Skip to content
Home » [NEW] หลักบัญชีเบื้องต้น – Accountant | หลักบัญชี – NATAVIGUIDES

[NEW] หลักบัญชีเบื้องต้น – Accountant | หลักบัญชี – NATAVIGUIDES

หลักบัญชี: คุณกำลังดูกระทู้

หลักบัญชีเบื้องต้น

  1. ความหมายของการบัญชี

ตามคำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(AICPA)มาจากคำเต็มว่า The American Institute of Certified Public Accountants ซึ่งได้ให้ คำจำกัดความเกี่ยวกับการบัญชีไว้ดังนี้ การบัญชี(Accounting)เป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินไว้ในรูปเงินตรา การจัดหมวดหมู่หรือจำแนกประเภทของรายการเหล่านั้น การสรุปผล รวมทั้งการตีความหมายของผลเหล่านั้น
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความของ“การบัญชี” ดังนี้ การบัญชี หมายถึง ศิลปะการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ
จากคำจำกัดความที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่า “การบัญชี” เป็นการจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับการรับเงิน และการจ่ายเงิน หรือสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่าเสมอ โดยจัดแยกประเภท เป็นระเบียบ ถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
ส่วนคําว่า การจัดทําบัญชี (Bookkeeping) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (ส.บช.)ได้ให้คําจํากัดความว่า หมายถึง “การจดบันทึกทางการบัญชี ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสาร บันทึกรายการในสมุดบัญชีขั้นต้น จําแนกและจัดหมวดหมู่รายการในสมุดบัญชีขั้นปลาย ลักษณะงานการจัดทําบัญชีจะซ้ำซากและเป็นงานเสมียน ผู้ปฏิบัติงานหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้จัดทําบัญชี( Bookkeeper) ซึ่งแตกต่างกับ นักบัญชี(Accountant)คือ ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี การบันทึกบัญชี การจัดทํางบการเงิน การวางแผนระบบบัญชีให้กิจการ ควบคุมการบันทึกบัญชีทั้งหมด กําหนดนโยบายทางการบัญชี สามารถประกอบอาชีพผู้สอบบัญชีให้คําปรึกษาทางภาษีอากรของกิจการต่าง ๆ ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป เป็นต้น

2.ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี

การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง
2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book – keeping) ในปลายศตวรรษที่13ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ.1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวดบัญชี
3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี

3. จุดประสงค์ของการบัญชี
การบัญชีมีจุดประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเรียงลําดับก่อนหลัง และจําแนกประเภทของรายการค้าไว้อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง เป็นไปตามหลักการบัญชี และตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
3. เพื่อแสดงผลการดําเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง และแสดงฐานะทางการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่ง
4. การทําบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดําเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
4. ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี และผู้ใช้ประโยชน์จากบัญชี
             ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชีพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดําเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ว่ามี ผลกําไรหรือขาดทุนเป็นจํานวนเงินเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นจํานวนเงินเท่าใด
4. ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการกําหนดนโยบาย ในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจต่างๆในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดําเนินงานได้
            ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชีพอสรุปได้ ดังนี้
1. เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น จะสนใจถึงฐานะทางการเงินของกิจการที่ตนเองมีส่วนได้เสียตลอดจนผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งการที่จะทราบถึงฐานะการเงินของกิจการตลอดจน ผลการดําเนินงานของกิจการได้ต้องอาศัยข้อมูลทางการบัญชี
2. เจ้าหนี้การค้าและผู้ให้เงินกู้ยืม ใช้ข้อมูลทางการบัญชีประกอบการตัดสินใจว่าจะให้เครดิตหรือไม่
3. นักลงทุน นักลงทุนจะเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน กิจการย่อมต้องมีฐานะการเงินและผลการดําเนินที่ดี
4. หน่วยงานรัฐบาล เช่น กรมสรรพากร ใช้ข้อมูลทางการบัญชีประกอบการพิจารณาในการเรียกเก็บภาษี
5. บุคคลภายในองค์กร ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดการ ฯลฯ ซึ่งจะนําข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการบริหารต่อไป

  1. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งกําหนดผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีในประเทศไทยไว้ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจํากัด
3. บริษัทมหาชนจํากัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการรวมค้าตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบการธุรกิจป็นประจําในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้น เป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี
7.บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

6. ผู้ทําบัญชี
ผู้ทําบัญชีตามความหมายของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ไม่ว่าจะกระทําในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีหรือไม่ โดยผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีต้องจัดให้มีผู้ทําบัญชี ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ประกาศกําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่10 สิงหาคม 2544 ดังต่อไปนี้
1. ผู้ทําบัญชีมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี สามารถจัดทําบัญชีให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปดบัญชีในรอบปดบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาทและมีรายได้รวมไม่เกิน30 ล้านบาท
2. ผู้ทําบัญชีมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการ
ศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีสามารถจัดทําบัญชีให้แก่กิจการ ดังต่อไปนี้
2.1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปดบัญชีในรอบปดบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนหรือสินทรัพย์รวมหรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กําหนดไว้
2.2 บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2.4 กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
2.5 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิตประกันวินาศภัย
2.6 ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

  1. ประเภทของการบัญชี

เนื่องจากความต้องการใช้ข้อมูลการบัญชีมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของผู้ใช้ข้อมูล และวัตถุประสงค์ของการใช้การบัญชีจึงแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การบัญชีการเงิน (financial accounting) เป็นการจัดหาข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวของในการดําเนินงานขององค์กรได้แก่ ผู้ลงทุน ผู้ให้สินเชื่อ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป ข้อมูลการบัญชีเสนอในรูป แบบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน และผลการดําเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ
2. การบัญชีเพื่อการจัดการ (managerial accounting) เป็นการจัดหาข้อมูลให้แก่ ผู้บริหารขององค์กรนอกเหนือจากรายงานทางการบัญชีการเงิน การบัญชีเพื่อการจัด การยังให้ข้อมูลอื่นๆที่จําเป็นในการบริหารจัดการเป็นการภายใน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการวางแผน และการควบคุมการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
3. การบัญชีภาษีอากร (tax accounting) เกี่ยวข้องในเรื่องการประเมินภาษี และการวางแผนทางภาษี ซึ่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของหน่วยงาน กรณีหน่วยงานรับาล เช่น กรมสรรพากรจะจ้างนักบัญชีภาษีอากรทําหน้าที่จัดเก็บภาษี ประเมินภาษี และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแบบฟอร์มการเสียภาษีของผู้เสียภาษี ซึ่งจะช่วยให้องค์กรได้รับการลดหย่อนในการเสียภาษี เช่น การบริจาคเงินให้สาธารณชน สําหรับหน่วยงานธุรกิจนักบัญชีภาษีอากรช่วยผู้เสียภาษีในการกรอกแบบฟอร์มการคํานวณ และวางแผนทางภาษี

  1. ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี

แม่บทบัญชีงบการเงินที่กิจการต่าง ๆ ได้จัดทำขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ ดังนั้นการจัดทำงบการเงินจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และข้อสมมติทางการบัญชีในการจัดทำ เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องยุติธรรมต่อผู้ใช้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แม่บทบัญชี (Accounting Framework) เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน ในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน และคำนิยามขององค์ประกอบนั้น รวมถึงเกณฑ์ในการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่ารายการ และแนวคิดเกี่ยวกับทุนและ การรักษาระดับทุนที่ใช้วัดผลกำไรในงบการเงิน โดยมีสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกใช้ เมื่อวันที่25 กุมภาพันธ์ 2542 สำหรับแม่บทบัญชีที่ออกนี้มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและพัฒนามาตรฐานการบัญชีที่จะใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(International Accounting Standard หรือIAS)
ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี มีดังนี้
1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)
เป็นข้อสมมุติที่ถือว่างบ การเงินต้องจัดทำขึ้นภายใต้เกณฑ์คงค้าง โดยต้องรับรู้รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีเมื่อเกิดรายการ ไม่ใช่เมื่อรับหรือจ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ยกเว้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสด ดังนั้นเกณฑ์คงค้างเป็นวิธีการบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดเวลาต่างๆ โดยคำนึงถึงรายได้ที่ พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดเวลานั้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงรายรับและรายจ่ายเป็นเงินสดว่าได้เงินมาแล้วหรือจ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ตามเกณฑ์เงินสด
2. การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern )
โดยทั่วไปงบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่า กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงสมมติว่ากิจการไม่มีเจตนาหรือมีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ หากกิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นดังกล่าว งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่น และต้องเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้นั้นในงบการเงินด้วย การดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่อง ต้องดำรงอยู่ตลอดไปโดยแบ่งเป็นงวด ๆ ตามกำหนดงวดบัญชีของธุรกิจ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี การจัดทาบัญชีในปัจจุบัน ผู้จัดทำบัญชีจะต้องศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับแม่บทการบัญชีเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานการเงินและการนำเสนองบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ในด้านการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง และที่สำคัญข้อมูลต้องเชื่อถือได้และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ดังนั้น สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลประกอบวิชาชีพได้ทำการปรับปรุงแม่บทการบัญชี โดยกำหนดขึ้นมาเพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอกและเพื่อสนองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการทำบัญชีและต้องการให้ชาวบ้านทำบัญชีเป็น
ข้อสมมติฐานของการบัญชีตามข้อกำหนดของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวคิดพื้นฐานของการบัญชีเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการจัดทำงบการเงิน มีดังนี้
1. หลักในการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี การบันทึกบัญชีจำเป็นต้องมีเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้อ่านรายงานการเงินเข้าใจได้ง่าย
2. หลักความเป็นหน่วยของกิจการ ในทางการบัญชีให้ถือว่า กิจการเป็นบุคคลสมมุติ แยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ จึงต้องทำบัญชีของกิจการแยกจากเจ้าของเพื่อให้การบัญชีนั้น แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเจ้าของกิจการ
3. หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม การบันทึกรายการบัญชี และการจัดทำรายงานการเงิน จำเป็นต้องใช้หลักฐานและข้อเท็จอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้ หลักฐานต่าง ๆ นั้นจะต้องปราศจากความลำเอียง และพยายามหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนบุคคล หรือมีอคติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
4. หลักรอบเวลา ผู้ใช้ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี ย่อมต้องการทราบผลการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆในระยะเวลาต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็นรอบเวลา เรียกว่า งวดบัญชี เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบงบการเงิน
5. หลักความดำรงอยู่ของกิจการ นักบัญชีมีข้อสมมุติฐานเบื้องต้นว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงาน แต่ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลาว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร และมีช่วงเวลาเพื่อการดำเนินงานนานพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่าง ๆ ที่ได้ก่อขึ้นจนกว่าจะแล้วเสร็จ
6. หลักราคาทุน ในการบันทึกรายการสินทรัพย์ และหนี้สิน ถือเกณฑ์ราคาต้นทุน ซึ่งเกิดจากการซื้อขายที่คำนวณได้อย่างมีหลักเกณฑ์ โดยไม่คำนึงถึงราคาในอดีต หรืออนาคต ตลอดจนราคาตามความคิดเห็นของบุคคลใด ๆ
7. หลักการเกิดขึ้นของรายได้ ทางการบัญชีรายได้เกิดขึ้นเมื่อการส่งมอบสินค้า หรือบริการให้แก่ลูกค้า ตามจำนวนเงินที่รับหรือคาดว่าจะได้รับ
8. หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้ หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เป็นแนวทางสำหรับการตัดสินว่า รายการใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ โดยการบันทึกรายได้ตามหลักการเกิดขึ้นของการได้ก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปจับคู่กับรายได้ เพื่อหาผลการดำเนินงานของกิจการ
9. หลักเงินค้าง เป็นหลักที่ใช้ในการคำนวณหาผลกำไรขาดทุน โดยพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่ายสำหรับงวดบัญชีนั้น ๆ รายได้และค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาพิจารณาตามหลักเงินคงค้าง ได้แก่ รายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ และการคิดค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ
10. หลักโดยประมาณ การหาผลการดำเนินงานของกิจการในงวดบัญชีหนึ่ง ๆ ทำได้โดยการนำรายได้และค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ มาคำนวณ กิจการบางอย่างอาจมีลักษณะซับซ้อน ไม่อาจหารายได้และค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง แน่นอน จึงต้องอาศัยหลักการประมาณและดุลยพินิจมาประกอบ เช่น การหาค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ทำได้โดยการประมาณจากอายุการใช้งาน
11. หลักความสม่ำเสมอ งบการเงินที่จัดทำขึ้นในระยะเวลาที่ต่างกัน โดยอาศัยมาตรฐานหรือวิธีบัญชีเดียวกัน โดยยึดหลักความสม่ำเสมอย่อมมีประโยชน์ช่วยในการตัดสินใจได้ดีกว่างบบัญชีที่ทำขึ้น โดยอาศัยหลักการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน
12. หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ หมายความว่าถ้าไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นแล้วจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ การเปิดเผยข้อมูลไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่าเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ควรมีลักษณะอย่างไร แต่หมายถึง การเปิดเผยรูปแบบการจัดทำรายการข้อมูลในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
เกณฑ์ในการวัดค่า ตามแม่บทบัญชีมีดังนี้
ราคาทุนเดิม การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มา ซึ่งสินทรัพย์นั้น บันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพัน หรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ ของกิจการ
ราคาทุนปัจจุบัน การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ต้องจ่ายในขณะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น
มูลค่าที่จะได้รับ การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่อาจได้มาในขณะนั้น หากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขาย และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อ ชำระหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
มูลค่าปัจจุบัน การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ

9.สถาบันที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

สถาบันที่มีบทบาทเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันที่สําคัญ มีดังนี้
1. Financial Accounting Standard Board (FASB) เป็นคณะกรรมการตั้งขึ้นโดย AICPAเพื่อศึกษาและจัดทํามาตรฐานการบัญชี จึงเป็นหน่วยงานหลักที่กําหนดหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่บริษัทในสหรัฐอเมริกาต้องปฏิบัติตาม
2. The American Institute of Certified Public Accountants (AICPA) เป็นสถาบันทางการบัญชีที่ช่วยส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพและมาตรฐานทางการบัญชีและออกมาตรฐานการสอบบัญชี เพื่อช่วยผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบ
3. The American Accounting Association (AAA) เป็นสมาคมวิชาชีพบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยค้นคว้า เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางทฤษฎีการบัญชี และปรับปรุงหลักการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
4. Asean Federation of Accountants (AFA) เป็นสหพันธนักบัญชีแห่งอาเซียน ประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการบัญชีปรับมาตรฐานการบัญชีในกลุ่มประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกัน
5. สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions) มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบัญชีโดยทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี กําหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่างๆเพื่อประโยชน์ในการรับสมัครสมาชิก เป็นต้น

  1. จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

จริยธรรมเป็นเรื่องพฤติกรรมของคนในทุกอาชีพที่ควรตระหนัก ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง สังคมนั้นจึงเป็นสังคมแห่งความสันติสุข ดังนั้น จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้อง หรือหลักแห่งการปฏิบัติตนที่ยึดความถูกต้องเป็นนิสัย วิชาชีพบัญชีเป็นนึ่งในหลาย ๆ วิชาชีพที่ควรตระหนักถึงความสําคัญในการประกอบวิชาชีพด้วยหลักการแห่งความถูกต้อง เป็นธรรม โดยกําหนดเป็น จรรยาบรรณไว้ให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานในวิชาชีพของตน และหากประพฤติปฏิบัติผิดจรรยาบรรณจะได้รับโทษตามที่กําหนด สําหรับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ได้กําหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้จัดทำโดยมีข้อกําหนดอย่างน้อย 4 เรื่อง ดังนี้
1. ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
2. ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ
4. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคล ที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้
ดังนั้นจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (profession of accounting ethics) จึงหมายรวมถึง ความประพฤติหรือพฤติกรรมอันถูกต้อง หรือเป็นธรรม ซึ่งเกิดจากจิตสํานึกที่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นหรือสังคม และเป็นพฤติกรรมที่กระทําตามหลักการที่กําหนดความถูกต้องตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือตามมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของซึ่งได้กําหนดไว้ตามกฎหมาย เนื่องจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่ว่าจะปฏิบัติงานในด้านการทําบัญชี ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชีและบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ในการปฏิบัติงานจะต้องมั่นใจว่าได้ทํางานด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์ และยุติธรรม หากมีแนวปฏิบัติให้เลือกผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีพึงใช้วิจารณญาณโดยสุจริต เพราะผลงานซึ่งเป็นข้อมูลทางการบัญชีจะถูกเสนอต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกกิจการ และมีความหมายต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจที่เชื่อถือได้ นอกจากนั้นยังรวมถึงการรักษาความลับของข้อมูลทางการบัญชีที่นักบัญชีไม่ควรนําไปใช้แสวงหาผลปรโยชน์ต่อตนเองหรือทําให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

  1. งบการเงิน

งบการเงิน(financial statements) เป็นรายงานแสดงข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นลผลิตขั้น สุดท้ายของกระบวนการจัดทําบัญชี โดยจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจ เชิงเศรษฐกิจ การดําเนินธุรกิจการค้าจําเป็นต้องทราบผลการดําเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ หรือสําหรับงวดเวลาหนึ่ง กิจการมีผลการดําเนินงานดีมากน้อยเพียงใด และมีฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีทรัพย์สินและหนี้สินประเภทอะไรเป็นมูลค่าเท่าใด และมีเงินทุนเท่าใด ดังนั้นในการจัดทําบัญชีจําเป็นต้องกําหนดงวดเวลาบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี (accounting period) สําหรับระยะเวลาจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับความต้องการในการวัดผลการดําเนินงานของกิจการ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ทั้งนี้มักจะกําหนดตามปีปฏิทิน คือ มีรอบระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วัน ที่ 1มกราคม ถึงวันที่ 31ธันวาคม แต่หน่วยงานของรัฐบาลรอบระยะเวลาบัญชีในการทํางบประมาณแผ่นดินกําหนดรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30กันยายน ในปีถัดไป เรียกว่า ปีงบประมาณ อย่างไรก็ตามเมื่อกิจการกําหนดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว การจัดทํางบการเงินก็จะเป็นไปตามเวลาที่กําหนดไว้เหมือนกันทุกๆปี เพื่อประโยชน์ในการนําข้อมูลทางการเงินจากงบการเงินของแต่ละปีมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันได้ ซึ่งจะมีผลต่อผู้ใช้งบการเงินในการนําข้อมูลไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  1. ความหมายงบการเงิน
    งบการเงิน หมายถึง “รายงานที่ แสดงข้อมูลอันเป็น ผลจากการประกอบธุรกิจ ของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย งบดุล(เปลี่ยนชื่อเป็น”งบแสดงฐานะการเงิน”)งบกําไรขาดทุน(เปลี่ยนชื่อเป็น“งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ”) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบย่อย และคําอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน”
    ส่วนประกอบของงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่1 (ปรับปรุง2552)เรื่อง การนําเสนองบการเงิน กําหนดให้งบการเงินฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย
    1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด
    2. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับงวดโดยนําเสนอได้ 2 รูปแบบ
    2.1 งบเดี่ยว – งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (แบบยาว)
    2.2 สองงบ – งบเฉพาะกําไรขาดทุน + งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แบบสั้น)
    3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับงวด
    4. งบกระแสเงินสดสําหรับงวด
    5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยสรุปนโยบายการบัญชีที่สําคัญ
    6. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด ที่นํามาเปรียบเทียบงวดแรกสุดเมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับงบการเงินย้อนหลัง หรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่
    การทํางบการเงินทุกงบจะต้องแสดงข้อมูล ได้แก่ ชื่อของกิจการที่เสนอรายงานหรือสัญลักษณของกิจการการระบุว่างบการเงินนั้นเป็นงบการเงินเดี่ยวหรืองบการเงินรวม วันที่ในงบ หรือรอบระยะเวลาของงบที่เกี่ยวข้อง สกุลเงินที่ใช้รายงาน และจํานวนหลักที่ใช้ในการแสดงตัวเลขในงบการเงิน (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 447) โดยกิจการบางประเภทอาจไม่ต้องจัดทํางบการเงินครบตามองค์ประกอบ เว้นแต่งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด และงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับงวด ที่ถือว่าเป็นงบการเงินที่ตองจัดทํา และมีความสําคัญต่อ กิจการทุกประเภท สําหรับงบกระแสเงินสดเป็นงบการเงินที่บังคับใช้กับบริษัทมหาชนจํากัด ในบทนี้ จะศึกษาในรายละเอียดเฉพาะเรื่องการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด และงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับงวด ซึ่งเป็นงบการเงินหลักของธุรกิจ สําหรับงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงินจะกล่าวไว้เพียงเป็นพื้นฐานส่วนรายละเอียดการจัดทําให้ศึกษาในบัญชีชั้นสูงต่อไป
  2. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
    งบแสดงฐานะการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่ทําขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอะไร เป็นมูลค่าเท่าใด และมีทุน (ส่วนของเจ้าของ) เป็นจํานวนเงินเท่าใด” และในการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน จะถือหลักความสัมพันธพื้นฐานจากสมการบัญชีซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  3. สินทรัพย์ (assets) หมายถึง“ทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของกิจการซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตและก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ สินทรัพยนั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ และอาจเคลื่อนที่ได้หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ก็ได้ ซึ่งกิจการได้มาโดยการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือผลิตขึ้นเอง อันเป็นเหตุการณ์ในอดีตและสินทรัพย์นั้น มีความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดทั้งทางตรงและทางอ้อมแกกิจการที่เรียกวา ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต” (สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 3) สินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่ หมุนเวียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า,2546, หน้า 17) สินทรัพย์จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
  4. คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือตั้งใจจะขายหรือใช้ภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติของกิจการ
  5. 2. มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
  6. คาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล(งบแสดงฐานะการเงิน)4. เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด และไม่มีข้อจํากัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชําระหนี้ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน)
    สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รอบระยะเวลาการดําเนินงาน หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่ได้สินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดําเนินงานจนกระทั่งได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หากไม่สามารถระบุรอบระยะเวลาการดําเนินงานได้ชัดเจน ให้ถือว่าระยะเวลาการดําเนินงานมีระยะ 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล(งบแสดงฐานะการเงิน)

การแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน จะเรียงตามลําดับรายการที่มีสภาพคล่องมากที่สุด(สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย)ไปหารายการที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุด ดังนี้
1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (current assets) หมายถึง เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งไม่มีข้อจํากัดในการใช้ กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า หรือถือไว้ในระยะสั้น และกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติ หรือกิจการมีสินทรัพย์นั้นไว้เพื่อขาย หรือเพื่อนํามาใช้ในการดําเนินงานตามปกติ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดข้างต้นให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 450) การแสดงสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุลมักจะเรียงลําดับรายการที่เปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่ายมากที่สุดไว้ก่อน ดังนี้
1.1.1 เงินสด หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม(สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 7) เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ (coins) ธนบัตร (currency) เช็คที่ยังไม่ได้นําฝาก เช็คเดินทาง (travelers checks) ดราฟต์ของธนาคาร (bank drafts) และธนาณัติเงิน สด (money orders)เงินฝากธนาคารถือได้ว่าเป็นเงินสดที่มีไว้เพื่อใช้ในการดําเนินงานในปัจจุบัน
1.1.2 เงินลงทุนระยะสั้นถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด (cash equivalents) ที่มีสภาพคล่องสูงพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจํานวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า น้อยหรือไม่มีนัยสําคัญ(สภาวิชาชีพบัญชี, 2549,หน้า 8) เช่น พันธบัตรรัฐบาล (treasury bills) กองทุนตลาดเงิน (money market funds) และตั๋วเงินคงคลัง(commercial paper) ที่มีอายุใกล้ถึงกําหนดไถ่ถอน (ปกติไม่เกิน 3 เดือน)
1.1.3 เงินลงทุนชั่วคราว หมายถึง เงินฝากธนาคารประเภทประจํา เงินฝากออมทรัพย์หรือหลักทรัพยที่ซื้อจากเงินสดเหลือใช้ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อหาดอกผลจากการลงทุนนั้น หลักทรัพยที่ซื้อนั้นต้องอยู่ในความต้องการของตลาดและจะขายเมื่อต้องการใช้เงินสด ประกอบด้วย หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เพื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จะครบกําหนดภายในหนึ่งปี
1.1.4 ลูกหนี้ (receivable) หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปเงินสด สินค้า หรือบริการ ลูกหนี้ที่คาดว่ากิจการจะได้รับชําระเงิน ภายใน 1 ปี จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ลูกหนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า (account receivable หรือ trade receivable) และลูกหนี้อื่น (other receivableหรือnon trade receivable)
1.1.5 ตั๋วเงินรับ (notes receivable) ตามศัพท์บัญชี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, 2538,หน้า 68) หมายถึง คํามั่นสัญญาที่เป็นลายลักษณอักษรโดยปราศจากเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งรับชําระเงินจํานวนที่แน่นอนจํานวนหนึ่งให้แก่อีกบุคคลหนึ่งภายในเวลาที่กําหนด ตั๋วเงินรับ ได้แก่ ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) และตั๋วแลกเงิน (bill of exchange)
1.1.6 รายได้ค้างรับ (accrued income) หมายถึง รายได้ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเงิน เช่น กิจการได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเงินค่าบริการดังกล่าวจากลูกค้า ในวันสิ้นงวดบัญชีจะถือว่ามีรายได้ค้างรับเกิดขึ้นแล้ว
1.1.7 สินค้าคงเหลือ (inventories) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจโดยปกติสําหรับกิจการซื้อมาขายไป หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นสินค้าสําเร็จรูปเพื่อขาย หรือมีอยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าสําหรับกิจการที่ทําการผลิต(สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 39)
1.1.8 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (prepaid expenses) ตามศัพท์บัญชี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, 2538,หน้า 74) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปก่อนสําหรับสินทรัพย์หรือบริการที่จะได้รับประโยชน์ในอนาคตและจะใช้หมดไปในระยะเวลาอัน สั้น มักจะเกิดขึ้นในการดําเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ค้าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (non current assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที หรือภายในอนาคตอันใกล้ หรือภายในรอบระยะเวลาดําเนินงาน ซึ่งสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีดังนี้
1.2.1 เงินลงทุนระยะยาว (long –term investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 ปี ได้แก่ หุ้นกู้พันธบัตร ซึ่งกิจการยังมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งเงินลงทุนระยะยาวจะหมายรวมถึง ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อขาย และตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549, หน้า46)
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (investment property) หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์
1.2.3 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (property ,plant and equipment) หมายถึง ทรัพย์สินที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ใช้ในการจําหนายสินค้า ให้บริการ ให้ผู้อื่นเช่า ใช้ในการบริหารงานกิจการได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาด้วยการซื้อหรือสร้างขึ้นเอง โดยมีความตั้งใจว่า จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นต่อเนื่องตลอดไป ไม่ตั้งใจที่จะมีไว้เพื่อจําหน่าย
1.2.4 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (intangible assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ที่สามารถระบุได้ และไม่มีรูปร่าง (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549, หน้า 37) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจําหน่ายสินค้า หรือให้บริการเพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เช่น ลิขสิทธิ์ (copyrights) สิทธิบัตร(patents) เครื่องหมายการค้า(trademarks)สัมปทาน (franchises) เครื่องหมายการค้า(Trademarks)ค่าความนิยม (goodwill)สิทธิการเช่า (lease hold) เป็นต้น บันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันที่ไดรับมาโดยใช้หลักราคาทุน
1.2.5 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
1.2.6 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (other non – current assets) เป็นสินทรัพย์ที่กิจการสามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการผลิต การดําเนินงานที่มีระยะยาว ซึ่งเป็นทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ไม่ได้จัดไว้ในประเภทสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
           2.หนี้สิน (liabilities) หมายถึง “ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ ในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้ กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ” (สภาวิชาชีพ บัญ ชี, 2549, หน้า 45) หนี้สิน หรือ ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการเกิดจากหน้าที่และความรับผิดชอบของกิจการที่กระทําการตามปกติของการดําเนินงานตามประเพณีการค้า ทําให้เกิดเจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้การค้า ถ้าเกิดจากการกู้ยืมเงิน เรียกว่า เจ้าหนี้เงินกู้ ซึ่งทําในรูปสัญญาเงินกู้ หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ถ้าเป็นหนี้ประเภทตั๋วเงิน เรียกว่า ตั๋วเงินจ่าย นอกจากนั้นเป็นภาระผูกพันที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้จ่าย เรียกว่า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหนี้สินแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2546, หน้า 18)
2.1 หนี้สินหมุนเวียน (current liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ถึงกําหนดชําระภายในระยะเวลา 12เดือนนับ จากวันที่ในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) และกิจการคาดว่าจะชําระหนี้สินคืนภายในระยะเวลาดําเนินงานปกติ หนี้สินจะจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อหนี้สินนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. คาดว่าจะมีการชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติ
2. มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
3. ถึงกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
4. กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชําระหนี้ออกไปอีกไม่น้อยกว่า 12เดือนนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน รายการที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่
2.1.1เงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ยืม ระยะสั้น จากสถาบันการเงิน (bank overdrafts and short – term loan) หมายถึง จํานวนเงินที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคาร อันเกิดจากการสั่งจ่ายเงินเกินกว่าจํานวนเงินที่ฝากไว้ และหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินไม่ว่าโดยวิธีใดซึ่งจะต้องชําระเงินคืนในระยะเวลาสั้น
2.1.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น (trade and other payables) เจ้าหนี้การค้า หมายถึง เงินที่กิจการค้างชําระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือใช้ในการผลิตหรือใช้ในการบริการตามปกติ และตั๋วเงินจ่ายที่กิจการออกให้เพื่อชําระค่าสินค้าหรือบริการเจ้าหนี้อื่น หมายถึง เจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น รายได้รับล่วงหน้า (unearned revenue)ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (accrued expenses)
2.1.3 ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกําหนดภายในหนึ่งปี
2.1.4 เงินกู้ยืมระยะสั้น หมายถึง เงินกู้ยืม ระยะสั้น จากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การกู้ยืมจากบริษัทย่อยและบริษัทรวม และการกู้ยืมระยะสั้นอื่น เช่น ตั๋วเงินจ่าย การกู้เงินมักจะอยู่ในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน และการใช้ตั๋วเงินจ่ายเพื่อเป็นคํามั่นสัญญาจะชําระเงินจํานวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งในเวลาที่กําหนด เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ
2.1.5ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (tax payables) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย
2.1.6 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น (short-term provisions) หมายถึง หนี้สินที่คาดว่าจะถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาและจํานวนเงินที่ต้องจ่ายชําระ
2.1.7หนี้สินหมุนเวียนอื่น (other current liabilities) หมายถึง หนี้สินหมุนเวียนอื่นนอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ข้างต้น
2.1.8 หนี้สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (non – current liability) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชําระเงินคืนเกินกว่าระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ในแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดําเนิน งานตามปกติของกิจการ ได้แก่เงินกู้ยืมระยะยาว หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานประมาณการหนี้สินระยะยาว

14. การจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน
สามารถจัดทําได้ 2 แบบ คือแบบบัญชี และแบบรายงาน
1.แบบบัญชี (account form) หรือแบบตัว T (T –account) เป็นแบบที่แยกแสดงรายการออกเป็น2ด้าน ด้านซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์ ด้านขวาแสดงรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของ การจัดทํางบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีมีขั้นตอนดังนี้
1.1 เขียนชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงินและวันที่จดทําข้อมูลไว้ตรงกลางหน้ากระดาษแยกแต่ละบรรทัด
1.2 เขียนหน่วยเงินตราไว้ด้านขวามือของหน้ากระดาษ
1.3 ด้านซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์เรียงลําดับตามสภาพคล่องของสินทรัพย์ โดยเริ่มด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ตามลําดับ
1.4 ด้านขวาแสดงรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยเริ่มจากหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ
1.5 รวมยอดเงินด้านซ้าย (ยอดรวมสินทรัพย์) และ รวมยอดเงิน ด้านขวามือ (ยอดรวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ) ซึ่งต้องเท่ากันทั้งสองด้าน
2. แบบรายงาน (report form) เป็นแบบที่แสดงรายการเป็นหมวดหมู่ เรียงรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ โดยมีขั้นตอนการจัดทํางบแสดงฐานะการเงินได้ดังนี้2.1 เขียนชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงินและวันที่ที่จัดทําข้อมูลไว้ตรงกลางหน้ากระดาษแยกแต่ละบรรทัด

2.2 เขียนหน่วยเงินตราไว้ด้านขวามือของหน้ากระดาษ

2.3 เขียนคําว่า สินทรัพย์ กลางหน้ากระดาษและแสดงรายการสินทรัพย์เรียงตามลําดับสภาพคล่องโดยเริ่มจากสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมยอดแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งสิ้น

2.4 เขียนคําว่า หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ตรงกลางหน้ากระดาษ และแสดง รายการเรียงตามหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ รวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งสิ้น

                                                     สรุป

การบัญชีเกิดขึ้นมาพร้อมกับการประกอบธุรกิจการค้าตั้งแต่ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14ปรากฏหลักฐานที่สมบูรณ์ว่ามีการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี มีชาวอิตาเลียนชื่อ ฟรา ลูกา ปาซิโอลิ ได้เขียนหลักการบัญชีคู่ไว้ในหนังสือคณิตศาสตร์ โดยใช้พีชคณิตเป็นพื้นฐานว่า สินทรัพย์เท่ากับหนี้สินบวกส่วนของเจ้าของ และผลรวมด้านเดบิตเท่ากับเครดิต สําหรับการบัญชีในประเทศไทยปรากฏหลักฐานมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัทรัตนโกสินทร์ศก130 (พ.ศ. 2455) กําหนดให้บริษัทต้องจัดทําบัญชีและมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ
การทําบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี โดยการทําบัญชีจะครอบคลุมในเรื่องการจดบันทึกรายการทางการเงิน การจําแนกข้อมูลที่จดบันทึกออกเป็นหมวดหมู่และสรุปผลจัดทํางบการเงินตามที่วางระบบบัญชีไว้ แต่การบัญชีจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ที่กว้างกว่า คือ นอกจากจะทําบัญชีแล้วยังสามารถออกแบบและวางระบบบัญชี การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลของงบการเงินและตรวจสอบบัญชี เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจํากัด บริษัทมหาชน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด เป็นต้น

ผู้ทําบัญชี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่า อนุปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น สูงทางการบัญชีทําบัญชีในกิจการที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีทรัพย์สินรวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ถ้าเกินกว่าผู้ทําบัญชีต้องมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

แม่บทการบัญชี เป็นเกณฑ์หรือแนวคิดพื้นฐานในการจัดทําและนําเสนองบการเงินแก่ผู้จัดทําและผู้ใช้งบการเงินมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน แนวคิดเกี่ยวกับการวัดมูลค่าและแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน

สถาบันที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ออกมาตรฐานทางการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี มาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เป็นต้น

จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หมายถึง ความประพฤติหรือพฤติกรรมที่ถูกธรรม หรือเป็นธรรมซึ่งเกิดจากจิตสํานึกรับผิดชอบ และพฤติกรรมที่ต้องกระทําตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

งบการเงินเป็น รายงานเสนอข้อมูล ทางการเงินที่มีแบบแผนอันเป็น ผลมาจากการประกอบธุรกิจของกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ โดยงบการเงินที่สมบูรณ์จะประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับงวด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับงวด งบกระแสเงินสดสําหรับงวด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด ที่นํามาเปรียบเทียบงวดแรกสุดเมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง

Share this:

Like this:

Like

Loading…

[NEW] หลักบัญชีเบื้องต้น – Accountant | หลักบัญชี – NATAVIGUIDES

หลักบัญชีเบื้องต้น

  1. ความหมายของการบัญชี

ตามคำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(AICPA)มาจากคำเต็มว่า The American Institute of Certified Public Accountants ซึ่งได้ให้ คำจำกัดความเกี่ยวกับการบัญชีไว้ดังนี้ การบัญชี(Accounting)เป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินไว้ในรูปเงินตรา การจัดหมวดหมู่หรือจำแนกประเภทของรายการเหล่านั้น การสรุปผล รวมทั้งการตีความหมายของผลเหล่านั้น
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความของ“การบัญชี” ดังนี้ การบัญชี หมายถึง ศิลปะการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ
จากคำจำกัดความที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่า “การบัญชี” เป็นการจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับการรับเงิน และการจ่ายเงิน หรือสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่าเสมอ โดยจัดแยกประเภท เป็นระเบียบ ถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
ส่วนคําว่า การจัดทําบัญชี (Bookkeeping) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (ส.บช.)ได้ให้คําจํากัดความว่า หมายถึง “การจดบันทึกทางการบัญชี ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสาร บันทึกรายการในสมุดบัญชีขั้นต้น จําแนกและจัดหมวดหมู่รายการในสมุดบัญชีขั้นปลาย ลักษณะงานการจัดทําบัญชีจะซ้ำซากและเป็นงานเสมียน ผู้ปฏิบัติงานหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้จัดทําบัญชี( Bookkeeper) ซึ่งแตกต่างกับ นักบัญชี(Accountant)คือ ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี การบันทึกบัญชี การจัดทํางบการเงิน การวางแผนระบบบัญชีให้กิจการ ควบคุมการบันทึกบัญชีทั้งหมด กําหนดนโยบายทางการบัญชี สามารถประกอบอาชีพผู้สอบบัญชีให้คําปรึกษาทางภาษีอากรของกิจการต่าง ๆ ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป เป็นต้น

2.ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี

การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง
2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book – keeping) ในปลายศตวรรษที่13ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ.1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวดบัญชี
3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี

3. จุดประสงค์ของการบัญชี
การบัญชีมีจุดประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเรียงลําดับก่อนหลัง และจําแนกประเภทของรายการค้าไว้อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง เป็นไปตามหลักการบัญชี และตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
3. เพื่อแสดงผลการดําเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง และแสดงฐานะทางการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่ง
4. การทําบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดําเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
4. ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี และผู้ใช้ประโยชน์จากบัญชี
             ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชีพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดําเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ว่ามี ผลกําไรหรือขาดทุนเป็นจํานวนเงินเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นจํานวนเงินเท่าใด
4. ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการกําหนดนโยบาย ในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจต่างๆในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดําเนินงานได้
            ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชีพอสรุปได้ ดังนี้
1. เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น จะสนใจถึงฐานะทางการเงินของกิจการที่ตนเองมีส่วนได้เสียตลอดจนผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งการที่จะทราบถึงฐานะการเงินของกิจการตลอดจน ผลการดําเนินงานของกิจการได้ต้องอาศัยข้อมูลทางการบัญชี
2. เจ้าหนี้การค้าและผู้ให้เงินกู้ยืม ใช้ข้อมูลทางการบัญชีประกอบการตัดสินใจว่าจะให้เครดิตหรือไม่
3. นักลงทุน นักลงทุนจะเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน กิจการย่อมต้องมีฐานะการเงินและผลการดําเนินที่ดี
4. หน่วยงานรัฐบาล เช่น กรมสรรพากร ใช้ข้อมูลทางการบัญชีประกอบการพิจารณาในการเรียกเก็บภาษี
5. บุคคลภายในองค์กร ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดการ ฯลฯ ซึ่งจะนําข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการบริหารต่อไป

  1. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งกําหนดผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีในประเทศไทยไว้ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจํากัด
3. บริษัทมหาชนจํากัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการรวมค้าตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบการธุรกิจป็นประจําในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้น เป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี
7.บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

6. ผู้ทําบัญชี
ผู้ทําบัญชีตามความหมายของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ไม่ว่าจะกระทําในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีหรือไม่ โดยผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีต้องจัดให้มีผู้ทําบัญชี ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ประกาศกําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่10 สิงหาคม 2544 ดังต่อไปนี้
1. ผู้ทําบัญชีมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี สามารถจัดทําบัญชีให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปดบัญชีในรอบปดบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาทและมีรายได้รวมไม่เกิน30 ล้านบาท
2. ผู้ทําบัญชีมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการ
ศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีสามารถจัดทําบัญชีให้แก่กิจการ ดังต่อไปนี้
2.1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปดบัญชีในรอบปดบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนหรือสินทรัพย์รวมหรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กําหนดไว้
2.2 บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2.4 กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
2.5 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิตประกันวินาศภัย
2.6 ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

  1. ประเภทของการบัญชี

เนื่องจากความต้องการใช้ข้อมูลการบัญชีมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของผู้ใช้ข้อมูล และวัตถุประสงค์ของการใช้การบัญชีจึงแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การบัญชีการเงิน (financial accounting) เป็นการจัดหาข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวของในการดําเนินงานขององค์กรได้แก่ ผู้ลงทุน ผู้ให้สินเชื่อ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป ข้อมูลการบัญชีเสนอในรูป แบบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน และผลการดําเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ
2. การบัญชีเพื่อการจัดการ (managerial accounting) เป็นการจัดหาข้อมูลให้แก่ ผู้บริหารขององค์กรนอกเหนือจากรายงานทางการบัญชีการเงิน การบัญชีเพื่อการจัด การยังให้ข้อมูลอื่นๆที่จําเป็นในการบริหารจัดการเป็นการภายใน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการวางแผน และการควบคุมการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
3. การบัญชีภาษีอากร (tax accounting) เกี่ยวข้องในเรื่องการประเมินภาษี และการวางแผนทางภาษี ซึ่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของหน่วยงาน กรณีหน่วยงานรับาล เช่น กรมสรรพากรจะจ้างนักบัญชีภาษีอากรทําหน้าที่จัดเก็บภาษี ประเมินภาษี และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแบบฟอร์มการเสียภาษีของผู้เสียภาษี ซึ่งจะช่วยให้องค์กรได้รับการลดหย่อนในการเสียภาษี เช่น การบริจาคเงินให้สาธารณชน สําหรับหน่วยงานธุรกิจนักบัญชีภาษีอากรช่วยผู้เสียภาษีในการกรอกแบบฟอร์มการคํานวณ และวางแผนทางภาษี

  1. ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี

แม่บทบัญชีงบการเงินที่กิจการต่าง ๆ ได้จัดทำขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ ดังนั้นการจัดทำงบการเงินจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และข้อสมมติทางการบัญชีในการจัดทำ เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องยุติธรรมต่อผู้ใช้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แม่บทบัญชี (Accounting Framework) เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน ในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน และคำนิยามขององค์ประกอบนั้น รวมถึงเกณฑ์ในการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่ารายการ และแนวคิดเกี่ยวกับทุนและ การรักษาระดับทุนที่ใช้วัดผลกำไรในงบการเงิน โดยมีสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกใช้ เมื่อวันที่25 กุมภาพันธ์ 2542 สำหรับแม่บทบัญชีที่ออกนี้มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและพัฒนามาตรฐานการบัญชีที่จะใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(International Accounting Standard หรือIAS)
ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี มีดังนี้
1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)
เป็นข้อสมมุติที่ถือว่างบ การเงินต้องจัดทำขึ้นภายใต้เกณฑ์คงค้าง โดยต้องรับรู้รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีเมื่อเกิดรายการ ไม่ใช่เมื่อรับหรือจ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ยกเว้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสด ดังนั้นเกณฑ์คงค้างเป็นวิธีการบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดเวลาต่างๆ โดยคำนึงถึงรายได้ที่ พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดเวลานั้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงรายรับและรายจ่ายเป็นเงินสดว่าได้เงินมาแล้วหรือจ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ตามเกณฑ์เงินสด
2. การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern )
โดยทั่วไปงบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่า กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงสมมติว่ากิจการไม่มีเจตนาหรือมีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ หากกิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นดังกล่าว งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่น และต้องเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้นั้นในงบการเงินด้วย การดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่อง ต้องดำรงอยู่ตลอดไปโดยแบ่งเป็นงวด ๆ ตามกำหนดงวดบัญชีของธุรกิจ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี การจัดทาบัญชีในปัจจุบัน ผู้จัดทำบัญชีจะต้องศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับแม่บทการบัญชีเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานการเงินและการนำเสนองบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ในด้านการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง และที่สำคัญข้อมูลต้องเชื่อถือได้และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ดังนั้น สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลประกอบวิชาชีพได้ทำการปรับปรุงแม่บทการบัญชี โดยกำหนดขึ้นมาเพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอกและเพื่อสนองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการทำบัญชีและต้องการให้ชาวบ้านทำบัญชีเป็น
ข้อสมมติฐานของการบัญชีตามข้อกำหนดของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวคิดพื้นฐานของการบัญชีเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการจัดทำงบการเงิน มีดังนี้
1. หลักในการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี การบันทึกบัญชีจำเป็นต้องมีเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้อ่านรายงานการเงินเข้าใจได้ง่าย
2. หลักความเป็นหน่วยของกิจการ ในทางการบัญชีให้ถือว่า กิจการเป็นบุคคลสมมุติ แยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ จึงต้องทำบัญชีของกิจการแยกจากเจ้าของเพื่อให้การบัญชีนั้น แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเจ้าของกิจการ
3. หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม การบันทึกรายการบัญชี และการจัดทำรายงานการเงิน จำเป็นต้องใช้หลักฐานและข้อเท็จอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้ หลักฐานต่าง ๆ นั้นจะต้องปราศจากความลำเอียง และพยายามหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนบุคคล หรือมีอคติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
4. หลักรอบเวลา ผู้ใช้ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี ย่อมต้องการทราบผลการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆในระยะเวลาต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็นรอบเวลา เรียกว่า งวดบัญชี เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบงบการเงิน
5. หลักความดำรงอยู่ของกิจการ นักบัญชีมีข้อสมมุติฐานเบื้องต้นว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงาน แต่ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลาว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร และมีช่วงเวลาเพื่อการดำเนินงานนานพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่าง ๆ ที่ได้ก่อขึ้นจนกว่าจะแล้วเสร็จ
6. หลักราคาทุน ในการบันทึกรายการสินทรัพย์ และหนี้สิน ถือเกณฑ์ราคาต้นทุน ซึ่งเกิดจากการซื้อขายที่คำนวณได้อย่างมีหลักเกณฑ์ โดยไม่คำนึงถึงราคาในอดีต หรืออนาคต ตลอดจนราคาตามความคิดเห็นของบุคคลใด ๆ
7. หลักการเกิดขึ้นของรายได้ ทางการบัญชีรายได้เกิดขึ้นเมื่อการส่งมอบสินค้า หรือบริการให้แก่ลูกค้า ตามจำนวนเงินที่รับหรือคาดว่าจะได้รับ
8. หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้ หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เป็นแนวทางสำหรับการตัดสินว่า รายการใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ โดยการบันทึกรายได้ตามหลักการเกิดขึ้นของการได้ก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปจับคู่กับรายได้ เพื่อหาผลการดำเนินงานของกิจการ
9. หลักเงินค้าง เป็นหลักที่ใช้ในการคำนวณหาผลกำไรขาดทุน โดยพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่ายสำหรับงวดบัญชีนั้น ๆ รายได้และค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาพิจารณาตามหลักเงินคงค้าง ได้แก่ รายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ และการคิดค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ
10. หลักโดยประมาณ การหาผลการดำเนินงานของกิจการในงวดบัญชีหนึ่ง ๆ ทำได้โดยการนำรายได้และค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ มาคำนวณ กิจการบางอย่างอาจมีลักษณะซับซ้อน ไม่อาจหารายได้และค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง แน่นอน จึงต้องอาศัยหลักการประมาณและดุลยพินิจมาประกอบ เช่น การหาค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ทำได้โดยการประมาณจากอายุการใช้งาน
11. หลักความสม่ำเสมอ งบการเงินที่จัดทำขึ้นในระยะเวลาที่ต่างกัน โดยอาศัยมาตรฐานหรือวิธีบัญชีเดียวกัน โดยยึดหลักความสม่ำเสมอย่อมมีประโยชน์ช่วยในการตัดสินใจได้ดีกว่างบบัญชีที่ทำขึ้น โดยอาศัยหลักการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน
12. หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ หมายความว่าถ้าไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นแล้วจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ การเปิดเผยข้อมูลไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่าเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ควรมีลักษณะอย่างไร แต่หมายถึง การเปิดเผยรูปแบบการจัดทำรายการข้อมูลในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
เกณฑ์ในการวัดค่า ตามแม่บทบัญชีมีดังนี้
ราคาทุนเดิม การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มา ซึ่งสินทรัพย์นั้น บันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพัน หรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ ของกิจการ
ราคาทุนปัจจุบัน การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ต้องจ่ายในขณะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น
มูลค่าที่จะได้รับ การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่อาจได้มาในขณะนั้น หากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขาย และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อ ชำระหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
มูลค่าปัจจุบัน การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ

9.สถาบันที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

สถาบันที่มีบทบาทเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันที่สําคัญ มีดังนี้
1. Financial Accounting Standard Board (FASB) เป็นคณะกรรมการตั้งขึ้นโดย AICPAเพื่อศึกษาและจัดทํามาตรฐานการบัญชี จึงเป็นหน่วยงานหลักที่กําหนดหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่บริษัทในสหรัฐอเมริกาต้องปฏิบัติตาม
2. The American Institute of Certified Public Accountants (AICPA) เป็นสถาบันทางการบัญชีที่ช่วยส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพและมาตรฐานทางการบัญชีและออกมาตรฐานการสอบบัญชี เพื่อช่วยผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบ
3. The American Accounting Association (AAA) เป็นสมาคมวิชาชีพบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยค้นคว้า เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางทฤษฎีการบัญชี และปรับปรุงหลักการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
4. Asean Federation of Accountants (AFA) เป็นสหพันธนักบัญชีแห่งอาเซียน ประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการบัญชีปรับมาตรฐานการบัญชีในกลุ่มประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกัน
5. สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions) มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบัญชีโดยทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี กําหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่างๆเพื่อประโยชน์ในการรับสมัครสมาชิก เป็นต้น

  1. จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

จริยธรรมเป็นเรื่องพฤติกรรมของคนในทุกอาชีพที่ควรตระหนัก ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง สังคมนั้นจึงเป็นสังคมแห่งความสันติสุข ดังนั้น จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้อง หรือหลักแห่งการปฏิบัติตนที่ยึดความถูกต้องเป็นนิสัย วิชาชีพบัญชีเป็นนึ่งในหลาย ๆ วิชาชีพที่ควรตระหนักถึงความสําคัญในการประกอบวิชาชีพด้วยหลักการแห่งความถูกต้อง เป็นธรรม โดยกําหนดเป็น จรรยาบรรณไว้ให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานในวิชาชีพของตน และหากประพฤติปฏิบัติผิดจรรยาบรรณจะได้รับโทษตามที่กําหนด สําหรับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ได้กําหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้จัดทำโดยมีข้อกําหนดอย่างน้อย 4 เรื่อง ดังนี้
1. ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
2. ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ
4. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคล ที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้
ดังนั้นจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (profession of accounting ethics) จึงหมายรวมถึง ความประพฤติหรือพฤติกรรมอันถูกต้อง หรือเป็นธรรม ซึ่งเกิดจากจิตสํานึกที่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นหรือสังคม และเป็นพฤติกรรมที่กระทําตามหลักการที่กําหนดความถูกต้องตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือตามมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของซึ่งได้กําหนดไว้ตามกฎหมาย เนื่องจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่ว่าจะปฏิบัติงานในด้านการทําบัญชี ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชีและบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ในการปฏิบัติงานจะต้องมั่นใจว่าได้ทํางานด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์ และยุติธรรม หากมีแนวปฏิบัติให้เลือกผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีพึงใช้วิจารณญาณโดยสุจริต เพราะผลงานซึ่งเป็นข้อมูลทางการบัญชีจะถูกเสนอต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกกิจการ และมีความหมายต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจที่เชื่อถือได้ นอกจากนั้นยังรวมถึงการรักษาความลับของข้อมูลทางการบัญชีที่นักบัญชีไม่ควรนําไปใช้แสวงหาผลปรโยชน์ต่อตนเองหรือทําให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

  1. งบการเงิน

งบการเงิน(financial statements) เป็นรายงานแสดงข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นลผลิตขั้น สุดท้ายของกระบวนการจัดทําบัญชี โดยจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจ เชิงเศรษฐกิจ การดําเนินธุรกิจการค้าจําเป็นต้องทราบผลการดําเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ หรือสําหรับงวดเวลาหนึ่ง กิจการมีผลการดําเนินงานดีมากน้อยเพียงใด และมีฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีทรัพย์สินและหนี้สินประเภทอะไรเป็นมูลค่าเท่าใด และมีเงินทุนเท่าใด ดังนั้นในการจัดทําบัญชีจําเป็นต้องกําหนดงวดเวลาบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี (accounting period) สําหรับระยะเวลาจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับความต้องการในการวัดผลการดําเนินงานของกิจการ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ทั้งนี้มักจะกําหนดตามปีปฏิทิน คือ มีรอบระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วัน ที่ 1มกราคม ถึงวันที่ 31ธันวาคม แต่หน่วยงานของรัฐบาลรอบระยะเวลาบัญชีในการทํางบประมาณแผ่นดินกําหนดรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30กันยายน ในปีถัดไป เรียกว่า ปีงบประมาณ อย่างไรก็ตามเมื่อกิจการกําหนดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว การจัดทํางบการเงินก็จะเป็นไปตามเวลาที่กําหนดไว้เหมือนกันทุกๆปี เพื่อประโยชน์ในการนําข้อมูลทางการเงินจากงบการเงินของแต่ละปีมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันได้ ซึ่งจะมีผลต่อผู้ใช้งบการเงินในการนําข้อมูลไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  1. ความหมายงบการเงิน
    งบการเงิน หมายถึง “รายงานที่ แสดงข้อมูลอันเป็น ผลจากการประกอบธุรกิจ ของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย งบดุล(เปลี่ยนชื่อเป็น”งบแสดงฐานะการเงิน”)งบกําไรขาดทุน(เปลี่ยนชื่อเป็น“งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ”) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบย่อย และคําอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน”
    ส่วนประกอบของงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่1 (ปรับปรุง2552)เรื่อง การนําเสนองบการเงิน กําหนดให้งบการเงินฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย
    1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด
    2. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับงวดโดยนําเสนอได้ 2 รูปแบบ
    2.1 งบเดี่ยว – งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (แบบยาว)
    2.2 สองงบ – งบเฉพาะกําไรขาดทุน + งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แบบสั้น)
    3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับงวด
    4. งบกระแสเงินสดสําหรับงวด
    5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยสรุปนโยบายการบัญชีที่สําคัญ
    6. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด ที่นํามาเปรียบเทียบงวดแรกสุดเมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับงบการเงินย้อนหลัง หรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่
    การทํางบการเงินทุกงบจะต้องแสดงข้อมูล ได้แก่ ชื่อของกิจการที่เสนอรายงานหรือสัญลักษณของกิจการการระบุว่างบการเงินนั้นเป็นงบการเงินเดี่ยวหรืองบการเงินรวม วันที่ในงบ หรือรอบระยะเวลาของงบที่เกี่ยวข้อง สกุลเงินที่ใช้รายงาน และจํานวนหลักที่ใช้ในการแสดงตัวเลขในงบการเงิน (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 447) โดยกิจการบางประเภทอาจไม่ต้องจัดทํางบการเงินครบตามองค์ประกอบ เว้นแต่งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด และงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับงวด ที่ถือว่าเป็นงบการเงินที่ตองจัดทํา และมีความสําคัญต่อ กิจการทุกประเภท สําหรับงบกระแสเงินสดเป็นงบการเงินที่บังคับใช้กับบริษัทมหาชนจํากัด ในบทนี้ จะศึกษาในรายละเอียดเฉพาะเรื่องการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด และงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับงวด ซึ่งเป็นงบการเงินหลักของธุรกิจ สําหรับงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงินจะกล่าวไว้เพียงเป็นพื้นฐานส่วนรายละเอียดการจัดทําให้ศึกษาในบัญชีชั้นสูงต่อไป
  2. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
    งบแสดงฐานะการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่ทําขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอะไร เป็นมูลค่าเท่าใด และมีทุน (ส่วนของเจ้าของ) เป็นจํานวนเงินเท่าใด” และในการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน จะถือหลักความสัมพันธพื้นฐานจากสมการบัญชีซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  3. สินทรัพย์ (assets) หมายถึง“ทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของกิจการซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตและก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ สินทรัพยนั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ และอาจเคลื่อนที่ได้หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ก็ได้ ซึ่งกิจการได้มาโดยการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือผลิตขึ้นเอง อันเป็นเหตุการณ์ในอดีตและสินทรัพย์นั้น มีความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดทั้งทางตรงและทางอ้อมแกกิจการที่เรียกวา ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต” (สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 3) สินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่ หมุนเวียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า,2546, หน้า 17) สินทรัพย์จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
  4. คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือตั้งใจจะขายหรือใช้ภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติของกิจการ
  5. 2. มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
  6. คาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล(งบแสดงฐานะการเงิน)4. เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด และไม่มีข้อจํากัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชําระหนี้ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน)
    สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รอบระยะเวลาการดําเนินงาน หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่ได้สินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดําเนินงานจนกระทั่งได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หากไม่สามารถระบุรอบระยะเวลาการดําเนินงานได้ชัดเจน ให้ถือว่าระยะเวลาการดําเนินงานมีระยะ 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล(งบแสดงฐานะการเงิน)

การแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน จะเรียงตามลําดับรายการที่มีสภาพคล่องมากที่สุด(สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย)ไปหารายการที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุด ดังนี้
1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (current assets) หมายถึง เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งไม่มีข้อจํากัดในการใช้ กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า หรือถือไว้ในระยะสั้น และกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติ หรือกิจการมีสินทรัพย์นั้นไว้เพื่อขาย หรือเพื่อนํามาใช้ในการดําเนินงานตามปกติ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดข้างต้นให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 450) การแสดงสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุลมักจะเรียงลําดับรายการที่เปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่ายมากที่สุดไว้ก่อน ดังนี้
1.1.1 เงินสด หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม(สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 7) เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ (coins) ธนบัตร (currency) เช็คที่ยังไม่ได้นําฝาก เช็คเดินทาง (travelers checks) ดราฟต์ของธนาคาร (bank drafts) และธนาณัติเงิน สด (money orders)เงินฝากธนาคารถือได้ว่าเป็นเงินสดที่มีไว้เพื่อใช้ในการดําเนินงานในปัจจุบัน
1.1.2 เงินลงทุนระยะสั้นถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด (cash equivalents) ที่มีสภาพคล่องสูงพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจํานวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า น้อยหรือไม่มีนัยสําคัญ(สภาวิชาชีพบัญชี, 2549,หน้า 8) เช่น พันธบัตรรัฐบาล (treasury bills) กองทุนตลาดเงิน (money market funds) และตั๋วเงินคงคลัง(commercial paper) ที่มีอายุใกล้ถึงกําหนดไถ่ถอน (ปกติไม่เกิน 3 เดือน)
1.1.3 เงินลงทุนชั่วคราว หมายถึง เงินฝากธนาคารประเภทประจํา เงินฝากออมทรัพย์หรือหลักทรัพยที่ซื้อจากเงินสดเหลือใช้ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อหาดอกผลจากการลงทุนนั้น หลักทรัพยที่ซื้อนั้นต้องอยู่ในความต้องการของตลาดและจะขายเมื่อต้องการใช้เงินสด ประกอบด้วย หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เพื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จะครบกําหนดภายในหนึ่งปี
1.1.4 ลูกหนี้ (receivable) หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปเงินสด สินค้า หรือบริการ ลูกหนี้ที่คาดว่ากิจการจะได้รับชําระเงิน ภายใน 1 ปี จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ลูกหนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า (account receivable หรือ trade receivable) และลูกหนี้อื่น (other receivableหรือnon trade receivable)
1.1.5 ตั๋วเงินรับ (notes receivable) ตามศัพท์บัญชี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, 2538,หน้า 68) หมายถึง คํามั่นสัญญาที่เป็นลายลักษณอักษรโดยปราศจากเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งรับชําระเงินจํานวนที่แน่นอนจํานวนหนึ่งให้แก่อีกบุคคลหนึ่งภายในเวลาที่กําหนด ตั๋วเงินรับ ได้แก่ ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) และตั๋วแลกเงิน (bill of exchange)
1.1.6 รายได้ค้างรับ (accrued income) หมายถึง รายได้ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเงิน เช่น กิจการได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเงินค่าบริการดังกล่าวจากลูกค้า ในวันสิ้นงวดบัญชีจะถือว่ามีรายได้ค้างรับเกิดขึ้นแล้ว
1.1.7 สินค้าคงเหลือ (inventories) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจโดยปกติสําหรับกิจการซื้อมาขายไป หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นสินค้าสําเร็จรูปเพื่อขาย หรือมีอยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าสําหรับกิจการที่ทําการผลิต(สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 39)
1.1.8 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (prepaid expenses) ตามศัพท์บัญชี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, 2538,หน้า 74) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปก่อนสําหรับสินทรัพย์หรือบริการที่จะได้รับประโยชน์ในอนาคตและจะใช้หมดไปในระยะเวลาอัน สั้น มักจะเกิดขึ้นในการดําเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ค้าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (non current assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที หรือภายในอนาคตอันใกล้ หรือภายในรอบระยะเวลาดําเนินงาน ซึ่งสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีดังนี้
1.2.1 เงินลงทุนระยะยาว (long –term investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 ปี ได้แก่ หุ้นกู้พันธบัตร ซึ่งกิจการยังมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งเงินลงทุนระยะยาวจะหมายรวมถึง ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อขาย และตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549, หน้า46)
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (investment property) หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์
1.2.3 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (property ,plant and equipment) หมายถึง ทรัพย์สินที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ใช้ในการจําหนายสินค้า ให้บริการ ให้ผู้อื่นเช่า ใช้ในการบริหารงานกิจการได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาด้วยการซื้อหรือสร้างขึ้นเอง โดยมีความตั้งใจว่า จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นต่อเนื่องตลอดไป ไม่ตั้งใจที่จะมีไว้เพื่อจําหน่าย
1.2.4 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (intangible assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ที่สามารถระบุได้ และไม่มีรูปร่าง (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549, หน้า 37) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจําหน่ายสินค้า หรือให้บริการเพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เช่น ลิขสิทธิ์ (copyrights) สิทธิบัตร(patents) เครื่องหมายการค้า(trademarks)สัมปทาน (franchises) เครื่องหมายการค้า(Trademarks)ค่าความนิยม (goodwill)สิทธิการเช่า (lease hold) เป็นต้น บันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันที่ไดรับมาโดยใช้หลักราคาทุน
1.2.5 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
1.2.6 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (other non – current assets) เป็นสินทรัพย์ที่กิจการสามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการผลิต การดําเนินงานที่มีระยะยาว ซึ่งเป็นทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ไม่ได้จัดไว้ในประเภทสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
           2.หนี้สิน (liabilities) หมายถึง “ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ ในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้ กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ” (สภาวิชาชีพ บัญ ชี, 2549, หน้า 45) หนี้สิน หรือ ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการเกิดจากหน้าที่และความรับผิดชอบของกิจการที่กระทําการตามปกติของการดําเนินงานตามประเพณีการค้า ทําให้เกิดเจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้การค้า ถ้าเกิดจากการกู้ยืมเงิน เรียกว่า เจ้าหนี้เงินกู้ ซึ่งทําในรูปสัญญาเงินกู้ หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ถ้าเป็นหนี้ประเภทตั๋วเงิน เรียกว่า ตั๋วเงินจ่าย นอกจากนั้นเป็นภาระผูกพันที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้จ่าย เรียกว่า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหนี้สินแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2546, หน้า 18)
2.1 หนี้สินหมุนเวียน (current liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ถึงกําหนดชําระภายในระยะเวลา 12เดือนนับ จากวันที่ในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) และกิจการคาดว่าจะชําระหนี้สินคืนภายในระยะเวลาดําเนินงานปกติ หนี้สินจะจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อหนี้สินนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. คาดว่าจะมีการชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติ
2. มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
3. ถึงกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
4. กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชําระหนี้ออกไปอีกไม่น้อยกว่า 12เดือนนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน รายการที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่
2.1.1เงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ยืม ระยะสั้น จากสถาบันการเงิน (bank overdrafts and short – term loan) หมายถึง จํานวนเงินที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคาร อันเกิดจากการสั่งจ่ายเงินเกินกว่าจํานวนเงินที่ฝากไว้ และหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินไม่ว่าโดยวิธีใดซึ่งจะต้องชําระเงินคืนในระยะเวลาสั้น
2.1.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น (trade and other payables) เจ้าหนี้การค้า หมายถึง เงินที่กิจการค้างชําระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือใช้ในการผลิตหรือใช้ในการบริการตามปกติ และตั๋วเงินจ่ายที่กิจการออกให้เพื่อชําระค่าสินค้าหรือบริการเจ้าหนี้อื่น หมายถึง เจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น รายได้รับล่วงหน้า (unearned revenue)ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (accrued expenses)
2.1.3 ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกําหนดภายในหนึ่งปี
2.1.4 เงินกู้ยืมระยะสั้น หมายถึง เงินกู้ยืม ระยะสั้น จากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การกู้ยืมจากบริษัทย่อยและบริษัทรวม และการกู้ยืมระยะสั้นอื่น เช่น ตั๋วเงินจ่าย การกู้เงินมักจะอยู่ในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน และการใช้ตั๋วเงินจ่ายเพื่อเป็นคํามั่นสัญญาจะชําระเงินจํานวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งในเวลาที่กําหนด เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ
2.1.5ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (tax payables) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย
2.1.6 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น (short-term provisions) หมายถึง หนี้สินที่คาดว่าจะถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาและจํานวนเงินที่ต้องจ่ายชําระ
2.1.7หนี้สินหมุนเวียนอื่น (other current liabilities) หมายถึง หนี้สินหมุนเวียนอื่นนอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ข้างต้น
2.1.8 หนี้สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (non – current liability) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชําระเงินคืนเกินกว่าระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ในแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดําเนิน งานตามปกติของกิจการ ได้แก่เงินกู้ยืมระยะยาว หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานประมาณการหนี้สินระยะยาว

14. การจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน
สามารถจัดทําได้ 2 แบบ คือแบบบัญชี และแบบรายงาน
1.แบบบัญชี (account form) หรือแบบตัว T (T –account) เป็นแบบที่แยกแสดงรายการออกเป็น2ด้าน ด้านซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์ ด้านขวาแสดงรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของ การจัดทํางบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีมีขั้นตอนดังนี้
1.1 เขียนชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงินและวันที่จดทําข้อมูลไว้ตรงกลางหน้ากระดาษแยกแต่ละบรรทัด
1.2 เขียนหน่วยเงินตราไว้ด้านขวามือของหน้ากระดาษ
1.3 ด้านซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์เรียงลําดับตามสภาพคล่องของสินทรัพย์ โดยเริ่มด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ตามลําดับ
1.4 ด้านขวาแสดงรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยเริ่มจากหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ
1.5 รวมยอดเงินด้านซ้าย (ยอดรวมสินทรัพย์) และ รวมยอดเงิน ด้านขวามือ (ยอดรวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ) ซึ่งต้องเท่ากันทั้งสองด้าน
2. แบบรายงาน (report form) เป็นแบบที่แสดงรายการเป็นหมวดหมู่ เรียงรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ โดยมีขั้นตอนการจัดทํางบแสดงฐานะการเงินได้ดังนี้2.1 เขียนชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงินและวันที่ที่จัดทําข้อมูลไว้ตรงกลางหน้ากระดาษแยกแต่ละบรรทัด

2.2 เขียนหน่วยเงินตราไว้ด้านขวามือของหน้ากระดาษ

2.3 เขียนคําว่า สินทรัพย์ กลางหน้ากระดาษและแสดงรายการสินทรัพย์เรียงตามลําดับสภาพคล่องโดยเริ่มจากสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมยอดแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งสิ้น

2.4 เขียนคําว่า หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ตรงกลางหน้ากระดาษ และแสดง รายการเรียงตามหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ รวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งสิ้น

                                                     สรุป

การบัญชีเกิดขึ้นมาพร้อมกับการประกอบธุรกิจการค้าตั้งแต่ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14ปรากฏหลักฐานที่สมบูรณ์ว่ามีการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี มีชาวอิตาเลียนชื่อ ฟรา ลูกา ปาซิโอลิ ได้เขียนหลักการบัญชีคู่ไว้ในหนังสือคณิตศาสตร์ โดยใช้พีชคณิตเป็นพื้นฐานว่า สินทรัพย์เท่ากับหนี้สินบวกส่วนของเจ้าของ และผลรวมด้านเดบิตเท่ากับเครดิต สําหรับการบัญชีในประเทศไทยปรากฏหลักฐานมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัทรัตนโกสินทร์ศก130 (พ.ศ. 2455) กําหนดให้บริษัทต้องจัดทําบัญชีและมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ
การทําบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี โดยการทําบัญชีจะครอบคลุมในเรื่องการจดบันทึกรายการทางการเงิน การจําแนกข้อมูลที่จดบันทึกออกเป็นหมวดหมู่และสรุปผลจัดทํางบการเงินตามที่วางระบบบัญชีไว้ แต่การบัญชีจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ที่กว้างกว่า คือ นอกจากจะทําบัญชีแล้วยังสามารถออกแบบและวางระบบบัญชี การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลของงบการเงินและตรวจสอบบัญชี เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจํากัด บริษัทมหาชน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด เป็นต้น

ผู้ทําบัญชี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่า อนุปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น สูงทางการบัญชีทําบัญชีในกิจการที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีทรัพย์สินรวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ถ้าเกินกว่าผู้ทําบัญชีต้องมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

แม่บทการบัญชี เป็นเกณฑ์หรือแนวคิดพื้นฐานในการจัดทําและนําเสนองบการเงินแก่ผู้จัดทําและผู้ใช้งบการเงินมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน แนวคิดเกี่ยวกับการวัดมูลค่าและแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน

สถาบันที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ออกมาตรฐานทางการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี มาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เป็นต้น

จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หมายถึง ความประพฤติหรือพฤติกรรมที่ถูกธรรม หรือเป็นธรรมซึ่งเกิดจากจิตสํานึกรับผิดชอบ และพฤติกรรมที่ต้องกระทําตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

งบการเงินเป็น รายงานเสนอข้อมูล ทางการเงินที่มีแบบแผนอันเป็น ผลมาจากการประกอบธุรกิจของกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ โดยงบการเงินที่สมบูรณ์จะประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับงวด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับงวด งบกระแสเงินสดสําหรับงวด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด ที่นํามาเปรียบเทียบงวดแรกสุดเมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง

Share this:

Like this:

Like

Loading…


บัญชี ง่ายๆ by ประแป้ง EP.1 บัญชีพื้นฐาน บัญชีเบื้องต้น บัญชี 5 หมวด วิเคราะห์รายการค้า


คลิปนี้เหมาะสำหรับนิสิตบัญชีปี 1 ที่ไม่มีพื้นฐานบัญชีมาก่อน หรือผู้ที่สนใจทั่วไป โดยจะอธิบายเกี่ยวกับบัญชี 5 หมวด การวิเคราะห์รายการค้า (แยก Dr. Cr. อย่างง่ายๆ ) โดยเป็นวิธีที่แป้งใช้เอง หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

บัญชี ง่ายๆ by ประแป้ง EP.1 บัญชีพื้นฐาน บัญชีเบื้องต้น บัญชี 5 หมวด วิเคราะห์รายการค้า

ตอนที่ 46: บัญชียาหลักแห่งชาติคืออะไร


ตอนที่ 46:  บัญชียาหลักแห่งชาติคืออะไร

ความแตกต่างระหว่างหลักบัญชีกับหลักภาษีด้านรายได้


ความแตกต่างระหว่างหลักบัญชีกับหลักภาษีด้านรายได้

ล่าสุด! กลุ่ม​นี้​กลุ่ม​เดียว​ #โอนเข้าบัญชี​คนละ500บาท #พรุ่งนี้​เงิน​เข้า​ ฟังด่วน (17/11/64)


เยียวยาเกษตรกร แจกเงินเกษตรกร มาตรการเยียวยาเกษตรกร โอนตรงไม่ต้องลงทะเบียน แจกเงินเกษตรกร เงินช่วยเหลือเกษตรกร ผู้พิการ ผู้สูงอายุรับเงินสูงสุด เด็กแรกเกิด บัตรคนจน อาสาสมัครชุมชน อสม เราไม่ทิ้งกัน แจกเงิน5000 เยียวยาโควิด เงินเยียวยาคนจน แจกเงิน รัฐบาลแจกเงิน แจกเงินเกษตรกรล่าสุด แจกเงินเกษตรกร เงินเยียวยาเกษตรกร ข่าวเกษตร รัฐบาลแจกเงินเยียวยา บัตรคนจนล่าสุด ข่าวคนจน ผู้ถือบัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด ข่าวสารคนจน บัตรคนจนล่าสุด สวัสดิการแห่งรัฐ
หากชอบการนำเสนอคลิป อย่าลืม!! กดติดตาม​ กดกระดิ่ง​ เพื่อรับชมก่อนใคร
ทางช่องเพียงนำเสนอเรื่องราว ข่าว​สารต่างๆที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์​
ขอ​ขอบคุณ​เจ้าของ​ข้อมูล

ล่าสุด! กลุ่ม​นี้​กลุ่ม​เดียว​ #โอนเข้าบัญชี​คนละ500บาท #พรุ่งนี้​เงิน​เข้า​ ฟังด่วน (17/11/64)

วิชา หลักการบัญชีเบื้องต้น 1 (ปวส.)part 1


โครงการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาทางไกล โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (กศทอ.) วิชา หลักการบัญชีเบื้องต้น 1

วิชา หลักการบัญชีเบื้องต้น 1 (ปวส.)part 1

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ หลักบัญชี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *