Skip to content
Home » [NEW] การที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย กับกรณีข้อ 2 (9) ของประกาศอธิ | การออกใบกำกับภาษี – NATAVIGUIDES

[NEW] การที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย กับกรณีข้อ 2 (9) ของประกาศอธิ | การออกใบกำกับภาษี – NATAVIGUIDES

การออกใบกำกับภาษี: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

การที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย 

กับกรณีข้อ 2 (9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 

         “เบี้ยปรับ” ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1 เท่า หรือ 2 เท่า หรือร้อยละ 2 ของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นบทลงโทษทางแพ่ง กรณีผู้ประกอบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มขาดจำนวน หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม เกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ การใช้ใบกำกับภาษีปลอม การไม่เก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี รวมทั้ง การไม่จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม และการมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในทำนองเดียวกัน เป็นอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะป้องปรามการกระทำความผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่ม

         ในขณะที่ “เงินเพิ่ม” ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือนำส่ง ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นบทลงโทษทางแพ่ง กรณีผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่นำส่ง ได้ชำระหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี ล่าช้า เกินกว่ากำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด คล้ายกับดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารพาณิชย์

         กล่าวเฉพาะ “เบี้ยปรับ” ตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย อาทิ การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือกรณีตามมาตรา 86/1 แห่งประมวลรัษฎากร หรือกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจกรรมดังต่อไปนี้ เช่น
         – กิจการที่ไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี (Non VAT Base) ตามมาตรา 79 (1) – (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
         – กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of VAT Scope) รวมทั้งกิจการที่อยู่ในบับคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
         – กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
         – การออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจกรรมที่ไม่เกิดขึ้นจริง
         – การออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ที่มิได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากตนเองอย่างแท้จริง
         – การออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าหรือบริการคนละชนิดกับที่ตนเองได้ขายหรือให้บริการ
         – การออกใบกำกับภาษีปลอมเพื่อการทุจริต หรือโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม
         ผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มิสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย นั้น นอกจากต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ตนได้ออกตามนัยมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ยังต้องระวางโทษอาญาตามมาตรา 90/4 (3) และมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร ในโทษจำคุกตั้งแต่ 2 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท อีกด้วย ซึ่งเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญาดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
         ทางด้านตรงกันข้าม ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่มีสิทธิที่จะออกดังกล่าว ย่อมไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (5) แห่งประมวลรัษฎากร

         เกี่ยวกับประเด็นไม่รวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายต้องการที่จะขจัดความซ้ำซ้อนของการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการขายสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขานสินค้า ได้โอนสิทธิการนำเข้าสินค้าของตนให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ซึ่งก่อให้เกิดการภาระภาษีมูลค่าเพิ่มอันเนื่องจากการนำเข้าสินค้าตามกฎหมายศุลกากร ตามมาตรา 77/1 (2) ประกอบกับมาตรา 78/2 และมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีการขายสินค้าในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 (1) ประกอบกับมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร จึงออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 2 (9) เพื่อทอนภาระความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งที่สองที่อยู่ในอำนาจการจัดเก็บของกรมสรรพากรลง โดยให้ถือเป็นกิจการที่ไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายสินค้านั้นในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่นำเข้าซึ่งได้โอนสิทธิการนำเข้าไปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าแล้วดังกล่าว

         แต่อนิจจา!!! ความปรารถนาดีของอธิบดีกรมสรรพากร กลับกลายมาเป็นแส้ที่หวดลงบนหลังของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายสินค้านั้นในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่นำเข้าซึ่งได้โอนสิทธิการนำเข้าไปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าแล้ว เพราะเหตุของการไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ด้วยปรารถนาที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามหน้าที่แห่งตน ซึ่งหาได้เกิดจากการจงใจเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีอากรดังกรณีอื่นของการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย
….เบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายเท่านั้น จะพิจารณาลดหรืองดให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ลำพังเจ้าพนักางานประเมินที่ทำการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีอำนาจที่ลดหรืองดให้แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นผู้เสนอความเห็นเบื้องต้นต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายเท่านั้น (ซึ่งถือว่าสำคัญมากประการหนึ่ง!!!)
         ความผิดในกรณีนี้ หากพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายพึงต้องพิจารณา “งดเบี้ยปรับ” ให้แก่ผู้ประกอบการแต่เพียงสถานเดียวเท่านั้น เนื่องจากด้วยเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับบริษัทฯ ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลคาเพิ่ม ข้อผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ไม่มีความรู้และขาดความเข้าใจในทางปฏิบัติ และได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดีในทุกกรณี
ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้ทำคำร้องของดหรือลดเบี้ยปรับต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว จึงพึงต้องรอผลการพิจารณาของท่าน ไม่พึงต้องแสดงความจริงใจที่จะชำระเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนเบี้ยปรับ เพราะเจ้าพนักงานรับแบบแสดงรายการไม่มีอำนาจพิจารณาลดเบี้บปรับกรณีดังกล่าวตามมาตรา 89 วรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

         อย่างไรก็ตาม กรณีการโอนสิทธิให้ผู้ซื้อนำเข้า จะถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 101/2543 เรื่อง ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

        ”ข้อ 1 การขายสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของ สินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็น มูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

             (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็น ผู้ขายต้องเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

             (

2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าที่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศ

             (

3) ผู้ซื้อซึ่งนำเข้าสินค้าได้มีการชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

             (

4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จะต้องมีหลักฐานสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ

             ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่ต้องออก ใบกำกับภาษีเพื่อเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 หรือใบส่งของ ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี”ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายจะต้องมีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ผู้ซื้อได้เสียภาษีตอนนำเข้าไว้แล้ว

         ดังนั้น ถ้าสำเนาใบเสร็จนั้น “หาย” หรือผู้ซื้อไม่ยอมส่งมอบให้บริษัทฯ ก็ยังคงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บในอัตรา 7.0 ตามปกติ ของการขายสินค้าในราชอาณาจักร จึงต้องกลับไปพิจารณาปรเด็นนี้อีกครั้งหนึ่งว่า มีหลักฐานสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบอยู่หรือไม่ หากไม่มีการออกใบกำกับภาษีก็ถือเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นกรณีตามสุภาษิต ตกกระไดพลอยโจนไปเสียเลย จะได้พ้นผิดจากข้อกล่าวหาว่า ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย 

        การปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในอนาคตค่อยว่ากันใหม่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อไป 

[Update] ขายของส่งออก คิดภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร – | การออกใบกำกับภาษี – NATAVIGUIDES

การขายส่งออกเป็นการขายสินค้าจากในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศ ในทางภาษีอากร การขายส่งออกเข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นดียวกับการขายสินค้าปกติทั่วไป

เพราะตามประมวลรัษฏากรมาตรา 77 เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มระบุว่า “ ขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่และให้หมายความรวมถึง (ค) ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร” นอกจากนี้เมื่อผู้ประกอบการส่งออกมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วัน เช่นเดียวกับการขายปกติ

ทำไมการส่งออกต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อผู้ประกอบการส่งออกจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามมาตรา80/1 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้กิจการส่งออกซึ่งเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าประเภทหนึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ใช้อัตรา 0% ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

วิธีคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกิจขายสินค้าส่งออก

การส่งออกที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% เฉพาะกรณีที่กิจการดำเนินการส่งออกโดยผ่านพิธีการกรมศุลกากร หรือ การรายงานต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เมื่อมีการส่งออกสินค้าจากประเทศไทย ว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ส่งออก ส่งไปที่ใด ส่วนการส่งออกทางไปรษณีย์หรือการนำติดตัวออกไปต่างประเทศโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกันแต่เสียในอัตรา 7%

หน้าที่ของผู้ประกอบการส่งออกที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จะเห็นว่าการที่ผู้ประกอบการส่งออกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา
0% มีผลเท่ากับไม่ต้องเสียภาษีจากการขายสินค้าและสำหรับภาษีซื้อสามารถยื่นขอคืนจากกรมสรรพากรได้

อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการส่งออกที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงมีหน้าที่เช่นเดียวกันกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปดังนี้

  1. ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีต้องออกให้ถูกเวลา คือออกเมื่อเกิดความรับผิด (Tax Point) สำหรับการส่งออกความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ
    1.1 มีการชำระอากรขาออก
    1.2 มีการวางหลักประกันขาออก
    1.3 จัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก

และรวบรวมใบกำกับภาษีซื้อเมื่อมีการซื้อสินค้าและบริการ

2. จัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามที่กฎหมายกำหนด

3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยสามารถยื่นแบบได้ทั้งทางออนไลน์หรือยื่นแบบที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่

นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรเก็บหลักฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิกับกรมสรรพากร ว่าได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0%

  1. Invoice คือใบแจ้งหนี้ค่าสินค้า ซึ่งแสดงชื่อสินค้า จำนวนและมูลค่าสินค้า ชื่อที่อยู่ผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นต้น

2. Packing List คือเอกสารที่ผู้ส่งออกทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ ว่าบรรจุแบบใดหรืออยู่กล่องใด รวมถึงน้ำหนักและปริมาณโดยรวมของสินค้าแต่ละรายการ

3.หลักฐานการชำระค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้ เช่นหลักฐานการเปิด L/C(Letter of Credit), หลักฐาน การทำ T/T (Telex of Transfer)หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าว สามารถใช้บันทึกรายการส่งออกสินค้าในรายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ บัญชีเงินสดรับหรือบัญชีขายแทนได้

4. สำเนาใบขนสินค้าในนามผู้ประกอบการที่ผ่านพิธีศุลกากร ฉบับที่มีการสลักหลังตรวจปล่อยสินค้า โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร

จากหน้าที่ที่กล่าวมาของผู้ประกอบการส่งออกที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถ้าผู้ประกอบการไม่ปฎิบัติตามทางกรมสรรพากรกำหนดบทลงโทษไว้ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกอบการที่ไม่จัดทำใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับและเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี

2. ผู้ประกอบการที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้บัญชี/ภาษีเป็นเรื่องง่าย ช่วยเตรียมเอกสารใบกำกับภาษีออนไลน์และจัดทำรายงานภาษีได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบ

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์

    อ้างอิง: https://www.beeaccountant.com/revenue_vat_export
           คำสั่งกรมสรรพากรที่ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการได้รับสิทธิเสีย
           ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
            https://www.rd.go.th/ความรู้เรื่องภาษี/ภาษีมูลค่าเพิ่ม/กำหนดโทษการปฎิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม


การออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามสรรพากรกำหนด – ภาษา ภาษี Ep.6


การออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามสรรพากรกำหนด
ภาษา ภาษี Ep.6
เสิร์ฟความหลากหลายรายการใหม่เอี่ยม ทุกวัน จันทร์ อาทิตย์ขนทัพความรู้ บัญชี ภาษี และการเงิน มาให้ชมอย่างเต็มอิ่ม !!
🙏ฝากกดติดตามแฟนเพจ บัญชีอย่างง่าย
เพื่อรับข่าวสารข้อมูลบัญชีภาษีทันต่อเวลา
Youtube : https://bit.ly/3lnhpBF
Instagram : https://bit.ly/2Y05mzW
Tiktok : http://bit.ly/2McBHR3
บัญชีอย่างง่าย ครูอัส วางระบบบริษัท วางระบบภาษี SMEไทยยั่งยืน ธุรกิจมั่นคง เงินสดหมุนเวียนในกิจการ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

การออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามสรรพากรกำหนด - ภาษา ภาษี Ep.6

Excel ช่วยออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ


Excel ช่วยออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
.
ไฟล์นี้จะมีให้ Download ในคอร์ส \”ภาษีสำหรับผู้ประกอบการ\”
สอบถามข้อมูลคอร์สอบรมได้ที่ : https://www.facebook.com/welovebunchee

Excel ช่วยออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

#FlowAccountAudioBlog : ใบกำกับภาษี คืออะไร? ใช้งานแบบไหน ต้องรู้อะไรบ้าง ?


ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารสำคัญ ที่ถ้าคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม VAT (อาจเรียกอีกอย่างว่าผู้ที่อยู่ในระบบ VAT) จะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า และภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า
ติดตามรายละเอียดได้ที่ FlowAccountAudioBlog by @TAXBugnoms ตอนนี้ได้เลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2Yb5kVw
♥ สมัครใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี! ได้ที่ https://flowaccount.com
♥ ร่วมเป็นสำนักงานบัญชีพาร์ทเนอร์กับเรา https://flowaccount.com/accountingfir…
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น New FlowAccount ทั้งทาง iOS และ Andriod
📱 App Store: https://apple.co/2PoDikS
📱 Play Store: http://bit.ly/354gFcf

#FlowAccountAudioBlog : ใบกำกับภาษี คืออะไร? ใช้งานแบบไหน ต้องรู้อะไรบ้าง ?

เทรดเว็บนอกอาจโดนภาษีเยอะกว่า!! และอาจเกี่ยวฟอกเงิน + ภาษีที่ซ่อนอยู่ในที่ใช้ EXCHANGEไทย || สอนหุ้น


ภาษีคริปโตไม่ได้มีแค่จากกำไร 15% และนำไปรวมรายได้รายปีเท่านั้น
วิธีเก็บภาษีจากำไร 15% ผู้ซื้อขาย CYPTO บ่อยเสียภาษีเยอะมากๆ
P2P จากเว็ปนอก อาจเสี่ยงโดนฐานฟอกเงิน ไม่แจ้งสรรพากรอาจโดนภาษีย้อนหลังด้วย
สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
https://www.youtube.com/channel/UC8qPSWixGtj9_Oz47Y7wkQ/join

เทรดเว็บนอกอาจโดนภาษีเยอะกว่า!! และอาจเกี่ยวฟอกเงิน + ภาษีที่ซ่อนอยู่ในที่ใช้ EXCHANGEไทย || สอนหุ้น

เมื่อผู้ประกอบการต้องการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้า


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 608 Yellowการบัญชี www.yellowaccounting.com โดย อ.มานพ สีเหลือง และ อ.เจี๊ยบ

เมื่อผู้ประกอบการต้องการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้า

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การออกใบกำกับภาษี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *