Skip to content
Home » [NEW] ‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ คือ อะไร What is ‘Southeast Asia’? | อังกฤษอยู่ทวีปอะไร – NATAVIGUIDES

[NEW] ‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ คือ อะไร What is ‘Southeast Asia’? | อังกฤษอยู่ทวีปอะไร – NATAVIGUIDES

อังกฤษอยู่ทวีปอะไร: คุณกำลังดูกระทู้

 

 

คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “Southeast Asia” จัดว่ามีความหมายที่หลากหลายตามแต่ความรู้ความเข้าใจของผู้สันทัดกรณีในแต่ละศาสตร์

โดยทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ดินแดนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีสัณฐานคล้ายคลึงกับรูปสามเหลี่ยม เริ่มจากพื้นที่ทางตอนใต้ของจีนตัดตรงไปยังชายฝั่งตอนเหนือของออสเตรเลีย จากนั้นจึงเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ตอนใต้ของอินเดีย แล้วจึงวกกลับไปยังตอนใต้ของจีน จากสภาพภูมิลักษณ์ดังกล่าว อาณาบริเวณที่อยู่ภายในดินแดนสามเหลี่ยม ซึ่งประกอบด้วย เขตภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก รวมถึงเขตหมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ คือดินแดนที่เรียกโดยรวมว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบางบริเวณภายในพื้นที่ดังกล่าวที่ถือว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ เกาะไหหลำ ปาปัวนิวกินี ศรีลังกาและบังคลาเทศ ซึ่งในทางเขตแดนและวัฒนธรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งของจีน ออสเตรเลีย-โอเชียเนีย และ เอเชียใต้ ตามลำดับ

สำหรับในแวดวงรัฐศาสตร์ คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หมายถึง พื้นที่ทางการเมืองซึ่งประกอบด้วยรัฐต่างๆ จำนวน 11 รัฐ ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาราม และติมอร์ตะวันออก โดยแต่ละรัฐล้วนมีพัฒนาการทางการเมืองและรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ระบอบคอมมิวนิสต์ในลาวและเวียดนาม ประชาธิปไตยในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ หรือแม้กระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในบรูไน

ส่วนในทางการเมืองระหว่างประเทศ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ถือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ “อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1967 โดยมีลักษณะเป็นการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยรัฐต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนทั้งสิ้น 10 รัฐ ยกเว้นติมอร์ตะวันออกซึ่งอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์และยังไม่ได้รับการตอบรับให้เป็นสมาชิกถาวรของอาเซียน

สำหรับในแวดวงเศรษฐศาสตร์และการลงทุน คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หมายถึง พื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ในโซนมรสุมเขตร้อน (Monsoon) และประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย อาทิ ผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและสินแร่นานาชนิด โดยอาณาบริเวณดังกล่าวมักเต็มไปด้วยรูปแบบโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัว อาทิ สังคมนิยมในเวียดนาม ลาวและเมียนมาร์ในช่วงสงครามเย็น หรือ ทุนนิยมในไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์

ส่วนในแง่ศิลปวัฒนธรรม “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” มักหมายถึงดินแดนที่อยู่ระหว่างอู่อารยธรรมอันเก่าแก่ของโลก ซึ่งได้แก่ อารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน ขณะเดียวกัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังจัดเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์วรรณา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในเมียนมาร์ ไทย ลาวและกัมพูชา ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์และติมอร์ตะวันออก ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ในมาเลเซีย บรูไนและอินโดนิเซีย ตลอดจนความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของเมืองพุกาม(พม่า) พระนคร(กัมพูชา) และเกาะชวา(อินโดนิเซีย) หรือแม้แต่ ความสลับซับซ้อนทางชาติพันธุ์ในพม่า อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นอาทิ

จากสภาวะแวดล้อมดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดเป็นคำที่มีความหมายหลากหลายในตัวเองซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริบท สภาพเงื่อนไข และการให้นิยามในแวดวงวิชาการ รวมถึงความรับรู้และความเข้าใจส่วนบุคคล

สำหรับจุดกำเนิดและพัฒนาการของคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” พบว่า ก่อนหน้าที่จะมีการใช้คำดังกล่าว ดินแดนแถบนี้เคยมีชื่อเรียกเป็นหน่วยภูมิศาสตร์แบบโบราณมาก่อน เช่น ชาวกรีกและโรมัน เคยเรียกขานแนวคาบสมุทรและหมู่เกาะซึ่งกั้นกลางระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ว่า “Chryse Chersonesos” ซึ่งมีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของปโตเลมี ส่วนชาวจีนนั้นเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “นานยาง (Nanyang)” ขณะที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “นานโย (Nan Yo)” โดยทั้งสองคำล้วนมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ อาณาเขตแห่งทะเลใต้ ส่วนวรรณกรรมอินเดียโบราณก็มีคำที่หมายถึงดินแดนแถบนี้เช่นกัน คือคำว่า “สุวรรณภูมิ หรือ สุวรรณทวีป (Savarnadvipa)” ซึ่งครอบคลุมอาณาบริเวณแถบพม่าตอนล่างและตอนกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะที่พ่อค้าชาวอาหรับก็เรียกขานดินแดนแถบนี้ว่า “Qumr หรือ Waq-Waq” ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะซีลีเบส (มากัสซาร์) จนถึงน่านน้ำญี่ปุ่น

ครั้นเมื่อมาถึงยุคที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม ก็เริ่มปรากฏคำเกี่ยวกับดินแดนแถบนี้เป็นจำนวนมาก อาทิ “อินเดียไกล (Further India)” ซึ่งหมายถึงดินแดนที่ไกลออกไปจากอินเดียเพียงเล็กน้อย หรือคำว่า “จีนน้อย (Little China)” ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีนหรือแม้กระทั่งคำว่า “อินโดจีน (Indo-China)” ก็ถูกบัญญัติขึ้นมาตามลักษณะการรับอิทธิพลทั้งจากอารยธรรมอินเดียและจีน

ต่อมาเมื่อลัทธิล่าอาณานิคมและอำนาจของชาติยุโรปเริ่มลงหลักปักฐานในดินแดนแถบนี้อย่างมั่นคง จึงเริ่มปรากฏชื่อเรียกขานอาณาบริเวณต่างๆ ตามแต่ผลประโยชน์และขอบเขตการปกครองของเจ้าอาณานิคม อาทิ “พม่าของอังกฤษ (British Burma)” “มลายูของอังกฤษ (British Malaya)” “อินโดจีนของฝรั่งเศส (French Indochina)” “หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอแลนด์ (Dutch East Indies)” และ “ฟิลิปปินส์ของสเปน (Spanish Philippines)” เป็นต้น

จนเมื่อมาถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1939-ค.ศ.1945) คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้เริ่มปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการโดยในช่วงเวลาดังกล่าวกองทัพญี่ปุ่นได้ยกทัพเข้ารุกรานดินแดนแถบนี้ ตลอดจนเข้ายึดครองอาณานิคมที่เคยตกอยู่ใต้อาณัติของชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยการรุกรบอย่างต่อเนื่องของกองทหารญี่ปุ่น ได้สร้างแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรง จนส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรถอนกำลังออกจากดินแดนดังกล่าว แล้วหันมาสถาปนาศูนย์บัญชาการรบแห่งใหม่เพื่อควบคุมอำนวยการยุทธ์และกำหนดยุทธบริเวณในการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น โดยกองบัญชาการดังกล่าวมีชื่อว่า “South-East Asia Command” หรือ “กองทัพภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะลังกาและอยู่ภายใต้การนำของ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตตัน แม่ทัพสัมพันธมิตรผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับญี่ปุ่น

จากบริบทดังกล่าว คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้แรงบีบคั้นยุทธศาสตร์และการสัประยุทธ์ทางการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังการสิ้นสุดของสงครามมหาเอเชียบูรพา คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้ถูกนำมาปรับใช้ในแวดวงวิชาการของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีปรากฏในงานวรรณกรรมของนักวิชาการหลายท่าน อาทิ หนังสือเล่มคลาสสิกเรื่อง A History of South-East Asia (ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1955) ของท่านอาจารย์ D.G.E. Hall ปรมาจารย์ชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และหนังสือเรื่อง Government and Politics of Southeast Asia (ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1959) ของท่านอาจารย์ George Mct. Kahin ปรมาจารย์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์

โดยจากหนังสือทั้งสองเล่ม เป็นที่น่าสังเกตว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในโลกทรรศน์ของชาวตะวันตกจัดว่ามีรูปแบบการสะกดที่หลากหลาย อาทิ “South-East Asia” และ “South East Asia”(เขียนแบบอังกฤษ) “Southeast Asia (เขียนแบบอเมริกัน)” ตลอดจนรูปแบบการเขียนอื่นๆ อีกมากมาย จากสภาพเงื่อนไขดังกล่าว การสะกดคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในสังคมของโลกตะวันตกจึงแฝงไปด้วยนัยยะและยังหาข้อสรุปที่แน่นอนตายตัวไม่ได้

สำหรับประเทศไทยนั้น คำดังกล่าว ถือเป็นศัพท์ที่พึ่งถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่และมีรูปแบบการใช้ที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งมีทั้งคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” “เอเชียอาคเนย์” และ “อุษาคเนย์” ที่เป็นคำสมาสระหว่าง “อุษา” ที่แปลว่ารุ่งเช้า กับ “อาคเนย์” ที่แปลว่าทิศตะวันออกเฉียงใต้

จากการนำเสนอในเบื้องต้น อาจกล่าวได้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดเป็นภูมิภาคที่เติมไปด้วยมนต์เสน่ห์และคู่ควรแก่การศึกษา แม้แต่ชื่อเรียกขานก็มีการตีความและให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป จนกล่าวได้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” คือศัพท์พื้นฐานที่สังคมไทยควรหันมาทบทวนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีกันอย่างจริงจัง

ดุลยภาค ปรีชารัชช
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

หมายเหตุ: บทความนี้ตัดตอนและเรียบเรียงจาก “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา: วิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง” โดย ดุลยภาค ปรีชารัชช ตีพิมพ์ลงในวารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีที่ 11 ฉบับที่ 2, 2554)

รายการอ้างอิงเพิ่มเติม

Hall, D.G.E. (1981). A History of South-East Asia. London: Macmillan.

McCloud, D. G. (1995). Southeast Asia: Tradition and Modernity in the Contemporary World. Colorado: Westview Press.

Osborne, M. (1997). Southeast Asia: An Introductory History. Bangkok: Silkworm Books.

Reid, A. (ed.) (2003). Southeast Asian Studies: Pacific Perspectives. Program for Southeast Asian Studies Monograph Series. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies.

 

 

 

[NEW] 100 ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐาน ที่ใช้บ่อย จำได้ง่ายๆ | อังกฤษอยู่ทวีปอะไร – NATAVIGUIDES

ประโยคภาษาอังกฤษ
คำแปล

Please take me to this address.
ช่วยพาฉันไปตามที่อยู่นี้หน่อย

Be careful driving.
โปรดระมัดระวังขณะขับรถ

I need to go home.
ฉันอยากกลับบ้าน

Walk for about 10 minutes.
เดินไปประมาณ 10 นาที

Do you know where……is?
คุณรู้ไหมว่า…….อยู่ที่ไหน

It’s very far from here.
มันอยู่ไกลจากที่นี่มาก

Cross the road.
ข้ามถนน

At the end of the road.
สุดถนน

You have to go that way.
คุณเดินไปทางนั้นได้เลย

You’re going the wrong way.
คุณกำลังเดินไปผิดทางแล้ว

Get in this car.
ขึ้นรถเลย

I’ll take you to the bus stop.
ฉันจะพาคุณไปที่ป้ายรถเมล์

Follow me.
ตามฉันมา

Excuse me, sorry to bother you but could you help me, please?
ขอโทษที่รบกวน ช่วยอะไรหน่อยได้ไหม

How could I get there?
ฉันจะไปที่นั่นได้อย่างไร

What’s this neighborhood called?
ย่านนี้เรียกว่าอะไร

Where can I find a bus/taxi/train?
ฉันจะขึ้นรถบัส/รถแทกซี่/รถไฟได้ที่ไหน

I’m lost.
ฉันหลงทาง

Where is the Thai embassy and consulate?
สถานทูตและสถานกลศุลไทยอยู่ที่ไหน

Where can I change my money?
ฉันจะแลกเงินได้ที่ไหน

Someone stole my money.
มีคนขโมยเงินฉันไป


คุณมาจากไหนเป็นภาษาอังกฤษ? Where are you from?


ประโยคที่ใช้ถามว่าคุณมาจากไหน คุณมาจากประเทศอะไร การใช้ Verb to be ในรูปแบบปัจจุบัน Present of be การแต่งประโยคบอกเล่า การตอบเป็นประโยคปฏิเสธ และการเปลี่ยนเป็นประโยคให้เป็นประโยคคำถาม
ฝึกพูดภาษาอังกฤษด้วยประโยคง่าย ๆ ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันกับพี่น้ำฝน ช่อง NuFin Inter และประสบการณ์การ การเรียนภาษาอังกฤษที่ออสเตรเลียและอเมริกา แชร์ประสบการณ์ชีวิตการเรียนภาษาอังกฤษและการทำงานในต่างแดน
ขอบคุณสำหรับการรับชม ฝากกดไลท์ กดแชร์ กดติดตามช่อง\”หนูฟินอินเตอร์ NuFinInter\” เป็นกำลังใจให้น้ำฝนด้วยนะคะ ขอบคุณค๊าาา_/\\_

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

คุณมาจากไหนเป็นภาษาอังกฤษ? Where are you from?

“อังกฤษ-อียู” ร้าวหนัก? เรียกทูตฝรั่งเศสพบด่วนปมรุกน่านน้ำ | TrueVroom | TNN ข่าวเย็น | 29-10-21


อังกฤษเรียกทูตฝรั่งเศสเข้าพบเพื่อชี้แจง กรณีที่มีการยึดเรือประมงของอังกฤษในน่านน้ำยุโรปเมื่อวานนี้ หลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกไปจากอียู.. เรื่องนี้จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับอียูมากเพียงใด
ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16
https://www.tnnthailand.com
https://tv.trueid.net/live/tnn16
https://www.youtube.com/c/tnn16
https://www.facebook.com/TNNthailand/
https://www.facebook.com/TNN16LIVE/
https://twitter.com/tnnthailand
https://www.instagram.com/tnn_online/
https://www.tiktok.com/@tnnonline
Line @TNNONLINE หรือคลิก https://lin.ee/4fP2tltIo
ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ

“อังกฤษ-อียู” ร้าวหนัก? เรียกทูตฝรั่งเศสพบด่วนปมรุกน่านน้ำ | TrueVroom | TNN ข่าวเย็น | 29-10-21

4 ประเทศในหมู่เกาะอังกฤษ รวมกันเป็นสหราชอาณาจักร (UK) ได้อย่างไร


หลายคนมักจะเข้าใจว่าสหราชอาณาจักร (United Kingdom) คือประเทศอังกฤษ (England) แต่ที่จริงแล้วอังกฤษเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ UK เท่านั้น ร่วมกับสกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ
โดยในการแข่งขันกีฬาบางชนิดก็จะส่งแข่งในนาม 4 ประเทศย่อยของ UK ด้วย เช่นฟุตบอล, กอล์ฟ, สนุกเกอร์
ในคลิปนี้จะมาเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ในการรวมประเทศต่างๆ ในหมู่เกาะอังกฤษจนกลายเป็น United Kingdom ครับ
0:00 IntroLead
0:30 4 ประเทศใน UK
1:15 จุดเริ่มต้นอังกฤษรวมเวลส์
2:19 อังกฤษเข้าปกครองไอร์แลนด์
3:12 สกอตแลนด์อังกฤษรวมบัลลังก์
4:40 กำเนิด Great Britain
5:18 รวมไอร์แลนด์ กำเนิด United Kingdom
6:08 ไอร์แลนด์แยกตัวจาก UK
7:14 สรุป Timeline
7:55 การแยกประเทศแข่งในกีฬาต่างๆ
8:39 End

ติดตามช่องทางอื่นได้ที่
HikaLuces Channel https://www.facebook.com/hikaluces
ว่าด้วยเรื่องของภาษา https://www.facebook.com/languagesandlinguistics/

อ้างอิง
https://www.history.com/news/unitedkingdomscotlandnorthernirelandwales
https://www.history.com/thisdayinhistory/irishfreestatedeclared

4 ประเทศในหมู่เกาะอังกฤษ รวมกันเป็นสหราชอาณาจักร (UK) ได้อย่างไร

เรื่องราวการสร้างชาติ \”สหราชอาณาจักร (UK)\” 2,000 ปี ภายใน 13 นาที!!


สนใจติดต่อโฆษณา หรือ สนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ให้รายการ สามารถติดต่อได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/HistoryWorld45
คลิปใหม่ทุกวันจ้าาาา อย่าลืมกดติดตามด้วย สนับสนุนเพจง่ายๆเพียงกดแชร์คลิปนี้
ช่องในเครือทั้งหมด
Comic World Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCicuJZl5riLYnzSrvEX01UA
Comic World Story Yotube:
https://www.youtube.com/channel/UCSsH_MLwk8oGxGiPDfIAuvQ
Manga World Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCZWV6xtulPhPqiGeU9rtvw
History World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UC3_l4osjAYv0cAha63UuSmA
Football World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UCTzIDhr_uL_sttLGMsnnqQ
Gaming World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UCryQHlnzj2rZoBNCJX1pilA
Business World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UC6vpDob2EbJDIB1iJ40UYQ
Ghost World Youtube:
https://www.youtube.com/channel/UCzNaMCZxVtUxfdLE3SYZdYg

Facebook: https://www.facebook.com/comicworlddaily

เรื่องราวการสร้างชาติ \

ธงอาเซียน 10 ประเทศ : 10 ASEAN Flag


ธงอาเซียน 10 ประเทศ : 10 ASEAN Flag ประกอบด้วย ธงชาติอาเซียน ธงชาติบรูไน ธงชาติกัมพูชา ธงชาติอินโดนีเซีย ธงชาติลาว ธงชาติมาเลเซีย ธงชาติพม่า ธงชาติฟิลิปปินส์ ธงชาติสิงคโปร์ ธงชาติไทย ธงชาติเวียดนาม ASEAN Flag 1. Brunei Darussalam 2. Kingdom of Cambodia 3. Republic of Indonesia 4. Lao People’s Democratic Republic 5. Malaysia 6. Republic of the Union of Myanmar 7. Republic of the Philippines 8. Republic of Singapore 9. Kingdom of Thailand 10. Socialist Republic of Vietnam

ธงอาเซียน 10 ประเทศ : 10 ASEAN Flag

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ อังกฤษอยู่ทวีปอะไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *