Skip to content
Home » [NEW] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | การ คิด ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย 1 – NATAVIGUIDES

[NEW] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | การ คิด ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย 1 – NATAVIGUIDES

การ คิด ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย 1: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร หักยังไง

คำถามนึงที่พบบ่อยมากๆ ตอนที่ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาบัญชีภาษีให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็คือ เรื่อง “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” แล้ว “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คืออะไร? หักกันยังไงล่ะ?ทำไมต้องหัก? แล้วหักยังไง? เท่าไหร่? วันนี้จะได้รู้กันครับ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้ทำไม?

ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรบอกไว้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คือตัวช่วยในการลดภาระผู้เสียภาษี ไม่ต้องเสียภาษีเยอะๆ ทีเดียวตอนปลายปีครับ แต่ว่าถ้ามองในอีกแง่ คือ เค้ากลัวเราเบี้ยวเงินภาษีเงินได้ปลายปีมากกว่า กลัวไม่มีตังค์จ่าย ก็เลยทยอยๆ รับเงินไว้เลย ตอนที่เราได้รับเงินนั้นเอง

ใครต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งสรรพากร?

หลายคนอาจจะคิดว่าเฉพาะบริษัท หรือนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จริงๆไม่ใช่นะครับ การจะหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่คุณจ่ายครับ นั่นคือคุณจ่ายค่าอะไร เช่น ถ้าคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ดังนั้นแม้ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เปิดร้านแต่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล มีพนักงาน จ้างคนมาเฝ้าร้าน คุณก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าจ้างนั้น แล้วนำส่งสรรพากรด้วยนะครับ ถ้าเข้าเกณฑ์ที่ต้องหัก

สรุป ผู้ที่จะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้จ่ายเงินที่เป็นตาสีตาสา ผู้ประกอบการทั่วไป บริษัทห้างร้าน สมาคม จนถึงองค์กรของรัฐ ขึ้นอยู่กับจ่ายเป็นค่าอะไร และผู้ที่ถูกหัก นั้นต้องเสียภาษีหรือไม่

ใครต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย?

“ผู้ที่ต้องเสียภาษีทุกคนต้องถูกหัก” ครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม อีกนัยนึงก็คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ถ้าคุณไม่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องถูกหักครับ บอกคู่ค้า หรือผู้ที่จ่ายเงินให้คุณด้วยถ้าเค้าไม่รู้ หรือถ้าคุณถูกหักไว้แล้วก็ขอคืนได้ เช่น ประกอบธุรกิจที่ได้  BOI หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พวกนี้ไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายครับ

สำหรับผู้ประกอบการคุณจะมีโอกาสเป็นทั้งคนที่ไปหักเค้าหรือคนที่ถูกเค้าหักทั้ง 2 กรณี มาดูกันว่าค่าอะไรต้องหักเท่าไหร่กันบ้าง ผมจะยกตัวอย่างมาเฉพาะที่เจอบ่อยๆ ในการทำธุรกิจปกตินะครับ รายการแปลกๆ ไปดูเพิ่มเติมได้ที่ กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา กรณีผู้รับเป็นนิติบุคคล

ต้องหักเมื่อไร?

 เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่ เช่นถ้าคุณแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,200 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท คุณต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้แต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาท

รายการอะไรบ้างที่เราต้องหัก และนำส่ง เมื่อจ่ายให้บุคคลธรรมดา

1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)

อันนี้ชัดเจนครับ ถ้าคุณจ่ายเงินให้พนักงานหรือคนที่จ้างทำงานให้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้า เหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 0 คือไม่หักเลย หรือเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแค่คำนวณครับ วิธีการคำนวณแนะนำให้ถามนักบัญชี หรือฝ่ายบุคคลดูนะครับ หรือถ้ามีเวลาจะเขียนการคำนวณในอีกบทความต่อไป
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.1
ต้องนำส่งสรรพากรภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)

ถ้าคุณจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาที่เค้ารับทำอะไรบางอย่างให้ เช่น เป็นนายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ไม่ควรลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : เหมือนข้อ 1 เลยครับ
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง: ภ.ง.ด.1 
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

เพิ่มเติม : หลายคนอาจจะคิดในใจว่า รับจ้างทำงานให้ ไม่ใช่รับทำของแล้วหัก 3% หรอ? ตรงนี้แหละครับที่เริ่มจะต้องใช้การตีความและข้อเท็จจริงบางอย่างเพื่อแบ่งระหว่างจ้างทำของกับรับจ้างทำงานให้

* ความแตกต่างระหว่าง “จ้างทำของ” กับ “รับทำงานให้” นั่นแยกได้ไม่ยากมากครับ นั่นคือ จ้างทำของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานเอง ผู้จ่ายเงินไม่ได้หามาให้ อันนี้ถือเป็นการทำธุรกิจแบบนึง ในกรณีนี้หัก 3% ครับ แต่ว่าถ้าเป็นการขายของให้ หรือจ้างเป็นเซลล์ให้ส่วนแบ่งการขาย อันนี้ให้คำนวณเหมือนเค้าเป็นพนักงานเลยครับ เพราะว่าไม่ได้เป็นการใช้อุปกรณ์อะไรเป็นการเฉพาะ *

3. จ้างทำของ / จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ ถ้าคุณจ้างใครทำอะไรให้ แล้วเค้าต้องใช้อุปกรณ์อะไรของเค้าเอง เช่น จ้างเขียนโปรแกรม เค้าต้องไปหาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้เขียนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ หรือถ้าคุณจ้างออกแบบให้ เค้าต้องไปหาคอมพ์และโปรแกรมออกแบบเองอันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ แต่ถ้าคุณมีอุปกรณ์อะไรให้ครบครั้น แล้วให้เค้าออกแบบให้เฉยๆ อันนี้ถือว่าเป็นการจ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2) ฟังดูไม่ยากใช้มั้ยครับ? แบ่งง่ายๆ ว่าใครให้ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ แล้วอย่าลืมว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยล่ะครับ

ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)

คุณอาจจะต้องจ้างผู้สอบบัญชี หรือทนายความบ้างในการทำธุรกิจ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่คุณห้ามลืมเลยล่ะ
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

5. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่คุณห้ามลืมนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เพิ่มเติม: คุณอาจจะเคยเจอว่าผู้ให้เช่าเค้าจะรับเงินเต็มๆ ไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย!! อันนี้เป็นเรื่องน่าลำบากใจมากครับ คุณมี 3 ตัวเลือกที่จะทำ
1) คุณเป็นผู้ออกภาษีแทนให้ แล้วนำส่งแบบตามปกติต่อไป แต่ก็เหมือนกับค่าเช่าคุณแพงขึ้นไปอีกประมาณ 5% แต่ธุรกิจคุณจะปลอดภัยจากค่าปรับภาษี และไร้จุดอ่อนไม่ให้สรรพากรโจมตีได้
2) หาที่เช่าใหม่ นี่มันไม่ถูกต้อง!! ชั้นไม่ออกภาษีให้หรอก!
3) นิ่งๆ ไม่หักก็ไม่หัก เงียบๆ ไว้จะเลือกทางไหนก็แล้วแต่คุณแล้วกันครับเมื่อจ่ายให้นิติบุคคล

6. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

อันนี้เป็นกรณีเกิดขึ้นบ่อยสุดแล้วครับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ซึ่งสำหรับบริการธุรกิจต่างๆ หัก 3% ใช้กันจนจะลืมว่ามีอัตราอื่นๆ กันแล้ว
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

7. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล อันนี้ก็เหมือนๆ กับเช่าจากบุคคลธรรมดาแหละครับ ต่างกันแค่แบบ แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือสิ่งที่คุณห้ามลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

8. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทโฆษณาต่างๆ ให้โฆษณาให้ คุณต้องหัก ณ ที่จ่ายดัวยนะครับ แต่อัตราอาจจะแปลกๆ กว่าอันอื่นๆ หน่อย ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ถูกหักเพียง 2% เท่านั้น
ต้องหักเท่าไหร่ : 2%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

9. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทขนส่ง “ไม่สาธารณะ” ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ต้องหักแค่ 1% นะครับ อย่าหัก 3% เดี๋ยวของคุณจะไปไม่ถึงปลายทาง
ต้องหักเท่าไหร่ : 1%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เรียบเรียง โดย ภีม เพชรเกตุ

ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จากโครงการ True Incube ในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น, ชนะเลิศโครงการ Angel in the City 2014 ขององค์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ, Microsoft BizSpark Plus Partner, และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยให้ธุรกิจคุณไปได้ไวและไกลกว่า
ท่านสามารถทดลองใช้งานได้ที่ ทดลองใช้ฟรี

[Update] ภาษี ณ ที่จ่าย หักยังไงให้ได้ยอดเต็ม | aomMONEY | การ คิด ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย 1 – NATAVIGUIDES

© 2017 LikeMe Co., Ltd. All Right Reserved.


หลักการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน (4+1) วิธี


ความรู้เรื่องบัญชีเงินเดือน By PayrollOS
หลักการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน (4+1) วิธี
แล้ววิธีไหนที่นิยมใช้มากที่สุด?
| รับฟังย้อนหลัง |

Payroll มีความสำคัญกับองค์กรอย่างไร EP1
https://youtu.be/YpNA5Eqn4Qo
องค์ประกอบของ “การจัดทำบัญชีเงินเดือน” EP2
https://youtu.be/jWwZ2UbCBmQ
กำหนดรอบการคำนวณเงินเดือน ค่าแรง ค่าตอบแทนอื่น ๆ อย่างไรดี?จึงจะเหมาะสมกับองค์กร EP3
https://youtu.be/Rxoy1vXWbbA
กำหนดรายการเงินเพิ่มเงินหัก นโยบายการหักเงินและการให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษอย่างไรดีให้เหมาะกับองค์กร EP4
https://youtu.be/g7jI96wOVE
ทำงานล่วงเวลา ต้องได้กี่เท่าของค่าแรง? \”โอทีไม่ใช่โอฟรี\” [ฉบับนายจ้าง vs ลูกจ้าง]
https://youtu.be/bfqSX3Vc3n8
คอนเซ็ป วิธีการคิด และคำนวณค่าล่วงเวลาของพนักงาน
https://youtu.be/DTtptMVgwmk

ติดตามหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook :https://www.facebook.com/PayrollOS
Blockdit :https://www.blockdit.com/payrollos
IG :https://www.instagram.com/payrollos
Youtube :https://www.youtube.com/channel/UClIkSQe_ZuKMIBZn0_qKQ
LineID :PayrollOS
Email :[email protected]
การทำบัญชีเงินเดือน Payrollหลักการคำนวณภาษีหักณที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน การเงินและบัญชี
กฏหมายแรงงาน ภาษีส่วนบุคคล
ภาษีอัตราก้าวหน้า คำนวณโอที คำนวณOT
ค่าล่วงเวลา ลดหย่อน HR ฝ่ายบุคคล คำนวณค่าแรง
ภาษีเงินได้ ภงด1 ภงด1ก สปส1_10 กท20ก ภงด3 ภงด53
กรมแรงงาน ประกันสังคม สรรพากร กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ProvidentFund นโยบาย Policy ข้อมูลพนักงานงาน Employee ข้อมูลการทำงาน
TimeAttendance รายงานบัญชีเงินเดือน payrollReport ตรวจสอบ Audit
Socialsecurity RevenueDepartment ธนาคารBank DBD DepartmentofBusinessDeverlopment การจัดทะเบียน จัดตั้งนิติบุคคล ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เลขนิติบุคคล13หลัก ลูกจ้างผู้ประกันตน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

หลักการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน (4+1) วิธี

[Q\u0026A] วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (มีตัวอย่าง+แจกไฟล์ฟรี)


ช่วงวิกฤตแบบนี้ หลายคนมีปัญหา เรื่องคิดราคาลูกค้าผิดๆถูกๆ ไม่ว่าจะเป็น…
ต้องรวม VAT ไหม
ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือเปล่า
รวมทั้ง VAT และ หักภาษีด้วย
โอ้ยยยงงง พรี่หนอมเลยเอาไฟล์มาฝากกัน จะได้ไม่คิดเงินลูกค้าผิดพลาด เดี๋ยวจะมีปัญหาการเงินเพิ่มขึ้นมาอีกต่างหากจ้า
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบได้ที่นี่จ้า
https://bit.ly/WTCALBYTAXBUGNOMS
วิธีคำนวณ ภาษีหักณที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ดูวิธีการได้จากคลิปวีดีโอนี้เลยจ้า หรือว่า จะอ่านคำอธิบายจาก ตัวอย่างก็ได้นะ
อย่างบริษัทน้องคนนี้มีรายได้ 60,000 บาท ถ้าหากถูกหักภาษีไว้ 3% น้องจะได้เงิน 58,200 บาท ถูกหักภาษีไว้ 1,800 บาท แต่แปลว่าน้องมีรายได้ต้องเสียภาษี คือ 60,000 บาทนะ และถ้าหากบริษัทน้องจด VAT ยอด 7% ของ VAT ก็ต้องคิดจากยอด 60,000 บาทด้วย
ทีนี้บางทีน้องอยากได้ยอดเต็ม 60,000 บาท ถ้าคนจ่ายเขาจะหักอยู่ เค้าก็ต้องคำนวณย้อนกลับเป็นว่า ยอด 60,000 บาทคือยอดหลังหักภาษีแล้ว ดังนั้นยอดก่อนหักภาษีก็ต้องเป็น 61,855.67 บาท และถูกหักภาษีไว้ 1,855.67 บาทเลยทำให้ได้เงิน 60,000 บาทถ้วนนั่นเอง และถ้าบริษัทน้องจด VAT ยอด 7% ก็ต้องคิดจากยอดก่อนหักภาษี คือ 61,855.67 บาท
ฝากติดตามรายการ คุยภาษีหนีเคอร์ฟิว ได้เลยจ้า
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

[Q\u0026A] วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (มีตัวอย่าง+แจกไฟล์ฟรี)

ยื่นภาษีออนไลน์ ปี 2564 ยื่นภาษีอย่างง่ายยื่นภาษีกันเถอะ


ยื่นภาษี ปี 2564

ยื่นภาษีออนไลน์ ปี 2564 ยื่นภาษีอย่างง่ายยื่นภาษีกันเถอะ

7 อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย


7 อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน


สำหรับการ “คำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน” นั้น จะคำนวณแตกต่างจากการจ่ายเงินประเภทอื่น ซึ่งจะคำนวณในลักษณะของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วนำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือนอีกครั้งหนึ่ง ไม่ได้มีอัตราหักเป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนการจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://flowaccount.com/blog/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
โทร: 020268989 และ Line: @flowaccount (มี@)
Website FlowAccount คลิก: bit.ly/fbAccountV9_1
💻 ทดลองใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี 30 วันได้ที่ https://flowaccount.com
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น New FlowAccount ทั้งทาง iOS และ Andriod
📱 App Store: https://apple.co/2PoDikS
📱 Play Store: http://bit.ly/354gFcf

Credits
Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา
Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
Sound Designer \u0026 Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์
หักณที่จ่าย เงินเดือน ภาษี FlowAccount NewFlowAccount

คำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ การ คิด ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย 1

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *