Skip to content
Home » [NEW] คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each | การใช้ each – NATAVIGUIDES

[NEW] คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each | การใช้ each – NATAVIGUIDES

การใช้ each: คุณกำลังดูกระทู้

ในตอนที่แล้วเราได้เรียนรู้พื้นฐานของการใช้ M Code กันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงสิ่งที่ทรงพลังที่สุดของ M Code นั่นก็คือเรื่องของหลักการของการใช้ Function นั่นเอง

เมื่อคุณใช้งาน Power Query ไปเรื่อยๆ จุดที่บ่งบอกว่า คุณกำลังจะก้าวไปสู่ความสามารถอีกขึ้นหนึ่งของ Power Query ก็คือ ความสามารถในการใช้งาน Custom Function นี่แหละครับ ซึ่งหากใช้เป็น คุณจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้มากขึ้นกว่าการใช้เครื่องมือมาตรฐานมากมายหลายเท่าเลย

Table of Contents

Function คือ ขุมพลังที่แท้จริงของ M Code

Function (ฟังก์ชัน) คือ สิ่งที่สามารถรับค่า input เข้ามาคำนวณประมวลผล แล้วส่งผลลัพธ์ output ออกมาได้

รูปแบบ

(input1,input2,...) => expression วิธีคำนวณหรือสูตรของฟังก์ชันนั้นๆ

เช่น จะสร้างฟังก์ชันของตัวเองขึ้นมา (เรียกว่า Custom Function) เอาไว้หาพื้นที่สามเหลี่ยม

(ฐาน,สูง) => 0.5*ฐาน*สูง   //เราตั้งชื่อ input เป็นภาษาไทยก็ได้นะ แต่ผมแนะนำให้ตั้งเป็น eng แหละดีแล้ว

การจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีขึ้น ผมอยากให้นึกถึงฟังก์ชันของ Excel เป็นตัวเปรียบเทียบครับ ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชัน LEFT ใน Excel มีรูปแบบดังนี้

=LEFT(text,num_chars) //จะเห็นว่ามี input 2 ตัวคือ text และ num_chars

ซึ่งถ้าเราใส่ input 2 ตัวนี้เข้าไป LEFT ก็จะทำการดึงบางส่วนของข้อความ text ออกมาจากทางซ้าย ด้วยจำนวนตัวอักษระที่ระบุใน num_chars เช่น =LEFT(“abcde”,2) จะได้ผลลัพธ์เป็น 2 ตัวซ้าย นั่นคือ “ab” เป็นต้น

หน้าที่ของฟังก์ชัน

รับค่า input →  เอาไปทำอะไรซักอย่าง (processing) → แล้วคายค่าผลลัพธ์ output ออกมา

สามารถระบุประเภท Data Type ได้

(input1 

as text

,input2

as number

)

as text

=> expression

สามารถกำหนด input เป็น optional ได้

(input1 as text ,

optional

input2 as number) as text => expression

ซึ่งตัวที่เป็น optional หากไม่ใส่ค่ามาจะมีค่าเป็น null ดังนั้นเราอาจต้องกำหนดว่า ถ้าค่า input2 เป็น null จะให้ทำอะไรแทน เป็นต้น

การเรียกใช้ Custom Function

สมมติว่าเราสร้าง Query ชื่อ TriangleArea ขึ้นมาด้วย M Code ว่า

(ฐาน,สูง) => 0.5*ฐาน*สูง

Power Query M Custom Function

เวลาเราจะใช้งาน ก็สามารถเรียกใช้ได้ใน M Code ได้เลย เช่น ให้สร้าง Blank Query อีกอันนึงในไฟล์เดิม แล้วใส่ M Code ว่า

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 1
คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 2
คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 3

หรือจะใช้ผ่าน Invoke Custom Function ก็ได้ เช่น

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 4

ซึ่งมันก็จะออกมาเป็นแบบนี้

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 5

การใช้ each หรือ ฟังก์ชันแบบย่อๆ

เคยเห็น each ที่โผล่มาตอนเรียกคำสั่งต่างๆ มั้ย?

หลายๆ ครั้งเวลาที่เรากดคำสั่งเมนูมาตรฐานมันก็จะใส่ each ให้เราเอง เช่น ในตัวอย่างข้างบนก็มี each หรือว่าหากกด Add Column → Custom Column ก็จะมี each ซึ่งผมจะอธิบายโดยละเอียดให้เห็นชัดๆ ดังนี้ว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ครับ

เช่น สมมติเรามีข้อมูล ราคาสินค้า และจำนวนอยู่ แล้วอยากจะหายอดขาย

ปกติแล้วเราก็จะ Add Custom Column ได้แบบนี้

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 6

ซึ่งสูตรจะออกมาเป็น = Table.AddColumn(#”Changed Type”, “ยอดขาย”, each [ราคา]*[จำนวน])

แล้วเจ้า each มันคืออะไรล่ะ? เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง

each คือการย่อวิธีเขียนฟังก์ชัน

จากที่เรารู้แล้วว่าเราสามารถใช้ฟังก์ชันลักษณะนี้ได้

(x) => x+1

ดังนั้นเราสามารถเปลี่ยนชื่อตัวแปรจาก x เป็น _ ได้ จะได้ว่า

(_) =>

_+1

ซึ่งหากใช้ชื่อตัวแปรเป็น _ เราจะสามารถย่อ Code ส่วน (_) => ได้เป็น each ดังนี้

each

_+1

และถ้ามีการอ้างควบคู่กับ [ ] ที่เป็น Record lookup operator เช่น จริงๆ แล้ว _  ที่กำลังอ้างถึง คือตัว table หรือ record จะสามารถละตัว _ ทิ้งไปได้เลย เพื่อให้อ่านสูตรแล้วดูง่ายขึ้น เช่น

Table.SelectRows ( Source, (_) => _[Qty] > 100 )

จะย่อได้เป็น

Table.SelectRows ( Source, each _[Qty] > 100 )

และย่อได้อีกว่า

Table.SelectRows ( Source, each [Qty] > 100 )

each ที่โผล่มาเมื่อกด Custom Column

เดี๋ยวผมจะค่อยๆ อธิบายให้ฟังถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมเราถึงสามารถอ้างอิงข้อมูลใน Field ที่ต้องการด้วยการใส่ [ ] ครอบลงไปได้เลย แล้วมันรู้ได้ไงว่าควรเอาข้อมูลในบรรทัดไหน

ก่อนอื่น ให้เราลองเปลี่ยนสูตรใน Custom Column ให้เหลือแค่ _ จะเห็นภาพชัดขึ้นครับ

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 7

ซึ่งสูตรจะออกมาเป็น = Table.AddColumn(#”Changed Type”, “ยอดขาย”, each _ )

แต่จะเห็นว่าในคอลัมน์ยอดขายจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น Record ในบรรทัดนั้นๆ ซึ่งประกอบไปด้วย Field ทุกอันในตารางเดิมใน Step #”Changed Type”

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 8

นั่นแปลว่า _ ใน Step การ AddColumn จะแทน Record ของแต่ละบรรทัดนั่นเอง
และการอ้างอิงแต่ละ Field ของ Record จึงทำด้วยวิธี _[ชื่อ Field]

และการที่เราใช้ _ เป็นชื่อของ input ทำให้สามารถละ _ ตอนอ้างอิงชื่อ Field ได้ ทำให้แทนที่จะเขียนเต็มๆ ว่า _[ชื่อ Field] จึงสามารถเขียนแค่ [ชื่อ Field] ได้เลย

แปลว่า ถ้าเราไม่ย่ออะไรเลย สูตรเต็มๆ จะเป็นแบบนี้ครับ

= Table.AddColumn(#"Changed Type", "ยอดขาย", 

(_)=>_

[ราคา]*

_

[จำนวน])

โดยที่ _ ที่เป็น Input ของฟังก์ชันก็คือ Record ในแต่ละบรรทัดนั่นเอง

พอย่อ (_)=> เป็น each จะได้แบบนี้

= Table.AddColumn(#"Changed Type", "ยอดขาย", 

each

_[ราคา]*_[จำนวน])

แต่พอเขียนแบบย่อสุดๆ โดยละ _ หน้า [ ] ทิ้ง เราเลยเขียนสูตรได้ว่า

= Table.AddColumn(#"Changed Type", "ยอดขาย", each [ราคา]*[จำนวน])

สรุปวิธีการอ้างอิง Record (แถว), List (ข้อมูลในคอลัมน์) และ Table (ตาราง)

ถ้าจะอ้างอิง Record ปัจจุบันที่เลือกอยู่ เรารู้แล้วว่าสามารถใส่ _ หลัง each ได้เลย

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 9

ทีนี้ถ้าเราอยากอ้างถึงอย่างอื่นบ้างล่ะ เช่น จะอ้างถึง Table ทั้งอันเลย คอลัมน์ที่ต้องการ หรือ Record ก่อนหน้า จะทำยังไง? เรามาดูทีละอันครับ

ถ้าจะอ้างอิงตารางทั้งอัน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ใส่ชื่อตัวแปรที่ให้ผลลัพธ์เป็นตารางลงไปได้เลยครับ เช่น ใส่ว่า Source ก็จะเอาตารางใน Step แรกสุดมา (จริงๆ ชื่อ Step แต่ละอันก็ให้ผลลัพธ์เป็นตารางอยู่แล้ว)

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 10

Tips : ถ้าอยากได้ Step อื่นก็ใส่ชื่อ Step นั้นๆ ลงไป ถ้าอยากได้ตารางอื่นก็ใส่ชื่อตัวแปรที่เป็นตารางอื่น หรือชื่อ query อื่นลงไป

ถ้าจะอ้างอิงคอลัมน์ที่ต้องการทั้งคอลัมน์ ก็ใส่ชื่อ Table ตามด้วย [ชื่อคอลัมน์] เช่น ใส่ว่า Source[ผลไม้] ผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็น List

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 11

ถ้าจะอ้างอิงถึงแถวก่อนหน้า แปลว่าเราต้องรู้แถวปัจจุบันของตัวเองก่อนถึงจะง่าย ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือใส่ index column ให้เริ่มตั้งแต่เลข 0 เอาไว้ เช่น

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 12

แล้วเราค่อยอ้างอิง Table แล้วใส่ row index ที่ต้องการ (index 0 คือ แถวแรกนะ อย่าลืม)

ดังนั้นเราจะใส่ใน Custom Column ว่า =Source{[Index]-1} แบบนี้ได้ครับ

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 13

ทีนี้แถวแรกมัน Error เราจะจัดการยังไงดี?

การจัดการ Error ด้วย try…otherwise…

หากเราอยากจะจัดการ Error ไม่ให้แสดงออกมา เราสามารถใช้คำสั่ง

try...x... otherwise ...y... 

มาช่วยได้ครับ

คำสั่งนี้มีวิธีทำงาน คือ หาก try x แล้วสำเร็จก็จะทำ x ไป แต่ถ้าลอง x แล้ว Error ก็จะทำ y แทน ซึ่งเราอาจจะทำให้ y เป็นอะไรก็ได้ เช่น 0 หรือปล่อยเป็น null ก็นิยมครับ

เช่น ใน Custom Column เราเพิ่มสูตรส่วนของ try และ otherwise ว่า 

=try [ราคา]*[จำนวน] otherwise 0

แบบนี้มันจะเอาคอลัมน์ [ราคา]*[จำนวน] หาก error ให้แสดงค่า 0 แทน

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 14

รวมถึงการอ้างอิงแถวก่อนหน้าที่ Error ในแถวแรกสุด (เพราะไม่มีแถวก่อนหน้า) เราอาจจะให้เป็น null ก็ได้ เช่น

try Source{[Index]-1} otherwise null

แค่นี้ก็จัดการ error ที่ไม่ต้องการได้แล้วครับ

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 15

การเขียนเงื่อนไขด้วย if

สำหรับการเขียนเงื่อนไขใน M Code เราก็ใช้ if…then…else… ประกอบกับการใช้ and or not ก็ได้ครับ

อย่างตอนเขียนสูตรเพื่ออ้างอิงแถวก่อนหน้า ถ้าไม่ใช้ try…otherwise… เราจะใช้ if ก็ได้ ก็จะให้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน

if

[Index]=0

then

null

else

Source{[Index]-1}

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 16

เจาะลึก each ด้วยการใช้ M Code เลียนแบบ VLOOKUP Approximate Match

สมมติผมมีข้อมูลคะแนนสอบอยู่แล้วต้องการจะตัดเกรด ดังนี้
ผมเอาตารางซ้ายเข้าเป็น Query ชื่อ TestResult ส่วนตารางขวาชื่อ RefGrade

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 17

ใน Query Test Result นั้นผมสร้าง Custom Column ด้วยสูตรว่า =RefGrade ก็จะได้ผลลัพธ์แบบนี้ ว่าในแต่ละบรรทัดของคะแนนสอบ เราได้ตาราง RefGrade กลับมาทั้งตารางเลย (ซึ่งเยอะไป!)

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 18

สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คือ อยากดูว่าคะแนนที่ได้นั้นอยู่ในช่วงไหน ซึ่ง logic ที่ใช้ได้คือ ต้องทำการเลือก RefGradeมาเฉพาะบรรทัดที่คะแนนต่ำสุด น้อยกว่าหรือเท่ากับ คะแนนสอบที่ได้ในแต่ละบรรทัดเท่านั้น และค่อนเลือกเอาบรรทัดสุดท้ายมาฃ

ซึ่งเราจะพยายามเลือกให้เหลือเฉพาะบรรทัดที่ คะแนนต่ำสุด น้อยกว่าหรือเท่ากับ คะแนนสอบที่ได้ในแต่ละบรรทัดก่อน ด้วยฟังก์ชันที่ชื่อว่า Table.SelectRows ซึ่งมีวิธีการใช้ดังนี้

Table.SelectRows(table as table, condition as function) as table

จะเห็นว่า input ที่มันต้องการมี 2 ตัว คือ table ต้นฉบับ และ เงื่อนไข ซึ่ง table ต้นฉบับนี่ง่ายมาก ก็คือ RefGrade นั่นแหละ
แต่ที่ยากก็คือเจ้า condition ที่ดันต้องใส่เป็นฟังก์ชันด้วยสิ

เพื่อที่จะให้เข้าใจว่าปกติมันทำงานยังไง เราจะไปดู Query RefGrade แล้วไปลอง Filter มันเล่นๆ ดูก่อน ด้วยเงื่อนไขว่า คะแนนต่ำสุด <= 69 จะได้แบบนี้

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 19

ซึ่งเราจะเห็นฟังก์ชัน Table.SelectRows ทำงานให้เราดูเลยว่าต้องเขียนยังไง

= Table.SelectRows(#"Changed Type", each [คะแนนต่ำสุด] <= 69)

เราก็เลยคิดว่าจะเอาคำสั่งนี้กลับไปเขียนใน TestResult ที่เราค้างไว้ได้ ซึ่งมันก็ใช้ได้จริงๆ (แค่เปลี่ยนชื่อ table จาก “Changed Type” เป็น RefGrade)

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 20

และถ้าเราไม่อยากจะ hardcode เลข 69 ล่ะ?

เราอยากให้แต่ละบรรทัด มันใช้คะแนนสอบไปเป็นเงื่อนไขในการ Filter แทนการพิมพ์เลข 69 ลงไปเอง เราอาจเผลอคิดว่าจะใช้ [คะแนน] แทนได้เลย แต่มันไม่ง่ายแบบนั้นหรอก หึหึ เพราะมันจะบอกว่าหา Field ที่ชื่อว่า คะแนน ไม่เจอ

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 21

ทำไมถึงหาไม่เจอ? ก็เป็นเพราะภายใต้ each อันที่สอง มันกำลังมอง Record ของตาราง RefGrade อยู่น่ะสิ ซึ่งมันไม่มีคะแนนไง เพราะคะแนนอยู่ในตาราง TestResult ต่างหาก!!

แล้วเราจะไปอ้างอิง Field ที่อยู่ใน Current Record ของ TestResult ได้ยังไง? คราวนี้แหละเราจะไม่ใช้การย่อด้วย each แล้วเพราะมันทำให้เกิดการอ้างอิงที่ซ้ำกันแล้วโปรแกรมมันก็งง เราจะตั้งชื่อ input ด้วยตัวเราเองให้ชัดเจนไปเลยจะได้ไม่งง โดย Current Record ของ TestResult ผมจะตั้งชื่อว่า main และแต่ละ row ของ RefGrade ผมจะตั้งชื่อว่า sub ซึ่งจะแปลงสูตรได้ดังนี้

จากเดิมที่เขียนแล้วไม่ชัดเจน จึงมีปัญหา

= Table.AddColumn(#"Changed Type", "Custom", 

each

Table.SelectRows(RefGrade,

each

[คะแนนต่ำสุด] <= [คะแนน]))

เปลี่ยนใหม่ ให้ชัดเจนขึ้นว่าอ้างถึง Field ของ Record ไหน

= Table.AddColumn(#"Changed Type", "Custom", 

(main) =>

Table.SelectRows(RefGrade,

(sub)=>

sub

[คะแนนต่ำสุด] <=

main

[คะแนน]))

คราวนี้ผลลัพธ์ไม่ Error แล้ว

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 22

แต่จะเห็นว่ามันให้ผลลัพธ์กลับมาหลายบรรทัดอยู่ เราจะเอาแค่บรรทัดสุดท้าย ก็ใช้ Table.Last ได้ ดังนี้

= Table.AddColumn(#"Changed Type", "Custom", (main) => 

Table.Last(

Table.SelectRows(RefGrade, (sub)=> sub[คะแนนต่ำสุด] <= main[คะแนน]))

)

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 23

ผลลัพธ์ออกมาเป็น Record เดียวแล้ว ก็กด expand ที่มุมขวาบนของ Field ได้เลย จะได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่สมบูรณ์ดังรูป

คัมภีร์สรุป M Code ใน Power Query ตอนที่ 2 : Function และ each 24

ตอนต่อไป

ตอนนี้เราก็ได้เรียนรู้การใช้ฟังก์ชันเบื้องต้นกันไปแล้ว เดี๋ยวในตอนต่อไปจะป็นเรื่องของ List แบบลึกซึ้งขึ้น ซึ่งมีประโยชน์มากด้วยแน่นอนครับ ติดตามต่อได้เลย

[NEW] Indefinite pronoun คืออะไร มีการใช้อย่างไร | การใช้ each – NATAVIGUIDES

ถ้าถามว่าเพื่อนๆรู้มั้ยว่า indefinite pronoun คืออะไร หลายคนก็คงจะส่ายหัวตามๆกัน แต่ถ้าถามว่ารู้จักคำอย่าง everybody, something หรือ anyone มั้ย หลายๆคนก็คงจะร้องอ๋อ

ใช่แล้วครับ indefinite pronoun ก็คือคำเหล่านี้ที่พวกเราหลายคนคุ้นเคยกันนั่นเอง ซึ่งถ้าใครอยากรู้จัก indefinite pronoun ให้ดีกว่านี้ ก็ตามไปดูเนื้อหาที่ชิววี่เรียบเรียงไว้ได้เลย

Indefinite pronoun คืออะไร

Indefinite pronoun คือคำสรรพนามที่ไม่ได้ระบุเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน หรือสถานที่ไหน อย่างเช่น anybody, anyone, anything, anywhere, everybody, somebody, both, all, none เป็นต้น

(Indefinite แปลว่า “ไม่เจาะจง” ส่วน pronoun แปลว่า “คำสรรพนาม” ซึ่งก็คือคำที่ใช้แทนคำนามนั่นเอง)

Indefinite pronoun มีคำว่าอะไรบ้าง

คำตระกูล every-
Everybody, everyone, everything, everywhere

คำตระกูล some-
Somebody, someone, something, somewhere, some

คำตระกูล any-
Anybody, anyone, anything, anywhere, any

คำปฏิเสธ
Nobody, no one, nothing, neither, none

คำอื่นๆ
Another, other, each, one, both, either, little, few, much, many, most, more

คำเหล่านี้หลายคำสามารถใช้ได้หลากหลายหน้าที่ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น indefinite pronoun เสมอไป (เช่น คำว่า some สามารถทำหน้าที่เป็น determiner ได้ด้วย)

ทั้งนี้ รายการคำนี้ไม่ได้รวม indefinite pronoun ไว้ทั้งหมด ยังมีคำภาษาอังกฤษคำอื่นที่สามารถใช้เป็น indefinite pronoun ได้อีก

การใช้ indefinite pronoun

วิธีใช้ indefinite pronoun ก็เหมือนกับการใช้ pronoun ชนิดอื่นๆ ซึ่งก็คือเราจะใช้มันแทนที่คำนาม โดยจะต้องดูความหมายของคำให้เหมาะสม

เรามาดูการใช้ indefinite pronoun ตัวที่ใช้บ่อยๆ พร้อมทั้งตัวอย่างประโยค แบบแยกตามหมวดหมู่กัน

1. ใช้กล่าวรวมทั้งหมด

ในการกล่าวรวมสิ่งใดทั้งหมด เราจะใช้คำว่า everyone, everybody, everything, everywhere, both และ all

(คำตระกูล every- แม้จะใช้กล่าวรวมหลายๆสิ่ง แต่ก็ถือเป็นคำเอกพจน์ การใช้กับประโยคบาง tense อย่าง present simple tense เราจะต้องใช้กับคำกริยารูปเอกพจน์ เช่น is, does, has, คำกริยาที่เติม s/es ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่หลายๆคนมักจะพลาดเวลาทำข้อสอบ เพราะดันไปคิดว่าคำตระกูล every- เป็นคำพหูพจน์)

Everyone และ everybody แปลว่า “ทุกคน” เป็นเอกพจน์

Everyone/everybody is checking their phones.
ทุกคนกำลังเช็คโทรศัพท์ของตัวเอง

Everything แปลว่า “ทุกสิ่ง, ทุกอย่าง” เป็นเอกพจน์

Everything is possible.
ทุกอย่างนั้นเป็นไปได้

Everywhere แปลว่า “ทุกที่” เป็นเอกพจน์

Everywhere is a runway.
ทุกๆที่ถือเป็นรันเวย์

Both แปลว่า “ทั้งคู่” เป็นพหูพจน์

Both are correct.
ถูกทั้งคู่

All แปลว่า “ทั้งหมด” เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
เราจะใช้ all เป็นเอกพจน์ เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดโดยรวม
เราจะใช้ all เป็นพหูพจน์ เมื่อกล่าวถึงทุกคนหรือทุกสิ่งในกลุ่ม

Is everything okay?
ทุกอย่างโอเคดีมั้ย
All is well.
ทุกอย่างโอเคดี
(โดยรวมแล้ว ทุกอย่างโอเคดี)

How are your kids?
ลูกๆคุณเป็นยังไงบ้าง
All are well.
ทุกคนโอเคดี
(กล่าวถึงลูกทุกคนว่าสบายดี)

2. ใช้กล่าวถึงแค่บางสิ่ง

ในการกล่าวถึงบางสิ่ง เราจะใช้ someone, somebody, something, somewhere และ some

Someone และ somebody แปลว่า “บางคน” เป็นเอกพจน์

Someone/somebody is waiting for you.
มีใครบางคนรอคุณอยู่

Something แปลว่า “บางสิ่ง, บางอย่าง” เป็นเอกพจน์

Something makes me sad.
บางสิ่งทำให้ฉันรู้สึกเศร้า

Somewhere แปลว่า “บางที่” เป็นเอกพจน์

Somewhere up ahead is a sharp turn.
ข้างหน้าซักที่จะเป็นจุดหักเลี้ยว

Some แปลว่า “บางส่วน, จำนวนหนึ่ง” เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์

Most animal feed is from plants, but some is from animals.
อาหารสัตว์ส่วนใหญ่มาจากพืช แต่บางส่วนก็มาจากสัตว์

Most apples here are red, but some are green.
แอปเปิลที่นี่ส่วนใหญ่มีสีแดง แต่บางส่วนก็มีสีเขียว

3. ใช้สื่อว่าสิ่งใดก็ได้

ในการสื่อว่าสิ่งใดก็ได้ เราจะใช้ anyone, anybody, anything, anywhere และ any

Anyone และ anybody แปลว่า “ใครๆ, ใครก็ตาม” เป็นเอกพจน์

Anyone/anybody is welcome.
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ยินดีต้อนรับ

Anything แปลว่า “สิ่งใด, อะไรก็ตาม” เป็นเอกพจน์

Anything is possible.
อะไรก็เป็นไปได้

Anywhere แปลว่า “ที่ใด, ที่ไหนก็ตาม” เป็นเอกพจน์

She doesn’t have anywhere to live.
เธอไม่มีที่ไหนให้อยู่

Any แปลว่า “ใดๆ, เลย” เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์

I looked around for toilet paper, but there wasn’t any.
ฉันมองหากระดาษทิชชู่ แต่มันไม่มีเลย

I looked around for pens, but there weren’t any.
ฉันมองหาปากกา แต่มันไม่มีเลย

4. ใช้บอกว่าไม่มี

ในการบอกว่าไม่มี เราจะใช้ no one, nobody, nothing, neither และ none

No one และ nobody แปลว่า “ไม่มีใคร” เป็นเอกพจน์

Nobody want to be lonely.
ไม่มีใครอยากโดดเดี่ยว

No one want to be lonely.
ไม่มีใครอยากโดดเดี่ยว

Nothing แปลว่า “ไม่มีสิ่งใด” เป็นเอกพจน์

Nothing is impossible.
ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้

Neither แปลว่า “ไม่ทั้งคู่” เป็นเอกพจน์

Neither is correct.
ไม่ถูกทั้งคู่

None แปลว่า “ไม่มี” เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์

There is a lot of beautiful jewelry available these days, but none is cheap.
ทุกวันนี้มีเครื่องเพชรสวยๆให้เลือกมากมาย แต่ไม่มีอันไหนราคาถูกเลย

There are many running shoes available these days, but none are cheap.
ทุกวันนี้มีรองเท้าวิ่งให้เลือกมากมาย แต่ไม่มีอันไหนราคาถูกเลย

จบแล้วนะครับกับ indefinite pronoun ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะรู้กันแล้วว่า indefinite pronoun คืออะไร และใช้ยังไง ถ้ายังไงก็อย่าลืมทบทวนและนำไปฝึกใช้กันด้วยนะ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


another กับ other ใช้ต่างกันอย่างไร


เรียนกับอดัม: http://www.AjarnAdam.TV
FBของอดัม: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
Twitter: http://twitter.com/AjarnAdam

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

another กับ other ใช้ต่างกันอย่างไร

ติว TOEIC: Correlative Conjunction (คำเชื่อมที่มาเป็นคู่ๆ) มีอะไรบ้าง? มาดูกันเลยค่ะ


Correlative Conjunctions ได้แก่พวก either or, neither nor, not only but also, both and ซึ่งมักจะมาเป็นคู่ๆ ดังนั้นในข้อสอบ TOEIC ถ้าเจอเรื่องนี้จะมีวิธีสังเกตยังไงบ้าง ตามครูดิวมาดูเลยค่ะ

✿ คอร์สครูดิว ติว TOEIC มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅ติวเทคนิค TOEIC Grammar ที่ใช้สอบ ครบถ้วน สอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เก็งศัพท์ TOEIC ออกข้อสอบบ่อยๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ ติวข้อสอบ New TOEIC ล่าสุด ทั้ง TOEIC Reading และ Listening
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

ติว TOEIC: Correlative Conjunction (คำเชื่อมที่มาเป็นคู่ๆ) มีอะไรบ้าง? มาดูกันเลยค่ะ

การใช้ other


การใช้ other

การใช้ all, all the, all of ต่างกันอย่างไร


จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

การใช้ all, all the, all of ต่างกันอย่างไร

set index สัปดาห์ 15-19 พย. BDMS, SCM, TCC, EFORL, SAPPE, GSC, TTA, STARK, PTG, TU


setindex สิ้นสุดช่วงประกาศงบ Q3 สัญญาณระยะสั้น BreakOut แล้ว สัปดาห์นี้ถ้าไม่คึก ก็เรียกว่า \”สิ้นหวัง\” แท้ทรู วันนี้ MT5 จะมานำเสนอ Features เด็ดอะไร ติดตามที่เทปนี้ครับ
.
HOT: BDMS
.
HighVolume: SCM, TCC, EFORL, SAPPE, GSC
.
FCrequest: TTA, STARK, PTG, TU
.
รับชมคลิก : https://youtu.be/sJ8ajKRXou0
.
เล่นพื้นฐานอ่านเทคนิค
หุ้นโวลุ่มเข้า

set index สัปดาห์ 15-19 พย. BDMS, SCM, TCC, EFORL, SAPPE, GSC, TTA, STARK, PTG, TU

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ การใช้ each

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *