Skip to content
Home » [NEW] หน้าที่ของ EITHER and NEITHERในภาษาอังกฤษ | neither nor การใช้ – NATAVIGUIDES

[NEW] หน้าที่ของ EITHER and NEITHERในภาษาอังกฤษ | neither nor การใช้ – NATAVIGUIDES

neither nor การใช้: คุณกำลังดูกระทู้

either ออกเสียงได้ 2 อย่าง คือ ไอ-เทอร์ และ อี-เทอะ คำๆ นี้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างคือ adverb, determiner และ pronoun
1. กรณีที่ทำหน้าที่ adverb
เมื่อ either ทำหน้าที่ adverb มีหลักที่ควรทราบอยู่ 2 อย่าง คือ ประการแรก ใช้ either แทนคำว่า too และ also ถ้าหากประโยคที่เอ่ยถึงครงแรกเป็นปฏิเสธ ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความคล้อยตามกันของเนื้อความ ลองพิจารณาเปรียบเทียบตัวอย่างต่อไปนี้
I like fish                             – I do too.
ผมชอบปลา                          ผมก็ชอบด้วยเช่นกัน
I don’t like music.           – My mother doesn’t either.
ผมไม่ชอนดนตรี                  คุณแม่ของผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน
I don’t enjoy tennis, and I don’t much like swimming either.
ผมไม่ชอบเล่นเทนนิส และผมเองก็ไม่ชอบว่ายน้ำด้วยเช่นกัน
เพื่อจะได้จดจำโครงสร้างการใช้ either จากตัวอย่างดังกล่าวได้ง่ายขึ้น จึงขอสรุปกฎดังนี้
negative sentence, (and) subject + negative verb + either
ประการที่สอง เราใช้ either กับ or เมื่อพูดถึงทางเลือก (alternative) ซึ่งมี 2 ทางหรือมากกว่า
ตัวอย่าง
You can either come with me now or walk home.
คุณมากับผมก็ได้หรือจะเดินกลับบ้านก็ได้ (ให้เลือกเอา)
Either you leave this house or I’ll call the police.
คุณจะออกไปจากบ้านหลังนี้หรือจะให้ผมเรียกตำราจ (ให้เลือกเอา)
You can either have soup, fruit juice or melon.
คุณเลือกเอาว่าจะเอาซุป นํ้าผลไม้ หรือแตงโม
หมายเหตุ ในกรณีที่ either… or ใช้เชื่อม subjects หรือทำทน้าที่conjunction สิ่งที่ควรจะระวังก็คือ กริยาภายในประโยคจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับ subject ตัวที่อยู่ใกล้กับกริยามากที่สุด
ตัวอย่าง
Either Jim or Jane was responsible for mailing the letter.
จิมหรือเจนก็ได้ช่วยรับผิดชอบส่งจดหมายฉบับนี้ให้ที
Either you or I am mad.
ไม่คุณก็ผมที่บ้า
(สังเกตประโยคแรกใช้กริยา was ซึ่งสัมพันธ์กับ subject “Jane” และประโยคที่สองใช้กริยา am สัมพันธ์กับ subject “I”)
2. กรณีที่ทำหน้าที่ determiner
คำว่า determiner ในที่นี้หมายถึง คำที่วางไว้หน้า noun เช่น either day, either side, either car ฉะนั้น either เมื่อใช้ในหน้าที่ดังกล่าวนี้ก็อาจจะเรียกว่าเป็น adjective ที่ไปขยาย noun นั่นเอง โดยปกติ either เมื่อเป็น determiner หมายถึง one or the other แปลว่า “คนใดคนหนึ่ง, ด้านใดด้านหนึ่ง, วันใด วันหนึ่ง ฯลฯ” แต่บางครั้ง either อาจจะหมายถึง both แปลว่า ทั้งสองคน, ทั้งสองด้าน ฯลฯ ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
Come on Tuesday or Wednesday. Either day is O.K.
มาวันอังคารหรือวันพุธ วันใดวันหนึ่งก็ได้
There were roses on either side of the door.
มีดอกกุหลาบอยู่ทั้งสองด้านของประตู
หมายเหตุ โปรดสังเกตประโยคแรก เราใช้ noun รูปเอกพจน์กับ either ส่วน ประโยคที่สอง ใช้ plural noun กับ both เพราะ either side หมายถึง both sides)
สิ่งที่ควรจดจำอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อ either พบ noun จะใช้ determiner อื่นด้วยอีกไม่ได้ อาทิ determiners พวก article, possessive หรือ demonstrative เช่น เราอาจจะพูดว่า
/ the room
/ my room
/ either room
แต่จะไม่ใช้
X the either room
X either my room
นอกจากนี้หลังคำ either จะตามด้วย singular และ singular verb
ตัวอย่าง
/ Either day is O.K.
X Either day are O.K.
/ Either kind of school is quite suitable.
X Either kinds of school are quite suitable.
3. กรณีที่ทำหน้าที่ pronoun
คำว่า either อาจจะใช้เป็น pronoun เลย หรือใช้ร่วมกับโครงสร้าง

either of + plural noun phrase ก็ได้
ตัวอย่าง
Do you want, whisky or brandy ?
Oh, I don’t mind. Either.
คุณจะดื่มวิสกี้หรือบรั่นดี
อะไรก็ได้ครับ
Has either of your parents visited you?
พ่อแม่ของคุณมาเยี่ยมคุณบ้างไหม
ข้อสังเกต เมื่อ either of ตามด้วย noun phrase จะต้องมี determiner ซึ่ง อาจจะเป็น possessive, demonstrative หรือ article ประกอบอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้น เราอาจจะใช้ได้ว่า
/ either of the rooms.
/ either of my rooms.
แต่จะไม่ใช้
X either of rooms
นอกจากนี้เรายังใช้ either of + personal pronoun ได้ด้วยสำหรับคำว่า personal pronoun ก็คือสรรพนามแทนบุคคล เช่น you, them, us
ตัวอย่าง
/ Either of you could do it.
X Either you could do it.
ข้อควรจำอีกประการหนึ่งก็คือ ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย either of ตามด้วย plural noun phrase กริยาจะใช้รูปเอกพจน์
ตัวอย่าง
/ Either of the children is quite capable of looking after the baby.
เด็กคนใดก็ได้ที่สามารถดูแลทารกได้
X Either of the children are quite capable of looking after the baby.
แต่บางครั้งเราอาจจะพบว่าในประโยคปฏิเสธ (negative sentence) เราอาจจะใช้ plural verb ได้ แต่เป็นในลักษณะที่เป็น informal style
ตัวอย่าง
I don’t think either of them are at home.
(Informal)
I don’t think either of them is at home.
(Formal)
ผมไม่คิดว่าจะมีใครอยู่บ้าน
หมายเหตุ อย่าลืมว่า เราจะใช้ plural verb ได้ก็ต่อเมื่อ either of + personal pronoun/plural noun phrase อยู่ในรูปประโยคปฏิเสธ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงหลักการใช้ neither
neither ออกเสียงได้ 2 อย่างคือ ไน-เทอะ หรือ นี-เทอะ คำนี้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างคือ determiner, pronoun, conjunction, adverb
1. กรณีที่ทำทน้าที่ determiner
เมื่อ neither ทำหน้าที่ determiner จะใช้ neither + singular noun + singular verb ในกรณีดังกล่าวนี้จะไม่มี article, possessive หรือ demonstrative หลังคำว่า neither
ตัวอย่าง
Neither parent realized what was happening.
ไม่มีฟอแม่คนไหนเลยที่ตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
Neither car is exactly what I want.
ไม่มีรถคันไหนเลยที่ตรงกับความต้องการของผม
Neither plan really suits me.
ไม่มีแผนการอัน ไหนเลยที่เหมาะสมกับผม
2. กรณีที่ทำหน้าที่ pronoun
neither อาจจะใช้ทำหน้าที่ pronoun ได้ โดยใช้โครงสร้างเป็น neither of + plural noun phrase ใน plural noun phrase จะมี determiner จำพวก article, possessive หรือ demonstrative กับ noun รูปพหูพจน์ กริยาในประโยคอาจจะเป็นรูปเอกพจน์ถ้าหากเป็น formal style หรืออาจจะเป็นรูปพหูพจน์ เมื่อเป็น informal style
ตัวอย่าง
Neither of his parents realized what was happening.
ไม่มีพ่อแม่คนไหนเลยที่ตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
Neither of these cars is exactly what I want.
ไม่มีรถคันไหนเลยที่ตรงกับคาามต้องการของผม
Neither of my sisters are very tidy.
(Informal)
ไม่มีน้องสาวของผมคน ไหนเลยที่เรียบร้อย
นอกจาก neither of จะใช้ร่วมกับ plural noun phrase แล้ว ยังใช้ได้กับ personal pronoun เช่น neither of them, neither of us, neither of you ได้ด้วย
ตัวอย่าง
Neither of them can understand.
ไม่มีใครสักคนที่เข้าใจ
Neither of us wants to come.
ไม่มีใครในพวกเราสักคนที่อยากจะมา
นอกจากการใช้ดังกล่าวแล้ว ยังอาจจะใช้ neither ตามลำพัง ในฐานะที่เป็น pronoun
ตัวอย่าง
Which one do you want? – Neither is any good.
คุณต้องการอันไหน – ไม่มีสักอันที่ดีเลย
The unions do not want a strike, and neither do the management.
ทางสหภาพไม่ต้องการสไตร้ค์ และฝ่ายบริหารก็ไม่ต้องการเช่นกัน
จากตัวอย่าง เรื่องการใช้ neither จะพบว่ามีโครงสร้างที่จดจำง่ายๆ คือ
ประโยคปฏิเสธ neither + helping verb รูปบอกเล่า + subject
3. กรณีที่ทำหน้าที่ conjunction
ในกรณีนี้ neither จะใช้กับ nor เพื่อเชื่อม negative ideas หรือ ความคิดในเชิงปฏิเสธเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง
Neither James nor Virginia was at home.
ทั้งเจมส์และเวอร์จิเนียไม่อยู่ที่บ้าน
เพื่อแยกแยะให้เห็นความหมายและที่มาของประโยคดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น นั่นคือ ประโยคตัวอย่างดังกล่าวมาจาก
(A) James wasn’t at home.
(B) Virginia wasn’t at home.
เมื่อนำเอา (A) และ (B) มารวมกันโดยใช้ neither … nor จะได้เป็น Neither James nor Virginia was at home.
ดูตัวอย่างเพิ่มเติม
I neither smoke nor drink.
มาจาก 2 ประโยค คือ
(A) I don’t smoke.
(B) I don’t drink.
เมื่อรวม (A) กับ (B) เข้าด้วยกัน โดยใช้ neither … nor จะได้เป็น
I neither smoke nor drink.
ผมไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา
ในกรณีที่ neither … nor ใช้เชื่อม subjects กริยาภายในประโยคจะใช้ตามประธาน (subject) ตัวที่อยู่ใกล้มันมากที่สุด
ตัวอย่าง
Neither Ray nor George has finished his work.
ทั้งเรย์และจอร์จยังทำงานไม่เสร็จ
แต่ถ้าเป็นแบบ informal style เมื่อประธาน 2 ตัว ถูกเชื่อมด้วย neither … nor อาจจะใช้ plural verb ก็ได้
ตัวอย่าง
Neither James nor Virginia were at home.
ทั้งเจมส์และเวอร์จิเนียไม่อยู่บ้าน
ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ  เตียวรัตนกุล

(Visited 8,968 times, 2 visits today)

[Update] | neither nor การใช้ – NATAVIGUIDES

 

 
Unit I:  Words, Sentences, Phrases, Clauses
 

 
Unit II:  Subject, Verb, Object
 

 
Unit III:  Subjective Complements, Objective Complements
 

 
Unit IV:  Passive
 

 
Unit V:  Affirmation, Negation, Interrogation, Exclamations, Commands, Requests, Suggestions
 

 
 
 

 

การใช้ประโยคในการสื่อสาร

เราใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร ให้ข้อมูล หรือเพื่อแสดงความคิดเห็น แสดงความปรารถนา ให้ผู้อื่นได้รับรู้ และบางทีก็ใช้ประโยคในการตั้งคำถาม ใช้ขอร้อง หรือใช้เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ตกใจ ประหลาดใจ โดยสามารถแบ่งประโยคตามลักษณะของการใช้ได้เป็นประเภทย่อยๆ คือ ประโยคที่มีใจความตอบรับ (affirmation), ประโยคที่มีใจความปฏิเสธ (negation), ประโยคคำถาม (interrogation), ประโยคอุทาน (exclamations) และประโยคคำสั่ง ขอร้อง คำแนะนำ (commands, requests, suggestions)

Negation

ประโยค negation คือประโยคที่มีใจความปฏิเสธ ซึ่งจะมีคำปฏิเสธ (negative words) เหล่านี้อยู่ no, none, nothing, nobody, nowhere, never, neither, nor หรือประโยคที่ถูกทำให้เป็นปฏิเสธโดยการเติม adverb “not” เข้าไปในประโยค

หลักการเติม not:

  • เมื่อมี compound verb (กริยาประสม) อยู่ในประโยค เราจะเติม “not” ไว้ที่หลัง auxiliary

      He cannot  (can’t) work.
      He is not  (isn’t) working.
      He has not  (hasn’t) worked.
      He has not  (hasn’t) been working.
      He should not  (shouldn’t) have worked.

  • ถ้าไม่ใช่ compound verb ก็ให้เปลี่ยนรูปกริยากลับไปเป็นรูปธรรมดา คือ infinitive without to แล้วเติม do, does, หรือ did + not

      I do not know .
      He does not know .
      We did not know .

  • ในกรณีที่เป็น verb “be” หรือ verb “have” ในรูป simple tense ที่มีความหมายในเชิง possessing นั้น ไม่ต้องเติม do ให้ใส่ “not” ไว้หลังกริยาได้เลย

      I am not  afraid.
      You are not  late.
      We have not  much.
      I had not  the time to do it.

Position of the Negative:

A

B

I think he won’t  come.
I don’t  think he’ll come.

I suppose it isn’t  true.
I don’t  suppose it’s true.

I believe that I can’t  stand a week of this.
I don’t  believe that I can stand a week of this.

I suppose I shan’t  do it again for months and months.
I don’t  suppose I shall do it again for months and months.

จากตำแหน่งการวางคำปฏิเสธในประโยคตัวอย่างในตาราง ถึงแม้ว่าสำหรับคนไทยตัวอย่างประโยคชุด A จะดูเป็นธรรมชาติ และดูเหมือนจะถูกต้องมากกว่าตัวอย่างชุด B แต่สำหรับผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้น เขามักจะวางคำปฏิเสธไว้ที่ต้นประโยคอย่างในตัวอย่างชุด B มากกว่า

แต่ก็มีข้อควรระวัง เพราะการสลับตำแหน่งของคำปฏิเสธแบบนี้ใช้ได้เฉพาะกับกริยาที่แสดงความรู้สึกนึกคิด เช่น suppose, think, believe ส่วนกริยาที่แสดงการกระทำ เช่น tell, ask นั้น เราไม่สามารถสลับตำแหน่งของคำปฏิเสธได้ เพราะจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้

a.
He didn’t  tell me he would be there.

b.
He told me he wouldn’t  be there.

 
 

a.
I didn’t  ask him to come.

b.
I asked him not  to come.

 

 

No และ Not:
ลองเปรียบเทียบประโยคต่อไปนี้

a.
We met nobody.

b.
We didn’t meet anybody.

การเขียนประโยคแบบตัวอย่าง a. นี้พบได้ในภาษาวรรณกรรม (literary) ส่วนประโยคแบบ b. มักใช้ในภาษาพูด (colloquial) ซึ่งในภาษาพูดนี้เราจะวางคำปฏิเสธไว้ใกล้กับต้นประโยคให้มากที่สุด นอกจากนี้ในภาษาพูดยังมีการใช้คำประเภท no-combinations ในการตอบคำถามเพื่อเป็นการประหยัดคำ (laconic) และ no-combinations ยังสามารถใช้เป็นประธานของประโยค หรือใช้เพื่อเน้นย้ำได้ด้วย ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงการตอบคำถามโดยการใช้และไม่ใช้ no-combinations

What did you see?
Nothing. (laconic)
I saw nothing. (literary)
I didn’t see anything. (colloquial)

 
 

Where did you go?
Nowhere.
I went nowhere.
I didn’t go anywhere.

 
 

How many have you got?
None.
I have got none.
I haven’t got any.

 
 

What is there in the box?
Nothing.
There is nothing.
There isn’t anything.

 
 

Who wants it?
Nobody.
Nobody wants it.

 
 

What happened?
Nothing.
Nothing happened.

Emphatic Negation:
เราสามารถเน้นใจความปฏิเสธได้โดยการใช้ no แทน เช่น
This won’t be an easy matter.
This will be no easy matter.

เราสามารถเน้นใจความปฏิเสธให้หนักแน่นกว่าเดิมด้วยการเติม “at all” หลักการนี้ใช้ได้กับคำปฏิเสธเกือบทั้งหมด ยกเว้น neither และ nor
I saw nothing at all.
Nothing matters at all.
There was nobody at all.
I have never been there at all.
Do you mind closing the door?—Not at all.

ส่วน not สามารถทำให้หนักแน่นขึ้นโดยการเติมวลี a bit, the least bit, in the least, by a long way เข้าไป
I am not a bit tired.
I am not the least bit tired.
I am not tired in the least.
He isn’t rich by a long way. (He is far from rich.)

Double Negation:
การมีคำปฏิเสธสองคำในประโยคเดียวกันนั้น ทำให้ความหมายของประโยคนั้นเปลี่ยนจาก negative เป็น affirmative ลองเปรียบเทียบตัวอย่างประโยคต่อไปนี้

บอกเล่า:
It is common for the son of a millionaire to marry a poor girl.
เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ลูกชายเศรษฐีจะไปแต่งงานกับเด็กหญิงยากจน

ปฏิเสธ:
It is uncommon for the son of a millionaire to marry a poor girl.
เป็นเรื่องไม่ปกติธรรมดาที่ลูกชายเศรษฐีจะไปแต่งงานกับเด็กหญิงยากจน

ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ:
It is not uncommon for the son of a millionaire to marry a poor girl.
ไม่ใช่เรื่องไม่ปกติธรรมดาที่ลูกชายเศรษฐีจะไปแต่งงานกับเด็กหญิงยากจน
He went to work as usual, though not without some fear.
เขาไปทำงานเหมือนปกติแล้ว แม้จะยังมีความกลัวอยู่บ้าง (ไม่ใช่ไม่กลัว)
He doesn’t do it for nothing.
เขาไม่ได้ทำมันโดยไม่ได้หวังอะไร
Nothing is nothing at all. (Everything is of some importance.)
ไม่มีสิ่งใดเลยที่ไร้ความหมายไปเสียทั้งหมด

 

อย่างไรก็ตาม การใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธในภาษาตลาด มักใช้เพื่อสื่อความหมายในเชิงปฏิเสธ เช่น
I don’t know nothing. = I don’t know anything.
There isn’t no such thing. = There isn’t such a thing.
I won’t give nobody nothing no more. = I won’t give anybody anything any more.

Semi-Negatives:
คำวิเศษณ์อย่าง hardly และ scarcely อาจเรียกได้ว่าเป็นคำกึ่งปฏิเสธ semi-negatives เพราะมีความหมายเหมือนกับ nearly และ almost แต่เป็นในเชิงลบ เราไม่ค่อยใช้ nearly nothing, nearly no, almost never แต่จะใช้ hardly (scarcely) anything, hardly (scarcely) any, หรือ hardly (scarcely) ever แทน เป็นต้น

ไม่ค่อยใช้

ใช้ semi-negatives แทน

nearly nothing
hardly (scarcely) anything

nearly no
hardly (scarcely) any

almost never
hardly (scarcely) ever

I hardly saw anything.
He hardy spoke a word.
We scarcely ever wanted it.
It scarcely matters.

 

 
Unit I:  Words, Sentences, Phrases, Clauses
 

 
Unit II:  Subject, Verb, Object
 

 
Unit III:  Subjective Complements, Objective Complements
 

 
Unit IV:  Passive
 

 
Unit V:  Affirmation, Negation, Interrogation, Exclamations, Commands, Requests, Suggestions
 

 
 
 

 


วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.6 เรื่อง Either…or / Neither … nor


สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ม.6 ทุกคนที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบได้จาก เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของเรา
Web: https://nockacademy.com/learn/
iOS: https://apple.co/2SKdksn
Android: http://bit.ly/2REzb7w
●สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ●
http://nockacademy.com
●สำหรับโรงเรียนใดที่สนใจ●
https://nockacademy.com/forschool/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.6 เรื่อง Either...or / Neither ... nor

Either กับ Neither ใช้ยังไง? | คำนี้ดี FOCUS EP.8


KND Studio ช่องยูทูบใหม่สำหรับคนที่ชอบเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ เข้าไปกดซับฯ ได้ที่ https://bit.ly/kndstudio
Either, Neither ใช้ยังไง? ชอบใช้สองคำนี้สลับกันอยู่บ่อยๆ คำไหนแปลว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าจะไม่เอาทั้งคู่ละใช้คำไหนให้ถูกต้อง วันนี้ คำนี้ดี Focus มาแจกประโยคสำเร็จรูปของ 2 คำนี้ให้คุณได้จำไปใช้กันแบบจุกๆ ไปเลย
———————————————
ติดตาม คำนี้ดี ในช่องทางอื่นๆ
Website: https://thestandard.co/podcast_channel/knd/
Apple Podcasts: http://apple.co/3sWRwvF
Spotify: http://spoti.fi/3kGS4ms
SoundCloud: http://bit.ly/385nOwc
Facebook Page: https://www.facebook.com/KNDpodcast
Facebook Group: https://www.facebook.com/groups/kndgroup/
KNDFOCUS คำนี้ดี TheStandardPodcast TheStandardco TheStandardth

Either กับ Neither ใช้ยังไง? | คำนี้ดี FOCUS EP.8

Daily Spoken English 41: Either…or; Neither…nor: Coi chừng sai – Tiếng Anh giao tiếp- Thắng Phạm


Daily Spoken English 41: Either…or; Neither…nor: Coi chừng sai Tiếng Anh giao tiếp Thắng Phạm
ThắngPhạm
TiếngAnhGiaoTiếp
HọcTừVựngTiếngAnh
HọcNgữPhápTiếngAnh
LuyệnNgheTiếngAnh
LuyệnNóiTiếngAnh

Daily Spoken English 41: Either...or; Neither...nor: Coi chừng sai - Tiếng Anh giao tiếp- Thắng Phạm

របៀបប្រើប្រាស់ Either…or and Neither…nor


របៀបប្រើប្រាស់ Either…or and Neither…nor
This video talks about how we can use either/or and neither/ nor in a sentence.
More videos:
What are collocations
https://youtu.be/w9onfJJf8pc
Auxiliary Verbs Vs Main Verbs
https://youtu.be/4Cy2ps8STfg
In the End Vs At the End
https://youtu.be/rwGD7FghG90
Because Vs Because of
https://youtu.be/bty2EgTn3Cg
Transitive and Intransitive Verbs
https://youtu.be/CrEay0LVa_A
Present continuous_Full lesson
https://youtu.be/iTDDMgILteA
/ch/ sounds in English
https://youtu.be/arOeyV5sN5E
Idiom 1
https://youtu.be/7IpeTygWQZQ
a few and a little
https://youtu.be/GpxQPNtrkds
Adjective
https://youtu.be/hXlueBOKFVE
Adjective order
https://youtu.be/q7xsGW9dGGQ
What are nouns?
https://youtu.be/AOAikiBJoJg
Passive and active
https://youtu.be/5Vd1pTiIVy8
Mispronounced words in English
https://youtu.be/nFhfCEyaeTk
What is a clause?
https://youtu.be/t_wdfi_67Iw
More information: 093629000

របៀបប្រើប្រាស់ Either...or and Neither...nor

ติว TOEIC: Correlative Conjunction (คำเชื่อมที่มาเป็นคู่ๆ) มีอะไรบ้าง? มาดูกันเลยค่ะ


Correlative Conjunctions ได้แก่พวก either or, neither nor, not only but also, both and ซึ่งมักจะมาเป็นคู่ๆ ดังนั้นในข้อสอบ TOEIC ถ้าเจอเรื่องนี้จะมีวิธีสังเกตยังไงบ้าง ตามครูดิวมาดูเลยค่ะ

✿ คอร์สครูดิว ติว TOEIC มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅ติวเทคนิค TOEIC Grammar ที่ใช้สอบ ครบถ้วน สอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เก็งศัพท์ TOEIC ออกข้อสอบบ่อยๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ ติวข้อสอบ New TOEIC ล่าสุด ทั้ง TOEIC Reading และ Listening
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

ติว TOEIC: Correlative Conjunction (คำเชื่อมที่มาเป็นคู่ๆ) มีอะไรบ้าง? มาดูกันเลยค่ะ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ neither nor การใช้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *