Skip to content
Home » [NEW] รู้สึกท้อต้องทำยังไง? 25 วิธีให้กำลังใจตัวเอง ในวันแย่ๆ | ฉันต้องทํา ทําอะไรสักอย่างแล้ว – NATAVIGUIDES

[NEW] รู้สึกท้อต้องทำยังไง? 25 วิธีให้กำลังใจตัวเอง ในวันแย่ๆ | ฉันต้องทํา ทําอะไรสักอย่างแล้ว – NATAVIGUIDES

ฉันต้องทํา ทําอะไรสักอย่างแล้ว: คุณกำลังดูกระทู้

ความผิดหวัง ความเนือย ความเงียบเหงา อาการหมดไฟ เป็นอาการของคนที่กำลังท้อ

ในช่วงที่ชีวิตเราดูสุดจะท้อแท้ ทุกอย่างรอบตัวเราก็เหมือนจะเป็นสีเทาไปหมด เหมือนกับว่าทุกอย่างพยายามที่จะขัดขวางเราไม่ให้มีความสุข

บทความนี้ผมเขียนมาทั้งให้ ‘กำลังใจ’ และ ‘เสนอทางออก’ กับคนที่กำลังท้อกับชีวิต ไปดูกันครับว่าเราต้องทำยังไงบ้างถึงจะลุกขึ้นมาสู้ต่อไปได้

Table of Contents

รู้สึกท้อต้องทำยังไง? 25 วิธีให้กำลังใจตัวเอง

#1 เริ่มทำไปก่อนแล้วค่อยหาแรงจูงใจภายหลัง

ไม่ว่าใจเราจะรู้สึกยังไง สุดท้ายแล้วภาระหน้าที่ของเราก็ไม่สามารถรอเราได้หรอครับ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีที่สุดเวลารู้สึกท้อก็คือการลุกขึ้นไปทำอะไรสักอย่าง

คุณต้องทำให้ดีที่สุด และยิ่งคุณพยายามเยอะยิ่งคุณตั้งใจทำเยอะผลลัพธ์ก็จะออกมายิ่งดี และเมื่อผลลัพธ์ออกมาดีคุณก็จะรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น

พูดไปแล้วมันก็ดูเหมือนง่ายเลยนะครับ การแก้ปัญหาไม่มีกำลังใจก็คือให้ทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีกำลังใจนั่นเอง

#2 กำลังใจจากคนรอบข้างสำคัญเสมอ

หากคุณเป็นเหมือนผม บางทีกำลังใจที่ดีที่สุดก็คือการใช้เวลากับคนรอบข้าง คนที่รู้สึกท้อขาดกำลังใจก็เหมือนกับแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ถูกชาร์จครับ และการแบ่งเวลาให้กับคนรอบข้างก็เป็นการชาร์จแบตเตอรี่ให้ตัวเองอย่างหนึ่ง

ซึ่งกำลังใจพวกนี้ก็ไม่ได้ต้องมากมายอะไรหรอก บางครั้งเราก็แค่อยากจะหาเรื่องหัวเราะ หาเรื่องทำอะไรที่มีความสุข หรือแค่อยากได้ยินคำว่า ‘สู้ๆนะ’ จากคนที่เรารักก็แค่นั้นเอง

นอกจากจะได้ความอบอุ่นรู้สึกพักผ่อนแล้วบางทีคนรอบข้างอาจจะให้มุมมองอะไรเราใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาของเราได้ด้วย ลองอ่านบทความของผมเรื่องกำลังใจได้ครับ กำลังใจสำคัญอย่างไร

#3 ตั้งเป้าหมายเล็กๆที่เราสามารถทำได้จริง

บางครั้งการเสียกำลังใจหรือการรู้สึกท้อก็มาจากการที่เราไม่สามารถทำตามสิ่งที่เราฝันหรือว่าทำตามสิ่งที่เราอยากได้ ซึ่งก็อาจจะแปลว่าสิ่งพวกนั้นมันยากเกินไป ใช้ความพยายามเยอะเกินไป หรืออาจจะมี ‘ระยะปันผล’ ที่ยาวนานกว่าที่เราจะสามารถสู้ได้

เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการสร้างกําลังใจให้ตัวเอง เราต้องหาวิธีให้รางวัลตัวเองในระยะสั้นด้วย ซึ่งก็จะมาในรูปแบบการตั้งเป้าหมายเล็กๆ เป้าหมายเล็กๆพรุ่งนี้หากเราค่อยๆทำไปเรื่อยๆก็จะทำให้เราสามารถพิชิตเป้าหมายขนาดใหญ่ของเราได้

ยกตัวอย่างเช่นหากเรามีเป้าหมายอยากจะเก็บเงินให้ได้ 1 ล้านบาทซึ่งมันก็เป็นตัวเลขที่มากใช่ไหมครับ บางคนเห็นตัวเลขนี้ก็หมดกำลังใจแล้ว แต่ถ้าเราแตกเป้าหมายนี้ให้เป็น 1 แสนบาทต่อปีเป็นจำนวน 10 ปี หรือถ้าจะทำให้ละเอียดกว่านั้นก็คือหมื่นบาทต่อเดือน เป้าหมายก็อาจจะไม่ได้ดูยากขนาดนั้นอีกต่อไป

#4 ดูหนังปลุกใจ

ถ้าคุณเป็นคอหนัง การดูหนังให้ทุกเรื่องก็จะเป็นการสร้างกำลังใจให้รอเป็นอย่างดีเลยครับ 

สำหรับผมแล้วพวกหนังที่เกี่ยวกับคนทำตามความฝัน ดูหนังแอ็คชั่นที่มีพลังเยอะๆ จะช่วยทำให้ผมรู้สึกกระตือรือร้นหรืออยากทำอะไรมากขึ้นเวลาหนังจบลง

หรือถ้าคุณรู้สึกดาวน์รู้สึกท้อ คุณก็อาจจะพักด้วยการไปดูหนังตลกเลยดูหนังการ์ตูนแทน การดูหนังที่เบาสมองจะช่วยทำให้คนรู้สึกพักผ่อนได้มากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการเติมพลังอีกแบบนึง

#5 ถ้าหนังมันยาวไปก็ดูคลิปวีดีโอแทน

ในกรณีที่คุณไม่อยากใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงในการดูหนัง อีกทางเลือกที่ดีก็คือดูคลิปวีดีโอแทน ยกตัวอย่างเช่นคลิปวีดีโอจาก YouTube เป็นต้น

หนึ่งในคลิปที่ผมชอบที่สุดก็คือคลิปปลุกใจจากหนังเรื่อง Rocky เวลาดูเสร็จแล้วทำให้ผมรู้สึกว่าอะไรในโลกก็เป็นไปได้หมดถ้าเรามีความตั้งใจ

คลิปพวกนี้มีเยอะมากครับให้ดูทั้งวันก็ไม่จบ ผมแนะนำให้ลองเปิดหาดูแล้วก็เซฟคลิปที่คุณชอบไว้เพื่อดูให้กำลังใจตัวเองในวันที่คุณท้อ

#6 หรือไม่อย่างนั้นก็ฟังเพลง

‘เพลงปลุกใจ’ ไม่ได้หมายความว่าเราต้องฟัง ‘บางระจัน’ ของพี่แอ๊ดคาราบาวเท่านั้น ให้เลือกเพลงที่คุณชอบและมีความหมายสำหรับคุณ 

ส่วนมากแล้วผมจะชอบเพลงที่เร็วหน่อยและมีเนื้อหาดีเหมาะสำหรับเวลาที่เราต้องการพลังงาน แต่ผมคิดว่าทุกคนก็คงมีเพลงโปรดของตัวเองอยู่แล้ว 

สิ่งที่ผมไม่แนะนำเวลารู้สึกท้อก็คือการฟังเพลงที่ ‘ตอกย้ำ’ ความรู้สึกพวกนี้ซ้ำไปซ้ำมาทั้งวัน เพลงแนวนี้มันเพราะขึ้นเวลาเรารู้สึกเศร้าก็จริงครับ การฟังเพลงเศร้าทำให้เราเข้าถึงอารมณ์ตัวเองได้มากขึ้นและเป็นการความเครียดได้ แต่ถ้าฟังมากเกินไปเราก็จะรู้สึกแย่กว่าเดิม

#7 เลิกโทษตัวเอง

อาการที่ตามมาพร้อมกับความรู้สึกท้อก็คือความรู้สึก ‘ว่างเปล่า’ เราอาจจะคิดว่าสิ่งที่เราทำมันไม่มีความหมาย หรือไม่มีคนเห็นค่า ซึ่งสิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นก็คือ ‘ปัญหามันอยู่ที่ใครกัน’

บางครั้งความท้อก็ทำให้เรารู้สึกว่า ‘เป็นเราหรือเปล่านะที่ทำผิด’ แต่ในความเป็นจริง ชีวิตคนเรามันซับซ้อนมากไปกว่าการที่จะมีมุมมองในมุมมองหนึ่งที่ถูก คำตอบที่ถูกต้องและดีที่สุดสำหรับตัวเราก็คือการเลือกหาคนผิดคนถูก โฟกัสในส่วนของการแก้ปัญหาหรือทำให้อนาคตมันดีขึ้น

หากคุณมีปัญหาเรื่องนี้ ลองอ่านสองบทความนี้ได้ครับ 40 วิธีทําใจให้สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และ 40 วิธีปล่อยวางเพื่อสร้างความสุขในชีวิต

#8 พักชั่วคราว

การที่เราขอใช้เวลาเสาร์อาทิตย์เพื่อหยุดพักสมองก็เป็นการเติมพลังให้ตัวเองได้อย่างหนึ่ง

ไม่ได้หมายถึงว่าต้องหยุดทำทุกอย่างหรือหยุดทำไปเลย เราแค่ขอเวลานิดหน่อยเพื่อให้สมองได้คิดและได้ปรับอารมณ์ตัวเอง ซึ่งสำหรับคนที่มีภาระหน้าที่อย่างอื่นก็อาจจะหมายถึงการเลื่อนการทำบางสิ่งออกไปก่อน แต่ภาระอื่นที่จำเป็นต้องทำทุกวัน ถ้าเราไม่อยากทำจริงๆเราก็ต้องหาคนมาทำแทนครับ

บางคนอาจจะใช้เวลาช่วงพักในการทำอะไรที่ตัวเองชอบ อาจจะเป็นการเดินทางหรือการใช้เวลากับงานอดิเรก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วว่าพักได้ยาวแค่ไหนหรือพักแล้วอยากใช้เวลากับอะไรบ้าง

#9 ออฟไลน์ (Offline)

เวลาเราเสียกำลังใจ เราก็ต้องรู้วิธีแบ่งเวลาให้ตัวเองบ้าง และสิ่งที่ดีที่สุดคือการตัดสิ่งรบกวนรอบตัวออกไปซักพักหนึ่ง 

ข้อแนะนำสำหรับคนยุคออนไลน์ก็คือการตัดตัวเองออกจากสื่อรอบตัวชั่วคราว ให้ลองพักการเล่นโซเชียลต่างๆ พักการตอบไลน์ บางคนอาจจะถึงขนาดปิดมือถือเลยด้วยซ้ำ การเอาตัวเองมาออกมาจากโลกออนไลน์จะทำให้เราโฟกัสไปกับสิ่งรอบตัวเรามากขึ้น เราอาจจะเอาเวลานี้ไปเดินสวนชมนกชมไม้ หรือเอาไปออกกำลังกายอะไรก็ได้ครับ ทำในสิ่งที่เรา ‘ไม่ว่างจะทำ’ เพราะมัวแต่ตอบไลน์เล่นเฟสบุ๊ค

#10 มองย้อนหลังว่าเราทำอะไรมาบ้างแล้ว

อาการท้อมาจากความคิดที่ว่าเราทำอะไรไม่เห็นผลหรือไม่ได้ผลลัพธ์ที่เราอยากได้ซักที การปรับความคิดที่ดีที่สุดคือการมองย้อนหลังดูว่าเราได้พัฒนามาไกลแค่ไหนแล้ว ถ้าเทียบกับเมื่อห้าปีสิบปีที่แล้ว เราเคยเป็นยังไงมาก่อน และวันนี้เรามีมากกว่าหรือเรียนรู้อะไรเยอะกว่าเมื่อก่อนมากหรือเปล่า

เลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เลิกมองแค่เป้าหมายข้างหน้าอย่างเดียว แล้วหันมามีความสุขกับ ‘การเดินทาง’ ของตัวเองดีกว่า

#11 เราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร

หากเราเริ่มทำอะไรซักอย่างมานานๆ บางครั้งเราก็อาจจะลืมเหตุผลที่เราเริ่มทำ แรงจูงใจแรกที่บอกให้เราเริ่มพยายามคืออะไรกันนะ? 

ลองใชัเวลาสองสามนาทีมานึงถึงสาเหตุที่คุณเริ่มทำดูครับ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือภาระงานบ้านงานครอบครัว หากจำเป็นก็ให้เขียนใส่กระดาษแล้วเก็บไว้ใกล้ตัวเลย วันไหนที่เรารู้สึกท้ออีกก็ให้นำออกมาดู

วิธีนี้เป็นสิ่งที่คนมีครอบครัวทำกันบ่อยครับ การเก็บรูปลูกตัวเองไวในกระเป๋าตังหรือหน้าจอมือถือเพื่อหยิบขึ้นมาดูเวลาอยากได้กำลังใจในการสู้ต่อไป

#12 เรากำลังเดินออกมาจากอะไร

สำหรับคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่น่าอึดอัด ‘ชีวิตที่ดีกว่า’ ก็เป็นแรงจูงใจที่ดี เวลาที่เราท้อเพราะสิ่งที่อยู่ข้างหน้ามันยากเหลือเกิน เราก็ต้องเตือนตัวเองไว้ว่าอนาคตของเราจะดีกว่านี้

หากเราไม่พยายามหรือไม่ทำอะไรเลย เราจะมีความสุขกับตัวเองตอนนี้ไหม แล้วอีกหนึ่งปีข้างหน้าล่ะ แล้วห้าปีข้างหน้าล่ะ หากคุณยอมรับผลลัพธ์ของการอยู่เฉยๆไม่ได้ คุณก็ต้องลุกขึ้นไปทำอะไรซักอย่าง

#13 ปรับวิธีการทำ

ความรู้สึกท้อมาจากการทำอะไรซ้ำไปซ้ำมา วิธีแก้ปัญหาจุดนี้ก็คือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของเราครับ 

หากเราท้อเพราะอ่านหนังสือเท่าไรก็ไม่เข้าใจซักที เราก็อาจจะเปลี่ยนวิธีเป็นหาคนช่วยติวแทน หากเราทำงานเท่าไรก็ไม่ดีขึ้น เราก็อาจจะไปหาสถานที่อบรมศึกษาข้อมูลเพิ่ม นอกจากเราจะได้ความรู้ใหม่ๆแล้ว เราอาจจะหาวิธีที่ดีกว่าเดิมที่เราไม่เคยคิดมากก่อนก็ได้

#14 สร้าง ‘ความรับผิดชอบ’ ให้ตัวเอง

คนส่วนมากมีแรงจูงใจในการทำงานเพราะมันจำเป็นต่อการใช้ชีวิตใช่ไหมครับ เราต้องการเงินมาใช้จ่ายต่างๆและก็มีหัวหน้าคอยดูผลงานของเราด้วย

แต่ ‘หน้าที่’ บางอย่างในชีวิตก็ไม่มีใครมาคอยกดดันเราครับ ไม่มีใครบอกให้เราอ่านหนังสือสำหรับต่อปริญญาโท ไม่มีใครมาบังคับให้เราทำงานบ้านหรือออกกำลังกายได้ 

หากคุณเป็นคนที่ต้องการความกดดันในการเริ่มทำอะไรซักอย่าง คุณก็ควรสร้าง ‘ความรับผิดชอบ’ ให้ตัวเอง อาจจะทำได้ง่ายโดยการให้เพื่อนของคุณ ‘ปรับเงิน’ คุณทุกครั้งที่ไม่ได้ไปออกกำลังกาย หรือ โพยรายงานตัวเองบนเฟสบุ๊คเพื่อให้คนอื่นดูตลอด ลองสรา้ง ‘ความรับผิดชอบ’ ที่จะผลักดันคุณไปทางที่ดีขึ้นดูครับ

#14 กิจวัตรประจำวันที่ดี

‘เป้าหมาย’ กับ ‘การดำเนินการ’ เป็นสองอย่างที่คุณต้องหาสมดุลให้ได้ หากคุณมีเน้นแต่เป้าหมาย คุณก็อาจจะทำงานได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าคุณเน้นแต่วิธีทำ คุณก็อาจจะไม่เห็นภาพรวมและไม่รู้สึกจูงใจที่จะทำงานเท่าไร

หากคุณสามารถแตกเป้าหมายใหญ่ๆของคุณออกมาเป็น ‘กิจวัตรประจำวัน’ ได้ คุณก็จะรู้สึกมีกำลังใจในการทำการแต่ละวันมากกว่าเดิม เช่นถ้าเป้าหมายของคุณคือการลดน้ำหนัก แทนที่คุณจะหาเวลาออกกำลังกายอาทิตย์ละสองชั่วโมง คุณก็สามารถเปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายทุกวันก่อนนอน ครั้งละ 20 นาทีแทน การย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็กๆทุกวันจะทำให้คุณมีกำลังใจอยากทำมากขึ้น…เพราะมันทำได้จริงมากกว่า

#15 สถานที่ที่เหมาะสม

เพื่อนของผมชอบทำงานที่ร้านกาแฟเพราะรู้สึกว่าทำงานได้คล่องกว่า ส่วนผมชอบทำงานในห้องนอนเพราะรู้สึกว่าเงียบดีไม่มีใครรบกวน 

ทุกคนมีวิธีการทำงานไม่เหมือนกัน ในสถานที่ที่ถูกต้องเราจะรู้สึกมีกำลังใจและมีความพยายามในการทำงานมากขึ้นครับ 

#16 ช่วงเวลาที่เหมาะสม

นอกจากสถานที่แล้ว ‘ช่วงเวลา’ ก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน บางคนชอบทำงานตอนเช้า บางคนชอบทำงานตอนกลางคืน 

การเปลี่ยนตารางเวลาทำงานของเราเล็กน้อยอาจจะช่วยทำเรามีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นกว่าที่คิดครับ มันมีงานวิจัยทางวิทยาศาตร์อยู่เยอะครับว่าช่วงเวลาไหนที่เราควรทำงานมากที่สุด แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราก็คือการ ‘เลือกเวลา’ ที่เราสะดวกสบายใจ

#17 กำลังใจและการพักผ่อน

การพักผ่อนร่างกายในที่นี้หมายถึงการนอน 

เคยได้ยินเรื่องคนที่เครียดมากจนเป็นลมไหมครับ เวลาสมองเราเครียดหนักหรือคิดเยอะจนร่ายกายของเรา ‘รับไม่ไหว’ สมองของเราก็จะแก้ปัญหาด้วยการ ‘เป็นลม’ เพื่อลดภาระการกดดันตัวเองที่มากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย (เช่นความโรคความดัน)

คุณอาจจะไม่ใช่คนที่เครียดเยอะจนเป็นโรคความดันหรือมีปัญหาเส้นเลือดในสมอง แต่การนอนและการพักผ่อนเป็นวิธีปล่อยให้ร่างกายตัวเองได้ ‘ฟื้นฟู’ ตัวเอง พอคุณได้พักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว คุณก็จะรู้สึกดีขึ้น เครียดน้อยลงหรือบางทีอาจจะรู้สึกปลอดโปร่งจนคิดวิธีแก้ปัญหาที่คุณประเชิญอยู่ได้ด้วย

#18 กำลังใจและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ถ้าคุณอ่านบล็อกของผมมาบ้าง คุณก็จะเห็นได้ว่าความสุข การนอน และ การออกกำลังกายเป็นของที่มาคู่กันทั้งหมด

การออกำลังกายทำให้ร่างกายเครียดน้อยลงและสามารถทำให้เรามองโลกในแง่ดีได้มากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เราสามาารถโฟกัสได้ดีขึ้นด้วย

#19 ศรัทธาของคุณ

ศรัทธาเป็นกำลังใจที่น่ามหัศจรรย์มาก 

วิกิพีเดียบอกว่า ศรัทธาคือ ‘ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล’ ซึ่งสำหรับหลายคนก็คือ ชาติ ศาสนา การทำดี หรือแม้แต่ความรัก คนเราให้ความสำคัญแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน แต่ถ้าคุณมีอะไรที่คุณรักมากให้ความสำคัญมาก คุณก็ควรนำสิ่งนั้นมาเป็นแรงจูงใจของตัวเอง

25 วิธีให้กำลังใจตัวเอง ในวันแย่ๆ - ศรัทธา

เพราะฉะนั้นไม่ว่าศรัทธาหรือความเชื่อของคุณคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้า ความรัก การสร้างบุญ ให้ลองปรับความคิดของคุณดูว่าปัญหาที่คุณเจออยู่ในตอนนี้มีศรัทธาอะไรของคุณที่สามารถตอบโจทย์ได้ไหม

หรือถ้าศรัทธาไม่เพียงพอสำหรับคุณ ผมก็แนะนำให้ลองอ่าน ‘ปรัชญา’ แทนนะครับ ลองอ่านเรื่อง Stoicism คืออะไร? การอดทนและควบคุมตนเอง แบบสโตอิก ดูนะครับ

#20 การฉลองและให้รางวัลตัวเอง

การฉลองและให้รางวัลตัวเองคือการเติมพลังให้ตัวเองเล็กน้อยแต่ทำเรื่อยๆ

ร่างกายของเราต้องการอาหารวันละสามมื้อใช่ไหมครับ หากเรามองว่า ‘หัวใจ’ ของเราต้องการ ‘กำลังใจ’ ด้วยก็คงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ว่ากำลังใจที่เราได้จากการทำอะไรใหญ่ๆเช่นการฉลองได้เลื่อนตำแหน่งหรือโบนัสออก มันไม่ได้มาเรื่อยๆ ระหว่างทางที่เราพยายามอยู่เราก็อาจจะรู้สึกท้อก็ได้ 

แต่ถ้าเรารู้จักให้กำลังใจตัวเองเรื่อยๆ อาจจะเป็นการฉลองทุกวันศุกร์ หรือการให้รางวัลตัวเองหลังปิดโปรเจคเล็กๆได้ เราก็จะมีแรงจูงใจในการทำงาน ‘บ่อยครั้ง’ กว่าเดิม การฉลองและรางวัลพวกนี้ไม่จำเป็นต้องเป็อะไรใหญ่หรือแพงก็ได้ครับ เราอาจจะแค่ซื้อไอติมกินยี่สิบบาทเพื่อสร้างความสุขเวลาที่เราต้องการมันจริงๆก็พอ ซึ่งก็จะตามมาด้วยข้อถัดไป

#21 สังเกตุตัวเองให้ดี

ข้อสำคัญของการให้รางวัลตัวเองเรื่อยๆ คือเราต้องรู้จักอารมณ์และสภาพจิตใจตัวเองก่อน คนที่รู้จักตัวเองดีจะสามารถบอกได้ล่วงหน้าเลยว่า ‘ทำงานนี้จบแล้วต้องเหนื่อยแน่ๆ’ หรือ ‘ตอนนี้เริ่มจะไม่ไหวแล้ว’ 

หากเราสังเกตุตัวเองเรื่อยๆและรู้จักถามตัวเองว่า ‘รู้สึกยังไงอยู่’ บ่อยๆ เราจะสามารถจับตัวเองได้ก่อนที่จะรู้สึกท้อจนไม่อยากจะทำอะไรทั้งนั้น การสังเกตุตัวเองคือการป้องกันปัญหาก่อนที่จะบานปลายจนยากที่จะแก้

#22 เป็นแฟนกับตัวเอง

หมายความว่าให้ดูแลตัวเองให้ดีเหมือนตอนเราดูแลแฟนเรา เช่นการถามตัวเองบ่อยๆว่ารู้สึกยังไงอยู่ เหนื่อยมั้ย หรือหากิจกรรมอะไรมาดูแลตัวเองบ้าง 

มันอาจจะฟังดูตลก แต่คนส่วนมาก ‘เห็นว่าตัวเองเป็นของตาย’ คือคิดว่าตัวเราต้องรู้จักตัวเองดีที่สุด ตัวเราสามารถดูแลตัวเองได้ดีแล้ว พอความคิดพวกนี้ทับถมกันบ่อยๆก็ลืมไปว่าเราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองได้ดีมากกว่าเดิม และมันมีหลายวิธีที่เราสามารถทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้…เพียงแค่เราเริ่มถามตัวเองว่าอยากได้อะไร และ ต้องการอะไรบ้าง

บอกตัวเองเสมอว่า ‘ถ้าไม่ไหวอย่าบอกไหว’ และ ‘เหนื่อยก็พักบ้าง’

การอยู่กับตัวเอง มีความสุขกับตัวเองนั้นทำได้ไม่ยากอย่างที่เราคิด ผมแนะนำให้ศึกษาบทความนี้ครับ 15 วิธีอยู่กับตัวเอง ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ให้มีความสุข

#23 การยอมรับความรู้สึกว่าไม่โอเค

ข้อนี้เป็นข้อที่ผมชอบมากที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาทุกอย่าง

‘It’s OK Not Being OK’ คือการยอมรับว่าความรู้สึกท้อแท้หรือต้องการกำลังใจเป็นเรื่องธรรมชาติ และเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ทุกคน

การปฏิเสธอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง คิดว่าความเศร้าเสียใจคืออารมณ์ของผู้อ่อนแอ และการปล่อยให้ตัวเองจมกับความรู้สึกเศร้าเป็นการทำร้ายตัวเองทั้งนั้น

ผมเชื่อว่าทุกคนมีมุมมองความเข้าใจของคำว่า ‘อ่อนแอ’ ‘ท้อแท้’ ไม่เหมือนกัน และทุกคนก็มีวิธีรับมือกับอารมณ์ตัวเองไม่เหมือนกันด้วย แต่สิ่งที่เราไม่ควรทำก็คือการปิดกั้นความรู้สึกตัวเอง ร่างกายมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ ‘ไม่รู้สึกอะไร’ ความรู้สึกคือสัญญาณเตือนจากสมองสู่ร่างกายของเรา และการยอมรับกับการเข้าใจความรู้สึกพวกนี้หมายความคุณกำลังกลายเป็น ‘มนุษย์ที่ดีขึ้น’ 

การยอมรับความรู้สึกตัวเองไม่ได้แปลว่าเราต้องจมอยู่กับความเศร้าหรือยอมแพ้เลิกทำอะไรเพราะหมดกำลังใจนะครับ…

#24 เต้นรำกลางสายฝน

การอยู่กับปัจจุบันแบบนักสู้ก็คือการเรียนรู้ที่จะเต้นรำกลางสายฝน (Dance in the rain)

เรารู้สึกเศร้าและร่างกายของเราอยากจะร้องไห้ แต่มันไม่ได้หมายความว่าความเศร้าความท้อแท้พวกนี้ต้องมาทำให้สิ่งอื่นในชีวิตของเราแย่ลงเลย เราสามารถมีความสุขกับทุกอย่างได้เพียงแค่เราปรับมุมมองของตัวเอง 

ความเศร้าคืออารมณ์อย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ที่เราสามารถยอมรับได้ แต่เราก็สามารถมีความสุขกับสิ่งอื่นได้ด้วย ต่อให้เราร้องไห้เราก็สามารถมีความสุขกับการกินไอศครีมได้

#25 ทุกอย่างจะดีขึ้นเสมอ

คำแนะนำสุดท้ายก็คือความเชื่อที่ว่าอนาคตจะดีขึ้นเสมอ ไม่ว่าวันนี้คุณจะท้อแท้หรือเสียกำลังใจมากแค่ไหน ขอแค่คุณยังไม่ยอมแพ้ อนาคตก็จะดีขึ้นเสมอ 

ใครที่อ่านบทความแล้ว รบกวนทำแบบสอบถามเพื่อให้ผมสามารถเขียนบทความที่ทุกคนชอบได้มากขึ้น https://forms.gle/TrkHTigUtcEMzqNt6

บทความเกี่ยวข้องที่เราแนะนำ

[Update] มารู้จัก ‘โรคคิดว่าตัวเองไร้ค่า’ พร้อมเช็กตัวเองว่ากำลังตกอยู่ในอาการนี้หรือเปล่า? | ฉันต้องทํา ทําอะไรสักอย่างแล้ว – NATAVIGUIDES

เช็กตัวเองพร้อมรู้จักวิธีรับมือกับอาการ ‘Imposter Syndrome’ โรคคิดว่าตัวเองไร้ค่า

น้องๆ ชาว Dek-Dเคยมีความรู้สึกว่าบางครั้งเราเองนั้นไม่คู่ควรกับการได้รับคำชม เวลาที่เราทำอะไรสักอย่างแล้วประสบความสำเร็จ เวลามีคนชมว่าเราทำงานดี เราเองกลับรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องฟลุกมากกว่า หรือบางครั้งเวลาที่น้องๆ ทำคะแนนสอบออกมาได้ดี เรากลับไม่ได้รู้สึกดีใจ แต่กลับรู้สึกไม่มั่นใจเลยว่าที่ทำไปนั้นคือมาจากความสามารถของเราเอง แต่น้องกลับรู้สึกว่า ที่ได้คะแนนเยอะ คงเป็นเพราะโชคช่วยมากกว่า คงเป็นเรื่องบังเอิญ และคงจะไม่มีโอกาสที่จะได้ทำขนาดนี้อีกแล้ว
อาการเหล่านี้ที่พี่ยกตัวอย่างไป ทางจิตวิทยาเราเรียกว่า“Imposter Syndrome” หรือ ความรู้สึกที่คิดว่าตัวเองด้อยค่า คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ถ้าน้องๆ กำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังตกอยู่อาการเหล่านี้หรือเปล่า? ว่าแล้วก็ตาม พี่วุฒิมาเลยครับ ไปเช็กตัวเองพร้อมๆ กันเถอะ…

จริงๆ แล้ว ถ้าจะบอกว่า ‘Imposter Syndrome’ เป็นโรคที่เกี่ยวกับจิตเวชก็อาจจะยังไม่ถึงขั้นนั้น และถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะไม่ได้ออกมาระบุว่าอาการนี้เป็นโรคทางจิตเวชอย่างเป็นทางการ แต่การที่เรามีความคิดแง่ลบ มีความคิดว่าตัวเองไร้ค่า และดูถูกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับสิ่งที่ได้รับ มันก็อาจจะเป็นจุดที่สัมพันธ์กับสภาพจิตใจของเรา และนำไปสู้โรคทางจิตเวชอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘โรคเครียด และ โรคซึมเศร้า’และแน่นอนว่าถ้าพาตัวเองไปถึงจุดนั้นก็คงจะไม่ดีแน่
ถ้าถามถึงที่มาที่ไปของอาการนี้มันมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็อาจจะบอกไม่ได้ เพราะว่ามันเรื่องที่มาจากสภาพจิตใจของแต่ละคน ซึ่งอาจจะมีปัจจัยที่ทำให้ตัวเอง‘รู้สึกว่าไม่เก่งจริง’แต่ละคนอาจมีเหตุผลที่แตกต่างกัน แต่เมื่อปี 1978 ได้มีนักจิตวิทยา 2 ท่าน คือ ‘ซูซาน ไอเมส์ และ พอลีน โรส ลนซ์’ที่ได้เริ่มตั้งข้อสงสัยและเริ่มทำการศึกษาและอธิบายปรากฏการณ์ของอาการ Imposter Syndrome แบบจริงจัง ซึ่งพวกเขาก็ได้อธิบายว่า ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะพบในกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ก็คิดว่าความสำเร็จเหล่านี้มันคือภาพมายาที่เค้าสร้างขึ้นมา จริงๆ แล้วเค้าไม่ได้เก่งจริง ไม่สมควรได้รับคำชม สิ่งที่ทำมาทั้งหมดก็คือ ‘ของปลอม’

**

เมื่อไม่นานมานี้ ดร. วาเลรี ยังนักเขียนและนักจิตวิทยาชื่อดัง ได้เขียนสรุปเกี่ยวกับอาการ Imposter Syndrome ลงในหนังสือเพื่ออธิบายเกี่ยวกับอาการเหล่านี้ว่าเกิดขึ้นกับใครบ้าง ซึ่งเธอได้สรุปหลักๆ ไว้ 5 ประการดังต่อไปนี้

**

สำหรับคนประเภทแรกที่เข้าข่ายอาการ Imposter Syndrome ก็คือ คนที่ค่อนข้างทำตัวเจ้าระเบียบ หรือที่หลายคนเรียกว่า “Perfectionist”ดร. วาเลรี ได้วิจัยว่า คนที่เสพติดความเพอร์เฟกต์ในทุกๆ เรื่อง ก็อาจจะสามารถรวมอยู่ในกลุ่มอาการนี้ เพราะคนที่เป็นเพอร์เฟกต์ชันนิสต์มักจะตั้งเป้าหมายไว้สูงในทุกๆ เรื่องที่ทำ และถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่สามารถทำได้ตามสิ่งที่หวังไว้ ก็จะเกิดความวิตกกังวลที่สูงมากกว่าคนปกติทั่วไป และอาจทำให้ครุ่นคิดและกล่าวว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอที่จะทำให้สำเร็จได้

ลองเช็กตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • เคยโดนคนอื่นบอกว่าตัวเองเป็นคนประเภท micromanager หรือ คนประเภทที่ชอบตั้งบรรทัดฐานในทุกๆ เรื่องจนเกินไป ชอบเอาตัวเองเข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเวลาทำงานหรือไม่?

  • คุณเคยได้รับมอบหมายให้ทำงานใหญ่ๆ ที่มีอุปสรรคมากมายหรือไม่? ซึ่งความจริงแล้วคุณเองก็สามารถทำได้ แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้ หรือกลัวผลลัพธ์จะออกมาไม่ดีตามที่คนอื่นคาดหวัง เลยปฏิเสธที่จะไม่ทำ

  • คุณเคยทำงานใหญ่พลาดแล้วเอาแต่โทษตัวเอง และจมอยู่กับความคิดและเอาแต่กร่นด่าตัวเองเป็นเวลาหลายวันหรือไม่?

  • คุณรู้สึกว่าทุกๆ งานที่คุณทำ จะต้องสมบูรณ์แบบ 100% ทุกงานหรือไม่?

**

สำหรับคนที่มักคิดว่าตัวเองด้อยค่าในสายตาคนอื่น ถ้าพูดถึงในเรื่องของการทำงาน หลายคนมักพยายามที่จะทำให้งานออกมาให้ดีขึ้น และดียิ่งขึ้นในทุกๆ งานเพิ่มไปอีก เหมือนเป็นการสร้างมาตรฐานให้ตัวเองทุกครั้ง ซึ่งเค้าอาจจะไม่ทันคิดว่ายิ่งคาดหวังเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการสร้างความกดดันให้ตัวเอง นักวิจัยเลยบอกว่าการกระทำแบบนี้ เข้าข่ายของคนประเภท “Superwoman และ Superman”ที่มักคิดว่าตัวเองจะต้องทำได้ดีในทุกๆ ครั้ง เพราะคิดว่าทุกคนจะต้องคาดหวังว่าเค้าจะได้ดีเพิ่มขึ้นไปอีกเหมือนกับเหล่าฮีโร่ที่ทำได้ดีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งการทำงานหนักหักโหมตัวเอง ก็ไม่ใช่แค่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของตัวเอง แต่ก็อาจทำให้กระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วยเช่นกัน

ลองเช็กตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • เวลาทำงาน คุณมักจะกลับบ้านช้ากว่าเพื่อนร่วมงานหรือไม่ ถึงแม้ว่างานของคุณอาจจะเสร็จแล้ว แต่คุณก็ยังนั่งเคร่งเครียดอยู่กับงาน จนไม่สามารถกลับบ้านได้?

  • คุณเคยรู้สึกเครียดเวลาที่ว่างอยู่เฉยๆ ไม่มีงาน และคิดว่าเวลาว่างที่ได้รับนั้นไร้ประโยชน์?

  • คุณละทิ้งความฝันและงานอดิเรกของคุณไว้ และเอาเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทกับงานอยู่อย่างเดียวหรือไม่?

  • คุณรู้สึกว่าตำแหน่งหน้าที่การงานที่คุณได้รับมา มันไม่เหมาะสมกับตัวคุณเอง และรู้สึกกดดันมากขึ้นกว่าเดิม และพยายามที่จะทำงานให้หนักมากขึ้นเพื่อให้คนอื่นรู้สึกว่าตัวคุณเองควรค่ากับตำแหน่งนี้

3. The Natural Genius

มาถึงคนประเภทที่ ‘ฉลาดโดยธรรมชาติหรือมีพรสวรรค์มาแต่เกิด’ บางคนก็สามารถที่จะตกอยู่ในอาการ Imposter Disorder ได้เช่นกัน เพราะว่าคนประเภทนี้มักจะตัดสินความสำเร็จจากความสามารถและความพยายามของตัวเอง พูดง่ายๆ คือ ถ้าต้องทำงานบางอย่างให้หนักขึ้นไปอีก คนเหล่านี้ก็อาจจะคิดว่าตัวเองต้องแย่แน่ๆ และไม่สามารถทำได้ และถึงแม้ว่าในการทำงานแต่ละครั้ง อาจจะไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้สูงเหมือนกับคนประเภท Perfectionist แต่มักจะตัดสินจากความคุ้นชินของตัวเอง ประมาณว่า เคยทำได้แค่ไหนก็จะทำได้เท่านั้น แต่ถ้าต้องให้ทำมากกว่านั้นก็จะรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า คงทำไม่ได้แน่ๆ

ลองเช็กตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • คุณเคยรู้สึกว่าตัวเองไม่ชอบให้ใครมาคอยแสดงความเห็น หรือคอยชี้แนะอยู่ตลอดเวลา เพราะคุณคิดว่าคุณสามารถรับมือทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง

  • เวลาที่คุณเผชิญกับความล้มเหลว คุณจะรู้สึกสูญเสียความมั่นใจ เพราะว่าคุณทำได้ไม่ดี และรู้สึกอับอายมาก

  • คุณมักรู้สึกกลัวความท้าทายใหม่ๆ เพราะว่าคุณจะคิดว่าคุณจะไม่สามารถทำในสิ่งนั้นได้ดี

4. The Rugged Individualist

“The Rugged Individualist” หรือ คนประเภทปัจเจกนิยม ไม่ชอบพึ่งพาใคร รักที่จะทำงานแบบอิสระมากกว่า คิดว่าตัวเองไม่สามารถทำงานกับใครได้ เลยเลือกที่จะพึ่งพาตัวเองมากกว่า จนบางครั้งก็อาจจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจตัวเองแบบไม่รู้ตัว ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจจะนำพาให้เราตกอยู่ในอาการ Imposter Syndrome ได้

ลองเช็กตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • เป็นคนที่ชอบทำอะไรให้สำเร็จด้วยตัวเองอยู่เสมอ

  • ไม่ชอบขอความช่วยเหลือจากใคร

  • รู้สึกว่าการขอความช่วยเหลือ คือ การรบกวนคนอื่นให้มาช่วยงานของตัวเองทั้งหมด

5. The Expert

มาถึงประเภทสุดท้ายก็คืิอ “The Expert”หรือ คนที่เก่งและเชี่ยวชาญมากๆ ซึ่งหลายคนอาจจะมีความรู้สึกลึกๆ ว่า ตัวเองไม่ได้เก่งจริง ไม่ใช่ของจริงอย่างที่ใครคิด สิ่งที่เค้าทำอยู่มันไม่ได้ดีขนาดที่ทุกคนจะกล่าวชื่นชมและควรได้รับการยอมรับ และบางคนก็อาจรู้สึกว่าตัวเองกำลังหลอกคนอื่นว่าตัวเองเก่ง กลัวคนอื่นจะมาเปิดโปงว่าที่แท้จริงแล้วเราไม่ได้เก่งจริง และที่แย่ไปกว่านั้นบางคนเก็บความรู้สึกเหล่านี้มาเป็นความเครียด และสะสมมากจนนำไปสู่โรคซึมเศร้า

ลองเช็กตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • คุณมักรู้สึกเขินอายที่จะบอกดีกรีของตัวเองให้คนอื่นรับรู้ และรู้สึกกลัวคนอื่นไม่เชื่อ

  • คุณมักรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ และอยากที่จะเรียนทุกๆ อย่างเพื่อเพิ่มเติมความสามารถของตัวเองอยู่เสมอ

  • คุณมักกลัวที่จะถูกถาม และกลัวตอบไม่ได้ เพราะคุณมักคิดว่าคุณยังรู้ไม่พอ

  • คุณรู้สึกประหม่าและเกิดอาการตัวสั่น เวลามีคนมาบอกว่าคุณเชี่ยวชาญในเรื่องนี้

แล้วถ้าเราเป็นแบบนี้ ควรจะแก้อย่างไร? จริงๆ แล้วเชื่อว่าหลายคนเองก็อาจจะไม่ได้รู้สึกอยากเป็นแบบนี้ แต่เมื่อมันเป็นไปแล้ว จะให้แก้แบบหายขาดมันก็ยาก เพราะกว่าเราจะมาถึงจุดนี้ มันก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เรามีความคิดและความรู้สึกแบบนี้ หรือถ้าให้ใครมาบอกว่า ก็ลองเลิกคิดมากสิ อย่าไปคาดหวังอะไรมากเกินไป ซึ่งมันก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างที่เค้าบอกนั่นแหละ แต่มันก็อาจจะไม่ได้เลิกเป็นกันง่ายๆ
ดังนั้น ลองค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองทีละนิด พยายามอย่ากดดันตัวเองมากเกินไป ลองมีความสุขกับความสำเร็จเล็กๆ และค่อยๆ สร้างความมั่นใจในตัวเอง คิดเอาไว้เสมอว่าใครๆ ก็สามารถทำผิดพลาดได้ และเรียนรู้จากความผิดพลาดเหล่านั้นและเปลี่ยนมาเป็นแรงผลักดันให้กับตัวเอง ย้ำเตือนใจตัวเองไว้เสมอว่า“ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบได้ตลอดเวลา และก็ไม่มีใครที่จะสามารถทำอะไรแล้วไร้ที่ติ 100% หรอก”เพราะว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่บางครั้งอาจจะผิดหวัง หรือบางครั้งงานที่ทำอาจจะหนัก มีอุปสรรคเข้ามาให้แก้ไข ถึงแม้ว่าเราอาจจะทำได้ไม่ดี แต่อย่างน้อย มันก็คือสิ่งที่จะทำให้เราเติบโต บางครั้งรู้สึกเบื่อๆ ก็ลองก้าวออกจาก comfort zone ออกไปทำอะไรใหม่ๆ ส่วนสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ก็แค่ทำให้มันดีเท่าที่เราจะทำได้ก็พอ “เราจะใช้ชีวิตเอง หรือจะให้ชีวิตมาใช้เรา มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองนั่นแหละ”
Source:
https://www.themuse.com/advice/5-different-types-of-imposter-syndrome-and-5-ways-to-battle-each-one
https://qz.com/1288679/a-new-survey-of-puerto-rico-death-toll-from-hurricane-maria/
https://qz.com/1296783/it-turns-out-men-not-women-suffer-more-from-imposter-syndrome/
https://www.cnet.com/news/impostor-syndrome-tips-for-feeling-less-like-a-fake/


รักเดียว – พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ [คาราโอเกะ เสียงดี เบสแน่น]


รักเดียว พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ [คาราโอเกะ เสียงดี เบสแน่น]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

รักเดียว - พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ [คาราโอเกะ เสียงดี เบสแน่น]

คิดถึงฉันไหมเวลาที่เธอ… – TAXI 【OFFICIAL MV】


คิดถึงฉันไหมเวลาที่เธอ TAXI GMMGrammy
Digital Download : 123 1000018 3
iTunes Download : http://goo.gl/O2R15c
ชื่อเพลง : คิดถึงฉันไหมเวลาที่เธอ…
ศิลปิน : TAXI
คำร้อง : สีห์ ธาราสด
ทำนอง : กบ TAXI
เรียบเรียง : TAXI
。。。。。。。。。。。。。。。。
❛ ติดตามความเคลื่อนไหวของ GMM Grammy ❜ เพิ่มเติมได้ที่
GMM Grammy Official Instagram : https://www.instagram.com/gmmgrammy/
GMM Grammy Official Facebook : https://www.facebook.com/GMMGRAMMYOFFICIAL
GMM Grammy Official Twitter : https://twitter.com/GMMGRAMMY

คิดถึงฉันไหมเวลาที่เธอ... - TAXI 【OFFICIAL MV】

ใจนักเลง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง.mp4


ลองเทส

ใจนักเลง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง.mp4

ติดอยู่ในนิทาน


Provided to YouTube by Believe SAS
ติดอยู่ในนิทาน · TANTHAM · VareeONE · RANGER · YUNGFORTYSIX · Tantham Dny · Tantham Dny · WATANU
ติดอยู่ในนิทาน
℗ TANTHAM DNY
Released on: 20210820
Autogenerated by YouTube.

ติดอยู่ในนิทาน

ปั้นปึง – The Backup


ไม่ลืมเพลงเก่า
https://www.facebook.com/groups/oldsongclub/

ปั้นปึง  - The Backup

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ฉันต้องทํา ทําอะไรสักอย่างแล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *