Skip to content
Home » [NEW] บทที่ 4 หนังสืออ้างอิง | ความ หมาย ของ คำนำ – NATAVIGUIDES

[NEW] บทที่ 4 หนังสืออ้างอิง | ความ หมาย ของ คำนำ – NATAVIGUIDES

ความ หมาย ของ คำนำ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

หัวข้อเนื้อหา
หนังสืออ้างอิง
1. ความหมายและลักษณะของหนังสืออ้างอิง
2. เครื่องมือช่วยค้นในหนังสืออ้างอิง
3. วิธีใช้หนังสืออ้างอิง
4. ประเภทของหนังสืออ้างอิง
4.1 พจนานุกรม
4.2 สารานุกรม
4.3 นามานุกรม 
4.4 อักขรานุกรมชีวประวัติ 
4.5 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ 
4.6 หนังสือคู่มือ
4.7 หนังสือรายปี
4.8 ปฏิทินเหตุการณ์รายปี หรือ สมพัตสร
4.9 สิ่งพิมพ์รัฐบาล
4.10 หนังสือบรรณานุกรม
4.11 หนังสือดัชนี
5. การเลือกใช้หนังสืออ้างอิง
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายความแตกต่างระหว่างหนังสืออ้างอิงกับหนังสือทั่วไปได้
2. สามารถบอกประเภทหนังสืออ้างอิงเพื่อตอบปัญหาที่ต้องการได้
3. อธิบายขอบเขตเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทได้
4. สามารถบอกประเภทเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศในหนังสืออ้างอิงได้
5. สามารถใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศในหนังสืออ้างอิงได้
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 การบรรยายประกอบการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
1.2 นำชมหนังสืออ้างอิง ในสำนักวิทยบริการฯ
1.3 อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2.2 ศึกษาเอกสารประกอบการสอนประจำบท
2.3 สำรวจหนังสืออ้างอิงในสำนักวิทยบริการและตอบคำถามตามใบงาน
2.4 แนะนำหนังสืออ้างอิงตามความสนใจ  แสดงตัวอย่างคนละ 1 ชื่อเรื่อง
2.5 สรุปเพิ่มเติมสาระสำคัญ
2.6 ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. สไลด์มัลติมีเดียประกอบการบรรยาย
3. ตัวอย่างหนังสืออ้างอิง
4. ใบงานฝึกปฏิบัติการ ได้แก่
4.1 แบบทดสอบการเลือกใช้หนังสืออ้างอิง
4.2 ใบงานฝึกปฏิบัติการสำรวจหนังสืออ้างอิง
4.3 ใบงานฝึกปฏิบัติการแนะนำหนังสืออ้างอิง
4.4 ใบงานฝึกปฏิบัติการสรุปหนังสืออ้างอิงที่น่าสนใจ
5. คำถามท้ายบทเรียน
การวัดผล
1. สังเกตความสนใจในการเข้าชั้นเรียน
2. สังเกตความสนใจในการฝึกปฏิบัติ
3. สังเกตการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
4. การตรวจใบงานและแบบฝึกหัด

บทที่ 4
หนังสืออ้างอิง

เนื้อหาในบทนี้ครอบคลุมถึง    ความหมายและลักษณะของหนังสืออ้างอิง  ประเภทของหนังสืออ้างอิง  เครื่องมือช่วยค้นในหนังสืออ้างอิง    วิธีใช้หนังสืออ้างอิง  และประเภทของหนังสืออ้างอิง   พร้อมทั้งตัวอย่างหนังสืออ้างอิงที่น่าสนใจ   รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้หนังสืออ้างอิง  เพื่อให้ได้สารสนเทศอ้างอิงที่ตรงกับความต้องการ  

ความหมายและลักษณะของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ  เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดเล่ม   ห้องสมุดมักจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงไว้ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า  โดยให้สัญลักษณ์ตัวอักษร อ. (ย่อมาจาก อ้างอิง) หรือ R (ย่อมาจาก Reference)  กำกับไว้ที่สันของหนังสือ
หนังสืออ้างอิงมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากหนังสือทั่วไป ทั้งลักษณะรูปเล่มและเนื้อหา   ประภาส ภาวินันท์ (2542)  กล่าวถึงลักษณะของหนังสืออ้างอิงไว้ ดังนี้
1.  ลักษณะรูปเล่มของหนังสืออ้างอิงมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทของหนังสืออ้างอิง เช่น
1.1  ขนาดใหญ่มาก หรือขนาดเล็กมาก ได้แก่หนังสือพจนานุกรม จัดทำรูปแบบให้เหมาะสมกับการใช้ เช่น ฉบับนักเรียนนักศึกษา ฉบับตั้งโต๊ะ ฉบับย่อ ฉบับสมบูรณ์
1.2  แต่ละชุดมีหลายเล่ม ได้แก่ หนังสือสารานุกรม เนื่องจากมีการรวบรวมเนื้อหาทุกเรื่องทำให้เนื้อหายาว จำเป็นต้องทำหลายเล่ม
1.3  มีการจัดทำด้วยวัสดุต่าง ๆ หลากหลาย เช่น ทำปกด้วยหนัง ผ้า ผ้าไหมผ้าแรกซีน กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อหามีคุณภาพสูง
2. ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ เป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ ผู้เขียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ โดยเฉพาะ หนังสืออ้างอิงจึงเป็นหนังสือที่มีคุณภาพสูง เนื้อหาเชื่อถือได้ และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
3.  การเรียบเรียงเนื้อหา การเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง จะมีวิธีการเรียงลำดับเนื้อหาให้ค้นได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว เช่น
3.1  เรียงตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม (alphabetical or dictionary arrangement) เช่น หนังสือพจนานุกรม สารานุกรม เป็นต้น
3.2  เรียงตามลำดับเหตุการณ์ เช่น หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หนังสือรายปี  หนังสือสมพัตสร เป็นต้น
3.3  การเรียงตามลำดับหมวดหมู่หรือหัวเรื่อง (classified or subject arrangement) เช่น หนังสือบรรณานุกรม ดรรชนีวารสาร เป็นต้น
3.4  เรียงตามลักษณะภูมิศาสตร์ (geographical arrangement) ได้แก่หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ที่มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ และในแต่ละภูมิภาคจะเรียงเนื้อหาตามจังหวัดและอำเภอตามลำดับ
4.  มีคำชี้แจงการใช้ หนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทมักมีการจัดเรียงเนื้อหาหรือการรวบรวมข้อมูลต่างกัน ดังนั้นจึงมีการจัดพิมพ์คำแนะนำในการใช้หนังสือไว้ตอนต้นของหนังสือแต่ละเล่ม เช่น อธิบายวิธีการเรียงลำดับเนื้อหาภายในเล่ม อักษรย่อ (abbreviations)  สัญลักษณ์ (symbols)  เครื่องหมาย (sins)  ที่ใช้ในเล่ม ขอบเขตของเนื้อหา เป็นต้น
5.  จัดทำเครื่องมือช่วยในการค้นภายในเล่มหรือในชุด  ได้แก่  สารบัญ  คำนำทาง  ดัชนีริมหน้ากระดาษ  อักษรนำเล่ม  ส่วนโยง  และดัชนี  เป็นต้น

เครื่องมือช่วยค้นในหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงนอกจากจะเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบแล้ว  ยังจัดทำเครื่องมือช่วยค้นเพื่อให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้รวดเร็ว  ได้แก่
1. สารบัญ  (content)   ทำหน้าที่ชี้บอกหัวข้อเรื่องในเล่มว่าอยู่หน้าใด  อีกทั้งช่วยให้ผู้ค้นคว้าเห็นขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมถึงเรื่องใดบ้าง  สารบัญที่บ่งบอกหัวเรื่องใหญ่   หัวเรื่องรอง และหัวเรื่องย่อยอย่างละเอียดจะช่วยให้ผู้ค้นคว้าเข้าถึงเนื้อหาในเล่มได้ดีกว่าสารบัญที่มีแต่เฉพาะหัวเรื่องใหญ่
2. คำนำทาง (guide words)  จะปรากฏอยู่ที่มุมด้านบนของหน้ากระดาษ  เพื่อบอกให้ทราบว่าเนื้อหาที่หน้านั้นขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตั้งแต่ตัวใดถึงตัวใด  ดูตัวอย่างหน้าดัชนีในภาพที่ 4.1
ภาพที่ 4.1  คำนำทางที่มุมด้านบนของหน้ากระดาษ 
ที่มา : The New Encyclopedia Britannica, 1993. 
3. ดัชนีริมหน้ากระดาษ หรือดัชนีหัวแม่มือ (thumb indexs)   จะปรากฏอยู่ที่ขอบหนังสือ  ซึ่งอาจจะใช้ตัวอักษร แถบสีเป็นสัญลักษณ์เพื่อบอกช่วงของเนื้อหาแต่ละตอน  ช่วยให้ผู้ค้นคว้าเปิดหาคำได้ทันที  หนังสืออ้างอิงที่ทำดัชนีริมหน้ากระดาษมักเป็นหนังสือรวมเรื่องหรือมีเนื้อหาสั้น ๆ หลายเรื่อง เช่น  สารานุกรม  พจนานุกรม ดูตัวอย่างในภาพที่ 4.2
ภาพที่ 4.2  ดัชนีริมกระดาษแบบใช้ตัวอักษร และแถบสี
ที่มา : Chambers Encyclopedic English Dictonary, 1994 ; พจนานุกรมภาพ, 2545. 

4. อักษรนำเล่ม (volume guide) จะปรากฏอยู่ที่สันของหนังสือ  เพื่อให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอักษรใด  มักจะทำกับหนังสือที่มีหลายเล่มจบ หรือที่เรียกว่าหนังสือชุด  ดูตัวอย่างหน้าดัชนีในภาพที่ 4.3
ภาพที่ 4.3  อักษรนำเล่ม ที่สันของหนังสือ 
ที่มา : The New Encyclopedia Britannica, 1993. 
5. ส่วนโยง (Cross Reference) คือ ส่วนที่แนะนำให้ไปอ่านเรื่องที่ต้องการจากหัวข้ออื่นในหนังสือเล่มนั้น  การโยงในหนังสืออ้างอิงมี 2 ลักษณะ คือ โยงดูที่ (see) และโยงดูเพิ่มเติมที่ (see also) ดูตัวอย่างหน้าดัชนีในภาพที่ 4.4

ภาพที่ 4.4  ส่วนโยงให้ไปอ่านเรื่องที่ต้องการ
ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2545. 

6. ดัชนีคำสำคัญ (index)  มักจัดทำไว้ท้ายเล่มของหนังสือ หรือถ้าเป็นหนังสือชุดจะทำดัชนีไว้เป็นเล่มสุดท้าย   ดัชนีทำหน้าที่ชี้บอกตำแหน่งคำสำคัญในเล่มว่าอยู่ที่หน้าใด  โดยนำคำสำคัญจากเนื้อหามาเรียงตามลำดับตัวอักษรพร้อมบอกเลขหน้าที่อยู่ในเล่ม  ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือช่วยค้นเนื้อหาได้ละเอียดกว่าการใช้หน้าสารบัญ    หนังสืออ้างอิงส่วนใหญ่จะทำดัชนีเป็นเครื่องมือช่วยค้น ดูตัวอย่างหน้าดัชนีในภาพที่ 4.5
ภาพที่ 4.5  ดัชนีท้ายเล่มบอกตำแหน่งคำสำคัญในเนื้อหาของหนังสือ
ที่มา : The New Encyclopedia Britannica, 1993. 
วิธีใช้หนังสืออ้างอิง
การใช้หนังสืออ้างอิง ผู้ใช้ควรต้องมีความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. พิจารณาเรื่องที่ต้องการสืบค้นให้แน่ชัดว่าต้องการเรื่องอะไร  แล้วจึงเลือกประเภทหนังสืออ้างอิงที่คาดว่าจะให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการนั้น
2. อ่านคำชี้แจงหรือวิธีใช้ก่อนการใช้งาน  คำอธิบายวิธีใช้มักจะปรากฏอยู่ในส่วนนำเรื่องหรือเล่มแรกของหนังสือชุด
3. พิจารณาการเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง โดยทั่วไปหนังสืออ้างอิงจะจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษร  ตามลำดับหัวเรื่อง หรือตามลำดับเหตุการณ์
4. ศึกษาเครื่องหมาย  และอักษรย่อที่ใช้ในเล่ม  หนังสืออ้างอิงมักใช้สัญลักษณ์พิเศษหรืออักษรย่อ  เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการออกเสียงคำ  อักษรย่อสำหรับบอกลักษณะและหน้าที่ของคำในหนังสืออ้างอิงประเภทพจนากรม  เป็นต้น
5. ใช้เครื่องมือช่วยค้นที่มีในหนังสืออ้างอิง โดยเฉพาะการใช้ดัชนีท้ายเล่ม  จะช่วยให้ค้นหาเรื่องราวในเล่มได้อย่างรวดเร็ว   ดัชนีช่วยค้นในหนังสืออ้างอิงแต่ละชื่อเรื่องมีวิธีใช้แตกต่างกัน  ดังนั้นก่อนใช้ดัชนีค้นเรื่องจึงควรอ่านวิธีใช้ให้เข้าใจ

ประเภทของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงจัดแยกตามลักษณะเนื้อหาได้ 2 ประเภท คือ
1. หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ   เป็นหนังสือที่ให้สารสนเทศเฉพาะเรื่องเช่น  พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม  อักขรานุกรมชีวประวัติ  หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์  หนังสือคู่มือ และหนังสือรายปี
2. หนังสืออ้างอิงที่บอกแหล่งสารสนเทศ  เป็นหนังสือที่ไม่ให้สารสนเทศโดยตรง  แต่จะชี้แนะแหล่งสารสนเทศในที่อื่น ๆ  เช่น  หนังสือบรรณานุกรม และหนังสือดัชนีวารสาร
หนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทให้ความรู้เฉพาะเรื่องที่แตกต่างกันออกไป  มีการเรียบเรียงเนื้อหา  รวมทั้งการจัดทำเครื่องมือช่วยค้นหาเรื่องราวในเล่มแตกต่างกัน  ดังนั้นผู้ใช้จึงควรทราบว่าหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด  ในแต่ละประเภทมีหนังสืออะไรบ้าง  ในที่นี้จะอธิบายถึงขอบเขตเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภท พร้อมทั้งตัวอย่างหนังสืออ้างอิงที่น่าสนใจดังนี้  (ประหยัด  ช่วยงาน,  2549)

พจนานุกรม (Dictionary)
พจนานุกรม เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ ได้แก่  ความหมายของคำ  ชนิดของคำ  ตัวสะกด  การันต์  การอ่านออกเสียง คำพ้อง คำตรงข้าม  อักษรย่อและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับคำ   อาจมีตัวอย่างประโยคแสดงการใช้คำ เพื่อประกอบคำอธิบายด้วย
หนังสือพจนานุกรมจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  2 ประเภทคือ
1.  พจนานุกรมทั่วไป คือ พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำ หรือศัพท์สามัญที่คนทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งภาษาพูดภาษาเขียน แบ่งออกเป็น
1.1  พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ คือ พจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ทุกคำที่มีใช้อยู่ในภาษา มีทั้งคำศัพท์เก่าและคำใหม่ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำเช่น ที่มาของคำ  คำอ่าน คำแปลอธิบายความหมายของคำอย่างละเอียด มีตัวอย่างประโยค และแสดงการใช้คำ
1.2  พจนานุกรมฉบับย่อ คือ พจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีคำจำนวนน้อย บอกคำอ่านและอธิบายความหมายของคำสั้น ๆ ไม่มีตัวอย่างประโยคที่แสดงการใช้คำ เช่น พจนานุกรม ศัพท์หมวดอังกฤษ- ไทย : ฉบับนักศึกษา
1.3  พจนานุกรมสองภาษา คือ พจนานุกรมที่ให้รวยการคำด้วยภาษาหนึ่ง และอธิบายหรือให้ความหมายของคำอีกภาษาหนึ่ง เป็นการเปรียบเทียบคำระหว่างสอง ภาษา เช่นพจนานุกรมไทย-อังกฤษ พจนานุกรมไทย-ฝรั่งเศส พจนานุกรมจีน-ไทย
1.4  พจนานุกรมหลายภาษา  คือ   พจนานุกรมที่ให้รวยการคำด้วยภาษาหนึ่ง   และอธิบายหรือให้ความหมายของคำภาษาอื่นมากกว่าสองภาษาขึ้นไป   เช่น พจนานุกรมภาษาไทย-อังกฤษ-ฝรั่งเศส-เยอรมัน   พจนานุกรมบาลี-สันสกฤต-ไทย-อังกฤษ เป็นต้น
2.  พจนานุกรมเฉพาะวิชา  คือ  พจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะวิชามาไว้ในเล่มเดียวกัน ให้ความหมายของคำศัพท์นั้น เช่น ศัพท์ศาสนา พจนานุกรมภูมิศาสตร์ ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ ศัพท์คอมพิวเตอร์ พจนานุกรมดนตรี
ตัวอย่างหนังสือพจนานุกรม  ได้แก่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.  (2545).  กรุงเทพฯ :ราชบัณฑิตยสถาน.  1436 หน้า.
เป็นพจนานุกรมรวบรวมคำศัพท์ทั่วไป  ทางราชการให้ ยกเลิกฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2493 และครั้งที่สอง พ.ศ. 2525  ให้ใช้ฉบับ พ.ศ. 2542  เป็นแบบฉบับการเขียนและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง  การจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมศัพท์กฎหมาย  ศัพท์วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชื่อพืชและสัตว์  พร้อมทั้งตัวอย่างการใช้คำ  ท้ายเล่มมีภาพลายไทย  หน้าบัน  เรือ  พร้า  เครื่องจักรสาน  เครื่องดนตรีไทย  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ  พรรณไม้  ปลา  หอย ปู  นก  และแมลง

ลองค์แมน.  (2547).  พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย.  (ผู้แปล : รศ.ดร.วิภา สมานวังศะ บรรณาธิการ : ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ).  กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.  584 หน้า
พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย แปลจาก Longman Basic English Dictionary อธิบายความหมายคำศัพท์ด้วยภาษาไทยที่เข้าใจง่าย พร้อมด้วยตัวอย่างการใช้คำในประโยค ส่วนหน้าแนะนำวิธีใช้พจนานุกรม คำศัพท์ในเล่มเรียงตามลำดับตัวอักษร และรวบรวมคำศัพท์เป็นหมวดหมู่อธิบายด้วยภาพประกอบเกี่ยวกับกิจกรรมนอกเมือง  ฤดูและอากาศ  สัตว์  กีฬา ห้องนอน ห้องครัว ผลไม้ อาชีพ ชอปปิ้ง บ้าน ห้องเรียน การคมนาคม ฯลฯ
พจนานุกรมภาพ.  (2545).  กรุงเทพฯ :  รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย).  936  หน้า
พจนานุกรม 3 ภาษาคือ ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส  เป็นพจนานุกรมที่ใช้ภาพอธิบายคำศัพท์ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาพ  ครอบคลุมหัวข้อเรื่อง  600  หัวข้อ  จุคำศัพท์กว่า 25,000 คำ  เกี่ยวกับเรื่อง เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  พืชและสัตว์รอบตัวเรา  การสื่อสาร  อาวุธยุทโธปกรณ์  ยานพาหนะ  และพลังงาน  มีดัชนีริมกระดาษทำเป็นแถบสี  และดัชนีภาษาไทยท้ายเล่มช่วยสืบค้นคำ

กองวิทยาศาสตร์.  (254).  ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ.  (พิมพ์ครั้งที่ 6).  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.  406 หน้า
หนังสือที่รวบรวมศัพท์คอมพิวเตอร์และศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนศัพท์ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจ ฯลฯ จากภาษาอังกฤษมาบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทย เรียงตามลำดับอักษร A-Z  ท้ายเล่มมีคำเทียบไทย-อังกฤษ  คำนำหน้าหน่วยแสดงปริมาณด้วยตัวเลขที่ใช้มากในงานคอมพิวเตอร์ ตารางแอสกี รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ อักขระไทยรหัสฐานสิบและฐานสิบหก

กองธรรมศาสตร์และการเมือง.  (254).  ศัพท์เศรษฐศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ.  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.  626 หน้า
หนังสือที่รวบรวมคำศัพท์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น พาณิชยศาสตร์ การคลังสาธารณะ การเงิน การธนาคาร การบัญชี รวมทั้งศัพท์ที่ใช้ในวงการเศรษฐกิจ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมจำนวน 6,387 คำ
กองศิลปกรรม.  (254).  พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม เล่ม 3 อักษร ฉ-ช.  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.  145 หน้า
หนังสือชุดพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม เป็นหนังสือที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และจุลศิลป์  อธิบายคำศัพท์เกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ทางศิลปะสาขาต่าง ๆ เรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ
 

สารานุกรม (Encyclopedia)
สารานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ในแขนงวิชาต่างๆ โดยผู้ชำนาญในแต่ละสาขาวิชา   จัดเรียงเนื้อหาตามลำดับอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา  สารานุกรมอาจมีเล่มเดียวจบ หรือเป็นหนังสือชุด
หนังสือสารานุกรมจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  2 ประเภทคือ
1. สารานุกรมทั่วไป เป็นสารานุกรมที่ให้ความรู้ในวิชาต่างๆ ไม่จำกัดสาขาให้ความรู้กว้าง ๆ พอเป็นพื้นฐานสำหรับผู้อ่านทั่วไป แบ่งออกเป็นสารานุกรมสำหรับเด็กและสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ เช่น  สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
2. สารานุกรมเฉพาะวิชา เป็นสารานุกรมที่ให้ความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป  เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ เช่น สารานุกรมประวัติศาสตร์ สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต สารานุกรมชุดร่างกายของเรา
 ตัวอย่างหนังสือสารานุกรม ได้แก่
กองศิลปกรรม.  (2498- ).  สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน.  พระนคร : ราชบัณฑิตยสถาน.
หนังสือชุดสารานุกรมเกี่ยวกับความรู้ต่าง ๆ เช่น บุคคลสำคัญ  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  ภูมิภาค ประเทศ นครและเมืองสำคัญ ดาราศาสตร์ เชื้อชาติของมนุษย์ ศาสนา ปรัชญา ลัทธินิกาย วรรณกรรมสำคัญ ตำนาน นิทาน นิยายโบราณ ตัวละครสำคัญในวรรณคดี การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สถาบัน วันสำคัญ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม พร้อมภาพประกอบสีและขาวดำ

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย.  (2542).  กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์.
เป็นหนังสือชุดสารานุกรมวัฒนธรรมไทย 4 ภาค รวบรวมความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาไทย กำหนดกรอบเนื้อหา 18 หมวด ได้แก่ ความเชื่อและประเพณี อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ ประวัติศาสตร์ การปกครองและสังคม อาหารการกิน การแต่งกายเครื่องประดับ สุขภาพอนามัย ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม ศิลปะการแสดง การละเล่นของเล่นกีฬา สถานที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตราชั่งตวงวัด เงินตรา บุคคลสำคัญ และการศึกษา  แต่งและเรียบเรียงโดยนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 500 คน เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษร ท้ายเล่มเป็นรายนามผู้เรียบเรียง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.  (2516-  ).  โดยพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.  พระนคร  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย  แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเ นื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ  เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน  จัดทำต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบัน (พ.ศ.2549) มีถึงเล่มที่ 31 และมีฉบับเสริมการเรียนรู้

กองธรรมศาสตร์และการเมือง.  (254).  สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 2 อักษร ข-จ.  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.  420 หน้า
หนังสือชุดที่มีเนื้อหาครอบคลุมประวัติบุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งราชธานี เมืองหลวง เมืองโบราณ ชื่อหน่วยงานราชการสมัยโบราณ สนธิสัญญาและกฎหมายเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ ท้ายเล่มมีดรรชนีค้นคำเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา

The New Encyclopedia Britannica.  (15th ed.)  (c1974).  Chicago : Encyclopedia Britannica.
หนังสือสารานุกรมทั่วไปของประเทศอังกฤษ จำนวน 32 เล่ม เล่มที่ 1-12 เป็นเรื่องราวทั่วไป เรียงตามลำดับตัวอักษร เล่มที่ 13-29 ให้เนื้อหาลงลึกเฉพาะเรื่อง เล่มที่ 30-31 เป็นเล่มดัชนี เล่มที่ 32 เป็นเล่มแนะนำการใช้สารานุกรม ภาพประกอบสีและขาวดำ ปกแข็งหุ้มผ้าแร็กซีนอย่างดี

Encyclopedia Americanan.  (2004).  (International ed.)  Danbury, Connecticut : Scholastic Library.
หนังสือสารานุกรมทั่วไปของประเทศอเมริกา จำนวน 30 เล่ม เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับอักษร พร้อมงานประกอบสี ขาว-ดำ และลายเส้น เล่มแรกแนะนำการใช้สารานุกรม เล่มสุดท้ายเป็นเล่มดัชนี
นามานุกรม หรือทำเนียบนาม (Directory )
นามานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อบุคคล องค์กรต่างๆ พร้อมสถานที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์  จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร
หนังสือนามานุกรมแบ่งตามเนื้อหาได้  5 ประเภทคือ
1. นามานุกรมท้องถิ่น (local directory) เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ 
2. นามานุกรมของรัฐ (goverment directory) เป็นนามานุกรมที่หน่วยงานรัฐ จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูล เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาล
3. นามานุกรมสถาบัน (institutional directory) เป็นนามานุกรมที่รวบรวมชื่อสถาบันต่างๆ
4. นามานุกรมสาขาอาชีพ (professional directory) เป็นนามานุกรมที่ให้รายชื่อบุคคล ในสาขาวิชาชีพด้านใดด้านหนึ่ง
5. นามานุกรมการค้าและธุรกิจ (Trade and business directory) เป็นนามานุกรมที่ให้รายชื่อของบริษัท จัดทำโดยเอกชน เพื่อประโยชน์ในเชิงการค้า
ตัวอย่างหนังสือนามานุกรม ได้แก่
ใครเป็นใครในประเทศไทย.  (2506-  ).  พระนคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งประเทศไทย.  (2536).  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,
นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย.  (2517).  พระนคร : กรมศิลปากร.
สีดา สอนศรี.  (2528-  ).  นามานุกรมหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย = Directory of government agenci.  กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
พูนพิศ อมาตยกุล.  (2525).  นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ : รายงานผลการวิจัย.  กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทำเนียบผลิตภัณฑ์ยา อุปกรณ์การแพทย์ อาหาร เคมีวัตถุอันตราย และธุรกิจเครื่องสำอาง.  (2545).  กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์.
นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย ฉบับย่อ = Thai government organizational directory.  (2545).  กรุงเทพฯ : กรมประชาสัมพันธ์.
Thai Electrical & Mechanical Contractors Association.  (1995-  ).  Bangkok : The Association,
Thailand IT directory… Compiled by Manager Information Services Co., Ltd.  .(1992?-  ).  Bangkok : IBP
Thai Musicians’ Directory = นามานุกรมดนตรีไทย.  (1975).  Bangkok : Department of Fine Arts/National Library Division.

นามานุกรมแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ.  (2542).  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : คณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศในคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา.  422 หน้า
 รวบรวมรายชื่อแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นร้านค้า หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ แหล่งทรัพยากรได้เปล่าและแห่งจัดซื้อ เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อหน่วยงาน ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และประเภททรัพยากรที่มีให้บริการ
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary)
อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสำคัญให้รายละเอียดเกี่ยวกับ เชื้อชาติ สถานที่ เกิด  วัน เดือน ปี เกิด หรือ ตาย ระดับการศึกษา ผลงานดีเด่น เป็นต้น
หนังสืออักขรานุกรมชีวประวัติจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  3 ประเภทคือ
1. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลทั่วไป (international biography) รวบรวมเรื่องราวของบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ อาชีพหรือศาสนา โดยครอบคลุมเฉพาะประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น หรือสิ้นชีวิตไปแล้ว เท่านั้น 
2. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลเฉพาะเชื้อชาติ (national / regional biography) ให้เรื่องราวของบุคคล ที่เกิด หรืออยู่ในแต่ละประเทศโดยเฉพาะ
3. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลเฉพาะอาชีพ (professional or subject biography) รวบรวมชีวประวัติ ของบุคคลที่มีชื่อเสียงอาชีพเดียวกันไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างหนังสืออักขรานุกรมชีวประวัติ ได้แก่
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.  (2539).  ในหลวงของเรา.  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง. 
หนังสือพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช    พระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   พระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ และพระราชไมตรีกับต่างประเทศ เขียนเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน พร้อมภาพประกอบสี
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.  (2549).  ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2548.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
หนังสือชีวประวัติของศิลปินแห่งชาติ 4 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง ให้เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติ ชีวิตและผลงาน คำประกาศเกียรติคุณ ท้ายเล่มมีทำเนียบศิลปินแห่งชิต ตั้งแต่ปี 2528-ปัจจุบัน

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.  (2541).  สดุดีบุคคลสำคัญ เล่ม 16.  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง. 
หนังสือประวัติบุคคลสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันในสาขาต่าง ๆ ที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งเคยเผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จัดพิมพ์เล่มที่ 1 ตั้งแต่ปี 2525
กองศิลปกรรมสารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง.  (254).  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.   297หน้า
หนังสือที่รวบรวมประวัติและผลงานทางดนตรีของนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นที่ยกย่อง ตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ถึงสมัยปัจจุบัน เรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ มีดรรชนีค้นคำช่วยในการสอบค้น พร้อมภาพประกอบสีและขาวดำ

หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์  (Geographical Sources)
    หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับชื่อสถานที่ทางภูมิศาสตร์ และสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เช่น ภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ 
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์จัดแบ่งตามเนื้อหาได้  3 ประเภทคือ
1. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
2. หนังสือนำเที่ยว 
3. หนังสือแผนที่
ตัวอย่างหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์  ได้แก่
สมุดภาพแผนที่โลก.  (2546).  กรุงเทพฯ : รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย).  290 หน้า
เป็นหนังสือแผนที่โลกฉบับภาษาไทยที่สมบูรณ์  แปลจากหนังสือ Reader’s Digest Illustrated Atlas of the World   พร้อมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล  การเกิดโลก  โครงสร้างของโลก  ลักษณะธรรมชาติบนพื้นผิวโลก  เพื่อให้เห็นโลกทั้งในมุมกว้างและเฉพาะเจาะจงในแต่ละทวีปด้วยภาพแผนที่แสดงลักษณะทางภูมิประเทศ  ท้ายเล่มแนะนำ
ประเทศอิสระ  192 ประเทศและข้อมูลสรุปด้านภูมิศาสตร์กายภาพ  เศรษฐกิจ  การเมือง  ประวัติศาสตร์  สถิติประชากร  ธงประจำชาติ และดัชนีแผนที่โลกระบุเลขหน้าและพิกัดบนแผนที่  เพื่อให้ง่ายแก่การค้นหา

ท. สุขแสง.  (2545).  ท่องเที่ยวประเทศไทย 76 จังหวัด.   พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.  78 หน้า
เป็นหนังสือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 76 จังหวัดในประเทศไทย  พร้อมด้วยแผนที่จังหวัด  แสดงเขตอำเภอและถนน  ให้ข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว  ประวัติจังหวัด  ขนาดพื้นที่  ระยะห่างจากกรุงเทพฯถึงจังหวัด  และตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด  
กองธรรมศาสตร์และการเมือง.  (254).  อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1.  (พิมพ์ครั้งที่ 4).  กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.  428 หน้า
หนังสือที่อธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของประเทศไทย เนื้อหาแบ่งออกเป็น ตอนที่ ๑ ลักษณะทางกายภาพ เช่น ที่ตั้ง ขนาด รูปร่าง ลุ่มน้ำและแหล่งน้ำ ภูมิอากาศ ตอนที่ ๒ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ การท่องเที่ยว และตอนที่ ๓ การคมนาคมและประชากร รวม ๑๕ บท  มีแผนที่และภาพ พิมพ์ ๔ สี พร้อมทั้งตารางข้อมูลต่าง ๆ ประกอบคำอธิบาย
หนังสือคู่มือ  (Handbook)
หนังสือคู่มือ เป็นหนังสือที่ให้ข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ควรรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น เพื่อใช้เป็นคู่มือในการตอบคำถามเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือคู่มือปฏิบัติในวิชาใดวิชาหนึ่งเช่น คู่มือในวิชาเคมี เป็นต้น
หนังสือคู่มือจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  2 ประเภทคือ
1. หนังสือคู่มือทั่วไป  หนังสือคู่มือทั่วไป ให้ความรู้เบ็ดเตล็ดทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดสาขาวิชา เช่น คู่มือผู้ซื้อ   Guinness Book of World Records เป็นต้น
2. หนังสือคู่มือเฉพาะวิชา รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาพร้อมคำอธิบายอย่างสั้น ๆ เช่น ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป  เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว.  How Science Works  เป็นต้น
ตัวอย่างหนังสือคู่มือ  ได้แก่
สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ.  (2544).  ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป : หลักการวินิจฉัยและรักษาโรค/280 โรค และการดูแลรักษา.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.  950 หน้า
เป็นหนังสือคู่มือสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป  ให้ความรู้ด้านการวินิจฉัยโรค  การดูและรักษาและป้องกันโรค   แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ภาคคือ  การวินิจฉัยโรคและรักษาโรค  อาการของโรคต่าง ๆ  การใช้ยา  และภาคผนวก    ใช้ภาษาง่าย ๆ คนทั่วไปอ่านได้  พร้อมภาพประกอบลายเส้น  มีสารบัญแบ่งเนื้อหาอย่างละเอียดและดัชนีท้ายเล่ม

เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว.  (2544).  กรุงเทพฯ : รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย). 472 หน้า
เป็นหนังสือคู่มือที่รวบรวมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับบ้าน เช่น  การจัดเก็บเอกสาร  การจัดการเงิน  การบำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน  การเลือกซื้อ เก็บรักษาและเคล็ดลับการเตรียมอาหาร  การตกแต่งสวนและการดูแลเครื่องเรือน พร้อมภาพประกอบสี และดัชนีท้ายเล่ม

Hann, Judith.  (1992).  How Science Works.  4 th ed.  London : Dorling Kinderley.  192 p.
เป็นหนังสือคู่มือการทดลองทางวิทยาศาสตร์  อธิบายด้วยภาพประกอบสีสวยงามเป็นขั้นตอนตามลำดับ  เรื่องสสาร   อะตอม  พลังงาน  แรงและการเคลื่อนที่  แสง  เสียง  อากาศ  น้ำ  ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์  ท้ายเล่มมีอภิธานศัพท์อธิบายศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์  และดัชนีค้นเรื่อง   เหมาะสำหรับครูและนักเรียนทำโครงงานทดลองวิทยาศาสตร์
หนังสือรายปี (Yearbook)
หนังสือรายปี คือ หนังสือที่พิมพ์ออกเป็นรายปี ให้ข้อมูล ข่าวสาร ในรอบปีที่ผ่านมา   โดยนำเสนอสารสนเทศแบบพรรณนาอย่างสั้นๆ มีตัวเลข  ตาราง  สถิติประกอบ 
หนังสือรายปีแบ่งได้  4 ประเภทคือ
1. หนังสือรายปีของสารานุกรม จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงเนื้อหาในสารานุกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอเป็นประจำทุกปี
2. หนังสือสรุปผลงานประจำปี   เป็นหนังสือรายงานผลงานประจำปีของหน่วยงานทั้งภาครัฐและหน่วยงานเอกชน
3. หนังสือรายปีเฉพาะด้าน จะให้ข้อมูลสังเขปพร้อมตัวเลขสถิติเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่ง  หรือเรื่องราวของประเทศใดประเทศหนึ่ง
4. สมุดสถิติรายปี  จะรวบรวมเฉพาะสถิติตัวเลขทางด้านต่าง ๆ

ตัวอย่างหนังสือรายปี  ได้แก่
สมุดสถิติรายปีประเทศไทย พ.ศ.2549.  (2549).  กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.  523 หน้า
เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากรายงานผลสำมะโนและการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  โดยระบุแหล่งที่มาของข้อมูลไว้ในบทนำแต่ละบทและใต้ตารางสถิติทุกตาราง

ปฏิทินเหตุการณ์รายปี หรือ สมพัตสร (Almanac) 
ปฏิทินเหตุการณ์รายปี  หรือสมพัตสร  เป็นหนังสือที่รวบรวมข่าว  เหตุการณ์สำคัญ  สถิติ  ในรอบปีที่ผ่านมา  รวมทั้งความรู้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ  โดยนำเสนอสารสนเทศเรียงตามวันเดือนปี
หนังสือสมพัตสรจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  2 ประเภทคือ
1. ปฏิทินเหตุการณ์รายปีที่ให้เรื่องราวทั่ว ๆ ไปทุกด้าน
2. ปฏิทินเหตุการณ์รายปีที่ให้เรื่องราวเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือเฉพาะด้าน
ตัวอย่างหนังสือปฏิทินเหตุการณ์รายปี หรือสมพัตสร  ได้แก่
The World Almanac and Book of Facts.  (2000).  New York : World Almanac Books.
หนังสือรายงานเหตุการณ์สำคัญในรอบปี บทวิจารณ์ข่าว ข้อมูลสถิติ ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ ประชากร กีฬา มีสารบัญและดัชนีช่วยค้นเรื่องอยู่ส่วนต้นเล่ม
สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publication)
สิ่งพิมพ์รัฐบาลมีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้ามาก เนื่องจากเป็นแหล่งความรู้ดั้งเดิม (Primary source) ที่ให้หลักฐาน ข้อมูลสถิติ และเรื่องราวของทางราชการที่เชื่อถือได้ และข้อเท็จจริงที่ทันสมัย เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ ผลงาน ของทางราชการ 
หนังสือสิ่งพิมพ์รัฐบาลจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  17 ประเภทคือ   
1. รายงานการบริหาร   
2. รายงานสถิติ
3. รายงานของคณะกรรมการต่างๆ     
4. รายงานการค้นคว้า และวิจัย 
5. ร่างกฎหมายและมติต่างๆ 
6. ผลการพิจารณา 
7. วารสารและรายงานการประชุม 
8. กฎหมาย รวมบทกฎหมาย และประมวลกฎหมายต่างๆ  
9. คำพิพากษา และความเห็นศาล 
10. ระเบียบ กฎข้อบังคับ และคู่มือต่างๆ 
11. ทำเนียบ และทะเบียน 
12. บรรณานุกรม และรายชื่อต่างๆ
13. เรื่องราวและรายละเอียดต่างๆ ของราชการ 
14. วารสาร 
15. ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริง นโยบาย ความคิดเห็น และการดำเนินงานตามแผนพัฒนา  
16. แผนที่ และแผนภูมิ  
17. ภาพยนตร์ อุปกรณ์โสตทัศน์วัสดุ และแบบจำลองต่าง ๆ
ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์รัฐบาล  ได้แก่

ราชกิจจานุเบกษา เป็นสิ่งพิมพ์รัฐบาลที่รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย กฎกระทรวง และประกาศต่างๆที่รัฐบาลประกาศใช้ในปัจจุบัน  โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 แผนกกฤษฎีกา รวบรวมกฎกระทรวง พระราชบัญญัติ และพระราชกฤษฎีกาตอนที่ 2 แผนกราชกิจจา มีประกาศคำสั่ง แจ้งความของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยราชการทุกแห่ง

หนังสือดัชนี (Index)
หนังสือดัชนี เป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อบทความจากวารสารต่าง ๆ  ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของวารสาร ได้แก่   ชื่อแต่งหรือผู้เขียนบทความ  ชื่อวารสาร ปีที่ออก ฉบับที่ออก และเลขหน้าที่ปรากฏบทความ   หนังสือดัชนีบางเล่มให้สาระสังเขปเนื้อเรื่องเพื่อให้ผู้ค้นคว้าทราบขอบเขตเนื้อเรื่องในบทความก่อนไปอ่านบทความฉบับจริง
หนังสือดัชนีจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  4 ประเภทคือ
1. ดรรชนีวารสาร 
2. ดรรชนีหนังสือพิมพ์     
3. ดรรชนีหนังสือรวม เรื่อง    
4. ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทำ   

หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) 
หนังสือบรรณานุกรม เป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ  ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง  ชื่อหนังสือ  ปีที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์   เพื่อให้ผู้ค้นคว้าสามารถติดตามหาหนังสือที่ต้องการได้
หนังสือบรรณานุกรมจัดแบ่งตามเนื้อหาได้  5 ประเภทคือ
1. บรรณานุกรมสากล     รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทโดยไม่จำกัดว่าเป็นทรัพยากรสารสนเทศของชาติใด  ภาษาใด
2. บรรณานุกรมแห่งชาติ   รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศของประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ  
3. บรรณานุกรมร้านค้า  รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่จัดพิมพ์โดยร้านค้าหรือสำนักพิมพ์เพื่อแนะนำทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ
4. บรรณานุกรมเฉพาะวิชา รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
5. บรรณานุกรมเลือกสรร  รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่เลือกสรรแล้วว่ามีคุณค่า
ตัวอย่างหนังสือบรรณานุกรม  ได้แก่
กองหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร.  (2521).  บรรณานุกรมแห่งชาติ ประจำปี 2518.  กรุงเทพฯ :   ผู้แต่ง.
เป็นหนังสือบรรณานุกรมแห่งชาติรวมรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการในหอสมุดแห่งชาติของไทย เริ่มพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2501 โดยความร่วมมือระหว่างหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดสถาบันและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 16 แห่ง เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ  ส่งผู้เชี่ยวชาญมาวาง ระบบงานคอมพิวเตอร์จนเสร็จในปี 2521    แต่การดำเนินงานอยู่ในระยะทดลองโปรแกรม   การจัดพิมพ์จึงล่าช้ากว่ากำหนด   ในปี พ.ศ. 2535 หอสมุดแห่งชาติได้สร้างฐานข้อมูลหนังสือขึ้น โดยการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (DYNIX) มาใช้ในการปฏิบัติงานของหอสมุด   และจัดพิมพ์บรรณานุกรมแห่งชาติโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา    ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลไปยังห้องสมุด 6 แห่งในกรุงเทพมหานคร   เพื่อสามารถให้เรียกใช้ข้อมูลบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติได้  (ธารา  กนกมณี, 2540)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคนอื่นๆ.  (2542).  บรรณานุกรมว่าด้วยเรื่องอยุธยา.  กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.  724 หน้า
 เป็นหนังสือรวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ทั้งวารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารประกอบการประชุม   ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอยุธยา  ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ศิลปวัฒนธรรม และโบราณคดี    เรียบเรียงบรรณานุกรมตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง ท้ายเล่มมีดัชนีผู้แต่ง

วิทยากร เชียงกูล และคณะ.  (2541).  แนะนำหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน. 
 รวบรวมรายชื่อหนังสือที่คัดเลือกจำนวน 100 รายชื่อ พร้อมด้วยบทแนะนำเชิงวิจารณ์ ท้ายเล่มมีบรรณานุกรม หนังสือที่นำมาวิจารณ์และดัชนีชื่อเรื่อง

การเลือกใช้หนังสืออ้างอิง
การค้นหาความรู้จากหนังสืออ้างอิงควรรู้จักเลือกใช้หนังสืออ้างอิงให้เหมาะสมกับลักษณะของปัญหาดังต่อไปนี้  (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตนนทบุรี, 2549)
1. ความรู้ด้านภาษาเกี่ยวกับคำศัพท์ อักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ควรค้นจากพจนานุกรมทั่วไป หรือพจนานุกรมเฉพาะวิชา ถ้ามีคำศัพท์สมัยโบราณควรดูจากพจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ ถ้าเป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ควรดูจากภาคผนวกของหนังสือพจนานุกรม ซึ่งอาจมีบัญชีคำหรือคำศัพท์ใหม่ๆ
2. ความรู้พื้นฐานในเรื่องทั่ว ๆ ไปอย่างกว้าง ๆ ควรค้นจากสารานุกรมโดยเริ่มจากดรรชนีของสารานุกรมชุดนั้น ถ้าเป็นเรื่องใหม่ ๆ ควรดูจากหนังสือรายปีของสารานุกรมชุดนั้น
3. ความรู้เกี่ยวบุคคลที่มีชื่อเสียง ประวัติบุคคลสำคัญ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ควรค้นจาก
3.1 อักขรานุกรมชีวประวัติ
3.2 สารานุกรม
3.3 พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์
3.4 ดรรชนีวารสาร
3.5 หนังสือรายปี (ระยะที่บุคคลนั้นมีชื่อเสียงอยู่ )
3.6 นามานุกรม
4. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและเหตุการณ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ควรค้นจาก
4.1 หนังสือรายปี
4.2 ดรรชนีวารสาร
5. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทางภูมิศาสตร์ ทางด้านลักษณะที่ตั้ง ระยะทางตำแหน่งที่ตั้งควรค้นจาก
5.1 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
5.2 สารานุกรม
5.3 หนังสือแผนที่
6. ความรู้เกี่ยวกับหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อหนังสือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือรายชื่อหนังสือที่ดี ควรค้นหาคำตอบจากหนังสือบรรณานุกรม
7. ความรู้เกี่ยวกับชื่อเฉพาะต่าง ๆ ควรค้นจาก
7.1 นามานุกรม
7.2 หนังสือรายปี
สรุป
หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ  เพื่อใช้หาคำตอบหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   มีลักษณะแตกต่างจากหนังสือทั่วไปทั้งลักษณะรูปเล่ม   การเรียบเรียง  รวมทั้งการมีเครื่องมือช่วยค้นภายในเล่ม  
หนังสืออ้างอิงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบอกแหล่งสารนิเทศ ได้แก่หนังสือบรรณานุกรมและหนังสือดัชนี  และประเภทตอบคำถามได้ทันที ได้แก่หนังสือพจนานุกรม  สารานุกรม  นามานุกรม  อักขรานุกรมชีวประวัติ  หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์  หนังสือคู่มือ  และหนังสือรายปี  
การใช้หนังสืออ้างอิง นอกจากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทแล้ว  ผู้ใช้ยังต้องรู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นคว้าภายในเล่ม เช่น  สารบัญ  คำนำทาง  อักษรนำเล่ม  ส่วนโยง  ดัชนีริมกระดาษ  และดัชนีคำสำคัญท้ายเล่ม เป็นต้น  รวมทั้งการอ่านคำชี้แจงหรือวิธีใช้ก่อนการค้นคว้า เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการเรียบเรียงเนื้อหา  เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้ในเล่ม  เพื่อให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

คำถามท้ายบท
1. หนังสืออ้างอิง หมายถึงหนังสืออะไร 
2. หนังสืออ้างอิงมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือทั่วไปอย่างไร  จงอธิบาย
3. เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศในหนังสืออ้างอิงมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
4. จงบอกหลักการใช้หนังสืออ้างอิง ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในเรื่องใดบ้าง
5. หนังสืออ้างอิงมีกี่ประเภท  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
6. หนังสือรายปีกับสมพัตสรต่างกันอย่างไร  จงอธิบาย
7. หนังสือบรรณานุกรมกับหนังสือดัชนีต่างกันอย่างไร  จงอธิบาย
8. จงบอกชื่อหนังสืออ้างอิงที่ผลิตโดยราชบัณฑิตยสถาน มาจำนวน  4  ชื่อ
9. จงบอกชื่อหนังสืออ้างอิงที่เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษร มาจำนวน  4  ชื่อ
10. แนะนำหนังสืออ้างอิงที่ท่านสนใจมา  1  ชื่อเรื่อง  โดยให้มีหัวข้อในการแนะนำดังนี้ 
10.1 แหล่งที่มา หรือผู้แต่งเป็นใคร
10.2 มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด 
10.3 จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
10.4 มีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างไร
10.5 มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ช่วยในการค้นหาสารสนเทศ
10.6 มีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจอะไรบ้าง

เอกสารอ้างอิง

ธาดาศักดิ์  วชิรปรีชาพงษ์.  (2543).  ห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า. (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ : ดี.ดี.บุ๊กสโตร์.

ธารา  กนกมณี.  (2540).  “บรรณานุกรมแห่งชาติ : ประวัติและพัฒนาการ,”  วารสารสำนักหอสมุด

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  (ฉบับฐานข้อมูลบรรณานุกรมของประเทศไทย)  [Online].  Available : http://library.cmu.ac.th/cmuljn6.html

ประหยัด  ช่วยงาน.  (2549).  เอกสารการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. [Online].  Available : http://pittajarn.lpru.ac.th/~prayad/UNIT10.PDF

พจนานุกรมภาพ.  (2545).  กรุงเทพฯ : รีดเดอร์สไดเจสท์ (ประเทศไทย).

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตนนทบุรี.  (2549).  การเขียนรายงานทางวิชาชีพ [Online].  Available : http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/
reportwriting/souce_project/unit3-2.html

Chambers Encyclopedic English Dictonary.  (1994).  Edinburgh : Chambers.

The New Encyclopedia Britannica  (15th ed).  (1993).  Chicago : Encyclopedia Britannica.

Table of Contents

Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[Update] เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) คืออะไร หลักการทำงานของระบบค้นหาข้อมูล | ความ หมาย ของ คำนำ – NATAVIGUIDES

เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) หมายถึง โปรแกรมค้นหา ที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือใช้งานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  โดยโปรแกรมส่วนมากที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ Search engines จะมีวิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลหรือคำที่ต้องการสืบค้นลงไป แล้วเว็บไซต์จะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาให้ผู้สืบค้นข้อมูลทราบ ซึ่งคำค้นหาที่ใช้จะเรียกว่าเป็น Keyword (คีย์เวิร์ด) ของการสืบค้นข้อมูล ในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Search Engine ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่ทำการค้นหาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถทำการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ และบันทึกประวัติการค้นหาไว้สำหรับการกรองผลลัพธ์การค้นหาครั้งต่อไป เพื่อช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูล สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ

การค้นหาข้อมูล หมายถึง การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการค้นหาที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ จะต้องทำการค้นหาจากเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลหรือเรียกว่า Search Engine Site ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง

รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม

  • Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
  • Bing (www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง
  • Yahoo (www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft)
  • Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คำถาม-คำตอบ มากกว่า How-to
  • AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม
  • Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้ เป็นเว็บ Search Engine ประจำประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ Google
  • Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สำหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสารวิชาการต่างๆ
  • DuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตาสะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณา
  • Internet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า – เว็บไซต์ที่ผิดตัวไปแล้ว

ประโยชน์ของ Search Engines

Search Engines มีประโยชน์ในการใช้สืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความตรงการแก่ผู้สืบค้นข้อมูล ดังนั้นการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ใหม่ๆ ในในปัจจุบันจึงควรคำนึงถึงรูปแบบของเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมแก่ Search Engine ด้วยเช่นกัน (เรียกว่าการทำ SEO) เพื่อให้ผู้สืบค้นสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

  1. ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
  2. ค้นหาข้อมูลได้อย่างละเอียด และหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ข่าว เพลง รูปภาพ และอื่นๆ เป็นต้น
  3. ค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์เฉพาะทางต่างๆ ได้ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับ ขาย Software หรือ เว็บไซต์รับทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
  4. ค้นหาข้อมูลได้อย่างหลากหลาย
  5. รองรับการค้นหาได้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย

ประเภทของ Search Engines

Search Engine สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยมีความแตกต่างกันที่หลักการทำงาน และการจัดอันดับข้อมูลในการค้นหา

  1. Crawler Based Search Engines

    คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Search Engines ชนิดนี้เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในการใช้งานสูงสุด มีหลักการทำงานโดยการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ สามารถให้ผลลัพธ์การค้นหาที่มีความแม่นยำสูง และมีการประมวลผลที่รวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในปัจจุบัน Crawler Based Search Engines มีบทบาทในการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด

  2. Web Directory

    คือ สารบัญเว็บไซต์สำหรับการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร ที่มีการจัดระเบียบและแบ่งข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ผู้สืบค้นจึงสามารถใช้งานได้ง่ายและมีความสะดวกในการค้นหา โดยในการค้นหาจะมีการสร้างดรรชนี และระบุหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ทำให้ในขณะที่กำลังทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ในหมวดหมู่หนึ่ง ที่อาจมีเนื้อหาคล้ายกันมากมายหลายเว็บไซต์ ผู้สืบค้นสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาเปรียบเทียบ และอ้างอิงเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่มีคุณภาพ และตรงประเด็นมากที่สุดได้

  3. Meta Search Engine

    คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีหลักการทำงานโดยการอาศัย Meta Tag สำหรับประกาศชุดคำสั่งที่ได้รับมาในรูปแบบของ Tex Editor โดยใช้ภาษา HTML ในการประมวลผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น คำค้นหา “บริษัท วันบีลีฟ” หรือคำอธิบายเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่ง Search Engine ชนิดดังกล่าวนี้ เป็นชนิดที่มีความแม่นยำในการค้นหาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสามารถถูกแก้ไขและออกแบบได้โดยผู้ให้บริการ เพื่อให้บล็อกหรือเว็บไซต์ของตนเองสามารถค้นพบได้ง่ายขึ้น

Keyword คืออะไร

Keyword (คีย์เวิร์ด) คือคำค้นหา หรือคำอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นๆ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เรากำลังตามหาเพื่อสืบค้นรายละเอียดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตบนเว็บ Search Engine

ตัวอย่างคำ Keyword ที่ใช้ค้นหากันในชีวิตประจำวัน

  • ต้องการค้นหารถยนต์มือสอง คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ รถมือสอง, ราคารถมือสอง, รถยนต์มือสอง, ฯลฯ
  • มาเที่ยวต้องหาต้องการหาโรงแรมที่พัก คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ Agoda, โรงแรม, ห้อพัก, หอพัก, ฯลฯ
  • ต้องการหาร้านอาหาร คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ ร้านปิ้งย่าง, หมูกระทะ, ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

ประเภทของ Keyword ในการค้นหา

  • Niche Keyword: เป็นคำค้นหาเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มซึ่งโดยปกติแล้วเรามักพบบ่อยในชื่อเรียกรุ่นแบรด์สินค้าต่างๆ เช่น Samsung Note 8, iPhone 8 เป็นต้น
  • Widely Keyword: เป็นคำค้นหาสั้นๆ ที่มีเนื้อหาความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และมีอัตราการค้นหาสืบค้นสูง เช่น บ้านใหม่, รถมือสอง, หนังสือ, หวย เป็นต้น
  • Mass Keywords: เป็นคำค้นหาสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องในกลุ่มคำเดียวกัน เช่น iPhone X, iPad Pro, Macbook Air เป็นต้น
  • Misspelling Keyword: เป็นคำค้นหาต่างๆ ที่มีการสะกดคล้างคลีงหรือที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งแบบตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทาญาติ, ธาญาต, ทายาท เป็นต้น

ในปัจจุบันคีย์เวิร์คคำค้นหานั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Search Engine เป็นอย่างมาก ยิ่งคีย์เวิร์ดคำค้นหายิ่งสั้นและกระชับมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมียอดค่าการค้นหาที่สูงมากขึ้นตามไปด้วยหลายเท่าตัว เว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพที่ดี และมีการทำ SEO ที่ถูกหลักร่วมด้วยเท่านั้นจึงจะมาอยู่ในน้า 1 ของการค้นหานี้ได้

หลักการทำงานของ Search Engines

กระบวนการทำงานของ Search engines บนเว็บไซต์ทั่วไป สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ใช้โปรแกรมรวบรวมเอกสารเว็บ (spider หรือ crawler)

ขั้นแรกที่ Search engines ทำการสำรวจและตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จากโดเมน แล้วติดตาม Links ที่พบภายในเว็บไซต์ทั้งหมด โดยการทำงานของโปรแกรมมีรูปแบบลักษณะโยงใย จึงเรียกโปรแกรมดังกล่าวว่า Spider หรือ Crawler ซึ่งหลังจากที่ Spider ทำการติดตาม Links และนำข้อมูลของเว็บไซต์เหล่านั้นไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine เรียบร้อยแล้ว Spider จะกลับไปทำการสำรวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในเว็บไซต์เหล่านั้น ทุกๆ เดือนหรือสองเดือน

Spider

2. จัดทำรายการดรรชนี

เมื่อโปรแกรม Spider ทำการค้นพบข้อมูลต่างๆ แล้ว จะมีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปทำสำเนา และส่งไปจัดเก็บยังรายการดรรชนี ที่เรียกว่า index หรือ catalog ซึ่งเมื่อข้อมูลในเว็บไซต์หลักมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ข้อมูลภายในสมุดดรรชนีเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยตามบัญชีดัชนีที่ถูกกำหนดไว้

3. โปรแกรมสืบค้น

โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลของ Search Engine โดยมีการทำงานเริ่มต้นจากการรับคำค้นหาที่ถูกป้อนเข้ามาในโปรแกรม โดยผู้ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วนำคำค้นหาไปจับคู่กับดรรชนีในฐานข้อมูล หลังจากนั้นจึงจะทำการดึงเอกสารจากเว็บไซต์นั้นๆ หรือดึงข้อมูลจากฐานออกมาประมวลผลลัพธ์ให้แก่ผู้สืบค้น ซึ่งจะมีการจัดลำดับผลการค้นหาตามระดับความเกี่ยวข้องของข้อมูล

เทคนิคค้นหาด้วย Google

การค้นหาข้อมูลโดยใช้ search engine จากเว็บไซต์ Google สามารถใช้งานได้ไม่ยากและสะดวกรวดเร็ว มีเทคนิคในการสืบค้นข้อมูล ดังนี้

การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา

หากต้องการยกเว้นผลลัพธ์การค้นหาผ่านเว็บไซต์ Google สามารถทำได้โดยการใส่เครื่องหมายลบ (-) วางไว้ข้างหน้าคำที่ไม่ต้องการค้นหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย – มาใช้วางไว้ข้างหน้าคำใดๆ ที่ใช้ค้นหาจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาโดย exclude คำๆ นั้นออกไป ซึ่งวิธีการค้นหาดังกล่าวเป็น Operator ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลให้มีความแม่นยำได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น

คำค้นหาที่ Google จะทำการประมวลโดย Match การค้นหาเข้ากับแหล่งข้อมูลที่มีเฉพาะคำว่า “การตลาด” รวมอยู่เท่านั้น แต่ในหน้านั้นๆ จะต้องไม่มีคำว่า “โฆษณา”

การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ

หากต้องการทำการค้นหาเอกสารนามสกุลต่างๆ ได้แก่ เอกสารในรูปแบบ .DOC .PDF หรือเอกสารนามสกุลอื่นๆ ผู้สืบค้นสามารถค้นหาได้เพียง พิมพ์ชื่อเอกสารที่ต้องการ แล้วต่อท้ายด้วย filetype:นามสกุล ของเอกสารนั้นๆ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์เป็นไฟล์เอกสารที่ถูกเก็บไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น

การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง

หากต้องการค้นหารอบหนังหรือรีวิวภาพยนตร์ต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์ชื่อภาพยนตร์ที่ต้องการ จากนั้นทางเว็บจะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดช่วงเวลาของรอบหนัง รวมทั้งรีวิวของหนังเรื่องนั้นๆ และสามารถทำการจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย ตัวอย่างเช่น

การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา

หากต้องการตรวจสอบคะแนนหรือผลการแข่งขันกีฬาต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์ชื่อนักกีฬาหรือชื่อทีมที่ต้องการ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดของการแข่งขันครั้งล่าสุด ตารางการแข่งขัน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสอบสภาพอากาศ

หากต้องการตรวจสอบสภาพอากาศในแต่ละวัน สามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์คำว่า Weather แล้วตามด้วยชื่อสถานที่ที่ต้องการทราบ เว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงพยากรณ์อากาศในวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น “Weather ลำปาง” หรือ “พยากรณ์อากาศ ลำปาง” เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทยการค้นหาพยากรณ์อากาศยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากข้อมูลที่มีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ

  • [SEARCH] Weather ลำปาง
  • [URL] https://www.google.co.th/search?q=Weather+ลำปาง

การแปลงหน่วย

หากต้องการแปลงหน่วย ผู้สืบค้นจะต้องทำการพิมพ์หน่วยที่ต้องการแปลงลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ประมวลผลลัพธ์ โดยสามารถแปลงได้ครอบคลุมทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น GB=MB หรือ 10CM=M

การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์

หากต้องการตรวจสอบหรือดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์สำหรับผู้เล่นหุ้น สามารถค้นหาผ่านทางเว็บไซต์ Google เพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น TCAP, ITD

การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์

หากต้องการคิดคำนวณ ผู้สิบค้นสามารถนำเลขจำนวนที่ต้องการทราบค่ามาคำนวณผ่าน Google ได้ โดยพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ทำการประมวลค่าเป็นคำตอบ ตัวอย่างเช่น

การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์

หากต้องการค้นหาบางอย่างให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ผู้สืบค้นสามารถพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตามหลังสิ่งที่ต้องการทราบได้ตัวอย่างเช่น “รับทำการตลาดออนไลน์ site:1belief.com” หรือ “การตลาด site:sanook.com” เป็นต้น

เทคนิคเพิ่มเติมที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูลบน Search Engine

ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้นหาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังวิธีการต่อไปนี้

  1. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาดแคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
  2. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้จะเป็นที่น่าพอใจมากกว่า
  3. ใส่เครื่องหมายคำพูด “ … ” ครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเราต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น “free shareware” เป็นต้น
  4. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น ราคาพืช* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *พืช เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย พืช ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (” “) ลงไปด้วย เช่น “windows 98”
  6. หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
  7. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Sitemap ไว้คอยช่วยเหลือ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/sitemap จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์

Matching ของ Search Terms

สำหรับการสืบค้นข้อมูล สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดแหล่งข้อมูล รวมทั้งข้อเท็จจริงของข้อมูลคือการเลือกใช้คำหรือ Keyword ในการค้นหา ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมการ Matching ให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ ผู้สืบค้นจึงควรทำการ Matching และใส่ Operator พิเศษเข้าไปใน Search Term

  • คำค้นหา = การตลาด ออนไลน์ : โดยปกติของการค้นหาข้อมูล ผู้สืบค้นส่วนมากมักจะทำการใส่ Search Term ด้วยคำหรือคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาโดยตรง โดยไม่มีการระบุ Operator พิเศษไว้ ดังนั้นวิธีการ matching ที่ใช้คือ Google จะทำการประมวลผลลัพธ์จากคำค้นหาที่มีคำทั้งสองรวมอยู่ โดยไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังของคำนั้นๆ ได้แก่ คำว่า การตลาด และ ออนไลน์ มากกว่านั้น Google ยังจะทำการแสดงผลลัพธ์ของคำที่เป็นพหูพจน์ คำที่มีความหมายคล้ายกัน และไม่นับรวมคำสะกดผิด
  • คำค้นหา = “การตลาด ออนไลน์” : การสืบค้นข้อมูลโดยการใส่ Double Quote (“…”) ให้กับคำที่ต้องการค้นหาลงไปใน Search Term จะทำให้ผู้สืบค้นได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น โดย Google จะใช้วิธีการ match คำทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลของคำผสมที่ใช้ค้นหา รวมทั้งจะทำการนับรวมคำค้นหาที่ถูกวางไว้ข้างหน้าและข้างหลังของคีย์เวิร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น

    บริษัท รับทำ

    การตลาด ออนไลน์ เป็นต้น

  • คำค้นหา = การตลาด +ออนไลน์ : การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย + มาใช้สำหรับใส่คั่นระหว่างคำสองคำจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลของคำว่า การตลาด หรือ ออนไลน์ ซึ่งมีหลักการค้นหาคือ หากระบบค้นหาพบเพียงคำใดคำหนึ่ง คำนั้นจะถูก Matching เข้ากับสิ่งที่ระบุไว้ โดยส่วนมากวิธีการค้นหาข้อมูลในรูปแบบดังกล่าว จะถูกนำมาใช้สำหรับค้นหาคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่สามารถเขียนได้หลายแบบ หรือคำที่มักเขียนผิด ซึ่งคำเหล่านี้หากใช้วิธีการค้นหาแบบปกติ Matching ของ Google Trends จะไม่นับรวมไปประมวลผล

ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google เกิดขึ้นจากแนวคิดจากวิทยานิพนธ์ของนาย Larry Page และนาย Sergey Brin โดยมีเนื้อความถึงการตั้งสมมุติฐานที่ว่า โปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นที่แสดงผลการค้นหาที่มีความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม ดังนั้นจึงได้มีการสร้างโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นของ Google ขึ้นมา โดยใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน และยังมีการกำหนดอีกว่า เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดี จะต้องมีการเชื่อมโยงลิ้งค์กับหน้าเว็บเพจอื่นมากที่สุด และในเดือนกันยายน ค.ศ.1998 บริษัท Google,Inc. ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo!

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! เกิดขึ้นจากการที่นาย David Filo และนาย Jerry Yang ได้ร่วมกันทำงานอดิเรกชิ้นหนึ่ง และสร้างงานนี้ขึ้นมาในชื่อว่า “Jerry and David’s guide to the World Wide Web” เพื่อใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสารบัญของเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ด้วยกัน โดยในเวลาต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! และมีการนำมาใช้งานจนทุกวันนี้ (ปัจจุบัน Yahoo ขายกิจการให้ Verizon แล้ว)

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search ได้มีการเปิดตัวขึ้นมาในครั้งแรกในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับโปรแกรม Windows 95 โดยตรง พร้อมกับให้บริการสำหรับเสิร์ชหาเว็บไซต์ต่างๆ และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างครบวงจร จึงเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ Microsoft Network นอกจากนี้ยังใช้สำหรับเป็นพื้นที่ในการเก็บอีเมลล์ฟรี ในชื่อ Hotmail ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงแรกๆ ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาจนเกิดโปรแกรมสนทนาออนไลน์ขึ้นมา ซึ่งก็รู้จักกันดีในชื่อของ MSN Messenger และยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Baidu เกิดขึ้นโดย โรบิน ลี (Mr.Robin Li) ซึ่งเป็นนักศึกษาจีน และได้ไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงได้กลับมาเปิดบริษัทที่ประเทศจีน และสร้าง Baidu ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านอินเทอร์เน็ตและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในการเสิร์ชเอนจิ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบไฮเปอร์ลิ้งก์ เพื่อให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับบริการต่างๆ ได้ดี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไป่ตู้ก็ได้ประสบความสำเร็จและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี โดยในแต่ละวันก็จะมีการพิมพ์คำสืบค้นลงในแพลตฟอร์มของไป่ตู้มากกว่าหมื่นล้านคำ ปัจจุบันยังมีการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมกับปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลจากการค้นหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ชาวจีนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

YouTube เป็น Search Engine อันดับ 2 ของโลก

YouTube ถูกยกให้เป็นบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์หรือเสิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เพราะมีคนเข้ามาค้นเนื้อหาที่สนใจในรูปแบบวิดีโอมากกว่า 3 พันล้านครั้งต่อเดือน หากลองให้ใครสักคนนึกถึงเว็บไซต์อัพโหลดและแชร์คลิปวีดีโอชื่อดังระดับโลก เชื่อว่าหลายคนจะต้องนึกถึง “YouTube” แต่บทบาทของ YouTube นอกแหนือจากจะเป็นเว็บไซต์เบอร์หนึ่งในด้านการอัพโหลดและแชร์คลิปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตำแหน่งที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึงกัน ก็คือเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้ความนิยมเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าเว็บไซต์อย่าง Bing, Yahoo, Ask และ AOL รวมกันทั้งหมดเสียอีก

YouTube ถูกก่อตั้งในปี 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal จำนวน 3 คน โดยภายในระยะเวลาแต่เพียงปีเดียวหลังจากการก่อตั้งเท่านั้น Google ได้เข้ามาซื้อ YouTube ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจนมาถึงในยุคปัจจุบัน YouTube กลายเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ช่องทางในการชมวีดีโอ นอกจากผ่านทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบปกติแล้ว การชมผ่านโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน โดยจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกมีการเข้าชมวีดีโอ YouTube บนโทรศัพท์มือถือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของการชมคลิปวีดีโอทั้งหมดบน YouTube

การสำรวจพบว่า 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับบน YouTube ที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก คือจำนวนวิว (ผู้ชม), ชื่อของคลิปวีดีโอ, คำบรรยายคลิป รวมถึงจำนวน Like และ Dislike บนคลิป ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยล้วนมีความสำคัญทำให้การแสดงผลของวีดีโอมีอันดับที่สูงขึ้น

ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่สามารถทำหน้าที่เป็น Search Engine Site มีให้บริการมากมายแก่ผู้สืบค้นข้อมูลเพื่อทำให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายมากขึ้น โดยการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Search Engine บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ มีความเปิดกว้างและไม่มีการจำกัดขอบเขต ผู้สืบค้นจึงสามารถทำการสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพจากหลากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก


บทที่ 5 ชีวิตใหม่ (รู้จักคำนำเรื่อง)


เรียนวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ภาษาพาที ชั้นป.2

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

บทที่ 5 ชีวิตใหม่ (รู้จักคำนำเรื่อง)

คำนำหน้าภาษาอังกฤษ Mr Mrs Ms Miss


Vanilla English EP.125 คำนำหน้าภาษาอังกฤษ Mr Mrs Ms Miss
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ และอย่าลืม subscribe กดกระดิ่งเป็นกำลังใจให้กี๋ด้วยนะค้าาาา แล้วเจอกันคลิปต่อๆไป เย้ๆ เจอกันค่าาาาา
LINE: https://lin.ee/A5RQK7z
Apple Podcast: Vanillaenglishchannel
SoundCloud: https://soundcloud.com/vanillaenglish357145867
Facebook: https://www.facebook.com/vanillaenglishchannel
Instagram: https://www.instagram.com/vanillaenglishchannel
Twitter: https://twitter.com/ChannelVanilla
Vanilla English Channel มาพร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เรียนอังกฤษแบบชิลๆหนุกๆ กลมกล่อมหอมหวานเหมือนวานิลลาไปกับกี๋ ผู้ใช้ภาษาอังกฤษ รับความรู้ภาษาอังกฤษ และถ่ายทอดภาษาอังกฤษมานานกว่า 20 ปี
CAMERA: PANASONIC LUMIX GH5
LENS: PANASONIC LUMIX G 1235 f2.8
EDITING PROGRAMME: Davinci Resolve \u0026 Final Cut Pro X

คำนำหน้าภาษาอังกฤษ Mr Mrs Ms Miss

Ep.02-2 คำนำ/แรงบันดาลใจในการศึกษา ติวติดพอร์ตฟรี! by เพจคนทำพอร์ต


✨เริ่มทำพอร์ตด้วยเทมเพลตวันนี้!✨
เพราะ ไม่ใช่ทุกคนจะทำพอร์ตเป็น ดังนั้น การใช้เทมเพลตจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทำพอร์ตโฟลิโอ
สวยกว่า เร็วกว่า ง่ายกว่าและประหยัดกว่าการพอร์ตโฟลิโอทั่วไป

ทดลองใช้เทมเพลตฟรี! ได้ที่เว็ปไซต์🌐 : www.portfoliotcas.com

👇ติดตามเพจคนทำพอร์ตได้ที่👇
Tiktok : https://vt.tiktok.com/ZGJAy79Qs/ (ลงคลิปสอนเทคนิคทำพอร์ตแบบสั้นๆ)
Facebook : https://web.facebook.com/kontumport (มีพี่ๆ แอดมินคอยตอบแชท)
Instagram : https://www.instagram.com/kontumport

Ep.02-2 คำนำ/แรงบันดาลใจในการศึกษา ติวติดพอร์ตฟรี! by เพจคนทำพอร์ต

วิชาภาษาไทย ชั้น ม.4 เรื่อง การเขียนเรียงความ


สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ม.6 ทุกคนที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบได้จาก เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของเรา
Web: https://nockacademy.com/learn/
iOS: https://apple.co/2SKdksn
Android: http://bit.ly/2REzb7w
●สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ●
http://nockacademy.com
●สำหรับโรงเรียนใดที่สนใจ●
https://nockacademy.com/forschool/

วิชาภาษาไทย ชั้น ม.4 เรื่อง การเขียนเรียงความ

นำนั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้ตัวเองเหล่าสัพสัตว์ขมาเจ้ากรรมนายเวรค้าขายร่ำรวยชีวิตดีขึ้นทันตา


Shambhala Channel And ธรรมะนำใจ Channel ได้นำ ธรรมะ คำสอน บทสวดฯ พระสูตร พระปริตร ต่างๆ
จัดทำเผยแพร่เพื่อรักษามรดกธรรมของพระพุทธศาสนา พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพื่อเทิดทูนบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่พุทธบริษัทสืบต่อไปฯ
ทั้งหมดอยู่ภายใต้ Creative Commons License [AttributionShareAlike 3.0 Unported (CC BYSA 3.0)]
https://creativecommons.org/licenses/…
The images and sounds belong to other people. But the imagination is ours alone
ภาพและเสียงเป็นของผู้อื่นเขา แต่ จินตนาการเป็นของเราผู้เดียว
Thanks for watching! Don’t forget SUBCRIBE. Like and share my video if you like it! Wish you very happy everyday
ขอบคุณที่รับชม! อย่าลืม SUBCRIBE กดไลค์และแชร์วิดีโอของฉันหากคุณชอบ! ขอให้คุณมีความสุขทุกวัน
None of these images, music \u0026 video clips were created/owned by us.
เราไม่มีภาพเพลงและวิดีโอคลิปเหล่านี้ที่สร้าง / เป็นเจ้าของ
This video is purely fanmade, if you (owners) want to remove this video, please CONTACT US DIRECTLY before doing anything. We will respectfully remove it.
วิดีโอนี้ทำโดยแฟนตัวจริงหากคุณ (เจ้าของ) ต้องการลบวิดีโอนี้โปรดติดต่อเราโดยตรงก่อนที่จะทำอะไร เราจะลบออกด้วยความเคารพ

นำนั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้ตัวเองเหล่าสัพสัตว์ขมาเจ้ากรรมนายเวรค้าขายร่ำรวยชีวิตดีขึ้นทันตา

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ความ หมาย ของ คำนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *