Skip to content
Home » [NEW] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | หัก 3% – NATAVIGUIDES

[NEW] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | หัก 3% – NATAVIGUIDES

หัก 3%: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร หักยังไง

คำถามนึงที่พบบ่อยมากๆ ตอนที่ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาบัญชีภาษีให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็คือ เรื่อง “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” แล้ว “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คืออะไร? หักกันยังไงล่ะ?ทำไมต้องหัก? แล้วหักยังไง? เท่าไหร่? วันนี้จะได้รู้กันครับ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้ทำไม?

ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรบอกไว้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คือตัวช่วยในการลดภาระผู้เสียภาษี ไม่ต้องเสียภาษีเยอะๆ ทีเดียวตอนปลายปีครับ แต่ว่าถ้ามองในอีกแง่ คือ เค้ากลัวเราเบี้ยวเงินภาษีเงินได้ปลายปีมากกว่า กลัวไม่มีตังค์จ่าย ก็เลยทยอยๆ รับเงินไว้เลย ตอนที่เราได้รับเงินนั้นเอง

ใครต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งสรรพากร?

หลายคนอาจจะคิดว่าเฉพาะบริษัท หรือนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จริงๆไม่ใช่นะครับ การจะหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่คุณจ่ายครับ นั่นคือคุณจ่ายค่าอะไร เช่น ถ้าคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ดังนั้นแม้ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เปิดร้านแต่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล มีพนักงาน จ้างคนมาเฝ้าร้าน คุณก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าจ้างนั้น แล้วนำส่งสรรพากรด้วยนะครับ ถ้าเข้าเกณฑ์ที่ต้องหัก

สรุป ผู้ที่จะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้จ่ายเงินที่เป็นตาสีตาสา ผู้ประกอบการทั่วไป บริษัทห้างร้าน สมาคม จนถึงองค์กรของรัฐ ขึ้นอยู่กับจ่ายเป็นค่าอะไร และผู้ที่ถูกหัก นั้นต้องเสียภาษีหรือไม่

ใครต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย?

“ผู้ที่ต้องเสียภาษีทุกคนต้องถูกหัก” ครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม อีกนัยนึงก็คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ถ้าคุณไม่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องถูกหักครับ บอกคู่ค้า หรือผู้ที่จ่ายเงินให้คุณด้วยถ้าเค้าไม่รู้ หรือถ้าคุณถูกหักไว้แล้วก็ขอคืนได้ เช่น ประกอบธุรกิจที่ได้  BOI หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พวกนี้ไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายครับ

สำหรับผู้ประกอบการคุณจะมีโอกาสเป็นทั้งคนที่ไปหักเค้าหรือคนที่ถูกเค้าหักทั้ง 2 กรณี มาดูกันว่าค่าอะไรต้องหักเท่าไหร่กันบ้าง ผมจะยกตัวอย่างมาเฉพาะที่เจอบ่อยๆ ในการทำธุรกิจปกตินะครับ รายการแปลกๆ ไปดูเพิ่มเติมได้ที่ กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา กรณีผู้รับเป็นนิติบุคคล

ต้องหักเมื่อไร?

 เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่ เช่นถ้าคุณแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,200 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท คุณต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้แต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาท

รายการอะไรบ้างที่เราต้องหัก และนำส่ง เมื่อจ่ายให้บุคคลธรรมดา

1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)

อันนี้ชัดเจนครับ ถ้าคุณจ่ายเงินให้พนักงานหรือคนที่จ้างทำงานให้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้า เหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 0 คือไม่หักเลย หรือเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแค่คำนวณครับ วิธีการคำนวณแนะนำให้ถามนักบัญชี หรือฝ่ายบุคคลดูนะครับ หรือถ้ามีเวลาจะเขียนการคำนวณในอีกบทความต่อไป
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.1
ต้องนำส่งสรรพากรภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)

ถ้าคุณจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาที่เค้ารับทำอะไรบางอย่างให้ เช่น เป็นนายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ไม่ควรลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : เหมือนข้อ 1 เลยครับ
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง: ภ.ง.ด.1 
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

เพิ่มเติม : หลายคนอาจจะคิดในใจว่า รับจ้างทำงานให้ ไม่ใช่รับทำของแล้วหัก 3% หรอ? ตรงนี้แหละครับที่เริ่มจะต้องใช้การตีความและข้อเท็จจริงบางอย่างเพื่อแบ่งระหว่างจ้างทำของกับรับจ้างทำงานให้

* ความแตกต่างระหว่าง “จ้างทำของ” กับ “รับทำงานให้” นั่นแยกได้ไม่ยากมากครับ นั่นคือ จ้างทำของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานเอง ผู้จ่ายเงินไม่ได้หามาให้ อันนี้ถือเป็นการทำธุรกิจแบบนึง ในกรณีนี้หัก 3% ครับ แต่ว่าถ้าเป็นการขายของให้ หรือจ้างเป็นเซลล์ให้ส่วนแบ่งการขาย อันนี้ให้คำนวณเหมือนเค้าเป็นพนักงานเลยครับ เพราะว่าไม่ได้เป็นการใช้อุปกรณ์อะไรเป็นการเฉพาะ *

3. จ้างทำของ / จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ ถ้าคุณจ้างใครทำอะไรให้ แล้วเค้าต้องใช้อุปกรณ์อะไรของเค้าเอง เช่น จ้างเขียนโปรแกรม เค้าต้องไปหาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้เขียนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ หรือถ้าคุณจ้างออกแบบให้ เค้าต้องไปหาคอมพ์และโปรแกรมออกแบบเองอันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ แต่ถ้าคุณมีอุปกรณ์อะไรให้ครบครั้น แล้วให้เค้าออกแบบให้เฉยๆ อันนี้ถือว่าเป็นการจ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2) ฟังดูไม่ยากใช้มั้ยครับ? แบ่งง่ายๆ ว่าใครให้ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ แล้วอย่าลืมว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยล่ะครับ

ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)

คุณอาจจะต้องจ้างผู้สอบบัญชี หรือทนายความบ้างในการทำธุรกิจ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่คุณห้ามลืมเลยล่ะ
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

5. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่คุณห้ามลืมนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เพิ่มเติม: คุณอาจจะเคยเจอว่าผู้ให้เช่าเค้าจะรับเงินเต็มๆ ไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย!! อันนี้เป็นเรื่องน่าลำบากใจมากครับ คุณมี 3 ตัวเลือกที่จะทำ
1) คุณเป็นผู้ออกภาษีแทนให้ แล้วนำส่งแบบตามปกติต่อไป แต่ก็เหมือนกับค่าเช่าคุณแพงขึ้นไปอีกประมาณ 5% แต่ธุรกิจคุณจะปลอดภัยจากค่าปรับภาษี และไร้จุดอ่อนไม่ให้สรรพากรโจมตีได้
2) หาที่เช่าใหม่ นี่มันไม่ถูกต้อง!! ชั้นไม่ออกภาษีให้หรอก!
3) นิ่งๆ ไม่หักก็ไม่หัก เงียบๆ ไว้จะเลือกทางไหนก็แล้วแต่คุณแล้วกันครับเมื่อจ่ายให้นิติบุคคล

6. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

อันนี้เป็นกรณีเกิดขึ้นบ่อยสุดแล้วครับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ซึ่งสำหรับบริการธุรกิจต่างๆ หัก 3% ใช้กันจนจะลืมว่ามีอัตราอื่นๆ กันแล้ว
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

7. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล อันนี้ก็เหมือนๆ กับเช่าจากบุคคลธรรมดาแหละครับ ต่างกันแค่แบบ แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือสิ่งที่คุณห้ามลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

8. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทโฆษณาต่างๆ ให้โฆษณาให้ คุณต้องหัก ณ ที่จ่ายดัวยนะครับ แต่อัตราอาจจะแปลกๆ กว่าอันอื่นๆ หน่อย ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ถูกหักเพียง 2% เท่านั้น
ต้องหักเท่าไหร่ : 2%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

9. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทขนส่ง “ไม่สาธารณะ” ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ต้องหักแค่ 1% นะครับ อย่าหัก 3% เดี๋ยวของคุณจะไปไม่ถึงปลายทาง
ต้องหักเท่าไหร่ : 1%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เรียบเรียง โดย ภีม เพชรเกตุ

ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จากโครงการ True Incube ในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น, ชนะเลิศโครงการ Angel in the City 2014 ขององค์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ, Microsoft BizSpark Plus Partner, และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยให้ธุรกิจคุณไปได้ไวและไกลกว่า
ท่านสามารถทดลองใช้งานได้ที่ ทดลองใช้ฟรี

[Update] การหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% | หัก 3% – NATAVIGUIDES

    Use tab to navigate through the menu items.


    อาหาร vs กัมมี่ || มากินกัมมี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกันเถอะ! ลองชิมอาหารขนาดยักษ์ โดย 123 GO! Challenge


    โอเค พวกคุณเคยเห็นพวกเราแข่งขันกันเรื่องอาหารมาก่อน แต่จะไม่มีอันไหนที่ทำให้คุณคลื่นไส้เทียบเท่ากับครั้งนี้ได้อีกแล้ว
    ถ้ามีโอกาสจริงๆ คุณจะเลือกกินขนมกัมมี่มากกว่าอาหารของจริงหรือเปล่า? ทิ้งคอมเมนต์ของคุณเอาไว้ข้างล่างหน่อยนะ 👇
    แชร์วีดีโอสุดฮานี้ให้กับเพื่อนๆของคุณ และอย่าลืมกดติดตามช่องยูทูป 123Go! Challenge เพื่อดูเนื้อหาสุดเจ๋งแบบนี้อีก!
    ขอบคุณที่รับชมนะ!
    123GO กัมมี่ปะทะอาหาร ท้าดวลอาหาร ขนาดยักษ์
    วิดีโอนี้จัดทำขึ้นเพื่อความบันเทิง ผู้ผลิตไม่รับประกันใด ๆ ในความสมบูรณ์ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ การกระทำใด ๆ ที่ทำตามข้อมูลในวิดีโอนี้ ถือเป็นความเสี่ยงของผู้กระทำเอง และผู้ผลิตจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย หรือการสูญเสียใด ๆ
    ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ชม ในการใช้วิจารณญาณ การดูแล และข้อควรระวัง หากผู้ชมจะปฏิบัติตาม
    วิดีโอต่อไปนี้อาจมีกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักแสดงของเรา ที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม โปรดใช้วิจารณญาณในการดูแลและข้อควรระวัง หากจะปฏิบัติตาม
    กดติดตาม https://www.youtube.com/channel/UCnSKvFI1iz9ai3XM8hC9a5A?view_as=subscriber

    เพลงของ Epidemic Sound https://www.epidemicsound.com/
    ของในสต๊อก (รูปภาพ, วิดีโอ และอื่นๆ):
    https://www.depositphotos.com
    https://www.shutterstock.com
    https://www.eastnews.ru

    นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

    อาหาร vs กัมมี่ || มากินกัมมี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกันเถอะ! ลองชิมอาหารขนาดยักษ์ โดย 123 GO! Challenge

    LIVE – ขนส่ง บริการ เช่า จะหัก 1% 3% หรือ 5% สรุปจะหักกันอย่างไร?


    LIVE ขนส่ง บริการ เช่า จะหัก 1% 3% หรือ 5% สรุปจะหักกันอย่างไร?
    ====================================
    ติดตาม Content ต่างๆเกี่ยวกับบัญชีและภาษีได้ที่
    Facebook : จอมโว ภาษีง่ายๆสไตล์อาจารย์จอม
    https://www.facebook.com/TaxEasyJomwo/
    ===================================
    สอบถามพูดคุยภาษานักบัญชี
    LINE OpenChat ▶ https://bit.ly/3h2UdG4
    ===================================
    จอมโว ภาษีง่ายๆสไตล์อาจารย์จอม อาจารย์จอม

    LIVE - ขนส่ง บริการ เช่า จะหัก 1% 3% หรือ 5% สรุปจะหักกันอย่างไร?

    หักหลัง‬ (BETRAYED) – Retrospect「Official MV」


    MV หักหลัง
    Retrospect
    available on iTunes: https://itun.es/i6Sw4WR
    genie records
    http://www.fb.com/retrospectrock
    http://www.genierecords.com

    เนื้อร้อง / ทำนอง / เรียบเรียง : Retrospect / ดนัย ธงสินธุศักดิ์
    เพราะความจริงบางอย่างมันเสียดเเทงกลางใจ 
    ฉันไปทำอะไรให้เธอต้องเสียใจ
    เกินไปหรือเปล่า ถึงย่ำยีหัวใจ ด้วยการหักหลังทำลายหัวใจฉัน เธอทำลายหัวใจฉัน
    คงไม่มีประโยชน์อะไรไปกว่านี้  โอ้…สุดที่รัก เธอคงรู้ดี
    ฉันกลายเป็นคนอื่นตอนไหน
    และเธอมีคนอื่นในใจเมื่อไร เสพสมไปกี่วัน?
    ไม่เชื่อมาตลอด ใครเห็นใครก็บอก ไม่เชื่อมาตลอด ว่าเธอจะทำร้ายกัน 
    แล้วความจริง ไม่อาจทำใจ เธอเอาใครอีกคนมาแทนที่ฉัน
    ไม่เหลือเเล้วเยื่อใย ความรักที่ให้ไป ต้องยอม ต้องทน คือการหลอกลวงเสียใจ
    เจ็บช้ำเพราะไว้ใจ หักหลังเเทงหัวใจ เมื่อเธอเลือกเขา  จงจับมือกันไปตาย….
    ถึงมือที่สาม ฉันมีเรื่องราวต้องสะสาง
    ได้โปรดจำไว้ คนอย่างฉันจะไม่ยอม ให้อภัย
    มันคงต้องมีสักวัน เมื่อกรรมมันตามเธอทัน  มันคงต้องมีสักวัน เธอจะเข้าใจ….
    (ไม่เหลือเเล้วเยื่อใย ความรักที่ให้ไป ที่ต้องยอม ต้องทน คือการหลอกลวงเสียใจ
    เจ็บช้ำเพราะไว้ใจ ถูกหักหลังเเทงหัวใจ เมื่อเธอเลือกเขา  จงจับมือกันไปตาย)

    Guitars by ธนพล ศรีกาญจนา, Basses by ณพวัชร คชาชีวะ
    Drums by ศุทธิพันธ์ สังข์ยุทธ , Vocals by ชนัทธา สายศิลา
    Synth by ศรัณย์เขษ เจริญสรรพ์
    Chorus by ศรัณย์เขษ เจริญสรรพ์ , พาย My Life as Ali Thomas
    Produced by ดนัย ธงสินธุศักดิ์
    Lyric director : ชนัทธา สายศิลา , ณพวัชร คชาชีวะ , ดนัย ธงสินธุศักดิ์
    Recorded and Mixed at Summer Studio
    Engineered by ตุลธร จิระวัฒน์พงศา , ธันวา เกตุสุวรรณ , ดนัย ธงสินธุศักดิ์
    Mixed and Mastered by ธันวา เกตุสุวรรณ

    ♪ Download on iTunes : $0.69 Buy https://itun.es/i6Sw4WR
    ♪ KKBOX Music : http://kkbox.fm/md0mVZ
    ♪ Digital download : กด 12310426913 โทรออก
    ▶ genie|merch : http://www.geniemerch.com

    หักหลัง‬ (BETRAYED) - Retrospect「Official MV」

    ค่าบริการ หรือค่าจ้างทำของดูอย่างไร ? หัก ณ ที่จ่าย 3% แม้จ่ายไม่ถึง 1,000 บาทได้มั้


    รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 503 Yellowการบัญชี www.yellowaccounting.com โดย อ.มานพ สีเหลือง และ อ.เจี๊ยบ โทร 0970091656 หรือไลน์ Yellow_Accounting

    ค่าบริการ หรือค่าจ้างทำของดูอย่างไร ? หัก ณ ที่จ่าย 3% แม้จ่ายไม่ถึง 1,000 บาทได้มั้

    สอนบัญชีภาษี EP7 วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณี มี VAT


    วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณี มี VAT และการบันทึกบัญชี
    Facebook: สอนบัญชี by spauditing training
    👉🏻รายละเอียดเพิ่มเติม
    https://www.spauditconsult.com/training
    สอนบัญชีเชียงใหม่ สอนบัญชีผู้ประกอบการ บัญชีอย่างง่าย สอนบัญชี สอนภาษี

    สอนบัญชีภาษี EP7 วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณี มี VAT

    นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

    ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ หัก 3%

    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *