Skip to content
Home » [NEW] ความหมายของ “วัฒนธรรม” | คําไทย ความหมายดี – NATAVIGUIDES

[NEW] ความหมายของ “วัฒนธรรม” | คําไทย ความหมายดี – NATAVIGUIDES

คําไทย ความหมายดี: คุณกำลังดูกระทู้

นักวิชาการวัฒนธรรมหลายท่านได้ให้คำจำกัดความ คำว่า “วัฒนธรรม” ไว้ดังนี้

1.วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ (สุพัตรา สุภาพ, 2528)

2. Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของ สังคม

3. Broom และ Zelznick (1969) อธิบายว่า วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ประเพณี และความชำนิชำนาญที่คนเราได้มาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม

4. Bierstedt, Meehan และ Samuelson (1964) กล่าวว่า วัฒนธรรมคือ ส่วนทั้งหมดอันซับซ้อน ประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาคิดและทำในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม

5. คำว่า วัฒนธรรม เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ธรรม เป็นต้นเหตุให้เจริญ หรือธรรมคือความเจริญมีใช้เป็นหลักฐานทางราชการ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2543 เรียกว่า พระราช บัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2543 กับฉบับที่ 2 เมื่อ พุทธศักราช 2485 (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2500)

6. คำว่า วัฒนธรรม ตามที่กล่าวมาเป็นคำสมาสระหว่างภาษาบาลีกับสันสกฤต เพราะคำว่า วัฒน มาจาก คำบาลีว่า วฑฺฒน ซึ่งแปลว่า เจริญ งอกงาม

ส่วนคำว่า “ธรรม” มาจากภาษาสันสฤตว่า ธรฺม (ใช้ในรูปภาษาไทย-ธรรม) เขียนตาม รูปบาลีล้วน ๆ คือ “วฑฺฒนธมฺม” หมายถึง ความดี ซึ่งหากแปลตามรากศัพท์คือ สภาพ อันเป็นความเจริญงอกงาม หรือลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม

นอกจากนี้ คำว่า วัฒนธรรมตรง กับภาษาอังกฤษว่า culture และคำว่า culture นี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสเองเอามาจากภาษาละติน คือ cultura อีกต่อหนึ่ง

7. ในหนังสือ Encyclopedia of Social Science หน้า 621 ได้อธิบายคำว่า วัฒนธรรม (Culture) ว่า เป็นคำที่ใช้ในวิชามานุษยวิทยาสมัยใหม่ (Modern Anthropology) และในทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) หมายถึง มรดกของสังคม (Social Heritage) เป็นลักษณะเฉพาะในการดำรงชีวิต ของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย (อ้างใน สุพัตรา สุภาพ, 2528)

8. ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในภาษาไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้

“วัฒนธรรม” หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียว ก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน (เป็นการชี้ชวน เชิญชวน วิงวอนให้ประชาชนร่วมกัน ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม ให้มีความดีงามขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่รับมรดกกันมา แต่จะต้องรักษาของเดิมที่ดี แก้ไขดัดแปลงของเดิมที่ควรแก้ หรือดัดแปลงวางมาตรฐานความดีความงามขึ้นใหม่ แล้วส่งเสริมให้เป็น ลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง

9. คำว่า “วัฒนธรรม” ถอดศัพท์มาจาก “culture” ของภาษาอังกฤษ ซึ่งมี รากศัพท์มาจาก “cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง อธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม

“วัฒนธรรม” เป็นคำสมาส คือการรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ “วัฒนะ” ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง “ธรรม” ซึ่งในที่นี้หมายถึง กฎ ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ เพราะฉนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า “วัฒนธรรม” ในความหมายทั่วไป หมายถึงความเป็นระเบียบ ความมีวินัย เช่นเมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า “เป็นคนมีวัฒนธรรม” ก็มักหมายความว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย เป็นต้น

“วัฒนธรรม” เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น

10. พระยาอนุมานราชธนได้ อธิบายคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรนหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้

11.วัฒนธรรม คือ สิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา

วัฒนธรรม คือการคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น

วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (อานนท์ อาภาภิรม, 2525)

12. “วัฒนธรรม” ในความหมายทางสังคมวิทยา คือ วิถีการดำเนินชีวิตและกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น

“วัฒนธรรม” ตามความหมายของพระราชบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน (หน่วยศึกษานิเทศก์, กรมการฝึกหัดครู, 2520)

13. วัฒนธรรมหมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถ เรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุข สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)

14. วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของคนในสังคม เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)

15. วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหมู่คณะ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525)

16. วัฒนธรรม ตามความหมายที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุตฺโต) ให้ไว้ในการ ปฐกถาพิเศษ เนื่องใน งานฉลอง 100 ปี พระยาอนุมานราชธน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2531 คือ วัฒนธรรมเป็นผลรวมของ การสั่งสมสร้างสรรค์ภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้น ๆ หรือกล่าวสั้น ๆ ได้ว่า วัฒนธรรมคือ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ที่สังคมนั้นมีอยู่หรือเนื้อตัวทั้งหมดของสังคมนั่นเอง (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2532)

17. วัฒนธรรมเป็นผลงานด้านต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยผ่านการคัดเลือกปรับปรุงและยึดถือสืบทอด กันมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมเป็นทั้งลักษณะนิสัยของคนหรือกลุ่มคนในชาติ ลัทธิความเชื่อ ภาษา ขนบธรรมเนียม อาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอย ศิลปะต่าง ๆ และการประพฤติปฏิบัติในสังคม

วัฒนธรรมเป็นมรดกสังคมที่คนในชาติรับไว้ และจะต้องวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต

วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นรากฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและของการสร้างสรรค์ความมั่นคงของชาติ

วัฒนธรรมแสดงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และความภูมิใจร่วมกันของคนไทย (คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ จัดทำหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับเยาวชน ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2525)

18. “วัฒนธรรม” เป็นคำที่เกิดขึ้นในภาษาไทย ในสมัยที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ คำเดิมภาษาอังกฤษ คือ “Culture” ในตอนแรก “พระมหาหรุ่น” แห่งวัดมหาธาตุได้แปลคำนี้ว่า “ภูมิธรรม” แต่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเล็งเห็นว่า คำว่า “ภูมิธรรม” มีความหมายค่อนข้างคงที่ พระองค์ท่านทรงมีความประสงค์ให้คำนี้มีความหมายในลักษณะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงแปลใหม่เป็น “วัฒนธรรม” และมีการนำมาใช้สืบต่อมาตลอดสมัยที่ประเทศไทยมีกระทรวงวัฒนธรรมและคงใช้อยู่ในปัจจุบัน (วีระ บำรุงรักษ์, ระบบการจัดวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน, มปป.)

19. วัฒนธรรม คือ ส่วนประกอบที่สลับซับซ้อนทั้งหมดของลักษณะอันชัดเจนของจิตวิญญาณ วัตถุ สติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสังคมหรือหมู่คณะ วัฒนธรรมมิได้หมายถึงเฉพาะเพียงศิลปะและวรรรกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงฐานนิยมต่าง ๆ ของชีวิต สิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ของมนุษย์ ระบบค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ (วีระ บำรุงรักษ์, 2525)

20. วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงาม และความเจริญในชีวิตมนุษย์ ซึ่งปรากฏในรูปธรรมต่าง ๆ และได้ตกทอดมาถึงเราในปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเราเอง (สาโรช บัวศรี, 2531)

21. คำว่า Culture หมายถึง แบบอย่างการดำรงชีวิตของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกเรียนรู้ ถ่ายทอดกันไปด้วยการสั่งสอนอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือหมายความง่าย ๆ ว่าแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น (พัทยา สายหู, ม.ป.ป.)

22. วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตการปฏิบัติและสิ่งของที่เป็นผลมาจากการสะสมถ่ายทอดจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งไปสู่รุ่นถัด ๆ ไป เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือเครื่องบ่งชี้ความเป็นกลุ่มชนของกลุ่ม บุคคลนั้น ๆ (โกวิท ประวาลพฤกษ์, ม.ป.ป.)

23. วัฒนธรรม หมายถึง การรวมของพฤติกรรมแห่งวิถีชีวิตของกลุ่มมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นหลังต่อ ๆไป ทั้งนี้โดยอาศัยสัญลักษณ์และการเรียนเป็นสื่อ (ระดม เศรษฐีธร, ม.ป.ป.)

24. วัฒนธรรม หมายความว่า ลักษณะที่แสดงถึง ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประเทศ (พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485)

25. วัฒนธรรม เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ธรรมเป็นเหตุให้เจริญหรือธรรมคือความเจริญ (พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485)

26. วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตซึ่งมนุษย์ทำให้เจริญขึ้น เพื่อสนองความต้องการอันเป็นมูลฐานที่มีต่อ ความดำรงอยู่รอด ความถาวรแห่งเชื้อสายและการจัดระเบียบแห่งประสบการณ์

27. วัฒนธรรม คือ

(1) การให้เจริญขึ้น โดยการศึกษาวิจัยฝึกหัด เป็นต้น
(2) การเข้าใจแจ่มแจ้ง และการทำให้ประณีตขึ้นซึ่งรสนิยมอันได้มาจากการฝึกหัดทางสติปัญญา และทางสุนทรียภาพ
(3) ขั้นที่กำหนดความหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าในอารยธรรมหรือรูปลักษณะเช่นนั้น เช่น วัฒนธรรมกรีก วัฒนธรรมเยอรมัน เป็นต้น

28. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่ทำให้กาย ใจของเราในส่วนรวมคือ ประเทศชาติมีความ งอกงามอยู่ดีกินดี หรือกล่าวย่อ ๆ ตามรูปคำ ได้แก่ ธรรมอันเป็นความเจริญ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต หรือทางดำเนินแห่ง ชีวิตของสังคมหมู่หนึ่ง หรือประเทศหนึ่ง โดยมุ่งเฉพาะ (นอ.สมภพ ภิรมย์ รน.,ม.ป.ป.)

29. วัฒนธรรมได้แก่ สิ่งอันเป็นวิถีชีวิตของสังคมโดยส่วนรวมจะคิดเห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีความ เชื่อถืออย่างไร ก็แสดงออกได้ปรากฏเป็นรูปภาษา ประเพณี กิจการงาน การเล่น การศาสนา เป็นต้น ตลอดจนเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่คนในส่วนรวมสร้างขึ้น สิ่งอันจำเป็น แห่งวิถีชีวิตของการครองชีพ มีเรื่องปัจจัยสี่ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ เป็นต้น

30. วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (Way of life) หรือรูปแบบแห่งพฤติกรรม (Behavior patterns) และบรรยายผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ได้แก่ ศาสนา ปรัชญา ภาษา กฎหมาย การปกครอง ศิลปวิทยาการ เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ ซึ่งมีการส่งต่อและสืบทอดติดต่อกันมา (เสาวณีย์ จิตต์หมวด, ม.ป.ป.)

31. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาได้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบประเพณี เป็นต้น (พระยาอนุมานราชธน, ม.ป.ป.)

32. วัฒนธรรม คือ เครื่องแสดงความเจริญและเอกลักษณ์ของชาติ ประชาชนในชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย จึงมีความภาคภูมิใจช่วยปกป้องรักษาวัฒนธรรมของชาติตน เพื่อให้เอกลักษณ์ของชาติดำรงอยู่ (สมาน แสงมะลิ, ม.ป.ป.)

33. วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตโดยส่วนรวมของประชาชนกลุ่มหนึ่ง (A TOTAL WAY OF A PEOPLE) (สนิท สมัครการ, ม.ป.ป.)

34. วัฒนธรรม คือ วิถีดำเนินชีวิตทุกด้านของคนทั้งมวลในสังคม ซึ่งหมายถึงวิธีการกระทำสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง ทั้งหมดทั้งสิ้น นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธี จราจร และขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ตลอดจนวิธีแสดงทางความสุขทางใจและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิตทั้ง เครื่องใช้ หรือวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการเหล่านั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไม่ว่าสิ่งของ เหล่านั้นจะเป็นสิ่งของที่นำมาจากธรรมชาติหรือคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ก็ตาม (เฉลียว บุรีภักดี, ม.ป.ป.)

35. วัฒนธรรม คือ แนวทางแห่งการแสดงออกวิถีชีวิตทั้งปวงซึ่งอาจเริ่มจากเอกชนหรือคณะบุคคลคิดขึ้น หรือกระทำขึ้นเป็นต้นแบบ แล้วต่อมาคณะส่วนใหญ่ของกลุ่มชนยอมรับมา สืบทอดจนกระทั่งสิ่งนั้นๆ ส่งผล ให้เกิดเป็นนิสัยในการคิด การเชื่อถือ และการกระทำของคนส่วนใหญ่แห่งกลุ่มชนนั้นๆ (สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์, ม.ป.ป.)

36. วัฒนธรรม คือ สิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซี่งได้รวมเอาความรู้ ความเชื่อ จริยธรรม กฎหมาย สมรรถภาพ และนิสัยที่บุคคลได้ไว้ฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม (Akcuff, Allen and Taylor, 1973)

37. วัฒนธรรม หมายถึง พฤติกรรมทั้งมวลของมนุษย์อันเกิดจากการเรียนรู้ และพฤติกรรมนั้นถูกกำหนด จากประเพณี (Herkovits, 1952)

38. วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้ (Linton, 1945)

39. วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตของบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นลักษณะรวมของพฤติกรรม พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดจาก การเรียนรู้ และมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง (Barnouw, 1964)

40. วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตที่คนในสังคมดำเนินตาม (Valentine, 1968)

41. ความหมายของ“วัฒนธรรม” ตามแนวทางในการรักษาส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ. 2529

วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตมนุษย์

1. วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึก นึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถแก้ไขและซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทย คือวิถีชีวิตที่คนไทยได้สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ ได้ใช้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม

2. วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมปรับปรุงและรักษาไว้ให้เจริญ งอกงามวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการ ประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคมสืบทอดเป็นมรดกทางสังคมต่อกัน มาจากอดีต หรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรืออาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่นๆ ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับและยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของ สังคมนั้น

3. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้างขึ้น เพื่อความเจริญ งอกงาม

42. วัฒนธรรม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ได้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพตามยุคสมัย (อ้างใน นิคม มูสิกะคามะ, 2539)

43. วัฒนธรรม เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมเป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่ง ความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทยคือ วิถีชีวิตที่คนไทยได้สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือกันว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และได้ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม

วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคม มีการสืบทอดเป็นมรดกทางสังคมต่อกันมาจากอดีตหรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือ อาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่น ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับ และยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติ ปฏิบัติร่วมกันก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น

วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย

วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนในสังคมใหญ่ ย่อมมีเนื้อหา รูปแบบ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป หากว่า ความแตกต่างนั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวมแล้ว ก็สมควรให้กลุ่มชนทั้งหลายมีโอกาส เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน สภาพความแตกต่างเช่นนี้เป็นธรรมชาติของวัฒนธรรม

วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิต ของส่วนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้เอาอย่างกันได้

วัฒนธรรม คือ ความคิดเห็นความรู้สึกความประพฤติและกิริยาอาการหรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วน รวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษาศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น

วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ, 2531)

44. วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงามและความจริงในชีวิตมนุษย์ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ และได้ตกทอดมา ถึงเราในสมัยปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเรา

ที่ว่าปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ นั้น หมายถึงที่ปรากฏในรูปแบบของศิลปกรรม มนุษยศาสตร์ การช่างฝีมือ การกีฬา และนันทนาการ และคหกรรมศาสตร์ รวม 5 ประการ แต่จะตี ความหมายให้กว้างขวางออกไปกว่านี้อีก เช่น รวม เอาที่ปรากฏอยู่ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาไว้ด้วย ก็คงจะทำได้เพราะทั้งสองอย่างนี้ มีความสำคัญ อย่างมากในชีวิตมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน(สาโรช บัวศรี, 2531)

45. วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าว หน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชนทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

โดย สรุป วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบ แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความ ต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้ เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย

 

[NEW] ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน | คําไทย ความหมายดี – NATAVIGUIDES

          รู้จัก 20 ท่า ภาษามือเบื้องต้นสำหรับใช้สื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยินของไทย ที่ใช้สำหรับการสื่อสารถึงเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น การทักทาย การชื่นชม หรือการแสดงความรู้สึก เป็นต้น

ภาษามือ

ภาษามือ เป็นภาษาสำหรับคนหูหนวก ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน โดยอาศัยการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อประกอบการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษามือนั้นไม่ใช่ภาษาสากลที่สามารถใช้ได้ครอบคลุมทุกประเทศ เนื่องจากการใช้ภาษามือจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของภาษาในประเทศ หรือท้องถิ่นนั้น ๆ และเพื่อให้ทราบถึงลักษณะการใช้ภาษามือของไทย ที่ใช้สำหรับการสื่อสารถึงเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น การทักทาย การชื่นชม หรือการแสดงความรู้สึก ดังนั้น เราจึงรวบรวมภาษามือง่าย ๆ จำนวน 20 ท่า มาฝากกันค่ะ   

เป็นภาษาสำหรับคนหูหนวก ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน โดยอาศัยการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อประกอบการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษามือนั้นไม่ใช่ภาษาสากลที่สามารถใช้ได้ครอบคลุมทุกประเทศ เนื่องจากการใช้ภาษามือจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของภาษาในประเทศ หรือท้องถิ่นนั้น ๆ

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ขอบคุณ

          

คำภาษาอังกฤษ : Thank you

          ความหมาย : 

กล่าวแสดงความรู้สึกถึงบุญคุณหรือกล่าวเมื่อได้รับความช่วยเหลือ

          

การใช้ภาษามือ : 

แบมือทั้ง 2 ข้าง โดยให้ทุกนิ้วชิดกัน จากนั้นยกมือขึ้นมาขนานกันในแนวตั้ง แล้วจึงดึงมือทั้งสองข้างออกจากกัน  

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ขอโทษ

          

คำภาษาอังกฤษ : Sorry

          ความหมาย : 

ขออภัยเมื่อได้ทำผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง

          

การใช้ภาษามือ : 

ยกฝ่ามือซ้ายขึ้นมาระดับหัวใจ โดยหันปลายนิ้วไปยังคู่สนทนา จากนั้นใช้ปลายนิ้วมือข้างขวาทำวนในทิศตามเข็มนาฬิกา เหนือฝ่ามือข้างซ้ายราว ๆ 3 รอบ

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ไม่เป็นไร

          

คำภาษาอังกฤษ : That’s all right, That’s ok, No problem, Not at all, You’re welcome

          ความหมาย : 

คำแสดงความรู้สึกที่ไม่ได้ถือโทษหรือโกรธเคืองใด ๆ เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ต้องรู้สึกผิด

          

การใช้ภาษามือ : 

กางฝ่ามือทั้งสองข้างหันเข้าหาลำตัว ส่ายหน้าพร้อมสะบัดปลายนิ้วทั้งสองให้สวนกันไปมาประมาณ 3 รอบ

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

สบายดี

          

คำภาษาอังกฤษ : Fine, Doing well

          ความหมาย : 

สภาวะปกติของทั้งร่างกายและจิตใจ ร่างกายไม่เจ็บป่วย รวมทั้งอารมณ์ดี มีความสุข ไม่มีอะไรให้กังวล

          

การใช้ภาษามือ : 

แบฝ่ามือทั้งสองข้าง จากนั้นให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างทำมุมเป็นรูปตัววี โดยหันฝ่ามือเข้าหาลำตัวบริเวณหน้าอก แล้วลากมือในแนวเฉียงขึ้นเป็นรูปตัววีจนถึงระดับไหล่ จากนั้นกำนิ้วมือทั้ง 4 โดยชูนิ้วโป้งหันเข้าหากัน

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

โชคดี

          

คำภาษาอังกฤษ : Good luck

          ความหมาย : 

การได้รับสิ่งดี ๆ โดยที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้

          

การใช้ภาษามือ : 

ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วโป้งสัมผัสกันเป็นรูปวงกลม นิ้วที่เหลือกางออกจากกัน จากนั้นกำมือและชูนิ้วโป้ง

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

คิดถึง

          

คำภาษาอังกฤษ : Think of

          ความหมาย : 

นึก ระลึกถึงเมื่อไม่ได้เจอหรือพบกันนานกับผู้ที่สนิทหรือรู้จักกัน

          

การใช้ภาษามือ : 

กำมือก่อนใช้ปลายนิ้วชี้สัมผัสที่ขมับ จากนั้นจึงชี้นิ้วดังกล่าวไปยังคู่สนทนา

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

น่ารัก

          

คำภาษาอังกฤษ : Cute, Lovely

          ความหมาย : 

ใบหน้าที่ค่อนข้างไปในทางสวย น่าชื่นชม ลักษณะท่าทาง หรืออุปนิสัยดูเป็นมิตร หรือลักษณะแบบเด็ก

          

การใช้ภาษามือ : 

ขยุ้มมือข้าง ๆ บริเวณโหนกแก้มโดยให้ปลายนิ้วทั้ง 5 เข้ามาชิดกัน จากนั้นลากลงมาบริเวณข้างแก้ม

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

สวย

          

คำภาษาอังกฤษ : Beautiful

          ความหมาย : 

มีลักษณะงดงาม

          

การใช้ภาษามือ : 

แบมือตั้งฉากห่างจากใบหน้าตรงช่วงแก้มเล็กน้อย จากนั้นให้ขยับมือและแขนหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา 1 รอบ ก่อนกำมือแล้วชูนิ้วโป้งหันไปทางอีกฝ่าย

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ชอบ

          

คำภาษาอังกฤษ : Like

          ความหมาย : 

พอใจ แสดงอาการพึงพอใจ

          

การใช้ภาษามือ : 

กำนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย โดยให้นิ้วชี้และนิ้วโป้งเหยียดตรง หันมือเข้าหาลำตัว ระดับหน้าอกบริเวณหัวใจ โดยให้นิ้วทั้งสองทำมุมคล้ายตัววี จากนั้นลากมือลงพร้อม ๆ กับขยับปลายนิ้วชี้และนิ้วโป้งให้สัมผัสกัน

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ไม่ชอบ

          

คำภาษาอังกฤษ : Dislike

          ความหมาย : 

ความรู้สึกที่ไม่พึงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

          

การใช้ภาษามือ : 

ทำท่าเดียวกับคำว่าชอบ พร้อมกับส่ายหน้าไปมาประมาณ 3 รอบ

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

รัก

          

คำภาษาอังกฤษ : Love

          ความหมาย : 

มีใจผูกพันอย่างมาก

          

การใช้ภาษามือ : 

ใช้ฝ่ามือทั้งสองแนบลงบนหน้าอกบริเวณหัวใจ สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ พร้อมทำสีหน้ายิ้มแย้ม

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

เก่ง

          

คำภาษาอังกฤษ : Clever

          ความหมาย : 

มีความสามารถ ทำอะไร ๆ ได้ดี

          

การใช้ภาษามือ : 

คว่ำมือซ้ายในระดับเดียวกับท้อง ใช้ฝ่ามือขวาตบลงเบา ๆ บนมือซ้ายประมาณ 2 รอบ จากนั้นยกมือขวาขึ้น แล้วชูนิ้วโป้งให้กับอีกฝ่าย

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ฉลาด

          

คำภาษาอังกฤษ : Intelligent

          ความหมาย : 

สมองดี มีปัญญา ไม่โง่

          

การใช้ภาษามือ : 

กำมือโดยใช้นิ้วชี้สัมผัสบริเวณขมับ ก่อนชูนิ้วโป้งให้กับอีกฝ่าย

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

เป็นห่วง

          

คำภาษาอังกฤษ : Concern

          ความหมาย : 

กังวลถึง

          

การใช้ภาษามือ : 

คล้องนิ้วชี้กับนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้าง ให้ปลายนิ้วสัมผัสกัน โดยหันฝ่ามือซ้ายไปที่อีกฝ่าย ขณะที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยเหยียดตรง

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

ไม่สบาย

          

คำภาษาอังกฤษ : Sick, Not well

          ความหมาย : 

สภาวะที่ร่างกายและจิตใจไม่ปกติ หรือเกิดอาการป่วย

          

การใช้ภาษามือ : 

เอียงศีรษะไปด้านขวา จากนั้นใช้หลังมือขวาในช่วงปลายนิ้วสัมผัสบริเวณหน้าผาก

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

เศร้า

          

คำภาษาอังกฤษ : Sad

          ความหมาย : 

ไม่มีความสุข ไม่มีความเบิกบาน หรือเสียใจ

          

การใช้ภาษามือ : 

ก้มหน้าลง พร้อมลากนิ้วทั้ง 5 ลงมาจากบริเวณหน้าผากถึงคาง โดยเว้นระยะห่างระหว่างใบหน้ากับมือเล็กน้อย

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

เสียใจ

          

คำภาษาอังกฤษ : Sad, Sorry

          ความหมาย : 

ไม่สบายใจ ผิดหวัง เพราะมีเรื่องไม่สมประสงค์ ไม่พึงพอใจ หรือไม่ได้ดั่งใจ

          

การใช้ภาษามือ : 

กำมือหันเข้าหาลำตัว โดยอยู่ห่างจากหน้าอกด้านซ้ายเล็กน้อย จากนั้นหมุนแขนเป็นวงกลมตามทิศทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 3 รอบ พร้อมทำสีหน้าเศร้าสลด

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

หิว

          

คำภาษาอังกฤษ : Be hungry

          ความหมาย : 

อยากข้าว อยากอาหาร มีอาการท้องร้อง

          

การใช้ภาษามือ : 

กำนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย เอาไว้ จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งรูดตรงลำคอ จนปลายนิ้วมือทั้งสองสัมผัสกัน

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

อิ่ม

          

คำภาษาอังกฤษ : Full

          ความหมาย : 

เต็มหรือแน่นท้อง กินอีกไม่ได้แล้ว

          

การใช้ภาษามือ : 

คว่ำมือโดยเว้นระยะห่างระหว่างมือกับท้องเล็กน้อย จากนั้นยกมือขึ้นในแนวนอน จนกระทั่งหลังมือสัมผัสชิดกับใต้คาง

 ภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          คำภาษาไทย : 

เข้าใจ

          

คำภาษาอังกฤษ : Understand

          ความหมาย : 

รู้เรื่องหรือรู้ความหมายของเรื่องนั้นอย่างชัดเจน

          

การใช้ภาษามือ : 

กำนิ้วมือไว้ตรงบริเวณขมับ จากนั้นพยักหน้า แล้วตวัดปลายนิ้วชี้ออกไปที่ด้านข้างลำตัว

          เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับภาษามือเบื้องต้น 20 ท่า ที่เรานำมาฝากกันในครั้งนี้ หากได้ทดลองทำตามก็จะพบว่า บางท่าก็เหมือนกับท่าทางที่เราทำกันอยู่บ่อย ๆ เพียงแต่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าท่าทางเหล่านั้นจะมีความหมายในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ภาษามือเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ 

          นอกจากนี้ยังมี และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของภาษามือในประเทศไทย ตลอดจนการสอนภาษามือตั้งแต่ระดับเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยเว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์

ขอบคุณThank youกล่าวแสดงความรู้สึกถึงบุญคุณหรือกล่าวเมื่อได้รับความช่วยเหลือแบมือทั้ง 2 ข้าง โดยให้ทุกนิ้วชิดกัน จากนั้นยกมือขึ้นมาขนานกันในแนวตั้ง แล้วจึงดึงมือทั้งสองข้างออกจากกันขอโทษSorryขออภัยเมื่อได้ทำผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งยกฝ่ามือซ้ายขึ้นมาระดับหัวใจ โดยหันปลายนิ้วไปยังคู่สนทนา จากนั้นใช้ปลายนิ้วมือข้างขวาทำวนในทิศตามเข็มนาฬิกา เหนือฝ่ามือข้างซ้ายราว ๆ 3 รอบไม่เป็นไรThat’s all right, That’s ok, No problem, Not at all, You’re welcomeคำแสดงความรู้สึกที่ไม่ได้ถือโทษหรือโกรธเคืองใด ๆ เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ต้องรู้สึกผิดกางฝ่ามือทั้งสองข้างหันเข้าหาลำตัว ส่ายหน้าพร้อมสะบัดปลายนิ้วทั้งสองให้สวนกันไปมาประมาณ 3 รอบสบายดีFine, Doing wellสภาวะปกติของทั้งร่างกายและจิตใจ ร่างกายไม่เจ็บป่วย รวมทั้งอารมณ์ดี มีความสุข ไม่มีอะไรให้กังวลแบฝ่ามือทั้งสองข้าง จากนั้นให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างทำมุมเป็นรูปตัววี โดยหันฝ่ามือเข้าหาลำตัวบริเวณหน้าอก แล้วลากมือในแนวเฉียงขึ้นเป็นรูปตัววีจนถึงระดับไหล่ จากนั้นกำนิ้วมือทั้ง 4 โดยชูนิ้วโป้งหันเข้าหากันโชคดีGood luckการได้รับสิ่งดี ๆ โดยที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วโป้งสัมผัสกันเป็นรูปวงกลม นิ้วที่เหลือกางออกจากกัน จากนั้นกำมือและชูนิ้วโป้งคิดถึงThink ofนึก ระลึกถึงเมื่อไม่ได้เจอหรือพบกันนานกับผู้ที่สนิทหรือรู้จักกันกำมือก่อนใช้ปลายนิ้วชี้สัมผัสที่ขมับ จากนั้นจึงชี้นิ้วดังกล่าวไปยังคู่สนทนาน่ารักCute, Lovelyใบหน้าที่ค่อนข้างไปในทางสวย น่าชื่นชม ลักษณะท่าทาง หรืออุปนิสัยดูเป็นมิตร หรือลักษณะแบบเด็กขยุ้มมือข้าง ๆ บริเวณโหนกแก้มโดยให้ปลายนิ้วทั้ง 5 เข้ามาชิดกัน จากนั้นลากลงมาบริเวณข้างแก้มสวยBeautifulมีลักษณะงดงามแบมือตั้งฉากห่างจากใบหน้าตรงช่วงแก้มเล็กน้อย จากนั้นให้ขยับมือและแขนหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา 1 รอบ ก่อนกำมือแล้วชูนิ้วโป้งหันไปทางอีกฝ่ายชอบLikeพอใจ แสดงอาการพึงพอใจกำนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย โดยให้นิ้วชี้และนิ้วโป้งเหยียดตรง หันมือเข้าหาลำตัว ระดับหน้าอกบริเวณหัวใจ โดยให้นิ้วทั้งสองทำมุมคล้ายตัววี จากนั้นลากมือลงพร้อม ๆ กับขยับปลายนิ้วชี้และนิ้วโป้งให้สัมผัสกันไม่ชอบDislikeความรู้สึกที่ไม่พึงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำท่าเดียวกับคำว่าชอบ พร้อมกับส่ายหน้าไปมาประมาณ 3 รอบรักLoveมีใจผูกพันอย่างมากใช้ฝ่ามือทั้งสองแนบลงบนหน้าอกบริเวณหัวใจ สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ พร้อมทำสีหน้ายิ้มแย้มเก่งCleverมีความสามารถ ทำอะไร ๆ ได้ดีคว่ำมือซ้ายในระดับเดียวกับท้อง ใช้ฝ่ามือขวาตบลงเบา ๆ บนมือซ้ายประมาณ 2 รอบ จากนั้นยกมือขวาขึ้น แล้วชูนิ้วโป้งให้กับอีกฝ่ายฉลาดIntelligentสมองดี มีปัญญา ไม่โง่กำมือโดยใช้นิ้วชี้สัมผัสบริเวณขมับ ก่อนชูนิ้วโป้งให้กับอีกฝ่ายเป็นห่วงConcernกังวลถึงคล้องนิ้วชี้กับนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้าง ให้ปลายนิ้วสัมผัสกัน โดยหันฝ่ามือซ้ายไปที่อีกฝ่าย ขณะที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยเหยียดตรงไม่สบายSick, Not wellสภาวะที่ร่างกายและจิตใจไม่ปกติ หรือเกิดอาการป่วยเอียงศีรษะไปด้านขวา จากนั้นใช้หลังมือขวาในช่วงปลายนิ้วสัมผัสบริเวณหน้าผากเศร้าSadไม่มีความสุข ไม่มีความเบิกบาน หรือเสียใจก้มหน้าลง พร้อมลากนิ้วทั้ง 5 ลงมาจากบริเวณหน้าผากถึงคาง โดยเว้นระยะห่างระหว่างใบหน้ากับมือเล็กน้อยเสียใจSad, Sorryไม่สบายใจ ผิดหวัง เพราะมีเรื่องไม่สมประสงค์ ไม่พึงพอใจ หรือไม่ได้ดั่งใจกำมือหันเข้าหาลำตัว โดยอยู่ห่างจากหน้าอกด้านซ้ายเล็กน้อย จากนั้นหมุนแขนเป็นวงกลมตามทิศทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 3 รอบ พร้อมทำสีหน้าเศร้าสลดหิวBe hungryอยากข้าว อยากอาหาร มีอาการท้องร้องกำนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย เอาไว้ จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งรูดตรงลำคอ จนปลายนิ้วมือทั้งสองสัมผัสกันอิ่มFullเต็มหรือแน่นท้อง กินอีกไม่ได้แล้วคว่ำมือโดยเว้นระยะห่างระหว่างมือกับท้องเล็กน้อย จากนั้นยกมือขึ้นในแนวนอน จนกระทั่งหลังมือสัมผัสชิดกับใต้คางเข้าใจUnderstandรู้เรื่องหรือรู้ความหมายของเรื่องนั้นอย่างชัดเจนกำนิ้วมือไว้ตรงบริเวณขมับ จากนั้นพยักหน้า แล้วตวัดปลายนิ้วชี้ออกไปที่ด้านข้างลำตัวทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ภาษามือเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)นอกจากนี้ยังมี เว็บไซต์มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ที่นำเสนอข่าวสารการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของคนพิการไทยขอขอบคุณข้อมูลจาก


เพื่อชีวืตเก่า ฟังยามท้อ คัดพิเศษ ไม่มีโฆษณา


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เพื่อชีวืตเก่า ฟังยามท้อ คัดพิเศษ ไม่มีโฆษณา

ย้อนเวลา หาเพลง เพื่อชีวิต


เพื่อความบันเทิงเท่านั้น

ย้อนเวลา หาเพลง เพื่อชีวิต

รวมเพลงช้า ฮิตสุดๆ POTATO l เธอยัง, ทิ้งไว้กลางทาง, ปากดี l【LONGPLAY】


รวมเพลงช้า ฮิตสุดๆ POTATO l เธอยัง, ทิ้งไว้กลางทาง, ปากดี l【LONGPLAY】

รวมเพลงช้า ฮิตสุดๆ POTATO l เธอยัง, ทิ้งไว้กลางทาง, ปากดี l【LONGPLAY】

กลับคำสาหล่า – ไมค์ ภิรมย์พร 【LYRIC VIDEO】


กดติดตาม ไมค์ ภิรมย์พร OFFICIAL คุณจะไม่พลาด อะไรพิเศษๆ ที่นี่ที่เดียว คลิ๊กเลย: https://goo.gl/EGNSsu
เพลง : กลับคำสาหล่า
ศิลปิน : ไมค์ ภิรมย์พร
อัลบั้ม : ชุดที่ 19 อยากบอกอีกครั้งว่ายังรักเธอ
คำร้อง/ทำนอง พงษ์ศักดิ์ ถนอมใจ
เรียบเรียง จิระวัฒน์ ปานพุ่ม
คำสั้นสั้น ที่ความยาวมันบ่ถึงนาที
อาจทำลายหลายล้านนาที สิ่งดีดี ที่เฮาร่วมก่อ
ใจเย็นไว้สา เว้าหยังออกมา ฮู้โตบ่น้อ
เรื่องมื้อนี้อ้ายสิบ่คึดต่อ แค่อยากขอให้เห็นแก่ฮักเฮา
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า
คำสั้นสั้น ที่ความหมายมันรุนแรงเกินไป
มันสะเทือนฮอดหัวใจอ้าย หยุดเอาไว้เซาเว้าเด้อหล่า
อยู่กันมาดน ต้องมีสักหน ที่มีปัญหา
ผิดใจกันก็เรื่องธรรมดา อย่าถือสาให้มันเป็นเรื่องราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า
คำสั้นสั้น ที่ความหมายมันรุนแรงเกินไป
มันสะเทือนฮอดหัวใจอ้าย หยุดเอาไว้เซาเว้าเด้อหล่า
อยู่กันมาดน ต้องมีสักหน ที่มีปัญหา
ผิดใจกันก็เรื่องธรรมดา อย่าถือสาให้มันเป็นเรื่องราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า

❤︎ ติดตามอัพเดทผลงานศิลปิน ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/GrammyGoldpage
Instagram: https://www.instagram.com/grammygold_official
Youtube : https://goo.gl/6ysF5I
Digital Download : 1237007
iTunes : https://itun.es/th/_ZJLkb

☎ ติดต่องานจ้างศิลปิน แกรมมี่โกลด์ โทร.0854847345

กลับคำสาหล่า - ไมค์ ภิรมย์พร 【LYRIC VIDEO】

กลับคำสาหล่า – ไมค์ ภิรมย์พร 【OFFICIAL MV】


กดติดตาม ไมค์ ภิรมย์พร OFFICIAL คุณจะไม่พลาด อะไรพิเศษๆ ที่นี่ที่เดียว คลิ๊กเลย: https://goo.gl/EGNSsu
เพลง : กลับคำสาหล่า
ศิลปิน : ไมค์ ภิรมย์พร
อัลบั้ม : ชุดที่ 19 อยากบอกอีกครั้งว่ายังรักเธอ
คำร้อง/ทำนอง พงษ์ศักดิ์ ถนอมใจ
เรียบเรียง จิระวัฒน์ ปานพุ่ม
คำสั้นสั้น ที่ความยาวมันบ่ถึงนาที
อาจทำลายหลายล้านนาที สิ่งดีดี ที่เฮาร่วมก่อ
ใจเย็นไว้สา เว้าหยังออกมา ฮู้โตบ่น้อ
เรื่องมื้อนี้อ้ายสิบ่คึดต่อ แค่อยากขอให้เห็นแก่ฮักเฮา
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า
คำสั้นสั้น ที่ความหมายมันรุนแรงเกินไป
มันสะเทือนฮอดหัวใจอ้าย หยุดเอาไว้เซาเว้าเด้อหล่า
อยู่กันมาดน ต้องมีสักหน ที่มีปัญหา
ผิดใจกันก็เรื่องธรรมดา อย่าถือสาให้มันเป็นเรื่องราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า
คำสั้นสั้น ที่ความหมายมันรุนแรงเกินไป
มันสะเทือนฮอดหัวใจอ้าย หยุดเอาไว้เซาเว้าเด้อหล่า
อยู่กันมาดน ต้องมีสักหน ที่มีปัญหา
ผิดใจกันก็เรื่องธรรมดา อย่าถือสาให้มันเป็นเรื่องราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อนคนดีของอ้าย
ตะกี้ตะก่อน ฮักกันส่ำใด๋ อยากให้ลองตรองดูจั๊กคราว
เก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน เสื่องไว้สาก่อน อย่าด่วน อย่าฟ้าว
บ่ต้องป๋ากัน ฮักกันคือเก่า ให้เป็นคือเก่า อ้ายขอให้เจ้า กลับคำสาหล่า

❤︎ ติดตามอัพเดทผลงานศิลปิน ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/GrammyGoldpage
Instagram: https://www.instagram.com/grammygold_official
Youtube : https://goo.gl/6ysF5I
Digital Download : 1237007
iTunes : https://itun.es/th/_ZJLkb
☎ ติดต่องานจ้างศิลปิน แกรมมี่โกลด์ โทร.0854847345

กลับคำสาหล่า - ไมค์ ภิรมย์พร 【OFFICIAL MV】

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คําไทย ความหมายดี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *