกษาก็ดูจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสถิติอันน่าเศร้านี้ ดังนั้นการสอบ Suneng จึงเปรียบเป็นดั่งเชือกที่พาผู้ใช้ปีนไปให้ถึงฝั่งฝัน พร้อมกันนั้นก็สามารถปลิดชีวิตผู้ปีนเมื่อมิอาจไปถึงฝั่งฝันเช่นกัน

 

ทุกระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศที่กล่าวมาล้วนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น และไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบครั้งใด คนที่ต้องก้มหน้ารับผลที่ตามมาก็คือเยาวชนของชาติ เพราะผลพวงนั้นเกี่ยวพันใหญ่หลวงกับชีวิตของพวกเขา ทุกบาดแผลจากความผิดพลาดนั้นก็ไม่ได้ตกอยู่ที่ใคร นอกจากตัวเด็กเอง ฉะนั้นระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยที่กุมอนาคตของเด็กทุกคนไว้ จึงไม่ควรจะเป็นแค่ผลของการทดลองอันผิดพลาด ที่มาจากการออกแบบอย่างขาดความรอบคอบของผู้ใหญ่

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

educationusa.state.gov

koreaherald.com

aljazeera.com

cnbc.com

cbsnews.com

reddit.com

english.yonhapnews.co.kr

qz.com

washingtonpost.com

universityadmissions.fi

theglobaleconomy.com

smithsonianmag.com

independent.co.uk

en.wikipedia.org

nottingham.edu.cn

theatlantic.com

theguardian.com

thelocal.fr

globalyoungvoices.com

 

Content by Punyapa Prasarnleungwilai and Pasis Putubtim
Illustration by Sairung Rungkitjaroenkan
Share this article


[NEW] 10 มหา’ลัยที่มีความโดดเด่น ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สุดในเอเชีย | มหา ลัย ที่ เกาหลี – NATAVIGUIDES

สำหรับน้องๆ เพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมองหาที่เรียนต่อในระดับปริญญาตรี โท และเอก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่นั้น บทความนี้เราได้คัด 10 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อด้านนี้ในทวีปเอเชียมาฝากกัน ซึ่งในแต่ละสถาบันการศึกษานั้นก็มีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่แพ้กันเลย แถมยังมีบรรยากาศที่น่าเรียนเป็นอย่างมากอีกด้วย ไปดูกันซิว่ามหาวิทยาลัยที่เด่นในด้านนี้จะเป็นที่ไหนกันบ้าง?

10 มหาวิทยาลัยด้านวิทย์-เทคโนฯ

มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

1. มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

(National Taiwan University-NTU) ประเทศไต้หวัน

เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่มีชื่อเสียงมากสุดในประเทศไต้หวัน มีวิทยาเขตกลางตั้งอยู่ในนครไทเป และจัดว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในไต้หวันจากการรายงานของ QS University Ranking 2015-2016 มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันอยู่ในลำดับที่ 70 ของโลกอีกด้วย

สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

2. สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

(Tokyo Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น

สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ไทเทค หรือ โตเกียวเทค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1881 ในชื่อ “วิทยาลัยอาชีวศึกษาโตเกียว” (Tokyo Vocational School) และต่อมาในปี ค.ศ. 1929 ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ และตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2004 ได้แปรรูปเป็นกึ่งเอกชนภายใต้กฎหมายใหม่ ซึ่งประกาศใช้กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติทุกแห่งทั่วประเทศ โดยที่โตเกียวเทคเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงมากและใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

สถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี

3. สถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี

(Korea Advanced Institute of Science & Technology-KAIST) ประเทศเกาหลีใต้

ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1981 โดยการรวมเอาสถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์เกาหลี (Korea Advanced Institute of Science, KAIS) กับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี (Korea Institute of Science and Technology, KIST) มารวมเข้าด้วยกันเป็น KAIST ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเดียวที่ดูแลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนที่จะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ จุดประสงค์ของสถาบันก็คือ ผลิตนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีความสามารถสูง เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ และจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยให้สถาบันอื่นๆ ชาวเกาหลีใต้โดยทั่วไปยอมรับว่า KAIST เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในประเทศ และรับนักเรียนที่มีพรสวรรค์จากโรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ KAIST ยังได้รับการยอมรับจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไรในสหรัฐอเมริกาที่รับรองคุณภาพหลักสูตรการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ว่า KAIST เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเกาหลี ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 10% แรกของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

Tsinghua University

4. มหาวิทยาลัยชิงหวา

(Tsinghua University) ประเทศจีน

เป็นมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อตั้งขึ้นปี ค.ศ. 1911 บริเวณสวนของราชวงศ์ชิง โดยเงินบริจาคของรัฐบาลแมนจู ด้วยการเสนอของประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและมติของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จากเงินอุดหนุนการช่วยเหลือสมัยเหตุการณ์กบฏนักมวย รู้จักกันดีในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดหนึ่งในสองแห่งของจีน ชิงหวามีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนสองคน ได้แก่ หู จิ่นเทา และ สี จิ้นผิง

ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “มหาวิทยาลัยที่มั่งคั่งที่สุดทางการเงิน” ด้วยงบประมาณสนับสนุนทางการศึกษาและการวิจัยจากการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยจำนวน 100 แห่งในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน ด้วยงบประมาณ 1.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ อีกทั้งได้รับฉายาว่า “MIT แห่งเมืองจีน” จากชื่อเสียงของวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถเทียบเคียงสถาบันการศึกษาชื่อดังของสหรัฐอเมริกาอย่างสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ได้ และเป็น “มหาวิทยาลัยที่มีการจ้างงานบัณฑิตสูงสุด” อันดับที่หนึ่งของทวีปเอเชีย และอันดับที่เก้าของโลกในปี 2016 โดยในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชิงหวา ยังติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก อยู่ในอันดับที่ 24 ของโลก ประจำปี 2016-2017 โดย QS World University Rankings

University of Hong Kong-HKU

5. มหาวิทยาลัยฮ่องกง

(University of Hong Kong-HKU) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

HKU ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกของทวีปเอเชียและอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลกในปัจจุบัน มีชื่อเสียงในความเป็นเลิศด้านวิชาการ หลักสูตรการวิจัยระดับโลก เครือข่ายความสัมพันธ์และการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม ด้วยทำเลที่ตั้งอันดีเยี่ยมทั้งในด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ฮ่องกงจึงเป็นประตูเชื่อมระหว่างความเป็นตะวันออกและตะวันตกมาอย่างยาวนาน ด้วยการผสมผสานข้อดีของทั้งสองด้าน HKU สามารถสร้างชื่อเสียงจากพื้นฐานมรดกตกทอดอันมั่งคั่งพร้อมๆไปกับการพัฒนาด้านการวิจัยและวิชาการในระดับแนวหน้า

มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล

6. มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล

(Seoul National University-SNU) ประเทศเกาหลีใต้

เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีวิทยาเขตหลักตั้งอยู่ในเขตควันอัก (Gwanak-gu) ทางตอนใต้ของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาและการวิจัยของเกาหลีใต้ โดยเป็น 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในเกาหลีใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกาหลีและมหาวิทยาลัยย็อนเซ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคอกโครัลลีไซมอนส์ประจำปี 2015-2016 ได้จัดลำดับให้มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลอยู่ในอันดับที่ 36 ของโลก และอันดับที่ 1 ของเกาหลีใต้

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

7. มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

(Peking University) ประเทศจีน

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เป่ยต้า” เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของจีน 1 ใน 9 (C9 League) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชิงหวา เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ชั้นนำของรัฐที่มีชื่อเสียง มีสถาปัตยกรรมแบบจีนที่โดดเด่น และในปัจจุบันมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีน และจากการจัดลำดับโดย Qs University Ranking มหาวิทยาลัยปักกิ่งอยู่ในลำดับที่ 39 ของโลก และลำดับ 9 ในเอเชีย

มหาวิทยาลัยเคียวโตะ

8. มหาวิทยาลัยเคียวโตะ

หรือเรียกย่อว่า เคียวได (Kyoto University) ประเทศญี่ปุ่น

เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ มหาวิทยาลัยเคียวโตะ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ที่เมืองเคียวโตะ ในจังหวัดเคียวโตะ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งก็ได้ผลิตนักวิทยาศาสตร์ออกมาอย่างมากมาย

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

9. มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

(National University of Singapore-NUS) ประเทศสิงคโปร์

เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของสิงคโปร์ และยังเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสิงคโปร์ จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (King Edward VII College of Medicine) ในปี พ.ศ. 2448 และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในเอเชีย จากการศึกษาของ QS World University Rankings อยู่ในลำดับที่ 12 ของโลก และลำดับ 1 ในทวีปเอเชีย

มหาวิทยาลัยโตเกียว

10. มหาวิทยาลัยโตเกียว

หรือเรียกย่อว่า โทได (The University of Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น

เป็นมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ได้แก่ ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอีกด้วย

——————————————————

ข้อมูลและภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.kaist.edu, www.chemistry2011.org, www.oia.ntu.edu.tw, www.parentingheadline.com, www.usnews.com, www.tsinghuajournals.org, www.10minuteswith.com, www.interscholarship.com, stbooking.co


แนะนำ10สถาบันสอนภาษาเกาหลีในโซล! อยากเรียนที่โซล เรียนที่มหาลัยไหนไหนดีนะ? – SeoulMinburigirl


สวัสดีค่ะ
หลังจากที่ได้รับชมซีรีส์รีวิวการมาเรียนภาษาเกาหลีที่สถาบันสอนภาษาเกาหลีของมหาวิทยาลัยโคเรียกันไปแล้วนะคะ
ก็เคยมีคุณผู้ชม ส่งข้อความเข้ามาพูดคุยกันบ้างนะคะว่า
นอกจากสถาบันสอนภาษาเกาหลีของมหาวิทยาลัยโคเรียที่เราเคยเรียนแล้ว
มีข้อมูลสถาบันสอนภาษาเกาหลีที่ไหนอีกบ้าง
เพราะฉนั้นคลิปนี้ก็จะมาพูดถึง สถาบันสอนภาษาเกาหลีของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในโซล 10 แห่งด้วยค่ะ
มีอะไรอยากพูดคุยหรือสอบถามเพิ่มเติม คอมเมนต์ไว้ได้เลย
ขอให้เพลิดเพลินค่ะ
Twitter : Seoulgenyjubu
IG : SeoulMinburigirl
Email : [email protected]
BGM Thanks to ..
Artist : 오늘의 일기
Title : 청소를 해요
Link : https://youtu.be/7tazHtSFXg8

Music Provided by 음악팀 (TeamMusicCreative)
Track : Playful Children https://youtu.be/rhDy8Ym4oT8​

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

แนะนำ10สถาบันสอนภาษาเกาหลีในโซล! อยากเรียนที่โซล เรียนที่มหาลัยไหนไหนดีนะ? - SeoulMinburigirl

Vlog 1 day w/me In โรงเรียนนานาชาติ🌷🖇


ใครมีคำถามทิ้งไว้ได้เลยนะค้าบ📍

Ig:mmookxy_
Tiktok:Mooktamotary

Vlog 1 day w/me In โรงเรียนนานาชาติ🌷🖇

1 Day in American High School🇺🇸 | นักเรียนแลกเปลี่ยน | Sasa’s


•Camera
DJI osmo pocket
Iphone11
•Editing
Ipad air
KineMaster
•My social media
instagram : Sa_tnp
Facebook: Sasa’s
•Contact me
Email: [email protected]

1 Day in American High School🇺🇸 | นักเรียนแลกเปลี่ยน | Sasa’s

(SUB) 여고생의 학교가는 날 아침부터 밤까지 24시간 밀착 VLOG ⏰ 고3의 수능 D-7📝학교가기 전 아침 일상 | korean high school vlog


🌷 instagram:@way_1009
💌 business contact : [email protected]

🌷 product
클렌징기기포레오 루나 미니2
고데기보다나 소프트바 판고데기
렌즈오렌즈 스페니쉬 써클 그레이
쿠션릴리바이레드 코튼 블러 쿠션 21호
블러셔3ce 무드레시피 페이스 블러쉬 mono pink
립웨이크메이크 루즈건 제로 에어 립스틱 2호
아우터디스커버리 부클 하이넥 자켓 (여) 베이지,100
바지오프위 타입라운드 와이드롱팬츠
노트북맥북 프로 15인치 2019년형
노트북 거치대 비프렌드 노트북 거치대 IM1000

🌷 영상 자막 번역 도와주세요,감사합니다 🙂
/Caption translation help 🙂
/映像字幕翻訳を手伝ってください!
: http://www.youtube.com/timedtext_cs_panel?c=UCTQk7LiUV26XIeHgsbtdJw\u0026tab=2

🌷 QnA
phone iphone x 256
camera canon 200D / canon g7x mark 2 /VIXIA mini X
edit final cut pro x
🌷 선물 보내는 곳 주소 입니다 🙂
/ Send a gift to WAY Address 🙂
/プレゼント送る住所です!
: 서울특별시 마포구 월드컵로10길 56 (서교동)
56, World Cupro 10gil, Mapogu, Seoul, Republic of Korea
04004

🌷 본 영상의 저작권은 ‘웨이채널 WAY CHANNEL’에게 있습니다
/ The copyright of the video is owned by ‘WAY CHANNEL’

🎵BGM
Dear Autumn Ikson
Music by Ikson Soundcloud : https://soundcloud.com/ikson
Music Playlist by http://reurl.kr/1992B33EPM
Walk Ikson
Music by Ikson Soundcloud : https://soundcloud.com/ikson
Music Playlist by http://reurl.kr/1992B33EPM
24시간밀착브이로그학교브이로그학교가기전GRWMGRWM
학교가기전아침일상고3의학교브이로그수능전학교브이로그VLOG한국고등학생일상

(SUB) 여고생의 학교가는 날 아침부터 밤까지 24시간 밀착 VLOG ⏰ 고3의 수능 D-7📝학교가기 전 아침 일상 | korean high school vlog

10 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2019 by Bambi


คราวนี้แบมบี้พามาดูเรื่องการศึกษากันบ้างนะคะ กับ 10 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
แต่ละที่ดูขลังๆ สมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดจริงๆค่ะ
ถ้าชอบใจคลิปของแบมบี้ ช่วยกด Subscribe กด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แบมบี้ด้วยนะคะ
และเพื่อนๆ สามารถติดตามแบมบี้ได้ที่ Facebook Bambi World https://www.facebook.com/bambiworldranking นะคะ

10 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2019 by Bambi

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ มหา ลัย ที่ เกาหลี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *