Skip to content
Home » [NEW] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | คำ พหูพจน์ – NATAVIGUIDES

[NEW] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | คำ พหูพจน์ – NATAVIGUIDES

คำ พหูพจน์: คุณกำลังดูกระทู้

ในภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น boy เป็น boys, cat เป็น cats, dish เป็น dishes

แต่ก็มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนตัวอักษรก่อนแล้วค่อยเติม es อย่างเช่น candy เป็น candies, fly เป็น flies หรือบางคำก็เปลี่ยนตัวอักษรอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es อย่างเช่น foot เป็น feet, man เป็น men

จากที่เขียนมานี้ หลายๆคนก็คงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนต้องใช้รูปพหูพจน์แบบไหน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ขอให้วางใจได้ เพราะในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับกฏการเติม s และ es หลังคำนาม มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

ทบทวนความรู้
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น friend, pen, bus, foot, ox
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป มักจะเป็นคำนามรูปที่เติม s หรือ es ต่อท้าย เช่น friends, pens, buses แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรอื่นแทน เช่น feet, oxen

หลักการเติม s และ es หลังคำนาม

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ หลักๆแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ

  1. เติม s ได้เลย เช่น cat เป็น cats, girl เป็น girls
  2. เติม es ได้เลย เช่น dish เป็น dishes, potato เป็น potatoes
  3. เปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำแล้วค่อยเติม es เช่น wolf เป็น wolves, enemy เป็น enemies
  4. เปลี่ยนหรือเพิ่มตัวอักษรบางตัวหรือเปลี่ยนทั้งคำ เช่น tooth เป็น teeth, ox เป็น oxen, person เป็น people
  5. บางคำก็ใช้รูปพหูพจน์เหมือนเอกพจน์ เช่น deer, sheep

ซึ่งถ้าเจาะรายละเอียด จะแบ่งได้เป็นหลักการ 10 ข้อดังนี้

1. คำนามทั่วไปเติม s ต่อท้ายได้เลย

คำนามที่ไม่เข้าข่ายหลักการข้ออื่น เราสามารถเติม s ต่อท้ายตรงๆได้เลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAntAntsมดBookBooksหนังสือGirlGirlsเด็กผู้หญิงHouseHousesบ้านTableTablesโต๊ะ, ตารางTreeTreesต้นไม้

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย

คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBusBusesรถโดยสารประจำทางLensLensesเลนส์ClassClassesชั้นเรียน, คาบเรียนDressDressesชุดเดรสBrushBrushesแปรงDishDishesจานBeachBeachesชายหาดWatchWatchesนาฬิกาBoxBoxesกล่องFoxFoxesสุนัขจิ้งจอกBlitzBlitzesการโจมตีแบบสายฟ้าแลบBuzzBuzzesความรู้สึกตื่นเต้น, เสียงหึ่ง เช่น เสียงผึ้ง

3. คำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ต้องซ้ำ s หรือ z แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ปกติแล้วจะเติม es ได้เลย แต่ก็มีบางคำที่เราจะต้องซ้ำ s หรือ z ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายGasGassesแก๊สQuizQuizzesแบบทดสอบWhizWhizzesผู้มากความสามารถในบางด้าน

4. คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เราจะเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายLeafLeavesใบไม้ShelfShelvesชั้นวางของWolfWolvesหมาป่าKnifeKnivesมีดLifeLivesชีวิตWifeWivesภรรยา

แต่บางคำที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ก็จะเติม s โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v

คำพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่หน้า f เป็นสระ 2 ตัวติดกัน (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น chef, safe

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBeliefBeliefsความเชื่อChefChefsเชฟทำอาหารProofProofsหลักฐานReefReefsแนวหินโสโครกใต้ทะเลRoofRoofsหลังคาSafeSafesตู้เซฟ

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ยกเว้นถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย

คำนามที่ลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBabyBabiesเด็กทารกCityCitiesเมืองขนาดใหญ่EnemyEnemiesศัตรูFlyFliesแมลงวันLibraryLibrariesห้องสมุดPuppyPuppiesลูกสุนัข

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เราจะเติม s ได้เลย

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBoyBoysเด็กผู้ชายDayDaysวันMonkeyMonkeysลิงToyToysของเล่นTrayTraysถาดWayWaysหนทาง, วิธี

6. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย o เราจะเติม es ต่อท้าย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายDominoDominoesโดมิโน่EchoEchoesเสียงสะท้อนHeroHeroesฮีโร่MosquitoMosquitoesยุงPotatoPotatoesมันฝรั่งTomatoTomatoesมะเขือเทศ

แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเติม s แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำที่หน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น piano

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAudioAudiosเสียงBambooBamboosต้นไผ่, ไม้ไผ่PianoPianosเปียโนStudioStudiosสตูดิโอVideoVideosวิดีโอZooZoosสวนสัตว์

นอกจากนี้ ยังมีบางคำที่สามารถเติมได้ทั้ง s และ es คือใช้ได้ทั้ง 2 แบบเลย อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBuffalo*Buffalos
BuffaloesควายCargoCargos
Cargoesสินค้าที่บรรทุกโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เรือ เครื่องบินMangoMangos
Mangoesมะม่วงMottoMottos
Mottoesคติพจน์TornadoTornados
Tornadoesพายุทอร์นาโดVolcanoVolcanos
Volcanoesภูเขาไฟ

*คำว่า buffalo สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ ทั้ง buffalos (แบบเติม s), buffaloes (แบบเติม es) และ buffalo (เหมือนรูปเอกพจน์)

7. คำนามที่มาจากภาษาอื่น บางคำจะมีรูปพหูพจน์เฉพาะ

คำนามที่มาจากภาษากรีกที่ลงท้ายด้วย sis เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ เราจะเปลี่ยนให้เป็น ses ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAnalysisAnalysesการวิเคราะห์, ผลวิเคราะห์BasisBasesหลักสำคัญ, ส่วนประกอบหลักCrisisCrisesช่วงวิกฤติNeurosisNeurosesโรคประสาทOasisOasesโอเอซิส, แหล่งน้ำกลางทะเลทรายThesisThesesวิทยานิพนธ์

คำนามที่มาจากภาษาลาตินที่ลงท้ายด้วย us เราจะเปลี่ยนให้เป็น i ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAlumnusAlumniศิษย์เก่าCactusCacti (หรือ cactuses)ต้นกระบองเพชรFungusFungiเห็ด, เชื้อรา

แต่คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำก็ใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAppendixAppendices
AppendixesภาคผนวกCactusCacti
Cactusesต้นกระบองเพชรCurriculumCurricula
CurriculumsหลักสูตรFormulaFormulae
Formulasสูตร เช่น สูตรคณิตฯStadiumStadia
Stadiumsสนามกีฬาขนาดใหญ่ThesaurusThesauri
Thesaurusesพจนานุกรมคำพ้อง

นอกจากตัวอย่างเหล่านี้แล้ว ยังมีคำต่างประเทศลักษณะอื่นอีก ที่มีรูปพหูพจน์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่พบเจอได้ไม่บ่อย หรือไม่ก็เป็นคำที่มักจะใช้รูปพหูพจน์เป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น data, criteria ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของ datum และ criterion ตามลำดับ)

8. คำนามบางคำใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรบางตัว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es

คำนามบางคำจะใช้การเปลี่ยนตัวอักษรที่เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น เปลี่ยนจาก o เป็น e หรือเปลี่ยนจาก a เป็น e ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายFiremanFiremenพนักงานดับเพลิงFootFeetเท้าGooseGeeseห่านManMenผู้ชายToothTeethฟันWomanWomenผู้หญิง

และบางคำก็ใช้การเติมตัวอักษรอื่นที่ไม่ใช่ s หรือ es อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายChildChildrenเด็กOxOxenวัว

9. คำนามบางคำจะเปลี่ยนแทบทั้งคำ โดยที่ไม่ได้เติม s หรือ es

คำนามบางคำจะมีรูปพหูพจน์ที่แตกต่างจากเดิมมาก เหมือนเป็นคนละคำกันเลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายMouseMiceหนูPersonPeopleคน

10. คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน

คำนามบางคำจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAircraftAircraftอากาศยานDeerDeerกวางDiceDiceลูกเต๋าFish*FishปลาSheepSheepแกะSpeciesSpeciesสายพันธุ์

*คำว่า fish จริงๆแล้วมีรูปพหูพจน์ 2 แบบ คือ fish และ fishes แต่ในกรณีทั่วไป เช่นการบอกว่ามีปลาหลายตัว เราจะนิยมใช้ fish มากกว่า ส่วน fishes นั้นมักจะใช้เมื่อพูดถึงปลาหลายๆสายพันธุ์

เป็นยังไงบ้างครับกับกฏการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถเปลี่ยนพจน์ของคำนามได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[Update] หลักการใช้ singular and Plural nouns | คำ พหูพจน์ – NATAVIGUIDES

Singular nouns (ซิงกิวเลอะ นาวสฺ) หมายถึง คำนามรูปเอกพจน์มีเพียงหนึ่ง ซึ่งเป็นได้ทั้งคำนามนับได้ และคำนามนับไม่ได้ มีได้เพียงรูปเดียวนั่นคือเอกพจน์ Plural nouns (พลูเริล นาวสฺ) หมายถึง คำนามรูปพหูพจน์ มีมากกว่าหนึ่ง ซึ่งเป็นได้เฉพาะคำนามนับได้เท่านั้น ลักษณะที่สังเกตเห็นได้ก็คือ มีการเติม -s หรือ – es ท้ายคำนามรูปเอกพจน์นับได้ เช่น

เอกพจน์ (หนึ่ง)            พหูพจน์ (มากกว่าหนึ่ง)
A camera                                  two cameras
(เออะ แคเมอะระ)                      (ทู แคเมอะระสฺ)
a watch                                      three watches
(เออะ ว็อช)                                 (ธรี ว็อทชิส)
การเปลี่ยนคำนามนับได้จากรูปเอกพจน์ไปเป็นรูปพหูพจน์ มีหลักการพอกล่าวสรุปได้ดังนี้

1. เติม -s ท้ายคำนามนับได้รูปเอกพจน์ หรือเติม -es หากคำนามนับได้ รูปเอกพจน์มีตัวสะกดท้ายคำ อาทิ -ch, -sh, -s หรือ -x เช่น
เอกพจน์     พหูพจน์                          เอกพจน์     พหูพจน์
a cup             cups (ถ้วย)                               a kiss               kisses (การจูบ)
a desk           desks (โต๊ะเขียนหนังสือ)     a box               boxes (กล่อง)
a chair          chairs (เก้าอี้)                          a church         churches (โบสถ์)
an ant           ants (มด)                                  a dish              dishes (จาน)

2. คำนามนับได้รูปเอกพจน์ลงท้ายด้วยอักษรพยัญชนะ (ที่ไม่ใช่อักษร a, e, i, o, u) + y ให้ตัดอักษร y ออก และเติม -ies เมื่อเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์

แต่ถ้าหากคำนามนับได้รูปเอกพจน์ลงท้ายด้วยอักษรสระ (ได้แก่ a, e, i, o, u) .+ y ให้เติม -s ท้าย y เลย เมื่อเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ เช่น

เอกพจน์     พหูพจน์                          เอกพจน์     พหูพจน์
a city             cities (เมือง)                    a day            days (วัน)
a family        families (ครอบครัว)      a stay           stays (ช่วงพักผ่อน)

3. คำนามนับได้รูปเอกพจน์ที่ลงท้าย -f หรือ -fe ให้เอา -f หรือ -fe ออก และเติม -ves เช่น
เอกพจน์     พหูพจน์                        เอกพจน์     พหูพจน์
a loaf             loaves (ก้อนขนมปัง)         a wife            wives (ภรรยา)
a leaf             leaves (ใบไม้)                      a knife          knives (มีด)

4. คำนามนับได้บางคำเป็นได้เฉพาะรูปพหูพจน์โดยลงท้ายด้วย -s หรือ –es ได้แก่
พหูพจน์
trousers (กางเกงขายาว)        shorts (กางเกงขาสั้น)
jeans (กางเกงยีนส์)                  glasses (แว่นตา)
scissors (กรรไกร)                      Pyjamas (เสื้อกางเกงชุดนอน)

5. คำนามนับได้รูปเอกพจน์บางคำ เมื่อเป็นรูปพหูพจน์จะมีรูปเฉพาะ ไม่เป็นไปตามหลักที่กล่าวมาต้องอาศัยการจดจำ ได้แก่
เอกพจน์    พหูพจน์              เอกพจน์    พหูพจน์
a man           men (ผู้ชาย)           a woman      women (ผู้หญิง)
a child          children (เด็ก)      a person       people (ผู้คน)
a tooth         teeth (ฟัน)              a foot            feet (เท้า)
a mousd      mice (หนู)               a sheep         sheep (แกะ)
a fish            fish (ปลา)               a louse          lice (เห็บ, เหา)

6. คำผสม (Compound words) เมื่อจะทำให้เป็นพหูพจน์ ทำได้โดย การเปลี่ยนแปลงคำหลัก เช่น
เอกพจน์        พหูพจน์        ความหมาย
headsman       headsmen        เพชฌฆาต
doorbell          doorbells          กระดิ่งที่ประตูสำหรับเรียกคนภายในบ้าน
bedroom        bedrooms         ห้องนอน
bookcase        bookcases        ตู้หนังสือ
mousetrap     mousetraps      กับดักหนู
stepfather       stepfathers      พ่อเลี้ยง
passer – by     passers – by      ผู้ที่เดินไปมาตามถนน
son-in-law      sons-in-law      บุตรเขย

7. คำที่มีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน เช่น
เอกพจน์         พหูพจน์            ความหมาย
a sheep              two sheep              แกะ
a deer                 two deer                กวาง
a fish                  a lot of fish            ปลา
a fruit                a basket of fruit   ผลไม้

8. คำนามบางคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กรีกและละติน เมื่อเปลี่ยนเป็นพหูพจน์จะไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว เช่น
เอกพจน์             พหูพจน์              ความหมาย
agendum                 agenda                    ระเบียบวาระการประชุม
erratum                   errata                     ข้อผิด, คำผิด
memorandum       memoranda         บันทืก
phenomenon         phenomena         ปรากฏการณ์
radius                       radii                        รัศมี
terminus                 termini                  จบ
crisis                         crises                      วิกฤตการณ์
basis                          bases                      หลักเกณฑ์สำคัญ
axis                            axes                        แกนกลาง
oasis                          oases                     พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไนทะเลทราย
appendix                 appendices          ภาคผนวกของหนังสือ
index                        indexes/indices    (1) indexes = สารบาญ
(2) indices = ดัชนี
genius                      geniuses/genii       (1) geniuses = อัจฉริยบุคคล
(2) genii = ภูตผี, ปีศาจ
medium                  media                     เครื่องมือ

ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ  เตียวรัตนกุล

(Visited 103,423 times, 19 visits today)


Grammar 5 นาที : การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ (การเติม s, es, ies ท้ายคำนาม)


เนื่องในโอกาสวันพ่อในปี 2557 นี้ จึงอยากทำดีเพื่อพ่อโดยจัดทำวีดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ โดยจัดทำเป็นเนื้อหาสั้นๆ ตอนละประมาณ 5 นาที โดยใช้ชื่อว่า \”Grammar 5 นาที\” หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ชมนะคะ สามารถติดตามได้ที่ Facebook : Miss Noon
On the 5th of December is Father’s day in Thailand, since 2014 I would like to make the goodness for our father of Thailand so I make the videos about grammar for Thais who interested in English which the topic is \”Grammar 5 mins\” contact on Facebook : Miss Noon

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Grammar 5 นาที : การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ (การเติม s, es, ies ท้ายคำนาม)

คำนามพหูพจน์ที่ไม่ต้องเติม S หรือ ES l คำนามพหูพจน์เปลี่ยนรูป l คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน


ชวนน้องๆ มาเรียนรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ คำนามพหูพจน์เปลี่ยนรูป กันครับ
Man l Men
Woman l Women
Child l Children
Person l People
Foot l Feet
Tooth l Teeth
Goose l Geese
Louse l Lice
Ox l Oxen
Mouse l Mice
เยี่ยมชม Blog ของเรา: https://goo.gl/JthDFX
ติดตามช่องของเราได้ที่: https://goo.gl/Svd65u
============================================
แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับเด็กๆ เพิ่มเติม
============================================
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ: https://goo.gl/EUg17d
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน: https://goo.gl/cFosez
เพลงภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล: https://goo.gl/pv6srr
วิธีนับเลขภาษาอังกฤษ: http://bit.ly/2nYNBAx
คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล: http://bit.ly/2nYJBA2
เกมส์ผ่อนคลายสมอง: https://goo.gl/TE4kJS
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สัตว์ต่างๆ: https://goo.gl/o7LmPY
เพลงภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล: https://goo.gl/nxPQEj
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ รูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต: https://goo.gl/qpbF3q
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สี color: https://goo.gl/ZuE2YB
เกมส์ฝึกภาษาอังกฤษ: https://gooXgl/Z7uE8G
แอพเรียนภาษาอังกฤษ: http://bit.ly/2nsZE7Y

คำนามพหูพจน์ที่ไม่ต้องเติม S หรือ ES l คำนามพหูพจน์เปลี่ยนรูป l คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

หลักการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ Singular and Plural


คำนามเอกพจน์ คำนามพหูพจน์ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์singular plural

หลักการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ Singular and Plural

ติว TOEIC Grammar : Subject-Verb Agreement คืออะไร? จำยังไงไม่ให้ลืม!


✿ ติวสอบ TOEIC® เริ่มจากพื้นฐาน เทคนิคแกรมม่า แนวข้อสอบ TOEIC® ล่าสุด! ✿
👉 ทดลองติวฟรี! ➡️ https://bit.ly/2wR4Gmu
แกรมม่า TOEIC เรื่อง SubjectVerb Agreement นี้ หลายคนสับสนมาก จะเติม หรือไม่เติม s ดี?
คลิปนี้ครูดิวมีคำตอบ พร้อมเทคนิคจำง่ายๆ มาให้ค่าาา (เต้นตามครูดิวไปด้วยนะคะ ^^)
✿ คอร์สครูดิว ติวสอบ TOEIC® มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅ติวเทคนิคสอบ TOEIC® รวม Grammar ที่ใช้สอบ ครบถ้วน สอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เก็งศัพท์สอบ TOEIC® ออกข้อสอบบ่อย ๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ ติวข้อสอบ TOEIC® ล่าสุด ทั้ง Reading และ Listening
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

ติว TOEIC Grammar : Subject-Verb Agreement คืออะไร? จำยังไงไม่ให้ลืม!

คำนามพหูพจน์ Plural Noun ที่ไม่เปลี่ยนรูป มีคำไหนบ้าง | Eng ลั่น [by We Mahidol]


โดยส่วนมากเวลาเราเปลี่ยนรูปจาก Singular Noun (คำนานเอกพจน์) ไปเป็น Plural Noun (คำนามพหูพจน์) นั้น เราจะคุ้นเคยกับการเปลี่ยนรูปแบบเติม s เติม es หรือเปลี่ยนรูปคำไปเลยใช่ไหม แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายคำที่สามารถเป็นได้ทั้ง Singular Noun และ Plural Noun ได้ในรูปแบบเดียวกัน และสามารถใช้เหมือนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปเลย จะมีคำไหนบ้าง ตามพี่คะน้าไปดูกัน
Engลั่น Mahidol WeMahidol PluralNoun SingularNoun
YouTube : We Mahidol
Facebook : http://www.facebook.com/wemahidol
Instagram : https://www.instagram.com/wemahidol/
Twitter : https://twitter.com/wemahidol
TikTok : https://www.tiktok.com/@wemahidol
มหาวิทยาลัย มหิดล Mahidol University : https://www.mahidol.ac.th/th/
Website : https://channel.mahidol.ac.th/

คำนามพหูพจน์ Plural Noun ที่ไม่เปลี่ยนรูป มีคำไหนบ้าง | Eng ลั่น [by We Mahidol]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ คำ พหูพจน์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *