Skip to content
Home » [NEW] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมาย ถึง อะไร – NATAVIGUIDES

[NEW] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมาย ถึง อะไร – NATAVIGUIDES

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมาย ถึง อะไร: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Table of Contents

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร หักยังไง

คำถามนึงที่พบบ่อยมากๆ ตอนที่ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาบัญชีภาษีให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็คือ เรื่อง “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” แล้ว “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คืออะไร? หักกันยังไงล่ะ?ทำไมต้องหัก? แล้วหักยังไง? เท่าไหร่? วันนี้จะได้รู้กันครับ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้ทำไม?

ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรบอกไว้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คือตัวช่วยในการลดภาระผู้เสียภาษี ไม่ต้องเสียภาษีเยอะๆ ทีเดียวตอนปลายปีครับ แต่ว่าถ้ามองในอีกแง่ คือ เค้ากลัวเราเบี้ยวเงินภาษีเงินได้ปลายปีมากกว่า กลัวไม่มีตังค์จ่าย ก็เลยทยอยๆ รับเงินไว้เลย ตอนที่เราได้รับเงินนั้นเอง

ใครต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งสรรพากร?

หลายคนอาจจะคิดว่าเฉพาะบริษัท หรือนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จริงๆไม่ใช่นะครับ การจะหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่คุณจ่ายครับ นั่นคือคุณจ่ายค่าอะไร เช่น ถ้าคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ดังนั้นแม้ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เปิดร้านแต่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล มีพนักงาน จ้างคนมาเฝ้าร้าน คุณก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าจ้างนั้น แล้วนำส่งสรรพากรด้วยนะครับ ถ้าเข้าเกณฑ์ที่ต้องหัก

สรุป ผู้ที่จะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้จ่ายเงินที่เป็นตาสีตาสา ผู้ประกอบการทั่วไป บริษัทห้างร้าน สมาคม จนถึงองค์กรของรัฐ ขึ้นอยู่กับจ่ายเป็นค่าอะไร และผู้ที่ถูกหัก นั้นต้องเสียภาษีหรือไม่

ใครต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย?

“ผู้ที่ต้องเสียภาษีทุกคนต้องถูกหัก” ครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม อีกนัยนึงก็คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ถ้าคุณไม่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องถูกหักครับ บอกคู่ค้า หรือผู้ที่จ่ายเงินให้คุณด้วยถ้าเค้าไม่รู้ หรือถ้าคุณถูกหักไว้แล้วก็ขอคืนได้ เช่น ประกอบธุรกิจที่ได้  BOI หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พวกนี้ไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายครับ

สำหรับผู้ประกอบการคุณจะมีโอกาสเป็นทั้งคนที่ไปหักเค้าหรือคนที่ถูกเค้าหักทั้ง 2 กรณี มาดูกันว่าค่าอะไรต้องหักเท่าไหร่กันบ้าง ผมจะยกตัวอย่างมาเฉพาะที่เจอบ่อยๆ ในการทำธุรกิจปกตินะครับ รายการแปลกๆ ไปดูเพิ่มเติมได้ที่ กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา กรณีผู้รับเป็นนิติบุคคล

ต้องหักเมื่อไร?

 เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่ เช่นถ้าคุณแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,200 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท คุณต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้แต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาท

รายการอะไรบ้างที่เราต้องหัก และนำส่ง เมื่อจ่ายให้บุคคลธรรมดา

1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)

อันนี้ชัดเจนครับ ถ้าคุณจ่ายเงินให้พนักงานหรือคนที่จ้างทำงานให้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้า เหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 0 คือไม่หักเลย หรือเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแค่คำนวณครับ วิธีการคำนวณแนะนำให้ถามนักบัญชี หรือฝ่ายบุคคลดูนะครับ หรือถ้ามีเวลาจะเขียนการคำนวณในอีกบทความต่อไป
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.1
ต้องนำส่งสรรพากรภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)

ถ้าคุณจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาที่เค้ารับทำอะไรบางอย่างให้ เช่น เป็นนายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ไม่ควรลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : เหมือนข้อ 1 เลยครับ
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง: ภ.ง.ด.1 
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

เพิ่มเติม : หลายคนอาจจะคิดในใจว่า รับจ้างทำงานให้ ไม่ใช่รับทำของแล้วหัก 3% หรอ? ตรงนี้แหละครับที่เริ่มจะต้องใช้การตีความและข้อเท็จจริงบางอย่างเพื่อแบ่งระหว่างจ้างทำของกับรับจ้างทำงานให้

* ความแตกต่างระหว่าง “จ้างทำของ” กับ “รับทำงานให้” นั่นแยกได้ไม่ยากมากครับ นั่นคือ จ้างทำของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานเอง ผู้จ่ายเงินไม่ได้หามาให้ อันนี้ถือเป็นการทำธุรกิจแบบนึง ในกรณีนี้หัก 3% ครับ แต่ว่าถ้าเป็นการขายของให้ หรือจ้างเป็นเซลล์ให้ส่วนแบ่งการขาย อันนี้ให้คำนวณเหมือนเค้าเป็นพนักงานเลยครับ เพราะว่าไม่ได้เป็นการใช้อุปกรณ์อะไรเป็นการเฉพาะ *

3. จ้างทำของ / จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ ถ้าคุณจ้างใครทำอะไรให้ แล้วเค้าต้องใช้อุปกรณ์อะไรของเค้าเอง เช่น จ้างเขียนโปรแกรม เค้าต้องไปหาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้เขียนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ หรือถ้าคุณจ้างออกแบบให้ เค้าต้องไปหาคอมพ์และโปรแกรมออกแบบเองอันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ แต่ถ้าคุณมีอุปกรณ์อะไรให้ครบครั้น แล้วให้เค้าออกแบบให้เฉยๆ อันนี้ถือว่าเป็นการจ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2) ฟังดูไม่ยากใช้มั้ยครับ? แบ่งง่ายๆ ว่าใครให้ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ แล้วอย่าลืมว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยล่ะครับ

ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)

คุณอาจจะต้องจ้างผู้สอบบัญชี หรือทนายความบ้างในการทำธุรกิจ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่คุณห้ามลืมเลยล่ะ
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

5. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่คุณห้ามลืมนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เพิ่มเติม: คุณอาจจะเคยเจอว่าผู้ให้เช่าเค้าจะรับเงินเต็มๆ ไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย!! อันนี้เป็นเรื่องน่าลำบากใจมากครับ คุณมี 3 ตัวเลือกที่จะทำ
1) คุณเป็นผู้ออกภาษีแทนให้ แล้วนำส่งแบบตามปกติต่อไป แต่ก็เหมือนกับค่าเช่าคุณแพงขึ้นไปอีกประมาณ 5% แต่ธุรกิจคุณจะปลอดภัยจากค่าปรับภาษี และไร้จุดอ่อนไม่ให้สรรพากรโจมตีได้
2) หาที่เช่าใหม่ นี่มันไม่ถูกต้อง!! ชั้นไม่ออกภาษีให้หรอก!
3) นิ่งๆ ไม่หักก็ไม่หัก เงียบๆ ไว้จะเลือกทางไหนก็แล้วแต่คุณแล้วกันครับเมื่อจ่ายให้นิติบุคคล

6. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

อันนี้เป็นกรณีเกิดขึ้นบ่อยสุดแล้วครับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ซึ่งสำหรับบริการธุรกิจต่างๆ หัก 3% ใช้กันจนจะลืมว่ามีอัตราอื่นๆ กันแล้ว
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

7. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล อันนี้ก็เหมือนๆ กับเช่าจากบุคคลธรรมดาแหละครับ ต่างกันแค่แบบ แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือสิ่งที่คุณห้ามลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

8. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทโฆษณาต่างๆ ให้โฆษณาให้ คุณต้องหัก ณ ที่จ่ายดัวยนะครับ แต่อัตราอาจจะแปลกๆ กว่าอันอื่นๆ หน่อย ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ถูกหักเพียง 2% เท่านั้น
ต้องหักเท่าไหร่ : 2%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

9. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทขนส่ง “ไม่สาธารณะ” ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ต้องหักแค่ 1% นะครับ อย่าหัก 3% เดี๋ยวของคุณจะไปไม่ถึงปลายทาง
ต้องหักเท่าไหร่ : 1%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เรียบเรียง โดย ภีม เพชรเกตุ

ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จากโครงการ True Incube ในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น, ชนะเลิศโครงการ Angel in the City 2014 ขององค์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ, Microsoft BizSpark Plus Partner, และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยให้ธุรกิจคุณไปได้ไวและไกลกว่า
ท่านสามารถทดลองใช้งานได้ที่ ทดลองใช้ฟรี

[NEW] | ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมาย ถึง อะไร – NATAVIGUIDES

Sample

Sidebar Module

This is a sample module published to the sidebar_top position, using the -sidebar module class suffix. There is also a sidebar_bottom position below the menu.


ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร


ดูรายละเอียดบทความที่ : https://tanateauditor.com/vat/
ดาวน์โหลดคู่มือบัญชีภาษีสำหรับผู้ประกอบการได้ฟรีที่ : https://tanateauditor.com/courseforsme/
ติดต่อผมได้ที่ :
คุณวิน 0876732884
Line ID : @618kssyt
Email : [email protected]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

#ภาษี10นาที Ep.3 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT คืออะไร มาจากไหน คำนวณยังไง?


เคยไหม? เวลาไปซื้อของแล้วเค้าบอกว่าของชิ้นเดียวกันมีราคาต่างกัน ถ้าเอา VAT ต้องบวกเพิ่มราคาอีก 7% แต่ถ้าไม่บวก VAT ขายได้ทันทีในราคานี้จ้า อ๊ะ นี่มันคืออะไร ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ได้!!
ก่อนที่จะเล่าว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ขออธิบายหลักการของภาษีมูลค่าเพิ่มให้ฟังกันก่อน พูดให้ง่ายที่สุด ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ผลักภาระให้ผู้บริโภคเป็นคนจ่ายนั่นเอง
ชักจะงงกันไปใหญ่ เอาว่าไม่เป็นไร มาดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่า กิจการนี้มีการซื้อสินค้ามาใน 100 บาท แล้วเอามาขายในราคา 200 บาท
ถ้าหากไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มมาเกี่ยวข้อง
จะเห็นว่ากำไรเท่ากับ 200 100 = 100 บาท
แต่ถ้าหากกิจการตามตัวอย่างมีการจดทะเบียน VAT หรือเรียกภาษากฎหมายว่าเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าในราคา 200 บาทจะกลายเป็นว่าต้องบวกเพิ่มไปอีก 7% หรือ 14 บาท รวมเป็น 214 บาท
และถ้าหากกิจการเดียวกันนี้ไปซื้อของจากธุรกิจที่จดทะเบียน VAT เหมือนกัน ของในราคา 100 บาทนั้น ก็จะกลายเป็นว่าต้องบวกเพิ่มอีก 7% หรือ 7 บาท รวมเป็น 107 บาท
ทีนี้ เมื่อมีภาษีมูลค่าเพิ่มมาเกี่ยวข้อง
กำไรของกิจการก็จะไม่เปลี่ยนหรอกนะ
มันยังเท่าเดิม คือ 100 บาทนั่นแหละ (อ้าว)
แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือ
เงิน 14 บาท นั้นจะถูกเรียกว่า ภาษีขาย
ส่วน 7 บาท นั้นจะถูกเรียกว่า ภาษีซื้อ
โดยในทุกครั้งที่ขายสินค้าให้บริการ (เป็นคนขาย)
จะต้องออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
รายละเอียดเพิ่มเติมรับชมได้ในคลิปนี้เลยจ้า
ภาษี10นาที ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT วางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี ภาษีซื้อ ภาษีขาย ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี คำนวณภาษี ความรู้ภาษี
ซีรีย์ ภาษี10นาที ซีรีย์ที่สอนเรื่องภาษีโดยพรี่หนอม TAXBugnoms เพื่อให้ความรู้ภาษีเข้าใจง่ายขึ้น ทุกวันอังคารเวลา 2 ทุ่ม เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป และจะทำจนกว่าขี้เกียจทำ 555
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

#ภาษี10นาที Ep.3 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT คืออะไร มาจากไหน คำนวณยังไง?

ลิ้นทองสองแฉก – สุ ไทรงาม【Official MV】Linthong song chaek


แม่สาลิกาลิ้นทองtiktokช่างร้ายเหลือเกินคนงามทรามวัยทำเป็นไร้เดียงสาใครจะไปคิดว่า…
MV เพลงลิ้นทองสองแฉก ศิลปิน สุ ไทรงาม
คำร้อง/ทำนอง/เรียบเรียง สุ ไทรงาม
ติดตามข่าวสาร https://www.facebook.com/SuSaiNgam

ลิ้นทองสองแฉก - สุ ไทรงาม【Official MV】Linthong song chaek

2022 NEW Mercedes MAYBACH GLS800 BRABUS +SOUND! Interior Exterior Details


I AM BACK with the allnew 2022 GLS800 Brabus Maybach based on the 2022 GLS600 Maybach on our YouTube Channel featuring stunning paintwork in Obsidian Black! 😍
In this video, we will be having a walk around showing you the Exterior and Interior Features of the allnew Brabus GLS800 Maybach 4 Matic \u0026 will also let you hear the crazy sound of this BRABUS Beauty!
BRABUS 800 THE SPIRIT OF MODERN LUXURY.
Make your mark. With the BRABUS 800, you become the main event – ready to rock the red carpet in style! The exclusive design of the BRABUS 800 is redefined by our signature exterior concept in combination with highquality carbon elements. Around the extravagant chassis, stylish aerodynamic parts like the new BRABUS front fascia and rear diffusor insert reimagine the classic Maybach looks by introducing a sense of determined athleticism. These key elements furthermore reduce axle lift at high speeds, resulting in immaculate handling stability and the smoothest driving experience achievable.
The best of both worlds – the BRABUS 800 is the ultimate combination of nextlevel luxury and staggering performance. This illustrious mega liner accelerates from 0 – 100 km/h in 4.5 seconds courtesy of its 4liter twinturbocharged V8 engine configuration producing the SUV’s namesake 588 kW / 800 hp. The 950 Nm power is transmitted instantly via a ninespeed automatic transmission, which can be shifted either automatically or manually – all at the driver’s leisure. With an electronically limited 300 km/h top speed, this sophisticated highperformer turns any tour into an unforgettable experience on the road, underlined by unparalleled comfort and striking elegance

What do you think about the 2022 Mercedes Benz Maybach Brabus GLS800 ?
Do you LIKE the look of this Beauty? Would you like to drive or get chauffeured in the GLS800 Maybach by Brabus?
Would you like to see this Brabus on the Autobahn?
Comment BELOW! ⚡
If you enjoyed our video we would love to get your feedback on our work! ❗
What else do you want to see on this channel? Which Cars do you want to see in our next videos?
Just leave some comments under the video so we can improve and work on our videos ♥️

Details about the Mercedes Benz GLS600 Maybach GLS800 Brabus for PetrolHeads:
It’s equipped with an 800 HP V8 engine which produces 950 Nm of torque SPEEDSHIFT MCT 9speed sports transmission and allwheel drive.
Brabus GLS800 0100 km/h (62mph) can be reached in 4.5 seconds!
The top speed VMAX is electronically limited to 300 km/h (186mph)
What’s the price for the Brabus GLS800 Brabus Maybach? The BRABUS GLS800 Brabus Maybach starts at 355.518,00 EUR (export price excluding VAT in Germany!).
Request NOW👇
www.Brabus.com
Check out our Instagram and TikTok channel for more Mercedes Benz / AMG \u0026 Brabus Content:
Instagram: https://www.instagram.com/mr.benz63/
TikTok: https://www.tiktok.com/@mr.benz63
Brabus BRABUSMaybach GLS800BrabusMaybach
Special Thanks to the whole Brabus Team for the access!
Check out their Instagram \u0026 Facebook Channels for the latest Brabus Updates:
www.instagram.com/theofficialbrabus/
www.instagram.com/constantin_brabus/
facebook.com/brabus/
https://shop.brabus.com/
Thank you for watching \u0026 wish you all the best!
I WILL BE BACK!
Song: Aliaksei Yukhnevich End of the Abyss (No Copyright Music)
Music provided by Tunetank.
Free Download: https://bit.ly/2xtEXR1
Video Link: https://youtu.be/hoap3gfnrgo

2022 NEW Mercedes MAYBACH GLS800 BRABUS +SOUND! Interior Exterior Details

สำนวนชวนคิด ภาษิตสอนใจ – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.4


พบสื่อการเรียนการสอนมากมายที่
http://www.kruao.com (ครูโอ๋)
สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.4
เรื่อง สำนวนชวนคิด ภาษิตสอนใจ
ถ้าสื่อนี้ดีมีประโยชน์อยากให้ช่วยกดไลค์ หรือ กดติดตามครับ
จะได้มีคนเห็นสื่อการเรียนการสอนนี้มากขึ้น
เพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการเรียนการสอน
การทบทวน เป็นสื่อการสอน เป็นสื่อการเรียน ถือว่าท่าน
ได้ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เด็กไทย หรือคนที่ยัง
ไม่รู้ว่ามีช่องเผื่อแพร่สื่อเหล่านี้ครับผม
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนวนชวนคิด ภาษิตสอนใจ - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.4

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมาย ถึง อะไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *