Skip to content
Home » [NEW] วิธีที่ง่ายที่สุดในการใช้ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) | หลักการใช้ if clause – NATAVIGUIDES

[NEW] วิธีที่ง่ายที่สุดในการใช้ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) | หลักการใช้ if clause – NATAVIGUIDES

หลักการใช้ if clause: คุณกำลังดูกระทู้

ประโยคเงื่อนไข หรือได้เรียกชื่อต่างๆ ว่า  if clause บ้างก็เรียก Conditional sentences เป็นเรื่องที่ใช้งานไม่ยากแต่เป็นเรื่องหนึ่งท่สำคัญอย่างมากไม่รู้ไม่ได้ ดังนั้นวันนี้ Eng Breaking จะแนะนำไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนหลักภาษานะคะ

Table of Contents

ประโยคเงื่อนไข  if clause คืออะไร

ประโยคเงื่อนไขเป็นหัวข้อ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่มีส่วนเนื้อหาค่อนข้างเยอะ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ยากมากถ้าเรามีวิธีการเรียนถูกต้อง วันนี้เราจะแนะนำละเอียดตั้งแต่เรื่อง ประโยคเงื่อนไข  if clause คืออะไร และสรุป 4 เทคนิคใช้ If Clause ระดับมืออาชีพ เข้าใจได้ง่ายที่สุดในบทความเดียว เอาล่ะ ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

  • ก่อนอื่นเราทำความเข้ามใจความหมายของคำว่า ประโยคเงื่อนไข  if clause คืออะไร ก่อนนะคะ
    – สำหรับคำว่า if  ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “ถ้า”
    – สำหรับคำว่า clause ในภาษาอังกฤษ  แปลว่า  “อนุประโยค”
    – เข้าใจง่ายๆ  clause คือ อนุประโยค ถ้า…..นะคะ
  • สำหรับคำว่า conditional sentences แปลได้ว่า
    – สำหรับคำว่า conditional ในภาษาอังกฤษ  แปลว่า “เงื่อนไข”
    – สำหรับคำว่า  sentences ในภาษาอังกฤษ  แปลว่า “ประโยค”
    >> เข้าใจง่ายๆ  conditional sentences คือ ประโยคเงื่อนไข

ประโยคเงื่อนไข  if clause คือรูปแบบประโยคที่ใช้บอกว่า ถ้ามีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น (เงื่อนไข) อีกสิ่งก็จะเกิดขึ้นตาม (ผลลัพธ์) เดี๋ยวเราจะยกตัวอย่างละเอียดให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้

  • If it rains, I will stay home. แปลว่า ถ้าฝนตก ฉันจะอยู่บ้าน
    เห็นชัดเลยว่า If it rains (เงื่อนไข) เป็นส่วน If clause และ I will stay home. (ผลลัพธ์) ก็คือ Main clause ของมันนะคะ

ตัวอย่างที่สอง:

  • If I am tired, I go to sleep. แปลได้ว่า ถ้าฉันเหนื่อน ฉันนอน หรือเข้าใจเลยว่า ทุกครั้งที่ฉันรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้า ฉันนอนเอาแรงก่อน ในนั้น  I am tired (เงื่อนไข) เป็นส่วน If clause และ go to sleep(ผลลัพธ์) ก็คือ Main clause ของมันนะคะ

หลักการใช้ ประโยคเงื่อนไข if clause 

ประโยคเงื่อนไข if clause  หรือ Conditional sentences ประกอบด้วยสองส่วคือ ประโยคที่แสดงเงื่อนไขจะขึ้นต้นด้วย “If” และประโยคหลัก Main Clause โดยประโยค If Clause และโครงสร้างของประโยคสามารถที่จะเอา If clause นำหน้า Main clause หรือ เอา Main clause นำหน้า If clause ก็ได้ เช่น

  • If you love me, I will love you.  ในนั้น If clause คือ If  you love me, Main clause คือ I will love you

Conditional Sentences ไวยากรณ์ในภาษาอังกฏษ

เรามาดูหลักการใช้ if clause ทั้งการใช้คอมม่า และการใช้ if clause ทั้ง 4 แบบกันเลย (บางที่อาจพูดถึงแค่ 3 แบบ โดยจะตัดแบบที่ 0 หรือที่เรียกว่า type 0 ออก) และ Type 1, Type 2, Type 3  และแบบผสมพิเศษด้วย วิธีการใช้งานของแต่ละแบบละเอียด พร้อมตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

  •  Zero Conditional Sentences  หรือ  if clause type 0 
  •  First Conditional Sentences หรือ  if clause type 1
  •  Second Conditional Sentences  หรือ  if clause type 2
  •  Third Conditional Sentences หรือ  if clause type 3

1. เริ่มจาก  Zero Conditional Sentences  หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 0

Zero Conditional Sentences  หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 0 มีโครงสร้างประโยคเข้ามใจง่ายๆ ดังนี้  If + Present Tense (Conditional Sentence), Present Simple (Main Clause)

  • ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 0 โดยจะเป็นการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ไม่ใช่เหตุการณ์เฉพาะ เราจะใช้กับ
    – สิ่งที่เป็นจริงเสมอ (ความจริงตามธรรมชาติ )
    – สิ่งที่เราทำเป็นปกติ (เช่นประโยดนี้ ถ้าฉันไปชายหาด ฉันจะใช้ครีมกันแดด )

ตัวอย่างประโยค if clause type 0

  • If I am tired, I go to sleep. แปลว่า ถ้าฉันเหนื่อน ฉันนอน – ทุกครั้งที่ฉันรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้า ฉันนอนเอาแรงก่อน
  • Your wife gets angry if you smoke. แปลว่า แฟนนายโกรธ ถ้านายสูบบุหรี่ – เห็นหล่อนวีนทุกครั้งที่นายสูบ
  • If you go to the park, you can see Jo in the shop. แปลว่า ถ้าคุณไปสวน คุณสามารถพบโจได้ในร้าน – โจทำงานที่นั่น ไปก็เจอเลย
    ในบางกรณีสามารถใช้คำว่า When ก็ได้ เพราะมีความหายเดียวกัน เช่น
  • If I am tired, I go to sleep. แปลว่า ถ้าฉันเหนื่อย ฉันไปนอน
    เราสามารถเขียนได้ว่า When  I am tired, I go to sleep. แปลว่า เมื่อฉันเหนื่อย ฉันไปนอน

หมายเหตุ: การใช้ if clause แบบที่ 0 เราสามารถใช้ when แทน if ได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน 

Tense ที่ใช้Present simplePresent simpleตัวอย่างประโยคIf ice melts,it turns into water.ถ้าน้ำแข็งละลายมันจะกลายเป็นน้ำ If I go to the beach,I use sunscreen.ถ้าฉันไปชายหาดฉันจะใช้ครีมกันแดด If you don’t exercise,your

muscle

mass decreases.ถ้าคุณไม่ออกกำลังกายมวลกล้ามเนื้อของคุณก็ลดลง

2. เริ่มจาก  First Conditional Conditional Sentences  หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 1

First Conditional Conditional Sentences   หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่  1  มีโครงสร้างประโยคเข้ามใจง่ายๆ ดังนี้    If + Present Tense (Conditional Sentence), Will + Verb (Main Clause)

ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 1 เราจะใช้กับเหตุการณ์สมมติที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต รายละเอียดคือจะใช้เพื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลกันว่า หากสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอีกสิ่งหนึ่งก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วย เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ใช้พูดถึงโลกแห่งความเป็นจริงและเหตุการณ์เฉพาะ โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้เพื่อเป็นการเตือน  ในประโยคเงื่อนไขแบบที่ 1 นี้ จะบอกเวลา ณ. ปัจจุบันหรือในอนาคตที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริง

ตัวอย่างประโยค if clause type 1

  • If I study hard, I will pass the exam. แปลว่า ถ้าฉันเรียนหนักๆ ฉันจะสอบผ่าน – ฉันมั่นใจว่าอย่างนั้น (อาจไม่ผ่านก็ได้)
  • If it rains, we will play inside. แปลว่า ถ้าฝนตกเราจะเล่นข้างใน  – เราคิดไว้อย่างนั้น พอฝนตกจริงอาจวิ่งเล่นข้างนอกก็ได้
  • If you go to the park, you will see Jo in the shop. แปลว่า ถ้าคุณไปสวน คุณอาจจะพบโจได้ในร้านก็ได้ – ฉันไปสวนแล้วเห็นโจกินข้าวร้านนั้นบ่อยๆ (ไปอาจไม่เจอ)
  • You will feel better if you sleep enough.
    คุณจะรู้สึกดึขึ้น ถ้าคุณนอนเพียงพอ – อาจจริงของคุณ หรือไม่จริงก็ได้

ข้อควรจำ: นอกจากนี้ ใน main clause ของประโยคเงื่อนไขแบบที่ 1 คุณสามารถใช้ modals verb แทนการใช้  future tense ได้อีกด้วยเพื่อบอกระดับความแน่นอน การอนุญาต หรือเพื่อแนะนำให้ทราบว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร

Tense ที่ใช้Past simplewould/wouldn’t + verbตัวอย่างประโยคIf I won the lottery,I would travel around the world.ถ้าฉันถูกหวยฉันจะเที่ยวรอบโลก If I owned a cat,I would name it Chewie.ถ้าฉันมีแมวฉันจะตั้งชื่อมันว่าชิววี่ If I had a car,I wouldn’t take the bus.ถ้าฉันมีรถฉันจะไม่ขึ้นรถเมล์

การใช้ประโยคเงื่อนไขที่ไม่ยากอย่างที่คิด

3. เริ่มจาก  Second Conditional Sentences  หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 2

Second Conditional Sentences   หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่  1  มีโครงสร้างประโยคเข้ามใจง่ายๆ ดังนี้   
If + Past tense (Conditional Sentence), Would + Verb (Main Clause)

ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 2 เราจะใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง อาจจะเกิดจากการจินตนาการหรือเพ้อฝัน และใช้พูดถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน

ตัวอย่างประโยค if clause type 2

  • If I won the lottery, I would travel around the world. แปลว่า ถ้าฉันถูกล็อตเตอรี่นะ ฉันจะเดินทางรอบโลกเลย – เพ้อไป ชาตินี้จะมีโอกาศไหม
  • If I had time, I would learn more English. แปลว่า ถ้าฉันมีเวลานะ ฉันจะเรียนอังกฤษให้มากขึ้น => ความจริงคือ  เรียนเอาแค่ผ่านก่อนเถอะ เวลาแทบจะไม่มีเหลืออยู่แล้ว
  • If I were you, I would take the offer. แปลว่า ถ้าฉันเป็นนาย ฉันจะรับข้อเสนอนะ => ความจริงคือนายเป็นฉันไม่ได้หรอก คนละคนกัน
  • If I had his number, I would call him. แปบว่า ถ้าฉันมีเบอร์เขา ฉันจะโทรหาเขา => ความจริงคือฉันไม่มีเบอร์เขา

ข้อควรจำ
เราสามารถสลับประโยคที่เป็นเหตุและผลกันได้
เช่น If I had his number, I would call him. สามารถเขียนเป็น  I would call him if I had his number ก็ได้ ความหมายของประโยคนิไม่เปลี่ยนแปลง

โดยหากคำว่า if อยู่กลางประโยคเราไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายคอมม่า (,) แต่หาก if ขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่าคั่นระหว่างประโยคทุกครั้ง

  • นอกจากกริยา would แล้ว เรายังสามารถใช้ could หรือ might แทนได้เช่นกัน
  • ประธานไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์หากอยู่ในโครงสร้างนี้โดยใช้ Verb to be จะใช้ were ตัวเดียวเท่านั้น อย่าลืมจดไว้นะคะเพราะในข้อาอบต่างๆ เรามักจะเจอประโยคเงือนไขแบบที่สองนี้ค่ะ อยากได้คะแนนสูงๆ ต้องไม่พลาดนะคะ

Eng Breaking จะแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจดจำไวยากรณ์ภาษาอังกฏษแบบกล้วยๆ คือลองผสมผสานการใช้ภาษาเข้ากับชีวิตประจำวันของเราดู ค่อย ๆ ฝึกและเรียนรู้ ที่สำคัญ อย่าลืมทดลอง 6 วิธีนี้

  • อ่านหนังสือหรือบทความภาษาอังกฤษ: เพราะเราสามารถเรียนคำศัพท์ใหม่ พร้อมวิธีตั้งประโยคที่มักจะเจอบ่อย เรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฏษจาเรื่องยาว นิยาย นิทาน ที่มีในหนังสือได้ง่าย
  • จดศัพท์ใหม่ ๆ: ถ้าเจอศัพท์ใหม่ต้องจดไว้ ตั้งเป็นประโยคเพื่อจำได้ ไม่ลืม
  • ทำให้หูคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ: ฝึกทักษะการฟังไปด้วย เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ แต่ผู้เรียนชอบมองผ่าน เริ่มจากการฟังเพลง ฟังบทสนทนาแบบง่ายๆ ก่อนแล้วค่อยๆ ปรับความเร็วและระดับความยากของบทฟัง
  • ใช้ช่องทางออนไลน์ให้เป็นประโยชน์: เรียนผ่านระบบการเรียนออนไลน์ สามารถเรียนได้ทุกที่ เรียนที่บ้านก็ได้เวลาเรียนสะดวกกว่าไปถึงศูนย์การเรียนอีกต่างหาก เรียนกับ Eng Breaking Native 1 to 1 คือคุณจะมีโอกาสได้เรียนตัวต่อตัวกับการจารย์เจ้าของภาษาทุกๆ วัน
  • ฝึกทุกที่ที่มีโอกาส: ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา หรือคนงานทั่วไป เราก็สามารถเรียนภาษาอังกฏษได้กับคอร์สเรียนต่างๆ น่าสนใจจาก Eng Breaking คอร์สเรียนที่เน้นทักษะการสื่อสาร ช่วยคุณทั่นใจในการพูดคุยกับเจ้าของภาษา
  •  อย่ากลัวที่จะลองใช้: มั่นในในตัวเอง มั่นใจในสิ่งที่ทำจะช่วยคุณผสมความสำเร็จได้ง่าย ขึ้น สำหรับการเรียนภาษาอังกฏษก็เช่นกัน อย่ากลัวเมื่อพูดผิดนะคะ เพราะใครๆ ก็ต้องผ่านจุดเริ่มต้นนั้นเช่นกัน มั่นใจและมีแนวทางการเรียนอย่างถูกต้องรับรองส่าคุณจะเป็นคนต่อไปที่สำเร็จ

4. เริ่มจาก  Third Conditional Conditional Sentences  หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 3

Third Conditional Conditional Sentences   หรือ  การใช้ ประโยคเงื่อนไข แบบที่  3  มีโครงสร้างประโยคเข้ามใจง่ายๆ ดังนี้   
If + Past Perfect (Conditional Sentence), Would have + Verb (Main Clause)

ประโยคเงื่อนไข แบบที่ 2 เราจะใช้กับเหตุการณ์สมมติในอดีต ซึ่งไม่มีทางเป็นจริงได้ เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว

ตัวอย่างประโยค if clause type 3

  • If I had studied hard, I would have passed the test. แปลว่า ถ้าฉันเรียนหนักนะ ฉันคงสอบผ่านไปแล้ว => ความจริงคือ ตอนนั้นไม่ได้เรียนหนัก แล้วสอบตก
  • If he had won the singing contest, he would have got a

    BMW

    แปลว่า  ถ้าเขาชนะการประกวดร้องเพลง เขาคงได้ BMW ไปแล้ว  => ความจริงคือ ตอนั้นแพ้ ขับเก๋งคันเก่าต่อไปเถอะ

  • If I had left my house at 9, I would have arrived here on time.
  • ถ้าฉันออกจากบ้านตั้งแต่ 9 โมง ฉันก็คงมาถึงที่นี้ตรงเวลา => ความจริงคือ ฉันออกจากบ้านสาย และฉันมาถึงสาย

ข้อควรจำ: เราสามารถสลับที่ประโยคที่อยู่หลังคอมม่าขึ้นมาไว้ข้างหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคอมม่าอีก และยังให้ความหมายเหมือนเดิม

เช่น
– If I had studied harder, I would have passed the exam.
เราสามารถเปลี่ยนเป็น
– I would have passed the exam if I had studied harder.

If clause แบบที่ 3If clauseMain clauseTense ที่ใช้Past perfectwould have/wouldn’t have + verb ช่อง 3ตัวอย่างประโยคIf I had studied hard,I would have passed the exam.ถ้าตอนนั้นฉันตั้งใจเรียนฉันก็คงสอบผ่าน If I hadn’t been sick,I would have gone to the cinema.ถ้าตอนนั้นฉันไม่ได้ป่วยฉันก็คงจะไปโรงหนัง If he had left earlier,he would have arrived on time.ถ้าตอนนั้นเขาออกมาเร็วกว่านี้เขาก็คงมาถึงตรงเวลา

สำหรับประโยคเงือนไขในภาษาอังกฤษนอกจากสี่รูปแบบที่มักจะเจอบ่อยแล้วคือ 

  • Zero Conditional Sentences  หรือ  if clause type 0 
  •  First Conditional Sentences หรือ  if clause type 1
  •  Second Conditional Sentences  หรือ  if clause type 2
  •  Third Conditional Sentences หรือ  if clause type 3

เรายังมีอีกแบบหนึ่งที่เรียกได้ว่าประโยคเงือนไงแบบ mixed type และมีวิธีการใช้งานรายละเอียดตามนี้นะคะ

if clause แบบผสมกันระหว่างแบบที่ 2 และ 3 ได้อีกด้วย ซึ่งก็คือการใช้กับเหตุการณ์สมมติในอดีตที่ไม่เป็นจริง ที่มีผลมายังปัจจุบัน (ต่างจากแบบที่ 3 ที่มีผลเฉพาะกับในอดีต)

If clause แบบ mixed typeIf clauseMain clauseTense ที่ใช้Past perfectwould/wouldn’t + verbตัวอย่างประโยคIf I had exercised regularly,I would have a great body.ถ้าฉันได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอฉันก็คงจะมีหุ่นดี If I hadn’t met John,I wouldn’t be happy now.ถ้าตอนนั้นฉันไม่ได้พบจอห์นฉันก็คงจะไม่มีความสุขในตอนนี้ If he had arrived on time,his boss wouldn’t be angry.ถ้าเขาได้มาถึงตรงเวลาหัวหน้าเขาก็คงไม่โมโห

ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือประโยค ถ้าฉันได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฉันก็คงจะมีหุ่นดี – การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในตอนนั้น จะทำให้ฉันมีหุ่นดีในตอนนี้ แต่ในความเป็นจริงนั้นฉันไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลยจะได้เข้าใจเป็นเหตุการณ์สมมติในอดีตที่ไม่เป็นจริง

การใช้ประโยคเงื่อนไขฉบับเต็ม

สรุปการใช้ if clause

เนื้อหาเกี่ยวกับประโยคเงือนไขคงเยอะนิดหนึ่งแต่ไม่ค่อยยากเลยใช่ไหมคะ เพราะแต่ละแบบก็มีลักษณะที่ให้เห็นภาพชัดเช่น  ประโยคเงือนไขหรือได้เรียกเป็นชื่ออื่นคือ If clause หรือ Conditional Sentences  แต่ความหมายเดียวกัน คือประโยคที่มีสองส่วนที่ หนึ่งคือ if และสองคือส่วน main clause ที่เป็นประโยคส่วนที่เป็นผลลพธ์ 

ประโยคเงือนไข If clause แบ่งหลักๆได้เป็น 4 แบบที่มักจะเจอบ่อยๆ คือ
If clause แบบที่ 0 จะใช้กับสิ่งที่เป็นจริงเสมอ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ
If clause แบบที่ 1 จะใช้กับเหตุการณ์สมมติที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
If clause แบบที่ 2 จะใช้กับเหตุการณ์สมมติในปัจจุบันหรืออนาคตที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย
If clause แบบที่ 3 จะใช้กับเหตุการณ์สมมติในอดีต ซึ่งไม่มีทางเป็นจริงได้
นอกจาก if clause ทั้ง 4 แบบแล้ว เรายังสามารถใช้แบบผสม (mixed type) ซึ่งจะใช้กับเหตุการณ์สมมติในอดีตที่ไม่เป็นจริง ที่มีผลมายังปัจจุบัน 

สรุปในตารางดังต่อไปนี้

ประเภทของประโยคเงื่อนไขการใช้tense ของคำกริยาใน If clausetense ของคำกริยาใน Main clasue0ความจริงทั่วไปSimple presentSimple presentแบบที่ 1สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลกับซึ่งกันและกันSimple presentSimple futureแบบที่ 2สิงที่ตรงกันข้ามกับความจริงในปัจจุบันหรือในอนาคตSimple pastPresent conditional หรือ Present continuous conditionalแบบที่ 3สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความจริงในอดีตPast perfectPerfect conditionalแบบผสมสิ่งที่ไม่เป็นความจริงในอดีตและส่งผลต่อปัจจุบันPast perfectPresent conditional

เป็นยังไงบ้างคะกับการใช้ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) ฉบับอธิบายเข้าใจง่ายๆ กระจ่างสุดที่ Eng Breaking ได้นำมาแนะนำวันนี้คะ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชต่อผู้เรียนทุกคน ต่อจากนี้เรื่องการใช้ประโยคเงื่อนไขคงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเราอีกต่อไปแล้วค่ะ อย่าลืมติดตามเราเพื่ออัพเดทข้อมูลพร้อมเทคนิคดีๆ ในการเรียนภาษาอังกฏษกันนะคะ เราเชื่อว่าคุณจะเป็นคนต่อไปที่สำเร็จในการเรียนค่ะ

[Update] ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) | หลักการใช้ if clause – NATAVIGUIDES

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) เป็นลักษณะประโยคที่บอกการกระทำของกิริยาอีกลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กับเรื่อง “mood” เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ข้อความของประโยคในรูปแบบต่างๆ จะแสดงความหมายไม่เหมือนกัน ข้อความบางอันเป็นจริง แต่ข้อความบางอันไม่เป็นจริง เป็นแต่การสมมุติเท่านั้น

ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบของประโยคเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี จึงจะเข้าใจข้อความได้ถูกต้องขึ้น ประโยคเงื่อนไขนั้น ความจริงก็คือ Adverb clause ชนิดหนึ่งที่แสดงเงื่อนไข (Condition) ซึ่งมีตัว Relative เช่น “if, unless, provided (that), suppose (that), on condition that” แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ “if’ บางตำรา จึงเรียกประโยคเงื่อนไขว่า “IF-Clause” ก็มี

ชนิดของประโยคเงื่อนไข
ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เงื่อนไขที่เป็นจริง หรือเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในอนาคต (Real Conditions or Open Conditions) มีรูปแบบโครงสร้างดังนี้

Subordinate Clause            Main Clause
IF + Present Simple            Future Simple

ตัวอย่าง
If John works hard, he will pass his examination.
If the rain stops I shall go for a walk.
Unless the rain stops I shall not go for a walk.

ตำแหน่งการวาง Clause ทั้ง 2 อาจสลับกันได้ คือ เอา Main Clause ขึ้น แล้วตามด้วย Subordinate Clause (แต่อย่างไรก็ดี ถ้าขึ้นต้น ประโยคด้วย Subordinate Clause หรือ if Clause ก่อนจะเป็นการเน้นยิ่งขึ้น) เช่น
I will help him if he asks me.
I won’t help him unless he asks me.
He will do the work if (provided that/on condition that) he has the time.

ประโยคเงื่อนไขแท้จริง (Real Conditions) นอกจากจะใช้โครงสร้างประโยคดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้มากที่สุดแล้ว ยังมีโครงสร้างอีกแบบหนึ่งซึ่งใช้มากเช่นกัน และค่อนข้างจะมีความหมายเน้น (Emphasis) กว่าโครงสร้างข้างบน คือ

Subordinate Clause                Main Clause
If + Present Simple                 Present Simple

ตัวอย่าง
If you are right, I am wrong.
If he comes, I tell you.
If you boil water, it changes into steam.

นอกจากโครงสร้างหลัก 2 แบบ ดังกล่าวแล้ว ประโยคเงื่อนไขแท้จริง อาจใช้ในแบบอื่นๆ อีก เช่น ตัวอย่าง
1. If + Present Simple\Future Perfect Tense เช่น If I get this right, I shall have answered every question correctly.
2. IF + Present Simple, Past Simple Tense เช่น If what you say is right, then what I said was wrong.
3. If + Present Simple, Imperative Mood. เช่น If you meet Henry, tell him I want to see him. It the ground is very dry, don’t forget to water those plants.
4. If + should + Bare Infinitive, Imperative or Future in Question Forms เช่น
If you should meet Henry, tell him I want to see him.
If he should come, please give him this book.
If you should be passing, do come and see us.
If the train should be late, what will you do?

หมายเหตุ โครงสร้างตามรูปแบบที่ 4 นี้ จะมีความหมายความเป็นไปได้ที่น้อยลงกว่าโครงสร้างปกติ (Remote Possibility)
5. If + Past Simple, Present Simple Tense เช่น If I said that, I apologise.
6. If + Past Simple, Past Simple Tense เช่น If I said that, I was mistaken.
7. If + Past Simple, Future Simple Tense เช่น If I made a mistake, I will try to remedy it.
8. If + Present Perfect, Future Simple Tense เช่น If I have made a mistake, I will try to remedy it.
9. IF + Present Perfect, Present Simple Tense เช่น If you have done your work, you may go to the cinema.

ข้อสังเกต
1. ใน IF-Clause จะไม่ตามด้วย Future Tense เลย แม้ว่าความหมายจะเป็นอนาคตก็ตาม เช่น
I shall go for a walk if the rain will stop. (ผิด)
I shall go for a walk if the rain stops. (ถูก)

2. “will” จะใช้ใน IF-Clause แต่มิได้แสคงความหมาย “อนาคตกาล” แต่แสดงถึง “ความเต็มใจหรือตั้งใจทำ (Willingness) เช่น
If you will sign this agreement, I will let you have the money at once.

แต่ข้อความข้างบนจะสุภาพยิ่งขึ้นถ้าใช้ “would” เช่น If you would (=would be so kind as to/would be kind enough to) sign this agreement, I will let you have the money at once.

2. เงื่อนไขที่ไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติ (Unreal Conditions or Hypothetical Conditions, Suppositions) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 เงื่อนไขที่ไม่จริง หรือเป็นไปไม่ได้ในอนาคต (Unreal Conditions in Future) มีรูปแบบดังนี้

Subordinate Clause            Main Clause
IF+Past Simple Tense        Future Simple in the Past

เช่น
If Henry were here, he would know the answer.
If I had the money, I would buy a new car.
If I were King, you should be Queen.

ข้อสังเกต
1. ใน IF-Clause ที่แสดงเงื่อนไขไม่จริงในอนาคตนี้ จะใช้ “were” กับทุกๆ ประธาน
2. รูป Future Simple in the Past นั้น ก็คือ รูปที่มาจาก Future Simple นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” หรือเปลี่ยน “shall” เป็น “should”
3. ความหมายของทุกตัวอย่างข้างต้น จะแสดงการสมมุติทั้งสิ้น เช่น
“If Henry were here……” แสดงว่า “ผมรู้ว่าเฮนรีไม่มีโอกาสจะอยู่ที่นี่ได้เลย” หรือ “If I had the money………” หมายความว่า “ผมรู้ว่าผมไม่มีทางจะมีเงินจำนวนนั้นได้เลย’’ ตัวอย่างประโยคสุดท้ายยิ่งเน้นชัดว่า ข้อความนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างยิ่ง คือ “If I were King…………”

อนึ่ง รูปแบบเงื่อนไขไม่แท้จริง หรือเงื่อนไขเป็นไปไม่ได้ในอนาคตนี้ อาจแสดงได้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีความหมายเน้นขึ้น

IF+Past Simple Tense        Future Perfect in the Past
เช่น
If he were really interested in buying the property, he would have made an offer before now.

หมายเหตุ รูป Future Perfect in the Past นั้นคือรูป Future Perfect Tense นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” “shall” เป็น “should” เช่นกัน

2.2 เงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past) มีรูปแบบดังนี้

Subordinate Clause                  Main Clause
IF + Past Perfect Tense            Future Perfect in the Past
เช่น
If John had worked hard, he would have passed the examination.
If you had asked me, I would have helped you.
If I had had the money, I would have bought a bigger house.
If the hat had suited me, I would have bought it.
I should never have done that work if you had not helped me.
If you hadn’t told me about it, I might never have gone to see it.

ข้อสังเกต
1. รูป Future Perfect in the Past ก็คือ รูปที่มาจาก Future Perfect Tense นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” หรือ “shall” เป็น “should”

2. ความหมายของรูปเงื่อนไขไม่จริงย้อนอดีตนี้จะมีความหมายเหมือนกับโครงสร้าง “wish + Past Perfect” (ดูเรื่อง “Mood” ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง “wish” ประกอบ) กล่าวคือ เป็นเงื่อนไขที่กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและได้กระทำลงไปตรงกันข้ามกับรูปประโยคเสมอ หรือเป็นเงื่อนไขที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงนั่นเอง (Contrary to the Facts) เช่น
“If John had worked hard……..” (= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว จอห์นไม่ได้ศึกษาอย่างขยันเลย เขาจึงสอบตก)
หรือ
“If you had asked me,………………”
(= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความจริงที่เกิดขึ้นคือคุณไม่ได้ขอร้องผม ผมก็เลยไม่ได้ช่วยคุณ)
หรือ
“If the hat had suited me, I would have bought it.”
(= ผู้พูดกล่าวพาดพิงเรื่องที่แล้วมาเช่นกัน ซึ่งมีความหมายว่า “(เมื่อวานนี้ตอนที่ผมไปดูหมวกใบหนึ่งในร้าน) ถ้ามันเหมาะกับผม ผมก็คงซื้อมันไปแล้ว” ซึ่งความเป็นจริงก็คือ ผมไม่ได้ซื้อหมวกใบนั้น  เพราะมันไม่เหมาะกับผม)

ลองทำความเข้าใจกับตัวอย่างอื่นๆ ต่อไป

อนึ่ง ยังมีรูปแบบเงื่อนไขไม่จริง หรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีตอีกรูปหนึ่งที่ใช้กันในภาษาอังกฤษ คือ

IF + Past Perfect Tense        Future Perfect Tense

ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากรูปแบบหลักที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ เช่น
If you had been there last night, you will have helped me.
จะมีความหมายว่า “ผู้พูดไม่ทราบว่าเมื่อคืนคุณอยู่ที่นั่นหรือเปล่า แต่แน่ใจว่าถ้าคุณอยู่คุณคงช่วยผมไปแล้ว” ซึ่งมีความหมายต่างจาก
“If you had been there last night, you would have helped me. หมายความว่า “ผู้พูดแน่ใจว่า คุณไม่ได้อยู่ที่นั่น คุณจึงไม่ได้ช่วยผม” สามารถกล่าวได้ว่า เงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติแบบ 2 นี้ ใช้แสดงความหมายได้ทั้ง 3 กาลเวลาด้วยกัน คือ
1. Present time (ปัจจุบันกาล)
If Henry were here, he would know the answer.
If I had the money, I should buy a new car.
If the grass needed cutting, I would cut it.
If the hat suited me, I would buy it.

แม้ว่ากิริยาในประโยคจะเป็นรูปอดีต แต่ความหมายเป็นเงื่อนไขปัจจุบัน คือ จะมีความหมายเท่ากับ
“If Henry were here Now………..” หรือ “If I had the money Now……….” หรือ “If the grass needed cutting Now…………….”
แต่ทุกอย่างที่กล่าวนั้นมีเหตุข้ดข้องที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ (Impossible) ตามรูปแบบโครงสร้าง 2.1

2. Past time (อดีตกาล) เช่น
If John had worked hard last term, he would have passed the examination.
If you had asked me that time, I would have helped you.

ความหมายประโยคต่างๆ จะเป็นไปตามลักษณะโครงสร้าง 2.2 ตามที่กล่าวมาแล้ว

3. Future Time (อนาคตกาล) เช่น
รูปแบบของมันส่วนหนึ่งจะเป็นไปตามลักษณะโครงสร้าง 2.1 แต่บางครั้งอาจใช้ Adverb of Time ขยาย แสดงความเป็น
อนาคตอย่างชัดเจน หรือบางทีใช้โครงสร้าง “were + To-lnfinitive” เช่น
If Richard worked hard next term, he would pass the examination.
What would you say if I were to tell you that Mary is going to be married?
If our train were to arrive punctually, we should have time to visit your sister.

ความหมายของประโยคต่างๆ ก็เป็นไปตามลักษณะโครงสร้าง 2.1 เช่นกัน

ลักษณะการวาง IF-Clause
ได้กล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า การวาง If-Clause อาจจะวางสลับกันก็ได้ คือ
1. วาง IF Clause ก่อน และตามด้วย Main Clause ซึ่งจะมีความหมายที่เน้นมาก เช่น
If he should come here, please tell me.
If our train were to arrive punctually, we should have time to visit your sister.
If John had worked hard last term, he would have passed the examination.

ซึ่งส่วนมากมักจะวาง IF-Clause ในลักษณะเช่นนี้

2. วาง Main Clause แล้วตามด้วย IF-Clause ความหมายของรูป IF-Clause เช่นนี้จะไม่เน้น แต่เป็นการบอกกล่าวธรรมดา เช่น
Please tell me if he should come here.
We should have time to visit your sister if our train were to arrive punctually.
John would have passed the examination if he had worked hard.
I will go if it should be necessary.

3. วางในระบบ Inversion Form รูปแบบนี้ใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น ซึ่งจะเขียนรูปแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีกิริยาช่วย (Helping Verbs) อยู่ในส่วน IF-Clause แล้วย้ายกิริยาช่วย (Helping Verbs) ตัวนั้นไว้หน้าประธาน ตัด “if” ทิ้ง เช่น
1. Should he come here, please tell me. (มาจาก If he should come here, please tell me.)
2. Were our train to arrive punctually, we should have time to visit your sister.
3. I will go, should it be necessary.
4. Had John worked hard last term, he would have passed the examination.

ที่มา:อาจารย์ชำนาญ  ศุภนิตย์, ดร.สัญญา  จัตตานนท์, อาจารย์สุทิน  พูลสวัสดิ์


การใช้ คำสั่งIF ซ้อน IF ( เงื่อนไขหลายเงื่อนไข)


โดย วิจิตร แก้วดี

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

การใช้ คำสั่งIF ซ้อน IF ( เงื่อนไขหลายเงื่อนไข)

หลักการใช้ If clause type 2 by T.Nurse Ep:4🦋💚


Created by InShot
https://inshot.cc/share/youtube.html

หลักการใช้ If clause type 2 by T.Nurse Ep:4🦋💚

ติว TOEIC : วิธีจำโครงสร้าง If-Clause 3 แบบ ให้แม่น!


✿ ติวสอบ TOEIC® เริ่มจากพื้นฐาน เทคนิคแกรมม่า แนวข้อสอบ TOEIC® ล่าสุด! ✿
👉 ทดลองติวฟรี! ➡️ https://bit.ly/2wR4Gmu
✿ คอร์สครูดิว ติวสอบ TOEIC® มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅ติวเทคนิคสอบ TOEIC® รวม Grammar ที่ใช้สอบ ครบถ้วน สอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เก็งศัพท์สอบ TOEIC® ออกข้อสอบบ่อย ๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ ติวข้อสอบ TOEIC® ล่าสุด ทั้ง Reading และ Listening
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

ติว TOEIC : วิธีจำโครงสร้าง If-Clause 3 แบบ ให้แม่น!

First Conditional


If you watch this video, you will learn all about the first conditional mood in English! For more videos and lessons, visit us at https://esllibrary.com.
Link to lesson: https://esllibrary.com/courses/88/lessons/1602
Subscribe to ESL Library’s YouTube channel: https://www.youtube.com/c/Esllibrary
Follow us for more great content!
Instagram: https://www.instagram.com/esllibrary/
Facebook: https://www.facebook.com/ESLlibrary/
LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/esllibrary/
Twitter: https://twitter.com/ESLlibrary/
Pinterest: https://ar.pinterest.com/esllibrary/

First Conditional

ใครงงกับ Conditional Sentences ประโยคบอกเงื่อนไข (If clause) ว่ามันใช้ยังไงกันแน่บ้าง


Conditional Sentences ประโยคบอกเงื่อนไข (If clause)
If + ประโยคเงื่อนไข, ประโยค ผลที่ตามมา
มี 4 แบบ คือ
1. เป็นจริงเสมอ : If + Present Simple Tense, Present Simple Tense,
2. คาดการณ์อนาคต : If + Present Simple Tense, Future Simple Tense,
3. เรื่องสมมุติ : If + Past Simple Tense, S + would / might + V.inf.
4. เรื่องสมมุติในอนาคต : If + Past Perfect Tense, S + would / might + have + V.3

จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

ใครงงกับ Conditional Sentences ประโยคบอกเงื่อนไข (If clause) ว่ามันใช้ยังไงกันแน่บ้าง

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หลักการใช้ if clause

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *