Skip to content
Home » [NEW] หลักการใช้ adverb of frequency พร้อมตัวอย่างประโยค | เรียงประโยค – NATAVIGUIDES

[NEW] หลักการใช้ adverb of frequency พร้อมตัวอย่างประโยค | เรียงประโยค – NATAVIGUIDES

เรียงประโยค: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ในภาษาอังกฤษ เวลาเราต้องการบอกว่าเราทำอะไรบ่อยขนาดไหน เราก็จะใช้คำอย่างเช่น always, usually, often, sometimes ซึ่งคำเหล่านี้จะถูกเรียกรวมๆว่า adverb of frequency

สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยแม่นเรื่อง adverb of frequency ในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหามาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

Adverb of frequency คืออะไร

Adverb of frequency คือคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นบ่อยมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่นคำว่า always, usually, often, sometimes, never

(คำว่า adverb แปลว่า “คำกริยาวิเศษณ์” ส่วนคำว่า frequency แปลว่า “ความถี่” เมื่อใช้รวมกัน คำว่า adverb of frequency จึงแปลว่า “คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกความถี่” นั่นเอง )

ทบทวนความรู้
Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) คือคำที่ใช้ขยาย verb, adjective, adverb หรือประโยค ซึ่งมักจะเป็นคำที่ลงท้ายด้วย -ly อย่างเช่น quickly, slowly, happily, sadly แต่ก็มี adverb บางคำที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย -ly เช่นกัน อย่างเช่นคำว่า always, never, very, fast

Adverb of frequency มีคำว่าอะไรบ้าง

Adverb of frequency จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกก็คือกลุ่มที่ไม่ชี้ชัด (adverb of indefinite frequency) ซึ่งก็คือกลุ่มคำที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าถี่ขนาดไหน แต่จะบอกความถี่แค่คร่าวๆเท่านั้น

ตัวอย่าง adverb of frequency ที่ใช้บ่อยในกลุ่มนี้เรียงตามความถี่จากมากไปน้อยก็อย่างเช่น

ความถี่Adverb of frequencyความหมายตัวอย่างประโยคบ่อยมาก (100%)Alwaysเป็นประจำ, เสมอI always wake up at 6 o’clock.
ฉันตื่นนอนตอนหกโมงเป็นประจำUsuallyมักจะTim usually goes to school by bus.
ทิมมักจะไปโรงเรียนด้วยรถประจำทางNormally
GenerallyโดยปกติWe normally/generally have lunch at the canteen.
โดยปกติแล้ว พวกเราจะกินข้าวเที่ยงที่โรงอาหารOften
Frequentlyบ่อยครั้งAnne often/frequently does yoga.
แอนเล่นโยคะบ่อยSometimesบางครั้งI sometimes go swimming with my friends.
บางครั้งฉันก็ไปว่ายน้ำกับเพื่อนๆOccasionallyเป็นครั้งคราวMy aunt occasionally comes to visit us.
ป้าของฉันมาเยี่ยมพวกฉันบ้างเป็นครั้งคราวSeldomไม่ค่อยHe seldom goes to the gym.
เขาไม่ค่อยไปฟิตเนสRarely
Hardly everนานๆครั้งI rarely/hardly ever eat spicy food.
นานๆครั้งฉันถึงจะกินอาหารเผ็ดไม่เคยเลย (0%)Neverไม่เคยShe never wears high heels.
เธอไม่เคยใส่รองเท้าส้นสูง

นอกจากในตารางแล้ว ยังมี adverb of frequency อีกกลุ่มหนึ่ง นั่นก็คือกลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด (adverb of definite frequency) โดยจะเป็นตัวที่ระบุชัดเจนเลยว่าถี่ขนาดไหน อย่างเช่น

  • Hourly – ทุกชั่วโมง
  • Every day – ทุกวัน
  • Daily – ทุกวัน
  • Every week – ทุกสัปดาห์
  • Weekly – ทุกสัปดาห์
  • Every month – ทุกเดือน
  • Monthly – ทุกเดือน
  • Every year – ทุกปี
  • Yearly – ทุกปี
  • Annually – ทุกปี
  • Once a day – วันละครั้ง
  • Twice a week – สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • Three times a month – เดือนละ 3 ครั้ง

ทั้งนี้ adverb of frequency ในกลุ่มนี้หลายๆคำสามารถทำหน้าที่เป็น adjective (คำที่ใช้ขยายคำนาม) ได้ด้วย อย่างเช่นในคำว่า weekly meeting ตัว weekly นี้ทำหน้าที่เป็น adjective ขยายคำว่า meeting ซึ่งจะแปลว่า “การประชุมประจำสัปดาห์”

หลักการใช้ adverb of frequency

การใช้ adverb of frequency นอกจากเราจะต้องดูความหมายของคำแล้ว เรายังต้องคำนึงถึงตำแหน่งในประโยคด้วย

ตำแหน่งในประโยค

เราจะแบ่งตำแหน่งการใช้ adverb of frequency ในประโยคได้หลักๆ 3 แบบ คือกลางประโยค ต้นประโยค และท้ายประโยค

กลางประโยค

ตำแหน่งกลางประโยคเป็นเหมือนตำแหน่งมาตรฐานของ adverb of frequency นั่นก็คือทุกตัวจะสามารถใช้ตำแหน่งนี้ได้หมด (ยกเว้นกลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด เช่น every day, daily, weekly) โดยจะแบ่งได้เป็น 3 กรณี

1. กรณีที่มีแค่ verb หลัก

ถ้าประโยคมีแค่ verb หลัก โดยที่ verb หลักนั้นไม่ใช่ verb to be (เช่น is, am, are, was, were) เราสามารถใช้ adverb of frequency ไว้หน้า verb หลักได้เลย

I always drink coffee in the morning.
ฉันดื่มกาแฟตอนเช้าเป็นประจำ
(drink เป็น verb หลัก เราสามารถใช้ always หน้า drink ได้เลย)

We rarely see each other now.
เดี๋ยวนี้พวกเรานานๆจะได้เจอกันที
(see เป็น verb หลัก เราสามารถใช้ rarely หน้า see ได้เลย)

2. กรณีที่มี verb หลักเป็น verb to be

ถ้าประโยคมี verb หลักเป็น verb to be (เช่น is, am, are, was, were) โดยทั่วไปแล้ว เราจะใช้ adverb of frequency ไว้หลัง verb to be

I am usually busy with work.
ฉันมักจะยุ่งอยู่กับงาน

He isn’t often late.
เขาไม่ได้สายบ่อยๆ

แต่เราอาจใช้ adverb of frequency ไว้หน้า verb to be เมื่อเราต้องการยืนยันในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด หรือเมื่อเราต้องการเน้น verb to be นั้น

Jack: Is he usually late?
แจ็ค: เขามักจะมาสายใช่มั้ย
Anne: Yes, he usually is.
แอน: ใช่ เขามักจะมาสาย

She was not as cheerful as she normally is.
เธอไม่ร่าเริงเหมือนปกติที่เธอเป็น

3. กรณีที่มี verb ช่วย

ถ้าประโยคมี verb ช่วย (เช่น can, could, may, might, will, would, verb to be ใน continuous tense, verb to have ใน perfect tense) เราจะใช้ adverb of frequency ไว้ระหว่าง verb ช่วยและ verb หลัก (verb ช่วย + adverb of frequency + verb หลัก)

People can sometimes make mistakes.
คนเราบางทีก็สามารถทำอะไรผิดพลาดได้

He has never been to Russia.
เขาไม่เคยไปประเทศรัสเซีย

ต้นประโยค

เราสามารถใช้ adverb of frequency บางคำขึ้นต้นประโยคได้ เช่น usually, normally, often, frequently, sometimes, occasionally

Frequently, social media is used to socialize.
บ่อยครั้ง สื่อโซเชียลก็ถูกใช้ในการเข้าสังคม

Sometimes I miss her.
บางครั้งฉันก็คิดถึงเธอ

แต่ถ้าเป็นคำบางคำอย่าง seldom, rarely, hardly ever, never ถ้าจะใช้ขึ้นต้นประโยค เราจะต้องกลับประธานและ verb (รูป inversion) ซึ่งจะถือเป็นภาษาที่เป็นทางการ ไม่ใช่ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป

Hardly ever did he study hard.
เขาแทบจะไม่เคยตั้งใจเรียนเลย

Never have I felt so sad.
ไม่เคยเลยที่ฉันจะรู้สึกเศร้ามากๆ

สำหรับ adverb of frequency กลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด เช่น every day, annually, twice a month เราก็สามารถใช้ขึ้นต้นประโยคได้เช่นกัน

Every day I walk my dog in the park.
ทุกๆวันฉันจะพาสุนัขไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ
(แม้จะใช้ขึ้นต้นประโยคได้ แต่เรานิยมใช้ every day ไว้ท้ายประโยคมากกว่า)

Once a month, we eat out together at our favorite restaurant.
เดือนละครั้ง พวกเราจะออกไปกินข้าวนอกบ้านที่ร้านโปรด

ทั้งนี้ เมื่อ adverb ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยคที่ตามหลัง เราจะนิยมใช้คอมม่า (,) คั่นหลัง adverb แต่ถ้ามันขยายแค่ verb หรือคำบางคำ เราจะเลือกที่จะใช้คอมม่าหรือไม่ก็ได้ (ส่วนมาก adverb of frequency มักจะขยายแค่ verb มากกว่าขยายทั้งประโยค)

ท้ายประโยค

เราสามารถใช้ adverb of frequency บางคำไว้ท้ายประโยคก็ได้เช่นกัน เช่น usually, normally, often, frequently, sometimes, occasionally

I don’t watch movies often.
ฉันไม่ได้ดูหนังบ่อย

We can hang out sometimes.
พวกเราไปเที่ยวด้วยกันบ้างบางครั้งก็ได้นะ

สำหรับ adverb of frequency กลุ่มที่ระบุความถี่แบบชี้ชัด เช่น every day, annually, twice a month เราก็สามารถใช้ท้ายประโยคได้เช่นกัน

I exercise every day.
ฉันออกกำลังกายทุกวัน

My son comes to visit me every year.
ลูกชายฉันมาเยี่ยมฉันทุกปี

รูปปฏิเสธ

Adverb of frequency บางคำจะมีความหมายเชิงปฏิเสธอยู่แล้ว เช่นคำว่า seldom, rarely, hardly ever, never การใช้คำเหล่านี้ในประโยค เราจะไม่ใช้คำปฏิเสธอื่นๆเข้ามาให้มันทับซ้อนกันอีก

เราจะใช้ I rarely eat spicy food. (ฉันไม่ค่อยได้กินอาหารเผ็ด)
แต่จะไม่ใช้ I doesn’t rarely eat spicy food.

เราจะใช้ I have never been to Japan. (ฉันไม่เคยไปประเทศญี่ปุ่น)
แต่จะไม่ใช้ I haven’t never been to Japan.

การใช้ tense

หลายคนมักจะสับสนว่าเราต้องใช้ tense อะไรเวลามี adverb of frequency ในประโยค

ปกติแล้ว adverb ไม่ได้เป็นตัวกำหนด tense ให้กับประโยค แต่สิ่งที่เป็นตัวกำหนด tense จะเป็นใจความของประโยคนั้นๆ ดังนั้น การใช้ adverb of frequency เราจึงสามารถใช้กับ tense อะไรก็ได้ ขอแค่ให้มีความหมายเหมาะสมก็พอ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น

ถ้าพูดถึงข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่เป็นกิจวัตรทั่วไป เราจะใช้ present simple tense

I always wake up at 5 o’clock.
ฉันตื่นนอนตอนตีห้าเป็นประจำ

ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่จบไปแล้ว เราจะใช้ past simple tense

I always woke up at 5 o’clock when I was a student.
ฉันตื่นนอนตอนตีห้าเป็นประจำเมื่อตอนที่ฉันยังเป็นนักเรียน
(สมัยนู้นฉันตื่นตีห้าเป็นประจำ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว)

ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งส่งผลมาถึงปัจจุบัน เราจะใช้ present perfect tense

I have always loved you since the first day we met.
ฉันรักคุณเสมอมาตั้งแต่ตอนที่พวกเราเจอกันครั้งแรก
(เริ่มรักตอนนั้น และปัจจุบันก็ยังรักอยู่)

ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคต เราจะใช้ future simple tense

I will always love you no matter what happens.
ฉันจะรักคุณเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

จบแล้วนะครับกับหลักการใช้ adverb of frequency ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[Update] การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc. | เรียงประโยค – NATAVIGUIDES

มารู้จักกับ Signal Words

หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ  และที่สำคัญถ้าเกิดว่างานเขียนภาษอังกฤษเราดี เราสามารถใช้ยื่นขอทุนไปเรียนต่างประเทศได้ด้วยนะคะ

โครงสร้างของการเขียนในภาษาอังกฤษ

 

โครงสร้างของการเขียนในภาษาอังกฤษประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

1. Introduction หรือบทนำ หรือส่วนแรกเพื่อเกริ่นให้ผู้อ่านรู้ว่าเรากำลังจะเล่าถึงสิ่งใดบ้าง
2. Body หรือเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ทั้งนี้ Body อาจจะแยกย่อยเป็นหลายย่อหน้าก็ได้ค่ะ หน้าที่ของ Body คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ

  •  Topic Sentence ซึ่งจะอยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงเรื่องอะไร
  •  Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
  • Concluding sentences เป็น การสรุปย้ำใจความสำคัญ ของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้งนั่นค่ะ

3.Conclusion หรือบทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่านรู้ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body นั่นเองค่ะ

 

 ประเภทของการจัดระบบย่อหน้างานเขียน

 

 

มารู้จักกับประเภทและโครงสร้างงานเขียนในภาษาอังกฤษกันก่อนนะคะว่าเราควรจัดระบบย่อหน้ายังไงดี

  1. จัดตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้น Chronological order
  2. เรียงลำดับตามความสำคัญ Spatial order เช่น การบรรยายลักษณะทางกายภาพ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การเดินทาง เป็นต้น
  3. เรียงลำดับตามความสำคัญของบริบทในเนื้อเรื่อง Climactic order
  4. เรียงลำดับตามหัวข้อสำคัญ Topical order

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

 

ในภาษาอังกฤษนั้น signal แปลว่า สัญญาณ words แปลว่าคำ เมื่อนำมารวมกันแล้วจะแปลได้ว่า “คำลำดับความสำคัญ” เราจะเจอคำเหล่านี้บ่อยมากเมื่ออ่านงานเขียนในภาษาอังกฤษที่มีการลำดับความสำคัญในเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านสามารถตามเนื้อความที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อได้มากขึ้น
ปรกติจะเจอ Signal words ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้

 

ตัวอย่างของการแต่งประโยคด้วย การใช้ตัวเชื่อม (Signal words)

 

 

  1. เมื่อเราต้องการที่จะเล่าเรื่องราวที่ มีลำดับขั้นตอน Chronological order สำหรับวิธีนั้นก็นับเป็นวิธีพื้นฐานที่ทุกๆ คนควรจะต้องรู้ทุกงานเขียนนั้นจะอ่านง่ายได้ก็ต่อเมื่อเรามีการเรียงลำดับเรื่องราวได้ชัดเจน เห็นภาพ และเรียงลำดับความสำคัญว่าอะไรมาก่อนมาหลังเพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงเรื่องราวที่เรากำลังถ่ายทอดได้อย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งเราสามารถใช้คำได้ดังนี้ค่ะ

 

Firstly  อย่างแรกเลย
The first one อันดับแรก
First and foremost สิ่งแรกและสำคัญที่สุด
To start with มาเริ่มกับ
Secondly อย่างที่สอง
The second one ประการที่สอง
Thirdly  อย่างที่สาม
The third one ประการที่สาม

 

 

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ค่า

In this world, there are three things that  I love the most.
Firstly, I love my cat because he is my beloved friend.
Secondly, I love my parents because they have unconditional love for me since I was born.
Thirdly, I love studying as I can become smarter every day.

  1. เมื่อเราต้องการบรรยาย Spatial order วิธีนี้นั้นคล้ายๆ กับวิธีแรกนะคะ แต่เราจะไม่ใช้ตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง เปลี่ยนเป็นการบรรยายแทน และผู้อ่านจะเข้าใจทุกอย่างเอง เพราะบางครั้งนั้นการเล่าเรื่องโดยใช้ตัวเลขอาจจะทำให้ดูเป็นทางการเกินไปและไม่ลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่อง เช่นถ้าเราอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เราเคยทำมา เราก็ควรจะเลือกใช้คำจำพวกนี้ค่ะ

Begin with (เริ่มต้นที่)

After (หลังจาก)

Before (ก่อนที่จะ)

By the time (ในขณะเดียวกัน)

Then (หลังจากนั้น)

Next (ต่อไป)

มาลองอ่านดูเรื่องเล่าตัวอย่างกันเลยค่ะ

Today, I am going to begin with telling you my personal experience travelling to Bangkok the first time. I took a taxi to the bus station. Then I called my friends to meet me. After that I took Grab from BTS to my apartment.
By the time I was in the car, I felt so tired. What a long day! Next, it would be a nice and comfortable bed to hit the hay. Let’s called it a day!

 

  1. การใช้คำเชื่อมประโยคขัดแย้ง 

    Contrast Words ซึ่งใน

    ประโยคความรวมที่มีลักษณะใจความประโยคที่นำมารวมกันมีลักษณะขัดแย้งกัน เนื้อความไม่คล้อยตามกันไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันมักเจอคำเชื่อมเหล่านี้

However (อย่างไรก็ตาม) + Sentence
Even though (แม้ว่า) + Sentence
Although (ถึงแม้ว่า)+ Sentence
Despite (ถึงอย่างไรก็ตาม) +Noun
Inspite of+Noun

ตัวอย่างประโยคการใช้งานเวลาเขียน ด้านล่างนะคะ

I enjoyed studying English the last semester; however, in this semester I love Math.
Despite Math, I do enjoy learning Arts.
Although she is lazy, she is the smartest girl in the class.
Even though May loves Tim, he already has a girlfriend.

  1. การใช้ประโยคกล่าวถึงอย่างเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน

    “Cause (เหตุ) and Effect Connections (ผลที่ตามมา)”

    Because of (เพราะว่า + คำนาม)

    Because, Since (เพราะว่า)
    Accordingly (ดังนั้น)
    Consequently (ดังนั้น)
    According to (เนื่องจาก)
    for (เพราะว่า)
    As (เนื่องด้วย)
    Seeing that (เพราะว่า)
    Now that (เนื่องด้วยว่า)

 

เช่นตัวอย่างในประโยคด้านล่าง

Because of the climate change, we face the first snow in the North of Laos.
The higher temperature also has caused global warming.
Moreover, the increasing of water also affected the great flood last year.

 

  1. เมื่อต้องการที่จะ “สรุปใจความสำคัญของเรื่อง Conclusion” เพื่อที่จะหาที่ลงให้ได้ ในส่วนของการเขียนเรียงความ บทความ และพารากราฟนั้นจำเป็นที่จะต้องสรุปเนื้อหาทั้งหมดให้ผู้อ่านได้เข้าใจให้ได้ว่าที่อ่านมาทั้งหมดนั้น ท้ายสุดแล้ว เขาอ่านเรื่องอะไรอยู่ หรือ Main idea ของเนื้อเรื่องนั้น แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เรามักจะต้องเจอคำแหล่านี้

To sum up (โดยสรุป)
Finally (สุดท้ายนี้)
Last (สุดท้าย)
Lastly (อย่างสุดท้าย)
In conclusion (ในส่วนสรุป)
Last but not leat (สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด)

ลองดูตัวอย่างประโยคการใช้ด้านล่างได้เลยค่ะทุกคน

In conclusion, I am so thankful for my friends, parents, and teachers who always love and support me to accomplish great things in my life.

To sum up, there are three main ideas following which are having time to read, creating a good habit, eating on time.

Lastly, there are both pros and cons of working in the city. However,  people who want to diversify more income can do online work in order to avoid working in the city.

 

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียนที่น่ารักทุกคน ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะนำเทคนิคในการเขียนนี้ไปลองปรับใช้ดูนะคะ เจอกันใหม่กับบทเรียนต่อไป อย่าลืมทบทวนบทเรียนในวีดีโอด้านล่างเด้อ ” วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.3 เรื่อง การใช้ Signal words : First, Second, Finally, Then, Next etc. ด้วยนะคะ เลิฟๆ

 

 

 

+1


ประโยค # เรียงประโยคให้สมบูรณ์


ฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำในภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ประโยค # เรียงประโยคให้สมบูรณ์

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้


หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้

「EP.12」เรียงลำดับประโยคอย่างไร? ให้ทำข้อสอบได้! ∣ ติวสะเตอร์


เรียงประโยคอย่างไร? ให้ทำข้อสอบได้!
พร้อมวิธีจำง่ายๆ ไปตอบโจทย์ในข้อสอบ
เป็นหนึ่งหัวข้อที่สำคัญของวิชาหลักภาษาไทยและการใช้ภาษา
ที่มีความจำเป็นต้องรู้ในการสอบข้าราชการทุกตำแหน่ง
✰สอบนักเรียนทหารทุกเหล่าทัพ
(นักเรียนเตรียมทหาร,นักเรียนนายร้อย,นักเรียนนายเรือ,
นักเรียนนายเรืออากาศ,นักเรียนพยาบาล,นักเรียนนายสิบทหารบก,
นักเรียนนายสิบแผนที่,นักเรียนจ่าทหารเรือ,
นักเรียนจ่าอากาศ,นักเรียนช่างฝีมือทหาร)
✰สอบข้าราชการทหารทุกเหล่าทัพ
(ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ)
✰ข้าราชการตำรวจ (นาสิบตำรวจ, นายร้อยตำรวจ,นักเรียนนายร้อยตำรวจ)
✰ข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ตลอดจนรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งบริษัทห้างร้านเอกชนบางที่
ได้นำหลักภาษาไทยและการใช้งานมาใช้ในการสอบประเมินความรู้ความสามารถ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน
┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅
🖇ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชมครับ 😍
อย่าลืมกดติดตามไว้นะครับ จะได้ไม่พลาดการรับเนื้อหา
ในการสอบที่จะลงให้เรื่อยๆนะครับ หากผิดพลาดประการใด
ต้องขอโทษขออภัยด้วยนะครับ
ขอบพระคุณครับ 🙏
┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅
📌ติดตามติวสะเตอร์ได้ที่
Youtube : https://bit.ly/2KZjrHi
Facebook : https://bit.ly/3deEuS4
Instagram : https://bit.ly/35ufuDL
Twitter : https://bit.ly/2WsLnZv
Blockdit : https://bit.ly/35siXCI
┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅┅
ติวสะเตอร์ เรียงลำดับประโยค

「EP.12」เรียงลำดับประโยคอย่างไร? ให้ทำข้อสอบได้! ∣ ติวสะเตอร์

200 ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 1)


สั่งซื้อหนังสือติดต่อ Line: @lma6256m
200 ประโยคสั้น ๆ ง่าย พบเจอบ่อย ในตอนที่ 1 จะแบ่งออกเป็น หมวดทักทาย , อำลา , ปฏิเสธ หงุดหงิด ไม่พอใจ , ความรัก , เลิกรา

200 ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 1)

ฝึกพูดอังกฤษกับ 30 ประโยคพื้นฐานง่ายๆ


ติดตาม Facebook Fanpage ครูเชอรี่ English Bright
https://www.facebook.com/cherry.englishbright
https://www.englishbright.net
บริการของเรา
แนะแนวทางศึกษาต่อ และวางแผนการศึกษา
ดำเนินการสมัครเรียน
ให้คำแนะนำและตรวจเอกสารและยื่นสมัครวีซ่า
จัดหาตั๋วเครื่องบินราคานักเรียน
ประสานงานจัดหาที่พัก
อบรมเตรียมตัวก่อนเดินทาง
จัดหาเจ้าหน้าที่รับส่งที่สนามบิน
ประสานงานดูแลนักเรียนในประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศ
บริการรับจัดกลุ่ม โปรแกรมเรียนภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อน
บริการจัดสัมมนา อบรมภาษาอังกฤษ
ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษออนไลน์
บริการแปลเอกสารเพื่อการขอวีซ่า

ฝึกพูดอังกฤษกับ 30 ประโยคพื้นฐานง่ายๆ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เรียงประโยค

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *