Skip to content
Home » [NEW] | นักเรียน ไทย ใน อเมริกา – NATAVIGUIDES

[NEW] | นักเรียน ไทย ใน อเมริกา – NATAVIGUIDES

นักเรียน ไทย ใน อเมริกา: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

คำบรรยายภาพ

  1. ครูใหญ่จูเลีย แฮทช์ และคณะครูจากโรงเรียนสตรีอเมริกัน (โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน) ทศวรรษ 1920 (พ.ศ. 2463-2472) (ภาพถ่ายจากหนังสือ เส้นด้ายอเมริกันในผืนผ้าล้านนา)
  2. กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ฌอน โอนีลล์ ทักทายเยาวชนที่ร่วมชมขบวนพาเหรดในงานลอยกระทงปี 2562 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  3. กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ (พ.ศ. 2559-2562) ถ่ายภาพกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ปี 2561 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  4. วงดนตรีประจำหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ III Marine Expeditionary Force จัดเวิร์กชอปด้านดนตรีให้กับนักเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2562 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  5. ทีมวีลแชร์แดนซ์จากโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะรายการ Thailand’s Got Talent ปี 2557 แสดงในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมกีฬาเพื่อผู้พิการ ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ National Ability Center ของสหรัฐฯ ปี 2558 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  6. เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เคนเนธ ทอดด์ ยัง (พ.ศ. 2504-2506) ลองเป่าแคนที่พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เมื่อครั้งเยือนเชียงใหม่ ทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503-2512) (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยคุณวิมล สิทธิประณีต)

หนึ่งในคุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ชาวอเมริกันได้สร้างให้แก่ภาคเหนือของประเทศไทยคือเรื่องการศึกษา

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกขึ้นเป็นครั้งแรกที่เชียงใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจนถึงความร่วมมือด้านการศึกษาที่กว้างขวางในปัจจุบัน ชาวอเมริกันมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาในภาคเหนือของไทยมาโดยตลอด สถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จที่เห็นในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ตกทอดมาจากบทบาทของชาวอเมริกันรุ่นแรกในภาคเหนือของไทย

ก่อนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในภาคเหนือของไทย เฉพาะเด็กชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือ และต้องเรียนในวัดเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ครูสอนภาษาชาวอเมริกันได้เข้าไปถวายพระอักษรในพระบรมมหาราชวังในช่วงกลางทศวรรษ 1800 (พ.ศ. 2343-2352) เนื่องจากทรงเห็นว่าอเมริกา เป็นประเทศที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างอาณาจักรของตนขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ชาวอเมริกันเป็นอำนาจ “ที่เป็นกลาง” ระหว่างฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกและอังกฤษทางทิศตะวันตก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอเมริกันก็ได้ทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างกว้างขวางในการสร้างโรงเรียนสมัยใหม่และผสมผสานวิธีการสอนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาทั่วทั้งภาคเหนือของไทย

โรงเรียนมัธยมศึกษา

โรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกในภาคเหนือของไทยมุ่งให้การศึกษาแก่เด็กผู้หญิง โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีประวัติย้อนไปถึงเมื่อครั้งโซเฟีย แมคกิลวารี มิชชันนารีชาวอเมริกัน ตัดสินใจเปิดบ้านของเธอที่เชียงใหม่เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงในปี 2418 เมื่อมีนักเรียนมากขึ้น แหม่มแมคกิลวารีก็เสาะหาที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ เมื่อถึงปี 2422 เอ็ดนา เอส.โคล และแมรี แคมป์เบลล์ ได้ร่วมกันก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนสตรีอเมริกัน (American Girls’ School) ในเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาในปี 2466 โรงเรียนนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัย เพื่อรำลึกถึงผู้อุปถัมภ์รุ่นแรกคือ เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

สำหรับโรงเรียนชายวังสิงห์คำ (Chiengmai Boys’ School) ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในลักษณะคล้าย ๆ กันในปี 2430 โดยศาสนาจารย์ ดี.จี. คอลลินส์ ชาวอเมริกันนิกายเพรสไบทีเรียนได้ย้ายจากกรุงเทพฯ ไปยังเชียงใหม่เพื่อก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง โรงเรียนเริ่มเปิดสอนด้วยเงินทุนเพียง 2,000 บาทและมีนักเรียนประมาณ 30 คน ศาสนาจารย์คอลลินส์ซึ่งเป็นครูใหญ่คนแรกไม่เพียงดูแลด้านการบริหารโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาแบบตะวันตกในภาคเหนือของไทย ตลอดจนเรียนภาษาล้านนา ขอการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งระดมเงินบริจาคจากชาวอเมริกัน และก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในภาคเหนือของไทย

เมื่อถึงปี 2499 โรงเรียนชายวังสิงห์คำก็ย้ายไปอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง และได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) ว่า “โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย” เมื่อปี 2549 โรงเรียนได้ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีที่ได้รับพระราชทานนามและจัดพิธีรำลึกถึงคุณูปการต่าง ๆ ของชาวอเมริกันที่มีส่วนช่วยพัฒนาโรงเรียนในยุคแรก ๆ

ชาวอเมริกันยังได้เผยแพร่การศึกษาแบบตะวันตกในจังหวัดอื่น ๆ ของภาคเหนือ ในปี 2428 ศาสนาจารย์นายแพทย์แซมมวล ซี. พีเพิลส์ และภรรยาได้ก่อตั้งโรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซีขึ้นที่จังหวัดลำปาง โดยเป็นโรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกที่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ ศาสนาจารย์พีเพิลส์และภรรยายังได้ก่อตั้งโรงเรียนลินกัล์น อะแคเดมีขึ้นที่จังหวัดน่านในปี 2447 ก่อนหน้าปี 2440 ศาสนาจารย์แดเนียล แมกกิลวารี และนายแพทย์วิลเลียม บริกส์ ได้สร้างโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งขึ้นที่เชียงราย ในปัจจุบัน มีโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันทั้งหมด 11 แห่งใน 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และพิษณุโลก

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

ความสำเร็จของโรงเรียนมัธยมปลายเหล่านี้ได้สร้างกำลังใจให้แก่เหล่ามิชชันนารีชาวอเมริกัน พวกเขาจึงได้เริ่มวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขึ้นในภาคเหนือ ความคิดเกี่ยวกับการสร้างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือเริ่มต้นขึ้นในชุมชนชาวเชียงใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อชาวอเมริกันนิกายเพรสไบทีเรียนกลุ่มหนึ่งร่างแผนการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยคริสเตียนลาว” ขึ้น โดยคอนราด คิงส์ฮิลล์ มิชชันนารีหนุ่มนิกายเพรสไบทีเรียนเดินทางถึงเชียงใหม่ในปี 2490 เพื่อวางรากฐานสำหรับกิจการอย่างหนึ่งซึ่งได้พัฒนากลายมาเป็นวิทยาลัยพายัพในเกือบ 30 ปีต่อมา

ในปี 2517 หลังจากที่รัฐบาลไทยอนุมัติแผนการก่อตั้งวิทยาลัยเอกชน มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้เปิดวิทยาลัยพายัพ ซึ่งเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกนอกกรุงเทพฯ วิทยาลัยพายัพได้รวมเอาสถาบันหลายแห่งที่ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และโรงเรียนฝึกหัดนางพยาบาลแห่งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค วิทยาลัยพายัพยังได้เปิดคณะมนุษยศาสตร์เพิ่มอีกคณะหนึ่งและผนวกรวมแผนกดนตรีคริสตจักรของวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารีเข้ามาไว้ด้วย ทำให้วิทยาลัยพายัพเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาดนตรี ในปี 2527 วิทยาลัยพายัพได้รับสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย

อาคารของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และหอพักนักศึกษานานาชาติ ซึ่งมีพิธีเปิดในเดือนมิถุนายน 2550 ได้รับการสนับสนุนทุนในการก่อสร้างส่วนหนึ่งจากโครงการโรงเรียนและโรงพยาบาลอเมริกันในต่างประเทศ (American Schools and Hospitals Abroad: ASHA) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (U.S. Agency for International Development: USAID) นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังสนับสนุนทุนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อก่อสร้างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร (สำนักหอสมุด) ซึ่งเปิดใช้งานปี 2548 ภายใต้โครงการ ASHA นี้ มหาวิทยาลัยพายัพได้รับทุนสนับสนุนไปแล้วกว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา

พลเมืองอเมริกันยังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2497 ที่กำหนดให้มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในภาคเหนือของไทย โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินและการพัฒนาจากหน่วยงานบริหารความช่วยเหลือของสหรัฐฯ (U.S. Operations Mission: USOM) ในปี 2499 และนำไปสู่ความร่วมมือระยะยาวกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการก่อสร้างโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ การร่วมร่างแผนแม่บท การให้คำปรึกษาจากช่างเทคนิค ที่ปรึกษา และนักบริหารชาวอเมริกัน รวมทั้งคำสัญญาในการจัดหาอาจารย์ชาวอเมริกันให้แก่มหาวิทยาลัยจนกว่าอาจารย์ชาวไทยจะสามารถสอนนักเรียนแพทย์ได้เองด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการทุนการศึกษาที่ส่งนักศึกษาไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นไปในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิก โดยรวมแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบทุนประมาณ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง USOM และองค์กรหลักคือ USAID เพื่อก่อสร้างและสนับสนุนโรงเรียนแพทย์

ในปี 2507 โรงเรียนแพทย์แห่งนี้กลายเป็นแกนหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันระดับอุดมศึกษาแห่งแรกนอกกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังคงความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยมีการแลกเปลี่ยนทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยประมาณ 40 แห่งในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ได้ศึกษาต่อในสหรัฐฯ ภายใต้โครงการฟุลไบรท์และโครงการแลกเปลี่ยนอื่น ๆ

โครงการแลกเปลี่ยน

ในปัจจุบัน สหรัฐฯ มีส่วนร่วมในการศึกษาของไทยในภาคเหนือผ่านโครงการแลกเปลี่ยนที่หลากหลายสำหรับนักเรียนนักศึกษา และคณาจารย์ วิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการศึกษาระดับมัธยมปลายในต่างประเทศคือการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น โครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ (AFS Intercultural Programs) (เดิมชื่อโครงการ American Field Service) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้โครงการนี้ นักเรียนไทยหลายพันคนและนักเรียนอเมริกันหลายร้อยคนได้ใช้ชีวิตและศึกษาในสหรัฐฯ และไทย นอกจากนี้ ยังมีสำนักงานแลกเปลี่ยนทางการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไรอีกหลายแห่งของสหรัฐฯ ที่ร่วมดำเนินโครงการในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในสหรัฐฯ ด้วย เช่น Council on International Educational Exchange (CCI), Institute for the International Education of Students (IES) และ School for International Training (SIT) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในอเมริกาและไทยหลายแห่งก็ยังได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนกันเองเพื่อให้นักศึกษาชาวอเมริกันและชาวไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน

ทุนฟุลไบรท์เป็นทุนที่มอบให้ทั้งชาวอเมริกันและชาวไทยเพื่อการค้นคว้าวิจัย ศึกษาและสอนในไทยและสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2492-2560 มีชาวไทยกว่า 1,786 คนและชาวอเมริกันกว่า 1,146 คนที่ได้รับทุนฟุลไบร์ทเพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา และสอนในทั้งสองประเทศ ภาคเหนือของไทยเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้รับทุนฟุลไบรท์ชาวอเมริกัน โดยเชียงใหม่เพียงจังหวัดเดียวมีผู้รับทุนที่ใช้ชีวิตและทำงานอยู่กว่า 120 คน

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักศึกษาไทยให้ความสนใจประเทศสหรัฐฯ จากรายงานของ Open Doors ระบุว่ามีนักศึกษาไทยกว่า 6,636 คน ลงทะเบียนในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯในปี 2561 ตั้งแต่ปี 2467 เป็นต้นมา ศิษย์เก่าชาวไทยที่เคยศึกษาในสหรัฐฯ ได้ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาขึ้น ต่อมาในปี 2495 สถานเอกอัครราชทูตทูตสหรัฐฯ ได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าฯ จัดตั้งโรงเรียนสถานสอนภาษาอังกฤษขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า “เอยูเอ” โรงเรียนดังกล่าวได้ขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ โดยสหรัฐฯ สนับสนุนทุน คณาจารย์ และให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการจนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2542) ทุกวันนี้ มีสถานสอนภาษา 20 แห่งที่เกิดขึ้นจากความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าว รวมถึงสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่เชียงใหม่ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2500 และสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่เชียงราย ซึ่งก่อตั้งในปี  2540 ตั้งแต่ปี 2561 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ และสถานกงสุลใหญ่ ร่วมกับสถานสอนภาษาเอยูเอ ดำเนินโครงการ English Access Microscholarship Program (Access) ซึ่งสร้างพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนอายุ 13-20 ปีที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยโครงการ Access ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะภาษาอังกฤษที่อาจนำไปสู่โอกาสในการทำงานหรือการศึกษาต่อที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ฝึกฝนความสามารถในการแข่งขันและเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและการศึกษาต่อในประเทศสหรัฐฯ ในอนาคตอีกด้วย

ในปี 2523 USAID ได้สนับสนุนทุนโครงการการศึกษาสำหรับชาวเขาของกรมการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทย โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในเขตจังหวัดเหนือสุดของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสอนในสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การขอสัญชาติไทยหรือการป้องกันการใช้ยาเสพติด เป็นต้น ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเขตที่ราบสูงขององค์การสหประชาชาติ องค์กรนอกภาครัฐฯ หรือโครงการใหม่ ๆ ของรัฐบาลในยุคหลัง ๆ

โครงการของรัฐบาลสหรัฐฯ

ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2542) กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐฯ ได้สนับสนุนทุนเพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชุมชน 2 แห่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาแห่งแรกในจังหวัดที่มีชายแดนติดประเทศเมียนมา

อีกหนึ่งสถาบันของสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับประเทศไทยและภาคเหนือคือหน่วยอาสาสมัครสันติภาพสหรัฐฯ (Peace Corps) ตั้งแต่ปี 2505 เป็นต้นมา อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐฯ ราว 5,507 คนได้ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยในบทบาทต่าง ๆ โดยเฉพาะในโครงการด้านการพัฒนาการศึกษาและเยาวชน

เมื่อเรามองสถาบันการศึกษาไทยในปัจจุบัน เราจะเห็นอิทธิพลของสหรัฐฯ ที่มีต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทยในการสร้างโอกาสทางการศึกษาในภาคเหนือของไทยเริ่มต้นจากการสอนหนังสือในบ้านของมิชชันนารี ก่อนที่จะเปิดห้องเรียนให้แก่เด็กหญิง ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ และจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ชาวอเมริกันยุคแรก ๆ ในภาคเหนือของไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อตั้งสถาบันการศึกษาเป็นอันดับแรก ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนในเวลาต่อมา ได้ส่งผลต่อการศึกษาไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน

Table of Contents

[NEW] นักเรียนนอกยุคแรก – พระยาอรรคราชวราทร ทูตไทยคนแรกในสหรัฐอเมริกา! | นักเรียน ไทย ใน อเมริกา – NATAVIGUIDES

นำเรื่องราวเกี่ยวกับนักเรียนนอกยุคแรกมาฝาก โดยยุคนักเรียนไทยไปเรียนเมืองนอกนี้ เริ่มมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 .. ทั้งนี้เพราะอิทธิพลของมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก แผ่เข้ามาคุกคามไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3 และเห็นได้ชัดขึ้นในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ทรงเห็นความจำเป็นที่จะให้คนไทยเรียนรู้วัฒนธรรมของฝรั่ง จะได้รู้เท่าทันพวกเขา เพื่อแก้ไขปัญหาการรุกราน รักษาเอกราชไว้ได้ จึงทรงสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ภาษาและวิชาการตะวันตกอย่างมาก จนสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ตรัสเป็นข้อคิดไว้ว่า

… เมื่อรัชกาลที่ 1 ใครรบทัพจับศึกได้แข็งแกร่งก็โปรด , ในรัชกาลที่ 2 ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด , ในรัชกาลที่ 3 ใครมีศรัทธาสร้างวัดวาก็เป็นคนโปรด , ในรัชกาลที่ 4 ใครรู้ภาษาฝรั่งก็เป็นคนโปรด

นักเรียนนอกยุคแรก

การเรียนภาษาอังกฤษ เริ่มมาจากในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนขึ้น จ้างครูสตรีชาวอังกฤษชื่อ แอนนา เลียวโนเวนส์ มาถวายพระอักษรพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอที่ทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ก็โปรดฯ ให้เจ้าจอมหม่อมห้ามได้เรียนด้วย คนหนึ่งที่เรียนจนพูดภาษาอังกฤษได้คือ เจ้าจอมมารดากลิ่นในกรมพระนเรศวรฤทธิ์ (ต้นสกุล กฤดากร)

5 คนไทยรุ่นแรก ที่รู้ภาษาอังกฤษพอใช้ในราชการได้

ล่วงมาถึงปลายรัชกาล คนไทยรุ่นแรกที่รู้ภาษาอังกฤษมากพอจะนำมาใช้ในราชการงานเมืองได้มีอยู่ 5 คน คือ

1.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (แต่ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) ทรงศึกษากับครูสตรีและมิชชันนารีอื่นๆ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง จนทรงแปลเรื่อง The Story of Abou Hassan; or the Sleeper Awakened – Arabian Nights ของ เซอร์ริชาร์ด เบอร์ตัน เป็นไทยได้ ชื่อว่า “นิทราชาคริต”*

2.กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือพระนามเมื่อครั้งประสูติว่าพระองค์เจ้ายอร์ช วอชิงตัน) พระโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบภาษาอังกฤษบ้างพอตรัสได้ และทรงถนัดเรื่องวิชาช่างเช่นเดียวกับพระชนกนาถ

3.พระยาอรรคราชวราทร (หวาด บุนนาค) บุตรพระยาอภัยสงคราม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ฝากนายเรือรบอเมริกันไปเรียนวิชาทหารเรือ เรียนรู้ทางภาษากลับมารับราชการในกรมท่าและได้เป็นพระยาเมื่อชรา

4.พระยาอรรคราชวราทร (เนตร) บุตรพระยาสมุทบุรานุรักษ์ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองสิงคโปร์จนใช้ได้ดี กลับมารับราชการได้เป็นขุนศรีสยามกิจ ผู้ช่วยกงสุลสยามที่เมืองสิงคโปร์ และหลวงศรีสยามกิจ ไวส์กงสุลสยามในเมืองสิงคโปร์ในรัชกาลที่ 4 ต่อมา ในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นพระยาสมุทบุรานุรักษ์ ตามอย่างบิดาและพระยาอรรคราชวราทรคนแรก

5.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นลูกหลานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ทางบ้านส่งไปเรียนที่อังกฤษอยู่ 3 ปี ต่อมาเดินทางกลับพร้อมกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เมื่อครั้งเป็นราชทูตไปฝรั่งเศส ได้เป็นล่าม กลับมารับราชการเป็นนายราชาณัตยานุหาร หุ้มแพรวิเศษ ในกรมอาลักษณ์ พนักงานเชิญรับสั่งไปต่างประเทศ และเป็นราชเลขานุการภาษาอังกฤษตลอดรัชกาล

สามัญชนที่เรียนวิชาความรู้จากฝรั่ง คือ นายจิตร อยู่กุฎีจีน เรียนวิชาถ่ายรูปกับ บาทหลวงหลุยส์ ลานอดี ชาวฝรั่งเศส และนายทอมสัน ช่างถ่ายรูปชาวอังกฤษ จนตั้งห้างถ่ายรูปได้ ได้เป็นขุนฉายาทิศลักษณะ และหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมแกสหลวง

พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) ยืนซ้ายสุด เมื่อครั้งตามเสด็จรัชกาลที่ 5 ไปประเทศอินเดีย พ.ศ. 2414

นักเรียนไทยชุดแรกที่ไปเรียนต่อที่ยุโรป 3 คน

ในปลายรัชกาลนี้เอง (รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ราชการได้เริ่มส่งนักเรียนไทยชุดแรก ไปเรียนต่อที่ยุโรป 3 คน สองคนที่ไปเรียนในอังกฤษ คือ นายโต บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ กลับมารับราชการในบั้นปลายได้เป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ และนายสุดใจ บุตรเจ้าพระยาภาณุวง์มหาโกษาธิบดี (ท้วม) กลับมารับราชการได้เป็นพระยาราชานุประพันธ์ ส่วนคนที่สามคือ นายบิน บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ไปเรียนที่ฝรั่งเศส กลับมาได้เป็นหลวงดำรงสุรินทฤทธิ์

เรียนภาษาอังกฤษในสยาม อีก 6 คน

ส่วนในสยาม มีผู้เรียนภาษาอังกฤษกับมิชชันนารี แล้วเข้ารับราชการอีก 6 คน บางคนไปเรียนต่อต่างประเทศ บางคนก็เข้ารับราชการโดยตรง ส่วนใหญ่จะเจริญรุ่งเรืองในราชการอย่างดี

จัดตั้งชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ในรัชกาลที่ 5

เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ขึ้นที่โรงทหารมหาดเล็ก จัดครูฝรั่งมาถวายพระอักษรบรรดาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้านายที่ได้รับราชการเป็นเสนาบดีในรัชกาลที่ 5 อย่างสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าเรียนภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษแทบทุกพระองค์ จึงทรงเป็นกำลังสำคัญอย่างมากในการพัฒนาบ้านเมือง

คัดเลือกลูกผู้ดีไทยไปเรียนภาษาอังกฤษ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ยังโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกลูกผู้ดีไทย รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ประมาณ 20 คน ส่งไปเรียนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์อีกชุดหนึ่ง สามคนในจำนวนนี้ได้ไปเรียนที่อังกฤษอีกด้วย คือ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์, หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ ในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส และพระยาไชยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง ศิริวงศ์) เป็นต้น

คนไทยจำนวนน้อยนิดในรัชกาลที่ 3 และ 4 ที่รู้ภาษาตะวันตกเหล่านี้ เป็นผู้วางรากฐานความสำคัญของภาษาและวิทยาการตะวันตกให้เพิ่มพูนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกลายเป็นความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ขุนนางข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่จะส่งบุตรหลานของตนไปศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรป

การเรียนรู้วิทยาการในประเทศตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 ในหมู่นักเรียนไทยนี้เอง มีส่วนกระตุ้นให้เกิดความคิดอ่านที่จะมีส่วนในการปกครองประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตยที่นักเรียนไทยเหล่านั้นไปเห็นมาในหลายประเทศในยุโรป จนกระทั่งนำไปสู่เสรีภาพทางหนังสือพิมพ์ การเรียกร้องสิทธิ์ในการมีส่วนปกครองประเทศ และจบลงด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

ทูตไทยคนแรกในสหรัฐอเมริกา!

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ)

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) (23 มกราคม พ.ศ. 2403 – ) เป็นอธิบดีกรมกองตระเวน คนที่ 2 อดีตอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และอดีตอัครราชทูตสยามประจำกรุงอังกฤษ

ท่านเป็นสามัญชนชุดแรก ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ร่วมกับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธและจ้าวนายชั้นสูงพระองค์อื่นในปี พ.ศ.2425 เมื่อกลับจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2432 แล้ว เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก และเป็นเลขานุการส่วนพระองค์เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ

รับราชการ

พ.ศ. 2415 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2424 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายรองบำรุงราชบทมาลย์
พ.ศ. 2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2432 กลับจากประเทศอังกฤษ เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก และเป็นเลขานุการส่วนพระองค์เสนาบดี กระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็น ปลัดกรมกองตระเวรฝ่ายกองรักษาในกรมพระนครบาล

พ.ศ. 2435 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระอนันต์นรารักษ์ เข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมกองตระเวน แทน หลวงรัฐยาภิบาลบัญชาซึ่งเกษียณอายุ พระอนันต์นรารักษ์อยู่ในตำแหน่งนี้ จนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใปเป็นข้าหลวงจัดราชการเมืองสมุทรปราการแลเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง)ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเพชรชฎา

พ.ศ. 2444 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน และ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอรรคราชวราทร

พ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายจากอัครราชทูตสยามกรุงวอชิงตัน ไปเป็นอัครราชทูตประจำกรุงอังกฤษ และได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้น 2

พ.ศ. 2455 ย้ายจากอัครราชทูตกรุงอังกฤษกลับกรุงเทพฯ แลกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ

*หน้าตาและประวัติของพระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) ซึ่งนามมักสับสนกับพระยาอรรคราชนารถภักดี (เนตร เนตรายน)

ว่ากันว่า ท่านเป็นต้นแบบของคุณหลวงอัครเทพวรากร ของแม่มณีในเรื่อง “ทวิภพ”

เรื่อง The Story of Abou Hassan; or the Sleeper Awakened

เรื่อง The Story of Abou Hassan; or the Sleeper Awakened

ตอน Arabian Nights ของ เซอร์ริชาร์ด เบอร์ตัน หรือที่แปลในชื่อไทยว่า “นิทราชาคริต”

ภาพจาก www.bloggang.com , www.lungkitti.com , Manager

ที่มาข้อมูล พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) , www.vcharkarn.com , ประวัติ พระยาอรรคราชวราทร

บทความแนะนำ


a day at an international school in Thailand | 1วันในโรงเรียนนานาชาติ 🏫


since i enjoyed doing my last school vlog quiet a lot, here’s another one 🙂
instagram : kimswizzled
https://www.instagram.com/kimswizzled/
tiktok : kimisboredd
https://vm.tiktok.com/ZMd1cfWCs/
facebook : kim swizzled
https://www.facebook.com/kim.swizzled
school internationalschool vlogs

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

a day at an international school in Thailand | 1วันในโรงเรียนนานาชาติ 🏫

Ep418🍁One Day In USA | 1 วันในอเมริกาของเด็กนักเรียนไทย ทำอะไร? #VickyM


Ep418🍁One Day In USA | 1 วันในอเมริกาของเด็กนักเรียนไทย ทำอะไร? #VickyM

EP 218.ชีวิตนักเรียนไทยแลกเปลี่ยนมาอเมริกา


Email ผู้ดูแลนักเรียนไทย : [email protected]
IG น้องมานา : https://www.instagram.com/manaxps/
อีกช่องของผม https://www.youtube.com/channel/UChvL2teFdcU5lK4HFB9H5pw
จีโร่ เพจ https://www.facebook.com/MrJiroChanTX/
จีโร่ IG : https://www.instagram.com/jiro_chan_16/
\”ไม่ว่าจะไปดูอู่ ดูรถซิ่ง ดูรถมือสอง ขับรถกินลม หาของกิน รีวิวรถ ดูอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยและเทศในอเมริกา ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในช่องของ MrJiroChan ครับ.\”

EP 218.ชีวิตนักเรียนไทยแลกเปลี่ยนมาอเมริกา

Loukgolf’s English Room – เค เลิศสิทธิชัย [EP.133] วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560


รายการ Loukgolf’s English Room
เปิดบ้านเรียนภาษาอังกฤษสุดสนุกกกับ ครูลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์
พร้อมสนทนา Speak English โดยเจอกับภาระกิจคำศัพท์และการแต่งประโยคสุดฮากัน
ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 14.00 น. ทางช่อง GMM25
Facebook : https://www.facebook.com/lgenglishroom

ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของช่อง GMM25 ได้ที่
FB GMM25 | https://www.facebook.com/GMM25Thailand
FB Club Friday The Series| https://www.facebook.com/ClubFridayTheSeriesOfficial
IG GMM25Thailand | https://instagram.com/GMM25Thailand
IG GMM25Drama | https://instagram.com/GMM25drama
IG Club Friday The Series | https://instagram.com/clubfriday_theseries
Twitter | https://twitter.com/GMM25Thailand
YouTube | https://www.youtube.com/GMM25Thailand
Website | http://www.gmm25.com

Loukgolf's English Room - เค เลิศสิทธิชัย [EP.133] วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560

ปัญหาลอยแพนักเรียนไทยโครงการ Work \u0026Travel ในอเมริกา ตอนที่ 1(VOA Thai)


โครงการ Work \u0026Travel ในอเมริกาที่มีนักศึกษาไทยจำนวนมากยอมเสียเงินนับแสนบาทเพื่อเดินทางไปทำงานและท่องเที่ยวระยะสั้นๆในช่วงปิดภาคเรียนเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในต่างแดน อาจจะไม่ดูราบรื่นเสมอไปเมื่อเกือบทุกปีจะมีนักศึกษาไทยเข้าไปร้องเรียนที่สถานทูตไทยในอเมริกาเพื่อขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ โดยเฉพาะการที่นักศึกษาไทยถูกลอยแพหรือไม่ได้ทำงานตามที่ตกลงไว้เพราะบริษัทนายหน้าบางแห่งที่งทำหน้าที่ประสานงานไม่ทำตามข้อตกลง และล่าสุดก็เกิดขึ้นอีกครั้งกับนักศึกษาไทยกลุ่มหนึ่งที่เดินทางไปทำงานในแถบกรุงวอชิงตัน

ปัญหาลอยแพนักเรียนไทยโครงการ Work \u0026Travel ในอเมริกา ตอนที่ 1(VOA Thai)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ นักเรียน ไทย ใน อเมริกา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *