Skip to content
Home » [NEW] ธุรกิจ ความหมายของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ ประโยชน์ของธุรกิจ วัตถุประสงค์ของธุรกิจ | ประเภทของธุรกิจ 3 ประเภท – NATAVIGUIDES

[NEW] ธุรกิจ ความหมายของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ ประโยชน์ของธุรกิจ วัตถุประสงค์ของธุรกิจ | ประเภทของธุรกิจ 3 ประเภท – NATAVIGUIDES

ประเภทของธุรกิจ 3 ประเภท: คุณกำลังดูกระทู้

    การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณ มีความแตกต่างกับการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ในปัจุบัน เนื่องจากจำนวนประชากรของ มนุษย์ในสมัยโบราณ มีจำนวนน้อย แต่ละคนและแต่ละครอบครัว จะดำรงชีวิตอยู่ด้วยตนเอง ตามลำพัง โดยสร้างที่พักอาศัย ทำเครื่องนุ่งห่ม เพาะปลูกพืช และล่าสัตว์ เพื่อเลี้ยงชีพ ของตนเอง ตามความสามารถ ของแต่ละคน เมื่อสังคมของมนุษย์ขยายขึ้น และความถนัดของมนุษย์มีไม่เหมือนกัน บางคนถนัดใน การล่าสัตว์ บางคนถนัดในการเพาะปลูก บางคนถนัดในการทำเครื่องนุ่งห่ม จึงเกิดระบบการแลกเปลี่ยน โดยการใช้ของแลกของ (Barter System) กันขึ้น เช่น นำข้าวแลกเนื้อสัตว์นำไข่แลกเสื้อผ้า เป็นต้น แต่การนำของแลกของก็มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เพราะสิ่งของบางอย่าง แบ่งแยกได้ยาก เช่น ข้าว 3 ถัง แลกวัวได้ 1 ตัว แต่ถ้าคนที่มีข้าว 1 ถัง ต้องการแลกกับวัว 1 ตัวไม่ได้ ต้องมีการแบ่งแยกวัวซึ่งทำได้ยาก หรือบางครั้ง ความต้องการของคน ที่นำมาแล กไม่ตรงกัน เช่น คนที่มีไข่ต้องการแลกกับเสื้อผ้า แต่คนที่มีเสื้อผ้าต้องการข้าวเป็นต้น ดังนั้นระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของจึงเปลี่ยนไป โดยใช้สื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน สิ่งที่แต่ละยุคนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับ ความพอใจของคนในแต่ละยุคนั้น เช่น เปลือกหอย ทองคำ ฯลฯ ซึ่งได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจนั่นเอง จากความเป็นมาของการดำเนินชีวิตดังกล่าว สามารถสรุปความหมายของธุรกิจได้ดังนี้
    ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือ กำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น

    ธุรกิจคือกระบวนการของธุรกิจที่ ประกอบไปด้วยการผลิตสินค้า หรือ การให้บริการตามความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการจำหน่ายสินค้า โดยได้รับกำไรเป็นผลตอบแทน จากความหมายทำให้ สามารถจำแนกส่วนประกอบสำคัญของธุรกิจได้คือ

    มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่เหมือนกันอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแรกเป็นความต้องการที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต (Needs) ได้แก่ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ส่วนความต้องการอีกประเภทหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์อยากมี (Wants) แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ มนุษย์ก็ยัง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตัวอย่างเช่น รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของมนุษย์ เพราะธุรกิจเป็น แหล่งผลิตสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้ง 2 ประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว
    สินค้าคือ สิ่งของที่มีตัวตน สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น รถยนต์ อาหาร เสื้อผ้า เป็นต้นตัวอย่างของธุรกิจที่เป็นแหล่งผลิตสินค้า เช่น โรงงานผลิต รถยนต์ โรงงานผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น สำหรับการให้บริการนั้น หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่สามารถกำหนดราคา เพื่อซื้อขาย กันได้ ตัวอย่างเช่นการให้บริการของสถานเริงรมย์ บริการเสริมสวย บริการซักรีด บริการขนส่ง บริการด้านการสื่อสารของสถานที่ให้บริการเฉพาะนั้น ๆ เป็นต้น

    การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการ คือ กำไรแต่นอกเหนือจากกำไรแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกที่ธุรกิจ จะต้อง คำนึงถึง เช่น ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อลูกจ้างพนักงาน ฯลฯ

    วัตถุประสงค์ของธุรกิจ (Business Goals) ที่สำคัญมีดังนี้

    จากวัตถุประสงค์ของธุรกิจดังกล่าว จัดว่าเป็นวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของธุรกิจเอกชน แต่ยังมีการประกอบธุรกิจบางประเภทที่ไม่ได้หวังผลกำไร (Social Prestige) ได้แก่ กิจการประเภทสาธารณูปโภค (Public Utilities) ต่าง ๆ เช่น การดำเนินกิจการของการไฟฟ้า การประปา การสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นต้น กิจการดังกล่าวดำเนินการโดยรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนกินดีอยู่ดี มีความสะดวกสบาย

    การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ จะขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐาน ในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4 M ได้แก่

    ประโยชน์ของธุรกิจจำแนกได้ ดังนี้

    ในปัจจุบันมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่มากมายหลายธุรกิจ แต่สามารถแบ่งประเภท ธุรกิจได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ

    การแบ่งประเภทของธุรกิจตามลักษณะของกิจกรรมที่ธุรกิจกระทำ แบ่งออกได้ ดังนี้

    ธุรกิจทุกประเภท ต่างมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับ ความพอใจสูงสุด เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด สามารถบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์ หน้าที่ดังกล่าว ได้แก่

    ระบบธุรกิจเอกชนเป็นระบบเศรษฐกิจที่ธุรกิจสามารถใช้ศักยภาพการ ดำเนินงานของตนเองในการแสวงหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงาน โดยการดำเนินธุรกิจเอกชนมีสิทธิที่จะได้รับสิ่ง ต่อไปนี้

  1. สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน (The Right to Private Property)

    ธุรกิจ เอกชนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งทรัพย์สินที่มี ตัวตน เช่น อาคาร ที่ดิน เครื่องจักร เป็นต้น และ ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธ์ิ เป็นต้น

  2. สิทธิในการแสวงหากำไร (The Right to Profit)

    ธุรกิจสามารถแสวงหาผล กำไรเป็นสิ่งตอบแทนจากการดำเนินงาน

  3. สิทธิในการแข่งขัน (The Right to Competition)

    การดำเนินงานของ ระบบธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการมีอิสระในการดำเนินธุรกิจและสามารถแข่งขันกับ ธุรกิจรายอื่นอย่างอิสระ ธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงสินค้า หรือ บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดย รูปแบบการแข่งขันสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้
    1.)

    การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (Pure Competition)

    มีลักษณะสำคัญคือ ลักษณะของสินค้าจะคล้ายคลึงกัน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างคู่แข่งขัน ผู้ดำเนิน ธุรกิจสามารถเข้าสู่ตลาด หรือออกจากตลาดได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีจำนวนธุรกิจ หลายรายเป็นทางเลือกของผู้บริโภค ดังนั้นจึงไม่มีธุรกิจรายใดรายหนึ่งที่จะมีอำนาจ หรือ มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาของสินค้า ดังนั้นราคาของสินค้าถูกกำหนดโดย กฎของอุปสงค์และอุปทานของตลาด
    2.)

    การแข่งขันแบบกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)

    เป็น สภาพการแข่งขันที่จำนวนธุรกิจจะมีน้อยกว่าในการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ แต่ ผู้บริโภคยังคงมีจำนวนมาก ดังนั้นธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้สินค้ามีความแตกต่าง จากคู่แข่งทางธุรกิจรายอื่น ๆ คู่แข่งขันทางธุรกิจอาจมีทั้งขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก เนื่องจากผู้ดำเนินธุรกิจสามารถเข้า หรือ ออกจากตลาดนี้ได้ง่าย
    3.)

    การแข่งขันแบบน้อยราย (Oligopoly)

    เป็นสภาพการแข่งขันที่ธุรกิจมี จำนวนน้อยราย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องเป็นกิจการขนาดใหญ่ ดังนั้นการเข้าสู่การ แข่งขันลักษณะนี้ของธุรกิจรายใหม่ ๆ จึงค่อนข้างถูกจำกัดเนื่องจากต้องใช้เงิน ลงทุนจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม อุตสาหกรรมพลังงานและเชื้อเพลิง เป็นต้น นอกจากนี้ราคาสินค้าจะใกล้เคียงกัน การเปลี่ยนแปลงราคาของธุรกิจรายใดรายหนึ่งจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าใน อุตสาหกรรมที่จะส่งผลต่อกำไรของกิจการ เช่น การลดราคา ของธุรกิจรายได้รายหนึ่งส่งผลให้คู่แข่งรายอื่นจำเป็นต้องลดราคาลงตาม เป็นต้น
    4.)

    การแข่งขันแบบผูกขาด (Monopoly)

    การแข่งขันแบบนี้จะมีธุรกิจเพียงแค่ รายเดียว ดังนั้นธุรกิจจึงมีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดราคาของสินค้า ในประเทศ ไทยการแข่งขันแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นกิจการประเภท สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้ า น้ำประปา ระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ

  4. สิทธิในการมีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงาน (The Right to Freedom of Choice)

    ผู้ประกอบการธุรกิจมีสิทธิที่จะตัดสินในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินธุรกิจภายใต้ความถูกต้องของหลักกฎหมายและความเหมาะสม อาทิเช่น การ ตัดสินใจลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน การจัดจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

[Update] รู้จักประเภทของกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) – | ประเภทของธุรกิจ 3 ประเภท – NATAVIGUIDES

Types of CSR

กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า CSR เป็นแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร เพื่อทำให้สังคมนั้นอยู่อย่างมีความสุข

แนวคิดเรื่อง CSR นั้นจะช่วยให้บริษัทคำนึงถึงความรู้จักผิดชอบกับการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในมิติต่างๆ ทั้งตัวบริษัท พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ประชาชน สังคม สิ่งแวดล้อม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ หรือที่เรียกว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในทางปฏิบัติคำว่า CSR อาจเรียกได้ว่าความเป็นพลเมืองที่ดี (Corporate Citizenship) ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบในทุกๆด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

หากบริษัทไหนเริ่มต้นที่จะนำแนวคิด CSR มาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความน่าชื่อถือให้กับบริษัทเอง รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตก้าวหน้าพร้อมกับคืนกำไรต่างๆสู่ชุมชนและสังคม ดังนั้น CSR จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจสำหรับองค์กรใหญ่ๆทุกบริษัท และกลายเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมธุรกิจ คู่แข่ง และอุตสาหกรรม

ประเภทของ CSR

CSR นั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

  • กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-After-Process)
    เป็นการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่แสวงหากำไรในธุรกิจต่างๆ และนำเงินส่วนหนึ่งที่เป็นรายได้จากการสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการผลิต การขายสินค้าหรือบริการของบริษัท เป็นกิจกรรมที่ถูกวางแผนและทำขึ้นมาหลังจากการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริจาคเงินสมทบทุน การบริจาคเงินช่วยเหลือภัยพิบัติ การสร้างโรงเรียนในต่างจังหวัด หรือการเป็นอาสาสมัครในด้านต่างๆ
  • ธุรกิจเพื่อสังคม (CSR-in-Process)
    ความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ ที่แสวงหากำไรแต่ไม่ลืมที่จะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การควบคุมและป้องกันการสร้างมลพิษจากกระบวนการผลิต การผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน การระบุข้อความหรือข้อมูลส่วนผสมในสินค้า หรือการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่บริษัททำอะไรผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ความผิดพลาดต่อลูกค้า ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในเวลาทำงานปกติขององค์กร
  • กิจการเพื่อสังคม (CSR-as-Process)
    กิจการเพื่อสังคมจะมีความแตกต่างจากกิจกรรมเพื่อสังคมและธุรกิจเพิ่มสังคม เนื่องจากกิจการเพื่อสังคมนั้นเป็นการทำโดยที่ไม่ได้แสวงหากำไรให้กับตัวเอง หรือเรียกได้ว่าทุกกระบวนการของธุรกิจนั้นจะเกี่ยวข้องกับประโยชน์เพื่อสังคมทั้งหมด เช่น มูลนิธิเพื่อสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่สังคม แต่ก็จำเป็นต้องอยู่รอดด้วยการรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และเรายังเห็นได้จากองค์กรใหญ่หลายๆองค์กรก็เริ่มมีการจัดตั้งหน่วยงานกิจการเพื่อสังคมขึ้นมาเป็นรูปแบบมูลนิธิเพื่อสังคม ในการกำกับดูแลการทำเพื่อสังคมโดยเฉพาะ

ระดับของ CSR

การทำ CSR นั้นมีทั้งแบบการทำโดยความตั้งใจจริงและการทำตามข้อกำหนดบางอย่าง ที่มีความเข้มข้นต่างกันอยู่ด้วยกัน 4 ระดับ คือ

  • ระดับพื้นฐาน ที่จำเป็นต้องทำตามกฎระเบียบ หรือข้อกำหนดต่างๆ โดยส่วนใหญ่เราจะเห็นได้จากองค์กรที่เป็นมหาชน ที่จำเป็นต้องมีกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ
  • ระดับก้าวหน้า หรือกิจกรรมที่เกิดจากการสมัครใจของตัวองค์กรเอง โดยที่ไม่ได้ถูกบังคับด้วยกฎระเบียบใดๆ
  • องค์กรเป็นผู้ขับเคลื่อน (Corporate-Driven) หรือการที่องค์กรบริจาคเงินหรือทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ รวมทั้งการใช้กำลังคนในองค์กรลงไปร่วมกิจกรรมต่างๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นการเสียสละทั้งกำลังทรัพย์และการลงแรง
  • พลังสังคมเป็นผู้ขับเคลื่อน (Social-Driven) หรือการที่องค์กรประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคมด้วยการซื้อสินค้าและองค์กรจะนำเงินส่วนหนึ่งในร่วมทำกิจกรรมดีๆเพื่อสังคม เช่น หากซื้อรองเท้า 1 คู่ บริษัทจะบริจาค 1 คู่ เพื่อผู้ยากไร้ หรือการระดมเงินทุนต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

TOMS One for One

Source: www.magtoo.fr/toms-faites-une-bonne-action

ชนิดของ CSR

CSR สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดด้วยกัน คือ

  • การส่งเสริมประเด็นสังคม (Cause Promotion) การที่องค์กรส่งเสริมประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม โดยการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาเงินทุน การระดมทุน การบริจาคทรัพยากร การส่งอาสาสมัครเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ
  • การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นสังคม (Cause-Related Marketing) การที่องค์กรบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อนำไปสมทบทุนหรือบริจาคให้กับหน่วยงานการกุศล หรือมูลนิธิต่างๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ร่วมทำบุญกับองค์กรและมูลนิธิด้วยความสมัครใจ
  • การตลาดเพื่อแก้ปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) การที่องค์กรรณรงค์หรือสนับสนุนให้เกิดการสร้างความตระหนักรู้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในด้านต่างๆ อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรจะสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในแคมเปญการรณรงค์ต่างๆ
  • การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) การบริจาคปัจจัยหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือปัญหาสังคม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการร้องขอจากหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่ใช่การวางแผนในการทำโดยตัวองค์กรเอง
  • การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) การที่องค์กรจูงใจให้พนักงานสละเวลาในการทำงานเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคม โดยองค์กรอาจทำกิจกรรมด้วยตัวเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
  • การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) การดำเนินธุรกิจที่หลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม โดยการพิจารณาตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้า การเลือกใช้วัตถุดิบต่างๆ อีกทั้งยังหาวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงการร่วมรณรงค์ให้คนในสังคมมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
  • การพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก (Developing and Delivering Affordable Products and Services) การใช้กระบวนการทางธุรกิจในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการสู่ตลาดในราคาที่ไม่แพง เหมาะกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อควรระวังในการทำ CSR

การทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก และมีสิ่งที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวองค์กร และคงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ องค์กรควรหลีกเลี่ยงโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักขององค์กรหรือความถูกต้องในการทำธุรกิจ และควรหลีกเลี่ยงจากการใช้ประโยชน์จาก CSR เพื่อประโยชน์ทางการตลาด เพื่อไม่ให้เกิดคำถามจากสังคมว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์อย่างอื่นหรือเป็นแค่การสร้างภาพลักษณ์ ดังนั้นการวางแผนการทำกิจกรรม CSR ใดๆจำเป็นต้องคิดให้รอบด้านที่จะต้องส่งผลดีต่อทุกๆฝ่าย โดยจะต้องส่งผลบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นอย่างแท้จริง

ตัวอย่างการทำ CSR

  • การลดการใช้คาร์บอน
  • ปรับปรุงนโยบายการจ้างงาน
  • การเข้าไปมีส่วนร่วมในการขายสินค้าอย่างมีจริยธรรม
  • อาสาสมัครทำกิจกรรมเพื่อชุมชน
  • การบริจาคเงินทุน
  • การเปลี่ยนนโยบายบริษัทให้หันมามุ่งเน้นเรื่องประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • การลงทุนในกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การตั้งโครงการด้านการกุศล

Reference

Philip Kotler and Nancy Lee, Corporate Social Responsibility, (New Jersey, John Wiley & Sons, 2005), p.23.
Philip Kotler and Nancy Lee, Up and Out of Poverty, (Wharton School Publishing, 2009), p.294.
ThaiCSR.com

Cover photo by Rodrigo Vieira from FreeImages


รูปแบบธุรกิจ วันที่ 24 ก.ย.63


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

รูปแบบธุรกิจ วันที่ 24 ก.ย.63

รูปแบบของธุรกิจ


รูปแบบของธุรกิจ

SME ตีแตก [2014] : ธุรกิจที่ 12 OK 20 สินค้าสารพัด ราคาแค่ 20 บาท


SME ตีแตก [2014] ธุรกิจที่ 12
OK 20 : สินค้าสารพัด ราคาประหยัดแค่ 20 บาท

ติดตามรายการ SME ตีแตก THE FINAL [2015]
ได้ที่ https://goo.gl/4LhwVa
ติดตามรายการ SME ตีแตก [20142015]
ได้ที่ http://goo.gl/EL0kHV

กด Subscribe ช่อง K SME \”วาไรตี้ธุรกิจ ฟิตไอเดีย\”
กลยุทธ์ เคล็ดลับธุรกิจดีๆ มีให้เรียนได้ไม่รู้จบ
คลิก http://goo.gl/t6i0Nw

SME ตีแตก [2014] : ธุรกิจที่ 12 OK 20 สินค้าสารพัด ราคาแค่ 20 บาท

Cloud คืออะไร มีกี่ประเภท มีประโยชน์อย่างไรบ้าง


มาเรียนรู้ Cloud ประโยชน์ของ Cloud แนวโน้มการใช้ Cloud กันครับ

Cloud คืออะไร มีกี่ประเภท มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

6 ธุรกิจเสือนอนกินปี 64 รวยง่าย รวยเร็ว ไม่ต้องเหนื่อย


อาชีพที่รวยเร็ว และเจ้าของกิจการมีเวลาว่างเยอะ ส่วนใหญ่เป็นอาชีพประเภทเสือนอนกิน เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ วันนี้เราจะพาไปส่องเทรนด์ธุรกิจเสือนอนกินในปี 64 คลิก! https://bit.ly/3bhWwVa
0:00 intro
0:50 1.ธุรกิจร้านสะดวกซัก
2:49 2.ตู้กดน้ำหยอดเหรียญ
3:17 3.ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
4:07 4.ลงทุนในตลาดหุ้น
4:32 5.ขายของออนไลน์
4:58 6.ธุรกิจบริการสินเชื่อ
แฟรนไชส์​ ไทยแฟรนไชส์​ ​แฟรนไชส์เซ็นเตอร์​ ธุรกิจเสือนอนกิน
อาชีพ เทรนด์ธุรกิจ สร้างรายได้
ติดต่องานสปอนเซอร์ ธุรกิจ SMEs ธุรกิจแฟรนไชส์ ผลิตวีดีโอโฆษณา อีเว้นท์
[email protected]
0898955665 (คุณเก๋)
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaifranchise
Website : https://www.thaifranchisecenter.com/
Instagram : https://www.instagram.com/thaifranchise/
tiktok : https://www.tiktok.com/@thaifranchisecenter
YouTube : https://www.youtube.com/user/ThaiFranchise
Blockdit : https://www.blockdit.com/thaifranchisecenter
Podcast : https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

6 ธุรกิจเสือนอนกินปี 64 รวยง่าย รวยเร็ว ไม่ต้องเหนื่อย

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ประเภทของธุรกิจ 3 ประเภท

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *