Skip to content
Home » [NEW] | ภาษา ประเทศ สิงคโปร์ – NATAVIGUIDES

[NEW] | ภาษา ประเทศ สิงคโปร์ – NATAVIGUIDES

ภาษา ประเทศ สิงคโปร์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

เกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์

เมืองหลวง สิงคโปร์

พื้นที่ 697.1 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาสูงที่สุดคือ Bukit Timah แม่น้ำสายหลักคือ Singapore และ Rochor สิงคโปร์มีถนน และรถไฟเชื่อมกับมาเลเซีย ณ Singapore/Johor Causeway ระยะทางประมาณ 6 กม.

ประชากร 4.2 ล้านคน (ชาวจีน 76% ชาวมาเลย์ 13.7% ชาวอินเดีย 8.4% และอื่นๆ 1.9% ) ซึ่งอยู่กันโดยไม่มีปัญหา ความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นประเทศในเอเชียที่มีการวางแผนครอบครัวได้ดีมาก จนทำให้จำนวนประชากรลดลง และก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต

ภาษา ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ จีนกลาง ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน

ศาสนา 51% นับถือศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและขงจื๊อ 15% นับถือศาสนาอิสลาม 4% นับถือศาสนาฮินดู 15% นับถือศาสนาคริสต์ และร้อยละที่เหลือคือลัทธิอื่นๆ

การปกครอง ระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภามีวาระคราวละ 5 ปี นโยบายต่างประเทศสิงคโปร์เน้นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ

อากาศ ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส

สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของสิงคโปร์ คล้ายกับประเทศไทย คือ เป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปีเนื่องจากอิทธิพลทางทะเลและที่ตั้งของประเทศ

เศรษฐกิจ
สิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เช่นเดียวกับ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก คือ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ พลังงาน ( 40% ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร นอกจากนั้น การท่องเที่ยวก็นำรายได้เข้าประเทศมากเช่นกัน

สังคม
ชาวสิงคโปร์ถือว่ามาตรฐานการครองชีพของตนดีกว่าประเทศอื่น แต่ขณะเดียวกันความกลัวในจิตใจ คือ กลัวความล้มเหลวกับกลัวการเสียเปรียบ

-หน่วยราชการของสิงคโปร์มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในการทำงาน โดยมีเวลาทำงาน จันทร์-ศุกร์ 08.30-13.00 และ 14.00-16.30 น. และเสาร์ 08.00-13.00 น.
-การบริการทางการแพทย์ในสิงคโปร์แพงกว่าประเทศไทยมาก และการซื้อยารักษาโรคประเภทยาปฏิชีวนะและยาอันตราย จะต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ยารักษาโรคพื้นฐานสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ลักษณะภูมิอากาศของสิงคโปร์ คล้ายกับประเทศไทย คือ เป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปีเนื่องจากอิทธิพลทางทะเลและที่ตั้งของประเทศสิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เช่นเดียวกับ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก คือ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ พลังงาน ( 40% ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร นอกจากนั้น การท่องเที่ยวก็นำรายได้เข้าประเทศมากเช่นกันชาวสิงคโปร์ถือว่ามาตรฐานการครองชีพของตนดีกว่าประเทศอื่น แต่ขณะเดียวกันความกลัวในจิตใจ คือ กลัวความล้มเหลวกับกลัวการเสียเปรียบโดยมีเวลาทำงาน จันทร์-ศุกร์ 08.30-13.00 และ 14.00-16.30 น. และเสาร์ 08.00-13.00 น.และการซื้อยารักษาโรคประเภทยาปฏิชีวนะและยาอันตราย จะต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ยารักษาโรคพื้นฐานสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

การศึกษาต่อในประเทศสิงคโปร์

ระบบการศึกษาในประเทศสิงคโปร์
การศึกษา
สิงคโปร์มีระบบการศึกษาที่เป็นเลิศประเทศหนึ่งของโลก ทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งเป็นชั้นประถมศึกษาใช้ระยะเวลา 6 ปี และมัธยมศึกษาใช้ระยะเวลา 4 ปี จากนั้น ต่อด้วยการเรียนในระดับสูงขึ้น เช่น โปลีเทคนิค จูเนียร์คอลเลจ และมหาวิทยาลัย และการที่จะได้คัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนสิงคโปร์นั้น นักเรียนจำเป็นจะต้องทำการสอบเพื่อประเมินผลโดยการสอบเข้าโรงเรียนนั้น นักเรียนจำเป็นต้องสอบภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เป็นวิชาหลัก และอาจมีการทดสอบภาษาจีน ขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่นักเรียนต้องการสอบเข้า และสำหรับนักเรียนต่างชาติที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในประเทศสิงคโปร์จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา (Donations) ให้กับกระทรงศึกษาธิการของสิงคโปร์ เป็นจำนวนเงิน S$1,000 ทุก ๆ 2 ปี สำหรับเงินบริจาคนี้ไม่สามารถขอคืนได้

ทำไมถึงเลือกเรียนที่ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลีย อเมริกา อังกฤษทั้งด้านการเรียน และ ค่าที่อยู่อาศัย ค่าตั๋วเครื่องบิน และยังสะดวกในการเดินทาง เนื่องจาก ประเทศสิงคโปร์อยู่ใกล้กับประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาการบินเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น และนอกจากนี้ การที่ได้ไปศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ นักเรียนยังได้เรียนรู้ถึง 2 ภาษา ซึ้งมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และสามารถเลือก ภาษาจีน,ภาษามาเลย์และทมิฬภาษาใดภาษานึ่งเป็นภาษารอง

การศึกษาในระดับประถมศึกษา (Primary Schools)
ระบบการศึกษาในระดับประถมศึกษาที่สิงคโปร์นั้นจะแบ่งการสอนออกเป็น 2 ช่วง คือ เช้า และบ่าย การรับสมัครนักเรียนใหม่จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโรงเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4 (fouryear foundation stage) จะเน้นการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน (แมนดาริน) หรือภาษาทมิฬ, คณิตศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี พลศึกษา ในการเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 -6 (Two-year orientation stage) นักเรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 3ระดับ จากผลการสอบของ ประถมศึกษาปีที่ 4 คือ EM1 EM2 EM3 โดยลักษณะการเรียนของวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาแม่นั้นจะต่างกันนักเรียนจะต้องสอบวัดระดับเมื่อจบ ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียกกันว่า Primary School Leaving Examination (PSLE).เพื่อวัดระดับว่านักเรียนจะต้องเรียนในชั้นมัธยมเป็นระยะเวลา 4 ปี หรือ 5 ปี

การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา(Secondary School)
โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบและจะมีหลักสูตรแตกต่างกันไปทั้งนี้ นักเรียนจะถูกเลือกให้อยู่ระบบใดระบบหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับผลการสอบ PSLE ของนักเรียนแต่ละคน ระบบที่ใช้ระยะเวลา 4 ปี จะเรียกว่า Special and Express Courses ซึ้งการเรียนการสอนนั้นจะเน้นการเตรียมตัวให้นักเรียนสอบ The Singapore-Cambridge General Certificate of Education Ordinary (GCE O) ตอนจบมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ ระบบที่ใช้ระยะเวลา 5 ปี คือ Normal Course แบ่งการเรียนการสอนเป็น Academic และ Technical และเมื่อนักเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education Normal(GCE N)

สำหรับนักเรียนที่สอบได้คะแนนดี สามารถเรียนต่อ ปีที่ 5 เพื่อสอบ GCE O ต่อไป แต่สำหรับนักเรียนที่สอบได้คะแนน GCE N ไม่ดี ก็สามารถเรียนต่อในทางด้านเทคนิค ITE. หลังจากนักเรียน จบการศึกษาในระดับมัธยมนักเรียนสามารถที่จะเลือกเรียนในขั้นอุดมศึกษาต่อไป
เตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (Junior College หรือ Pre University)สำหรับนักเรียนที่ได้ผ่านการทดสอบ GCE O Level เรียบร้อยแล้วและมีความประสงค์ที่จะเลือกเรียนต่อที่ Junior College ใช้ระยะเวลา 2 ปี หรือ หลักสูตรเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (Pre-university) ใช้ระยะเวลา 3 ปี เพื่อการเตรียมพร้อมสอบ GCE A Level เมื่อสอบผ่านนักเรียนถึงจะสามารถเข้าเรียนต่อในระดับชั้นมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วโลก สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่าน GCE A Level ก็สามารถที่จะเลือกเรียนต่อโปลีเทคนิค

โปลีเทคนิค (Polytechnics)
เป็นโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพโดยมีสาขาให้เลือกมากมายอาทิเช่น วิศวกรรม, ธุรกิจ, สื่อสารมวลชน ฯลฯ สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถจบออกมาทำงานได้เลย โดยหลักสูตรนี้จะใช้เวลาเรียน 3 ปี

การศึกษาสำหรับสาขาวิชาช่าง Institutes of Technical Education (ITE)
เป็นโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาช่าง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะทางด้านการปฏิบัติและวิชาการ และสำหรับนักเรียนที่มีเกณฑ์คะแนนดี สามารถเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนโปลีเทคนิค หรือมหาวิทยาลัยแล้วแต่ความประสงค์

ค่าใช้จ่าย

ค่าครองชีพ
มาตรฐานคุณภาพชีวิตของสิงคโปร์อยู่ในระดับต้นๆของเอเชีย เทียบกับประเทศอื่นๆในตะวันตกแล้วค่าครองชีพที่สิงคโปร์นับว่าไม่สูงมากนัก ราคาสินค้าพื้นฐานอย่างอาหาร หรือเสื้อผ้าก็นับว่าสมเหตุสมผล

นักเรียนต่างชาติในสิงคโปร์มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 750 ถึง 2,000 เหรียญสิงคโปร์ ต่อเดือน ซึ่งอาจต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์และหลักสูตรวิชาที่เลือกเรียนของแต่ละคน

ข้อมูลจำเพาะ

เวลา
เวลาของสิงคโปร์เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง (GMT +8.00)

ไฟฟ้า
สำหรับกระแสไฟทางสิงคโปร์ใช้เหมือนบ้านเราคือ 220 โวลต์ แต่ความแตกต่างนั้นคือ สิงคโปร์ใช้เต้าเสียบแบบ 3 ขา (บ้านเราใช้ 2 ขา) ฉะนั้นอย่าลืมว่า ต้องนำปลั๊กต่อไปด้วย

สกุลเงินตรา
หน่วยเงินตราของสิงคโปร์คือ ดอลลาร์ (Singapore Dollar) โดยแบ่งค่าเงินต่าง ๆ ออกเป็นดังนี้ ธนบัตรมูลค่า S$2, S$5, S$10, S$20, S$50, S$100, S$500, S$1,000 และ S$10,000 เงินเหรียญมีตั้งแต่ 1, 5, 10, 20 และ 50 เซนต์ รวมถึง S$ 1

กฎหมาย
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานในเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด ประชากรมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูง เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีกฎหมายลงโทษร้ายแรง คือ การประหารชีวิต หรือโทษจำคุกระยะยาว เช่น ที่สิงคโปร์นั้น ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนปรับถึง S$1,000 การทิ้งเศษขยะลงพื้น ฝ่าฝืนครั้งแรกถูกปรับ S$1,000 ครั้งต่อไป S$2,000 และต้องทำความสะอาดในที่สาธารณะด้วย กฎหมายนี้รวมถึงการห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ และห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งด้วยดังนั้น ไม่ควรนำหมากฝรั่งไปที่สิงคโปร์ การเสพหรือจำหน่ายยาเสพติดในประเทศสิงคโปร์นั้นมีความผิดขั้นร้ายแรงถึงประหารชีวิต

แหล่งท่องเที่ยว
สิงคโปร์มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายเช่น การ Shopping ทีเป็นความฝันของใครหลายๆ คน ที่มาเยือน สิงคโปร์ ย่าน ศูนย์กลาง การชอปปิ้งของ ประเทศสิงคโปร์ คือ ถนน ออชาร์ด Orchard Road มีแหล่ง Shopping ที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีสินค้าให้คุณจับจ่ายสินค้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้สิงคโปร์เป็นสถานที่ที่น่าประทับใจ และจะไม่มีวันลืม และนอกจากนั้นยังมีสถานที่ต่างๆที่น่าสนใจ อาทิเช่น Singapore Zoological Gardens เป็นสวนสัตว์มาตรฐานระดับโลก ซิ้งถูกสร้างและปรับปรุง ให้กลมกลืนใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด Night Safari เป็นสวนสัตว์เปิดที่บริการทุกวัน

ตั้งแต่เวลา ทุ่มครึ่งไปจนถึงเที่ยงคืน คุณจะเพลิดเพลิน กับชีวิตสัตว์ป่าอย่างใกล้ชิดกับการนั่งรถราง ชมสัตว์ ที่ออกหากินยามค่ำคืน มากกว่า 100 ชนิดSentosa Island เกาะเซนโตซ่า เป็นสถานท่องเที่ยวที่สร้างความสนุกสนานและความประทับใจ ให้กับทุกเพศทุกวัย โดยการเดินทางไปเกาะเซนโตซ่านั้นมีด้วยกัน 3 วิธี คือทางเรือเฟอร์รี่ รถยนต์ และกระเช้าลอยฟ้า Singapore Botanic Garden เป็นสวนพฤกษชาติที่มีพันธุ์พืชหลากหลายชนิดและ พืชที่หาดูได้ยาก โดยเฉพาะสวนเพาะกล้วยไม้ ที่มีกล้วยไม้ถึง 20,000 ต้นและเหตุนี้เองจึงเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
(Royal Thai Embassy)
370 ถนนออร์ชาร์ด (Royal Thai Embassy,370 Orchard Road, Singapore 238870)
โทรศัพท์ (65) 6737-2644, 6737-2158
โทรสาร (65) 6732-0778, 6835-4991
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์
แผนกวีซ่า

เปิดทำการเพื่อรับยื่นเรื่องขอประทับตราวีซ่า เวลา 9.15-12.15 น.
เปิดทำการเพื่อขอรับเอกสารเดินทางพร้อมตราประทับวีซ่าคืน เวลา 14.00-16.30 น.
แผนกหนังสือเดินทาง
เปิดทำการเพื่อรับยื่นเรื่องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางไทย เวลา 9.15-12.15 น.
เปิดทำการเพื่อขอรับหนังสือเดินทางคืน เวลา 14.00-16.30 น.

การขอวีซ่าสิงคโปร์(Singapore Visa)

เอกสารที่ใช้ประกอบการขอ VISA นักเรียนของประเทศสิงคโปร์ มีดังนี้

1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. กรอกแบบฟอร์ม (Form16, V36, และ V39S) อย่างละ 2 ชุด
4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 6 ใบ
5. กรอกแบบฟอร์ม (V36A) ให้ครบถ้วน และ ลายเซ็นรับรองจากทางโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย
6. สำเนาหน้าพาสปอร์ตที่ยังไม่หมดอายุ
7. สำเนาสูติบัตร แปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมประทับตรากระทรวงต่างประเทศ
8. Transcript จาก โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย (ภาษาอังกฤษ)
9. ใบจบการศึกษาที่ออกโดยมหาวิทยาลัย หรือหนังสือรับรองการศึกษาจากโรงเรียน (ภาษาอังกฤษ)
10. หนังสือรับรองการทำงาน
11. สำเนาเอกสารหลักฐานทางการเงินที่ออกโดยทางธนาคาร/ สมุดบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
12. รายชื่อทั้งหมดของทุกคนในครอบครัว และ พี่น้อง พร้อมที่อยู่ และวันเดือนปีเกิด
13. กรณีที่ท่านมีญาติอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
– สำเนาเอกสารหลักฐานการลำดับขั้นญาติ พี่น้อง เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า และใบสมัครขอเป็นผู้ดูแล
– สำเนาเอกสารใบรับรองการศึกษาระดับสูงสุดของญาติ
– จดหมายรับรองการทำงานจากนายจ้างของญาติ โดยระบุ ถึงการเริ่มเข้าทำงาน, ตำแหน่งงาน และ เงินเดือน หรือ กรณีที่ญาติของท่านเป็นเจ้าของกิจการในประเทศสิงคโปร์ เอกสารหลักฐานที่ต้องแสดง คือ ใบจดทะเบียนการค้า โดยเอกสารเหล่านี้ต้องออกมาไม่น้อยกว่า 1 เดือน
– หลักฐานทางการเงิน Statement ย้อนหลัง 1 ปี
– สำเนาเอกสารแสดงรายได้ / การเสียภาษี ของญาติ ย้อนหลัง 3 ปี

กรณีที่ท่านมีคู่สมรสอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
– สำเนาใบทะเบียนสมรส/ใบหย่า
– สำเนาเอกสารใบรับรองการศึกษาระดับสูงสุดคู่สมรส
– จดหมายรับรองการทำงานจากนายจ้างของญาติ โดยระบุ ถึงการเริ่มเข้าทำงาน, ตำแหน่งงาน และ เงินเดือน หรือ กรณีที่ญาติของท่านเป็นเจ้าของกิจการในประเทศสิงคโปร์ เอกสารหลักฐานที่ต้องแสดง คือ ใบจดทะเบียนการค้า โดยเอกสารเหล่านี้ต้องออกไม่น้อยกว่า 1 เดือน
– หลักฐานทางการเงิน Statement ย้อนหลัง 1 ปี
– สำเนาเอกสารแสดงรายได้ / การเสียภาษี ของคู่สมรส ย้อนหลัง 3 ปี
การขอวีซ่า
คนไทยที่ต้องการเดินทางเข้าสิงคโปร์ในฐานะนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องขอวีซ่าสามารถอยู่ได้ 14 วัน แต่สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะอยู่มากกว่า 14 วัน หรือ เข้าศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์การดำเนินการเรื่องวีซ่าจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้ (เอกสารทุกอย่างต้องเป็นตัวจริง พร้อมสำเนาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ)

เอกสารสำคัญในการยื่นคำร้องขอวีซ่า
1. สูติบัตร ของนักเรียน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน ของนักเรียน ผู้ปกครองทั้งบิดาและมารดา
3. ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุลของนักเรียน (ถ้ามี)
4. ใบสำคัญทะเบียนสมรส หรือใบหย่า หรือใบรับรองบุตร ของบิดา มารดา (สำหรับนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี)
5. หลักฐานการศึกษา
6. รูปถ่ายขนาดพาสปอร์ตจำนวน 4 ใบ *** การขอวีซ่านักเรียนจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์

วีซ่า สิงคโปร์
แนะแนว ศึกษาต่อประเทศสิงคโปร์ บริการ การขอวีซ่าประเทศสิงคโปร์ สมัครเรียนได้ที่ 02 641-4748

[NEW] | ภาษา ประเทศ สิงคโปร์ – NATAVIGUIDES

“เราจะมอบการศึกษาที่สมดุลและรอบด้านให้แก่เด็กๆของเรา เพื่อช่วยให้พวกเขาค้นพบความสามารถพิเศษของตนเอง ตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง และหล่อเลี้ยงให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่พร้อมอุทิศตน” นี่คือพันธกิจของกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ … ทั้งนี้ความสำเร็จในด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของสิงคโปร์นั้นเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ เห็นได้จากสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top 50 ของโลก และ Top 10 ของทวีปเอเชีย (ข้อมูลปี 2015) จึงเป็นที่น่าสนใจว่าระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์นั้นมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างไรบ้าง และเราสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

“ทำลายกำแพงภาษาและวัฒนธรรม” เป็นนโยบายการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมและพัฒนาอัตลักษณ์ของชาติผ่านระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 1959 โดยสนับสนุนให้เกิดการศึกษาในรูปแบบพหุภาษา แต่เหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงสำคัญส่วนใหญ่ในระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษานั้น เริ่มต้นขึ้นภายหลังปี ค.ศ.1965 ซึ่งเป็นปีที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากสมาพันธรัฐมาเลเซียและประกาศตนเป็นรัฐอิสระ ในปี 1966 โดยรัฐบาลมีการนำนโยบายสองภาษา (Bilingual policy) มาใช้ในระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ และมีก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ขึ้นในปี 1980 ซึ่งเกิดจากการควบรวมของสองมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์และมหาวิทยาลัยนันยาง และต่อมาในปี 2006 กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ได้เริ่มนโยบาย “Teach Less, Learn More (TLLM)” ที่มุ่งเน้นหลักการพื้นฐานของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนมีส่วนร่วม และมีการพัฒนาการแบบองค์รวมมากกว่าการเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบาย “THINKING GLOBAL, STAYING CONNECTED TO SINGAPORE” เพื่อสร้างสิงคโปร์ให้เป็นเมืองหลวงของโลก (Global City) ในขณะที่ประชากรยังมีความผูกพันกับสิงคโปร์และเห็นสิงคโปร์เป็นบ้านของตนเอง

ทั้งนี้ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านของการพัฒนาการศึกษาของประเทศสิงคโปร์หลังจากการได้รับเอกราชนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงหลัก ซึ่งนโยบายด้านการศึกษาของสิงคโปร์ได้อิงตามเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กล่าวคือ
1) ช่วงการพัฒนาการศึกษาเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ (Survival Economics, Survival-Driven Education) จากปี ค.ศ. 1965 – 1978
2) ช่วงการพัฒนาการศึกษาโดยเน้นประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Through Efficient-Driven Education) จากปี ค.ศ. 1978 – 1997
3) ช่วงการพัฒนาการศึกษาโดยเน้นความสามารถเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจองค์ความรู้ (Toward a Knowledge-Based Economy Through Ability-Driven Education) จาก ปี ค.ศ. 1997 – ปัจจุบัน

การพัฒนาการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ในแต่ละช่วงนั้น ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาในภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา นโยบายด้านการศึกษาจะมีการปรับเปลี่ยน เพื่อจุดหมายในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ ดังนั้น ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ จึงมุ่งเป้าเพื่อสร้างทรัพยากรบุคคล (Human Resources) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ โดยมีแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development – HRD) อย่างชัดเจน กล่าวคือ มีการวางโครงสร้างระบบการศึกษาอยู่บนพื้นฐานแนวคิดการพัฒนาบุคคลตามความสามารถ (Meritocracy) และระบบคัดสรรต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดกลุ่มผู้เรียนไปตามสถาบันการศึกษาที่เหมาะสมกับความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันอาชีวะศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษา โดยหลักสูตรที่มีการเปิดสอนล้วนเป็นไปเพื่อการตอบสนองความต้องการทรัพยากรบุคคลของประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยสามารถนำพัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ มาเป็นแนวทางปรับใช้ในเชิงนโยบายได้ ดังนี้

1) การเปลี่ยนค่านิยมทางการศึกษาโดยมุ่งเน้นการพัฒนาแรงงานหรือทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในฐานะปัจเจกบุคคลที่พร้อมตอบสนองบริบทการพัฒนาและความท้าทายของประเทศ

กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ได้พัฒนาระบบการศึกษาโดยมุ่งเน้นการตอบสนองการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงมีการวางนโยบายเพื่อพัฒนาแรงงานให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นปัจเจกและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนอย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากมีแรงจูงใจจากแนวคิด Meritocracy ซึ่งประเทศไทยสามารถพัฒนาแนวคิดเช่นนี้มาเป็นแนวทางในการวางนโยบายการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นปัจเจก การคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล และปรับค่านิยมทางการศึกษา โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเองของปัจเจกบุคคล การศึกษาจึงไม่ใช่สัญลักษณ์แสดงชนชั้นหรือสถานะทางสังคม หากแต่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่โอกาสในการทำงานและความเจริญก้าวหน้าแบบยั่งยืน

ประเทศสิงคโปร์ ระบุเป้าประสงค์หลักของการศึกษาแต่ละช่วงชั้น (The Key Stage Outcomes of Education) ไว้ โดยเมื่อนักเรียนจบระดับประถมศึกษา ต้อง “รู้จักและรักประเทศสิงคโปร์” หลังจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาต้อง “เชื่อมั่นในสิงคโปร์และเข้าใจว่าอะไรสำคัญต่อประเทศ” และภายหลังจบระดับอุดมศึกษา ต้อง “ภาคภูมิใจในความเป็นสิงคโปร์และเข้าใจความสัมพันธ์ของสิงคโปร์กับโลก” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้และเข้าใจในอัตลักษณ์ของตน พร้อมไปกับการตระหนักถึงความสัมพันธ์ของท้องถิ่นตนกับความเป็นโลก ประเทศไทยสามารถนำกระบวนทัศน์นี้มาปรับใช้ในการกำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาแต่ละช่วงชั้นและวางแผนการสอนได้

2) ระบบการคัดสรรและสนับสนุนบุคคลตามความสามารถ (Meritocracy)

หลักการคัดสรรและพัฒนาบุคคลตามความสามารถ (Meritocracy) เป็นคุณค่าที่ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอยากพัฒนาตนเองให้มีความสามารถ เนื่องจากมองเห็นผลตอบแทนของการพัฒนาตนเองอย่างเป็นรูปธรรม แนวคิดนี้อยู่พื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนจะได้รับโอกาสทางการศึกษาโดยทั่วถึง เนื่องจากเป็นระบบการคัดสรรตามความรู้และความสามารถที่ปราศจากอคติ ประเทศไทยสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ในการจัดการการศึกษา โดยเพิ่มทางเลือกในการเรียนตามความถนัดและความสามารถ และกระตุ้นภาคเศรษฐกิจเพื่อสร้างงานรองรับผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา และอุดมศึกษา จัดหลักสูตรแยกตามความสามารถของผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาได้เต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น

3) การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษามุ่งสู่ระดับสากล

ประเทศไทยสามารถนำสูตรสำเร็จของสิงคโปร์ ที่มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การดึงดูดผู้มีทักษะความสามารถเข้าสู่การเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา, การพัฒนาหลักสูตรที่ท้าทาย และการสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับการศึกษา มาปรับใช้ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยการสร้างความร่วมมือและดึงสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกให้เข้ามาเปิดหลักสูตรในประเทศไทย วางแผนงบประมาณในการสนับสนุนบุคลากรในสถาบันการศึกษา เพิ่มอัตราค่าจ้างเพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทั้งรชาวไทยและต่างชาติที่มีความสามารถโดดเด่นหรือมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติที่มีความสามารถโดดเด่น เพิ่มงบประมาณในการพัฒนาและจัดทำหลักสูตรสาขาใหม่ที่สอดคล้องกับแนวโน้มความสนใจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและโลก รวมไปถึงเน้นการสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน โดยนำแนวคิดการพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจในการศึกษา

4) การกำหนดนโยบายเพื่อผสานความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ พหุวัฒนธรรม และระบบการศึกษาสองภาษา

ภาวะพหุวัฒนธรรม พหุภาษา และการจัดการความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของสิงคโปร์ นำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรในการสร้างระบบการศึกษาที่เป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ซึ่งคือการศึกษาในระบบทวิภาษา การที่รัฐเล็งเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะหนึ่งในห่วงโซ่สำคัญที่เชื่อมโยงผู้คนในสังคมพหุวัฒนธรรม รวมทั้งเป็น “ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ” ที่มีมูลค่าสูงในเชิงพาณิชย์ทั้งในประเทศสิงคโปร์และระดับสากล ถือเป็นมุมมองที่ประเทศไทยสามารถนำมาพิจารณาในการวางนโยบายสำหรับการพัฒนาการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาและความรอบรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในสำคัญในการทำงาน และเป็นช่องทางในการ “เชื่อมโยง” ความเป็นไทยกับความเป็นสากล

การสอนสองภาษาของสิงคโปร์นับว่าเป็นนโยบายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการทำให้พลเมืองสิงคโปร์มีโอกาสทั้งด้านการศึกษา การทำงาน และช่วยให้พลเมืองสิงคโปร์เข้าใจอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากตนเอง ซึ่งทักษะนี้เป็นทักษะที่จำเป็นมากต่อสังคมโลกาภิวัตน์ ผู้บริหารการศึกษาในประเทศไทยสามารถศึกษาแนวทางเพิ่มเติมจากสิงคโปร์ได้ ทั้งในแง่ของการวางหลักสูตร การจัดกิจกรรม และการบริหารจัดการให้สถานศึกษามีส่วนช่วยในการสร้างค่านิยมให้กับพลเมืองไทยที่จะยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

อ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “การพัฒนาประเทศสิงคโปร์: กระบวนการ การเปลี่ยนผ่าน และความท้าทาย”

หัวหน้าโครงการ : เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี
สนับสนุนโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เรียบเรียง

บุษยา เกรย์

กราฟิก

พิชญาภา นาคทับที


ทำไม Binance ยกเลิกบริการภาษาไทย กระทบใครบ้าง?


ถามทันที คริปโต ทำไม Binance ยกเลิกบริการภาษาไทย แล้วกระทบใครบ้าง?
ถามอีก กับ พี่บิท คุณศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย bitcast
และพี่ซันเจ คุณสัญชัย ปอปลี Cofounder, Cryptomind Asset CEO
โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT ที่ปรึกษาการเงิน
สัมภาษณ์วันที่ 13 พ.ย. 2564

ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ ติดตามกันได้ในทุกช่องทางคร้าบ:
Youtube: http://bit.ly/TAMEIG_Youtube
Clubhouse: https://bit.ly/3mmJgVA
Line Official: http://bit.ly/TAMEIG_LINE
Twitter: https://bit.ly/2UFAczy

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ทำไม Binance ยกเลิกบริการภาษาไทย กระทบใครบ้าง?

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศพม่า


เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศพม่า ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียน ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2012
เพลงประกอบชื่อ Min Atwat So Yin ครับ
อยู่ที่ http://www.youtube.com/watch?v=3FsTOuRjhg0

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศพม่า

เรียนรู้อาเซียน ประเทศสิงคโปร์ (singapore)


ASEAN

เรียนรู้อาเซียน ประเทศสิงคโปร์ (singapore)

อาเซียน ประเทศสิงคโปร์


อาเซียน ประเทศสิงคโปร์

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ 🇸🇬 | punpunita


อะไรที่เหมือนกัน อะไรที่แตกต่าง
ควรมามั้ย จะคิดถึงบ้านหรือเปล่า?
🚩 More:
YouTube : punpunita
Tiktok : punpunnita
Instagram : punpunita
Facebook : punpunita
ประเทศสิงคโปร์ Singapore punpunita

🎵
Song: Erik Lund Summertime (Vlog No Copyright Music)
Music promoted by Vlog No Copyright Music.
Video Link: https://youtu.be/E338aF6QHu8

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ 🇸🇬 |  punpunita

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ภาษา ประเทศ สิงคโปร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *