Skip to content
Home » [NEW] ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทางด้วย Foresight tools | สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต – NATAVIGUIDES

[NEW] ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทางด้วย Foresight tools | สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต – NATAVIGUIDES

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Table of Contents

ปัจจุบัน 

การจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดผล จำเป็นจะต้องใช้หลากหลายทักษะประกอบกัน เริ่มต้นตั้งแต่การเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งไปถึงรากของปัญหา เห็นความคิด ประสบการณ์และความเชื่อที่ทำให้เกิดปัญหานั้น การมองเห็นผู้เล่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และระบบที่เชื่อมโยงกันอยู่กับปัญหา บวกกับความมุ่งมั่นตั้งใจไม่ย่อท้อที่จะเอาชนะอุปสรรคที่กั้นขวางบนเส้นทางที่จะพาไปถึง “การเปลี่ยนแปลง”

ทั้งนี้เพียงการเข้าใจปัญหา การมองอย่างเป็นระบบ และการเชื่อศรัทธาในสิ่งที่กำลังลงมือทำ อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งที่ต้องการแก้ไขกลายเป็นจริงได้  สิ่งที่ฝันนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และกำหนดภาพที่ชัดเจนว่าอนาคตที่จะสร้างนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรอีกด้วย

บทความนี้สรุปและเรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือเครื่องมือการมองอนาคต โดยสถาบันการมองอนาคตนวัตกรรมและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของการคาดการณ์อนาคตและเครื่องมือ อยากให้นักสร้างการเปลี่ยนแปลงหันมาให้ความสำคัญกับภาพอนาคตที่เราอยากเห็นแล้วเชื่อมโยงกลับมาสู่ภาพสถานการณ์ปัจจุบัน ก่อนจะคิดหาวิธีการแก้ไข เชื่อมปัจจุบันเข้ากับภาพอนาคตที่เราอยากเห็นอย่างเป็นรูปธรรม

อนาคตคืออะไร?

ในทางอนาคตศาสตร์ หรือ อนาคตวิทยา (futurology) อนาคตมีความเป็นพหูพจน์คือเป็นไปได้หลากหลาย ซึ่งเป็นการมองยาวออกไปในช่วงเวลาที่เป็นระยะไกล ๆ ที่เรายังไม่มีข้อเท็จจริงของอนาคต (futurefacts) การมองอนาคตจึงเป็นการจินตนาการภาพ การสำรวจและศึกษาแนวโน้มที่เป็นไปได้ให้ได้มากที่สุด ทั้งอนาคตที่อยากให้เกิดและไม่อยากให้เกิด เพื่อกำหนดแนวทางให้สิ่งที่ต้องการให้เกิดเกิดขึ้นได้จริง และป้องกันหรือกำจัดอนาคตที่ไม่พึงประสงค์ ด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน เพราะอนาคตคือวันนี้ที่ยังมาไม่ถึง (future is now). ดังนั้นแล้วอนาคตที่มองเห็นนี้จึงไม่ใช่แค่เพียงวิสัยทัศน์ที่คิดจินตนาการและมองเห็นจากสิ่งที่เป็นในปัจจุบัน มันจึงไม่ใช่เพียงการคาดการณ์พยากรณ์ (forecast) ที่มีทิศทางจากอดีต ปัจจุบัน ไปยังอนาคตเพียงทางเดียว แต่ยังรวมถึงการจินตนาการภาพของอนาคตแล้วย้อนกลับมาหาเส้นทางจากปัจจุบันด้วย อนาคตที่กำลังพูดถึงนี้จึงกว้างไปกว่าการจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธศาสตร์ และไม่ใช่แค่การวางแผนเทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่ใช้การได้กับหลายบริบท โดยจำเป็นจะต้องกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ก่อนจึงจะนำไปสู่วิธีการ

การมองอนาคตเป็นศาสตร์ที่บูรณาการความรู้หลากหลายสาขาไม่ใช่แค่เพียงทางเทคโนโลยีหรือสังคมแต่เพียงเท่านั้นเป็นกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน (Participatory Deliberative Process) ด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและนอกองค์กร การระดมความคิดเห็นผ่านการะบวนการประชาคมผ่านการวิจัยเอกสาร (document research) อาจใช้เวลานาน 1-2 ปี และมีการทวนซ้ำ (iteration) 

ในปัจจุบันกระบวนการการมองอนาคตจึงจำเป็นจำต้องอาศัยทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) จินตนาการ (Imagination) ประกอบกับความสามารถในการสื่อสาร (Communication) สิ่งที่เป็นนามธรรมที่อาจยังไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจได้ด้วย

ลักษณะของอนาคต

ภาพ ลักษณะของอนาคต (คู่มือการมองอนาคต1 )

อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว ไม่คงที่ และไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับกรอบเวลา (time frame) และข้อมูลที่มี เช่น ข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ทางสถิติ หรือการเทียบเคียงกับทฤษฎีและองค์ความรู้ ดังนั้นแล้วความถูกต้องของอนาคตที่มองเห็นจึงแบ่งออกได้เป็น 6 รูปแบบ

1. อนาคตจากการคาดการณ์ (Projected Future)เป็นอนาคตที่มีลากเส้นเชื่อมจากข้อมูลในอดีตและปัจจุบันด้วยการคาดการณ์
ด้วยสมมุติฐานว่าอนาคตจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันมากนัก
เช่น การประมาณการงบประมาณในปีหน้า กำลังผลิตและจำนวนสินค้า
ในอนาคตระยะ 3 ปีที่ไม่มีแผนการจะขยายโรงงาน รายรับ-รายจ่ายแต่ละไตรมาส มักมีความเป็นเอกพจน์คือเป็นอนาคตที่ค่อนข้างตายตัว2.อนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ (Possible Futures)เป็นอนาคตที่ยังไม่มีทฤษฎีรองรับหรือหลักฐานการวิจัยและองค์ความรู้เพื่อยืนยันได้ชัดเจนในปัจจุบัน แต่ “อาจ” เกิดขึ้นได้ เช่น การย้อนเวลา3. อนาคตที่สามารถเกิดขึ้นได้ (Plausible Futures)เป็นอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้จากทฤษฎีและองค์ควารู้ที่มีในปัจจุบัน4. อนาคตที่มีความเป็นไปได้ (Probable Futures)เป็นอนาคตที่มีความเป็นไปได้สูงจากการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยระบุเป็น
ช่วงความเชื่อมั่น (Confidence interval) ให้กับรูปแบบอนาคตแต่ละรูปแบบ
ว่ามีความมั่นใจ 95% ว่าจะเกิดขึ้นในรูปแบบนี้ หรือมั่นใจ 80% ว่าจะเกิดขึ้นในรูปแบบเช่นนี้ 5.อนาคตที่พึงประสงค์ (Preferable Futures)เป็นอนาคตที่ “ควรจะ” เกิดขึ้น เป็นความต้องการที่เกิดจากการไตร่ตรองคิดว่า
อนาคตควรจะเป็นเช่นนี้เพราะให้ประโยชน์และมีข้อดี เช่น อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน6. อนาคตที่เป็นไปไม่ได้ (Preposterous Futures)อนาคตที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความจริงและไม่มีโอกาสเกิดขึ้น

การมองอนาคต (Foresight)

คือการอธิบาย วิเคราะห์ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหรือเพื่อออกแบบอนาคตที่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นแล้วสิ่งสำคัญที่จะต้องตอบก่อนจะมองอนาคตจึงมีสองปัจจัยสำคัญ ได้แก่

1.      ระยะห่างของอนาคตที่กำลังพูดถึงกับปัจจุบันและข้อมูลที่มีเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ในการมองอนาคต ได้แก่
a.     สำหรับอนาคตในระยะสั้น (3-5 ปี) และกลาง (6-10 ปี)  วัตถุประสงค์เน้นเพื่อวิเคราะห์ (analyze) เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่พอจะมีข้อมูลและความรู้ให้วิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
b.    สำหรับอนาคตในระยะยาว (มากกว่า 10 ปี)  วัตถุประสงค์เน้นเพื่อออกแบบ (Design)  จำเป็นต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเพื่อกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง

2.      บริบทของอนาคตว่ามีความสลับซับซ้อนอย่างไร
a.    การสำรวจสภาพแวดล้อมเชิงลึก (Deep Horizon Scanning) พิจารณามิติทางการเมือง กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ปัจจัยของหน่วยงาน และเทคโนโลยี ว่ามีปัจจัยหรือประเด็นใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อภาพอนาคตมาก และมีความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงสูง
b.     การวิเคราะห์ความซับซ้อนของอนาคต (Future Complexity Analysis) เพื่อการกำหนดดว่าสิ่งที่กำลังศึกษานั้นเป็นอนาคตที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Futures) หรือเป็นอนาคตที่มีโครงสร้างซับซ้อน (Ill-structured Futures) โดยพิจารณาจากความเชื่อมโยงของเหตุและผลว่ามีความเชื่อมโยงตรงไปตรงมา มีองค์ความรู้ที่อธิบายได้ชัดเจน หรือสามารถเชื่อมโยงความรู้จากบริบทอื่นมาอธิบายได้หรือไม่ มีความแทรกซึมอยู่ในค่านิยมของสังคมหรือไม่ สามารถแยกระดับได้หรือไม่

 4 แนวทางการมองอนาคต  (Foresight Pathway)

เราสามารถเลือกแนวทางการมองอนาคตจากการตั้งคำถามว่า เราอยากจะวิเคราะห์อนาคต(ระยะสั้น/ระยะกลาง))  หรือออกแบบอนาคตในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป)  แล้วอนาคตที่เราสนใจนั้น มีโครงสร้างที่ชัดเจน หรือ สลับซับซ้อน ซึ่งจะมีแนวทางที่แตกต่างกันดังนี้ 

แนวทางการสร้างกรอบอนาคต (คู่มือการมองอนาคต1 )

1.     Ideation การสร้างความคิดและจินตนาการ
วัตถุประสงค์เพื่อออกแบบในกรอบอนาคตที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน การมองอนาคตจึงเป็นการสร้างความคิดและจินตนาการเพื่อให้ได้ภาพอนาคตที่ชัดเจนมากขึ้น

2.     Formulation การกำหนดทิศทางอนาคต
วัตถุประสงค์เพื่อออกแบบในกรอบอนาคตที่มีโครงสร้างชัดเจน เพื่อสร้างแนวคิดเกี่ยวกับอนาคตที่มีความชัดเจนพร้อมนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ

3.     Calibration การสอบเทียบข้อมูลกับมโนทัศน์แห่งอนาคต
วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนาคตที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยการใช้ฐานข้อมูลและหลักฐานเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภาพอนาคตที่กำลังสนใจ

4.     Projection การคาดการณ์อนาคต
วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนาคตที่มีโครงสร้างชัดเจน จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

9 เครื่องมือสำหรับมองอนาคต

Ideation การสร้างความคิดและจินตนาการ

1. การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning)
การสร้างข้อความหรือเรื่องเล่าเชิงพรรณนาที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสะท้อนให้เห็นอนาคตที่ต้องการให้เกิดขึ้นหรือต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ในอนาคตที่พึงประสงค์ ด้วยกระบวนการกลุ่ม เพื่อสร้างความหวัง ความรู้สึกเป็นเจ้าของ และการร่วมแรงใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต โดยวิสัยทัศน์ที่ดีมีคุณลักษณะที่ดี 6 อย่าง ได้แก่ สร้างสรรค์ (creative) พึงประสงค์ (desirable) เป็นไปได้ (feasible) ชัดเจน (focused) ยืดหยุ่น (flexible) สื่อสารและถ่ายทอดได้ง่าย (communicable)

2. เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique)
เป็นเทคนิคที่ใช้การสอบถามภาพอนาคตที่เห็นพ้องต้องกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จนได้ภาพของสิ่งที่ควรเป็น หรือสิ่งที่เกิดขึ้นได้สำหรับอนาคต 

ขั้นตอนคือ มีการกำหนดหัวข้อให้ชัดเจน กำหนดกลุ่มตัวอย่างของผู้เชี่ยวชาญที่เชิญมาให้ความเห็น จากนั้นจึงทำการเก็บข้อมูล โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 3 รอบ รอบแรกเริ่มจากการใช้แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้วยคำถามปลายเปิด เก็บภาพกว้างของประเด็น รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเช่นงานวิจัย จากนั้นนำคำตอบมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นประเด็นที่ชัดเจนขึ้น จากนั้นรอบที่ 2 นำประเด็นที่ได้มาให้ผู้เชี่ยวชาญให้ระดับความเห็นด้วย (rating scale) ต่อแนวคิดที่ได้มาจากการสังเคราะห์คำถามปลายเปิดรอบที่ 1 พร้อมทั้งให้เหตุผล รอบที่ 3 นำระดับคะแนนที่ได้มาคำนวณค่าทางสถิติเพื่อดูความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ ทำทวนซ้ำพร้อมข้อมูลจากรอบก่อนหน้าเป็นลำดับไปเรื่อยเช่นนี้จนได้ความคิดเห็นที่ค่าสถิติบ่งชี้ว่าได้ความคิดเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเห็นตรงกัน

Formulation การกำหนดทิศทางอนาคต

3. การสร้างและวิเคราะห์ฉากทัศน์แห่งอนาคต (Future Scenario Building and Analysis)
การสร้างคอนเส็ปต์หรือมโนภาพเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตที่มีความเป็นไปได้ (probability) 3-5 ฉากทัศน์ (scenario)  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลากหลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน พิจารณาโดยให้ความสำคัญกับไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น (uncertainty) รูปแบบของสถานการณ์ 3-5 ฉากทัศน์ในอนาคตเกิดจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างรอบคอบ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ยกตัวอย่างการนำมาใช้ที่หลายคนคุ้นเคยไม่นานนี้ เช่น ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 เรามีฉากทัศน์ กรณีที่ที่ดีที่สุด (สามารถควบคุมโรคได้) กรณีที่สามารถชะลอการแพร่ระบาดได้ และ กรณีที่แย่ที่สุดคือมีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง 

4. การสร้างตัวแบบจากนิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction Prototyping)
เป็นการเขียนเรื่องเล่าหรือกรณีศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการสร้างความคิดและจินตนาการ (ideation) กับการกำหนดทิศทางอนาคต (formulation) มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมนุษย์ โดยอาศัยที่มาจากภาพยนตร์และนิยายวิทยาศาสตร์ เกิดการผสมผสานแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการจากสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ของมนุษย์ 

ตัวอย่างเช่น โดราเอมอน เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีเล่าเรื่องผ่านเส้นเรื่องที่มีบริบทและลักษณะผู้คนชัดเจน โดยการนำสิ่งประดิษฐ์จากในเรื่องมาวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งเชิงบวก เชิงลบ และในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น หากมีวุ้นแปลภาษาเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น การเรียนการสอนด้านภาษาจะเปลี่ยนแปลงไป จำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นจะเพิ่มสูงมากขึ้น ธุรกิจพจนานุกรมจะหายไปจากวงการสิ่งพิมพ์

Calibration การสอบเทียบข้อมูลกับมโนทัศน์แห่งอนาคต

5.การวิเคราะห์แนวโน้มและแนวโน้มระดับโลก (Trend and Megatrend Analysis)
แนวโน้ม หรือ Trend คือ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น (3-5 ปี) หรือระยะกลาง (6-10) ปี ส่วนแนวโน้มระดับโลกหรือ Megatrend นั้น คือการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบเป็นวงกว้างครอบคลุมนานาประเทศในระยะเวลายาวนานมากกว่า 20 ปี โดยการวิเคราะห์แนวโน้ม นั้นอาจพิจารณาเครื่องมือใช้ตามบริบท เช่น ใช้เทคนิค PESTEL ในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงแต่ละด้านของ  P – Politics การเมือง, E- Economy เศรษฐกิจ, S – Society สังคม, T – Technology – เทคโนโลยี, E – Environment – สิ่งแวดล้อม, L – Law – กฎหมาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแต่ละด้านมีความสำคัญที่แตกต่างกัน เทคนิคนี้เหมาะกับประเด็นที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน

การวิเคราะห์แนวโน้มจำเป็นต้องมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน เช่น กำหนดการศึกษาเกี่ยวกับ “การจัดการขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง” จะดีกว่าการกำหนดประเด็นเพียง “การจัดการขยะพลาสติก”  จากนั้นทำการรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยชี้ให้เห็นเป็นแนวโน้มว่า อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (now) อะไรจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นถัดไป (next) อะไรจะเป็นสิ่งใหม่ที่น่าจับตามอง (new) และมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร เพื่อสรุปเป็นแผนที่แนวโน้ม หรือ trend map ต่อไป ว่า มีเป็นแนวโน้มที่เราควรให้ความสำคัญและใส่ใจหรือไม่ สำคัญต่อองค์กรไหม มีความแน่นอน/ไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ 

6.การสร้างแบบจำลอง (Modelling and Simulation)
เป็นกระบวนการสร้างและทดลองแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยอาศัยคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสังคม จากปัจจัยแทรกแซงต่าง ๆ (intervention) ที่ต้องการศึกษา เพื่อให้เห็นผลกระทบที่ตั้งใจให้เกิดและผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด โดยปรับเปลี่ยนการตั้งค่าของระบบเพื่อเพื่อทดสอบผลลัพธ์ในรูปแบบสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นการประหยัดทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณ

Projection การคาดการณ์อนาคต

7. การพยากรณ์ย้อนหลัง (Back Casting)
คือการสร้างความเชื่อมโยงจากผลลัพธ์ที่ต้องการในอนาคตย้อนกลับมาสู่แนวทางที่จะทำให้อนาคตนั้นเกิดขึ้น โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม (participatory process) ของผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดและสร้างกลยุทธ์ทางเลือกที่เป็นไปได้เป็น “วิสัยทัศน์อนาคตร่วม” (shared future vision) โดยอาจจะใช้กระบวนการเช่น ระดมสมอง จากนั้นทำแผนดำเนินการที่จะนำไปสู่เหตุการณ์สำคัญ (critical event) เพื่อไปให้ถึงอนาคตที่พึงประสงค์นั้น ๆ โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีความเห็นพ้องร่วมกันเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการกำหนดนโยบายสาธารณะและกลยุทธ์ระดับมหภาค (macro-picture) และระดับภาคอุตสาหกรรม (industrial sector)

เทคนิคนี้แตกต่างจากเครื่องมือการมองอนาคตอื่นๆ ที่จะเป็นการมองไปข้างหน้า แต่ การพยากรณ์ย้อนหลังจะเป็นเทคนิคย้อนกลับ คือ เป็นการมองจากอนาคตกลับมายังสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยิ่งอนาคตอยู่ไกลเท่าไหร่ ยิ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย และหลากหลาย มีความละเอียดซับซ้อนสูง 

8. แผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Roadmap: TRM)
แผนที่นำทางเทคโนโลยี คือ แผนเพื่อระดมทรัพยากร ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดคุณสมบัติและประโยชน์ในการใช้งานตามที่ได้ออกแบบไว้ เป็นการสร้างมุมมองอย่างองค์รวม (holistic perspective) ที่ทำให้เกิดการประสานรวมปัจจัยนำเข้า (input) อย่างเป็นรูปธรรม มักถูกนำไปใช้ในการวางแผนสร้างนวัตกรรมขององค์กร เช่น วางแผนวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีล้ำยุคต่างๆ หรือใช้ระหว่างองค์กรร่วมกันเพื่อวางแผนพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก 

TRM มีหน้าที่เป็นเครื่องมือสื่อสาร (communication tool) เครื่องมือการเปลี่ยนแปลง (transformation tool) และเครื่องมือการดำเนินงาน (implementation tool) จัดทำโดยการวางกรอบวิเคราะห์ 4 ด้าน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ตลาด (market Analysis) 2. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ (product analysis) 3. การวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านเทคโนโลยี (technology capacity analysis) 4. การวิเคราะห์ทรัพยากรและแผนงานวิจัยและพัฒนา (resource and R&D program analysis)

9. บรรณมิติ (Bibliometrics)
เป็นการวิจัยเอกสาร ที่เทคนิคทางสถิติวิเคราะห์และจัดกลุ่มข้อมูล ข้อความจากเอกสารงานวิจัยเพื่อค้นหาแนวโน้มและทิศทางที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูล ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เช่น การนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ (publication count) การวิเคราะห์ความถี่ของคำ (word frequency analysis) การวิเคราะห์รายการอ้างอิง (citation analysis) การวิเคราะห์การใช้คำร่วม (co-wording analysis) เพื่อให้เห็นมิติว่าองค์ความรู้มีภาพใหญ่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร แนวความรู้กระแสหลักที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างไร และเห็นทิศทางแนวโน้มการบูรณาการณ์ศาสตร์ต่าง ๆ เครื่องมือและองค์ความรู้ของนักวิจัย

ตัวอย่างการนำเครื่องมือการมองอนาคตไปใช้ 

1. เพื่อสร้างขอบเขตของนโยบาย สร้างความรู้ความเข้าใจในปัจจัยที่จะส่งผลกระทบในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบาย
2. สร้างวิสัยทัศน์และทิศทางการเปลี่ยนผ่าน สร้างวิสัยทัศน์ร่วมและพัฒนาแนวคิดให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน
3. การทดสอบนโยบายหรือแผนกลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายหรือกลยุทธ์ด้วยการทดสอบในสถานการณ์จำลอง
4. การบุกเบิกนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วางแผนพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบที่เป็นการบุกเบิกตลาด
5. แสดงหาโจทย์วิจัยและประเด็นที่สำคัญในอนาคต การหาช่องว่างขององค์ความรู้ในปัจจุบันและสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อรองรับอนาคต

การมองอนาคตสำหรับกำหนดขอบเขตนโยบาย
ในปี ค.ศ. 2009 CSIRO Future หรือทีมที่ปรึกษายุทธศาสตร์ขององค์การวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษาต้องการทราบแนวโน้มที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนกระบวนการจัดทำแผนลงทุนระยะยาวของประเทศ โดยการใช้เทคนิคเดลฟายและการวิเคราะห์แนวโน้ม ได้รวมรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 คนภายในองค์กรและภายนอกจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารโลก สำนักงานสถิติออสเตรเลีย องค์การการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากนั้นจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและจัดกลุ่มข้อมูล หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนามารับฟังความคิดเห็นผ่านทางอีเมล์ สรุปออกมาเป็น 6 แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศออสเตรเลีย องค์กรภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน

การทดสอบนโยบาย (Policy Test)
หน่วยงานวิจัยและทดลองทางนโยบายประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ข้อมูลทักษะทางอารมณ์สังคม มาใช้ในการกำหนดนโยบายพัฒนาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนเมือง rotterdam เพื่อป้องกันอาชญากรรมในเด็กและเยาวชน จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าวทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสะท้อนผลกระทบจากนโยบายได้ทันที (Real time)

การบุกเบิกนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย Altering expectations: how design fictions and backcasting can leverage sustainable lifestyles ใช้เครื่องมือ  การพยากรณ์ย้อนหลัง (backcasting) และ แนวคิดตัวแบบนิยายวิทยาศาสตร์ (SFP) เพื่อสร้างต้นแบบ “อนาคตที่ยั่งยืนในบริบทเขตเมืองสต็อคโฮล์มในปี ค.ศ. 2053” โดยนำรูปแบบของอนาคตที่ถูกศึกษาและวางไว้ด้วยวิธี backcasting จากงานวิจัย Images of the Future City: Time and Space for Sustainable Development มาขยายผล โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาสร้างบริบท ฉากทัศน์ต่าง ๆ เป็นตัวเลือก สำหรับทดสอบและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปเพื่อสรุปเป็นข้อมูล

  1. อนาคตแหล่งที่มาของรายได้ที่เปลี่ยนแปลงไป (Futures of Income souces)
  2. ลักษณะของอาชีพในอนาคต (Futures of Work)
  3. อนาคตของพื้นที่อยู่อาศัย (Future of Living space)
  4. อนาคตรูปแบบของการอยู่อาศัยในเขตเมือง
  5. อนาคตของการใช้พลังงาน (Energy consumption)

จากนั้นนำมาทดสอบ รับข้อเสนอแนะ และสรุปในรูปแบบของตัวละคร 3 รูปแบบ ได้แก่

  • Katarina มีฐานะมั่งคั่ง มีความสนใจในประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ต้องการเสียสละความสะดวกสบายที่มีอยู่ มีความคาดหวังว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้เธอสามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
  • Cecillia มีความสนใจในประเด็นความยุติธรรมและสิ่งแวดล้อมมาก มีความกังวลเกี่ยวกับอนาคต มีความตั้งใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คาดหวังให้ภาครัฐสร้างความเข้าใจ กำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • Jonas ชอบใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติชอบใช้เวลาอยู่นอกบ้าน เขาต้องการให้การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากภายใน ชอบการทำงานกับคนในพื้นที่ ด้วยความรับผิดชอบและขนาดที่ให้อิสระและให้อำนาจการตัดสิน 

โดยต้นแบบและเรื่องราวของตัวละครดังกล่าวมีไว้เพื่อสร้างให้ภาพวิสัยทัศน์นั้นเข้าใจได้ง่าย จุดประกายแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้ผู้คน และสะท้อนถึงความท้าทายที่จะพบระหว่างเส้นทางจากปัจจุบันไปยังอนาคตของการใช้ชีวิตในสังคมที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงาน เป็นการสร้างการยอมรับในความเป็นไปได้ในเทคโนโลยีและวิถีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ

สรุป

ศาสตร์และเครื่องมือมองอนาคตนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเส้นทางที่ทอดยาวไกลไปสู่อนาคตที่เปลี่ยนแปลง บ่อยครั้งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในปัจจุบัน จินตนาการถึงได้ยาก และมีความท้าทายที่ไม่แน่นอนรอคอยอยู่ข้างหน้าอย่างหลากหลาย มีความเป็นไปได้สูงมากที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ จะเลือกแก้ไขปัญหาและดำเนินการด้วยทิศทางที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนั้นอาจทำให้ภาพอนาคตที่เป็นไปได้หลากหลายนั้นไม่ซ้อนทับและกลายเป็นอนาคตเดียวกัน 

การได้มองอนาคตร่วม กำหนดภาพอนาคตระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกลได้ชัดเจน จะทำให้ระหว่างการเดินทางจากปัจจุบันไปสู่อนาคตสามารถบูรณาการ ประสานงานส่งต่อความรู้ แนวคิด และเชื่อมผลลัพธ์ สื่อสารความเข้าใจให้สังคมรับรู้และนำไปปฏิบัติได้ตรงกัน นั่นจะทำให้อนาคตที่ต้องการให้เกิดขึ้นแม้จะไกลอย่างไร แต่ก็ยังสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ตามความตั้งใจที่มีร่วมกันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนตลอดช่วงกาลเวลาจากปัจจุบันไปยังอนาคต

ขอบพระคุณ หนังสือเครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools) จัดทำโดย สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (IFI) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ้างอิง:

  1. สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (2562). เครื่องมือการมองอนาคต. retrieved 17 May 2020 from https://ifi.nia.or.th/649/
  2. UNDP (2018). Foresight Manual – Empowered Futures. Retrieved 17 May 2020 from https://www.undp.org/content/undp/en/home/librarypage/capacity-building/global-centre-for-public-service-excellence/ForesightManual2018.html
  3. https://www.csiro.au/futures
  4. Ilstedt, S., & Wangel, J. (2014). Altering expectations: How design fictions and backcasting can leverage sustainable lifestyles. In DRS
  5. Höjer, M., Gullberg, A. & Pettersson, R. (2011b). Images of the Future City – Time and Space for Sustainable Development. Springer.

[NEW] สรุป Tense ทั้ง 12 ใช้ยังไง โครงสร้างประโยคของแต่ละ Tense เป็นอย่างไรบ้าง | สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต – NATAVIGUIDES

ความหมายของ Tense คือ รูปแบบของประโยคที่มีคำกริยา แสดงระบุเวลากำกับการกระทำในขณะที่พูด นี่คือความหมายคร่าวๆนะครับ ถ้าย่นย่อกันจริงๆในการเรียนหลักภาษาแล้ว Tense คือ กาล (เวลา) โดย ถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ Present (ปัจจุบัน), Past (อดีต) และ Future (อนาคต) ซึ่งทั้ง 3 ช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ในแต่ละช่วงเวลานั้นยังถูกแบ่งออกตามลักษณะของเหตุการณ์ได้อีก ช่วงเวลาละ 4 แบบ คือ

  1. Simple : เรียบง่าย
  2. Continuous : ต่อเนื่อง (กำลังทำ)
  3. Perfect : สมบูรณ์
  4. Perfect Continuous : สมบูรณ์และต่อเนื่อง

การใช้ Tense ทั้ง 12

1. Present simple tense

โครงสร้างประโยค คือ S + V

  • ใช้พูดถึงความจริง(ทั้งที่เกี่ยวกับตัวเรา และความจริงตามธรรมชาติ)
    I live in Bangkok. = ฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพ
  • ใช้พูดถึงความชอบ ความคิดเห็น
    She likes spicy food. = เธอชอบอาหารรสจัด
  • ใช้พูดถึงตารางเวลา
    The library closes at 7 p.m. = ห้องสมุดปิดตอนหนึ่งทุ่ม

2. Present continuous tense

โครงสร้างประโยค คือ S + is/am/are + V.ing

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่ กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดหรือในช่วงเวลานี้ของชีวิต
    I am studying Japanese. = ฉันกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่
  • ใช้พูดถึงอนาคตอันใกล้ที่เกิดขึ้นแน่นอน
    I am flying to South Korea tomorrow. = ฉันกำลังจะไปเกาหลีใต้พรุ่งนี้

3. Present perfect tense

โครงสร้างประโยค คือ S + have/has + V.3

  • ใช้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ระบุช่วงเวลาที่แน่นอนไม่ได้ (ไม่เน้นเวลาที่แน่นอน)
    I have met him before. = ฉันเคยเจอเขามาก่อน
  • ใช้เล่าถึงสิ่งที่เคยทำมา ประสบการณ์ที่ผ่านมา สถานที่ที่เคยไปมา
    I have been to South Korea. = ฉันเคยไปเกาหลีใต้
  • ใช้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ยังดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    I have had several tests this month. = ฉันมีสอบหลายตัวเลยเดือนนี้
  • ใช้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ดำเนินมา และเพิ่งเสร็จหรือเพิ่งจบลง (และเหตุการณ์นั้นอาจส่งผลต่อปัจจุบัน)
    l have washed the car. = ฉันล้างรถเสร็จแล้ว

4. Present perfect continuous tense

โครงสร้างประโยค คือ S + have/has + been + V.ing

  • ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และในขณะที่พูดเหตุการณ์นั้นก็ยังไม่จบ ยังดำเนินอยู่ (เน้นมากว่ายังดำเนินอยู่)
    She has been sleeping for 4 hours. = เธอหลับมา 4 ชั่วโมงแล้ว (ขณะนี้ก็ยังคงหลับอยู่)
    It has been raining for 3 hours. = ฝนตกมา 3 ชั่วโมงแล้ว (ตกไม่หยุดเลย)

5. Past simple tense

โครงสร้างประโยค คือ S + V.2

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอดีต ที่เกิดขึ้นแล้วก็จบ เป็นเหตุการณ์สั้นๆ ที่มีการระบุช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ด้วย
    I was in South Korea in 2019. = ฉันอยู่ที่เกาหลีใต้ในปี 2015

หมายเหตุ : past simple tense และ Present perfect tense ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ past simple tense ระบุวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ได้ แต่ Present perfect tense ใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เราไม่รู้เวลาที่แน่ชัด

​6. Past continuous tense

โครงสร้างประโยค คือ S + was/were + V.ing

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในอดีต
    We were playing football yesterday at 10.00. = พวกเรากำลังเล่นฟุตบอลเมื่อวานตอน 10 โมง
  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น พร้อมๆกัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในอดีต
    My dad was exercising while my mom was sunbathing. = พ่อของฉันกำลังออกกำลังกายในขณะที่แม่ของฉันกำลังอาบแดดอยู่
  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ในอดีต โดยเหตุการณ์แรกเป็นเหตุการณ์ที่ กำลังเกิดขึ้น แล้วเหตุการณ์ที่สองก็แทรกขึ้นมา โดยเหตุการณ์แรกนั้น คือ past continuous tense ส่วนเหตุการณ์ที่สองที่แทรกมานั้น เป็น past simple tense
    I was having breakfast when someone came to my home. = ฉันกำลังกินอาหารเช้า ตอนที่มีใครมาที่บ้าน

7. Past perfect tense

โครงสร้างประโยค คือ S + had + V.3

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ในอดีต โดยเหตุการณ์แรกเป็นเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นและดำเนินมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจบลง จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ที่สองตามมา (เหตุการณ์แรกนั้น คือ past perfect tense ส่วนเหตุการณ์ที่สองที่เกิดขึ้นตามนั้น เป็น past simple tense)
    I had worked for 8 hours before Emma arrived. = ฉันทำงานเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ก่อนที่เอ็มม่าจะมา

8. Past perfect continuous tense

โครงสร้างประโยค คือ S + had been + V.ing

  • ใช้เหมือนกันกับ past perfect tense แต่เน้นมากๆว่าเหตุการณ์แรกนั้น เกิดขึ้นและดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แล้วจบลงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สองตามมา (เหตุการณ์แรกนั้น คือ past perfect continuous tense ส่วนเหตุการณ์ที่สองที่เกิดขึ้นตามนั้น เป็น past simple tense)
    I had been working for 4 hours before Emma arrived. = ฉันทำงานอย่างต่อเนื่องมานาน 4 ชั่วโมง ก่อนที่เอ็มม่าจะมา

​9. Future simple tense

โครงสร้างประโยค คือ S + will + V.1

  • ใช้พูดถึงอนาคต เป็นการคาดเดา หรือ จากความรู้สึก
    I will pass the exam. = ฉันต้องสอบผ่าน
  • ใช้พูดถึงการตัดสินใจในทันที ว่าจะทำอะไร
    I will go home before it rains. = ฉันจะกลับบ้าน ก่อนที่ฝนจะตก

10. Future continuous tense

โครงสร้างประโยค คือ S + will + be + V.ing

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น แน่ๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
    When you arrive, I will be swimming. = ตอนที่คุณมาถึง ฉันคงกำลังว่ายน้ำอยู่

11. Future perfect tense

โครงสร้างประโยค คือ S + will + have + V.3

  • พูดถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น(อาจเกิดขึ้นเมื่อ อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ )และดำเนินต่อไป เพื่อที่จะไปจบในอนาคตแน่นอน หรือก่อนจะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในอนาคต (เน้นว่าไปจบในอนาคต และเน้นการบอกจุดจบ)
    They will have finished the work by next week. = พวกเขาจะเสร็จสิ้นการทำงานภายในสัปดาห์หน้า

12. Future perfect continuous tense

โครงสร้างประโยค คือ S + will have been + V.ing

  • พูดถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และบอกได้ว่าต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ กี่ปี กี่เดือน กี่วัน (คือรู้จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ อาจเริ่มมาจาก อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต) แล้วเหตุการณ์นั้นจะไปจบลงในอนาคต หรือก่อนที่จะมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง
    He will have been living here for three years next month. = เขาคงจะอาศัยอยู่ที่นี่มาครบ 3 ปีแล้วในเดือนหน้า


แหลก – Season Five [Lyric Video HD]


♬ Download on iTunes : http://smarturl.it/LaakSS5
♪ Digital download : 1232555

เพลง : แหลก
ศิลปิน : Season Five
คำร้อง/ทำนอง : Season Five
เรียบเรียง : เพิ่มศักดิ์ พิสิษฐ์สังฆการ

☞ แหลก เพลงช้าอารมณ์เศร้าเพลงแรกของ Season Five หากคุณเคยชินอยู่ความรักที่สร้างความสุขให้คุณอยู่เรื่อยมา ความรักที่คุณเชื่อว่ามั่นคงเหมือนกับก้อนหิน จนไม่คิดถึงวันที่อาจจะแตกสลาย ทั้งที่ความจริงก้อนหินก็อาจกลายเป็นเม็ดทรายได้ ความรักก็เช่นกันอาจจะแหลกลงในพริบตา โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว
☞ ด้านสไตล์ดนตรีเป็นเพลงช้าที่เรียบเรียงโดยใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น มีเปียโนเป็นเครื่องดนตรีหลัก เพิ่มอารมณ์เพลงด้วยอะคูสติกกีต้าร์ซึ่งได้ มือกีต้าร์ โอ วง Jetset’er เพื่อนร่วมค่ายเป็นผู้เล่นให้ในรูปแบบการเล่นที่ไม่ซ้ำกันตั้งแต่ต้นจนจบเพลง ทั้งการเล่นแบบ Picking เบาไปจนถึงการ Slap solo ที่ช่วยสื่อสารให้อารมณ์ในแต่ละท่อนชัดเจนขึ้น ผสมผสานกับเสียงกลองที่มีความเป็นวินเทจ และคงเสน่ห์การร้องประสานเสียงในแบบฉบับของ Season Five เพิ่มความพิเศษด้วยเทคนิคการร้องไล่แบบ Dynamic ทำให้เสียงประสานเหมือนกับการเล่น Keyboard โดยเสียงร้องหลักเน้นที่การถ่ายทอดอารมณ์ลึกซึ้ง จึงทำเพลงนี้มีมิติมากขึ้น
☞ นอกจากเนื้อหาเพลงที่เศร้าลึกในอารมณ์แล้ว เพลงแหลกยังเป็นเพลงแรกที่สมาชิกทุกคนภายในวงเป็นผู้แต่งเนื้อร้องและเรียบเรียงทำนองด้วยตัวเอง โดยมีที่ปรึกษาเป็นโปรดิวเซอร์มาฝีมืออย่าง เพิ่มศักดิ์ พิสิษฐ์สังฆการ (โอ๊บ วงไทม์)
\” …ขนาดก้อนหินยังแหลกเป็นเม็ดทราย นับประสาอะไรกับหัวใจ
เช่นเธอตอนนี้ที่เปลี่ยนจากฉันไป….ฉันกำลังจะเสียเธอใช่ไหม… \”

☞ Digital Download Season Five : 1232555
☞ Facebook Season Five : http://facebook.com/SeasonFiveBand
☞ Facebook Sanamluang Music : http://facebook.com/SanamluangPage
☞ YouTube Sanamluang Music Channel : http://www.youtube.com/Sanamluang
☞ Instagram : @Sanamluang_Music
☞ For more Information : http://www.SanamluangMusic.com

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

แหลก - Season Five [Lyric Video HD]

10 สัตว์โลก ที่คุณควรดีใจที่มันสูญพันธุ์ไปแล้ว(สัตว์ดึกดำบรรพ์)


▶ 10 สัตว์โลก ที่คุณควรดีใจที่มันสูญพันธุ์ไปแล้ว!!
เราไปดูกันครับว่า สัตว์สุดอันตรายเหล่านี้จะเป็นไง
Pomster Freestyle
More video : https://goo.gl/90CLv4
▶ Donate(ร่วมสนับสนุน) ผ่านทางบัญชี Paypal
https://www.paypal.me/pomster
▶ Donate(ร่วมสนับสนุน) ผ่านทางTrueMoney
0828622458
10. Kaprosuchus คาพรอสเซอร์คัส จระเข้เถื่อน
Kaprosuchus เป็นสัตว์ในตระกูลจระเข้ ที่อาศัยอยู่เมื่อ 100 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของวิวัฒนาการจระเข้ มันเป็นสัตว์นักล่าที่สมบูรณ์แบบมาก ด้วยขาอันยาวแบบไดโนเสาร์ ทำให้มันว่ายน้ำไวมากและมันยังวิ่งบนบกได้เร็วอีกด้วย ถึงแม้มันจะเป็นสัตว์นักล่าไร้เทียมทาน แต่เมื่อเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง Kaprosuchus ก็สูญพันธุ์ไป ซึ่งอาจจะเป็นโชคดีของเราก็ได้ ที่ปัจจุบันเหลือแต่จระเข้ขาสั้นๆ แบบที่เรารู้จักเท่านั้น ไม่อย่างนั้นละก็ นึกไม่ออกเลยว่าเราจะวิ่งหนีจระเข้แบบนี้กันยังไง
9. Megalodon เมกาโลดอน
นี่คือคือฉลามใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา ฉลามชนิดนี้อยู่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 12,000 ปีก่อน ญาติสนิทของ Megalodon ที่หลงเหลือในปัจจุบันคือ “ฉลามขาว” ขนาดของเมกาโลดอนยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แต่นักวิจัย คาดว่ามีความยาวประมาณ 20 – 25 เมตร น้ำหนัก 20 – 45 ตัน ปากอ้าได้กว้างประมาณ 3 เมตร ฉลาม ชนิดนี้กินวาฬและสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มันสูญพันธุ์เพราะภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง และวาฬย้ายถิ่น จากทะเลเขตร้อนเข้าสู่เขตหนาวใกล้ขั้วโลก
8. Andrewsarchus แอนดรูซอร์คัส ฮายีน่าดึกดำบรรพ์
นี่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุด มันมีชีวิตอยู่ในช่วง 3260 ล้านปีก่อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแอนดรูซอร์คัส แพร่ขยายสายพันธุ์อย่างรวดเร็วหลังไดโนเสาร์สูญพันธุ์ แอนดรูซอร์คัส มีความฉลาด ร่างกายยาว, หางยาว, ปากยื่นออก มีลักษณะคล้ายฮายีน่าในปัจจุบัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ให้ฉายยากับมันว่า “ฝันร้ายของยุคดึกดำบรรพ์” ซึ่งสัตว์ต่างๆ ในยุคนั้นต่างหวาดกลัวมัน แต่ที่เป็นเรื่องน่าแปลกก็คือ สัตว์ดุร้ายชนิดนี้ เป็นญาติห่างๆกับแกะอีกด้วย
7. Pulmonoscorpius พูโมโนสโคเพียส แมงป่องยักษ์
หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบแมงป่อง นี้จะทำให้คุณยินดีกับการสูญพันธุ์ของแมงป่องยักษ์นี้ Pulmonoscorpius ดูคล้ายกับแมงป่องทั่วไปในปัจจุบบัน ที่มีก้ามสองข้างด้านหน้า มีเหล็กในพิษอยู่ตรงหาง แต่แมงป่องยักษ์นี้มีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก ซึ่งมันยาวถึง 70 เซนติเมตร ฟอสซิลของแมงป่องยักษ์ถูกพบที่สก็อตแลนด์ ซึ่งมันได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 1 ล้านปีที่แล้ว
6. Megapiranha เมก้าปิรันยา ปลาปิรันย่ายักษ์
ปลาปิรันยาเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในอเมซอน ซึ่งมันสามารถซีกกินเนื้อได้ภายในไม่กี่นาที แต่ความโหดร้ายของมัน เทียบไม่ได้กับปลาปิรันยายักษ์สายพันธุ์นี้ ซึ่งมันมีขนาดลำตัวยาว 1 เมตร และไหว้น้ำได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นที่น่าดีใจสำหรับมนุษย์ เพราะปลาปิรันยายักษ์นี้ สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 810 ล้านปีที่แล้ว
5. Cameroceras คาเมโรเซอรัส ปลาหมึกกระดองยักษ์
ปลาหมึกกระดองยักษ์ คือสัตว์นักล่าใต้ท้องทะเลที่มีขนาดใหญ่ มันมีความยาวตลอดลำตัวประมาณ 912 เมตร มันเป็นสัตว์ที่ไม่มีดวงตา แต่ใช้ประสาทสัมผัสในการจับการเคลื่อนไหว และใช้หนวดของมันจับเหยื่อ ซึ่งปลาหมึกกระดองยักษ์ อาจเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในมหาสมุทร ช่วงที่มันยังมีชีวิตอยู่ และมันสูญพันธุ์ไปเมื่อ 470 ล้านปีที่แล้ว
4. Helicoprion เฮลิโคไพรออน ฉลามฟันเลื่อย
“เฮลิโคไพรออน” มันเป็นสัตว์ที่มีความแปลก ตรงที่มีฟันแหลมคล้ายเลื่อย ซึ่งนั่นเป็นฟันที่แข็งแรงขดเป็นวง คล้ายก้นหอย ด้วยความแปลกของมัน สร้างความประหลาดในใจให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่น้อย ฉลามชนิดนี้มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1015 ฟุต มันเคยอาศัยอยู่ในแถบตะวันออกรัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งฉลามฟันเลื่อยสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 225 ล้านปีก่อน
3. Gigantopithecus ไจแอนด์ท๊อปพิทีคัส ลิงยักษ์
ลิงยักษ์ไจแกนโทพิเธคัส รูปร่างเหมือนลิงอุรังอุตัง พบซากในป่าและภูเขาของจีน, อินเดีย และเวียดนาม มันมีความน่ากลัวมาก ด้วยความสูงถึง 3 เมตรหนึกถึง 550 กิโลกรัม มันปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในทวีปเอเชียได้อย่างดี ทำให้มันแข็งแกร่งและอยู่รอดจากการล่าได้ แต่สุดท้ายมันก็สูญพันธุ์เมื่อ 300,000 ปีที่แล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. Titanoboa ไททันโอโบอา
ไททันโอโบอาเป็นงูที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมันเป็นงูไม่มีพิษจำพวกโบอา ที่มีลักษณะคล้ายกับงูเหลือมหรืองูหลาม พบได้ในทวีปอเมริกากลางและเกาะมาดากัสการ์ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไททันโอโบอา มีรูปร่างลักษณะและมีพฤติกรรมคล้ายงูอนาคอนดา อาหารของมันได้แก่ จระเข้และปลาขนาดใหญ่ ซึ่งมันมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 1315 เมตร หนักถึง 2 ตัน ไททันโอโบอามีชีวิตอยู่ในบนโลกนี้เมื่อประมาณ 5860 ล้านปีก่อน
1. Terror bird เทเรอร์ เบิร์ด นกกระจอกเทศยักษ์
นกเทเรอร์ เบิร์ด เป็นนักฉวยโอกาสที่ดุร้ายที่สุด อาศัยในอเมริกาใต้และบางส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ มันเป็นนกที่กินสัตว์อื่นๆ เป็นอาหาร พวกมันไม่สามารถบินได้เพราะมันปีกเล็ก ขนาดตัวใหญ่ 3 เมตรและน้ำหนักถึงครึ่งตันเลยทีเดียว มันสามารถวิ่งเร็วได้ถึง 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งนับว่าไวมาก
▶ Inspiration BY Casey neistat
============================
ข้อมูลสำหรับการติดตามผม
BLOGGER : https://goo.gl/NAexP1
YOUTUBE : https://goo.gl/90CLv4
FACEBOOK : https://goo.gl/XqffdR
INSTAGRAM : https://goo.gl/WVZo7t
Support subtitles : https://goo.gl/bt0pRS
==============================
จะพยายามทำคลิปออกมาเยอะๆ
ฝากกดติดตามด้วยนะครับบบ

10 สัตว์โลก ที่คุณควรดีใจที่มันสูญพันธุ์ไปแล้ว(สัตว์ดึกดำบรรพ์)

รวมเรื่องราวเกี่ยวกับ\”โลกใบนี้\”ที่คุณควรรู้ (ฟังเพลินๆ 1 ชั่วโมง)


สมัครสมาชิกช่องเรา:
https://www.youtube.com/channel/UCe5i8Fond6cJNmtV6sxgwNw/join
FanPage: ► https://www.facebook.com/GrandMasterTVPJ
ร่วมสนับสนุนเรา (Support) ได้ที่นี่!
https://streamlabs.com/grandmastertv
โดย GrandMaster TV จะนำทุนสนับสนุนส่วนนี้ไปพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป และจะนำไปอัปเกรดอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างสรรค์คลิป ขอบคุณสำหรับทุกๆการสนับสนุนนะคะ🙏😊

รวมเรื่องราวเกี่ยวกับ\

อนาคตจะมาเร็วกว่าที่คุณคิด! The Future Is Faster Than You Think


TheFutureIsFasterThanYouThink อนาคตจะมาเร็วกว่าที่คุณคิด BooksDD รู้มากในเวลาน้อย รีวิวหนังสือ รีวิวหนังสือดีดี สรุปหนังสือ
Date 13 พฤศจิกายน 2021
รีวิวหนังสือ The Future Is Faster Than You Think
(อนาคตจะมาเร็วกว่าที่คุณคิด)
เขียนโดย Peter Diamandis, Steven Kotler
เทคโนโลยีบนจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในอนาคต?
แล้วมันจะกระทบกับชีวิตของเราอย่างไร?
ถ้าให้ลองจินตนาการโลกอนาคตนะครับ ภาพที่หลายคนน่าจะคิดถึง คือรถยนต์บินได้
จริงๆแล้วรถยนต์บินได้ มีการพูดถึงมานานมาแล้วในอดีต แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นสักที
แต่ตอนนี้ มีหลายบริษัทกำลังลงทุนในด้านนี้ และคาดว่าภายในปี 2030 การขนส่งในเมืองทางอากาศ อาจจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา
คำถามก็คือ ทำไมมันถึงจะเกิดขึ้นในตอนนี้ ทั้งๆที่มีการจินตนาการเป็นเวลานานแล้ว? มาฟังคำตอบกันนะครับ
0:00 เริ่ม
1:09 พลังแห่งการรวมตัวเทคโนโลยี
2:46 วัฏจักรเทคโนโลยี
4:34 เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด
4:40 Quantum Computing การประมวลผลควอนตัม
5:21 Artificial Intelligence (AI) ปัญญาประดิษฐ์
6:09 Networks 5G เครือข่าย 5G
6:49 Sensors เซ็นเซอร์
7:22 Robotics หุ่นยนต์
7:53 Virtual and Augmented Reality ความเป็นจริงเสมือน และความเป็นจริงเสริม
8:39 3D Printing การพิมพ์สามมิติ
9:27 Blockchain บล็อกเชน
10:22 Material Science and Nanotechnology วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี
11:06 Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ
11:29 7 ตัวเร่งเทคโนโลยี
13:33 การเกิดใหม่ของทุกสิ่ง
13:44 การช้อปปิ้ง
14:27 การโฆษณา
14:53 ความบันเทิง
15:46 การศึกษา
16:31 การดูแลสุขภาพ
17:19 การเงิน ประกัน และอสังหาริมทรัพย์
18:23 อาหารการกิน

สนับสนุนการให้ความรู้ดีๆ
1. ท่านสามารถเป็นสมาชิกช่อง BooksDD โดยกดลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://bit.ly/3elmqYM
2. หรือสามารถสนับสนุนผ่านทางเข้าบัญชี:
บัญชีธนาคารกสิกร Kasikorn Bank
เลขบัญชี: 7302910981
สันติ โรเบิต ฟลินท์ Santi Robert Flint
การสนับสนุนของทุกท่านจะทำช่วยให้เรามีกำลังใจทำคลิปความรู้ดีๆสู่สังคมต่อไปครับ 😀
ขอบพระคุณมากๆครับ
SUBSCRIBE + LIKE เพื่อติดตามผลงานได้เลยครับ
YouTube: https://bit.ly/30ARQnD
FB Group \”รีวิวหนังสือดีดี\”: https://bit.ly/3ckSsDp
FB \”BooksDD\”: https://bit.ly/3bJcatn
Blockdit: https://bit.ly/3pqOOxh
Instagram: https://bit.ly/3csRipc
ติดต่องานประชาสัมพันธ์/งานโฆษณา: [email protected] หรือผ่าน FB Messenger
ขอบพระคุณมากครับ

All royaltyfree images are sourced from Pixabay, Pexels, and Freepik Premium
FAIR USE
Copyright Disclaimer under section 107 of the Copyright Act 1976, allowance is made for “fair use” for purposes such as criticism, comment, news reporting, teaching, scholarship, education, and research.
Fair use is a use permitted by copyright statute that might otherwise be infringing.
All rights and credit go directly to its rightful owners. No copyright infringement intended.

อนาคตจะมาเร็วกว่าที่คุณคิด! The Future Is Faster Than You Think

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากรถยนต์ไฟฟ้า วิ่งเต็มถนนเมืองไทย MR17


อีก 9 ปีข้างหน้า ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ในไทยจะต้องมีกำลังผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 30%
แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากรถยนต์ไฟฟ้า วิ่งเต็มถนนเมืองไทย จะเป็นอย่างไร ห้องประชุมลงทุนแมนวันนี้ชวนคุณบิ๊ก หนึ่งในทีมงานลงทุนแมน มาแชร์ให้ฟังกัน
สนับสนุนเนื้อหาดีๆ โดย StockRadars ทำเรื่องหุ้นให้เป็นเรื่องง่าย
เปิดบัญชีเทรดหุ้นผ่านแอพ StockRadars วันนี้ ได้ Point ลงทุนหุ้นต่างประเทศฟรี กดได้เลยที่ https://stockradars.co/kssopenaccount/?ref=LTMPC
ลงทุนแมน ลงทุนในความรู้
การลงทุนในความรู้ไม่มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรกด Subscribe @ลงทุนแมน
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website https://www.longtunman.com/​
Blockdit https://www.blockdit.com/longtunman​
Facebook http://facebook.com/longtunman​
Twitter http://twitter.com/longtunman​
Instagram http://instagram.com/longtunman​
Line http://page.line.me/longtunman​
YouTube https://www.youtube.com/longtunman
Spotify http://open.spotify.com/show/4jz0qVn1…​
Soundcloud http://soundcloud.com/longtunman​
Apple Podcasts http://podcasts.apple.com/th/podcast/…​
Clubhouse @longtunman
ลงทุนแมน​ ห้องประชุมลงทุนแมน​ ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง​ BREAKTHROUGH​ THEBRIEFCASE​ longtunman​ ลงทุนแมนORIGINALS​ ลงทุนเกิร์ลTALK​ ลงทุนเกิร์ล

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากรถยนต์ไฟฟ้า วิ่งเต็มถนนเมืองไทย MR17

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *