Skip to content
Home » [NEW] การเขียน วัน-เดือน-ปี-ตัวเลข เป็นภาษาอังกฤษ | การ เขียน ตัวเลข – NATAVIGUIDES

[NEW] การเขียน วัน-เดือน-ปี-ตัวเลข เป็นภาษาอังกฤษ | การ เขียน ตัวเลข – NATAVIGUIDES

การ เขียน ตัวเลข: คุณกำลังดูกระทู้

วันอาทิตย์ ภาษาอังกฤษ Sunday อ่านว่า ซันเดย์ Sun
วันจันทร์ ภาษาอังกฤษ Monday อ่านว่า มันเดย์ Mon
วันอังคาร ภาษาอังกฤษ Tuesday อ่านว่า ทิวสเทย์ Tue
วันพุธ ภาษาอังกฤษ Wednesday อ่านว่า เวนสเดย์ Wed
วันพฤหัสบดี ภาษาอังกฤษ Thursday อ่านว่า เธอร์สเดย์ Thu
วันศุกร์ ภาษาอังกฤษ Friday อ่านว่า ไฟรเดย์ Fri
วันเสาร์ ภาษาอังกฤษ Saturday อ่านว่า แซทเทอร์เดย์ Sat

1 เดือนมกราคม ภาษาอังกฤษ January อ่านว่า แจนยิวเอริ เขียนย่อ Jan
2 เดือนกุมภาพันธ์ ภาษาอังกฤษ February อ่านว่า เฟบรุเอริ เขียนย่อ Feb
3 เดือนมีนาคม ภาษาอังกฤษ March อ่านว่า มาร์ช เขียนย่อ Mar
4 เดือนเมษายน ภาษาอังกฤษ April อ่านว่า เอพริล เขียนย่อ Apr
5 เดือนพฤศภาคม ภาษาอังกฤษ May อ่านว่า เมย์ เขียนย่อ May
6 เดือนมิถุนายน ภาษาอังกฤษ June อ่านว่า จูน เขียนย่อ Jun
7 เดือนกรกฏาคม ภาษาอังกฤษ July อ่านว่า จูไล เขียนย่อ Jul
8 เดือนสิงหาคม ภาษาอังกฤษ August อ่านว่า ออกัสท์ เขียนย่อ Aug
9 เดือนกันยายน ภาษาอังกฤษ September อ่านว่า เซ็พเทมเบอร์ เขียนย่อ Sep
10 เดือนตุลาคม ภาษาอังกฤษ October อ่านว่า อ๊อคโทเบอร์ เขียนย่อ Oct
11 เดือนพฤศจิกายน ภาษาอังกฤษ November อ่านว่า โนเวมเบอร์ เขียนย่อ Nov
12 เดือนธันวาคม ภาษาอังกฤษ December อ่านว่า ดีเซมเบอร์ เขียนย่อ Dec

1 1st first เฟิสท ลำดับที่ / ที่ หนึ่ง
2 2nd second เซ็คคั่น ลำดับที่ / ที่ สอง
3 3rd third เธิด ลำดับที่ / ที่ สาม
4 4th fourth ฟอร์ธ ลำดับที่ / ที่ สี่
5 5th fifth ฟิฟธ ลำดับที่ / ที่ ห้า
6 6th sixth ซิกซธ ลำดับที่ / ที่ หก
7 7th seventh เซ็ฝเวินธ ลำดับที่ / ที่ เจ็ด
8 8th eighth เอทธ ลำดับที่ / ที่ แปด
9 9th ninth ไนนธ ลำดับที่ / ที่ เก้า
10 10th tenth เท็นธ ลำดับที่ / ที่ สิบ
11 11th eleventh อิเล็ฝเวินธ ลำดับที่ / ที่ สิบเอ็ด
12 12th twelfth เทว็ลฟธ ลำดับที่ / ที่ สิบสอง
13 13th thirteenth เธอที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบสาม
14 14th fourteenth ฟอที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบสี่
15 15th fifteenth ฟิฟที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบห้า
16 16th sixteenth ซิกซที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบหก
17 17th seventeenth เซ็ฝเวินที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบเจ็ด
18 18th eighteenth เอทที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบแปด
19 19th nineteenth ไนนที๊นธ ลำดับที่ / ที่ สิบเก้า
20 20th twentieth เทว็นทิเอ็ธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบ
21 21st twenty-first ทเว็นทิเฟิสท ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบเอ็ด
22 22nd twenty-second เทว็นทิเซ๊เคินด ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบสอง
23 23rd twenty-third เทว็นทิเธิด ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบสาม
24 24th twenty-fourth เทว็นทิฟอธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบสี่
25 25th twenty-fifth เทว็นทิฟิฟธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบห้า
26 26th twenty-sixth เทว็นทิซิกซธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบหก
27 27th twenty-seventh เทว็นทิเซ็ฝเวินธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบเจ็ด
28 28th twenty-eighth เทว็นทิเอทธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบแปด
29 29th twenty-ninth เทว็นทิไนนธ ลำดับที่ / ที่ ยี่สิบเก้า
30 30th thirtieth เธ๊อทิเอ็ธ ลำดับที่ / ที่ สามสิบ
31 31st thirty-first เธ๊อทิเฟิสท ลำดับที่ / ที่ สามสิบเอ็ด

– – –  ข้อสังเกตุการจำ   – – –
หมายเลข 11st
หมายเลข 22nd
หมายเลข 33rd
หมายเลข 421st
หมายเลข 522nd
หมายเลข 623rd
หมายเลข 731st
นอกนั้นใช้   th

ตัวอย่าง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2516 (ปีคริสต์ศักราช )

รูปแบบการเขียน British (UK) : (สไตล์อังกฤษของ สหราชอาณาจักร)วัน-เดือน-ปี American (US) :(สไตล์อังกฤษ ของขาวอเมริกัน) เดือน-วัน-ปี

1the Fourteenth of February, 2016 February the Fourteenth, 2016

2 14th February 2016 February 14th, 2016

3 14 February 2016 February 14, 2016

4 14/2/2016 2/14/2016

5 14/2/16 2/14/16

6 14/02/16 02/14/16

ปีคริสต์ศักราช เขียนย่อว่า ค.ศ. (ละติน: Anno Domini Nostri Iesu Christi อังกฤษ: Anno Domini : AD หรือ A.D.)
หมายถึง ปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น ค.ศ. 1 ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช 544
ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากปีพุทธศักราช(พ.ศ) 543 ปี โดยใช้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนปีศักราช และเป็นปีที่ใช้อ้างอิงสากล

ดังนั้น เวลาที่เราต้องการ แปลง ปีพุทธศักราช(พ.ศ.) เป็น ปีคริสต์ศักราช(ค.ศ.) ให้ลบด้วยตัวเลข 543
ตัวอย่าง ปีพุทธศักราช 2559 เป็นปีคริสต์ศักราช
2559-543=2016

ถ้าต้องการเปลี่ยน ปีคริสต์ศักราช เป็น ปีพุธศักราช จะทำอย่างไร?
ตอบ : ใช้ตัวเลข 543 บวกเข้าไปครับ
ตัวอย่าง ปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีพุทธศักราช
2016+543=2559

UK ย่อมาจาก United Kingdom หมายถึง สหราชอาณาจักร(คำเต็มคือ United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
US ย่อมาจาก United States of America หมายถึง สหรัฐอเมริกา

คำค้นหา
เดือนเป็นภาษาอังกฤษ,วัน เดือน ภาษาอังกฤษ,วันภาษาอังกฤษ ย่อ วันพฤหัส ภาษาอังกฤษ 1สัปดาห์มี7วัน,วันที่ภาษาอังกฤษ วันเสาร์ ภาษาอังกฤษ,เลขภาษาอังกฤษ,การเขียน วัน-เดือน-ปี-ตัวเลข เป็นภาษาอังกฤษ

ปีคริสต์ศักราช เขียนย่อว่า ค.ศ. (ละติน: Anno Domini Nostri Iesu Christi อังกฤษ: Anno Domini : AD หรือ A.D.)หมายถึง ปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น ค.ศ. 1 ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช 544ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากปีพุทธศักราช(พ.ศ) 543 ปี โดยใช้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนปีศักราช และเป็นปีที่ใช้อ้างอิงสากลดังนั้น เวลาที่เราต้องการ แปลง ปีพุทธศักราช(พ.ศ.) เป็น ปีคริสต์ศักราช(ค.ศ.) ให้ลบด้วยตัวเลขถ้าต้องการเปลี่ยน ปีคริสต์ศักราช เป็น ปีพุธศักราช จะทำอย่างไร?ตอบ : ใช้ตัวเลขบวกเข้าไปครับUK ย่อมาจาก United Kingdom หมายถึง สหราชอาณาจักร(คำเต็มคือ United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)US ย่อมาจาก United States of America หมายถึง สหรัฐอเมริกา

Table of Contents

[NEW] Vocabulary: วิธีการอ่านตัวเลขแบบต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ฝึกไว้ไม่มีโป๊ะ! | การ เขียน ตัวเลข – NATAVIGUIDES

เมื่อเราเห็นตัวเลขอยู่คู่กับเครื่องหมายอื่น ๆ ในภาษาอังกฤษนั้นจะอ่านได้อย่างไร อ่านเรียงตามตัวตามที่เราเข้าใจหรือไม่ แล้วเครื่องหมายแต่ละอันใช้ในภาษาอังกฤษว่าอะไร วันนี้จึงขอรวบรวมวิธีการอ่านตัวเลขแบบต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ มาฝากทุกคนกันค่ะ

 

วิธีการอ่านตัวเลขเปอร์เซ็นต์

การอ่านตัวเลขที่อยู่ด้านหน้าเครื่องหมาย % จะใช้วิธีการอ่านแบบจำนวนนับ คือ มีหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย เป็นต้น เช่น

40%              =        forty percent.

62%              =        sixty two percent.

119%            =        one hundred and nineteen percent.

 

วิธีการอ่านตัวเลขอัตราส่วน

การอ่านตัวเลขอัตราส่วนในภาษาอังกฤษ จะใช้คำว่า to แทนเครื่องหมาย : เช่น

2:0               =        two to zero

5:3               =        five to three

19:10            =        nineteen to ten

                  

วิธีการอ่านตัวเลขในการคำนวณพื้นที่

ในภาษาอังกฤษเมื่อต้องการจะอ่านตัวเลขที่ไว้ใช้คำนวณพื้นที่ (กว้างXยาว) จะใช้วิธีการอ่านตัวเลขแบบจำนวนนับ ตามด้วยหน่วยนับ และคำว่า by ตามด้วยตัวเลขและหน่วยนับปิดท้าย เช่น

5 cm. X 4 cm.           =        five centimeters by four centimeters

22” X 2”                 =        twenty-two inches by two inches.

 

วิธีการอ่านตัวเลขแบบมีจุดทศนิยม

การอ่านตัวเลขแบบมีจุดทศนิยมในภาษาอังกฤษมีรูปแบบการอ่านเช่นเดียวกันกับในภาษาไทย คือ ตัวเลขด้านหน้าจุดให้อ่านแบบจำนวนนับ ส่วนจุดอ่านว่า point และตัวเลขหลังจุดให้อ่านเรียงทีละตัว โดยถ้าเจอเลข 0 ให้อ่านว่า zero หรือ oh ก็ได้ เช่น

0.39               =         zero point three nine

3.02               =         three point zero two

59.77             =         fifty-nine point seven seven

203.405         =         two hundred and three point four oh five

*** เลข 0 คนอังกฤษนิยมอ่านว่า Oh (โอ) ส่วนคนอเมริกันนิยมอ่านว่า Zero

 

วิธีการอ่านตัวเลขแบบเศษส่วน

1. การอ่านตัวเลขเศษส่วนที่มีคำเฉพาะ เช่น

    1/2                 =        a half

    1/4                =        a quarter หรือ a fourth

2. การอ่านตัวเลขเศษส่วนโดยทั่วไป ให้อ่าน ‘เศษ’ แบบตัวเลขจำนวนนับ โดยถ้าเป็น 1 ให้อ่านว่า one หรือ a/an ก็ได้ และให้อ่าน ‘ส่วน’ แบบตัวเลขลำดับที่ เช่น

    1/3              =         a third หรือ one-third

    1/8               =         an eighth หรือ one-eighth

3. การอ่านตัวเลขเศษส่วนในกรณีที่ ‘เศษ’ มีจำนวนมากกว่า 1 ให้เติม s ที่ ‘ส่วน’ ด้วย เช่น

    3/4               =         three-quarters หรือ three-fourths

    4/17              =         four-seventeenths

4. การอ่านตัวเลขเศษส่วนที่มีจำนวนเต็มข้างหน้า ให้เชื่อมด้วย and เช่น

    2 เศษ 2 ส่วน 3            =        two and two-thirds

    10 เศษ 1 ส่วน 8          =        ten and one-eighth

 

วิธีการอ่านเลขยกกำลัง

การอ่านเลขยกกำลังในภาษาอังกฤษ มีคำเฉพาะอยู่เพียง 2 คำ คือ squared แปลว่ายกกำลังสอง และ cubed แปลว่ายกกำลังสาม ส่วนถ้าเป็นเลขยกกำลังอื่น ๆ ให้อ่านเลขยกกำลังเป็นแบบเลขลำดับที่ เช่น

32                 =                 three squared

43                 =                 four cubed

24                 =                 two to the forth power

155                =                 fifteen to the fifth power

 

วิธีการอ่านตัวเลขปี ค.ศ.

1. การอ่านตัวเลขปี ค.ศ. ที่ต่ำกว่าหนึ่งพัน อ่านแบบเลขจำนวนนับ เช่น

    ปี 982            =        nine hundred and eighty-two

2. การอ่านตัวเลขปี ค.ศ. แบบหลักพันที่ไม่มีเลข 0 จะแบ่งตัวเลขเป็นคู่หน้าและคู่หลัง แล้วอ่านตัวเลขแบบจำนวนนับปกติ เช่น

    ปี 1594          =        fifteen-ninety-four

3. การอ่านตัวเลขปี ค.ศ. แบบหลักพันที่มีเลข 0 มีวิธีการอ่าน 3 แบบคือ แบบแรกปีที่เลขคู่ที่สองเป็นเลขต่ำกว่าหลักสิบ จะอ่านเลข 0 ว่า oh (โอ) เช่น

    ปี 1509          =        fifteen oh nine

    แบบที่สอง การอ่านตัวเลขปี ค.ศ. ที่เลขคู่ที่สองเป็น 00 จะอ่านว่า hundred เช่น

    ปี 1900          =        nineteen hundred

    แบบที่สาม ถ้าหลังจากปี 2000 ถึงปี 2009 จะอ่านว่า two thousand and … เช่น

    ปี 2001          =        two thousand and one

    และตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไปสามารถอ่านได้สองแบบคือ two thousand and … หรืออ่านเป็นคู่แบบข้อที่ 2 เช่น

    ปี 2011          =        two thousand and eleven หรือ twenty-eleven

    ปี 2018          =        two thousand and eighteen หรือ twenty-eighteen

 


ฝึกเขียน เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก – ภาษาไทย ป.2


วันนี้จะมาเรียนรู้เรื่อง
ฝึกเขียนตัวเลข ไทย และเลข ฮินดูอารบิก 1 10
ตัวอย่างการเขียนตัวเลข พร้อมตัวเลขประกอบ
สื่อการเรียนการสอน อิเล็กทรอกนิกส์
วิชา ภาษาไทย ป.2 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ฝึกเขียน เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก - ภาษาไทย ป.2

03_การเขียนตัวเลข และตัวหนังสือแสดงจำนวนหนึ่งและสอง (คณิตศาสตร์ ป.1 เล่ม 1 บทที่ 1)


วีดิทัศน์นี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ Project 14 ของ สสวท. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://proj14.ipst.ac.th/

03_การเขียนตัวเลข และตัวหนังสือแสดงจำนวนหนึ่งและสอง (คณิตศาสตร์ ป.1 เล่ม 1 บทที่ 1)

สอนเขียนเลขอารบิก 0-9 Teach Arabic Numbers 0-9


เรียนรู้การเขียนเลขเลขอารบิก 09 กันนะ Teach Arabic Numbers
เลข 0 ลากเส้นโค้งไปทางซ้าย แล้วลากขึ้นวนทางขวาขึ้นมาที่จุดเดิม
เลข1 ลากเส้นเฉียงขึ้นไปทางขวาแล้วลากตรงลงมา
เลข2 ลากเส้นโค้งจากซ้ายไปขวา ลากลงมาทางซ้าย แล้้วขีดไปทางขวา
เลข 3 ลากเส้นโค้งไปทางขวา ขยักตรงกลางแล้วลากโค้งไปทางซ้าย
เลข 4 ลากเส้นเฉียงไปทางซ้ายแล้วลากไปทางขวา แล้วลากเส้นตรงลงมา
เลข 5 ลากเส้นตรงไปทางซ้าย แล้วลากตรงลงมาแล้ววาดเส้นโค้งให้หางไปทางซ้าย
เลข 6 ลากเส้นโค้งจากขวาไปซ้าย แล้วลากโค้งวนเข้าตรงกลาง
เลข 7 ลากเส้นตรงจากซ้ายไปขวา แล้วลากลงไปทางซ้าย
เลข 8 ลากเส้นโค้งด้านซ้ายแล้วลากเส้นโค้งลงไปทางขวา ลากวนทางซ้ายแล้วแล้ววนกลับขึ้นมาด้านบนที่จุดเดิม
เลข 9 ลากเส้นโค้งไปทางซ้าย วนกลับมาทางขวา แล้วลากหางลงไปด้านล่างทางซ้าย
ติดตามช่อง Indysong Kids https://www.youtube.com/user/indysong
แฟนเพจ Facebook Fanpage https://www.facebook.com/IndysongKids

สอนเขียนเลขอารบิก 0-9 Teach Arabic Numbers 0-9

ฝึกการเขียนตัวเลขตามแบบ


เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือที่ต่างกัน เด็กจะเริ่มเขียนได้ดีต่อเมื่อมีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง อาจฝึกจากกิจกรรมการปั้น การระบายสี หรือกิจกรรมต่างๆที่ได้ใช้มือ นิ้วมือในการออกแรงทำ และเมื่อเด็กมีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรงมากพอแล้วก็จะสามารถบังคับทิศทางมือในการเขียนตัวอักษรต่างๆได้

ฝึกการเขียนตัวเลขตามแบบ

วีดีโอ1เขียนเลขฮินดูอารบิก


วีดีโอ1เขียนเลขฮินดูอารบิก

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ การ เขียน ตัวเลข

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *