Skip to content
Home » [NEW] เสียงในภาษาไทยที่ ‘คนญี่ปุ่น’ หนักใจ | เรียน ภาษา ญี่ปุ่น ที่ ญี่ปุ่น – NATAVIGUIDES

[NEW] เสียงในภาษาไทยที่ ‘คนญี่ปุ่น’ หนักใจ | เรียน ภาษา ญี่ปุ่น ที่ ญี่ปุ่น – NATAVIGUIDES

เรียน ภาษา ญี่ปุ่น ที่ ญี่ปุ่น: คุณกำลังดูกระทู้

เรื่องที่จะนำมาบอกเล่าวันนี้มีลักษณะเฉพาะทางค่อนข้างสูงเพราะเป็นแง่มุมทางภาษาศาสตร์ แต่ในฐานะผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทยเลี้ยงชีพ อยากนำมาบอกเล่าไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่มีโอกาสสื่อสารกับคนญี่ปุ่น จะได้เข้าใจข้อจำกัดของคนญี่ปุ่นที่สื่อสารด้วยภาษาไทย โดยเฉพาะด้านการพูด หรืออาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในการเปรียบเทียบลักษณะเด่นบางประการของ 2 ภาษานี้ สิ่งที่อยากจะเล่าคือ ความลำเค็ญ…เอ๊ย…ความทรหด…ของคนญี่ปุ่นในการออกเสียงภาษาไทย โดยจะยกตัวอย่างบางส่วนพร้อมทั้งพยายามเลี่ยงศัพท์วิชาการที่ไม่คุ้นหู เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำความเข้าใจได้ทั่วถึง

ตั้งแต่เจอคนญี่ปุ่นที่รู้ภาษาไทยเป็นร้อยคนขึ้นไป ยังไม่เคยได้ยินใครบอกว่าภาษาไทยง่าย ในฐานะคนไทยที่ต้องสอนภาษาไทยด้วย การที่เราจะบอกแบบเห็นด้วยว่า “ใช่ ภาษาไทยยาก” ก็เกรงว่าคนเรียนจะท้อแท้ แต่จะบอกว่า “ภาษาไทยง่าย” ก็จะกลายเป็นการโกหกซึ่งหน้า จึงตอบว่า “แค่นี้ว่ายาก? โถ ๆ ๆ ภาษาญี่ปุ่นยากกว่าเยอะ” พร้อมกับยกความซับซ้อนของไวยากรณ์ญี่ปุ่นขึ้นมากลบภาษาไทย จนคนฟังตั้งใจเรียนภาษาไทยต่อไป เพราะอย่างน้อยก็ได้รู้ว่ามีบางแง่มุมในภาษาไทยที่ง่ายกว่าภาษาแม่ของตัวเอง แต่ไม่ใช่เรื่องเสียงแน่ ๆ เพราะถ้าว่ากันเรื่องเสียงอย่างเดียว ภาษาไทยกินขาด

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกยากง่ายในการเรียนภาษาล้วนแต่อยู่ในรูปแบบของการเปรียบเทียบทั้งสิ้น เมื่อพูดถึงความยากของภาษา คนแต่ละชาติรู้สึกไม่เหมือนกันเพราะอิทธิพลของภาษาแม่ต่างกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เรากำลังพูดถึง “ระยะห่างทางภาษา” (linguistic distance) ระหว่างภาษาแม่กับภาษาอื่นในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเสียง คำศัพท์ หรือโครงสร้างประโยค ดังนั้น ถ้าถามคนไทยว่าภาษาอังกฤษกับภาษาลาว อะไรเรียนยากกว่ากัน คนไทยย่อมตอบว่าภาษาอังกฤษ แต่ถ้าถามคนในยุโรปหลายชาติว่าภาษาอังกฤษกับภาษาลาว อะไรเรียนยากกว่ากัน คำตอบจะกลายเป็นภาษาลาว พูดง่าย ๆ คือ ถ้ามีส่วนที่คล้ายกันมากก็เรียนง่าย ถ้าคล้ายกันน้อยก็เรียนยาก

และเราคงต้องบอกคนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยให้ทำใจเพราะสองภาษานี้ห่างไกลกันมาก (ในทางกลับกัน คนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นก็ต้องทำใจเช่นกัน) อุปสรรคที่คนญี่ปุ่นบ่นมากคือการออกเสียง ก่อนอื่นขอเริ่มด้วยเรื่องเสียงตัวสะกด ภาษาญี่ปุ่นมีคำพยางค์ปิด (คำที่มีตัวสะกด) น้อย ส่วนใหญ่เป็นคำในแม่ ก กา ซึ่งลงท้ายด้วยสระ เมื่อพูดจบพยางค์ คอจะไม่ปิด และพอเจอภาษาที่มีตัวสะกดมาก ๆ จะอึดอัดทันที ทำยังไง๊ยังไงก็อยากจะเปิดคอตามความเคยชิน ใครที่เคยได้ยินคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษน่าจะพอนึกออก เช่น คำว่า but คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงว่า “บัตโตะ—butto”, คำว่า and ออกเสียงว่า “อันโดะ—ando” ดังนั้น อย่างประโยค “It is hot and humid in August.” อาจกลายเป็น “อิตโตะ อิซุ ฮตโตะ อันโด ฮิวมิดโดะ อิน โอกัตซุโตะ” ใครไม่ชินสำเนียงแบบนี้ต้องเงี่ยหูฟังกันน่าดู

ด้วยลักษณะเช่นนี้ เมื่อคนญี่ปุ่นเรียนภาษาไทยและเจอตัวสะกด จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพยางค์ท้ายชนิดที่มีเสียงสระเข้าไป เช่น “มาก” กลายเป็น “มากุ”, “ตุ๊กตุ๊ก” กลายเป็น “ตุก-กุ ตุก-กุ”, “คิด” กลายเป็น “คิดโตะ” และมีกรณีอื่นที่ฟังดูน่ารักแม้ไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อผมให้นักศึกษาคนหนึ่งนับเลข พอแกนับจบเลข 6 เมื่อไร ต่อไปแกจะเกิดอาการเจ็บทุกครั้ง สาเหตุคือแกออกเสียง ด เด็ก เป็นตัวสะกดไม่ได้ จึงออกง่าย ๆ ด้วยการเอาริมฝีปากบนล่างประกบกัน เลข “เจ็ด” จึงกลายเป็น “เจ็บ” กรณีนี้คือ “ปิดได้” แต่ไม่ใช่การปิดภายในปาก เป็นการใช้ริมฝีปากช่วยปิดแทน ซึ่งก็ไม่ถูกต้องอีกเพราะทำให้กลายเป็นคนละคำ นอกจากนี้ เสียงตัวสะกดที่เป็น น กับ ง คนญี่ปุ่นก็แยกไม่ออก “บ้าน” กับ “บ้าง” จึงกลายเป็นคำเดียวกัน แค่สอนให้พูด “ทำงานบ้าน” กับ “ทำงานบ้าง” จึงใช้เวลาเป็นชั่วโมง

พอมาดูที่สระ จะพบว่าหลายเสียงในภาษาไทยไม่มีในภาษาญี่ปุ่น เช่น สระออ หากให้พูด “ออเจ้า” จะกลายเป็น “โอเจ้า” (และจากเหตุผลที่ว่าภาษาญี่ปุ่นไม่มีสระออและสระเออ ในขณะที่มีสระโอะและสระโอ จึงบอกได้ว่า คำว่า “ฮอกไกโด” หรือ “ออนเซ็น” หรือ “นิปปอน” ตามที่คนไทยพูดกันนั้น เป็นการออกเสียงในแบบที่เราเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะเจ้าของภาษาไม่มีเสียงสระตัวนี้ เสียงที่ถูกต้องและถอดเป็นภาษาไทยได้จึงได้แก่ “ฮกไกโด”, “อนเซ็น” หรือ “อนเซ็ง”, “นิปปง” ตามเสียงสระโอะในภาษาญี่ปุ่น), สระเออก็ไม่มี เมื่อให้พูด “เงิน” จะกลายเป็น “งาน” และถ้าให้พูด “งาน” จะกลายเป็น “งาน” เพราะพูดได้เนื่องจากมีสระอา ครั้นให้พูด “ทำงานหาเงิน” คนญี่ปุ่นจะบอกว่า “ทำงานหางาน” ผมจึงแซวลูกศิษย์ว่า เออดี…ชีวิตนี้ออเจ้าคงทำแต่งานไม่สนเงิน ด้านพยัญชนะไทยนั้น คนญี่ปุ่นออกเสียงไม่ถนัดหลายเสียง เช่น แยกเสียง ก กับ ง ไม่ออกเมื่อเป็นพยัญชนะต้น “ทำงานบ้าน” กับ “ทำการบ้าน” จึงกลายเป็นคำเดียวกัน หรือบางครั้งก็สับสนเสียงพยัญชนะคู่อื่นอีก เช่น ต-ท (ตา-ทา), พ-ป (พา-ปา), ก-ค (กา-คา)

ส่วนปัญหาอมตะเกี่ยวกับเสียงในภาษาไทยสำหรับคนญี่ปุ่น คือ วรรณยุกต์ ภาษาญี่ปุ่นไม่มีวรรณยุกต์ แต่มีการขึ้นเสียงสูงลงเสียงต่ำในคำตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไปและในประโยค คือมีเสียงสูงกับเสียงต่ำแบบตรงไปตรงมา และต่างจากภาษาอังกฤษที่เน้นหนัก-เบา ในหนึ่งพยางค์ของคำญี่ปุ่นไม่มีการตวัดเสียงขึ้น หรือลาดลง หรือขึ้นสูงแล้วลงต่ำในพยางค์เดียวกันเหมือนกับเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยหรือภาษาจีน

โดยทั่วไป เมื่อผู้ใหญ่เรียนภาษาต่างประเทศ ความเคยชินต่อระบบการออกเสียงในภาษาแม่จะดึงให้ผู้พูดย้อนกลับไปอิงเสียงที่ตัวเองรู้จัก นี่คือสาเหตุที่ทำให้เราได้ยิน “สำเนียงเดิม” ของคนที่พูดภาษาต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยที่พูดภาษาต่างประเทศด้วย อย่างเวลาคนไทยพูดภาษาอังกฤษ จะมีสำเนียงไทยปน โดยเฉพาะการนำวรรณยุกต์แบบไทยแปะใส่คำภาษาอังกฤษแล้วพูดตามนั้น แทนที่จะเป็นการเน้นหนักเบา ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

เวลาคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็หลีกหนีอิทธิพลของภาษาแม่ไม่ค่อยได้นอกจากเป็นคนที่มีหูดีขั้นสุดยอด ภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นจึงถูกบ่นว่า “น่าเบื่อ” ซึ่งมีสาเหตุมาจากการให้น้ำหนักแก่ทุกพยางค์เท่า ๆ กันตามธรรมชาติของภาษาญี่ปุ่น และฟังราบเรียบจนน่าหลับ หรือเมื่อคนญี่ปุ่นพูดภาษาไทย จะปรากฏ 2 รูปแบบใหญ่คือ 1) ฟังคล้ายคุณพ่อคุณแม่คนไทยสอนลูกวัยอนุบาลให้หัดพูด คือ แยกส่วนประกอบของเสียงออกมาเพื่อพยายามเก็บวรรณยุกต์ให้ครบ โดยที่ยังกะจังหวะหรือระยะขึ้นลงไม่ถูก เช่น “ไหน” เป็น “หนะ-อิ-อี๋”, “หมา” กลายเป็น “หมะ-อ๋า”, “บ้าน” กลายเป็น “บ๊ะ-อ้าน”, “ไทย” กลายเป็น “ทะ-อิ” หรือ 2) ฟังเหมือนหุ่นยนต์ที่ขยับเป็นจังหวะ คือ ตัดฉับห้วน ๆ ที่ท้ายพยางค์แทบทุกพยางค์ ทำให้ประโยคมีลักษณะกะตึ้กกะตั้ก ไม่ราบรื่น เช่น “วันนี้ผมต้องไปทำงาน” เป็น “วัน!-นี้!-ผม!-ต้อง!-ไป!-ทำ!-งาน!”

ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุปสรรคด้านเสียงในภาษาไทย ซึ่งผู้เรียนชาวญี่ปุ่นพยายามฝ่าฟันด้วยความทรหด แต่เอาเข้าจริงคนที่อาจจะต้องทรหดกว่าคือคนสอน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะความผิดพลาดไม่เหมือนกัน คนสอนต้องจี้ทีละจุดและทีละคน การสอนชั้นต้นอาจดูเหมือนง่าย แต่ต้องใช้กำลังกายมากกว่าชั้นอื่นเพราะต้องอธิบาย ต้องแก้รูปปาก ต้องพูดซ้ำคำละไม่รู้กี่รอบ และกว่าคนญี่ปุ่นจะเริ่มชินกับเสียงในภาษาไทยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน นี่คือระยะเริ่มชินเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าหลัง 3 เดือนจะออกเสียงได้หมด การสอนในระดับมหาวิทยาลัยหรือในโรงเรียนสอนภาษาไทยทั่วญี่ปุ่น ช่วงแรก ๆ จึงเน้นเรื่องเสียงเป็นหลัก จากนั้นการอ่านการเขียนตัวอักษรไทยจึงค่อย ๆ ตามมา

นี่ผ่านมาประมาณเดือนครึ่งนับตั้งแต่มหาวิทยาลัยเปิดเทอม ก็จะรออีกครึ่งทางให้นักศึกษาชินกว่านี้แล้วจะได้พูดภาษาไทยสอนทั้งชั่วโมงแทนการพูดภาษาญี่ปุ่น จะว่าไปก็มีนักศึกษาเอกไทยมาบอกแล้วว่า “หนูฝันค่ะ” อาจารย์ยังไม่ได้ฟังจนจบ ได้ยินทีแรกรีบดีใจ คิดไปเองว่าเด็กฝันเป็นภาษาไทย ลืมนึกไปว่าเพิ่งเริ่มเรียนได้ไม่นาน ถามกลับไปว่า “หนูฝันอะไรล่ะ” พอฟังคำตอบแล้วไม่รู้ว่าควรจะดีใจไหม “หนูฝันว่าฟังภาษาไทยไม่ทัน ทำข้อสอบไม่ได้” คนสอนจึงต้องมาคิดอีกทีว่า เอ…เด็กวิตกกังวลขนาดเก็บเอาไปฝัน ถ้าอย่างนั้นจะสรุปว่าภาษาไทยน่ากลัว หรือว่าตัวคนสอนน่ากลัวกว่ากันแน่?

**********
คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies จะมาพบกับท่านผู้อ่านโต๊ะญี่ปุ่น ทุกๆ วันจันทร์ ทาง www.mgronline.com

เรื่องที่จะนำมาบอกเล่าวันนี้มีลักษณะเฉพาะทางค่อนข้างสูงเพราะเป็นแง่มุมทางภาษาศาสตร์ แต่ในฐานะผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทยเลี้ยงชีพ อยากนำมาบอกเล่าไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่มีโอกาสสื่อสารกับคนญี่ปุ่น จะได้เข้าใจข้อจำกัดของคนญี่ปุ่นที่สื่อสารด้วยภาษาไทย โดยเฉพาะด้านการพูด หรืออาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในการเปรียบเทียบลักษณะเด่นบางประการของ 2 ภาษานี้ สิ่งที่อยากจะเล่าคือ ความลำเค็ญ…เอ๊ย…ความทรหด…ของคนญี่ปุ่นในการออกเสียงภาษาไทย โดยจะยกตัวอย่างบางส่วนพร้อมทั้งพยายามเลี่ยงศัพท์วิชาการที่ไม่คุ้นหู เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำความเข้าใจได้ทั่วถึงตั้งแต่เจอคนญี่ปุ่นที่รู้ภาษาไทยเป็นร้อยคนขึ้นไป ยังไม่เคยได้ยินใครบอกว่าภาษาไทยง่าย ในฐานะคนไทยที่ต้องสอนภาษาไทยด้วย การที่เราจะบอกแบบเห็นด้วยว่า “ใช่ ภาษาไทยยาก” ก็เกรงว่าคนเรียนจะท้อแท้ แต่จะบอกว่า “ภาษาไทยง่าย” ก็จะกลายเป็นการโกหกซึ่งหน้า จึงตอบว่า “แค่นี้ว่ายาก? โถ ๆ ๆ ภาษาญี่ปุ่นยากกว่าเยอะ” พร้อมกับยกความซับซ้อนของไวยากรณ์ญี่ปุ่นขึ้นมากลบภาษาไทย จนคนฟังตั้งใจเรียนภาษาไทยต่อไป เพราะอย่างน้อยก็ได้รู้ว่ามีบางแง่มุมในภาษาไทยที่ง่ายกว่าภาษาแม่ของตัวเอง แต่ไม่ใช่เรื่องเสียงแน่ ๆ เพราะถ้าว่ากันเรื่องเสียงอย่างเดียว ภาษาไทยกินขาดอย่างไรก็ตาม ความรู้สึกยากง่ายในการเรียนภาษาล้วนแต่อยู่ในรูปแบบของการเปรียบเทียบทั้งสิ้น เมื่อพูดถึงความยากของภาษา คนแต่ละชาติรู้สึกไม่เหมือนกันเพราะอิทธิพลของภาษาแม่ต่างกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เรากำลังพูดถึงระหว่างภาษาแม่กับภาษาอื่นในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเสียง คำศัพท์ หรือโครงสร้างประโยค ดังนั้น ถ้าถามคนไทยว่าภาษาอังกฤษกับภาษาลาว อะไรเรียนยากกว่ากัน คนไทยย่อมตอบว่าภาษาอังกฤษ แต่ถ้าถามคนในยุโรปหลายชาติว่าภาษาอังกฤษกับภาษาลาว อะไรเรียนยากกว่ากัน คำตอบจะกลายเป็นภาษาลาว พูดง่าย ๆ คือ ถ้ามีส่วนที่คล้ายกันมากก็เรียนง่าย ถ้าคล้ายกันน้อยก็เรียนยากและเราคงต้องบอกคนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยให้ทำใจเพราะสองภาษานี้ห่างไกลกันมาก (ในทางกลับกัน คนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นก็ต้องทำใจเช่นกัน) อุปสรรคที่คนญี่ปุ่นบ่นมากคือการออกเสียง ก่อนอื่นขอเริ่มด้วยเรื่องเสียงตัวสะกด ภาษาญี่ปุ่นมีคำพยางค์ปิด (คำที่มีตัวสะกด) น้อย ส่วนใหญ่เป็นคำในแม่ ก กา ซึ่งลงท้ายด้วยสระ เมื่อพูดจบพยางค์ คอจะไม่ปิด และพอเจอภาษาที่มีตัวสะกดมาก ๆ จะอึดอัดทันที ทำยังไง๊ยังไงก็อยากจะเปิดคอตามความเคยชิน ใครที่เคยได้ยินคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษน่าจะพอนึกออก เช่น คำว่า but คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงว่า “บัตโตะ—butto”, คำว่า and ออกเสียงว่า “อันโดะ—ando” ดังนั้น อย่างประโยค “It is hot and humid in August.” อาจกลายเป็น “อิตโตะ อิซุ ฮตโตะ อันโด ฮิวมิดโดะ อิน โอกัตซุโตะ” ใครไม่ชินสำเนียงแบบนี้ต้องเงี่ยหูฟังกันน่าดูด้วยลักษณะเช่นนี้ เมื่อคนญี่ปุ่นเรียนภาษาไทยและเจอตัวสะกด จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพยางค์ท้ายชนิดที่มีเสียงสระเข้าไป เช่น “มาก” กลายเป็น “มากุ”, “ตุ๊กตุ๊ก” กลายเป็น “ตุก-กุ ตุก-กุ”, “คิด” กลายเป็น “คิดโตะ” และมีกรณีอื่นที่ฟังดูน่ารักแม้ไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อผมให้นักศึกษาคนหนึ่งนับเลข พอแกนับจบเลข 6 เมื่อไร ต่อไปแกจะเกิดอาการเจ็บทุกครั้ง สาเหตุคือแกออกเสียง ด เด็ก เป็นตัวสะกดไม่ได้ จึงออกง่าย ๆ ด้วยการเอาริมฝีปากบนล่างประกบกัน เลข “เจ็ด” จึงกลายเป็น “เจ็บ” กรณีนี้คือ “ปิดได้” แต่ไม่ใช่การปิดภายในปาก เป็นการใช้ริมฝีปากช่วยปิดแทน ซึ่งก็ไม่ถูกต้องอีกเพราะทำให้กลายเป็นคนละคำ นอกจากนี้ เสียงตัวสะกดที่เป็น น กับ ง คนญี่ปุ่นก็แยกไม่ออก “บ้าน” กับ “บ้าง” จึงกลายเป็นคำเดียวกัน แค่สอนให้พูด “ทำงานบ้าน” กับ “ทำงานบ้าง” จึงใช้เวลาเป็นชั่วโมงพอมาดูที่สระ จะพบว่าหลายเสียงในภาษาไทยไม่มีในภาษาญี่ปุ่น เช่น สระออ หากให้พูด “ออเจ้า” จะกลายเป็น “โอเจ้า” (และจากเหตุผลที่ว่าภาษาญี่ปุ่นไม่มีสระออและสระเออ ในขณะที่มีสระโอะและสระโอ จึงบอกได้ว่า คำว่า “ไกโด” หรือ “เซ็น” หรือ “นิป” ตามที่คนไทยพูดกันนั้น เป็นการออกเสียงในแบบที่เราเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะเจ้าของภาษาไม่มีเสียงสระตัวนี้ เสียงที่ถูกต้องและถอดเป็นภาษาไทยได้จึงได้แก่ “ฮกไกโด”, “อนเซ็น” หรือ “อนเซ็ง”, “นิปปง” ตามเสียงสระโอะในภาษาญี่ปุ่น), สระเออก็ไม่มี เมื่อให้พูด “เงิน” จะกลายเป็น “งาน” และถ้าให้พูด “งาน” จะกลายเป็น “งาน” เพราะพูดได้เนื่องจากมีสระอา ครั้นให้พูด “ทำงานหาเงิน” คนญี่ปุ่นจะบอกว่า “ทำงานหางาน” ผมจึงแซวลูกศิษย์ว่า เออดี…ชีวิตนี้ออเจ้าคงทำแต่งานไม่สนเงิน ด้านพยัญชนะไทยนั้น คนญี่ปุ่นออกเสียงไม่ถนัดหลายเสียง เช่น แยกเสียง ก กับ ง ไม่ออกเมื่อเป็นพยัญชนะต้น “ทำบ้าน” กับ “ทำบ้าน” จึงกลายเป็นคำเดียวกัน หรือบางครั้งก็สับสนเสียงพยัญชนะคู่อื่นอีก เช่น ต-ท (ตา-ทา), พ-ป (พา-ปา), ก-ค (กา-คา)ส่วนปัญหาอมตะเกี่ยวกับเสียงในภาษาไทยสำหรับคนญี่ปุ่น คือ วรรณยุกต์ ภาษาญี่ปุ่นไม่มีวรรณยุกต์ แต่มีการขึ้นเสียงสูงลงเสียงต่ำในคำตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไปและในประโยค คือมีเสียงสูงกับเสียงต่ำแบบตรงไปตรงมา และต่างจากภาษาอังกฤษที่เน้นหนัก-เบา ในหนึ่งพยางค์ของคำญี่ปุ่นไม่มีการตวัดเสียงขึ้น หรือลาดลง หรือขึ้นสูงแล้วลงต่ำในพยางค์เดียวกันเหมือนกับเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยหรือภาษาจีนโดยทั่วไป เมื่อผู้ใหญ่เรียนภาษาต่างประเทศ ความเคยชินต่อระบบการออกเสียงในภาษาแม่จะดึงให้ผู้พูดย้อนกลับไปอิงเสียงที่ตัวเองรู้จัก นี่คือสาเหตุที่ทำให้เราได้ยิน “สำเนียงเดิม” ของคนที่พูดภาษาต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยที่พูดภาษาต่างประเทศด้วย อย่างเวลาคนไทยพูดภาษาอังกฤษ จะมีสำเนียงไทยปน โดยเฉพาะการนำวรรณยุกต์แบบไทยแปะใส่คำภาษาอังกฤษแล้วพูดตามนั้น แทนที่จะเป็นการเน้นหนักเบา ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยเวลาคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็หลีกหนีอิทธิพลของภาษาแม่ไม่ค่อยได้นอกจากเป็นคนที่มีหูดีขั้นสุดยอด ภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นจึงถูกบ่นว่า “น่าเบื่อ” ซึ่งมีสาเหตุมาจากการให้น้ำหนักแก่ทุกพยางค์เท่า ๆ กันตามธรรมชาติของภาษาญี่ปุ่น และฟังราบเรียบจนน่าหลับ หรือเมื่อคนญี่ปุ่นพูดภาษาไทย จะปรากฏ 2 รูปแบบใหญ่คือ 1) ฟังคล้ายคุณพ่อคุณแม่คนไทยสอนลูกวัยอนุบาลให้หัดพูด คือ แยกส่วนประกอบของเสียงออกมาเพื่อพยายามเก็บวรรณยุกต์ให้ครบ โดยที่ยังกะจังหวะหรือระยะขึ้นลงไม่ถูก เช่น “ไหน” เป็น “หนะ-อิ-อี๋”, “หมา” กลายเป็น “หมะ-อ๋า”, “บ้าน” กลายเป็น “บ๊ะ-อ้าน”, “ไทย” กลายเป็น “ทะ-อิ” หรือ 2) ฟังเหมือนหุ่นยนต์ที่ขยับเป็นจังหวะ คือ ตัดฉับห้วน ๆ ที่ท้ายพยางค์แทบทุกพยางค์ ทำให้ประโยคมีลักษณะกะตึ้กกะตั้ก ไม่ราบรื่น เช่น “วันนี้ผมต้องไปทำงาน” เป็น “วัน!-นี้!-ผม!-ต้อง!-ไป!-ทำ!-งาน!”ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุปสรรคด้านเสียงในภาษาไทย ซึ่งผู้เรียนชาวญี่ปุ่นพยายามฝ่าฟันด้วยความทรหด แต่เอาเข้าจริงคนที่อาจจะต้องทรหดกว่าคือคนสอน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะความผิดพลาดไม่เหมือนกัน คนสอนต้องจี้ทีละจุดและทีละคน การสอนชั้นต้นอาจดูเหมือนง่าย แต่ต้องใช้กำลังกายมากกว่าชั้นอื่นเพราะต้องอธิบาย ต้องแก้รูปปาก ต้องพูดซ้ำคำละไม่รู้กี่รอบ และกว่าคนญี่ปุ่นจะเริ่มชินกับเสียงในภาษาไทยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน นี่คือระยะเริ่มชินเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าหลัง 3 เดือนจะออกเสียงได้หมด การสอนในระดับมหาวิทยาลัยหรือในโรงเรียนสอนภาษาไทยทั่วญี่ปุ่น ช่วงแรก ๆ จึงเน้นเรื่องเสียงเป็นหลัก จากนั้นการอ่านการเขียนตัวอักษรไทยจึงค่อย ๆ ตามมานี่ผ่านมาประมาณเดือนครึ่งนับตั้งแต่มหาวิทยาลัยเปิดเทอม ก็จะรออีกครึ่งทางให้นักศึกษาชินกว่านี้แล้วจะได้พูดภาษาไทยสอนทั้งชั่วโมงแทนการพูดภาษาญี่ปุ่น จะว่าไปก็มีนักศึกษาเอกไทยมาบอกแล้วว่า “หนูฝันค่ะ” อาจารย์ยังไม่ได้ฟังจนจบ ได้ยินทีแรกรีบดีใจ คิดไปเองว่าเด็กฝันเป็นภาษาไทย ลืมนึกไปว่าเพิ่งเริ่มเรียนได้ไม่นาน ถามกลับไปว่า “หนูฝันอะไรล่ะ” พอฟังคำตอบแล้วไม่รู้ว่าควรจะดีใจไหม “หนูฝันว่าฟังภาษาไทยไม่ทัน ทำข้อสอบไม่ได้” คนสอนจึงต้องมาคิดอีกทีว่า เอ…เด็กวิตกกังวลขนาดเก็บเอาไปฝัน ถ้าอย่างนั้นจะสรุปว่าภาษาไทยน่ากลัว หรือว่าตัวคนสอนน่ากลัวกว่ากันแน่?

[Update] | เรียน ภาษา ญี่ปุ่น ที่ ญี่ปุ่น – NATAVIGUIDES

We use cookies to improve our contents. Check the detail and update your settings here.


【เรียนภาษาญี่ปุ่นแท้จริง】ภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นใช้กันในชีวิตประจำวันจริง ! ภาษาพูด ภาษาท้องถิ่น ฯลฯ


สวัสดึค่ะ WASABI ค่ะ เป็นคนญี่ปุ่นค่ะ
คลิปนี้เป็นคลิปที่จะช่วยเรียนภาษาญี่ปุ่นของผู้ชมค่ะ
ถ้าจะรู้เรื่องนี้จะได้ช่วยการฟังภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นนะคะ
ถ้าคอมเมนท์มาก็ดีใจมากเลยค่ะ♪
เรียนภาษาญี่ปุ่น คนญี่ปุ่น ล่ามญี่ปุ่น JLPT N4 N5 ภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นใช้กันจริง

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

【เรียนภาษาญี่ปุ่นแท้จริง】ภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นใช้กันในชีวิตประจำวันจริง ! ภาษาพูด ภาษาท้องถิ่น ฯลฯ

ประโยคภาษาญี่ปุ่นที่ใช้บ่อย! l ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันภาษาญี่ปุ่นภาษาญี่ปุ่นแสนสนุก
คลิปนี้เรามาทบทวนประโยคภาษาญี่ปุ่นที่เราเคยเรียนไปแล้วและประโยคที่น่าจะใช้บ่อยกันนะคะ ฝึกฟังและพูดบ่อยๆ รับรองพูดได้แน่ๆ ค่ะ
😀สนใจซื้อหนังสือ EBook แอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่
LINE ID : @tanoshiinihongo
หรือคลิ๊กที่นี่
http://nav.cx/71CDaoY
👇
สนใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ดูร้านค้าสติกเกอร์ได้ที่ลิ้งนี้ได้เลย :
https://line.me/S/shop/sticker/author/538992
🔴ติดตามเราได้ที่
Fanpage ภาษาญี่ปุ่นแสนสนุก :
https://www.facebook.com/Home.made.Smile.Video/
Blockdit ภาษาญี่ปุ่นแสนสนุก by พี่หนู:
https://www.blockdit.com/pages/5ebec5682dc98915101bee31
เว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นแสนสนุก :
https://tanoshiinihongojapan.com/

ประโยคภาษาญี่ปุ่นที่ใช้บ่อย! l ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่น Set Zero Ep1


Set Zero เริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่น ตั้งแต่ศูนย์
ทุกคนต้องเริ่มที่เดียวกันหมด กับตัวอักษรฮิรากานะ และคาตาคานะ ก่อนขึ้นหนังสือมินนะหรือตำราเล่มอื่น เรียนเต็มรูปแบบได้ทุกทักษะ
เอกสารที่ใช้เรียน https://drive.google.com/file/d/1gNSOUZWawblW5l4dTMAbbFgYB6iS5XBL/view?usp=sharing
สนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์เต็มรูปแบบ ทักเซนเซได้ที่m.me/nottosensei
เรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นออนไลน์

เริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่น Set Zero Ep1

เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นจากศูนย์ยังไงดี? แชร์เทคนิค\u0026หนังสือเรียน✨|ゼロから始める日本語の勉強方法紹介


【Timeline】
0:00~2:51 ควรเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นยังไงดี?
2:51~6:55 แนะนำหนังสือสำหรับเรียนตัวอักษรฮิรางานะ\u0026คาตาคานะ
6:55~9:43 แชร์เทคนิคการจำตัวอักษร\u0026คำศัพท์
หนังสือที่แนะนำในคลิป
・หนังสือ Oh! Easy ฮิรางะนะ และ Oh! Easy คาตาคะนะ
ตอนนี้มีโปรโมชั่นแพ็คคู่ราคา 899 บาท จาก 1,200 บาทอยู่นะคะ
หากใช้โค้ดส่วนลดพิเศษ OPENMK200 ก็จะได้ส่วนลดเพิ่มอีก 200 บาท เหลือเพียง 699 บาทค่ะ
เพื่อนๆที่สนใจลองเช็คกันดูได้นะคะ^^💐
สำหรับช่องทางการจัดจําหน่าย
・ Inbox ของ Facebook Page โอ้อีจี้นิฮงโกะ : https://m.me/OhEasyNihongo
・Shopee ร้าน OpenDurian : https://bit.ly/3mO8XfX
หมายเหตุ : โค้ดส่วนลดสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ช่องทางเลยนะคะ ถ้าเป็น inbox ใน Facebook แจ้งโค้ดส่วนลดกับแอดมินได้เลยค่ะ ส่วนใน Shopee กรอกโค้ดส่วนลดลงไปได้เลยนะคะ
Disclaimer : Sponsored by Opendurian
หนังสือทำเนื้อหาออกมาได้น่าสนใจและดีมากๆค่ะ อยากแนะนำให้กับเพื่อนๆจริงๆค่ะ^^
ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนภาษาญี่ปุ่นตรงไหนที่เพื่อนๆอยากทราบ
ทิ้งคอมเมนต์หรือส่ง DM มาคุยกันได้นะคะ
ยังไงจะทำคลิปเกี่ยวกับการเรียนภาษาญี่ปุ่นอีกเรื่อยๆแน่นอนค่ะ^^🌷
—————
Half Thai \u0026 Half Japanese
Living in Japan
————————————————
SNS
TWITTER : http://www.twitter.com/ima_miki
INSTAGRAM : http://www.instagram.com/milki.room
FACEBOOK : https://m.facebook.com/MikichinTV
ーーーーーーーーーーーーーー
チャンネル登録者数
現在 69,574 人
ーーーーーーーーーーーーーー

เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นจากศูนย์ยังไงดี? แชร์เทคนิค\u0026หนังสือเรียน✨|ゼロから始める日本語の勉強方法紹介

EP1 : ไปเรียนญี่ปุ่น 1 ปี ใช้เงินเท่าไหร่ – แจงแจกแบบละเอียดยิบ | Daisuki life in Japan


ไปเรียนญี่ปุ่น 1 ปี ใช้เงินเท่าไหร่
นอกจากแพชชั่น และการเตรียมตัวด้านภาษาญี่ปุ่น อีกหนึ่งปัจจัยก็คือ เงิน !
ในครั้งนี้ เราจะมาแชร์ประสบการณ์ของเราเอง แจกแจงออกมา 10 หัวข้อด้วยกัน

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และเมืองที่ไปอยู่อาศัย

ช่องทางการติดตามอื่นๆ
Facebook : https://www.facebook.com/DaisukiJDramaPlus
Twitter : https://twitter.com/DaisukiPlus
Instagram : https://instagram.com/daisuki_jdrama_plus
ชีวิตในญี่ปุ่น เรียนต่อญี่ปุ่น daisukijdramaplus

EP1 : ไปเรียนญี่ปุ่น 1 ปี ใช้เงินเท่าไหร่ - แจงแจกแบบละเอียดยิบ | Daisuki life in Japan

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เรียน ภาษา ญี่ปุ่น ที่ ญี่ปุ่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *